”ดีพร้อม“ เปิดบ้าน สืบสานวัฒนธรรมประเพณีวันสงกรานต์
กรุงเทพฯ 10 เมษายน 2568 – นางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม จัดกิจกรรมสืบสานวัฒนธรรมประเพณีวันสงกรานต์ โดยได้รับเกียรติจาก ดร.ณัฐพล รังสิตพล เป็นประธาน พร้อมด้วย นางดวงดาว ขาวเจริญ นายสุรพล ปลื้มใจ และนายดุสิต อนันตรักษ์ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม โดยมีคณะผู้บริหารกระทรวงอุตสาหกรรมทั้งในอดีตและปัจจุบัน และเจ้าหน้าที่ดีพร้อม (DIPROM) เข้าร่วม ณ ห้องนิทรรศการ ชั้น 1 อาคารกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (DIPROM Headquarter) กิจกรรมดังกล่าว จัดขึ้นภายใต้ชื่องาน ”มนต์เลิฟงานวัด มนต์รักดีพร้อม“ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสืบสานประเพณีสงกรานต์ ซึ่งเป็นวัฒนธรรมที่งดงาม แสดงออกถึงความเป็นไทย โดยการสรงน้ำพระเพื่อความเป็นสิริมงคล และมีการให้พรจากผู้อาวุโส ได้แก่ นางสุมลมาลย์ กัลยาศิริ อดีตอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม นายมาณพ ชิวธนาสุนทร อดีตผู้ตรวจราชการกระทรวงอุตสาหกรรม นางสุชาดา โพธิ์เจริญ อดีตรองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม นางอุไรวรรณ จันทรายุ อดีตผู้อำนวยการสำนักพัฒนาอุตสาหกรรมชุมชน นางยุพรัตน์ ศตวิริยะ อดีตผู้อำนวยการกองพัฒนาขีดความสามารถอุตสาหกรรม และ นางสาวประเทือง พฤกษาพิทักษ์กุล อดีตเลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม นอกจากนี้ ภายในงานยังมีการจัดกิจกรรมเพื่อเป็นการส่งเสริมวัฒนธรรมการละเล่นแบบไทย ให้เจ้าหน้าที่ของกรมส่งเสริมอุตสาหกรรมไทย หรือ ดีพร้อม ได้ร่วมสนุก อาทิ การสอยดาว สาวน้อยตกน้ำ ซึ่งถือเป็นการเริ่มต้นปีใหม่ไทยของครอบครัวดีพร้อมอย่างมีความสุข อบอุ่น สนุกสนาน และจะเป็นการสร้างพลังในการปฏิบัติงานให้มีประสิทธิภาพต่อไป
17 เม.ย. 2568
รัฐมนตรีฯ เอกนัฏ ร่วมประเพณีสงกรานต์ ก.อุตฯ ปี 68 "เถลิงศกใหม่ สาดใส่ความสุข"
วันที่ 9 เมษายน 2568 นายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เป็นประธานการจัดกิจกรรม สืบสานประเพณีสงกรานต์ ประจำปี พ.ศ.2568 "เถลิงศกใหม่ สาดใส่ความสุข" โดยมี นายณัฐพล รังสิตพล ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม นายพงศ์พล ยอดเมืองเจริญ เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมและโฆษกกระทรวงอุตสาหกรรม นายบรรจง สุกรีฑา นายวิฤทธิ์ วิเศษสินธุ์ นายศุภกิจ บุญศิริ รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม นางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม นายสุรพล ปลื้มใจ และนายดุสิต อนันตรักษ์ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม พร้อมทั้งผู้บริหารระดับสูงกระทรวงอุตสาหกรรม ข้าราชการ พนักงาน และเจ้าหน้าที่กระทรวงอุตสาหกรรม ร่วมกิจกรรมสรงน้ำพระพุทธรูป ณ ห้องโถง ชั้น 1 อาคารสำนักงานปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม รัฐมนตรีฯ เอกนัฏ กล่าวว่า ในวันนี้รู้สึกชื่นใจที่ได้เห็นทุกท่านมาเฉลิมฉลองเทศกาลสงกรานต์ ได้เห็นถึงความร่วมมือ ร่วมใจและการมีส่วนร่วมของทุกท่าน ที่แสดงออกถึงความรักและความสามัคคีของชาวกระทรวงอุตสาหกรรม และในช่วงวันหยุดยาวเทศกาลสงกรานต์ที่จะถึงนี้ ขอให้เป็นช่วงเวลาแห่งความสุข ความสนุกสนานของทุกท่าน ขอให้เดินทางกลับภูมิลำเนาและท่องเที่ยวกันอย่างปลอดภัย ใช้รถใช้ถนนอย่างระมัดระวัง ใช้เวลาพักผ่อนร่วมกับครอบครัวให้เต็มที่ ขออำนวยพรให้สิ่งศักดิ์สิทธิ์ดลบันดาลทุกท่านมีความสุขในวันสงกรานต์ นอกจากนี้ ในปีนี้ กระทรวงอุตสาหกรรม ได้จัดกิจกรรมสันทนาการ อก. ประจำปี 2568 เป็นการแข่งขันกีฬาประเภทต่าง ๆ เพื่อเป็นการสร้างความสามัคคี และเสริมสร้างลักษณะนิสัยให้ข้าราชการ พนักงานราชการ และเจ้าหน้าที่ หันมาออกกำลังกายเพื่อให้มีสุขภาพแข็งแรง โดยมีบูธรับสมัครเข้าร่วมกิจกรรม ต่าง ๆ ได้แก่ กิจกรรม Voice of MIND, MIND E-Sports, MIND Badminton, MIND Band, MIND Futsal Tournament, MIND Lens, และ MIND Ping Pong Challenge, ซึ่งจะเริ่มการแข่งขันตั้งแต่เดือนกรกฎาคม-เดือนสิงหาคม 2568
