Category
เตรียมตัวให้พร้อม แล้วมาพบกับ..."DIPROM Thai Designer Lab"
ดีไซเนอร์ไทยก้าวไกลสู่ระดับโลก DIPROM Thai Designer Lab กิจกรรม : พัฒนานักออกแบบดีพร้อมในอุตหกรรมสร้างสรรค์ ดำเนินการโดย : กองพัฒนาอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม โอกาสของคนที่มีไฟและมีใจ พร้อมที่จะพัฒนาศักยภาพ ต่อยอดองค์ความรู้ เติมเต็มด้วยนวัตกรรมและเทคโนโลยีในอุตสาหกรรมแฟชั่นใหม่ ๆ ไปกับพวกเรา DIPROM ภายในกิจกรรมคุณจะพบกับ กิจกรรมถ่ายทอดองค์ความรู้ ด้าน Fashion Marketing สร้างแรงบันดาลใจในแนวคิดการออกแบบแฟชั่นเสื้อผ้า การสร้างแบรนด์ให้เป็นที่รู้จักโดย Social media จากดีไซน์เนอร์ที่มีชื่อเสียงของไทย กิจกรรมศึกษาดูงานแบบ exclusive ที่จะสร้างความรู้และแรงบันดาลใจก่อนเริ่มผลิตชิ้นงาน กิจกรรมค่ายปฏิบัติการออกแบบ (Design Lab) ค้นคว้า ทดลอง การออกแบบผลิตภัณฑ์ ที่พร้อมถ่ายทอดประสบการณ์จากผู้เชี่ยวชาญมืออาชีพและอื่น ๆ อีกมากมายที่รอให้คุณมาเริ่มต้นไปด้วยกัน เปิดรับสมัครตั้งแต่วันนี้ - วันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2567 ประกาศรายชื่อผู้ผ่านการคัดเลือก วันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2567 (ติดตามได้ที่หน้าเพจ : กองพัฒนาอุตสาหกรรมสร้างสรรค์) ติดต่อสอบถามเพิ่มเติม 08 2593 7342 อัพเดตกิจกรรมเพิ่มเติม :
25 ม.ค. 2024
หากคุณ "ฝัน“ อยากเป็นนักเขียนบทมืออาชีพเชิญทางนี้
ดีพร้อม พร้อมกันหรือยังกับการก้าวไปสู่การเป็นนักเขียนบทมืออาชีพ DIPROM Creative Drama Script For Touring : Season2 กิจกรรม : ส่งเสริมอุตสาหกรรมดีพร้อมผ่านบทละครเชิงสร้างสรรค์ ดำเนินการโดย : กองพัฒนาอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ร่วมสร้างแรงบันดาลใจไปกับ วิทยากรและนักเขียนบทมืออาชีพของประเทศ เรียนรู้การทำงานจริง กูรูชื่อดังในอุตสาหกรรมบันเทิง พร้อมจะพัฒนาคุณไปสู่การเป็นนักเขียนบทละครแบบ Professional เปิดรับสมัครแล้ววันนี้ –14 กุมภาพันธ์ 2567 สนใจสมัคร สัมภาษณ์รอบคัดเลือก วันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2567 เวลา 09.00 – 18.00 น. ณ SCG Home Experience สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม 0 2430 6883 กด 2 09 8620 6233 dcsdiprom@gmail.com
25 ม.ค. 2024
ขอเชิญสถานประกอบการเเละผู้ที่สนใจ เข้าร่วมการการอบรม Logisitics Mini Class Room
ขอเชิญสถานประกอบการเเละผู้ที่สนใจ เข้าร่วมการการอบรม Logisitics Mini Class Room ดำเนินการโดย : กองโลจิสติกส์ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม งาน TIF2024 โดยสามารถลงทะเบียนหน้าบูธ PP5 ณ บูธ PP5 ไบเทคบางนา ระหว่างวันที่ 31 มกราคม - 3 กุมภาพันธ์ 2567 นอกจากนี้พบกับกิจกรรมสุดพิเศษอื่นๆ อีกมากมาย อาทิ Logistics Clinic By DIPROM ที่มีผู้เชี่ยวชาญคอยให้คำปรึกษาเบื้องต้นด้านการจัดการโลจิสติกส์และซัพพลายเชน Logsitics ShowCase by DIPROM การรับสมัครเข้าร่วมโครงการต่างๆ ของกองโลจิสติกส์และการนำเสนอ Sucess Case ขององค์กรที่ได้รับการพัฒนา ร่วมรับของที่ระลีกสุดพิเศษจากกองโลจิสติกส์ได้ตลอดงาน อยากลืมมาพบกันนะครับที่ บูธ Department of intrustrial Promotion ติดต่อสอบถามเพิ่มเติม คุณวิศรุฒ อนันตเดโชชัน 06 3884 5280
25 ม.ค. 2024
"ดีพร้อม" เร่งอัพสกิลการประเมินศักยภาพการบริหารจัดการโลจิสติกส์และซัพพลายเชน ให้ผู้ประกอบการ
