Category
เชิญสมัครเข้าร่วมอบรม หลักสูตร เพิ่มความปังด้วย AI เพิ่มยอดขายด้วย TikTok
รับสมัครผู้ประกอบการเข้าร่วมฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ หลักสูตร เพิ่มความปังด้วย AI เพิ่มยอดขายด้วย TikTok ดำเนินการโดย : ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 6 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ภายใต้โครงการ : เสริมสร้างศักยภาพผู้ประกอบการอุตสาหกรรมสู่การแข่งขันเศรษฐกิจวิถีใหม่ วันที่ 9 - 11 ธันวาคม 2567 ณ โรงแรมทองธารินทร์ อ.เมือง จ.สุรินทร์ เปิดรับสมัครตั้งแต่วันนี้ถึงวันที่ 4 ธันวาคม 2567 รับจำนวน 50 คน เท่านั้น เรียนฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม 08 3697 4649 (สตางค์)
25 พ.ย. 2024
ขอเชิญเข้าร่วมกิจกรรม เพิ่มศักยภาพธุรกิจด้วยการตลาดดิจิทัล
ขอเชิญเข้าร่วมกิจกรรม เพิ่มศักยภาพธุรกิจด้วยการตลาดดิจิทัล ดำเนินการโดย : ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 4 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ระหว่างวันที่ 16-18 ธันวาคม 2567 ณ ห้องลาวแพน โรงแรมเจริญโฮเต็ล จ.อุดรธานี หลักสูตร การบริหารการตลาด การเขียนแผนการตลาด ปั้นแบรนด์ให้ปังด้วย Packaging การใช้ AI วิเคราะห์ตลาดและลูกค้า ขายของออนไลน์ให้รวยด้วย Tik-Tok ผู้ที่สามารถเข้าร่วมอบรมได้ ผู้ประกอบการ SMEs ผู้ประกอบการวิสาหกิจชุมชน / OTOP นักออกแบบนักศึกษาชั้นปี 3-4 / ผู้ที่เพิ่งจบการศึกษา ผู้สนใจทั่วไป สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม น.ส.ขนิษฐา (เกด) (08 9682 4216) น.ส.นิรชา (บี้) โทร (08 7770 7112)
25 พ.ย. 2024
เชิญสมัครเข้าร่วมกิจกรรมการเตรียมความพร้อม SME ศักยภาพ เพื่อรองรับการขยายทุนอย่างยั่งยืนตามแนวทาง ESG
ขอเชิญผู้ประกอบการเข้าร่วมกิจกรรม การเตรียมความพร้อม SME ศักยภาพ เพื่อรองรับการขยายทุนอย่างยั่งยืนตามแนวทาง ESG ดำเนินการโดย : กองพัฒนาขีดความสามารถธุรกิจอุตสาหกรรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม คุณพร้อมก้าวสู่ธุรกิจที่เติบโตอย่างยั่งยืน ควบคู่กับการจัดการสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมมาภิบาล หรือยัง กลุ่มเป้าหมาย ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางขึ้นไป ทั้งภาคการผลิตหรือบริการ ที่อยู่ในพื้นที่ กรุงเทพฯ นนทบุรี ปทุมธานี พระนครศรีอยุธยา สระบุรี และ สมุทรปราการ พบกับกิจกรรมดังต่อไปนี้ การอบรมให้ความรู้แก่บุคลากรของสถานประกอบการ พร้อมประเมินความพร้อม และจัดทำแผนการดำเนินธุรกิจตามแนวทาง ESG (3 วัน) ได้รับคำปรึกษาแนะนำเชิงลึกที่สอดคล้องกับแผนการดำเนินธุรกิจตามแนวทาง ESG (10 Man-days) การจัดทำรายงานความยั่งยืน (Sustainability Report) สมัครได้ตั้งแต่ วันนี้ - 15 ธ.ค. 2567 ฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย รับจำนวนจำกัด 10 กิจการเท่านั้น สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม คุณอัจจิมา (08 6907 4886) คุณตรัยพร (08 2624 1653)
