Category
ขอเชิญสถานประกอบเข้าร่วมกิจกรรม "การพัฒนาศักยภาพการบริหารจัดการโลจิสติกส์อย่างยั่งยืน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567"
ขอเชิญสถานประกอบเข้าร่วมกิจกรรม "การพัฒนาศักยภาพการบริหารจัดการโลจิสติกส์อย่างยั่งยืน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567" รับสมัครตั้งเเต่วันนี้ ถึง 30 พ.ย. พ.ศ. 2566 อุตสาหกรรมเป้าหมาย อุตสาหกรรมยานยนต์ชิ้นส่วนและอะไหล่ยานยนต์ อุตสาหกรรมอาหารแปรรูป อุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ อุตสาหกรรมปิโตรเคมีและพลาสติก ประโยชน์ที่จะได้รับตลอดโครงการ ลดต้นทุนโลจิสติกส์ให้สถานประกอบการ การวินิจฉัยปัญหาและให้คำปรึกษาแนะนำ 8 ครั้ง/กิจการ การประเมินศักยภาพด้านโลจิสติกส์ขององค์กร การวิเคราะห์และแก้ปัญหาด้านโลจิสติกส์ขององค์กร สมัครเข้าร่วมกิจกรรม รับจำนวนจำกัด ฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม กลุ่มส่งเสริมโลจิสติกส์ 0 2430 6875 ต่อ 1577-9
07 พ.ย. 2023
"ลสล.ประเทือง" ร่วมประชุมเตรียมการดำเนินงาน วันสตรีสากล ประจำปี 2567
กรุงเทพฯ 6 พฤศจิกายน 2566 – นางสาวประเทือง พฤกษาพิทักษ์กุล เลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (ลสล.กสอ.) เข้าร่วมประชุมคณะกรรมการดำเนินงาน วันสตรีสากล ครั้งที่ 1/2566 โดยมี นายอนุกูล ปีดแก้ว ปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เป็นประธานการประชุม ณ ณ ห้องประชุมสำนักงานปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (สป.) 1 ชั้น 8 การประชุมในครั้งนี้ เป็นการการรายงานผลการจัดงานวันสตรีสากล ประจำปี 2566 การปรับประเภทรางวัลและจำนวนรางวัล เนื่องในวันสตรีสากล ประจำปี 2567 กำหนดการจัดงานรางวัลสตรีสากล ประจำปี 2567 พร้อมแนวคิดหลักในการจัดงาน "เสริมพลังสตรีและเด็กหญิง ขจัดความยากจน สู่ความเท่าเทียมระหว่างเพศ บนพื้นฐานครอบครัวที่อบอุ่น" รวมถึงได้กำหนดแผนการจัดเตรียมงานวันสตรีสากล ประจำปี 2567 นอกจากนี้ ยังมีการทบทวนคำสั่งกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ที่ 736/2561 เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงานวันสตรีสากล และคำสั่งกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคง ของมนุษย์ ที่ 845/2562 เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงานวันสตรีสากล (เพิ่มเติม) พร้อมพิจารณาองค์ประกอบของคณะอนุกรรมการคัดเลือกสตรีดีเด่น ด้านกระบวนการยุติธรรมอีกด้วย ### PR.DIPROM (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม) รายงาน/ภาพข่าว
07 พ.ย. 2023
"ดีพร้อม" จับมือพันธมิตรไทย-ญี่ปุ่น จัดงาน Open House จับคู่ธุรกิจนวัตกรรมด้านเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม
