Category
EP.50 : ขนมครก
19 มี.ค. 2025
“รองอธิบดีสุรพล” เร่งรัดติดตามการทำงานหน่วยงานในกำกับ ปี 68 พร้อมเน้นย้ำการทำงานให้เกิดผลสัมฤทธิ์ตามนโยบาย รมว.เอกนัฏ
กรุงเทพฯ 14 มีนาคม 2568 – นางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม มอบหมายให้ นายสุรพล ปลื้มใจ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม เป็นประธานการประชุมเร่งรัดติดตามการใช้จ่ายงบประมาณและผลการดำเนินงานหน่วยงานในกำกับ ของกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม หรือดีพร้อม (DIPROM) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 ครั้งที่ 1/2568 คณะผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ดีพร้อมที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมประชุม ณ ห้องประชุม 1 ชั้น 3 อาคารกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (DIPROM Headquarter) และในรูปแบบออนไลน์ผ่านแอปพลิเคชั่น Zoom Meeting การประชุมในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อเร่งรัดติดตามการใช้จ่ายเงินงบประมาณและผลการดำเนินงานของหน่วยงานในกำกับ ให้เป็นไปตามเป้าหมายที่วางไว้ โดยมีการรายงานผลการเบิกจ่ายงบประมาณตาม พ.ร.บ. งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2568 รวมทั้งเร่งรัดติดตามการใช้จ่ายงบประมาณและผลการดำเนินงานประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 ประกอบด้วย ผลการเบิกจ่ายงบกลาง และผลการเบิกจ่ายงบกันเหลื่อมปี ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 รวมถึงผลการเบิกจ่ายและความคืบหน้าของงบลงทุน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 ที่ยังไม่ได้ดำเนินการผูกพันสัญญา ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรมต่าง ๆ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 ตลอดจนการดำเนินงานเงินทุนหมุนเวียน รองอธิบดีสุรพล ได้รับฟังรายงานการดำเนินงาน ปัญหาและอุปสรรคต่าง ๆ และการเบิกจ่ายงบประมาณฯ โดยให้ข้อเสนอแนะแนวทางการปฏิบัติงาน รวมถึงนโยบายการปฏิบัติงานต่าง ๆ ดังนี้ 1) กำชับให้หน่วยงานที่ได้รับมอบหมายให้ดำเนินการเร่งรัดการเบิกจ่ายงบกลาง และงบกันเหลื่อมปี ของปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 รวมทั้งงบลงทุนของปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 ให้เป็นไปตามกรอบระยะเวลาที่กำหนดไว้ 2) โครงการและกิจกรรมที่ดำเนินการปี 2568 ขอให้ใช้จ่ายงบประมาณฯ เป็นไปตามแผนงานที่กำหนด 3) โครงการขับเคลื่อนซอฟต์พาวเวอร์ตามนโยบายของรัฐบาล ที่อยู่ระหว่างการดำเนินการจัดซื้อจัดจ้างขอให้ดำเนินการตามระเบียบ ให้มีการประสานงานภายในคณะกรรมการฯ เพื่อให้สามารถผูกพันสัญญาให้ได้เร็วที่สุด 4) การเตรียมการจัดกิจกรรมที่ MICE Center จังหวัดลำปาง เพื่อให้เกิดการใช้ประโยชน์จากสถานที่ 5) การหารือแนวทางการจัดกิจกรรมเพื่อแสดงผลการดำเนินงานและประชาสัมพันธ์ของแต่ละหน่วยงาน ในบริเวณพื้นที่ชั้น 1 อาคารกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม 6) ให้แนวทางการดำเนินงานเงินทุนหมุนเวียนฯ แลกเปลี่ยนแนวคิดการหาลูกค้าใหม่ที่มีศักยภาพ และการชำระเงินกู้ การออกผลิตภัณฑ์สินเชื่อตัวใหม่เพื่อดึงดูดความต้องการของลูกค้าให้มากขึ้น นอกจากนี้ ที่ประชุมยังมีการแลกเปลี่ยนแนวทางการทำงานพร้อมขานรับนโยบาย อธิบดีณัฏฐิญา ให้เกิดการทำงานร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เพื่อรองรับการให้บริการผู้ประกอบการได้อย่างตรงจุด ซึ่งสอดรับกับนโยบาย “ดีพร้อมคอมมูนิตี้ ที่นี่มีแต่ให้ (DIPROM Community)” ที่มุ่งปฏิรูปดีพร้อมให้เป็นองค์กรที่ทันสมัยสามารถให้บริการวิสาหกิจไทยได้ครอบคลุมทุกพื้นที่ทั่วประเทศ อันจะทำให้อุตสาหกรรมเศรษฐกิจเติบโตอย่างยั่งยืนตามนโยบาย “ปฏิรูปอุตสาหกรรมไทย สู่เศรษฐกิจยุคใหม่ ทันสมัย สะอาด สะดวก โปร่งใส” ของนายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมด้วย