25 พ.ย. 2024
**แฟชั่นไทยปังไม่หยุด! “ดีพร้อม” จับมืออินฟลูเอนเซอร์ “ปลัดณัฐพล” ปลุกพลังทางอ้อม รับลูก “รมต.เอกนัฏ” เผยก้าวสำคัญ ดัน Nation Branding ขยายพลัง Soft Power ตอกย้ำศักยภาพสู่สากล
กรุงเทพฯ 18 พฤศจิกายน 2567 – นางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม รักษาราชการแทน อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม เข้าร่วมกิจกรรมแถลงข่าวและพิธีเปิดโครงการส่งเสริมภาพลักษณ์สินค้าแฟชั่นไทยสู่สากล โดยมี นายแพทย์สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี ประธานกรรมการพัฒนาซอฟต์พาวเวอร์แห่งชาติ ดร.ณัฐพล รังสิตพล ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม นางอัจฉรา อัมพุช ประธานคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนซอฟต์พาวเวอร์สาขาแฟชั่น นางสาวกานต์กนิษฐ์ แห้วสันตติ เลขานุการรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย นายบรรจง สุกรีฑา รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม นายชาญชัย สิริเกษมเลิศ ผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ นายวัชรุน จุ้ยจำลอง รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม นางสาวรานี อิฐรัตน์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการสำนักงานขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ ยุทธศาสตร์ชาติ และการสร้างความสามัคคีปรองดอง (ป.ย.ป.) ดร.จิราภรณ์ วิริยะพงษากุล ผู้แทนประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย คณะผู้บริหาร และเจ้าหน้าที่ดีพร้อม (DIPROM) เข้าร่วม ณ ห้อง Ballroom 1 ชั้น 6 โรงแรมอมารี วอเตอร์เกท นายณัฐพล รังสิตพล ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า ปัจจุบันประเทศไทยสามารถโน้มน้าวจูงใจให้ประเทศคู่ค้า ผู้สนใจลงทุน ผู้สนใจซื้อสินค้าและบริการ นักท่องเที่ยว หรือผู้หาที่จัดงาน MICE ตัดสินใจเลือกประเทศไทย หรือ สินค้าและบริการของไทยผ่านการส่งสารโดยอาศัย "พลังทางอ้อม" หรือ Soft Power ที่ไม่ใช่การพูดหรือโฆษณาโดยตรง แต่เป็นการสื่อสารว่าประเทศไทยเป็นประเทศที่น่าลงทุน น่าใช้ชีวิต คนไทยเป็นคนน่ารัก มีศิลปะและวัฒนธรรม มีความละเอียดอ่อน มีความใส่ใจในสินค้าคุณภาพในทุก ๆ ช่องทางการสื่อสาร อย่างไรก็ดี นโยบายซอฟต์พาวเวอร์ของประเทศไทย ช่วงแรกจะเน้นการพัฒนาการสื่อสารพลังทางอ้อมนี้ ผ่านช่องทางต่าง ๆ อาทิ ละครภาพยนตร์ แฟชั่น อาหาร งาน festival และกีฬามวยไทย ดังนั้น กระทรวงอุตสาหกรรม นำโดย นายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ได้มีนโยบายในการ “ปฏิรูปอุตสาหกรรม สู่เศรษฐกิจยุคใหม่ ทันสมัย สะอาด สะดวก โปร่งใส” ผนวกกับนโยบายการเร่งขับเคลื่อนอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ หรือซอฟต์พาวเวอร์ จึงได้มอบหมายให้ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม หรือ ดีพร้อม (DIPROM) ดำเนินการตามยุทธศาสตร์การพัฒนาซอฟต์พาวเวอร์ ทั้งด้านอุตสาหกรรมแฟชั่น และอุตสาหกรรมอาหาร ซึ่งเป็นอุตสาหกรรมหลักสำคัญที่ส่งผลเชิงบวกต่อเศรษฐกิจและสังคมไทย ในด้านการสร้างรายได้และการจ้างงาน นางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม รักษาราชการแทนอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กล่าวว่า กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม หรือ ดีพร้อม (DIPROM) ได้เล็งเห็นความสำคัญของอุตสาหกรรมแฟชั่น ซึ่งเป็นก้าวสำคัญในการประชาสัมพันธ์และสร้างการรับรู้ถึงศักยภาพของอุตสาหกรรมแฟชั่นไทย ตามแนวคิด “Fun & Freedom แฟชั่นไทย ใส่ยังไงก็สนุก” ซึ่งเป็นสิ่งที่ชาวต่างชาติพูดถึงประเทศไทย จึงได้มีแนวคิดในการสร้างคุณค่าและมูลค่าเพิ่มบนฐานของทุนทางวัฒนธรรม อัตลักษณ์ และภูมิปัญญาท้องถิ่น เชื่อมโยงกับการท่องเที่ยว รวมถึงเทคนิคและเครื่องมือการโน้มน้าวและสื่อสาร (Convince & Communication) สร้างกระแสให้ผลิตภัณฑ์เป็นที่รู้จักผ่านการสื่อสารพลังทางอ้อมของประเทศไทย อาทิ การสร้างคอนเทนต์ (Viral Content) การเล่าเรื่อง (Storytelling) การสร้างแบรนด์ (Branding) การใช้สื่อโซเชียลมีเดีย (Social Media) การใช้บุคคลที่มีอิทธิพลทางความคิด (Influencer) เป็นต้น นอกจากนี้ ยังมีการเชื่อมโยงและบูรณาการ Soft Power ข้ามอุตสาหกรรม (Fashion Cross Industries Collaboration) ซึ่งเป็นอีกแนวทางหนึ่งในการสร้างกระแส Soft Power ด้านแฟชั่น เช่น การ Collab กับละคร ซีรีส์ โดยพระเอก นางเอก แต่งกายด้วยชุดและเครื่องประดับแฟชั่นไทย ผ่าน "โครงการส่งเสริมภาพลักษณ์สินค้าแฟชั่นไทยสู่สากล" โดยเปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการดำเนินกิจกรรม 1) การพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการให้เข้าใจในโจทย์ของซอฟต์พาวเวอร์ที่ประเทศไทยต้องการสื่อสาร เช่น การมีความคิดความคิดริเริ่ม ความเป็นสากล ความทันสมัย ความมีวัฒนธรรม และความละเอียดอ่อน เป็นต้น 2) การส่งเสริมให้เกิดการจับมือด้านธุรกิจระหว่าง Influencer และการใช้ Social Media เพื่อวางระบบการสื่อสารทางอ้อม เร่งขยายการสื่อสารออกไปอย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ 3) การจัดงานแสดงศักยภาพและสื่อสารภาพลักษณ์ของการออกแบบและสินค้าแฟชั่นที่สะท้อนภาพลักษณ์ในการดำเนินการตามนโยบายซอฟต์พาวเวอร์ของประเทศไทย ภายในการจัดงานในวันนี้ มีกิจกรรมพิเศษมากมาย อาทิ 1) ปาฐกถา หัวข้อ “Soft Power กับการพัฒนาประเทศไทย” โดย นายแพทย์สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี ประธานกรรมการพัฒนาซอฟต์พาวเวอร์แห่งชาติ 2) เสวนาหัวข้อ “เปิดมุมมองวิสัยทัศน์ ด้านอุตสาหกรรมแฟชั่น” โดยนางอัจฉรา อัมพุช ประธาน อนุกรรมการฯ ด้านแฟชั่น 3) เสวนาหัวข้อ “แนวโน้มและทิศทาง Soft Power ในอุตสาหกรรมแฟชั่นไทย” โดย ดร.ชาญชัย สิริเกษมเลิศ ผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ นายสักกฉัฐ ศิวะบวร นักยุทธศาสตร์เชิงสร้างสรรค์ และตัวแทนผู้ประกอบการเจ้าของแบรนด์แฟชั่นอีก 2 ท่าน เพื่อพัฒนาองค์ความรู้ และเชื่อมโยงอุตสาหกรรมแฟชั่นไทยสู่ตลาดโลกต่อไป นางสาวณัฏฐิญา กล่าวทิ้งท้าย