13 เม.ย. 2568
ดีพร้อม เดินหน้าคัดเลือกรางวัลอุตสาหกรรมฯ ปี 68 เฟ้นหา ผปก. SMEs การบริหารจัดการที่ดี ตามแนวนโยบาย 4 มิติของปลัดณัฐพล
กรุงเทพ 10 เมษายน 2568 - นางดวงดาว ขาวเจริญ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ได้รับมอบหมายจาก นางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม เป็นประธานในการประชุมคณะทำงานพิจารณาคัดเลือกรางวัลอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดย่อมดีเด่น ประจำปี พ.ศ. 2568 ประเภทการบริหารจัดการที่ดี ครั้งที่ 1/2568 โดยมีคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิและผู้แทนจากหน่วยงานต่าง ๆ เข้าร่วม ณ ห้องประชุม 2 ชั้น 3 อาคารกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (DIPROM Headquarter) และในรูปแบบออนไลน์ผ่านระบบ Zoom Meeting การประชุมครั้งนี้ มีการพิจารณาแผนการดำเนินงานคัดเลือกรางวัลอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดย่อมดีเด่น ประจำปี พ.ศ. 2568 ประเภทการบริหารจัดการที่ดี ซึ่งจะดำเนินการในช่วงเดือนมีนาคม - กรกฎาคม 2568 ประกอบด้วย การประชาสัมพันธ์พร้อมการรับสมัคร คุณสมบัติเฉพาะ กระบวนการและหลักเกณฑ์กํารพิจารณาคัดเลือก ประชุมพิจารณาผล การตรวจประเมินสถานประกอบการ และส่งผลการคัดเลือกรางวัล โดยในปีนี้ รางวัลอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดย่อมดีเด่น ประจำปี พ.ศ. 2568 ประเภทการบริหารจัดการที่ดี มีการกำหนดหลักเกณฑ์หมวดต่าง ๆ ทั้งหมด 6 หมวด คือ 1) การนำองค์กรสู่การประกอบการที่สมดุลและยั่งยืน 2) การบริหารจัดการธุรกิจให้มีขีดความสามารถในการแข่งขันอย่างยั่งยืน 3) ความรับผิดชอบต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและชุมชนโดยรอบ 4) การประกอบการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม 5) การกระจายรายได้และสร้างความเป็นอยู่ที่ดีให้กับชุมชมชนและสังคม และ 6) ผลลัพธ์ของการบริหารจัดการที่ดีสู่องค์กรประกอบการดีที่สมดุลและยังยืน ตามแนวอุตสาหกรรมวิถีใหม่มุ่งสู่ความสำเร็จ 4 มิติ และให้รางวัลกับสถานประกอบการที่ทำดีของ ดร.ณัฐพล รังสิตพล ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม ได้แก่ มิติที่ 1 ความสำเร็จทางธุรกิจ - ปรับธุรกิจและอุตสาหกรรมสู่ S-curve มิติที่ 2 การดูแลสังคมและชุมชน - ส่งเสริมการทำงานร่วมกันระหว่างสถานประกอบการ ชุมชน และสังคม ให้อยู่ร่วมกันอย่างเป็นมิตร มิติที่ 3 การรักษาสิ่งแวดล้อม - ดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมอุตสาหกรรมสีเขียวเพิ่มโอกาสทางธุรกิจ มุ่งสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน ตอบโจทย์ไทยและประชาคมโลก และมิติที่ 4 การกระจายรายได้สู่ชุมชน - การรักษาชีวิต สร้างประโยชน์ พัฒนาชุมชนรอบอุตสาหกรรม ทั้งนี้ ดีพร้อม มุ่งมั่นในการส่งเสริมผู้ประกอบการตามนโยบาย “ดีพร้อมคอมมูนิตี้ ที่นี่มีแต่ให้” ของอธิบดีณัฏฐิญา โดยให้มีการพัฒนาและยกระดับศักยภาพในการบริหารจัดการธุรกิจของสถานประกอบการให้มีขีดความสามารถในการแข่งขันตลอดห่วงโซ่อุปทานควบคู่ไปกับการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน อีกทั้ง ยังสามารถเป็นต้นแบบและแรงบันดาลใจให้กับผู้ประกอบการรายอื่น ๆ หันมาให้ความสำคัญกับการพัฒนาและเพิ่มศักยภาพในการดำเนินธุรกิจอย่างมีความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมเพื่อเสริมสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันทั้งในระดับประเทศและระดับสากลต่อไปด้วย
13 เม.ย. 2568
"อธิบดีณัฏฐิญา" สั่งการตรวจอาคารสำรวจความเสียหายอาคารพระราม 6 โดยละเอียด สร้างความมั่นใจในการปฏิบัติงาน ตามนโยบาย “ดีพร้อม 5 ให้”
