Category
“อธิบดีณัฏฐิญา” แท็คทีมขุนพลดีพร้อม เร่งรัดติดตามการทำงาน ปี 68 พร้อมเน้นย้ำการทำงานให้เกิดผลสัมฤทธิ์ตามนโยบาย รมว.เอกนัฏ
กรุงเทพฯ 5 มีนาคม 2568 – นางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ให้เกียรติเป็นประธานการประชุมเร่งรัดติดตามการใช้จ่ายงบประมาณและผลการดำเนินงาน ของกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม หรือดีพร้อม (DIPROM) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 ครั้งที่ 1/2568 ร่วมด้วย นางดวงดาว ขาวเจริญ และนายสุรพล ปลื้มใจ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรมอุตสาหกรรม คณะผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ดีพร้อมที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมประชุม ณ ห้องประชุม 1 ชั้น 6 อาคารกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (DIPROM Headquarter) และในรูปแบบออนไลน์ผ่านแอปพลิเคชั่น Zoom Meeting การประชุมในครั้งนี้ เพื่อเร่งรัดติดตามการใช้จ่ายเงินงบประมาณและผลการดำเนินงานของ กสอ. ให้เป็นไปตามเป้าหมายที่วางไว้ โดยมีการรายงานผลการเบิกจ่ายงบประมาณตาม พ.ร.บ. งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2568 รวมทั้งเร่งรัดติดตามการใช้จ่ายงบประมาณและผลการดำเนินงานประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 ในภาพรวมของ กสอ. ประกอบด้วย ผลการเบิกจ่ายงบกลาง และผลการเบิกจ่ายงบกันเหลื่อมปี ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 รวมถึงผลการเบิกจ่ายและความคืบหน้าของงบลงทุน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 ที่ยังไม่ได้ดำเนินการผูกพันสัญญา ตลอดจนผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรมต่าง ๆ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 ด้วย อธิบดีณัฏฐิญา ได้รับฟังรายงานการดำเนินงาน ปัญหาและอุปสรรคต่าง ๆ และการเบิกจ่ายงบประมาณฯ โดยให้ข้อเสนอแนะแนวทางการปฏิบัติงาน รวมถึงนโยบายการปฏิบัติงานต่าง ๆ ดังนี้ 1) กำชับให้แต่ละหน่วยงานดำเนินการเร่งรัดเบิกจ่ายงบกลาง และงบกันเหลื่อมปี ของปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 รวมทั้งงบลงทุนของปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 ให้เป็นไปตามกรอบระยะเวลาที่กำหนดไว้ 2) ขอให้ทุกหน่วยงานเร่งดำเนินการผูกพันสัญญา (PO) เพื่อให้การใช้จ่ายงบประมาณฯ เป็นไปตามแผนงานที่กำหนด รวมถึงกิจกรรม/โครงการขับเคลื่อนซอฟต์พาวเวอร์ตามนโยบายของรัฐบาล 3) ขอให้กำหนดวงเงินการเบิกจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 ในแต่ละงวดงานของกิจกรรม/โครงการ ให้มีความสอดคล้องกับการเบิกจ่ายงบประมาณภาพรวมของดีพร้อม 4) ให้แนวทางการดำเนินงานเงินทุนหมุนเวียนฯ โดยเน้นการหาลูกค้าใหม่ที่มีศักยภาพและการออกผลิตภัณฑ์สินเชื่อตัวใหม่เพื่อดึงดูดความต้องการของลูกค้าให้มากขึ้น 5) เน้นย้ำแนวทางการบันทึกข้อมูลแผนผลในช่วงรอยต่อการเปลี่ยนถ่ายระบบแผนผลเดิมไปยังระบบใหม่ให้มีความถูกต้องและสมบูรณ์ และ 6) ขอทุกหน่วยงานใช้ประโยชน์จากการนำ AI มาประยุกต์ใช้ในการส่งเสริมผู้ประกอบการของดีพร้อมให้เกิดประสิทธิผลมากที่สุด นอกจากนี้ ยังมีการนำเสนอแนวทางการบันทึกข้อมูลการปรับแผนการดำเนินงาน เพื่อรองรับระบบแผนผลที่มีการพัฒนาเพิ่มเติมขึ้นมาใหม่ และแนวทางการขับเคลื่อนการพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศของดีพร้อมให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เพื่อรองรับการให้บริการผู้ประกอบการได้อย่างตรงจุด ซึ่งสอดรับกับกลยุทธ์ปฏิรูปดีพร้อม ตามนโยบาย “ดีพร้อมคอมมูนิตี้ ที่นี่มีแต่ให้ (DIPROM Community)” ที่มุ่งปฏิรูปดีพร้อมให้เป็นองค์กรที่ทันสมัยสามารถให้บริการวิสาหกิจไทยได้ครอบคลุมทุกพื้นที่ทั่วประเทศ อันจะทำให้อุตสาหกรรมเศรษฐกิจเติบโตอย่างยั่งยืนสอดรับกับนโยบาย “ปฏิรูปอุตสาหกรรมไทย สู่เศรษฐกิจยุคใหม่ ทันสมัย สะอาด สะดวก โปร่งใส” ของนายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมด้วย