22 พ.ย. 2024
“ดีพร้อม” ชูกรณีศึกษา “ดิไอคอนกรุ๊ปฯ“ ร่วมบูรณาการคณะกรรมการขายตรงฯ ตามข้อสั่งการ “รมต. เอกนัฏ” สู้กับผู้กระทำผิด ห้ามมิให้ผู้ประกอบการธุรกิจขายตรงและตลาดแบบตรง ชักชวนให้บุคคลเข้าร่วมเป็นเครือข่ายและการจะให้ผลประโยชน์ตอบแทน เผยแนวทางกำกับ และตรวจสอบให้ทัน
กรุงเทพฯ 15 พฤศจิกายน 2567 – นางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม รักษาราชการแทน อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม เข้าร่วมการประชุมคณะกรรมการขายตรงและตลาดแบบตรง ครั้งที่ 2/2567 พร้อมด้วย นางดวงดาว ขาวเจริญ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม นายสมชัย เอมบำรุง ผู้อำนวยการกองกฎหมาย สำนักงานปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม คณะผู้บริหาร และเจ้าหน้าที่ดีพร้อม (DIPROM) โดยเป็นการประชุมในรูปแบบออนไลน์ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (ระบบ Cisco Webex Meeting) การประชุมดังกล่าว เป็นการสรุปผลการดำเนินการของคณะกรรมการขายตรงและตลาดแบบขายตรง ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2563 – พ.ศ. 2566 โดยได้สรุปข้อเท็จจริงและผลการดำเนินการกรณี บริษัท ดิไอคอนกรุ๊ป จำกัด ที่มีการนำเสนอข่าวผ่านสื่อต่าง ๆ ในช่วงวันที่ 9 ตุลาคม 2567 เป็นต้นมา สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) ได้เข้าตรวจสอบสถานที่ทำการของ บริษัท ดิไอคอนกรุ๊ป จำกัด เพื่อสอบถามข้อเท็จจริง ตรวจดูเอกสารและหลักฐานต่าง ๆ ประกอบการพิจารณาดำเนินการให้เป็นไปตามกฎหมาย จากกรณี บริษัท ดิไอคอนกรุ๊ป จำกัด เป็นกรณีศึกษาที่สังคมให้ความสนใจ ที่ประชุมฯ ได้ร่วมกันหารือเกี่ยวกับแนวทางการกำกับดูแลการประกอบธุรกิจขายตรงและตลาดแบบตรง ทั้งนี้ ดีพร้อมในฐานะหนึ่งในคณะกรรมการฯ ได้พิจารณาบทบาทหน้าที่โดยมุ่งเน้นปฏิบัติงานตามภารกิจของหน่วยงาน ซึ่งมีหน้าที่ส่งเสริมและสนับสนุนผู้ประกอบการเป็นหลัก ตามนโยบาย "ปฏิรูปอุตสาหกรรม สู่เศรษฐกิจยุคใหม่ ทันสมัย สะอาด สะดวก โปร่งใส" ของนายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม และดีพร้อมให้การสนับสนุนหน่วยงานที่มีหน้าที่กำกับดูแล ทั้งนี้ ที่ประชุมฯ ได้ร่วมกันเสนอแนวทางในการกำกับดูแลกิจการต่าง ๆ สำหรับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยเมื่อเกิดการร้องเรียนจากประชาชน หากมีเพียงการเจรจา ไกล่เกลี่ย ในอนาคตอาจเกิดปัญหาอย่างเช่นกรณี บริษัท ดิไอคอนกรุ๊ปฯ จึงต้องมีการตรวจสอบอย่างละเอียดว่ามีพฤติกรรมสุ่มเสี่ยงต่อการทำผิดกฎหมายหรือไม่ ต้องมีการปรับปรุงกฎหมายให้มีความทันสมัย เหมาะสมกับสถานการณ์สังคมยุคปัจจุบัน พร้อมลงพื้นที่ตรวจสอบสถานประกอบการให้มากขึ้น เพื่อป้องกันการกระทำความผิด นอกจากนี้ ควรมีการบูรณาการเชื่อมโยงข้อมูลระหว่างหน่วยงานที่กำกับดูแลธุรกิจขายตรงกับหน่วยงานที่มีหน้าที่ในการคุ้มครองผู้บริโภค สร้างระบบการรับเรื่องร้องเรียนให้มีมาตรฐานเพื่อให้เห็นพฤติการณ์ที่ไม่ชอบมาพากลของบริษัทต่าง ๆ พร้อมตรวจสอบ กำกับได้ทันท่วงที ก่อนจะเกิดความเสียหายในวงกว้าง
19 พ.ย. 2024
"อธิบดีดีพร้อม" นำทีมส่งมอบ "ถุง MIND ไม่ทิ้งกัน" ส่งต่อความห่วงใยของ “รมต.เอกนัฏ” นำอุตสาหกรรมรวมใจพร้อมให้ความช่วยเหลือพี่น้องประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อน รวมถึงผลกระทบจากภัยพิบัติทั่วประเทศ
กรุงเทพฯ 15 พฤศจิกายน 2567 - นางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรมรักษาราชการแทนอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม พร้อมด้วย นายวัชรุน จุ้ยจำลอง นางดวงดาว ขาวเจริญ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม คณะผู้บริหาร และเจ้าหน้าที่ดีพร้อม (DIPROM) ร่วมขนย้าย "ถุงอุตสาหกรรมรวมใจ MIND ไม่ทิ้งกัน" ขึ้นรถบรรทุกเพื่อลำเลียงไปส่งมอบเป็นกำลังใจให้กับประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อน รวมถึงได้รับผลกระทบจากภัยพิบัติในพื้นที่จังหวัดชุมพร ณ ห้องนิทรรศการ ชั้น 1 อาคารกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (DIPROM Headquarter) ซึ่งภายในถุงบรรจุสิ่งของอุปโภค บริโภค และของใช้ที่จำเป็น เป็นถุงยังชีพที่ได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานรัฐ ภาคเอกชน ผู้ประกอบการโรงงานอุตสาหกรรมทั่วประเทศที่รวมใจส่งมอบรอยยิ้ม เป็นกำลังใจให้กับผู้ประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อนจากภัยพิบัติในพื้นที่จังหวัดชุมพรในการก้าวข้ามช่วงเวลาที่ยากลำบากไปได้ ตามนโยบายของนายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ในการเตรียมมาตรการป้องกันให้พร้อมรับมือกับปัญหาภัยพิบัติอย่างเต็มประสิทธิภาพ เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับผู้ประกอบการและประชาชน
19 พ.ย. 2024
เชิญผู้ที่สนใจสมัครเข้า่วมหลักสูตร ยกระดับที่ปรึกษาการผลิตสู่โรงงานอัจฉริยะด้วย Digital Lean & IIoT
ขอเชิญชวนที่ปรึกษาสมัครเข้าร่วมฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ หลักสูตร ยกระดับที่ปรึกษาการผลิตสู่โรงงานอัจฉริยะด้วย Digital Lean & IIoT ดำเนินการโดย : กองพัฒนาขีดความสามารถอุตสาหกรรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม หลักสูตรพัฒนาที่ปรึกษา บันไดสู่การเป็นที่ปรึกษามืออาชีพ หลักสูตร 10 วัน ประกอบด้วย การบรรยายและกิจกรรม Workshop (6 วัน) วันที่ 18 ธ.