กรุงเทพฯ 9 เมษายน 2568 – นางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม สั่งการให้ สำนักงานเลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (สล.กสอ.) จัดหาทีมวิศวกรเข้ามาสำรวจอาคารกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม พระรามที่ 6 อย่างละเอียด เพื่อเป็นการสร้างความมั่นใจให้กับผู้ปฏิบัติงานภายในอาคาร และผู้ที่มารับบริการ ร่วมด้วย นายสุรพล ปลื้มใจ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องร่วมสำรวจ ณ อาคารกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (DIPROM Headquarter) ในการสำรวจอาคารดังกล่าว สล.กสอ. ได้เชิญทีมวิศวกร โดยมี นายพิเชษฐ์ ไทยนิยม และ นายพูลเกียรติศีล พลอุทัย เป็นผู้มาสำรวจอาคาร เพื่อตรวจประเมินความปลอดภัย และความเสี่ยงของอาคารสำนักงาน หลังเกิดเหตุการณ์แผ่นดินไหว ซึ่งเป็นการดำเนินการตามนโยบาย “ดีพร้อม 5 ให้” ด้านการตรวจประเมินความปลอดภัยของโครงสร้างอาคาร ของ นางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม โดยภายหลังจากการเดินสำรวจภายในตัวอาคารอย่างละเอียด ทีมวิศวกรได้ให้ความเห็นว่า อาคารกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม พระรามที่ 6 เป็นอาคารที่สามารถใช้งานได้แบบมีเงื่อนไข เนื่องจาก พบเสาบริเวณชั้นใต้ดินซึ่งใช้เป็นที่จอดรถของผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ดีพร้อม จำนวน 6 ต้นมีรอยร้าว โดยเป็นเสาบริเวณทางขึ้นลงที่อยู่ในแนวเดียวกันจำนวน 5 เสา และเป็นเสาที่อยู่บริเวณมุมจำนวน 1 ต้น นอกจากนี้ตรวจพบคานร้าวบริเวณบันไดหนีไฟชั้น 4 และ ชั้น 5 โดยทีมวิศวกร ได้ให้ความเห็นว่า ควรมีการซ่อมเสริมกำลังโครงสร้างเป็นกรณีเร่งด่วน “อธิบดีณัฏฐิญา” สั่งการให้ สล.กสอ. ดำเนินการสำรวจและประเมินราคาในจุดที่ตรวจพบ พร้อมทั้งมอบหมายให้กองยุทธศาสตร์และแผนงาน (กง.กสอ.) เร่งดำเนินการจัดทำคำของบประมาณสำหรับการปรับปรุง ซ่อมเสริมอาคารตามที่ทีมวิศวกรได่ให้ความเห็นไว้ เพื่อเป็นสร้างความปลอดภัย และทำให้เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานของ “ดีพร้อม” รวมถึงผู้ประกอบการ และประชาชนที่มารับบริการมีความเชื่อมั่น
12 เม.ย. 2568
“รองอธิบดีสุรพล” ติดตามการดำเนินงาน ศูนย์วิจัยและพัฒนาวัสดุอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ สานนโยบาย “ดีพร้อม 5 ให้” ตรวจสอบเครื่องมือ อุปกรณ์ พร้อมให้บริการ กำชับตรวจสอบอาคารให้พร้อมจัดกิจกรรม สร้างรายได้ กระตุ้นเศรษฐกิจ
ลำปาง 8 เมษายน 2568 - นายสุรพล ปลื้มใจ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ให้เกียรติเป็นประธานในการประชุมเร่งรัดติดตามการปฏิบัติงานของศูนย์วิจัยและพัฒนาวัสดุอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ (ศว.กสอ.) พร้อมด้วยนางเกษราภรณ์ โกวิทลวากุล ผู้อำนวยการกองพัฒนาดิจิทัลอุตสาหกรรม ผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ ศว.กสอ. เข้าร่วมการประชุม ณ ห้องประชุมศิลาดล ชั้น 2 อาคารศูนย์วิจัยและพัฒนาวัสดุอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ ตามนโยบาย “ดีพร้อม 5 ให้” ของ นางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ที่กำหนดมาตรการในการช่วยเหลือและฟื้นฟูผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบจากแผ่นดินไหว เพื่อให้ธุรกิจสามารถกลับมาดำเนินการได้อย่างรวดเร็ว ผ่าน 5 มาตรการเร่งด่วน ได้แก่ มาตรการที่ (1) เครือข่าย Service Providers ผู้เชี่ยวชาญด้านวิศวกรรม มาตรการที่ (2) ให้คำปรึกษาแนะนำสถานประกอบการในการตรวจสอบประเมินความปลอดภัยของโครงสร้างโรงงงาน มาตรการที่ (3) คำปรึกษาแนะนำในการตรวจสอบและปรับตั้งเครื่องจักร มาตรการที่ (4) สินเชื่อในการพื้นฟู เยียวยาธุรกิจ มาตรการที่ (5) การยกระดับสถานประกอบการด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล เพื่อเป็นการสนับสนุนผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์แผ่นดินไหวดังกล่าว นอกจากนี้แล้ว “รองอธิบดีสุรพล” ยังได้มอบหมายให้ ศว.