กรุงเทพฯ 24 มกราคม 2567 – นายวัชรุน จุ้ยจำลอง รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ให้เกียรติเป็นประธานกล่าวเปิดกิจกรรม “การส่งเสริมการประเมินศักยภาพการบริหารจัดการโลจิสติกส์ขององค์กรด้วยตนเอง (Self-Assessment of Logistics Performance)” พร้อมด้วย คณะผู้บริหาร และเจ้าหน้าที่ดีพร้อม (DIPROM) กลุ่มผู้ประกอบการและบุคลากรภาคอุตสาหกรรม โดยมี นายมนตรี วงค์มั่นกิจการ ผู้อำนวยการกองโลจิสติกส์ กล่าวรายงาน ณ ห้องจรัสเมือง 1 ชั้น 2 โรงแรม เดอะ ทวินทาวเวอร์ กรุงเทพฯ การฝึกอบรมฯ ดังกล่าว เพื่อพัฒนาทักษะและองค์ความรู้แก่ผู้ประกอบการและบุคลากรภาคอุตสาหกรรมในการบริหารจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน โดยการฝึกประเมินศักยภาพการบริหารจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทานขององค์กรได้ด้วยตนเอง ตามหลักการของ Logistics Scorecard (LSC) ซึ่งจะเป็นการช่วยวินิจฉัยศักยภาพองค์กรต่อการดำเนินธุรกิจ ตลอดจนมองเห็นแนวทางของการแก้ไขปรับปรุงในอนาคตได้ โดยวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิด้านเทคโนโลยีสารสนเทศโลจิสติกส์และระบบอัตโนมัติ เพื่อให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมได้รับองค์ความรู้ที่สำคัญ ทั้งนี้ กิจกรรมทั้งหมดประกอบด้วยการเผยแพร่องค์ความรู้ทางด้านโลจิสติกส์และโซ่อุปทานให้กับผู้ประกอบการในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค ซึ่งครั้งนี้จัดในกรุงเทพฯ จำนวน 100 ราย และขยายผลไปในส่วนภูมิภาคจำนวน 2 ครั้ง ในจังหวัดชลบุรี และจังหวัดนครราชสีมา โดยมีผู้เข้าร่วมกิจกรรมทั้ง 3 ครั้ง เป็นจำนวนมากกว่า 200 ราย นอกจากนี้ ยังมี Workshop ศึกษาดูงาน และการแลกเปลี่ยนความรู้ซึ่งกันและกันระหว่างสถานประกอบการอีกด้วย ### PR.DIPROM (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม) รายงาน/ภาพข่าว
25 ม.ค. 2024
เชิญผู้ที่สนใจเข้าร่วมกิจกรรม การจัดการกระบวนการผลิตด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล
เปิดรับสมัครSME ภาคการผลิตที่สนใจ เข้าร่วมกิจกรรม การจัดการกระบวนการผลิตด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล (IoT Embedded Technology) ดำเนินการโดย : กองพัฒนาดิจิทัลอุตสาหกรรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม SME ภาคการผลิต ได้แก่ เกษตรแปรรูป อาหารแปรรูป เครื่องสำอาง และที่เกี่ยวข้อง รับคำปรึกษาเชิงลึกจัดทำระบบ IoT&Embedded 3 ครั้ง ออกแบบและติดตั้งระบบ IoT&Embedded 1 ระบบต้นแบบ/กิจการ พื้นที่เป้าหมาย : กรุงเทพ นนทบุรี ปทุมธานี สระบุรี อยุธยา สมุทรปราการ และพื้นที่ที่ได้รับอนุญาตจากกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม เปิดรับสมัครตั้งแต่วันนี้ - 31 มกราคม 2567 รับจำนวน กิจการ ฟรีไม่มีค่าใช้จ่าย สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม คุณธีรดา สินธุวงศ์ 08 1804 3961
24 ม.ค. 2024
"รสอ.วาที" กระตุ้นเศรษฐกิจภาคใต้ตอนบนพัฒนาผู้ประกอบการเกษตรอุตสาหกรรม