กรุงเทพฯ 6 พฤศจิกายน 2566 – นายวัชรุน จุ้ยจำลอง รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ให้เกียรติเป็นประธานในพิธีเปิดงาน Open House : Environmental Innovation & Green Product for Japan x Thai Business Matching ร่วมด้วย คณะผู้บริหาร และเจ้าหน้าที่ดีพร้อม (DIPROM) คณะเจ้าหน้าที่จากหน่วยงานภาคีเครือข่าย และ ผู้ประกอบการ โดยมี ดร.ภัทรชาติ โกมลกิติ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารสำนักเคเอกซ์ และ นายอาโอโตะ ทาคาชิ ผู้อำนวยการสำนักงานด้านขยายธุรกิจในต่างประเทศ แผนกส่งเสริมผลิตภัณฑ์ จังหวัดชิมาเนะ ร่วมกันกล่าวต้อนรับและวัตถุประสงค์ของการจัดงาน ณ อาคาร Knowledge Exchange Center (KX) คลองสาน งานดังกล่าว เป็นกิจกรรมจับคู่ธุรกิจ ระหว่างกลุ่มผู้ประกอบการไทยและญี่ปุ่น สำหรับธุรกิจนวัตกรรมด้านเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม เพื่อขยายโอกาสทางธุรกิจ การวิจัย และพัฒนาเทคโนโลยีร่วมกัน โดยมุ่งเน้นผู้ประกอบการกลุ่มธุรกิจ Environmental & Green Technology และร่วมกันแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ Product & Services จาก 5 บริษัทจากจังหวัดชิมาเนะ ซึ่งถือเป็นอีกหนึ่งความร่วมมือระหว่างหน่วยงานไทย-ญี่ปุ่น ในการผลักดัน BCG Model มาใช้ในภาคอุตสาหกรรมเพื่อบรรลุผลสำเร็จในการพัฒนาสิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจ และสังคม ให้เติบโตได้อย่างยั่งยืน ### PR.DIPROM (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม) รายงาน/ภาพข่าว
07 พ.ย. 2023
เชิญชวนผู้ประกอบการที่สนใจเข้าร่วมฝึกอบรม หลักสูตร NEC DIPROM
เชิญชวนผู้ประกอบการที่สนใจเข้าร่วมฝึกอบรม หลักสูตร NEC DIPROM ดำเนินการโดย : ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 4 กลุ่มบริการธุรกิจอุตสาหกรรมและผู้ประกอบการ ภายใต้โครงการ : เร่งการจัดตั้งและขยายธุรกิจของ ผู้ประกอบการอัจฉริยะ ประจำปีงบประมาณ2567 รับสมัครตั้งเเต่บัดนี้เป็นต้นไปถึงวันที่ 2 มการาคม พ.ศ. 2567 คุณสมบัติ ผู้สนใจประกอบธุรกิจ ประกอบธุรกิจมาแล้วไม่เกิน 5ปี นักศึกษาปี3-4 ทายาทธุรกิจ ผู้ที่ว่างงาน วัตถุประสงค์ เพื่อให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมมีความรู้ในการประกอบธุรกิจจนสามารถจัดตั้งและขยายธุรกิจได้ สิ่งที่จะได้รับ ผู้เข้าอบรมเกิดการเชื่อมโยงเครือข่าย เกิดการแลกเปลี่ยนความรู้ ประสบการณ์ และให้ความช่วยเหลือกัน ผู้เข้าอบรมเกิดความคิดสร้างสรรค์และพัฒนาความคิดและกิจกรรมใหม่ๆ เพื่อการพัฒนาธุรกิจได้อย่าง มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ผู้เข้าอบรมสามารถขยายหรือจัดตั้งธุรกิจได้ ลงทะเบียนออนไลน์ รับจำนวนจำกัด ฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย ติดต่อสอบรายละเอียดโครงการเพิ่มเติม ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 4 ที่อยู่เลขที่ 399 หมู่ 11 ถนนมิตรภาพ ตำบลโนนสูง อำเภอเมือง จ.อุดรธานี 41330 คุณปราณี อัดโดดดร (ปุ๋ม) 06 1423 9462 คุณสุปรียา อันทะปัญญา (เปรียว) 06 3784 8588
06 พ.ย. 2023
เชิญชวน เข้าร่วมอบรม กิจกรรมการจัดการกระบวนการผลิตด้วย ( IOT& Embedded Technology)