กสอ. ดำเนินการกำหนดแนวทางและวางแผนการตรวจสอบเครื่องมือ อุปกรณ์ และห้องทดลอง ให้มีความพร้อมสำหรับการให้บริการแก่ผู้ประกอบการ โดยขอให้มีการดำเนินการสอบเทียบเครื่องมือให้เป็นไปตามมาตรฐาน เพื่อเป็นการสร้างความเชื่อมั่นในการให้บริการด้านวัสดุศาสตร์ให้กับผู้ประกอบการในภาคอุตสาหกรรม นอกจากนี้ ได้มอบหมายให้ ศว.กสอ. กำหนดรูปแบบการจัดกิจกรรมในพื้นที่อาคารศูนย์วิจัยและพัฒนาวัสดุอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ หรือ MICE CENTER ในลักษณะของการจัดมหกรรมสินค้า หรือ Outlet โดยการจัดจำหน่ายสินค้าจากผู้ประกอบการรายใหญ่ เพื่อดึงดูดประชาชนให้เข้ามาร่วมงาน แต่ทั้งนี้ จะต้องมีการตรวจสอบและวางแผนการซ่อมบำรุงอุปกรณ์และสถานที่ให้มีความพร้อมสำหรับการจัดงานดังกล่าวด้วย โดยได้มอบหมายให้หน่วยงานพิจารณาจัดทำโครงการเพื่อขอรับจัดสรรบบประมาณ สำหรับขับเคลื่อนกลุ่มเป้าหมายให้บรรลุผลสัมฤทธิ์ตัวชี้วัดของดีพร้อม ในการเพิ่มประสิทธิภาพการยกระดับศักยภาพผู้ประกอบการภายใต้สถานการณ์การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจในปัจจุบัน รวมถึงข้อเสนอเพื่อพัฒนาหรือช่วยเหลือผู้ประกอบการเป้าหมายให้สามารถอยู่รอดและเติบโตได้อย่างยั่งยืน โดยให้นำส่ง Project Idea ภายในวันที่ 17 เมษายน 2568 นี้
11 เม.ย. 2568
กระทรวงอุตฯ ผนึกกำลังภาคีเครือข่ายรัฐ-เอกชน เดินหน้าขับเคลื่อนอุตฯ สมุนไพรไทย ผงาดขึ้นแท่นสู่สากลอย่างเต็มสูบ ตามนโยบาย รมว.เอกนัฏ
กรุงเทพฯ 8 เมษายน 2568 - ดร.ณัฐพล รังสิตพล ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม ให้เกียรติเป็นประธานการประชุมคณะอนุกรรมการส่งเสริมอุตสาหกรรมและผู้ประกอบการผลิตภัณฑ์สมุนไพร ครั้งที่ 1/2568 โดยมี นางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม พร้อมด้วย นางดวงดาว ขาวเจริญ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ เข้าร่วมการประชุม ณ ห้องประชุม อก. 1 ชั้น 2 อาคารสำนักงานปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม และผ่านระบบออนไลน์ โดยใช้โปรแกรม Zoom Cloud Meetings ภายใต้คณะอนุกรรมการฯ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม หรือ ดีพร้อม โดย กองพัฒนาขีดความสามารถธุรกิจอุตสาหกรรม (กข.กสอ.) ได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่อนุกรรมการและเลขานุการ ร่วมกับกองสมุนไพรเพื่อเศรษฐกิจ กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กำหนดจัดการประชุมดังกล่าวขึ้น โดยมีองค์ประกอบของคณะอนุกรรมการฯ ที่เข้าร่วมจากหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชน ได้แก่ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย หอการค้าไทยและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย สถาบันวิจัยสมุนไพร กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กองผลิตภัณฑ์สมุนไพร สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา สถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กระทรวงสาธารณสุข และกรมสรรพสามิต ในการประชุมดังกล่าว ฝ่ายเลขานุการฯ ได้มีการรายงานให้ที่ประชุมได้รับทราบความคืบหน้าในการขับเคลื่อนการดำเนินงานตามแผนการยกระดับผู้ประกอบการผลิตภัณฑ์สมุนไพรรายย่อยในประเทศไทย ระยะ 3 ปี (พ.ศ. 2568 – 2570) โดยภายใต้แผนการดำเนินงานในปี พ.