Category
“ดีพร้อม ผนึกกำลัง ซีพี ออลล์” ติดดาวสินค้าเกษตรอุตฯ ปี 2 พร้อมหนุนโอกาส ผปก. โตบนโมเดิร์นเทรด
กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม หรือ ดีพร้อม (DIPROM) ผนึกกำลัง บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) เปิดโครงการ DIPROM Move to Modern Trade 2 ร่วมพัฒนาภาคการเกษตรไทยให้เป็นเกษตรอุตสาหกรรมทั้งในรูปแบบสินค้าและบริการ เพื่อสร้างมูลค่าได้มากขึ้นผ่านช่องทางโมเดิร์นเทรด โดยคาดว่าจะส่งเสริมผู้ประกอบการเข้าสู่ตลาดโมเดิร์นเทรด 20 ธุรกิจ.....อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม
16 มี.ค. 2023
“ดีพร้อม” ผนึกกำลัง “ซีพี ออลล์” ติดอาวุธการค้าพร้อมดันผู้ประกอบการรายย่อยสู่ตลาดโมเดิร์นเทรด ปี 2
จ.นนทบุรี 15 มีนาคม 2566 - นายใบน้อย สุวรรณชาตรี อธิบดีกรมส่เงเสริมอุตสาหกรรม และนายยุทธศักดิ์ ภูมิสุรกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) ให้เกียรติร่วมเปิดกิจกรรม DIPROM Move to Modern Trade 2 ร่วมด้วย ผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ดีพร้อม (DIPROM) ผู้บริหารบริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) คณะอาจารย์สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ ผู้ประกอบการ และสื่อมวลชนเข้าร่วมงานดังกล่าว ณ ห้อง Executive Room 1 ชั้น 1 อาคาร The Tara ถ.แจ้งวัฒนะ อ.ปากเกร็ด กิจกรรมพัฒนาผู้ประกอบการเกษตรอุตสาหกรรมขยายสู่ช่องทางการค้าสมัยใหม่ หรือ DIPROM Move to Modern Trade 2 เป็นความร่วมมือระหว่าง ดีพร้อม (DIPROM) หรือ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กับ บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) ซึ่งดำเนินการอย่างต่อเนื่องเป็นปีที่ 2 เพื่อสนับสนุนและช่วยเหลือผู้ประกอบการ SMEs ในด้านต่าง ๆ รวมทั้งขยายช่องทางการตลาดและเพิ่มโอกาสในการจัดจำหน่ายสินค้าสู่ Modern Trade ตลอดจนสร้างเครือข่ายการพัฒนาเกษตรอุตสาหกรรมให้เข้มแข็งมากขึ้น อีกทั้ง ยังสร้างโอกาสให้ผู้ประกอบการได้วางจำหน่ายสินค้าผ่านช่องทางร้านเซเว่น อีเลฟเว่น ทั้งออนไลน์ ได้แก่ ออลล์ ออนไลน์ (All Online) เซเว่น เดลิเวอรี่ (7 Delivery) และออฟไลน์ในร้านสะดวกซื้อ เซเว่น อีเลฟเว่น ซึ่งมีอยู่กว่า 10,000 สาขาทั่วประเทศ และคาดว่าจะส่งเสริมผู้ประกอบการเข้าสู่ตลาดโมเดิร์นเทรด 20 ธุรกิจ สำหรับความร่วมมือดังกล่าว ดีพร้อม (DIPROM) ได้ดำเนินการร่วมกับศูนย์ 7 สนับสนุน SME (7 SME Support Center) ภายใต้การดำเนินงานของบริษัท ซีพี ออลล์ ในการสนับสนุนและส่งเสริมผู้ประกอบการรายย่อย โดย ดีพร้อม (DIPROM) จะทำหน้าที่คัดเลือกผู้ประกอบการที่มีศักยภาพ มีความพร้อม มีสินค้าที่มีความน่าสนใจตรงความต้องการของตลาด และสอดคล้องกับหลักเกณฑ์การพิจารณาคัดเลือกผลิตภัณฑ์/สินค้าที่จะนำไปวางจำหน่ายในเซเว่น อีเลฟเว่น