เข้าร่วมอบรม กิจกรรมการจัดการกระบวนการผลิตด้วย (IOT& Embedded Technology) ดำเนินการโดย : ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 4 กลุ่มบริการธุรกิจอุตสาหกรรมและผู้ประกอบการ ภายใต้โครงการ : เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของวิสาหกิจไทยด้วยดิจิทัล เชิญชวน ผู้ประกอบการภาคการผลิตที่จดทะเบียนเป็นนิติบุคคล หรือมีทะเบียนการค้า รับสมัครตั้งเเต่วันนี้ถึง 28 ธันวาคม พ.ศ. 2566 วัตถุประสงค์ เพื่อยกระดับขีดความสามารถสถานประกอบการสู่ Industry 4.0 โดยการปรับปรุงกระบวนการผลิตด้วยการนำเอาเทคโนโลยีดิจิทัล อินเทอร์เน็ต (IOT) และการเชื่อมต่ออุปกรณ์มาทดแทนการทำงานแบบเดิมทำให้สามารถประมวลผลเป็นข้อมูลในลักษณะของ Dashboard แบบ Real-time เพื่อนำไปสู่การบริหารจัดการธุรกิจให้มีประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้น กลุ่มเป้าหมาย ผู้ประกอบการภาคการผลิตที่จดทะเบียนเป็นนิติบุคคล หรือ มีทะเบียนการค้า สิ่งที่จะได้รับ สถานประกอบการที่เข้าร่วมกิจกรรมสามารถมียอดขายเพิ่มขึ้น ของเสียลดลงหรือต้นทุนลดลง ได้ไม่น้อยกว่า ร้อยละ 10% ลงทะเบียนออนไลน์ ฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย ติดต่อสอบรายละเอียดโครงการเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 4 ที่อยู่เลขที่ 399 หมู่ 11 ถนนมิตรภาพ ตำบลโนนสูง อำเภอเมือง จ.อุดรธานี 41330 คุณปราณี อัดโดดดร (ปุ๋ม) 06 1423 9462 คุณสุปรียา อันทะปัญญา (เปรียว) 06 3784 8588
06 พ.ย. 2023
เชิญชวน เข้าร่วมอบรม กิจกรรมเพิ่มศักยภาพ SME ไทยให้ดีพร้อมด้วยโมเดลธุรกิจดิจิทัล E-commerce 4.0
เชิญชวน ผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ทั้งภาคการผลิต ภาคการค้า และภาคการบริการที่มีการดำเนินการผ่านช่องทาง e-Commerce ดำเนินการโดย : ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 4 ภายใต้โครงการ : เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของวิสาหกิจไทยด้วยดิจิทัล กลุ่มบริการธุรกิจอุตสาหกรรมและผู้ประกอบการเข้าร่วมอบรม กิจกรรมเพิ่มศักยภาพ SME ไทยให้ดีพร้อมด้วยโมเดลธุรกิจดิจิทัล E-commerce 4.0 รับสมัครตั้งเเต่วันนี้ถึง 28 ธันวาคม พ.ศ.2566 วัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ให้สามารถนำเทคโนโลยีทางด้านการบริหารจัดการธุรกิจในตลาดออนไลน์มาประยุกต์ใช้ในธุรกิจและเพิ่มยอดขาย หรือลดต้นทุนหรือลดการสูญเสียได้ กลุ่มเป้าหมาย วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ทั้งภาคการผลิต ภาคการค้าและภาคการบริการ สิ่งที่จะได้รับ สถานประกอบการที่เข้าร่วมกิจกรรมสามารถมียอดขายเพิ่มขึ้น ของเสียลดลงหรือต้นทุนลดลง ได้ไม่น้อยกว่า ร้อยละ 10% ลงทะเบียนออนไลน์ ฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย ติดต่อสอบรายละเอียดโครงการเพิ่มเติม ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 4 ที่อยู่เลขที่ 399 หมู่ 11 ถนนมิตรภาพ ตำบลโนนสูง อำเภอเมือง จ.อุดรธานี 41330 คุณปราณี อัดโดดดร (ปุ๋ม) 06 1423 9462 คุณสุปรียา อันทะปัญญา (เปรียว) 06 3784 8588