ศ. 2568 จะมุ่งเน้นการปูพื้นฐานและสร้างความเข้มแข็ง ทั้งในด้านการพัฒนาบุคลากรภาคอุตสาหกรรมสมุนไพร ทั้งในด้านการยกระดับมาตรฐานและการบริหารจัดการ การพัฒนาผู้เชี่ยวชาญเพื่อเป็นที่ปรึกษาและให้คำแนะนำแก่ผู้ประกอบการ พัฒนากระบวนการผลิตโดยมีการยกระดับห้องปฏิบัติการที่ใช้ในการทดสอบเพื่อสร้างความเชื่อมั่นแก่ผู้บริโภค รวมถึงสร้างโอกาสและเครือข่ายพันธมิตรตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ เพื่อเป็นการสร้างควาเข้มแข็งให้กับ Supply Chain เพื่อให้เกิดขยายธุรกิจและเติบโตอย่างยั่งยืน ตามนโยบาย “ปฏิรูปอุตสาหกรรมไทยสู่เศรษฐกิจยุคใหม่ ทันสมัย สะอาด สะดวก โปร่งใส” ของ นายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม โดยในปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 “ดีพร้อม” มีการดำเนินงานตามนโยบาย “ดีพร้อมคอมมูนิตี้ ที่นี่มีแต่ให้” ของ นางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม เพื่อให้การส่งเสริมผู้ประกอบการมีความเข้มแข็งผ่านการพัฒนาองค์ความรู้ให้กับ SMEs วิสาหกิจชุมชน และผู้รับบริการให้มีความพร้อมในการยื่นขอรับรองระบบมาตรฐาน พร้อมทั้งพัฒนาผู้เชี่ยวชาญที่เกี่ยวข้องเพื่อให้คำแนะนำผู้ประกอบการให้สามารถเข้าสู่มาตรฐาน GMP (Good Manufacturing Practice) นอกจากนี้ คณะอนุกรรมการฯ ได้มีการร่วมกันพิจาณาหารือถึงแนวทางการแก้ไขปัญหาราคาแอลกอฮอล์ เพื่อสนับสนุนอุตสาหกรรมสมุนไพร ผ่านโครงการสนับสนุนการแก้ไขปัญหาเรื่องแอลกอฮอล์สำหรับอุตสาหกรรมสมุนไพร ด้วยการสนับสนุนเงินอุดหนุนสำหรับผู้ประกอบการผลิตภัณฑ์สมุนไพรที่ใช้ “ตัวทำละลายสารสกัดสมุนไพร” ประกอบด้วย 4 กลุ่มที่สามารถทำละลายได้แตกต่างกัน คือ คลอโรฟอร์ม อีเธอร์ เฮกเซน และแอลกอฮอล์ โดยแอลกอฮอล์จะเป็นตัวทำละลายที่ได้รับความนิยมสูงสุด จากข้อมูล พบว่าภาพรวมของการใช้แอลกอฮอล์ที่เป็นแบบ Food grade หรือ Pharmaceutical grade มีความต้องการมากกว่ากำลังการผลิต โดยจะมีผู้ประกอบการ 39 รายที่มีการสั่งซื้อแอลกอฮอล์จากองค์กรสุราเพื่อนำไปผลิตในส่วนที่เกี่ยวข้องกับสมุนไพรและผลิตภัณฑ์ยา ดังนั้น หากหน่วยงานภาครัฐจะมีการสนับสนุนผู้ประกอบการที่นำแอลกอฮอล์ไปใช้ในอุตสาหกรรมสมุนไพร โดยการสนับสนุนเงินอุดหนุนสำหรับผู้ประกอบการผลิตภัณฑ์สมุนไพรที่ใช้ตัวทำละลายสารสกัดสมุนไพร โดยจะต้องมีการวางแนวทางในการกำหนดเงื่อนไขและหลักเกณฑ์ในการใช้สิทธิ์ และติดตามผลการดำเนินงานให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของการสนับสนุน ซึ่งที่ประชุมมีมติมอบหมายให้กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กำหนดกลไกในการพิจารณามอบเงินอุดหนุนดังกล่าว อาทิ คุณสมบัติผู้ขอใช้สิทธิ์ วิธีการขอรับเงินอุดหนุน เงื่อนไขและหลักเกณฑ์ รวมถึงการติดตาม ควบคุม และดูแล พร้อมหารือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการขอรับจัดสรรงบประมาณ และดำเนินการมอบเงินอุดหนุนให้แก่ผู้ประกอบการผลิตภัณฑ์สมุนไพรต่อไปในอนาคต
11 เม.ย. 2568
“ดีพร้อม” เดินหน้าขับเคลื่อนซอฟต์พาวเวอร์แฟชั่นไทย สาขาบิวตี้ เสริมภาพลักษณ์ พัฒนาบุคลากรแบบดีพร้อม สร้างความความประทับใจในการบริการให้มีประสิทธิภาพ สอดรับแนวทางการปฏิรูปอุตสาหกรรมไทยสู่เศรษฐกิจยุคใหม่ตามนโยบาย รมว.เอกนัฎ
กรุงเทพฯ 4 เมษายน 2568 - ดร.ณัฐพล รังสิตพล ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม ให้เกียรติเป็นประธานเปิดการฝึกอบรมหลักสูตร “การแต่งหน้าเสริมภาพลักษณ์บุคลากรให้ดีพร้อม” (Perfect Look, Professional Image) โดยมี นางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กล่าวรายงาน ร่วมด้วย นายบรรจง สุกรีฑา รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม นางสุชาดา โพธิ์เจริญ ที่ปรึกษาปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม นางดวงดาว ขาวเจริญ และ นายสุรพล ปลื้มใจ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม นายชาญชัย สิริเกษมเลิศ ผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ คณะผู้บริหารและเจ้าหน้าที่กระทรวงอุตสาหกรรม โดยได้รับเกียรติจาก คุณหน่อย บุษกร วงศ์พัวพันธ์ ร่วมเป็นนางแบบสาธิตการแต่งหน้า ร่วมด้วย คุณกุ่ย วนิช เดชธราดล ช่างแต่งหน้ามือหนึ่งของเมืองไทย และทีมวิทยากร พร้อมเจ้าหน้าดีพร้อม เข้าร่วมงานดังกล่าว ณ ห้องประชุม 2 ชั้น 6 อาคารกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (DIPROM Headquarter) การจัดกิจกรรมในครั้งนี้ เป็นอีกหนึ่งกลไกการขับเคลื่อนและผลักดันซอฟต์พาวเวอร์ของไทย โดย กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม หรือดีพร้อม (DIPROM) ซึ่งได้รับมอบหมายให้เป็นกรรมการและเลขานุการร่วมภายใต้คณะกรรมการพัฒนาซอฟต์พาวเวอร์แห่งชาติ และเป็น Focal Point ในสาขาแฟชั่น ซึ่งมีการบูรณาการร่วมกับหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนเพื่อขับเคลื่อนนโยบาย Soft Power ภายใต้นโยบาย “ดีพร้อมคอมมูนิตี้ ที่นี่มีแต่ให้” พร้อมผลักดันอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ของไทยให้เป็นที่รู้จักทั่วโลก โดยหนึ่งในเป้าหมายของ Soft Power คือ อุตสาหกรรมเครื่องสำอางที่เป็นเครื่องมือสำคัญในการสร้างกระแสด้านแฟชั่นให้ประเทศไทย เนื่องจากมีจุดแข็งด้านวัตถุดิบที่เป็นสมุนไพรสามารถใช้เป็นส่วนผสมในการผลิตเครื่องสำอาง ซึ่งเป็นอัตลักษณ์ในการสร้างแบรนด์เครื่องสำอางของไทย ให้เป็นที่รู้จักของผู้บริโภคในประเทศและสร้างการรับรู้เพื่อขยายโอกาสในการส่งออก นอกจากนี้ การส่งเสริมให้บุคลากรภาครัฐหรือเอกชน อาทิ นักการทูต ข้าราชการ พนักงานโรงแรม พนักงานสายการบินไทยใช้ผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางของไทย เป็นอีกแนวทางหนึ่งในการช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจในประเทศ และสร้างอัตลักษณ์ความงามแบบไทยให้เป็นที่ยอมรับมากขึ้นในเวทีโลก การฝึกอบรมดังกล่าว ยังเป็นการให้ความรู้และเทคนิคการแต่งหน้าที่ถูกต้อง ทั้งในด้านโทนสี เทคนิค และการเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ให้เหมาะสมกับสภาพผิว โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นบุคลากรของหน่วยงานสังกัดกระทรวงอุตสาหกรรม จำนวน 80 คน ซึ่งได้รับเกียรติจากคุณหน่อย บุษกร วงศ์พัวพันธ์ เป็นนางแบบสาธิตการแต่งหน้า และคุณกุ่ย วนิช เดชธราดล ช่างแต่งหน้ามือหนึ่งของเมืองไทย พร้อมทีมงานเป็นวิทยากรมาร่วมถ่ายทอดความรู้และเทคนิคที่สามารถนำไปปรับใช้ได้จริงในการทำงาน ซึ่งจะเป็นการสร้างภาพลักษณ์ให้บุคลากรของ “ดีพร้อม” และกระทรวงอุตสาหกรรม รวมทั้งสะท้อนถึงมาตรฐานขององค์กร สร้างความน่าเชื่อถือและความเป็นมืออาชีพ ผ่านการแต่งกายและการแต่งหน้าที่เหมาะสม ถือเป็นหนึ่งในปัจจัยที่ช่วยเสริมบุคลิกภาพ สร้างความมั่นใจ และความประทับใจแก่ผู้มารับบริการ และช่วยยกระดับมาตรฐานการให้บริการภาครัฐให้มีประสิทธิภาพ ตามนโยบาย “ปฏิรูปอุตสาหกรรมไทยสู่เศรษฐกิจยุคใหม่ ทันสมัย สะอาด สะดวก โปร่งใส” ของ นายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมอีกด้วย
11 เม.ย. 2568
“อธิบดีณัฏฐิญา” เปิดบ้านติวเข้มคลื่นลูกใหม่ พร้อมเน้นย้ำการทำงานเพื่อผู้ประกอบการที่ดีพร้อมและเกิดผลสัมฤทธิ์ตามนโยบาย “ดีพร้อมคอมมูนิตี้ ที่นี่มีแต่ให้”
กรุงเทพฯ 4 เมษายน 2568 - นางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ให้เกียรติเป็นประธานเปิดการฝึกอบรม หลักสูตร “ปฐมนิเทศข้าราชการและพนักงานราชการใหม่” ร่วมด้วย นายพลาวุธ วงศ์วิวัฒน์ ผู้อำนวยการกองยุทธศาสตร์และแผนงาน ข้าราชการและพนักงานราชการใหม่สังกัดกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม หรือดีพร้อม (DIPROM) ทั้งจากส่วนกลางและภูมิภาค จำนวน 38 คน โดยมี นายวีระพล ผ่องสุภา เลขานุการกรม กล่าวรายงาน ณ ห้องประชุม 3 ชั้น 3 อาคารกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (DIPROM Headquarter) และในรูปแบบออนไลน์ผ่านระบบ Zoom Meeting ในโอกาสนี้ อธิบดีณัฏฐิญา ได้ให้โอวาทแก่บุคลากรผู้เข้าร่วมอบรมว่า “ดีพร้อม” มีความมุ่งมั่นที่จะส่งเสริม สนับสนุน พัฒนาอุตสาหกรรม วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม วิสาหกิจชุมชน ผู้ประกอบการและผู้ให้บริการธุรกิจอุตสาหกรรม ให้มีสมรรถนะและขีดความสามารถในการประกอบการที่มีความเป็นเลิศและยั่งยืนสู่สากล เพื่อสอดรับนโยบาย “ปฏิรูปอุตสาหกรรมไทยสู่เศรษฐกิจยุคใหม่ ทันสมัย