ซึ่งผู้ประกอบการธุรกิจเกษตรที่เข้าร่วมกิจกรรมในครั้งนี้จะได้รับองค์ความรู้และทราบความต้องการ (requirement) ผลิตภัณฑ์/สินค้าที่ตรงกับความต้องการของตลาด โดยมีทีมอาจารย์จากสถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์เป็นผู้ทรงคุณวุฒิให้ความรู้ระหว่างวันที่ 22 มีนาคม - 5 พฤษภาคม 2566 ผ่านช่องทาง Online เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้เข้าสู่ตลาด Modern Trade ต่อไป ### PR.DIPROM (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม) รายงาน/ภาพข่าว
16 มี.ค. 2023
ปลัดฯ ณัฐพล ต้อนรับ ประธานคณะกรรมการการค้าและเศรษฐกิจไทย - ญี่ปุ่น ภายใต้สมาพันธ์ธุรกิจญี่ปุ่น (เคดันเรน) พร้อมชูไทยเป็นฐานการผลิตและคู่ค้าสำคัญของญี่ปุ่น ตอกย้ำความร่วมมือแน่นแฟ้นของทั้ง 2 ฝ่าย
กรุงเทพฯ 15 มีนาคม 2566 - นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม มอบหมายให้ ดร.ณัฐพล รังสิตพล ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม เป็นผู้แทนให้การต้อนรับนายซูซูกิ โยชิฮิสะ (Mr. SUZUKI Yoshihisa) และ นายซูซูกิ จุน (Mr. SUZUKI Jun) ประธานคณะกรรมการการค้าและเศรษฐกิจไทย - ญี่ปุ่น ภายใต้สมาพันธ์ธุรกิจญี่ปุ่น (เคดันเรน) พร้อมคณะผู้แทนเคดันเรนในโอกาสเยือนประเทศไทย โดยการหารือในวันนี้ทั้งสองฝ่ายต่างยินดีในความสัมพันธ์อันดีระหว่างไทยและญี่ปุ่น ครอบคลุมหลายมิติโดยเฉพาะการที่ญี่ปุ่นเล็งเห็นถึงศักยภาพของประเทศไทยในการเป็นฐานการผลิตและคู่ค้าที่สำคัญของญี่ปุ่น ขณะเดียวกันยังเป็นการตอกย้ำความร่วมมือระหว่างกัน ทั้งในด้านเศรษฐกิจ การค้าการลงทุน การพัฒนาภาคอุตสาหกรรม รวมถึงความร่วมมือกันในการส่งเสริมสิ่งแวดล้อมและการพัฒนาอย่างยั่งยืนของทั้งสองประเทศ ทั้งนี้ ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม ได้แสดงความเชื่อมั่นต่อเคดันเรน ในการร่วมมือกันเพื่อกระชับความสัมพันธ์ ระหว่างอุตสาหกรรมไทยและญี่ปุ่นให้แน่นแฟ้นมากยิ่งขึ้น ซึ่งจะทำให้เกิดประโยชน์ร่วมกันของทั้งสองฝ่าย โดยมีนายเดชา จาตุธนานันท์ ผู้ตรวจราชการกระทรวงอุตสาหกรรม นายภาสกร ชัยรัตน์ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม รักษาราชการแทนผู้ตรวจราชการกระทรวงอุตสาหกรรม นางสุชาดา โพธิ์เจริญ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม และผู้บริหารระดับสูงของกระทรวงอุตสาหกรรม ร่วมให้การต้อนรับ ณ ห้องประชุม อก. 1 ชั้น 2 อาคารสำนักงานปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม ### PR.DIPROM (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม)
16 มี.ค. 2023
ดีพร้อม ประชุมชี้แจงผลการใช้จ่ายงบประมาณโครงการสำคัญปี 66
กรุงเทพฯ 15 มีนาคม 2566 - นางสุชาดา โพธิ์เจริญ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (รสอ.) เป็นประธานประชุมหารือเรื่องการติดตามและประเมินผลสัมฤทธิ์จากการการใช้จ่ายงบประมาณโครงการปี 2566 ร่วมด้วย คณะเจ้าหน้าที่จากสำนักงบประมาณ นางเกษราภรณ์ โกวิทลวากุล ผู้อำนวยการกองยุทธศาสตร์และแผนงาน (ผอ.กง. กสอ.) นายวาที พีระวรานุพงศ์ ผู้อำนวยการกองพัฒนาดิจิทัลอุตสาหกรรม (ผอ.กท. กสอ.) และคณะเจ้าหน้าที่ดีพร้อม (DIPROM) ณ ห้องประชุม 3 ชั้น 3 อาคารกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (DIPROM Headquarter) ถนนพระรามที่ 6 ราชเทวี การประชุมครั้งนี้ เจ้าหน้าที่สำนักงบประมาณได้ร่วมรับฟัง การชี้แจงข้อมูลรายละเอียดผลการดำเนินงาน ผลลัพธ์ และผลการเบิกจ่ายโครงการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของวิสาหกิจไทยด้วยดิจิทัลในที่ผ่านมา รวมถึงชี้แจงรายละเอียดแผนการดำเนินกิจกรรมภายใต้โครงการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของวิสาหกิจไทยด้วยดิจิทัลปี 2566 พร้อมกันนี้ ในที่ประชุมได้สอบถามประเด็นต่าง ๆ เพื่อวางระบบการติดตามและประเมินผลการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติงาน และวัดผลสัมฤทธิ์หรือประโยชน์ที่จะรับจากการใช้จ่ายงบประมาณต่อไป ### PR.DIPROM (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม) รายงาน/ภาพข่าว
16 มี.ค. 2023
ขอเชิญผู้ประกอบการเข้าร่วมกิจกรรมเสวนา ขอเชิญผู้ประกอบการเข้าร่วมกิจกรรมเสวนา
ขอเชิญผู้ประกอบการเข้าร่วมกิจกรรมเสวนา ขอเชิญผู้ประกอบการเข้าร่วมกิจกรรมเสวนา อยากรู้ไหมเทคโนโลยีดิจิทัลช่วยธุรกิจอะไรเราได้บ้าง แล้วเทรนด์ดิจิทัลตอนนี้ ธุรกิจควรไปทางไหน มาพบคำตอบกันในงานนี้ กับงานเสวนาสุดพิเศษ พบกับ 3 กิจกรรมที่จะทำให้คุณร้อง WOW วิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิ ที่จะมาเล่าสิ่งสำคัญสำหรับการปรับเปลี่ยนธุรกิจในการนำเอาเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้ บูธจากซอฟต์แวร์ไทยมาให้ทดลองใช้ ฟรี! ภายในงาน พร้อมพันธมิตรด้านดิจิทัลที่ขนมารวมกันไว้ในงาน คลินิคให้คำปรึกษาจากกูรูด้านดิจิทัล วันที่ 24 มี.ค. 2566 ฟรีๆ ไม่มีค่าใช้จ่าย ณ โรงแรมเซ็นจูรี่ พาร์ค เขตราชเทวี กรุงเทพฯ รับสมัครวันนี้ - 23 มี.ค. 66 เท่านั้น รับจำนวนจำกัด ย้ำว่า เข้าร่วมฟรีตลอดงาน จัดโดย : กองพัฒนาดิจิทัลอุตสาหกรรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ติดต่อสอบถามเพิ่มเติม 02 430 6871 ต่อ 2
16 มี.ค. 2023
ITA ปี 2566
การประเมินคุณธรรมและความโปร่งใส ในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ (Integrity and Transparency Assessment: ITA)เป็นการประเมินที่มีจุดมุ่งหมายที่จะก่อให้เกิดการปรับปรุงพัฒนาด้านคุณธรรมและความโปร่งใสในหน่วยงานภาครัฐ โดยถือเป็นการประเมินที่ครอบคลุมหน่วยงานภาครัฐทั่วประเทศ ซึ่งเป็นไปตามมติคณะรัฐมนตรี ในการประชุมเมื่อวันที่ 23 มกราคม 2561 มีมติเห็นชอบให้หน่วยงานภาครัฐทุกหน่วยงานให้ความร่วมมือและเข้าร่วมการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ โดยใช้แนวทางและเครื่องมือการประเมิน ตามที่สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ หรือ สำนักงาน ป.