10 มี.ค. 2025
รสอ.ดวงดาว ร่วมงานสร้างเครือข่ายคุณธรรม และจริยธรรมองค์กรภาครัฐ ขานรับการทำงานด้วยความโปร่งใส ตามนโยบาย รมว.เอกนัฏ
กรุงเทพฯ 4 มีนาคม 2568 - นางดวงดาว ขาวเจริญ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (รสอ.) ในฐานะผู้บริหารด้านการส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรม (Chief Ethic Promotion Officer – CEPO) ได้รับมอบหมายจาก นางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ให้เข้าร่วมโครงการรณรงค์ส่งเสริมจิตสำนึกและเสริมสร้างเครือข่ายคุณธรรม จริยธรรม และวินัยข้าราชการและเจ้าหน้าที่ของรัฐ พร้อมด้วย เจ้าหน้าที่กลุ่มนิติการ สำนักงานเลขานุการกรม โดยได้รับเกียรติจาก ดร.ปิยวัฒน์ ศิวรักษ์เลขาธิการ ก.พ. กล่าวเปิดงาน ณ หอประชุมสุขุมนัยประดิษฐ สำนักงาน ก.พ. และผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (Facebook Live) ของสำนักงาน ก.พ. โครงการดังกล่าว มีวัตถุประสงค์เพื่อขับเคลื่อนการดำเนินการตามพระราชบัญญัติ มาตรฐานทางจริยธรรม พ.ศ. 2562 และเสริมสร้างความเข้มแข็งให้แก่เจ้าหน้าที่ของรัฐ ซึ่งเป็นกลไกของส่วนราชการและหน่วยงานของรัฐที่เป็นเครือข่ายในการเสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรม การเสริมสร้างวินัย และการพัฒนาวัฒนธรรมองค์กรภาครัฐ โดยมีกลุ่มเป้าหมาย ประกอบด้วย หัวหน้าส่วนราชการ ข้าราชการและเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานเกี่ยวข้องกับการส่งเสริมจริยธรรม องค์กรกลางบริหารงานบุคคลประเภทต่าง ๆ องค์การมหาชน และหน่วยงานรัฐวิสาหกิจ รวมถึง ทหาร ตำรวจ องค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ เข้าร่วมจำนวนกว่า 500 คน ทั้งทางออนไซต์และออนไลน์ ภายในงาน มีการบรรยายในหัวข้อที่น่าสนใจ อาทิ การปาฐกพิเศษ หัวข้อ “จิตสำนึกและเกียรติภูมิของเจ้าหน้าที่ของรัฐ” โดย ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล เลขาธิการ มูลนิธิชัยพัฒนา มุ่งเน้นการสร้างจิตสำนึก คุณธรรมของเจ้าหน้าที่รัฐ ได้แก่ ทศพิธราชธรรม หลักธรรมพรหมวิหาร 4 สังคหวัตถุ 4 และอิทธิบาท 4 และเน้นเรื่องจริยธรรมของเจ้าหน้าที่รัฐ ได้แก่ มีระเบียบ วินัย ตรงต่อเวลา มีสติ รอบคอบ เสียสละ ซื่อสัตย์ สุจริต ประโยชน์ส่วนรวมมาก่อนประโยชน์ส่วนตน นอกจากนี้ มีการเสวนา เรื่อง “Performance with integrity” ซึ่งมีการพูดถึงการจัดทำประมวลจริยธรรม และการกำหนดผู้รับผิดชอบเกี่ยวกับการรักษาจริยธรรม การฝึกอบรมที่เกี่ยวข้อง นอกจากนี้ ยังมีการเสวนาเรื่อง “AI and Integrity” โดยมีการพูดถึงความน่าเชื่อถือของระบบ AI ซึ่งไม่สามารถเชื่อถือได้ทั้งหมด จึงต้องอาศัยมนุษย์ในการพิจารณากลั่นกรองในขั้นตอนสุดท้าย หากภาครัฐจะนำ AI มาใช้ปฏิบัติงาน จะต้องมีความรับผิดชอบและใช้งานด้วยความโปร่งใสร่วมด้วย กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม หรือ ดีพร้อม ซึ่งเป็นหนึ่งในหน่วยงานภาครัฐที่มีบทบาทสำคัญในการให้บริการแก่ผู้ประกอบการในภาคอุตสาหกรรม จึงให้ความสำคัญอย่างยิ่งในการพัฒนาศักยภาพของบุคลากรให้ดีพร้อม รวมทั้งเสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรม วินัย และวัฒนธรรมองค์กร สอดรับกับนโยบาย “ปฏิรูปอุตสาหกรรมไทย สู่เศรษฐกิจยุคใหม่ ทันสมัย สะอาด สะดวก โปร่งใส” ของนายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ที่มุ่งปฏิรูปดีพร้อมให้เป็นองค์กรที่ทำงานด้วยความสะอาด สะดวก โปร่งใส และพร้อมให้บริการวิสาหกิจไทยได้ครอบคลุมทุกพื้นที่ทั่วประเทศ