06 พ.ย. 2023
รัฐมนตรีฯ พิมพ์ภัทรา นำคณะผู้บริหาร ลุยเหนือ ดัน ซอฟส์พาวเวอร์ อุตสาหกรรมเชิงสร้างสรรค์ ดึงดูดนักท่องเที่ยวต่างชาติ
จ.เชียงใหม่ 2 พฤศจิกายน 2566 - นางสาวพิมพ์ภัทรา วิชัยกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ลงพื้นที่เชียงใหม่ หารือร่วมเอกชน ถึงแนวทางขับเคลื่อน ภาคอุตสาหกรรมในจังหวัดเชียงใหม่ พร้อมด้วย นางสาวศิรินันท์ ศิริพานิช ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงอุตสาหกรรม นายณัฐพล รังสิตพล ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม นายดนัยณัฏฐ์ โชคอำนวย ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม นางสาวไพลิน เทียนสุวรรณ เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม นายเอกภัทร วังสุวรรณ รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม นายภาสกร ชัยรัตน์ ผู้ตรวจราชการกระทรวงอุตสาหกรรม รักษาราชการแทนอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม และคณะผู้บริหารระดับสูง กระทรวงอุตสาหกรรม เข้าร่วม โดยมี นางพัชรี ใบยา อุตสาหกรรมจังหวัดเชียงใหม่ และหน่วยงานภาครัฐและเอกชน ที่เกี่ยวข้องร่วมต้อนรับ ณ ห้องประชุมนารายณ์ สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดเชียงใหม่ สำหรับในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ มีผู้ประกอบกิจการโรงงานอุตสาหกรรม จำนวน 1,066 โรง 73 ราย มีจำนวนการจ้างงาน 35,277 คน โดยกลุ่มอุตสาหกรรมที่มีการลงทุนมากที่สุด 5 อันดับแรก ได้แก่ กลุ่มการผลิตอื่น ๆ เช่น ขุดดิน ดูดทราย ผลิตไฟฟ้า คัดแยกวัสดุที่ไม่ใช้แล้ว จำนวน 214 โรงงาน กลุ่มผลิตภัณฑ์จากพืช เช่น สีข้าว อบพืชผลทางการเกษตร คัดแยกขนาดผลผลิตทางการเกษตร จำนวน 185 โรงงาน กลุ่มอุตสาหกรรมอาหาร เช่น ผลิตน้ำแข็ง เครื่องดื่ม แปรรูปผลผลิตทางการเกษตร จำนวน 172 โรงงาน กลุ่มผลิตภัณฑ์อโลหะ เช่น ผลิตคอนกรีตผสมเสร็จ อิฐ เซรามิค จำนวน 120 โรงงาน และกลุ่มผลิตยานพาหนะ และอุปกรณ์รวมทั้งการซ่อมยานพาหนะและอุปกรณ์ จำนวน 96 โรงงาน นอกจากนี้ ยังมีประทานบัตรเปิดการทำเหมือง จำนวน 11 ประทานบัตร สำหรับผลงานสำคัญในปีงบประมาณ ที่ผ่านมา ได้แก่ โครงการเตรียมความพร้อมพื้นที่อุตสาหกรรมสู่การเป็นเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ โดยการถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมและป้องกันผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมให้กับโรงงานในพื้นที่ การบูรณาการข้อมูลสาธารณูปโภค สาธารณูปการ และสัดส่วนพื้นที่สีเขียว กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและหน่วยงานที่รับผิดชอบ สนับสนุนให้โรงงานในพื้นที่เข้าไปมีส่วนร่วมในการพัฒนาพื้นที่ตลาดชุมชน เพื่อสร้างการกระจายรายได้สู่ชุมชนอย่างยืน อีกทั้งยังผลักดันให้โรงงานในพื้นที่จัดกิจกรรม CSR และการบำเพ็ญสาธารณประโยชน์ร่วมกับชุมชนในพื้นที่ เพื่อสร้างเครือข่ายดูแลสังคมและสิ่งแวดล้อม