ป.ช. กำหนด กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ข้อมูลพื้นฐาน การประชาสัมพันธ์ การปฏิสัมพันธ์ข้อมูล การดำเนินงาน การปฏิบัติงาน การให้บริการ การจัดซื้อจัดจ้างหรือการจัดหาพัสดุ การบริหารและพัฒนาทรัพยากรบุคคล การจัดการเรื่องร้องเรียนการทุจริตและประพฤติมิชอบ การเปิดโอกาสให้เกิดการมีส่วนร่วม นโยบาย No Gift Policy การประเมินความเสี่ยงเพื่อป้องกันการทุจริต แผนป้องกันการทุจริต มาตรการเสริมสร้างมาตรฐานทางจริยธรรม มาตรการส่งเสริมความโปร่งใสและป้องกันการทุจริตภายในหน่วยงาน
15 มี.ค. 2023
เชิญเข้าร่วมโครงการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ “นักส่งเสริมอาชีพดีพร้อม”
เชิญเข้าร่วมโครงการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ “นักส่งเสริมอาชีพดีพร้อม” เปิดรับ ผู้เข้าร่วมโครงการฯ ประจำเดือน มีนาคม 2566 ฝึกอบรมระหว่างวันที่ 27 - 31 มีนาคม 2566 หลักสูตรละ ท่าน เท่านั้น อบรมฟรีไม่มีค่าใช้จ่าย สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ 0 2430 6882 ต่อ 2120
15 มี.ค. 2023
ปลัดฯ ณัฐพล เคาะเกณฑ์รางวัลอุตสาหกรรม ปี 2566 ย้ำทุกกิจการที่ได้รับคัดเลือกต้องมี MIND ครบทั้ง 4 มิติ
กรุงเทพฯ (เมื่อวันที่ 14 มีนาคม 2566) - ดร.ณัฐพล รังสิตพล ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการรางวัลอุตสาหกรรม ประจำปี 2566 โดยมี นางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม รักษาราชการแทนรองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม นายวิษณุ ทับเที่ยง หัวหน้าผู้ตรวจราชการกระทรวงอุตสาหกรรม นายสมพล โนดไธสง นายวีระกิตติ์ รันทกิจธนวิชญ์ ผู้ตรวจราชการกระทรวงอุตสาหกรรม นางสาวณิรดา วิสุทธิชาติธาดา ผู้ช่วยปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม นางสุชาดา โพธิ์เจริญ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม พร้อมด้วยผู้บริหาร และเจ้าหน้าที่สังกัดกระทรวงอุตสาหกรรม เข้าร่วมการประชุม ณ ห้องประชุม อก.1 ชั้น 2 อาคารสำนักงานปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม และผ่านระบบ Zoom Meeting โดยปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม ได้สั่งการให้คณะทำงานรางวัลฯ ทุกประเภท พิจารณาทบทวนหลักเกณฑ์การพิจารณารางวัลอุตสาหกรรม และรางวัลอุตสาหกรรมยอดเยี่ยม ประจำปี 2566 โดยสถานประกอบการที่ได้รับรางวัล นอกจากจะต้องมีคุณสมบัติตรงตามหลักเกณฑ์ของแต่ละประเภทรางวัลแล้ว จะต้องมีองค์ประกอบของการเป็นอุตสาหกรรมดีมี MIND ครบทั้ง 4 มิติอย่างสมดุลเพื่อให้เกิดความยั่งยืน ประกอบด้วย มิติที่ 1 ความสำเร็จทางธุรกิจ มิติที่ 2 การดูแลสังคมโดยรอบโรงงานอุตสาหกรรม มิติที่ 3 การรักษาสิ่งแวดล้อมที่ตอบโจทย์ไทยและประชาคมโลก มิติที่ 4 การกระจายรายได้ให้กับประชาชนและชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ทั้งนี้ รสอ.