จ.ชุมพร 23 มกราคม 2567 - นายวาที พีระวรานุพงศ์ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ให้เกียรติเป็นประธานกล่าวปิดกิจกรรมและมอบวุฒิบัตรกิจกรรมพัฒนาผู้ประกอบการเกษตรอุตสาหกรรม ภายใต้โครงการการยกระดับสินค้าเกษตรสู่เกษตรอุตสาหกรรม โดยมี นายโดม ถนอมบูรณ์ ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 10 (ศภ.10 กสอ.) กล่าวรายงาน จัดโดย ศภ.10 กสอ. ณ โรงแรมมรกตทวินชุมพร อำเภอเมือง จังหวัดชุมพร กิจกรรมดังกล่าว ได้ส่งเสริมพัฒนาองค์ความรู้และทักษะผู้ประกอบการในภาคเกษตรให้มีความพร้อมในการเป็นผู้ประกอบการเกษตรอุตสาหกรรมและยกระดับศักยภาพในการเป็นนักธุรกิจเกษตรอุตสาหกรรมอย่างมืออาชีพ ซึ่งผู้เข้าร่วมกิจกรรมเป็นผู้ประกอบการที่อยู่ในกลุ่มอุตสาหกรรมเกษตรและอาหารแปรรูป และอุตสาหกรรมอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับห่วงโซ่อุปทานที่ได้รับการพัฒนาส่งเสริมองค์ความรู้ทั้งในภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติครบ 30 ชั่วโมง จำนวนทั้งสิ้น 20 คน โดยผลสัมฤทธิ์จากการฝึกอบรมดังกล่าวคาดว่าจะสามารถสร้างรายได้ไม่ต่ำกว่า 2.4 ล้านบาทต่อปี ตามนโยบายการพัฒนาเกษตรอุตสาหกรรมของกระทรวงอุตสาหกรรม ### PR.DIPROM (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม) รายงาน/ภาพข่าว
24 ม.ค. 2024
"ดีพร้อม" ขานรับนโยบายนายกฯ ผลักดันโกโก้พืชเศรษฐกิจใหม่แห่งอนาคต
จ.ระนอง 23 มกราคม 2567 - นายภาสกร ชัยรัตน์ อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม และนางวรวรรณ ชิตอรุณ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม พร้อมด้วย นายวาที พีระวรานุพงศ์ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม คณะผู้บริหาร และเจ้าหน้าที่ดีพร้อม และสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม ลงพื้นที่เยี่ยมชมวิสาหกิจชุมชนโกโก้ระนอง โดยมี นายธันย์ปวัฒน์ เศวตภัทรวาทิน ประธานกลุ่มวิสาหกิจชุมชนโกโก้ระนอง ให้ข้อมูลทิศทางและแนวคิดการพัฒนาโกโก้ ณ วิสาหกิจชุมชนโกโก้ระนอง อำเภอเมือง จังหวัดระนอง กลุ่มวิสาหกิจชุมชนโกโก้ระนอง กล่าวว่า นับเป็นโอกาสที่ดีที่ภาครัฐ โดย กระทรวงอุตสาหกรรมให้สนับสนุนในส่วนของ กลางน้ำ คือ การแปรรูป โดยใช้งานวิจัย เทคโนโลยี เพื่อให้ผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพ และปลายน้ำ ได้ส่งเสริมด้านการตลาดในการสร้างแบรนด์ ให้ผลิตภัณฑ์ได้เป็นที่รู้จักและผู้บริโภคเข้าใจคุณค่าของโกโก้ของไทย ซึ่งต่างมีจุดเด่นของแต่ละพื้นที่ ใต้ ตะวันออก เหนือ ทั้งนี้ กลุ่มวิสาหกิจชุมชนโกโก้ระนอง ยังได้ร่วมกับกลุ่มวิสาหกิจโกโก้อีก 7 จังหวัด ในการทำการตลาดในด้านผลิตภัณฑ์สู่ผู้บริโภค โดยมีเป้าหมายหลักในการผลักดันให้โกโก้ที่เพาะปลูกโดยเกษตรกรไทยเป็นพืชเศรษฐกิจของประเทศ เพื่อสร้างประโยชน์ให้กับประเทศไทย ให้เกษตรกรหันมาสนใจปลูกโกโก้ เพื่อการพัฒนาต่อยอดผลิตภัณฑ์ให้เป็นที่รู้จักและเติบโตมากยิ่งขึ้น อธิบดีภาสกรฯ กล่าวว่า กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม หรือ ดีพร้อมได้ขานรับตามข้อสั่งการของ นางสาวพิมพ์ภัทรา วิชัยกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม โดยการรับฟังความคิดเห็นจากผู้ผลิตโกโก้จากทั่วทุกภาค เพื่อเดินหน้าขับเคลื่อนส่งเสริมและพัฒนาผลิตภัณฑ์แปรรูปจากโกโก้ ด้วยการยกระดับศักยภาพกระบวนการผลิต และสร้างความเชื่อมั่นให้เกษตรผู้ปลูก ผลักดันให้ “โกโก้กลายเป็นพืชเศรษฐกิจของประเทศ“ สร้างรายได้ให้เกษตรกรอย่างยั่งยืน ทั้งนี้ จังหวัดระนอง นับเป็นจังหวัดที่ 2 ของภาคใต้ ที่ อธิบดีภาสกรฯ ให้ความสำคัญในการพบปะผู้ประกอบการผลิตโกโก้ เพื่อที่จะได้ตอบโจทย์การพัฒนาและส่งเสริมที่ตรงความต้องการ สอดรับกับแนวทางการขับเคลื่อนการพัฒนาผู้ประกอบการและภาคอุตสาหกรรม ภายใต้นโยบาย “RESHAPE THE FUTURE : โลกเปลี่ยน อุตสาหกรรมปรับ พร้อมรับอนาคต” กับแนวคิด “คิดถึงธุรกิจ คิดถึงดีพร้อม” โดยมีทิศทางการทำงานที่สอดรับกับแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงในบริบทต่าง ๆ เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายสามารถปรับตัวให้ทันต่อกระแสการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น รวมถึงมีศักยภาพในการแสวงหาโอกาสและผลประโยชน์จากความท้าทายต่าง ๆ ### PR.DIPROM (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม) รายงาน/ภาพข่าว
24 ม.ค. 2024
ัฐมนตรีฯ พิมพ์ภัทรา ลงพื้นที่จังหวัดระนอง เยี่ยมชมสถานประกอบการ รับฟังข้อเสนอแนะจากผู้ประกอบกิจการโรงงานในพื้นที่ และเยี่ยมชมท่าเรือระนอง เชื่อมโยงการขนส่งระหว่างอ่าวไทยและทะเลอันดามัน รับโครงการแลนด์บริดจ์
จ.ระนอง 22 มกราคม 2567 - นางสาวพิมพ์ภัทรา วิชัยกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม นายณัฐพล รังสิตพล ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม และคณะผู้บริหารกระทรวงอุตสาหกรรม ประกอบด้วย นางสาวศิรินันท์ ศิริพานิช ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงอุตสาหกรรม นายดนัยณัฏฐ์ โชคอำนวย ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม นางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม นายวิษณุ ทับเที่ยง หัวหน้าผู้ตรวจราชการกระทรวงอุตสาหกรรม นายเอกนิติ รมยานนท์ นายศุภกิจ บุญศิริ ผู้ตรวจราชการกระทรวงอุตสาหกรรม นายจุลพงษ์ ทวีศรี อธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม นายภาสกร ชัยรัตน์ อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม นายอดิทัต วะสีนนท์ อธิบดีกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ นายวันชัย พนมชัย เลขาธิการสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม นายวิฤทธิ์ วิเศษสินธุ์ เลขาธิการคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย นางวรวรรณ ชิตอรุณ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม นายวีริศ อัมระปาล ผู้ว่าการการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) นายวาที พีระวรานุพงศ์ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม และผู้บริหารระดับกระทรวงอุตสาหกรรม และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ร่วมลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมสถานประกอบการ จังหวัดระนอง โดยสถานประกอบการแห่งแรกที่ลงเยี่ยมชม คือ บริษัท สยามชัยอาหารสากล จำกัด ซึ่งได้รับมาตรฐาน BRC , ISO 9000 ปี 2015 ,GMP , HACCP , HALAL เป็นต้น รวมทั้งได้รับรางวัลอุตสาหกรรมสีเขียว ระดับ 2 และยังเข้าร่วมโครงการของกระทรวงอุตสาหกรรม ในการติดตั้งระบบ Sensor เพื่อควบคุมค่ามาตรฐานต่าง ๆ ในสถานที่เก็บ เพื่อให้สามารถแสดงค่าของปัจจัยได้ตลอดเวลา ผ่านระบบ loT on Cloud เพื่อให้ได้มาตรฐานความปลอดภัย และเพิ่มประสิทธิภาพสถานประกอบกิจการด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล นอกจากนี้บริษัทฯ ยังได้เข้าร่วมโครงการพลิกธุรกิจ SMEs ไทย สู่การผลิตสมัยใหม่ 4.0 ปี 2565 ด้วย ในการเยี่ยมชม บริษัทฯ ได้ชี้แจงถึงปัญหา อุปสรรคที่พบทั้งค่าพลังงานที่ปรับตัวสูงขึ้นส่งผลให้ผู้ประกอบการมีต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้น และไม่สามารถคุมราคาขายกับผู้บริโภคได้ ซึ่งในปี 2567 กระทรวงฯ ได้เตรียมที่จะส่งเสริมเรื่องการลดใช้พลังงานในโรงงาน