10 มี.ค. 2025
“ดีพร้อม” อัพสกิลผู้ประกอบการกลุ่มรถยนต์ EV และ โดรน เสริมแกร่งระบบซัพพลายเชน และอีโคซิสเท็ม รองรับการขยายตัวของอุตฯ ยานยนต์สมัยใหม่ มุ่งสร้างผู้ประกอบการ EV และ DRONE กว่า 170 ราย เกิดมูลค่าธุรกิจกว่า 600 ล้านบาท สอดรับนโยบาย รมว.เอกนัฏ
จ.นนทบุรี 5 มีนาคม 2568 – นางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ให้เกียรติเป็นประธานในพิธีเปิดตัว “กิจกรรมสร้างและพัฒนาผู้ประกอบการกลุ่มยานยนต์ไฟฟ้าและอากาศยานไร้คนขับ (NEC DIPROM ACADEMY for EV & DRONE) เพื่อการเติบโตแบบดีพร้อม” ภายใต้กิจกรรมฝึกอบรมสร้างจิตวิญญาณในการเป็นผู้ประกอบการ (NEC DIPROM) ร่วมด้วย นางดวงดาว ขาวเจริญ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม คณะผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ดีพร้อม คณะวิทยากรและผู้ประกอบการ เข้าร่วม ณ ห้องแซฟไฟร์ 204 อาคารศูนย์ประชุม อิมแพ็ค ฟอรั่ม อิมแพ็ค เมืองทองธานี ในการจัดกิจกรรมดังกล่าว มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาระบบซัพพลายเชน (Supply Chain) และอีโคซิสเท็ม (Ecosystem) รองรับการเติบโตของอุตสาหกรรมรถยนต์ไฟฟ้า หรือ อีวี (EV) และอากาศยานไร้คนขับ หรือ โดรน (DRONE) ซึ่งเข้ามามีบทบาทในการใช้ชีวิตของคนไทยมากขึ้นในปัจจุบัน เห็นได้จากยอดการใช้รถยนต์ที่ใช้ไฟฟ้าจากแบตเตอรี่ 100% หรือ BEV ที่มีการเพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดด จากสถิติของกรมขนส่งทางบก ระบุว่า ปี 2020 มียอดจดทะเบียนรถ BEV สะสมเพียง 5,685 คัน ปี 2021 เพิ่มขึ้นเป็น 11,382 คัน ปี 2022 เพิ่มเป็น 32,081 คัน ปี 2023 พุ่งทะลุไปถึง 131,856 คัน ปี 2024 มีจำนวนเพิ่มเป็น 154,027 คัน และยอดสะสมรวมจนถึงเดือน ม.ค. ปี 2025 มีจำนวนเพิ่มเป็น 242,076 คัน คิดเป็น 63.55% ของยอดจดทะเบียนรถยนต์ทั้งหมด และในส่วนของอุตสาหกรรมโดรนนั้น มีอัตราการเติบโตและก้าวหน้าอย่างมาก โดยเฉพาะโดรนเพื่อการเกษตรในประเทศไทยที่ใช้เพื่อเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจ อาทิ การตรวจสอบสภาพพื้นที่เกษตร การฉีดพ่นสารเคมี และการเก็บข้อมูลด้านการเกษตร เป็นต้น โดยข้อมูลจากคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ล่าสุดระบุว่า ในปี 2024 โดรนจดทะเบียนทั้งสิ้น 130,000 ลำ ทั้งนี้ ประเทศไทยมีโดรนการเกษตรสะสมมากที่สุดอยู่ราว 20,000 ลำ และคาดว่าจะเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยยะสำคัญ จากการขยายตัวของการใช้รถยนต์ EV และโดรน ที่เพิ่มขึ้น ดังกล่าว หากขาดระบบซัพพลายเชน (Supply Chain) และอีโคซิสเท็ม (Ecosystem) ที่ดีอาจจะส่งผลกระทบต่อผู้ใช้รถยนต์ EV และโดรนทั่วทั้งประเทศ ดังนั้น กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม หรือ ดีพร้อม (DIPROM) ภายใต้การนำของ นางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม มีการดำเนินนโยบาย “ดีพร้อมคอมมูนิตี้ ที่นี่มีแต่ให้” ผ่าน “4 ให้ และ 1 ปฏิรูป” ได้แก่ 1) ให้ทักษะใหม่ เพื่อเสริมสร้างความพร้อมในด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรม 2) ให้เครื่องมือที่ทันสมัย เพื่อยกระดับการผลิตและเพิ่มผลิตภาพ 3) ให้โอกาสโตไกล ด้วยการสนับสนุนเครือข่ายและการเข้าถึงตลาด และ 4)ให้ธุรกิจไทยที่ดีคู่ชุมชน เพื่อส่งเสริมอุตสาหกรรมที่ยั่งยืนและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม โดยกิจกรรม "สร้างและพัฒนาผู้ประกอบการกลุ่มยานยนต์ไฟฟ้าและอากาศยานไร้คนขับ (NEC DIPROM ACADEMY for EV & DRONE) เพื่อการเติบโตแบบดีพร้อม” มีเป้าหมายหลัก 4 ประการ ได้แก่ 1) เพื่อพัฒนาทักษะของผู้ประกอบการเพื่อเตรียมความพร้อมสู่อุตสาหกรรมป้องกันประเทศและอุตสาหกรรมแห่งอนาคต 2)เพื่อเตรียมความพร้อมให้กับผู้ประกอบการในการซ่อมอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องที่ได้รับผลกระทบจากภัยพิบัติ อาทิ ภัยธรรมชาติที่อาจส่งผลกระทบต่อยานยนต์ไฟฟ้าและโดรนที่อาจเกิดขึ้นใน 3) เพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาของเสียและปัญหาทรัพยากรธรรมชาติตามหลักการของเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) ที่อาจเกิดขึ้นจากซากยานยนต์ไฟฟ้าและโดรน เพื่อเป็นการคืนสภาพหรือให้ชีวิตใหม่แก่วัสดุต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง และ 4) เพื่อพัฒนาความร่วมมือกับนานาชาติในการพัฒนายานยนต์ไฟฟ้าและโดรน อีกทั้ง เป็นการสร้างความร่วมมือภายในกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ในการวางพื้นฐานด้านการจัดตั้งธุรกิจ ผ่านการเขียนแผนธุรกิจ Business Model Canvas (BMC) และสร้างผู้ประกอบการใหม่ เพื่อส่งต่อให้กับหน่วยงานต่างๆ ภายในดีพร้อม สอดคล้องตามโยบาย “ปฏิรูปอุตสาหกรรมไทยสู่เศรษฐกิจยุคใหม่ ทันสมัย สะอาด สะดวก โปร่งใส” ของ นายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม โดยผู้เข้าร่วมกิจกรรมจะได้รับการพัฒนาทักษะ ผ่านกิจกรรมเวิร์คชอปที่หลากหลาย เป็นเวลา 4 วัน อาทิ การเขียนโมเดลธุรกิจ การเรียนรู้พื้นฐานของรถยนต์ EV และ โดรน การเรียนรู้เกี่ยวกับความปลอดภัยสำหรับช่าง เป็นต้น ซึ่งคาดว่าการจัดกิจกรรมในครั้งนี้ จะสามารถยกระดับผู้ประกอบการอู่ซ่อมรถยนต์ได้ปรับตัวสู่ยุครถยนต์ EV ยกระดับอุตสาหกรรมโดรน และสร้างผู้ประกอบการด้านรถ EV และ DRONE เพิ่มขึ้นได้มากกว่า 170 ราย เกิดมูลค่าธุรกิจกว่า 600 ล้านบาท
06 มี.ค. 2025
อธิบดีณัฏฐิญา ชม ช้อป ชิม ภายในงาน “เปิดครัวดีพร้อม Soft Power อาหารไทย อิ่มอร่อยที่ดีพร้อม”
กรุงเทพฯ 4 มีนาคม 2568 - นางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม เยี่ยมชมบูธผู้ประกอบการที่มาร่วมจัดแสดงและจำหน่ายสินค้าภายในงาน “เปิดครัวดีพร้อม Soft Power อาหารไทย อิ่มอร่อยที่ดีพร้อม” ณ ห้องนิทรรศการและบริเวณลานจอดรถ ชั้น 1 อาคารกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (DIPROM Headquarter) โดยภายในงานดังกล่าว มีผู้ประกอบการเข้าร่วมแสดงและจัดจำหน่ายสินค้ากว่า 80 ร้านค้า ประกอบไปด้วยสินค้าและผลิตภัณฑ์ที่ผ่านการส่งเสริมและพัฒนาจาก “ดีพร้อมคอมมูนิตี้ ที่นี่มีแต่ให้” ผ่านกลยุทธ์การให้ยกระดับทักษะที่มีอยู่เดิม (Upskill) และสร้างทักษะขึ้นมาใหม่ (Reskill) รวมถึงการให้โอกาสโตไกลด้วยการพัฒนาและยกระดับผลิตภัณฑ์ด้วยเทคโนโลยี นวัตกรรม และเครื่องมือต่าง ๆ ของดีพร้อม เพื่อให้ตอบโจทย์ความต้องการของตลาด การสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลิตภัณฑ์ผ่านอัตลักษณ์และภูมิปัญญา รวมทั้งยังมีร้านอาหารที่มีการใช้วัตถุดิบและการประกอบอาหารตามแบบท้องถิ่น ตลอดจนมีการจัดอบรมเสริมทักษะในการสร้างแบรนด์ การนำเสนอสินค้าและบริการให้สามารถขยายตลาดทั้งในและต่างประเทศ งาน “เปิดครัวดีพร้อม Soft Power อาหารไทย อิ่มอร่อยที่ดีพร้อม” ถือเป็นอีกหนึ่งการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์การพัฒนาซอฟต์พาวเวอร์ไทยสาขาอาหารของดีพร้อม เพื่อสร้างการรับรู้ถึงความสำคัญการประยุกต์ใช้วัตถุดิบท้องถิ่นมาประกอบเมนูอาหารให้มีเอกลักษณ์เฉพาะถิ่น สามารถสร้างชื่อเสียงให้กับชุมชน สร้างอาชีพ และสร้างรายได้ผ่านสาธิตการประกอบอาหารโดยเชฟมืออาชีพ การสื่อสารตลาดออนไลน์ การจัดแสดงและจำหน่ายผลิตภัณฑ์ชุมชน สำหรับท่านที่สนใจ สามารถเข้าร่วมชม ช้อป ชิมภายในงาน “เปิดครัวดีพร้อม Soft Power อาหารไทย อิ่มอร่อยที่ดีพร้อม” ได้ตั้งแต่วันนี้จนถึงวันที่ 7 มีนาคม 2568 ตั้งแต่เวลา 08.00-14.00 น.