ค. 67 และวันที่ 15-16 ม.ค. 68 ณ โรงแรมในกรุงเทพฯ (3 วัน) วันที่ 21-23 ม.ค. 68 ณ สถาบันไทย-เยอรมัน (TGI) จ.ชลบุรี (3 วัน) (ผู้เข้าร่วมฯ เดินทางเอง) OJT ณ สถานประกอบการ (3 วัน) วันที่ 7, 13 และ 25 ก.พ. 68 นำเสนอผลงาน วันที่ 27 ก.พ. 68 ณ โรงแรมในกรุงเทพฯ (1 วัน) เงื่อนไขการสมัคร เป็นสมาชิก i.Industry.go.th และสอบผ่านข้อเขียน I3C สมัครผ่านระบบ customer.diprom.go.th เท่านั้น กรอกข้อมูลลงในแบบฟอร์ม B01 และประวัติส่วนตัวในแบบฟอร์ม C01 พร้อมแนบ CV กรอกข้อมูลประวัติการให้คำปรึกษาในแบบฟอร์ม C02-1 อย่างน้อย 1 เคส กรอกข้อมูลประวัติการเป็นวิทยากรในแบบฟอร์ม C03-1 อย่างน้อย 1 เคส วิธีการสมัคร กรณียังไม่เป็นสมาชิก i-Industry กรุณาสมัครสมาชิกก่อน ได้ที่ i.Industry.go.th สมัครเข้าร่วมอบรม ได้ที่ customer.diprom.go.th สมัครได้ตั้งแต่วันนี้ ถึง 2 ธ.ค. 67 สมัครก่อนมีสิทธิ์ก่อน รับจำนวนจำกัด สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม คุุณณัฐพร (09 8292 9676) คุณศุภชญา (08 3019 9149)
19 พ.ย. 2024
เชิญเข้าร่วมโครงการ เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของวิสาหกิจไทยด้วยดิจิทัล
ขอเชิญชวนสถานประกอบการสมัครเข้าร่วมโครงการ เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของวิสาหกิจไทยด้วยดิจิทัล ดำเนินการโดย : ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 10 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม หากคุณกำลังมองหาเทคโนโลยีเจ๋งๆ และวิธีที่เทคโนโลยีเหล่านี้สามารถช่วยธุรกิจของคุณในทางปฏิบัติได้คุณมาถูกทางแล้ว กิจกรรม ยกระดับธุรกิจสุขภาพด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล (Digital Health) การเพิ่มประสิทธิภาพ SMEs ด้วยซอฟต์แวร์บริหารจัดการ และ AI การเสริมแกร่งกระบวนการผลิตให้ดีพร้อมด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล (IIoT) กลุ่มเป้าหมาย SME วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม วิสาหกิจชุมชน สถานประกอบการทั่วไป ทั้งภาคการผลิต การค้า หรือการบริการ ทุกสาขาอุตสาหกรรม เรามีทีมผู้เชี่ยวชาญคอยให้คำปรึกษาแนะนำ ด้านระบบดิจิทัลต่างๆ อาทิเช่น ระบบบริหารบัญชี การบริหารการจัดซื้อจัดจ้าง การบริหารการผลิต การบริหารการขาย การบริหารสินค้าคงคลัง ตลอดจนโปรแกรม Power BI สำหรับวิเคราะห์ข้อมูลธุรกิจ หรือโปรแกรมอื่นใดที่สถานประกอบการต้องการ สำหรับผู้ประกอบการในพื้นที่ 7 จังหวัด สุราษฎร์ธานี ระนอง ชุมพร นครศรีธรรมราช ภูเก็ต พังงา และกระบี่ ฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย สมัครได้แล้วตั้งแต่วันนี้ - 30 พ.ย. 67 สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม คุณแฟ้ม (06 2965 3944) คุณยุ้ย (08 6280 5943)
18 พ.ย. 2024
เชิญสมัครเข้าร่วมกิจกรรม การพัฒนาระบบโลจิสติกส์ด้วยแบบจำลองอุตสาหกรรม