อบรมการใช้เทคโนโลยี และอุปกรณ์ เครื่องจักร รวมทั้งการจัดการ Logistic เพื่อทำ Cost Cutting เป็นต้น ต่อมา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม และคณะ ได้ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยม บริษัท มินเนอรัล รีซอร์สเซส ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด (เหมืองดินขาว MRD) ซึ่งเป็นบริษัทฯ ผลิตแร่ดินขาวได้ปริมาณและคุณภาพที่ดี สามารถผลิตป้อนอุตสาหกรรมต่าง ๆ ส่งแร่ดินขาวให้กลุ่มอุตสาหกรรมภายในประเทศ ประมาณร้อยละ 80 และส่งออกต่างประเทศ ร้อยละ 20 ได้รับมาตรฐานระบบบริหารงานคุณภาพ มอก. 9001-2559 และระบบการจัดการอาชีวอนามัย และความปลอดภัย มอก. 45001-2561 เข้าร่วมโครงการ CSR-DRIM ตั้งแต่ปี 2555 และเข้าร่วมเครือข่าย CSR-DRIM ตั้งแต่ปี 2557 และได้รับมาตรฐานเหมืองแร่สีเขียวประจำปี 2566 และการรับรองอุตสาหกรรมสีเขียวระดับ 2 ตั้งแต่ปี 2554 และระดับ 3 ตั้งแต่ปี 2560 ผลการดำเนินงานที่ผ่านมาของบริษัทฯ มีการดำเนินธุรกิจที่มีประสิทธิภาพและมีความรับผิดชอบต่อสังคม โดยมีการปฏิบัติตามมาตรฐานสากลและมีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชนในพื้นที่ โดยบริษัทฯ ยังคงมีข้อหารือเพื่อแก้ไขปัญหา และรับการสนับสนุนจากภาครัฐ เช่น ปัญหาการแข่งขันกับสินค้านำเข้าที่ราคาถูก ปัญหาขาดแคลนแรงงาน ปัญหาต้นทุนพลังงานสูง ปัญหาความซับซ้อนและใช้เวลานานในการขออนุญาตและประทานบัตร และปัญหาระยะเวลาในการขออนุญาตนำแร่ออกนอกเขตไหล่ทวีป ทั้งนี้ ในปี 2567 กระทรวงฯ จะเข้าไปส่งเสริมการสร้างมาตรการปกป้องผู้ผลิตในประเทศ การพัฒนาฝีมือแรงงาน และการให้ความรู้ภาษาอังกฤษ สนับสนุน/ส่งเสริมการใช้เครื่องจักร ทดแทนแรงงานและเพิ่มประสิทธิภาพ ส่งเสริมการใช้วัตถุดิบในประเทศ ผลักดันให้มีเจ้าหน้าที่ด้านเหมืองแร่ประจำที่จังหวัดระนอง การจ่ายค่าภาคหลวงออนไลน์ที่จังหวัดระนอง เป็นต้น “กระทรวงฯได้กำหนดแนวทางการส่งเสริมและสนับสนุนบริษัททั้งสองแห่ง โดยในปี 2567 จะให้การส่งเสริมเรื่องการลดใช้พลังงานในโรงงาน อบรมการใช้เทคโนโลยี และอุปกรณ์ เครื่องจักร รวมทั้งการจัดการ Logistic เพื่อทำ Cost Cutting หรือการสร้างมาตรการปกป้องผู้ผลิตในประเทศ พัฒนาฝีมือแรงงาน และการให้ความรู้ภาษาอังกฤษ สนับสนุน/ส่งเสริมการใช้เครื่องจักร ทดแทนแรงงานและเพิ่มประสิทธิภาพ ส่งเสริมการใช้วัตถุดิบในประเทศ ผลักดันให้มีเจ้าหน้าที่ด้านเหมืองแร่ประจำที่จังหวัดระนอง การจ่ายค่าภาคหลวงออนไลน์ที่จังหวัดระนอง เป็นต้น เชื่อว่าแนวทางการส่งเสริมและสนับสนุนดังกล่าว จะช่วยส่งเสริมให้บริษัททั้งสองแห่ง สามารถดำเนินธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน สามารถสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับประเทศ และสร้างประโยชน์ให้กับชุมชนในพื้นที่อย่างยั่งยืน” นางสาวพิมพ์ภัทรา กล่าว จากนั้นในช่วงเย็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ได้ลงพื้นที่ท่าเรือระนอง เพื่อเยี่ยมชมพื้นที่พัฒนาโครงสร้างด้านการคมนาคมขนส่งของประเทศ เชื่อมโยงการขนส่งระหว่างอ่าวไทยและทะเลอันดามัน ซึ่งเป็นส่วนสำคัญของการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคใต้ (Southern Economic Corridor : SEC) ภายใต้ชื่อ “โครงการแลนด์บริดจ์” เพื่อเป็นศูนย์กลางเชื่อมโยงการค้าและโลจิสติกส์กับพื้นที่เศรษฐกิจหลักของประเทศ และภูมิภาคฝั่งทะเลอันดามัน (BIMSTEC) เพื่อเป็นฐานการพัฒนาอุตสาหกรรมชีวภาพและการแปรรูปเกษตรมูลค่าสูง ยกระดับคุณภาพมาตรฐานการท่องเที่ยวสู่นานาชาติ ### PR.DIPROM (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม) รายงาน/ภาพข่าว