06 มี.ค. 2025
“รสอ.ดุสิต" ถกคณะอนุกรรมการบริหารเงินทุนหมุนเวียนฯ 1 ครั้งที่ 1/68 หนุนให้โอกาสเข้าถึงแหล่งทุน ตามนโยบาย "ที่นี่มีแต่ให้" ของ "อธิบดีณัฏฐิญา"
กรุงเทพฯ 3 มีนาคม 2568 – นายดุสิต อนันตรักษ์ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ให้เกียรติเป็นประธานการประชุมคณะอนุกรรมการบริหารเงินทุนหมุนเวียนเพื่อการส่งเสริมอาชีพอุตสาหกรรมในครอบครัวและหัตถกรรมไทย 1 ครั้งที่ 1/2568 พร้อมด้วย คณะอนุกรรมการฯ และเจ้าหน้าที่กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม หรือดีพร้อม (DIPROM) ณ ห้องประชุม 1 ชั้น 3 อาคารกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (DIPROM Headquarter) และในรูปแบบออนไลน์ผ่านระบบ Zoom Meeting การประชุมดังกล่าวจัดขึ้น เพื่อร่วมกันพิจารณาอนุมัติเงินกู้สินเชื่อเพื่อส่งเสริมผู้ประกอบการให้ดีพร้อม (Working Capital for SMEs) วงเงินกู้ไม่เกิน 2 ล้านบาท ให้กับผู้ประกอบกิจการที่ทำเครื่องประดับอัญมณีเพชรพลอย ซึ่งมีการจำหน่ายสินค้าในรูปแบบออนไลน์ร้อยละ 70 และรับจ้างผลิต (OEM) ร้อยละ 30 โดยวัตถุประสงค์ในการยื่นขอรับบริการเงินทุนหมุนเวียนฯ ในครั้งนี้ เพื่อนำไปใช้ในการสำรองวัตถุดิบสำหรับการผลิตให้ลูกค้า เนื่องจากการสั่งซื้อวัตถุดิบในปริมาณมากต่อครั้งจะเป็นการลดต้นทุนค่าขนส่งและต้นทุนวัตถุดิบได้ รวมถึงเป็นเงินสำรองเพื่อใช้ในการจ้างแรงงานและสำหรับหมุนเวียนในการดำเนินกิจการด้วย โดยฝ่ายเลขานุการฯ ได้นำเสนอรายละเอียดการดำเนินธุรกิจและบทวิเคราะห์ความเป็นไปได้ในการชำระหนี้ของกิจการดังกล่าวต่อที่ประชุม ซึ่งคณะอนุกรรมการฯ พิจารณาร่วมกันแล้ว มีมติเห็นชอบอนุมัติวงเงินสินเชื่อ จำนวน 8 แสนบาท ให้กับผู้ประกอบการดังกล่าว เพื่อใช้เป็นเงินทุนในการสำรองวัตถุดิบและหมุนเวียนในธุรกิจ ซึ่งสอดรับตามนโยบาย “ดีพร้อมคอมมูนิตี้ ที่นี่มีแต่ให้” ภายใต้กลยุทธ์ 4 ให้ 1 ปฏิรูป ของดีพร้อม โดยการให้โอกาสผู้ประกอบการได้มีเงินทุนต่อยอดในการดำเนินธุรกิจต่อไป นอกจากนี้ ยังมีการรายงานผลการบริหารเงินทุนหมุนเวียนฯ ในภาพรวมของเงินทุนหมุนเวียนฯ ศภ.7 ศภ.9 และ ศภ.10 กสอ. เพื่อให้อนุกรรมการฯ รับทราบ อีกด้วย
06 มี.ค. 2025
“ดีพร้อม” จับมือเดลต้า คิกออฟ “ดีพร้อม x เดลต้า เองเจิล ฟันด์ คอนเน็ค ปีที่ 10” ดึง 2 พันธมิตร ชู Content Marketing ขยายฐานลูกค้า ผ่านเงินทุน 5 ล้านบาท หวังสร้างมูลค่าทางการตลาดกว่า 10 เท่า สอดรับนโยบาย รมว.เอกนัฏ
กรุงเทพฯ 3 มีนาคม 2568 – นายดุสิต อนันตรักษ์ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ได้รับมอบหมายจาก นางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม เป็นประธานในพิธีเปิดการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการหลักสูตร “การพัฒนาทักษะและองค์ความรู้ด้านการตลาด (Marketing Camp)” ภายใต้โครงการเชื่อมโยงแหล่งเงินทุนและตลาดสำหรับวิสาหกิจเริ่มต้น หรือ DIPROM x DELTA Angel Fund Connect ปีที่ 10 ร่วมด้วย นาย วิคเตอร์ เจิ้ง ประธานกรรมการบริหาร บริษัท เดลต้า อีเลคโทรนิคส์ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) นางทรงสมร พาณิชย์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท มีเดีย แท็งค์ จำกัด นายก่อพงศักดิ์ ตันติศิริรักษ์ นายกสมาคมการค้าอินฟลูเอนเซอร์ไทย คณะผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ดีพร้อม กลุ่มผู้ประกอบการสตาร์ทอัพ กลุ่มอินฟลูเอนเซอร์ และสื่อมวลชน ณ โรงแรมเบสท์ เวสเทิร์น จตุจักร การฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการฯ ดังกล่าว เป็นการบ่มเพาะทักษะทางธุรกิจและการตลาดอย่างเข้มข้น (Marketing Camp) ภายใต้โครงการเชื่อมโยงแหล่งเงินทุนและตลาดสำหรับวิสาหกิจเริ่มต้น หรือ DIPROM x DELTA Angel Fund Connect ปีที่ 10 รวมทั้งเชื่อมโยงเครือข่ายกับผู้สร้างสรรค์คอนเทนต์ (Content Creator) ปั้นเทรนด์การเสพคอนเทนต์ด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมบนแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดีย โดยได้รับความร่วมมือจาก 2 พันธมิตรสำคัญ คือ 1) สมาคมการค้าอินฟลูเอนเซอร์ไทย ร่วมคัดเลือกผู้สร้างสรรค์คอนเทนต์เข้าร่วมโครงการ โดยมีบทบาทสำคัญในการช่วยพัฒนาต่อยอดกลยุทธ์การตลาดผ่านการสร้างเนื้อหา (Content Marketing) ให้เกิดเป็นกระแส และสร้างการรับรู้ให้กับผู้คนทั่วโลก เป็นการสร้างโอกาสให้สตาร์ทอัพสามารถเข้าถึงช่องทางการตลาดใหม่ ๆ ขยายฐานลูกค้า และผลักดันไปสู่ระยะเติบโตมากขึ้น และ 2) บริษัท มีเดีย แท็งค์ จำกัด (Shark Tank Thailand) ร่วมคัดเลือกและส่งต่อสตาร์ทอัพเข้าร่วมรายการ เพื่อให้สามารถสร้างโอกาสในการเชื่อมโยงไปสู่นักลงทุนรายอื่น ๆ อีกทั้งยังเปิดโอกาสให้สตาร์ทอัพได้ทำงานร่วมกับพันธมิตรภาคอุตสาหกรรม เพื่อร่วมทดลองใช้นวัตกรรม หรือ โซลูชั่นส์ในตลาดจริง (Proof of Concept: PoC) เพื่อให้ตอบโจทย์ความต้องการและง่ายต่อการขยายผลในเชิงธุรกิจ ก่อนเข้าสู่การนำเสนอโมเดลธุรกิจต่อแหล่งทุนในกิจกรรม Pitching Day ต่อไป นอกจากนั้น ยังมีพันธมิตรหลักคนสำคัญ คือ บริษัท เดลต้า อีเลคโทรนิคส์ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) ที่ร่วมกับดีพร้อมในการดำเนินธุรกิจเชิง CSR ผ่านการสนับสนุนทุนเพื่อพัฒนาและต่อยอดให้กับสตาร์ทอัพไทย ภายใต้โครงการ Angel Fund มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2559 จนถึงปัจจุบัน ส่งผลให้สตาร์ทอัพไทยได้รับการส่งเสริมศักยภาพกว่า 200 ราย เป็นเงินทุนมากกว่า 33 ล้านบาท สำหรับปี 2568 นี้ เดลต้า ได้สนับสนุนเงินทุนจำนวน 5 ล้านบาท โดยแบ่งเป็น การสนับสนุนสตาร์อัพที่มีธุรกิจและผลิตภัณฑ์เชิงนวัตกรรม จำนวน 4 ล้านบาท และสนับสนุนผู้สร้างสรรค์คอนเทนต์ จำนวน 1 ล้านบาท โดยให้ความสำคัญกับนวัตกรรมหรือเทคโนโลยี ที่จะแก้ไขปัญหาของโลกในบริบทต่าง ๆ เป็นหลัก โดยคาดว่าตลอดโครงการฯ จะสามารถสร้างมูลค่าทางการตลาดได้กว่า 50 ล้านบาท ทั้งนี้ DIPROM x DELTA Angel Fund Connect ปีที่ 10 เป็นโครงการที่สร้างกลไกสนับสนุนการพัฒนาขีดความสามารถในการดำเนินธุรกิจของสตาร์ทอัพ ตามนโยบาย "ที่นี่มีแต่ให้" ของ นางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ในการให้โอกาสเข้าถึงแหล่งทุนในรูปแบบเงินสนับสนุนแบบให้เปล่า เพื่อนำไปต่อยอดแนวคิดให้เกิดขึ้นเป็นธุรกิจใหม่ และขับเคลื่อนธุรกิจเชิงนวัตกรรมให้มีโอกาสเติบโตในเชิงพาณิชย์ สอดรับนโยบาย “ปฏิรูปอุตสาหกรรมไทยสู่เศรษฐกิจยุคใหม่ ทันสมัย สะอาด สะดวก โปร่งใส” ของ นายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม อีกด้วย
06 มี.ค. 2025
“รสอ.ดวงดาว" บันทึกเทปรายการ NBT มีคำตอบ เดินหน้าสนับสนุนนักออกแบบไทย ผ่านโครงการ DIPROM Thai Designer Lab 2025 มุ่งเน้นการนำเทคโนโลยี นวัตกรรมมาใช้ในการพัฒนาดีไซน์เนอร์ไทยสู่เวทีสากล ตามนโยบาย รมว.เอกนัฏ
กรุงเทพฯ 3 มีนาคม 2568 - นางดวงดาว ขาวเจริญ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ได้รับมอบหมายจากนางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ให้เกียรติบันทึกเทปรายการ NBT มีคำตอบ ในประเด็นการเดินหน้าสนับสนุนนักออกแบบไทย ผ่านโครงการ DIPROM Thai Designer Lab 2025 โดย นายนวัศกรณ์ สรษณะ เป็นผู้ดำเนินรายการ ณ สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย (NBT) กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม หรือดีพร้อม (DIPROM) เร่งดำเนินการตามยุทธศาสตร์การพัฒนาซอฟต์พาวเวอร์ ใน 4 สาขาอุตสาหกรรมแฟชั่น ได้แก่ เสื้อผ้าและเครื่องแต่งกายไทย (Apparel) อัญมณีและเครื่องประดับไทย (Jewelry) หัตถอุตสาหกรรมไทย (Craft) และเครื่องสำอางและความงามไทย (Beauty) ผ่านการดำเนินงานโครงการพัฒนานักออกแบบดีพร้อมในอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ (DIPROM Thai Designer Lab 2025) ซึ่งจัดต่อเนื่องเป็นปีที่ 2 มุ่งเน้นการพัฒนาศักยภาพนักออกแบบอย่างครบวงจร ผ่านการค้นคว้า วิจัยและทดลอง (Design Lab) สร้างประสบการณ์โดยตรงให้กับนักออกแบบ ให้พร้อมรับมือกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา ไม่ใช่เพียงออกแบบได้ดีเท่านั้น แต่ยังต้องคาดการณ์สถานการณ์ในอนาคตได้ดีด้วย โดย “ดีพร้อม” สนับสนุนและส่งเสริมการนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีมาช่วยสร้างเครื่องมือทางการตลาดในรูปแบบใหม่เพื่อตอบโจทย์ตลาดดิจิทัล (Digital Marketing) โดยจะยกระดับความสามารถในการแข่งขันของผู้ประกอบการธุรกิจแฟชั่นของไทยให้เทียบเท่าหรือเป็นที่ยอมรับในระดับสากล ในปี 2025 นี้ ผ่านธีม “Soft Power Fashion” เพื่อให้เกิดการเชื่อมโยงทุนทางวัฒนธรรมของไทยต่อยอดไปสู่การผลิตสินค้าแฟชั่นเชิงสร้างสรรค์ที่มีมูลค่าเพิ่ม และขยายโอกาสทางการตลาด พร้อมผลักดัน Soft Power สาขาแฟชั่นของไทยให้ก้าวสู่เวทีในระดับโลกต่อไป สอดรับนโยบาย “ปฏิรูปอุตสาหกรรมไทยสู่เศรษฐกิจยุคใหม่ ทันสมัย สะอาด สะดวก โปร่งใส” ของ นายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม นอกจากนี้ “ดีพร้อม” ยังมีการสนับสนุนภาคอุตสาหกรรมด้านอื่น ๆ อีกมากมาย ตามนโยบาย “ดีพร้อม คอมมูนิตี้ ที่นี่มีแต่ให้” ของ นางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ภายใต้แนวทาง 4 ให้ 1 ปฏิรูป ประกอบด้วย (1) การให้ทักษะใหม่ ทั้งการ Upskill, Reskill และสร้างทักษะใหม่ หรือ New skill ด้วยหลักสูตรที่ทันสมัยมีมาตรฐานรับรอง (2) ให้เครื่องมือที่ทันสมัย เปลี่ยนผ่านอุตสาหกรรมเดิมไปสู่อุตสาหกรรมเศรษฐกิจใหม่ เพื่อเพิ่มศักยภาพและเสริมความแข็งแกร่งให้กับวิสาหกิจ (3) ให้โอกาสโตไกลเพื่อวิสาหกิจไทยได้มีขีดความสามารถในการประกอบการเข้าถึงโอกาสต่าง ๆ อาทิ แหล่งเงินทุน การเชื่อมโยงเครือข่ายเป็นซัพพลายเชนที่เข้มแข็ง รวมถึงการสร้างโอกาสเข้าถึงช่องทางการตลาด และ (4) ให้ธุรกิจไทยที่ดีคู่ชุมชน มุ่งส่งเสริมและพัฒนาผู้ประกอบการที่ดี มีขีดความสามารถในการแข่งขันและเติบโตได้อย่างยั่งยืน ตลอดจนยังให้ความสำคัญกับการปฏิรูปดีพร้อมเพื่อมุ่งสู่องค์กรทันสมัยในด้านต่าง ๆ ทั้งการพัฒนาองค์กรและบุคลากร ให้สามารถก้าวทันการเปลี่ยนแปลงในสภาพแวดล้อมทางธุรกิจที่เปลี่ยนไปได้ ทั้งนี้ ผู้ที่สนใจเข้าร่วมโครงการ DIPROM Thai Designer Lab 2025 สามารถติดต่อสอบถามเพื่อสมัครเข้าร่วมโครงการได้ตั้งแต่วันนี้ ถึง 12 มีนาคม 2568 โดยผู้ที่ผ่านการพัฒนาจะมีโอกาสได้เข้าร่วมกิจกรรมการศึกษาดูงาน Field Trip จากแบรนด์ดังระดับประเทศ เรียนรู้และแชร์ประสบการณ์ในค่ายปฏิบัติการออกแบบ (Design Lab) และให้คำปรึกษาแบบตัวต่อตัวสุด Exclusive กับดีไซเนอร์ระดับประเทศ สามารถนำความรู้ ทักษะ และประสบการณ์ที่ได้ไปประยุกต์ใช้ในการดำเนินธุรกิจ สามารถสร้างความโดดเด่นเป็นอัตลักษณ์ให้กับแบรนด์ของตนเอง และตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภคยุคปัจจุบัน พร้อมสู่การเติบโตอีกระดับก้าวสู่การเป็นแบรนด์สินค้าที่เป็นที่รู้จักในระดับสากล รวมทั้งเกิดการการสร้างเครือข่ายความร่วมมือในกลุ่มนักออกแบบและผู้ประกอบการอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ เกิดการเชื่อมโยงธุรกิจ ก่อให้เกิดพันธมิตรทางธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยสามารถติดตามรับชมได้ทางรายการ NBT มีคำตอบ ออกอากาศในวันศุกร์ที่ 7 มีนาคม 2568 เวลา 15.30 – 16.00 น. ทางสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย (NBT) และ Facebook : Live NBT- เอ็นบีที
06 มี.ค. 2025
ดีพร้อม คพอ. รุ่นที่ 423 กระบี่ พัฒนา SME ให้เป็น Smart SME และยกระดับธุรกิจให้เติบโต เกิดการเชื่อมโยงเครือข่าย SME
เชิญผู้ที่สนใจสมัครเข้าร่วมอบรมโครงการ การพัฒนาองค์ความรู้และศักยภาพด้านการบริหารจัดการ (ดีพร้อม คพอ.) ดำเนินการโดย : ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 10 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ดีพร้อม คพอ. รุ่นที่ 423 กระบี่ พัฒนา SME ให้เป็น Smart SME และยกระดับธุรกิจให้เติบโต เกิดการเชื่อมโยงเครือข่าย SME กลุ่มเป้าหมาย ขอเชิญชวนผู้ประกอบการในพื้นที่จังหวัดกระบี่ สัมภาษณ์วันที่ 24 มีนาคม 2568 ประกาศรายชื่อผู้ผ่านคัดเลือก วันที่ 28 มีนาคม 2568 หลักสูตร 16 วัน ระหว่างวันที่ 26 เมษายน – 25 พฤษภาคม 2568 ณ โรงแรมกระบี่รีสอร์ท ตำบลอ่าวนาง อำเภอเมือง จังหวัดกระบี่ รับสมัครตั้งแต่บัดนี้ ถึง วันที่ 20 มีนาคม 2568 สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม คุณเติมศักดิ์ (เติม) 09 5283 2195 คุณกนกวรรณ (ปู) 09 4466 3992 คุณชุลีพรรณ (ปิง) 08 8826 6581