รก.รปอ.ณัฏฐิญา ได้นำเสนอแนวทางการพิจารณาหลักเกณฑ์รางวัลอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดย่อมดีเด่น ประเภทการบริหารจัดการที่ดี โดยการนำนโยบาย MIND ทั้ง 4 มิติ เข้ามาเป็นหลักเกณฑ์การพิจารณารางวัลฯ ประกอบด้วย ความสำเร็จทางธุรกิจ การดูแลสังคม การรักษาสิ่งแวดล้อม และการกระจายรายได้ให้กับประชาชน ดังนี้ หมวดที่ 1 การนำองค์กรและแผนการดำเนินธุรกิจสู่การประกอบการดีที่สมดุลและยั่งยืน ประกอบด้วย การนำองค์กรที่ดี การวางกลยุทธ์และแผนธุรกิจสู่การประกอบการดีที่สมดุลและยั่งยืน การถ่ายทอดกลยุทธ์สู่การปฏิบัติ และความใส่ใจผู้รับบริการ หมวดที่ 2 การบริหารจัดการธุรกิจที่ดีมุ่งสู่การเปลี่ยนผ่านอุตสาหกรรม 4.0 ประกอบด้วย การบริหารแบรนด์และการตลาด การบริหารการผลิตและควบคุมคุณภาพผลิตภัณฑ์ การบริหารทรัพยากรบุคคล การบริหารการเงินและการบัญชี และการเป็นองค์กรที่ขับเคลื่อนด้วยข้อมูลและนวัตกรรม หมวดที่ 3 ความมีส่วนร่วมและความรับผิดชอบต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอย่างรอบด้าน ประกอบด้วย จรรยาบรรณทางธุรกิจที่มีต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ความปลอดภัยและอาชีวอนามัย การประกอบการที่ให้ความสำคัญกับความเท่าเทียมและสิทธิมนุษยชน และการสร้างความมีส่วนร่วมและพัฒนาเครือข่าย หมวดที่ 4 การประกอบการที่ยั่งยืนและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ประกอบด้วย ความรับผิดชอบของการประกอบการ การบริหารจัดการความเสี่ยงและผลกระทบ การปรับตัวเชิงรุกเพื่อตอบสนองต่อทิศทางด้านสิ่งแวดล้อมของโลก และการสื่อสารและขยายผลการปฏิบัติการด้านสิ่งแวดล้อม หมวดที่ 5 การพัฒนาและสร้างความเป็นอยู่ที่ดีให้กับสังคมและชุมชน ประกอบด้วย แผนงานและการปฏิบัติการเพื่อพัฒนา ความคิดริเริ่มของการปฏิบัติการ และความมีส่วนร่วมในการปฏิบัติการของบุคลากรในองค์กรและชุมชนเป้าหมาย หมวดที่ 6 ผลลัพธ์ของการบริหารจัดการที่ดีสู่องค์กรประกอบการดีที่สมดุลและยั่งยืน ประกอบด้วย ผลลัพธ์การนำองค์กรและแผนการดำเนินธุรกิจ ผลลัพธ์การประกอบการธุรกิจ ผลลัพธ์การบริหารจัดการทรัพยากรบุคคลที่ดี ผลลัพธ์สัมพันธภาพที่ดีของสถานประกอบการและประชาชน ผลลัพธ์การปฏิบัติการด้านสิ่งแวดล้อมและลดก๊าซเรือนกระจก และผลลัพธ์การสร้างมูลค่าเพิ่มและกระจายรายได้ ### PR.DIPROM (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม) รายงาน/ภาพข่าว
15 มี.ค. 2023
ดีพร้อม ร่วมประชุมการกำกับดูแลสำนักงานเลขาธิการ APF ครั้งที่ 1/2566