18 มี.ค. 2025
DIPROM ผนึก MIND “เปิดพื้นที่แสดงออก ไม่ตีกรอบความคิด” ดึงวัฒนธรรมถ่ายทอดพลังซอฟต์พาวเวอร์ผ่านศาสตร์แห่งอาหารไทย หวังดันครัวไทยสู่ตลาดโลก ตามนโยบายปฏิรูปอุตสาหกรรมเศรษฐกิจยุคใหม่ “ยกระดับศักยภาพสร้างสรรค์ทุกพื้นที่” ของ รมว.เอกนัฏ
กรุงเทพฯ 13 มีนาคม 2568 - ดร.ณัฐพล รังสิตพล ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม ให้เกียรติเป็นประธานงาน Exclusive Talk & Networking “ถ่ายทอดพลังซอฟต์พาวเวอร์ผ่านศาสตร์แห่งอาหารไทยสู่เวทีโลก” Shaping Soft Power through Thai Cuisine toward Global Influence โดยมี นางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กล่าวรายงาน ร่วมด้วย นายบรรจง สุกรีฑา รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม นางดวงดาว ขาวเจริญ นายสุรพล ปลื้มใจ และนายดุสิต อนันตรักษ์ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ดร.ศุภวรรณ ตีระรัตน์ ผู้อำนวยการสถาบันอาหาร ผู้บริหารจากหน่วยงานภาครัฐ-เอกชน ผู้แทนจากคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนซอตฟต์พาวเวอร์อุตสาหกรรมด้านต่าง ๆ ผู้แทนจากหน่วยร่วมดำเนินการส่งเสริมและพัฒนาซอฟต์พาวเวอร์ สาขาอาหาร และผู้ประกอบการเข้าร่วม ณ ห้องแกรนด์บอลรูม ชั้น 7 โรงแรมเดอะ เวสทิน แกรนด์ สุขุมวิท ดร.ณัฐพล รังสิตพล ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวว่า ภายใต้การนำของ นายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม มีนโยบายปฏิรูปอุตสาหกรรมสู่เศรษฐกิจยุคใหม่ ทันสมัย สะดวก สะอาด โปร่งใส โดยมุ่งพัฒนาอุตสาหกรรมเศรษฐกิจทั้งด้านการผลิต การใช้พลังงานสะอาด การพัฒนาแรงงาน และผลักดันศักยภาพของแต่ละพื้นที่อย่างเหมาะสม ตลอดจนสนับสนุนการนำภูมิปัญญาพื้นบ้านและทุนทางวัฒนธรรมมาปรับใช้ เพื่อสร้างรายได้และโอกาสในการแข่งขันทางธุรกิจ ซึ่งสอดรับกับนโยบายการขับเคลื่อนซอฟต์พาวเวอร์ของรัฐบาล ที่มุ่งสนับสนุนการสร้างพลังสร้างสรรค์ หรือซอฟต์พาวเวอร์ (Soft Power) ด้วยการส่งเสริมและยกระดับภูมิปัญญาไทยไปสู่วัฒนธรรมสร้างสรรค์ พัฒนาศักยภาพบุคลากร สร้างอาชีพ และขีดความสามารถในการแข่งขัน โดยเฉพาะสาขาอาหาร ที่ไม่เพียงแต่เป็นเรื่องของการปรุงและรสชาติอาหารเท่านั้น แต่สามารถสะท้อนให้เห็นถึงวัฒนธรรมประจำชาติ ดังนั้น การที่จะผลักดันและพัฒนาผู้ประกอบการอุตสาหกรรมอาหารให้มีศักยภาพอย่างยั่งยืนต้องอาศัยการสร้างวัฒนธรรมไทย (Thai Culture) และกลิ่นอายความเป็นไทยเพื่อรังสรรค์อาหารให้เกิดมูลค่าเพิ่ม สร้างมิติมุมมองวัฒนธรรม และสื่อถึงมนต์เสน่ห์ความเป็นไทย นอกจากนี้ ยังต้องเชื่อมโยงกับอุตสาหกรรมสาขาอื่น ๆ อาทิ การท่องเที่ยวโดยใช้อาหารเป็นแม่เหล็กดึงดูดนักท่องเที่ยวและส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม อุตสาหกรรมบันเทิงและคอนเทนต์โดยการถ่ายทอดเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับอาหารไทยไปสู่สื่อระดับโลกผ่านภาพยนต์ รายการเกี่ยวกับอาหาร หรือแพลตฟอร์มดิจิทัลต่าง ๆ เพื่อให้เกิดการสร้างโอกาสทางธุรกิจและเป็นกลไกขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศต่อไป กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม หรือดีพร้อม (DIPROM) ภายใต้การนำของ นางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ซึ่งเป็นหนึ่งในคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนซอฟต์พาวเวอร์ฯ สาขาอาหาร เดินหน้าผลักดันซอฟต์พาวเวอร์ตามนโยบายของรัฐบาล เพื่อสร้างเชฟมืออาชีพจากทุกชุมชนทั่วประเทศและยกระดับอุตสาหกรรมอาหารไทยผ่านแผนงานโครงการต่าง ๆ ซึ่งการจัดงานในวันนี้ เป็นกิจกรรมภายใต้โครงการยกระดับหนึ่งหมู่บ้าน หนึ่งเชฟอาหารไทย ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 เพื่อสร้างแรงบันดาลใจให้กับผู้ประกอบการในการขยายตลาดส่งออกสู่สากล การนำเทคโนโลยีมาใช้พัฒนาธุรกิจอาหาร และสร้างเครือข่ายทางธุรกิจ โดยมีผู้เข้าร่วมงาน จำนวน 100 คน ประกอบด้วย ผู้ผลิตอาหารและวัตถุดิบ เชฟผู้พัฒนาเมนู ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมอาหาร นักสร้างสรรค์คอนเทนต์ ผู้ส่งออก และหน่วยงานด้านนโยบายและส่งเสริมของภาครัฐ ซึ่งการดำเนินงานดังกล่าว ดีพร้อม ได้สร้างครูผู้สอน (Train the Trainer) จำนวน 325 คน สร้างเชฟอาหารไทยมืออาชีพ (Master Thai Chef Program) จำนวนกว่า 1,300 คน ตลอดจนได้เข้ารับการทดสอบความรู้กับสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน และกรมอนามัย จนได้ใบรับรองความสามารถ อีกทั้ง ยังได้รับการส่งเสริมด้านตลาดด้วยการให้ความรู้เรื่องการสร้างคอนเทนต์ผ่านอินฟลูเอนเซอร์ที่มีชื่อเสียง การเพิ่มองค์ความรู้และทักษะ (Upskill) ด้วยการนำ AI ยกระดับซอฟต์พาวเวอร์ไทยในยุคดิจิทัล อีกด้วย นอกจากนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 ดีพร้อม ได้เดินหน้าอย่างต่อเนื่องในการผลักดันนโยบายซอฟต์พาวเวอร์ สาขาอาหาร ภายใต้นโยบาย “ดีพร้อมคอมมูนิตี้ ที่นี่มีแต่ให้” ผ่าน กลยุทธ์ 4 ให้ 1 ปฏิรูป ที่มุ่งส่งเสริม พัฒนา และยกระดับศักยภาพผู้ประกอบการในทุก ๆ ด้านอย่างตรงจุด ด้วยการสร้างเชฟอาหารไทยมืออาชีพและเชฟอาหารไทยร่วมสมัยทั่วประเทศ จำนวน 17,000 คน ผ่าน 3 แนวทาง ได้แก่ 1. สร้างสรรค์และต่อยอดโดยการใช้ความคิดสร้างสรรค์และเทคโนโลยีเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจต่อยอดต้นทุนวัฒนธรรมและภูมิปัญญาสู่วัฒนธรรมสร้างสรรค์ 2. โน้มน้าวโดยการจูงใจให้เปลี่ยนแปลงทางด้านความคิด หรือพฤติกรรมความชอบให้หันมาสนใจอาหารไทยผ่านการเล่าเรื่องราวต่าง ๆ (Storytelling ) ที่มีคุณค่า และ 3. เผยแพร่ผ่านเครื่องมือต่าง ๆ เช่น Influencer ซีรีส์ ละครย้อนยุค เป็นต้น คาดว่าจะทำให้เกิดการสร้างงาน สร้างรายได้ นำมาสู่การขยายโอกาสทางธุรกิจให้แก่อุตสาหกรรมท่องเที่ยวเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ ส่งเสริมให้ Soft Power อาหารไทย ก้าวไปสู่ระดับโลกต่อไป
18 มี.ค. 2025
"ดีพร้อม" หารือ "CPRAM" ชวนจับมือ “บางจาก” ส่งเสริมการผลิตน้ำมันเชื้อเพลิงอากาศยานยั่งยืน อย่างเป็นรูปธรรม ตามนโยบาย "ปฏิรูปอุตสาหกรรมไทยสู่เศรษฐกิจยุคใหม่" ของ รวอ. เอกนัฏ
กรุงเทพฯ 12 มีนาคม 2568 – นางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ให้เกียรติเป็นประธานการประชุมหารือร่วมกับ ผู้แทน บริษัท ซีพีแรม จำกัด เพื่อกำหนดแนวทางการส่งเสริมการผลิตเชื้อเพลิงอากาศยานแบบยั่งยืน (SAF) พร้อมด้วย นายสุรพล ปลื้มใจ และ นายดุสิต อนันตรักษ์ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม คณะผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ดีพร้อม (DIPROM) ณ ห้องประชุม 2 ชั้น 3 อาคารกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (DIPROM Headquarter) การหารือในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อหาแนวทางบูรณาการร่วมกันระหว่างดีพร้อมและภาคเอกชน ในการส่งเสริมการผลิตเชื้อเพลิงอากาศยานแบบยั่งยืน (SAF) โดยใช้วัตถุดิบภายในประเทศที่ได้รับการรับรองและมีเทคโนโลยีการผลิตตามมาตรฐานที่องค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ (ICAO) กำหนด อาทิ น้ำมันปรุงอาหารใช้แล้ว (Used Cooking Oil : UCO) กรดน้ำมันปาล์ม (PFAD) และกากน้ำตาล (Molasses) เพื่อส่งเสริมมาตรการสนับสนุนการใช้ SAF ของ ICAO ที่ตั้งเป้าหมาย Net Zero Emission ภายในปี 2050 รวมถึงรองรับอุตสาหกรรมการบินในเชิงพาณิชย์ และสามารถลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมจากการขนส่งทางอากาศ เพื่อให้เกิดการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า