24 ม.ค. 2024
รัฐมนตรีฯพิมพ์ภัทรา ประชุมคณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชนเพื่อแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจ (กรอ.) พื้นที่กลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอันดามัน รับฟังปัญหาอุปสรรค และข้อเสนอแนะจากผู้ประกอบกิจการโรงงานในพื้นที่
จ.ระนอง 22 มกราคม 2567 - นางสาวพิมพ์ภัทรา วิชัยกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชนเพื่อแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจพื้นที่กลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอันดามัน (กรอ.) ซึ่งประกอบด้วย จังหวัดกระบี่ ตรัง พังงา ภูเก็ต ระนอง และสตูล ร่วมกับส่วนราชการและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งภาครัฐ และเอกชน เพื่อเตรียมนำเสนอข้อมูลที่ได้จากการประชุมสอบถามความต้องการขอรับการสนับสนุน ปัญหาและ อุปสรรค รวมทั้งข้อเสนอแนะของผู้ประกอบกิจการโรงงานในพื้นที่ นำเสนอประเด็นและวาระการพัฒนากลุ่มจังหวัดฯ ต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรีอย่างเป็นทางการนอกสถานที่ โดยมีนายณัฐพล รังสิตพล ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม เข้าร่วมการประชุมด้วย ณ ห้องประชุมรัตนรังสรรค์ ชั้น 5 ศาลากลางจังหวัดระนอง ศูนย์ราชการจังหวัดระนอง โดยในการประชุมมีการนำเสนอประเด็นและความต้องการขอรับการสนับสนุนในหลายประเด็น ทั้ง การส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงคุณภาพ ด้วยการพัฒนาและยกระดับศักยภาพของผู้ประกอบการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ เช่น โครงการพัฒนาและยกระดับ Andaman Wellness and Spa ที่มุ่งเน้นพัฒนาองค์ความรู้ให้กับบุคลากร เพิ่มศักยภาพให้กับผู้ประกอบการ โดยการบูรณาการร่วมกับกลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอันดามัน โดยให้จังหวัดระนอง เป็นเจ้าภาพหลัก การยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน เนื่องจากค่าไฟฟ้าในภาคอุตสาหกรรมเพิ่มสูงขึ้น ทำให้ต้นทุนการผลิตเพิ่มขึ้น การแก้ไขควรจัดให้มีการฝึกอบรมเรื่องการลดใช้พลังงาน การสนับสนุนพลังงานทดแทน ปรับปรุงเครื่องจักรที่ทำให้ประหยัดพลังงาน การพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการอุตสาหกรรมฮาลาล รวมถึงยกระดับมาตรฐานฮาลาลของไทยเพื่อตอบสนองความต้องการขยายตัวของตลาดโลก โดยการจัดตั้งองค์กรกลางหรือมาตฐานที่เกี่ยวกับฮาลาล ที่นานาชาติยอมรับ เพื่อให้สามารถจำหน่ายในประเทศต่างๆได้ทั่วโลก โดยเฉพาะในประเทศมุสลิม การเพิ่มมูลค่าสำหรับอุตสาหกรรมแปรรูปอาหารทะเล และแปรรูปเกษตรอื่น ๆ ด้วยการสร้างมูลค่าเพิ่มผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมแปรรูปอาหารทะเลตามแนวทาง BCG Model ในกลุ่มจังหวัดภาคใต้กลุ่มอันดามัน โดยต้องเป็นการบูรณาการหน่วยงานที่เกี่ยวข้องส่งเสริมและพัฒนาองค์ความรู้ รวมถึงเทคโนโลยีและนวัตกรรม การขาดแคลนฝีมือแรงงาน โดยได้ขอรับการสนับสนุนให้มีการพัฒนาทักษะฝีมือแรงงานให้สอดคล้องตามความต้องการของสถานประกอบการ การสนับสนุนสินเชื่อให้กับผู้ประกอบการที่มีข้อจำกัด ที่ได้ขอให้มีการสนับสนุนผู้ประกอบการทุกระดับในการเข้าถึงสินเชื่อ นอกจากนี้ มีการนำเสนอประเด็นอื่นๆ อาทิ การเสนอให้แก้ไขผังเมืองให้เหมาะสมกับสภาพพื้นที่เพื่อส่งเสริมการลงทุน หรือกฎหมายที่เกี่ยวข้อง การปรับปรุงแก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการจัดการกากอุตสาหกรรมเพื่อลดต้นทุนให้แก่ผู้ประกอบการโรงงาน โดยผู้บริหารกระทรวงอุตสาหกรรมที่ร่วมประชุมฯประกอบด้วยนางสาวศิรินันท์ ศิริพานิช ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงอุตสาหกรรมนายดนัยณัฏฐ์ โชคอำนวย ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม นางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม นายวิษณุ ทับเที่ยง หัวหน้าผู้ตรวจราชการกระทรวงอุตสาหกรรม นายเอกนิติ รมยานนท์ นายศุภกิจ บุญศิริ ผู้ตรวจราชการกระทรวงอุตสาหกรรม นายจุลพงษ์ ทวีศรี อธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม นายภาสกร ชัยรัตน์ อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม นายอดิทัต วะสีนนท์ อธิบดีกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ นายวันชัย พนมชัย เลขาธิการสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม นายวิฤทธิ์ วิเศษสินธุ์ เลขาธิการคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย นางวรวรรณ ชิตอรุณ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม นายวีริศ อัมระปาล ผู้ว่าการการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) และผู้บริหารกระทรวงอุตสาหกรรม และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วมด้วย ### PR.DIPROM (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม) รายงาน/ภาพข่าว
24 ม.ค. 2024
“รัฐมนตรีฯ พิมพ์ภัทรา” นำคณะผู้บริหารกระทรวงอุตสาหกรรม ลงพื้นที่จังหวัด“ชุมพร” เยี่ยมชมและให้กำลังใจ พร้อมรับฟังปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ ผู้ประกอบกิจการในพื้นที่ ผลักดันสู่เป้าหมายตามนโยบายของกระทรวงอุตสาหกรรม
กรุงเทพฯ 21 มกราคม 2567 - นางสาวพิมพ์ภัทรา วิชัยกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม นำคณะผู้บริหารกระทรวงอุตสาหกรรม และนายณัฐพล รังสิตพล ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม ลงพื้นที่ตรวจราชการ และ และตรวจเยี่ยมกลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอันดามัน ในพื้นที่จังหวัดชุมพร จังหวัดระนอง และจังหวัดสุราษฎร์ธานี ก่อนการประชุมคณะรัฐมนตรีอย่างเป็นทางการนอกสถานที่ ครั้งที่ 1/2567 โดยการลงพื้นที่จังหวัดชุมพรครั้งนี้ จุดแรกได้ไปตรวจเยี่ยม บริษัท ชุมพรอุตสาหกรรมน้ำมันปาล์ม จำกัด (มหาชน) จังหวัดชุมพร ตำบลสลุย อำเภอท่าแซะ ประกอบกิจการสกัดน้ำมันปาล์ม กลั่นและแยกไข บรรจุน้ำมันพืช ผลิตไฟฟ้าจากก๊าซชีวภาพ และผลิตปุ๋ยจากตะกอนน้ำเสีย ซึ่งในปี 2567 กระทรวงฯ เตรียมที่จะส่งเสริมและพัฒนาให้เป็นต้นแบบอุตสาหกรรมปาล์มน้ำมันครบวงจรอย่างยั่งยืน พร้อมเป็นพี่เลี้ยงให้กับสถานประกอบการอื่นๆ ในพื้นที่ ขณะเดียวกันก็จะเพิ่มมูลค่า by product จากการสกัดและแยกไขสู่อุตสาหกรรมโอเลโอเคมีคอล (Oleochemical) สนับสนุนเงินทุนหรือขยายเวลาเรื่องการติดตั้งระบบ CEMs และระบบดักฝุ่น (ESP) ของหม้อน้ำ จากนั้นได้เดินทางไปยังจุดที่ 2 วิสาหกิจชุมชนกลุ่มกาแฟบ้านถ้ำสิงห์ ตำบลถ้ำสิงห์ อำเภอเมือง โดยวิสาหกิจชุมชนฯ ได้รับการรับรองมาตรฐานสาธารณสุข อย. และมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน (มผช.) และได้เข้าร่วมโครงการแปรรูปสินค้าเกษตรอุตสาหกรรม 1 จังหวัด 1 ชุมชน (OPOAI -C) ประจำปีงบประมาณ 2566 ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ลูกอมกาแฟ มูลค่าทางเศรษฐกิจประมาณ 23,600 บาทต่อปี ซึ่งในปี 2567 กระทรวงฯ เตรียมที่จะเข้าไปให้การส่งเสริมและพัฒนาวิสาหกิจชุมชนฯ ในด้านต่างๆ อาทิ พัฒนากระบวนการผลิต เช่น การปรับปรุงอาคารล้าง การขยายขนาดเครื่องอบร้อน เป็นต้น หรือการขอรับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์ใหม่ ส่งเสริมการขอรับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน (มผช.) สำหรับผลิตภัณฑ์ใหม่ เช่น ลูกอมกาแฟ และส่งเสริมการตลาด เพื่อเพิ่มช่องทางการจำหน่ายผลิตภัณฑ์“ผู้ประกอบการทั้ง 2 ราย ถือได้ว่าเป็นสถานประกอบการที่มีประสิทธิภาพสูง ได้รับการยอมรับและการรับรองมาตรฐานจากหน่วยงานต่างๆ ทั้งภายในและต่างประเทศ สามารถสร้างมูลค่าเศรษฐกิจในพื้นที่จังหวัดได้เป็นอย่างดี ซึ่งกระทรวงอุตสาหกรรมเองก็พร้อมที่จะให้การสนับสนุนตามการร้องขอของผู้ประกอบการ ขณะเดียวกันในส่วนของปัญหา อุปสรรคต่างๆ รวมทั้งข้อเสนอแนะที่ผู้ประกอบการทั้ง 2 ราย ได้ร้องขอมานั้น ไม่ว่าจะเป็นปัจจัยการผลิตในพื้นที่ไม่เพียงพอ ต้นทุนวัตถุดิบเพิ่มสูงขึ้น กฎหมายที่เกี่ยวข้องบางฉบับไม่เป็นธรรมกับผู้ประกอบการ สิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้วยังถูกมองว่าเป็นขยะ ผู้ประกอบการขาดแหล่งเงินทุนหมุนเวียน และระบบสาธารณูปโภค สาธารณูปการในพื้นที่ จะขอรับเรื่องดังกล่าวไปพิจารณา และให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ไปดำเนินการให้เรียบร้อย และแก้ปัญหาให้ตรงจุด เพื่อไม่ให้เกิดช่องโหว่ หรือเกิดการสะดุดในระหว่างประกอบกิจการได้”นางสาวพิมพ์ภัทรา กล่าว โดยผู้บริหารกระทรวงอุตสาหกรรมที่ร่วมลงพื้นที่ในครั้งนี้ ประกอบด้วยนางสาวศิรินันท์ ศิริพานิช ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงอุตสาหกรรม นายดนัยณัฏฐ์ โชคอำนวย ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม นางสาวไพลิน เทียนสุวรรณ เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม นางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม นายวิษณุ ทับเที่ยง หัวหน้าผู้ตรวจราชการกระทรวงอุตสาหกรรม นายเอกนิติ รมยานนท์ นายศุภกิจ บุญศิริ ผู้ตรวจราชการกระทรวงอุตสาหกรรม นายจุลพงษ์ ทวีศรี อธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม นายภาสกร ชัยรัตน์ อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม นายอดิทัต วะสีนนท์ อธิบดีกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ นายวันชัย พนมชัย เลขาธิการสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม นายวิฤทธิ์ วิเศษสินธุ์ เลขาธิการคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย นางวรวรรณ ชิตอรุณ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม นายวีริศ อัมระปาล ผู้ว่าการการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) นางสาวนารถนารี รัฐปัตย์ กรรมการผู้จัดการ ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ธพว.) และผู้บริหารระดับกระทรวงอุตสาหกรรม และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วมด้วย ### PR.DIPROM (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมสงเสริมอุตสาหกรรม) รายงาน/ภาพข่าว
23 ม.ค. 2024