โครงการสร้างและพัฒนาผู้ประกอบการนวัตกรรมสู่การขับเคลื่อนเศรษฐกิจเชียงใหม่ (Chiang Mai Startup Driven Economy) บ่มเพาะ Startup ในจังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 60 ราย โครงการพัฒนาศูนย์กลางอุตสาหกรรมและธุรกิจกาแฟในภูมิภาค ระยะที่ 2 บ่มเพาะผู้ประกอบการ และเกษตรกรในกลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน 1 จำนวน 40 ราย โครงการส่งเสริมตลาดเชิงรุกผลิตภัณฑ์เมืองเชียงใหม่ สินค้าสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์และสินค้าสร้างสรรค์จังหวัดเชียงใหม่ และโครงการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบอุตสาหกรรมสร้างสรรค์เพื่อชุมชน รัฐมนตรีฯ พิมพ์ภัทรา กล่าวว่า รัฐบาลพร้อมสนับสนุนศักยภาพภาคอุตสาหกรรมของประเทศไทย ให้สามารถแข่งขันได้ในระดับโลก โดยมีโยบายในการส่งเสริมการจัดทำโครงสร้างพื้นฐาน เพื่อดึงดูดการลงทุนจากทั้งในและต่างประเทศให้มากยิ่งขึ้น พร้อมส่งเสริมอุตสาหกรรมเศรษฐกิจ ด้วยการสร้าง ซอฟส์พาวเวอร์ ให้มีความเข้มแข็ง พร้อมทั้งขอบคุณสภาอุตสาหกรรม ที่สนับสนุนกระทรวงฯ เพราะการจะทำให้เศรษฐกิจอุตสาหกรรมเติบโตได้ จะต้องอาศัยการสนับสนุนจากภาคผู้ประกอบการ ซึ่งที่ผ่านมา ได้รับการสนับสนุนเป็นอย่างดี ไม่ว่าจะเป็น การจัดกิจกรรมต่าง ๆ การจัดมหกรรมแสดงสินค้า และอุตสาหกรรมแฟร์ ทั้งนี้ ปลัดฯ ณัฐพล กล่าวเพิ่มเติมว่า จังหวัดเชียงใหม่ เป็นเมืองท่องเที่ยว ดังนั้น ซอฟส์พาวเวอร์ ที่ดีที่สุดของเชียงใหม่ ต้องเน้นไปในเรื่องของการท่องเที่ยวเป็นหลัก ส่งเสริมอุตสาหกรรมเป้าหมาย NEC (ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคเหนือ) ได้แก่ 1. อุตสาหกรรมสร้างสรรค์ เช่น กิจกรรมการออกแบบและพัฒนาเชิงสร้างสรรค์ เขตอุตสาหกรรมภาพยนตร์ ส่งเสริมการถ่ายทำภาพยนตร์ ซีรีส์ เป็นต้น 2. อุตสาหกรรมดิจิทัล เช่นกิจกรรมพัฒนาซอฟต์แวร์ แพลตฟอร์มเพื่อให้บริการดิจิทัล ซอฟส์แวร์ ดีไซส์ ตามโจทย์ที่ว่าอยู่ที่ไหนในโลกก็สามารถ ทำงานได้ 3. อุตสาหกรรมท่องเที่ยว และท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ และ 4. อุตสาหกรรมเกษตรและอาหาร ด้วยการส่งเสริมอาหารที่เป็นต้นทุนสำคัญของประเทศไทย ให้เป็นที่รู้จักไปทั่วโลก ### PR.DIPROM (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม) รายงาน
06 พ.ย. 2023
เชิญเข้าร่วมกิจกรรม หัวข้อ “ปรับธุรกิจอาหารให้รุ่ง ปรุงกลยุทธ์การตลาดให้รอด ในยุค NEXT NORMAL
กระแสเปลี่ยนแปลง พฤติกรรมเปลี่ยนไป ปรับตัวธุรกิจให้ทันสมัย หัวข้อ “ปรับธุรกิจอาหารให้รุ่ง ปรุงกลยุทธ์การตลาดให้รอด ในยุค NEXT NORMAL (Season.2)” ดำเนินการโดย : ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 1 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม เรียนรู้การปรับธุรกิจจากกูรูผู้เชี่ยวชาญในด้าน การทำมาตรฐานร้านอาหาร (SOP) เพื่อยกระดับร้านเตรียมความพร้อมสู่ Franchise และขยายสาขา ถอดเคล็ดลับการจัดการธุรกิจอาหารร้านดัง ทำร้านให้ปัง! แบบใช้งบน้อย (จากแบรนด์ที่มีสาขามากกว่า 200 สาขา!) การตลาดดิจิทัลด้วย Chatbot /Ai ! พลิกโฉมวงการตลาด ด้วยการใช้เครื่องมืออัตโนมัติ รับสมัครตั้งแต่บัดนี้ จนถึงผู้สมัครเต็มจำนวน ฟรี จำกัดจำนวน 40 ท่านเท่านั้น อบรมระหว่างวันที่ 21 - 23 พฤศจิกายน 2566 (3 วัน) ณ ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 1 อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม 08 9759 3628 (คุณตูน)