05 มี.ค. 2025
เปิดรับสมัครผู้ประกอบการเข้าร่วมกิจกรรม ยกระดับผลิตภัณฑ์อาหารชุมชนโดยการใช้เทคโนโลยี เครื่องจักร นวัตกรรม
รับสมัครผู้ประกอบการเข้าร่วมกิจกรรม ยกระดับผลิตภัณฑ์อาหารชุมชนโดยการใช้เทคโนโลยี เครื่องจักร นวัตกรรม ที่สอดคล้องกับอัตลักษณ์ประจำถิ่น (ภาคใต้) ดำเนินการโดย : ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 10 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ภายใต้โครงการ : ยกระดับศูนย์นวัตกรรมอาหารชุมชน ประจำปีงบปนะมาณ พ.ศ. 2568 คุณสมบัติผู้สมัคร จดทะเบียนเป็นนิติบุคคล ทะเบียนการค้า ทะเบียนพาณิชย์ ทะเบียนวิสาหกิจชุมชน ทะเบียน OTOP ผู้ถือหุ้นเป็นคนไทย ร้อยละ 51 ขึ้นไป มีอัตลักษณ์ชุมชน และมีผลิตภัณฑ์อาหารเดิมที่ยังไม่ตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้า หรือต้องการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรมจากศูนย์นวัตกรรมในพื้นที่ เช่น การแปรรูปด้วยเทคโนโลยีหั่นย่อย อบแห้ง ระเหยข้น สกัดด่วน เป็นต้น และสามารถต่อยอดเป็น Soft Power ด้านอาหารได้ สิ่งที่ได้จากการเข้าร่วมโครงการ การให้คำปรึกษาแนะนำเชิงลึกโดยผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนาในกลุ่มผลิตภัณฑ์อาหารแปรรูป จำนวนไม่น้อยกว่า 12 Man-day การทดสอบตลาด การพัฒนาหรือปรับปรุง พัฒนาช่องทางออนไลน์ อย่างน้อย 1 เว็บไซต์ การจัดทำเรื่องราวผลิตภัณฑ์ (Storytelling) ด่วน รับสมัครจำนวนจำกัด ฟรีไม่มีค่าใช้จ่าย หมดเขตรับสมัครวันที่ 14 มีนาคม 2568 ติดต่อสอบถามเพิ่มเติม คุณธรรมนูญ รัตนมูสิก 08 2254 6591 thammanoon@nfi.or.th
05 มี.ค. 2025
เชิญเข้าอบรมเชิงปฏิบัติการ หัวข้อ Soft Power Food Export Strategy
เชิญเข้าอบรมเชิงปฏิบัติการ หัวข้อ Soft Power Food Export Strategy พิชิตการส่งออกอาหารซอฟต์พาวเวอร์สู่ตลาดโลกด้วยการบริหารโลจิสติกส์และบรรจุภัณฑ์ ดำเนินการโดย : กองโลจิสติกส์ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ภายใต้โครงการ : ส่งเสริมซอฟต์พาวเวอร์สาขาอาหาร ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2568 กลุ่มเป้าหมาย ผู้ประกอบการภาคการผลิตในอุตสาหกรรมการผลิตอาหาร เครื่องดื่ม เกษตรแปรรูป สมุนไพร กำหนดการอบรม รุ่นที่ 1 : 19-21 มีนาคม 2568 โรงแรมอีสเทิร์น แกรนด์ พาเลซ พัทยา จ.ชลบุรี รุ่นที่ 2 : 26-28 มีนาคม 2568 โรงแรมเอเซีย กรุงเทพฯ หัวข้อการอบรม ข้อตกลงทางการค้าระหว่างประเทศเพื่อการคำนวณต้นทุนสินค้าส่งออก การวางแผนเลือกรูปแบบการขนส่งสินค้าผ่านมุมมองโลจิสติกส์การค้าระหว่างประเทศ สิทธิประโยชน์และมาตรการทางภาษีเพื่อการส่งออก การคำนวณต้นทุนสินค้า เพื่อกำหนดราคามาตรฐาน (Standard Price) การวางแผนกลยุทธ์ธุรกิจด้วยเครื่องมือ Business Model Canvas (BMC) การวางแผนและคำนวณต้นทุนการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ ประเภทการขนส่งทางบก และการขนส่งข้ามแดน (Cross Border) การวางแผนและคำนวณต้นทุนการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ ประเภทการขนส่งทางทะเล และทางอากาศ การออกแบบบรรจุภัณฑ์สำหรับสินค้าซอฟต์พาวเวอร์ สาขาอาหารเพื่อการส่งออก การพัฒนาบรรจุภัณฑ์สินค้าซอฟต์พาวเวอร์ สาขาอาหาร เพื่อการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ ลงทะเบียนฟรี รับจำนวนจำกัด 40 กิจการ 80 คนต่อรุ่น สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม @v-solution คุณเพ็ญพักตร์ 09 0539 9666 (บริษัท วีแอนด์ เมนิ่ มอ จำกัด) คุณวิศรุฒ 06 3884 5280 (กลุ่มนโยบายและประสานเครือข่าย กองโลจิสติกส์)
05 มี.ค. 2025