เชิญชวนผู้ประกอบการที่สนใจลดต้นทุนด้านโลจิสติกส์เข้าร่วมกิจกรรม การพัฒนาระบบโลจิสติกส์ด้วยแบบจำลองอุตสาหกรรม ลดต้นทุน เพิ่มกำไร รวยง่ายๆ ด้วยการบริหารจัดการโลจิสติกส์ที่มีประสิทธิภาพ เพิ่มศักยภาพและขีดความสามารถในการแข่งขัน ดำเนินการโดย : กองโลจิสติกส์ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม คุณสมบัติผู้สมัคร สถานประกอบการที่จดทะเบียนนิติบุคคล ในพื้นที่จังหวัด กรุงเทพ นนทบุรี สมุทราปราการ ปทุมธานี พระนครศรีอยุธยา สระบุรี สิ่งที่ผู้ประกอบการจะได้รับ การให้คำแนะนำในการปรับปรุงกระบวนการเพื่อลดต้นทุนทางด้านโลจิสติกส์และเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการซัพพลายเชนแบบครบวงจร สถานประกอบการที่เข้าร่วมโครงการสามารถลดต้นทุนด้านโลจิสติกส์และซัพพลายเชน ไม่น้อยกว่า 15 % สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม กลุ่มพัฒนาระบบโลจิสติกส์ กองโลจิสติกส์ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม 02 4306875 ต่อ 1547
18 พ.ย. 2024
"ดีพร้อม" วิพากษ์ผลของคณะทำงานศึกษาปรับปรุงกฎหมายอุตสาหกรรม สภาผู้แทนราษฎร โชว์นโยบาย "รมต.เอกนัฏ" แนวทางการช่วยเหลือ Disrupted Industries อุตสาหกรรมที่หยุดชะงัก และการส่งเสริมเอสเอ็มอีเข้าสู่ยุค Digital Transformation
กรุงเทพฯ 14 พฤศจิกายน 2567 - นางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรมรักษาราชการแทนอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ให้เกียรติเข้าร่วมประชุมกับคณะทำงานศึกษาปรับปรุงกฎหมายเพื่อดูแลอุตสาหกรรมที่ได้รับผลกระทบรุนแรงและไม่สามารถปรับตัวได้ทัน (Disrupted Industries) ภายใต้คณะกรรมาธิการการอุตสาหกรรม สภาผู้แทนราษฎร โดยมี ว่าที่ร้อยตรีไพศาล เอกคณิต เป็นหัวหน้าคณะทำงานฯ ในโอกาสขอเข้าพบ พร้อมหารือแนวทางการแก้ปัญหาในภาคอุตสาหกรรมหลักที่ได้รับผลกระทบ ร่วมด้วย นางดวงดาว ขาวเจริญ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม คณะผู้บริหาร และเจ้าหน้าที่ดีพร้อม (DIPROM) เข้าร่วม ณ ห้องประชุม 2 ชั้น 3 อาคารกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (DIPROM Headquarter) การเข้าพบครั้งนี้ คณะทำงานฯ ได้แจ้งวัตถุประสงค์ถึงการดูแลและปรับปรุงกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมต่าง ๆ โดยศึกษาปัญหาของอุตสาหกรรมหลัก เช่น อุตสาหกรรมเหล็ก อุตสาหกรรมยานยนต์ และอุตสาหกรรมทางการเกษตร ที่ได้รับผลกระทบอย่างรุนแรงและไม่สามารถปรับตัวได้ทัน รวมถึงพิจารณาศึกษากฎหมายที่กำหนดอำนาจหน้าที่ของหน่วยรัฐที่ดูแลส่งเสริมการอุตสาหกรรม และเสนอแนะการปฏิรูปกฎหมายหรือการปรับเปลี่ยนเพิ่มเติมอำนาจหน้าที่และบทบาทของดีพร้อม อีกทั้ง ได้เสนอผลการศึกษา และแนวทางการช่วยเหลืออุตสาหกรรมที่หยุดชะงักด้วยการที่ดีพร้อมให้การช่วยเหลืออุตสาหกรรมที่ถูก Disrupt ผ่านการส่งเสริมเอสเอ็มอีเข้าสู่ยุค Digital Transformation