ตามโมเดลเศรษฐกิจ BCG ของรัฐบาล ซึ่งแนวทางความร่วมมือในครั้งนี้ มุ่งหวังว่าจะก่อให้เกิดการสร้างกลไกกระบวนการบริหารจัดการซัพพลายเชนในการนำ UCO ไปสร้างมูลค่าเป็น SAF รวมถึงสิทธิประโยชน์ในการสนับสนุนอื่น ๆ อาทิ แนวทางการคำนวณคาร์บอนเครดิตรวมถึงราคา UCO ที่เหมาะสมเพื่อส่งเสริมการใช้ SAF อย่างเป็นรูปธรรม การลดผลกระทบจากการนำน้ำมันปรุงอาหารมาใช้ซ้ำ ซึ่งจะส่งผลเสียต่อสุขภาพของผู้บริโภค รวมทั้งยังเป็นการช่วยลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่แสดงถึงรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมทั้งนี้ ในช่วงที่ผ่านมา “ดีพร้อม” มีการหารือกับหน่วยงานภายในกระทรวงอุตสาหกรรมในการศึกษาปริมาณ Demand – Supply ของ SAF โดยจะเน้นการเชื่อมโยงเครือข่ายวัตถุดิบผลิต SAF ในส่วนของน้ำมันพืชที่ผ่านการใช้งานแล้ว ทั้งจากโรงงานอุตสาหกรรม และ SMEs อีกทั้งมีแผนที่จะนำร่องความร่วมมือกับอุตสาหกรรมรายใหญ่ เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของ Supply โดยจะเป็นต้นแบบและสร้างการรับรู้ให้ประชาชนในวงกว้าง สอดคล้องกับแผนพลังงานชาติ และตอบโจทย์นโยบาย "ปฏิรูปอุตสาหกรรมไทย สู่เศรษฐกิจยุคใหม่ ทันสมัย สะอาด สะดวก โปร่งใส" ของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม นายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์ เพื่อให้อุตสาหกรรมการบินของประเทศสามารถแข่งขันได้อย่างยั่งยืนในระยะยาว
18 มี.ค. 2025
“รองอธิบดีดวงดาว” นำประชุมคณะทำงานประเมินคุณธรรมและความโปร่งใส ขับเคลื่อนการปฏิบัติงานป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบ "ดีพร้อม" ขานรับการทำงานด้วยความโปร่งใสตามนโยบาย รมว.เอกนัฏ
“รองอธิบดีดวงดาว” นำประชุมคณะทำงานประเมินคุณธรรมและความโปร่งใส ขับเคลื่อนการปฏิบัติงานป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบ "ดีพร้อม" ขานรับการทำงานด้วยความโปร่งใสตามนโยบาย รมว.เอกนัฏ กรุงเทพฯ 18 มีนาคม 2568 – นางดวงดาว ขาวเจริญ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ได้รับมอบหมายจาก นางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม เป็นประธานการประชุมคณะทำงานการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงาน (Integrity and Transparency Assessment: ITA) และขับเคลื่อนแผนปฏิบัติการด้านป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ครั้งที่ 1/2568 โดยมี ผู้บริหาร และเจ้าหน้าที่ดีพร้อม (DIPROM) เข้าร่วมประชุม ณ ห้องประชุม 2 ชั้น 3 อาคารกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (DIPROM Headquarter) การประชุมในครั้งนี้ ฝ่ายเลขานุการคณะทำงานฯ ได้นำเสนอแนวทางและมาตรการการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ (ITA) ของกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ประจำปี พ.ศ.2568 ซึ่งเป็นเครื่องมือกระตุ้นสำหรับการขับเคลื่อนนโยบาย และมุ่งหวังให้เกิดการพัฒนาระบบราชการในเชิงสร้างสรรค์ โดยการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม หรือ “ดีพร้อม” เป็นการประเมินที่ครอบคลุมทุกมิติ ตั้งแต่การบริหารงานของผู้บริหารและการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ภายในหน่วยงาน โดยมีการประเมินทั้งระบบงานและคุณธรรมของผู้ปฏิบัติงานทุกระดับควบคู่กันไป ซึ่งสอดรับตามนโยบาย “ปฏิรูปอุตสาหกรรมไทย สู่เศรษฐกิจยุคใหม่ ทันสมัย สะอาด สะดวก โปร่งใส” ของนายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ที่มุ่งปฏิรูปดีพร้อมให้เป็นองค์กรที่ทำงานด้วยความสะอาด สะดวก โปร่งใส และพร้อมให้บริการผู้ประกอบการในทุกพื้นที่ ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ที่ผ่านมา กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม มีผลคะแนนการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ (ITA) 92.92 คะแนน ด้วยระดับผลการประเมิน "ผ่านดี" โดยในปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 นี้ มีการกำหนดเป้าหมายที่จะพัฒนาแนวทางการดำเนินงาน เพื่อให้สามารถบรรลุเกณฑ์คะแนนในระดับ "ผ่านดีเยี่ยม" ซึ่งประธานคณะทำงาน ได้มอบหมายให้ฝ่ายเลขานุการฯ กำหนดแผนการสื่อสารและการประชาสัมพันธ์ให้กับบุคลากรของกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียได้รับทราบมาตรการและหลักเกณฑ์ต่าง ๆ เพื่อให้เกิดการรับรู้และสามารถปฏิบัติงานไปในทิศทางเดียวกันได้อย่างถูกต้อง นอกจากนี้ ยังมอบหมายให้คณะทำงานฯ ดำเนินการจัดทำขั้นตอนกระบวนการปฏิบัติงานให้มีความชัดเจน เพื่อสื่อสารให้กับผู้ประกอบการ และผู้รับบริการได้รับทราบขั้นตอน และระยะเวลาการปฏิบัติงานของดีพร้อม รวมถึงกำชับให้มีการถ่ายทอดแนวทางให้เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานทราบและถือปฏิบัติโดยเคร่งครัด นอกจากนี้ ที่ประชุมยังมีการพิจารณาแนวทางการดำเนินการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงาน (ITA) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 ของดีพร้อม ทั้งในส่วนของแบบวัดการรับรู้การเปิดเผยข้อมูลสาธารณะ หรือ OIT (Open Data Integrity and Transparency) ซึ่งเป็นการประเมินระดับการเปิดเผยข้อมูลต่อสาธารณะ ที่ประชาชนสามารถเข้าถึงได้ รวมถึงตัวชี้วัดการรับรู้ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งภายใน (IIT) และภายนอก (EIT) ตลอดจนแผนการบริหารความเสี่ยงการทุจริต ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 โดยได้มีการคัดเลือกระบบงานเงินทุนหมุนเวียนเพื่อการส่งเสริมอาชีพอุตสาหกรรมในครอบครัวและหัตถกรรมไทย ซึ่งเป็นกระบวนงานในการอนุมัติ อนุญาตของดีพร้อม เพื่อใช้ในการควบคุมความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้นในระหว่างกระบวนการปฏิบัติงาน ทั้งนี้ คณะทำงานฯ มีมติเห็นชอบในหลักการ และมอบให้ฝ่ายเลขานุการฯ ดำเนินการสื่อสารให้ผู้ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องรับทราบและถือปฏิบัติต่อไป
18 มี.ค. 2025
“อธิบดีณัฏฐิญา” เปิดเวทีรับฟัง "ตัวเต็งดีพร้อม" แกะโจทย์นโยบายเร่งขับเคลื่อนการส่งเสริมอุตสาหกรรม เปิดช่องทางการทำงานเชิงรุกเพื่อปฏิรูป “ดีพร้อม” ให้ทันสมัย ตอบสนองนโยบาย รมว.เอกนัฏ ทำทันที
กรุงเทพฯ 11 มีนาคม 2568 – นางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ให้เกียรติเป็นประธานการประชุมแลกเปลี่ยนแนวคิดและรับฟังความคิดเห็นเกี่ยวกับการพัฒนาหรือปรับปรุงงาน พร้อมด้วย นางดวงดาว ขาวเจริญ นายสุรพล ปลื้มใจ และ นายดุสิต อนันตรักษ์ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม คณะผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ดีพร้อม ณ ห้องประชุม 2 ชั้น 6 อาคารกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (DIPROM Headquarter) การประชุมในครั้งนี้ เป็นการเปิดเวทีให้ข้าราชการระดับชำนาญการภายใต้สังกัดดีพร้อม จำนวน 29 คน ได้แลกเปลี่ยนแนวคิดและความคิดเห็นเกี่ยวกับการพัฒนาหรือปรับปรุงงาน ตั้งแต่ในหน่วยงานของตนเอง ไปจนถึงระดับกรมฯ และระดับกระทรวง ในรูปแบบการนำเสนอผ่าน One Page Summary พร้อมตอบข้อซักถามของผู้บริหาร ซึ่งผู้เข้าร่วมประชุมได้มีการนำเสนอมุมมองที่หลากหลาย สะท้อนให้เห็นความมุ่งมั่นในการพัฒนาด้านต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นด้านบุคลากร ด้านกระบวนการทำงาน ด้านอาคารสถานที่ รวมถึงด้านคุณภาพชีวิตของบุคลากร โดยการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงาน ตลอดจนกลไกและเครื่องมือต่าง ๆ เพื่อช่วยยกระดับศักยภาพและพัฒนาองค์กรเกิดการปฏิรูปแบบองค์รวม พร้อมเข้าสู่ Industry 5.0 การแลกเปลี่ยนแนวความคิดในวันนี้ สะท้อนให้เห็นถึงศักยภาพของบุคลากรดีพร้อม ที่สามารถเชื่อมโยงกลยุทธ์ 4 ให้ 1 ปฏิรูป ภายใต้นโยบาย "ดีพร้อมคอมมูนิตี้ ที่นี่มีแต่ให้" ของนางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม มาประยุกต์ใช้ในการพัฒนางาน พร้อมทั้งสามารถปรับตัวและเติบโตให้เข้ากับวิถีใหม่ของโลกได้ ซึ่งจะเป็นการเพิ่มศักยภาพและองค์ความรู้ เพื่อเป็นบุคลากรที่ดี พร้อมทำงานเชิงรุกในการส่งเสริม “อุตสาหกรรมเศรษฐกิจ” ให้ “เติบโตอย่างยั่งยืนคู่ชุมชน” ตามนโยบายของนายณัฐพล รังสิตพล ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม และสอดรับนโยบาย “ปฏิรูปอุตสาหกรรม สู่เศรษฐกิจยุคใหม่ ให้ทันสมัย สะอาด สะดวก โปร่งใส” ของนายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม อีกด้วย
14 มี.ค. 2025
เชิญเข้าร่วมกิจกรรมการนำมาตรฐานทั่วไปพัฒนาธุรกิจเกษตรแปรรูป
เชิญผู้ที่สนใจสมัครเข้าร่วมกิจกรรม การนำมาตรฐานทั่วไปพัฒนาธุรกิจเกษตรแปรรูป ภายใต้โครงการ : ยกระดับสินค้าเกษตรสู่เกษตรอุตสาหกรรม ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 ดำเนินการโดย : ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 10 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กำหนดการ กิจกรรมการรับสมัคร วันนี้ – 25 มีนาคม 2568: รับสมัครผู้ประกอบการ วันที่ 26 - 30 มีนาคม 2568: คัดเลือกผู้ประกอบการ จำนวน 10 กิจการ เพื่อเข้าร่วมโครงการ กิจกรรมการประเมินและวินิจฉัยสถานประกอบการ วันที่ 1 - 12 เมษายน 2568: ชี้แจงรายละเอียดโครงการและประเมินวินิจฉัย จำนวน ๑ ครั้ง/สถานประกอบการ โดยผู้เชี่ยวขาญ กิจกรรมการให้คำปรึกษาแนะนำเชิงลึกเพื่อพัฒนาระบบมาตรฐาน วันที่ 17 เมษายน - 15 มิถุนายน 2568 ให้คำปรึกษาแนะนำเชิงลึกเพื่อเตรียมความพร้อมในการจัดทำระบบมาตรฐานและการยื่นเพื่อขอรับรองระบบมาตรฐาน ณ สถานประกอบการ สิ่งที่ผู้เข้าร่วมโครงการจะได้รับ ได้รับการฝึกอบรมเกี่ยวกับระบบมาตรฐานที่จำเป็นต่อองค์กร ได้รับคำปรึกษาเชิงลึกจากผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับระบบมาตรฐานเพื่อเตรียมความพร้อมสู่การยื่นขอรับรองระบบมาตรฐาน ได้ยื่นขอรับรองระบบมาตรฐานที่ผู้ประกอบการต้องการ คุณสมบัติของผู้สมัครเข้าร่วมกิจกรรมโครงการ เป็นผู้ประกอบการ วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) มีความเกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมภาคการผลิต ได้แก่ - อุตสาหกรรมเกษตรแปรรูป - อุตสาหกรรมอาหารแปรรูป - อุตสาหกรรมเครื่องสำอาง อยู่ในพื้นที่ จังหวัดระนอง ภูเก็ต พังงา กระบี่ ชุมพร สุราษฎร์ธานี และนครศรีธรรมราช สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม คุณสุชญา จันฝาก (09 6146 1492) คุณณัฐกฤตา บริพันธุ์ (09 9442 9533)
13 มี.ค. 2025
“ดีพร้อม” อัพสกิลผู้ประกอบการกลุ่มรถยนต์ EV และ โดรน เสริมแกร่งระบบซัพพลายเชน และอีโคซิสเท็ม รองรับการขยายตัวของอุตฯ ยานยนต์สมัยใหม่ มุ่งสร้างผู้ประกอบการ EV และ DRONE กว่า 170 ราย เกิดมูลค่าธุรกิจกว่า 600 ล้านบาท สอดรับนโยบาย รมว.เอกนัฏ
จ.นนทบุรี 5 มีนาคม 2568 – นางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ให้เกียรติเป็นประธานในพิธีเปิดตัว “กิจกรรมสร้างและพัฒนาผู้ประกอบการกลุ่มยานยนต์ไฟฟ้าและอากาศยานไร้คนขับ (NEC DIPROM ACADEMY for EV & DRONE) เพื่อการเติบโตแบบดีพร้อม” ภายใต้กิจกรรมฝึกอบรมสร้างจิตวิญญาณในการเป็นผู้ประกอบการ (NEC DIPROM) ร่วมด้วย นางดวงดาว ขาวเจริญ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม คณะผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ดีพร้อม คณะวิทยากรและผู้ประกอบการ เข้าร่วม ณ ห้องแซฟไฟร์ 204 อาคารศูนย์ประชุม อิมแพ็ค ฟอรั่ม อิมแพ็ค เมืองทองธานี ในการจัดกิจกรรมดังกล่าว มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาระบบซัพพลายเชน (Supply Chain) และอีโคซิสเท็ม (Ecosystem) รองรับการเติบโตของอุตสาหกรรมรถยนต์ไฟฟ้า หรือ อีวี (EV) และอากาศยานไร้คนขับ หรือ โดรน (DRONE) ซึ่งเข้ามามีบทบาทในการใช้ชีวิตของคนไทยมากขึ้นในปัจจุบัน เห็นได้จากยอดการใช้รถยนต์ที่ใช้ไฟฟ้าจากแบตเตอรี่ 100% หรือ BEV ที่มีการเพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดด จากสถิติของกรมขนส่งทางบก ระบุว่า ปี 2020 มียอดจดทะเบียนรถ BEV สะสมเพียง 5,685 คัน ปี 2021 เพิ่มขึ้นเป็น 11,382 คัน ปี 2022 เพิ่มเป็น 32,081 คัน ปี 2023 พุ่งทะลุไปถึง 131,856 คัน ปี 2024 มีจำนวนเพิ่มเป็น 154,027 คัน และยอดสะสมรวมจนถึงเดือน ม.ค. ปี 2025 มีจำนวนเพิ่มเป็น 242,076 คัน คิดเป็น 63.55% ของยอดจดทะเบียนรถยนต์ทั้งหมด และในส่วนของอุตสาหกรรมโดรนนั้น มีอัตราการเติบโตและก้าวหน้าอย่างมาก โดยเฉพาะโดรนเพื่อการเกษตรในประเทศไทยที่ใช้เพื่อเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจ อาทิ การตรวจสอบสภาพพื้นที่เกษตร การฉีดพ่นสารเคมี และการเก็บข้อมูลด้านการเกษตร เป็นต้น โดยข้อมูลจากคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ล่าสุดระบุว่า ในปี 2024 โดรนจดทะเบียนทั้งสิ้น 130,000 ลำ ทั้งนี้ ประเทศไทยมีโดรนการเกษตรสะสมมากที่สุดอยู่ราว 20,000 ลำ และคาดว่าจะเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยยะสำคัญ จากการขยายตัวของการใช้รถยนต์ EV และโดรน ที่เพิ่มขึ้น ดังกล่าว หากขาดระบบซัพพลายเชน (Supply Chain) และอีโคซิสเท็ม (Ecosystem) ที่ดีอาจจะส่งผลกระทบต่อผู้ใช้รถยนต์ EV และโดรนทั่วทั้งประเทศ ดังนั้น กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม หรือ ดีพร้อม (DIPROM) ภายใต้การนำของ นางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม มีการดำเนินนโยบาย “ดีพร้อมคอมมูนิตี้ ที่นี่มีแต่ให้” ผ่าน “4 ให้ และ 1 ปฏิรูป” ได้แก่ 1) ให้ทักษะใหม่ เพื่อเสริมสร้างความพร้อมในด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรม 2) ให้เครื่องมือที่ทันสมัย เพื่อยกระดับการผลิตและเพิ่มผลิตภาพ 3) ให้โอกาสโตไกล ด้วยการสนับสนุนเครือข่ายและการเข้าถึงตลาด และ 4) ให้ธุรกิจไทยที่ดีคู่ชุมชน เพื่อส่งเสริมอุตสาหกรรมที่ยั่งยืนและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม โดยกิจกรรม "สร้างและพัฒนาผู้ประกอบการกลุ่มยานยนต์ไฟฟ้าและอากาศยานไร้คนขับ (NEC DIPROM ACADEMY for EV & DRONE) เพื่อการเติบโตแบบดีพร้อม” มีเป้าหมายหลัก 4 ประการ ได้แก่ 1) เพื่อพัฒนาทักษะของผู้ประกอบการเพื่อเตรียมความพร้อมสู่อุตสาหกรรมป้องกันประเทศและอุตสาหกรรมแห่งอนาคต 2) เพื่อเตรียมความพร้อมให้กับผู้ประกอบการในการซ่อมอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องที่ได้รับผลกระทบจากภัยพิบัติ อาทิ ภัยธรรมชาติที่อาจส่งผลกระทบต่อยานยนต์ไฟฟ้าและโดรนที่อาจเกิดขึ้นใน 3) เพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาของเสียและปัญหาทรัพยากรธรรมชาติตามหลักการของเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) ที่อาจเกิดขึ้นจากซากยานยนต์ไฟฟ้าและโดรน เพื่อเป็นการคืนสภาพหรือให้ชีวิตใหม่แก่วัสดุต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง และ 4) เพื่อพัฒนาความร่วมมือกับนานาชาติในการพัฒนายานยนต์ไฟฟ้าและโดรน อีกทั้ง เป็นการสร้างความร่วมมือภายในกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ในการวางพื้นฐานด้านการจัดตั้งธุรกิจ ผ่านการเขียนแผนธุรกิจ Business Model Canvas (BMC) และสร้างผู้ประกอบการใหม่ เพื่อส่งต่อให้กับหน่วยงานต่างๆ ภายในดีพร้อม สอดคล้องตามโยบาย “ปฏิรูปอุตสาหกรรมไทยสู่เศรษฐกิจยุคใหม่ ทันสมัย สะอาด สะดวก โปร่งใส” ของ นายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม โดยผู้เข้าร่วมกิจกรรมจะได้รับการพัฒนาทักษะ ผ่านกิจกรรมเวิร์คชอปที่หลากหลาย เป็นเวลา 4 วัน อาทิ การเขียนโมเดลธุรกิจ การเรียนรู้พื้นฐานของรถยนต์ EV และ โดรน การเรียนรู้เกี่ยวกับความปลอดภัยสำหรับช่าง เป็นต้น ซึ่งคาดว่าการจัดกิจกรรมในครั้งนี้ จะสามารถยกระดับผู้ประกอบการอู่ซ่อมรถยนต์ได้ปรับตัวสู่ยุครถยนต์ EV ยกระดับอุตสาหกรรมโดรน และสร้างผู้ประกอบการด้านรถ EV และ DRONE เพิ่มขึ้นได้มากกว่า 170 ราย เกิดมูลค่าธุรกิจกว่า 600 ล้านบาท