สะอาด สะดวก โปร่งใส” ของ นายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ซึ่งการที่จะขับเคลื่อนหน่วยงานไปสู่เป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพนั้น บุคลากรของดีพร้อมทุกคนจำเป็นที่จะต้องมีความรู้ความเข้าใจในโครงสร้าง บทบาท ภารกิจ วิสัยทัศน์ ยุทธศาสตร์ ตลอดจนระเบียบแบบแผนต่าง ๆ ของหน่วยงานอย่างถูกต้อง จึงเป็นที่มาของการจัดฝึกอบรมในวันนี้ เพื่อให้ทุกคนมีความรู้ความเข้าใจในบทบาทหน้าที่ ยุทธศาสตร์และภารกิจของดีพร้อม ทั้งในด้านการจัดทำคำของบประมาณ การเขียนโครงการให้สอดคล้องกับกลุ่มเป้าหมายเพื่อผู้ประกอบการมีขีดความสามารถในการแข่งขันที่สูงขึ้น และสามารถรับมือกับสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นในทุก ๆ มิติได้อย่างดี นอกจากนี้ สายเลือดใหม่ของ “ดีพร้อม” จำเป็นจะต้องได้รับการปลูกฝังการปฏิบัติงานด้วยการยึดหลักคุณธรรม จริยธรรม ปฏฺบัติงานอย่างมีจิตสำนึก ระเบียบวินัย คุณธรรม ความซื่อสัตย์สุจริต รวมถึงสามารถทำงานเป็นทีม มีความสามัคคี ความมุ่งมั่นและอดทน รวมถึงสามารถแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าได้ ขณะเดียวกัน ยังเป็นการสร้างพื้นฐานในการเป็นบุคลากรของรัฐที่ดี และสามารถนำความรู้ที่ได้รับไปปรับใช้ในการปฏิบัติราชการ โดยขอให้คำนึงถึงผลประโยชน์ของผู้ประกอบการและประชาชนเป็นสำคัญ ทั้งนี้ ขอให้ปฏิบัติราชการอย่างเต็มกำลังความสามารถเดินหน้าปฏิรูปดีพร้อมสู่องค์กรทันสมัย พัฒนาอุตสาหกรรมใหม่ในพื้นที่ ส่งเสริมให้อุตสาหกรรมดีอยู่คู่ชุมชน พร้อมยกระดับศักยภาพผู้ประกอบการและผู้ให้บริการอุตสาหกรรมของไทยให้เติบโตและยั่งยืนสอดรับตามนโยบาย “ดีพร้อมคอมมูนิตี้ ที่นี่มีแต่ให้” ของ นางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรมด้วย
11 เม.ย. 2568
“อธิบดีณัฏฐิญา” แอ่วเหนือ ส่งมอบเครื่องจักร เดินหน้ายกระดับศูนย์ TIC ภูมิภาค หวังติดอาวุธเทคโนโลยีให้ ผปก. ตามนโยบาย รมว.เอกนัฏ
จ.เชียงใหม่ 2 เมษายน 2568 - นางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ลงพื้นที่ติดตามการดำเนินงานโครงการส่งเสริมซอฟต์พาวเวอร์สาขาอาหาร ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 และเป็นสักขีพยานในการส่งมอบและติดตั้งเครื่องจักร ระหว่างกองพัฒนาเกษตรอุตสาหกรรม (กอ.) และ ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 1 (ศภ.1) ร่วมด้วย นางดวงดาว ขาวเจริญ และนายดุสิต อนันตรักษ์ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม คณะผู้บริหารและเจ้าหน้าที่กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม หรือดีพร้อม (DIPROM) เข้าร่วมงานดังกล่าว ณ อาคารศูนย์นวัตกรรมอาหาร ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 1 อ.เมือง เชียงใหม่ โครงการส่งเสริมซอฟต์พาวเวอร์สาขาอาหาร ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 ซึ่งดำเนินการโดย กองพัฒนาเกษตรอุตสาหกรรม (กอ.) มีแผนการดำเนินงานติดตั้งเครื่องจักรให้กับหน่วยงานภูมิภาค จำนวน 5 แห่ง ได้แก่ ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 1 ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 5 ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 8 ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 9 และ ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 10 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อยกระดับศูนย์ปฏิรูปอุตสาหกรรม (Industrial Transformation Center: ITC) ให้สามารถรองรับการให้บริการสำหรับผู้ประกอบการในสาขาเกษตรอุตสาหกรรมที่ต้องการทดลองผลิตผลิตภัณฑ์ต้นแบบ โดยการให้การสนับสนุนเครื่องมือที่ทันสมัย เพื่อเปลี่ยนผ่านอุตสาหกรรมเดิมไปสู่อุตสาหกรรมเศรษฐกิจยุคใหม่ ซึ่งจะเป็นการติดอาวุธเพื่อเพิ่มศักยภาพให้ธุรกิจพร้อมเข้าสู่อุตสาหกรรม 5.0 โดยการใช้เทคโนโลยี AI และการผลิตสมัยใหม่ตามนโยบาย “ดีพร้อมคอมมูนิตี้ ที่นี่มีแต่ให้” ของ อธิบดีณัฏฐิญา นอกจากนี้ “อธิบดีณัฏฐิญา” ได้มอบหมายให้ กอ.