การต่อยอดอุตสาหกรรมเดิม ด้วยการ Upskill/Reskill บุคลากรภาคอุตสาหกรรมให้สามารถยกระดับการประกอบการให้มีความเป็นกลางทางคาร์บอน เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันที่เป็นธรรมให้แก่ผู้ประกอบการไทยผ่านระบบนิเวศเศรษฐกิจโดยใช้ Digital Economy การจัดสรรเงินกองทุน การส่งเสริมการเกษตรสู่เกษตรอุตสาหกรรม และการผลักดัน Low Carbon Industry รวมถึงการบูรณาการระหว่างหน่วยงานภาครัฐอื่นที่เกี่ยวข้อง อาทิ สศอ.ควรสร้าง Digital Economy เป็น Ecosystem Economy ถ่ายทอดผลงานวิจัยจาก สวทช. ไปสู่ ดีพร้อม เพื่อนำไปประยุกต์ใช้ เร่งรัดให้เกิดการรายงานข้อมูลการปฏิบัติทั้งที่เป็น "กฏหมาย และไม่ใช่กฏหมาย" เข้าระบบและนำมาประมวลผลจัดระดับโรงงานชั้นดี และสิทธิประโยชน์ทางภาษีและด้านการเงิน รวมถึงการผลักดันการซื้อขาย Carbon Credit ระดับ T-Ver การสร้างกลไกการทำ Life Cycle Assessment : LCA และการกำกับติดตามปัญหา "นอมินี" นอกจากนี้ คณะทำงานฯ ได้เสนอให้ดีพร้อมส่งข้อมูลเรื่องการขอจัดตั้งกองพัฒนาเกษตรอุตสาหกรรม และศูนย์วิจัยและพัฒนาวัสดุอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ เพื่อเพิ่มในรานงานการศึกษา ประกอบด้วย ภารกิจ ผลการดำเนินงานที่ผ่านมา พร้อมตัวชี้วัดของทั้ง 2 หน่วยงาน เพื่อช่วยแก้ไขปัญหาของคณะทำงานฯ ต่อไป ทั้งนี้ รปอ.รก.อสอ.ณัฏฐิญา ได้ชี้แจงว่า ตามบทบาท ภารกิจของดีพร้อมจะดูแลครอบคลุมตั้งแต่กลุ่มอุตสาหกรรมรายใหญ่ กลุ่มอุตสาหกรรมหกรรมเป้าหมายในอนาคต หรือ S-Curve รวมถึงกลุ่มเอสเอ็มอี วิสาหกิจชุมชน แม้กระทั้งกลุ่มสตาร์ทอัพ ซึ่งตอนนี้กำลังมุ่งเน้นภารกิจในการขับเคลื่อนภาคเกษตรอุตสาหกรรม โดยการนำศาสตร์ของอุตสาหกรรมเข้ามาประยุกต์ใช้กับด้านเกษตร เพื่อพัฒนาต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ ไปจนถึงการตลาด อีกทั้งดีพร้อมยังมีเซ็นเตอร์กระจายตัวทั่วทุกภูมิภาค และได้ถูกกำหนดเป็นศูนย์ปฏิรูปอุตสาหกรรม ซึ่งอุตสาหกรรมนำร่อง คือ เกษตรอุตสาหกรรม เพื่อรองรับในเรื่องผลผลิตที่ล้นตลาดนำมาแปรรูปทำให้เกษตรกร หรือวิสาหกิจชุมชนในพื้นที่สามารถไปทดลองการผลิตและทำต้นแบบผลิตภัณฑ์เพื่อนำไปต่อยอดในเชิงพาณิชย์ตามนโยบาย "ปฏิรูปอุตสาหกรรม สู่เศรษฐกิจยุคใหม่ ทันสมัย สะอาด สะดวก โปร่งใส" ของนายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม นอกจากนี้ ดีพร้อม ยังวิเคราะห์ถึงแนวโน้มของตลาดยานยนต์จะไปในทิศทางของพลังงานสะอาด และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม รัฐบาลไทยจึงมีมาตรการส่งเสริมการผลิตและการใช้รถ EV เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน และสนับสนุนรถยนต์ ICE และ HEV ที่มีคุณภาพมาตรฐานสูงขึ้น เพื่อรักษาการเป็นฐานการผลิตรถยนต์ที่สำคัญของโลก พร้อมยกระดับอุตสาหกรรมเหล็กไทยให้เป็นอุตสาหกรรมสีเขียว เพื่อลดผลกระทบจากการกีดกันทางการค้าและเพิ่มความสามารถในการส่งออก
18 พ.ย. 2024