12 มี.ค. 2025
“รองอธิบดีดวงดาว” ติดตามการทำงานกองพัฒนาขีดความสามารถธุรกิจอุตสาหกรรม พร้อมเน้นย้ำการทำงานให้เกิดผลสัมฤทธิ์ตามนโยบาย รมว.เอกนัฏ
กรุงเทพฯ 10 มีนาคม 2568 – นางดวงดาว ขาวเจริญ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรมอุตสาหกรรม ได้รับมอบหมายจาก นางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม เป็นประธานการประชุมเร่งรัดติดตามการดำเนินงานของ กองพัฒนาขีดวามสามารถธุรกิจอุตสาหกรรม (กข.กสอ.) ร่วมด้วย ผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ดีพร้อมที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วมประชุม ณ ห้องประชุม 2 ชั้น 3 อาคารกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (DIPROM Headquarter) การประชุมในครั้งนี้ เป็นการติดตามผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม ของ กข.กสอ. ให้เป็นไปตามเป้าหมายที่วางไว้ โดยแต่ละกลุ่มงานภายใต้กองพัฒนาขีดวามสามารถธุรกิจอุตสาหกรรม (กข.กสอ.) ได้รายงานสรุปการข้อมูลกิจกรรมหลักและกิจกรรมรอง รวมทั้งวิธีการดำเนินงาน เป้าหมายผลผลิตรวม และงบประมาณที่ได้รับจัดสรร โดยมีโครงการสำคัญภายใต้การบริหารงานของ กข.กสอ. อาทิ การพัฒนาการรวมกลุ่มและเชื่อมโยงอุตสาหกรรม การปรับธุรกิจให้รองรับการเปลี่ยนแปลง การพัฒนาองค์ความรู้และศักยภาพด้านการบริหารจัดการ ยกระดับธุรกิจ SME ด้วยการประยุกต์ใช้โมเดลเศรษฐกิจ BCG เป็นต้น นอกจากนี้ นางดวงดาว ขาวเจริญ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ได้มีการติดตามการดำเนินงานกิจกรรมการฝึกอบรมการพัฒนาผู้ประกอบการธุรกิจอุตสาหกรรมให้ดีพร้อม หรือ “ดีพร้อม คพอ.” ซึ่งเป็นกิจกรรมที่มุ่งเน้นพัฒนาผู้ประกอบการให้เป็น Smart SME ด้วยหลักสูตรเนื้อหาที่ครบวงจรจากวิทยากรที่มีความรู้ความสามารถ เพื่อให้ผู้เข้าอบรมมีองค์ความรู้การบริหารจัดการในทุกมิติและยกระดับธุรกิจให้เติบโต รวมถึงเกิดการเชื่อมโยงเครือข่ายระหว่างผู้ประกอบการ เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้และประสบการณ์ทางธุรกิจร่วมกัน ซึ่ง “ดีพร้อม คพอ.” ดำเนินการพัฒนาผู้ประกอบการธุรกิจอุตสาหกรรมมาตั้งแต่ พ.ศ. 2523 จนถึงปัจจุบัน มีการจัดฝึกอบรมไปแล้ว 412 รุ่น มีผู้ผ่านการอบรมเป็นสมาชิก ทั้งสิ้น 13,154 ราย ทั่วประเทศ โดยในปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 ดีพร้อมได้ตั้งเป้าอบรมพัฒนาองค์ความรู้การบริหารจัดการในทุกมิติ และยกระดับธุรกิจให้เติบโตแก่ผู้ประกอบการ SME กว่า 400 คน ทั่วทุกภูมิภาค เพื่อนำไปสู่การเชื่อมโยงเครือข่ายผู้ประกอบการและส่งเสริมให้เกิดการบูรณาการร่วมกัน สอดรับกับกลยุทธ์ปฏิรูปดีพร้อม ตามนโยบาย “ดีพร้อมคอมมูนิตี้ ที่นี่มีแต่ให้ (DIPROM Community)” ที่มุ่งเน้นให้ผู้ประกอบการมีขีดความสามารถในการดำเนินธุรกิจ ด้วยการเสริมสร้างศักยภาพ และให้โอกาสในการเข้าถึงปัจจัยสนับสนุนที่เอื้อต่อการประกอบการ เพื่อต่อยอดวิสาหกิจให้มีความเข้มแข็งมากขึ้น มีสามารถเชื่อมโยงกันเป็นเครือข่ายจนเกิดเป็น Supply Chain ที่แข็งแรง ซึ่งเป็นส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมเศรษฐกิจให้เติบโตอย่างยั่งยืนสอดรับกับนโยบาย “ปฏิรูปอุตสาหกรรมไทย สู่เศรษฐกิจยุคใหม่ ทันสมัย สะอาด สะดวก โปร่งใส” ของ นายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมอีกด้วย
12 มี.ค. 2025