06 พ.ย. 2023
รัฐมนตรีฯ พิมพ์ภัทรา นำคณะผู้บริหาร ขึ้นเหนือ เสริมศักยภาพอุตสาหกรรม เพื่อดึงดูดนักลงทุนต่างชาติ
จ.ลำพูน 2 พฤศจิกายน 2566 - นางสาวพิมพ์ภัทรา วิชัยกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ลงพื้นที่ลำพูน หารือร่วมเอกชน ถึงแนวทางขับเคลื่อน ภาคอุตสาหกรรมในจังหวัดลำพูน พร้อมด้วย นางสาวศิรินันท์ ศิริพานิช ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงอุตสาหกรรม นายณัฐพล รังสิตพล ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม นายดนัยณัฏฐ์ โชคอำนวย ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม นางสาวไพลิน เทียนสุวรรณ เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม นายเอกภัทร วังสุวรรณ รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม นายภาสกร ชัยรัตน์ ผู้ตรวจราชการกระทรวงอุตสาหกรรม รักษาราชการแทนอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม และคณะผู้บริหารระดับสูง กระทรวงอุตสาหกรรม เข้าร่วม โดยมี นายสันติธร ยิ้มละมัย ผู้ว่าราชการจังหวัดลำพูน นางจันทนา ไวยาวัจมัย อุตสาหกรรมจังหวัดลำพูน และหน่วยงานภาครัฐและเอกชน ที่เกี่ยวข้องร่วมต้อนรับ ณ ห้องประชุมสำนักงานนิคมอุตสาหกรรมภาคเหนือ จังหวัดลำพูน สำหรับในพื้นที่จังหวัดลำพูน มีผู้ประกอบกิจการโรงงานในนิคมอุตสาหกรรมภาคเหนือ 73 ราย แบ่งเป็น ญี่ปุ่น 35 ราย ไทย 19 ราย ยุโรป 11 ราย เกาหลี 3 ราย ไต้หวัน 2 ราย สหรัฐอเมริกา 1 ราย สิงคโปร์ 1 ราย และอินเดีย 1 ราย มีจำนวนการจ้างงาน 35,000 คน โดยเป็นกลุ่มอุตสาหกรรม แบ่งเป็นด้าน ไฟฟ้า อิเล็กทรอนิกส์ และเครื่องมือวิทยาศาสตร์ 27 โรงงาน อุตสาหกรรมเหล็ก และผลิตภัณฑ์โลหะ 8 โรงงาน อุตสาหกรรมน้ำมัน และพลังงาน 7 โรงงาน อุตสาหกรรมอาหาร และเครื่องดื่ม 5 โรงงาน อุตสาหกรรมเครื่องยนต์ เครื่องจักร และอะไหล่ 5 โรงงาน และอุตสาหกรรมด้านอื่นๆ เช่น อัญมณี เครื่องแต่งกาย ฯลฯ 21 โรงงาน โดยการประชุมหารือในครั้งนี้ ได้นำเสนอในประเด็นต่าง ๆ อาทิ โครงการพัฒนาและเชื่อมโยงผู้ประกอบการอุตสาหกรรมรายใหญ่กับ SMEs ลำพูน (Lamphun Supply Chain) : เพื่อเปิดโอกาสแสดงศักยภาพ และสร้างโอกาสเจรจาธุรกิจร่วมกัน ,โครงการขนส่งสินค้าทางรถไฟ และสถานี Container Yard : เพื่อสนับสนุนให้เกิดการขนส่งสินค้าในภาคอุตสาหกรรมและเกษตรกรรมภายในประเทศไทยและขนส่งออกไปต่างประเทศ, การปรับปรุงผังเมือง เพื่อรองรับการขยายตัวของการค้าและอุตสาหกรรมลำพูน NEC ,การปรับปรุงระบบสาธารณูปโภคและโครงสร้างพื้นฐาน เพื่อรองรับเศรษฐกิจ และ อุตสาหกรรมเกษตรเพิ่มมูลค่าสูง (Lamphun Superfoods Valley) อุตสาหกรรมจังหวัดลำพูน กล่าวว่า สำหรับผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัดลำพูน จากข้อมูล ประจำปี พ.ศ. 2564 ต่อหัว ลำพูน เป็นอันดับ 1 ของภาคเหนือ ลำดับที่ 14 ของประเทศ และจังหวัดลำพูน มีประเด็นการพัฒนาจังหวัดให้เป็นเมืองอุตสาหกรรม หัตถกรรม และเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ยกระดับศักยภาพการแข่งขันของประเทศไทย ให้สอดรับกับการขับเคลื่อนระเบียงเศรษฐกิจพิเศษ ภาคเหนือ (Northern Economic Corridor) หรือ NEC ซึ่งรัฐบาลหวังพัฒนาภาคเหนือในส่วนของ 4 จังหวัด คือ เชียงใหม่ เชียงราย ลำปาง และลำพูน โดยเฉพาะอย่างยิ่งจังหวัดลำพูน ให้เป็นฐานเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ของประเทศอย่างยั่งยืน เพื่อนำไปสู่การปฏิรูปวิสัยทัศน์ของจังหวัดลำพูนในปี 2570 ต่อไป ทั้งนี้ รัฐมนตรีฯ พิมพ์ภัทรา กล่าวว่า รัฐบาลภายใต้การนำของ นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ขณะนี้อยู่ระหว่างเร่งดึงดูดนักลงทุน ในส่วนภาคอุตสาหกรรมจังหวัดลำพูนว่า รัฐบาลมีความพร้อมในการสนับสนุนศักยภาพภาคอุตสาหกรรมของประเทศไทย ให้สามารถแข่งขันได้ในระดับโลก พร้อมกับมีโยบายในการส่งเสริมการจัดทำโครงสร้างพื้นฐาน เพื่อดึงดูดการลงทุนจากทั้งในและต่างประเทศให้มากยิ่งขึ้น พร้อมทั้งให้กำลังใจพี่น้องประชาชน และผู้ประกอบการภาคธุรกิจ และเน้นย้ำให้การนิคมฯ ดูแลในส่วนของการบริหารจัดการน้ำ การใช้น้ำของโรงงานอุตสาหกรรม ไม่ให้กระทบต่อภาคการเกษตรของประชาชน ซึ่งนายกรัฐมนตรี เป็นห่วงสถานการณ์น้ำแล้งเป็นอย่างมาก ### PR.DIPROM (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม) รายงาน
06 พ.ย. 2023
ขอเชิญผู้ประกอบการเข้าร่วมกิจกรรมพัฒนาการร่วมกลุ่มและเชื่อมโยงอุตสาหกรรม
ขอเชิญผู้ประกอบการที่สนใจสมัครเข้าร่วมกิจกรรม พัฒนาการร่วมกลุ่มและเชื่อมโยงอุตสาหกรรม (คลัสเตอร์สมุนไพรและสปา จ.อุดรธานี) ภายใต้โครงการ : พัฒนาการรวมกลุ่มและเชื่อมโยงอุตสาหกรรม ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2567 ดำเนินการโดย : ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 4 (DIPROM CENTER 4) เพื่อส่งเสริม การรวมกลุ่มผู้ประกอบการอุตสาหกรรมสมุนไพรแปรรูป ให้เกิดความร่วมมือและเชื่อมโยงเครือข่าย ตลอดจนเพื่อเพิ่มผลิตภาพให้กับธุรกิจ เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน เช่น ด้านการพัฒนากระบวนการผลิต การตลาด มาตรฐาน และการพัฒนาผลิตภัณฑ์ เป็นต้น คุณสมบัติ เป็นผู้ประกอบการที่มี ทะเบียนพาณิชย์ หรือทะเบียนวิสาหกิจชุมชน หรือเลขนิติบุคคล ผลิตภัณฑ์อยู่ในกลุ่มอุตสาหกรรมสมุนไพรแปรรูป สถานประกอบการตั้งอยู่ในเขตพื้นที่ จ.อุดรธานี มีความพร้อมในการเข้าร่วมกิจกรรมต่างๆ ของกลุ่มคลัสเตอร์สมุนไพรและสปา ฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย สมัครได้ตั้งแต่วันนี้ - 30 พ.ย. 66 ติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม ศิวะพร วรรณรัตน์ 08 1564 5141
06 พ.ย. 2023