กรุงเทพฯ 14 มีนาคม 2566 - นางสุชาดา โพธิ์เจริญ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (รสอ.) เป็นประธานกรรมการในการประชุมคณะกรรมการกำกับดูแลสำนักงานเลขาธิการสหพันธ์การบรรจุภัณฑ์แห่งเอเชีย ครั้งที่ 1/2566 พร้อมด้วยกรรมการจากหน่วยงานภาคีเครือข่าย คณะผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ดีพร้อม(DIPROM) เข้าร่วมประชุม ในรูปแบบออนไลน์ผ่านแอปพลิเคชั่น Zoom Meeting สหพันธ์การบรรจุภัณฑ์แห่งเอเชีย (The Asian Packaging Federation : APF) เป็นองค์กรเพื่อการร่วมมือแลกเปลี่ยนกันระหว่างประเทศสมาชิกแถบเอเชีย และแปซิฟิก ในด้านเทคโนโลยี ความรู้ การฝึกอบรมและการพัฒนาบรรจุภัณฑ์ รวมทั้งเป็นหน่วยงานกลางในการประสานกับองค์กรอื่น ๆ ในสาขาบรรจุภัณฑ์ทั่วโลก โดยการประชุมครั้งนี้ ที่ประชุมได้ร่วมกันพิจารณาใน 2 ประเด็น ได้แก่ คำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการกำกับดูแลสำนักงานเลขาธิการและประสานงานสหพันธ์การบรรจุภัณฑ์แห่งเอเชีย เพื่อให้การดำเนินการกำกับดูแลในฐานะผู้แทนจากประเทศไทยเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ เกิดการบูรณาการระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เกิดประโยชน์และประสิทธิภาพสูงสุด พร้อมทั้งได้พิจารณาในประเด็นการเป็นเจ้าภาพการประชุม 8th Strategic Planning Meeting รวมถึงการจัดกิจกรรมสัมมนา Asian Packaging โดยกำหนดจัดการประชุมระหว่างวันที่ 14-17 มิถุนายน 2566 ณ ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค กรุงเทพฯ พร้อมรับทราบสรุปผลการจัดการประกวด AsiaStar 2022 หรือการประกวดบรรจุภัณฑ์ระดับเอเชีย ซึ่งปีนี้ได้แบ่งการประกวดบรรจุภัณฑ์ออกเป็น 7 ประเภท ได้แก่ 1. Consumer Package 2. Transport Package 3. Eco Package 4. Point of Purchase 5. Packaging Material & Components 6. Gift Package และ 7. Student Category โดยมีผู้สมัครมาแล้วกว่า 90 ราย จากหลากหลายประเทศทั่วเอเชีย ### PR.DIPROM (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม) รายงาน/ภาพข่าว
15 มี.ค. 2023
อุตสาหกรรมแฟร์ งานผ้าฝ้าย ครั้งที่ 22 “ทอเส้นฝ้าย สานเส้นใย ใส่สีธรรมชาติ”
อุตสาหกรรมแฟร์ งานผ้าฝ้าย ครั้งที่ 22 “ทอเส้นฝ้าย สานเส้นใย ใส่สีธรรมชาติ” จัดโดย : สมาคมส่งเสริมพัฒนาผู้ประกอบการไทย จังหวัดเชียงใหม่ (คพอ.) แหล่งรวมผ้าฝ้าย ผ้าทอ ที่ใหญ่ที่สุดในภาคเหนือ และสินค้ามากมาย เช่น ผลิตภัณฑ์จากผ้าฝ้าย เครื่องประดับ งานแฮนด์เมด อาหารสุดอร่อย กิจกรรม Work Shop จากผู้เชี่ยวชาญ พร้อมกิจกรรมสุดเซอร์ไพรส์ในทุกๆ วัน ณ ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 1 ถนนทุ่งโฮเต็ล เชียงใหม่ วันศุกร์ที่ 31 มีนาคม – วันอาทิตย์ ที่ 9 เมษายน 2566 เปิดจองบูธแล้ว ด่วน จำนวนจำกัด ราคาเริ่มต้นออกร้าน 10 วัน ในราคา 3,600 บาทเท่านั้น!! ขนาดพื้นที่ 2.5x2 เมตร พร้อมโครงบูธให้ หรือบางโซน จะอยู่ในร่ม มีโต๊ะให้ สนใจจองพื้นที่ https://lin.ee/8xgzR6Q ติดต่อสอบถาม Line Official Account : @588siyah (มี@) 097-9184699 / 082-5822825
15 มี.ค. 2023