กสอ. ดำเนินการประสานเรื่องการเตรียมข้อมูลและขั้นตอนการยื่นเอกสารขอการรับรองมาตรฐาน อย. และ GMP สำหรับการยกระดับศูนย์ ITC ให้มีมาตรฐาน ซึ่งเป็นที่ยอมรับในระดับสากล รวมถึงการวางผังกระบวนการผลิตให้เกิดความต่อเนื่อง ตั้งแต่การนำเข้าวัตถุดิบ ขั้นตอนการผลิต การบรรจุ และการส่งมอบผลิตภัณฑ์ ทั้งนี้ เพื่อให้สามารถเป็นโรงงานต้นแบบสำหรับให้ผู้ประกอบการ SMEs หรือผู้ที่สนใจสามารถเข้าเยี่ยมชม หรือใช้สำหรับการผลิตผลิตภัณฑ์ต้นแบบ เพื่อรองรับการเติบโตของ SMEs ให้มีมาตรฐานและก้าวเข้าสู่ตลาดในระดับสากล ตามโยบาย “ปฏิรูปอุตสาหกรรมไทยสู่เศรษฐกิจยุคใหม่ ทันสมัย สะอาด สะดวก โปร่งใส” ของ นายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม
08 เม.ย. 2568
“อธิบดีณัฏฐิญา” บินตรงเมืองล้านนา นำทัพ ผปก. ดีพร้อม ร่วมงาน Thailand Coffee Hub 2025 ภาคเหนือ โชว์ศักยภาพดันซอฟต์พาวเวอร์อาหารไทย ขานรับนโยบาย รมว.เอกนัฏ
จ.เชียงใหม่ 2 เมษายน 2568 - นางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ให้เกียรติเป็นประธานเปิดงาน Thailand Coffee Hub 2025 ภาคเหนือ โดย นายพรเทพ อรรถกิจไพศาล รักษาการผู้อำนวยการ กลุ่มปฏิบัติการสาขาภาคเหนือ บริษัท เซ็นทรัลพัฒนา จำกัด (มหาชน) กล่าวรายงาน ร่วมด้วย นางดวงดาว ขาวเจริญ และนายดุสิต อนันตรักษ์ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ผู้แทนจากหน่วยงานเครือข่ายพันธมิตร คณะผู้บริหารและเจ้าหน้าที่กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม หรือดีพร้อม (DIPROM) และสื่อมวลชนเข้าร่วมงานดังกล่าว ณ ลานโปรโมชั่น ชั้น 1 ศูนย์การค้าเซ็นทรัลเชียงใหม่ อ.เมืองเชียงใหม่ งาน Thailand Coffee Hub 2025 ภาคเหนือ จัดขึ้นระหว่างวันที่ 2 - 6 เมษายน 2568 ณ ลานโปรโมชั่น ชั้น 1 ศูนย์การค้าเซ็นทรัล เชียงใหม่ เพื่อแสดงศักยภาพผู้ประกอบการกลุ่มผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเกษตรแปรรูป อาหารแปรรูป และอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ภาคเหนือ ภายในงานเปิดเวทีเสริมแกร่งให้กับวิสาหกิจของไทยให้สามารถต่อยอดและขยายโอกาสผ่านการเจรจาธุรกิจ (Business Matching) เพื่อให้อุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่มของไทยเป็นที่รู้จักและสามารถแข่งขันได้ในระดับสากลต่อไป โดย ดีพร้อม ได้นำผู้ประกอบการกลุ่มอุตสาหกรรมกาแฟ โกโก้ และเครื่งดื่ม ที่ได้รับการส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพการประกอบการจากดีพร้อม จำนวน 12 กิจการ เข้าร่วมงานดังกล่าว ภายในโซน “DIPROM Community” เพื่อสร้างโอกาสทางธุรกิจและทดสอบตลาดให้กับผู้ประกอบการ SMEs และวิสาหกิจชุมชน รวมถึงแลกเปลี่ยนประสบการณ์และแบ่งปันองค์ความรู้ในด้านต่าง ๆ อีกด้วย ผู้ประกอบการที่เข้าร่วมงานดังกล่าว เป็นอีกหนึ่งความสำเร็จของการผลักดันนโยบาย Soft Power สาขาอาหาร ภายใต้นโยบาย “ดีพร้อมคอมมูนิตี้ ที่นี่มีแต่ให้” ผ่านกลยุทธ์ 4 ให้ 1 ปฏิรูป ที่มุ่งเน้นเชื่อมโยงความเป็นอัตลักษณ์ของพื้นที่และยกระดับกลุ่มผู้ประกอบการเกษตรอุตสาหกรรม โดยการนำเครื่องมือและเทคโนโลยีของความเป็นอุตสาหกรรมเข้าไปพัฒนาในกระบวนการตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ รวมถึงส่งเสริมภาพลักษณ์ผ่านการใช้อาหารไทยเป็นเครื่องมือในการกระตุ้นเศรษฐกิจและสร้างการรับรู้ในตลาดต่างประเทศ ตลอดจนยกระดับความรู้และแนวคิดการพัฒนาผลิตภัณฑ์ กระบวนการผลิตเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าเป้าหมาย เพื่อให้เกิดการสร้างงาน สร้างรายได้ สร้างเครือข่าย และเกิดเป็นห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain) ในอนาคต ซึ่งสอดรับกับการปฏิรูปอุตสาหกรรมไทยสู่เศรษฐกิจยุคใหม่ ตามนโยบายของ นายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม
08 เม.ย. 2568