Category
“อธิบดีณัฐพล” ร่วมคณะ “รมว.สุริยะ” ประชุมใหญ่สามัญเพื่อเกษตรภาคตะวันออก พร้อมมอบเครื่องสางใบอ้อยให้แก่เกษตรกรชาวไร่อ้อย จ.ชลบุรี
จ.ชลบุรี 6 พฤศจิกายน 2563 - นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ให้เกียรติเป็นประธานในงานประชุมใหญ่สามัญประจำปี 2563 สมาคม เพื่อเกษตรกรภาคตะวันออก พร้อมทั้งมอบหนังสือรับรองการจดทะเบียนเป็นสถาบันชาวไร่อ้อยแก่สมาคมเพื่อเกษตรกรภาคตะวันออก และเครื่องสางใบอ้อยให้แก่เกษตรชาวไร่อ้อย จำนวน 2 เครื่อง ร่วมด้วย นายกฤชนนท์ อัยยปัญญา เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม นางสาวสุชาดา แทนทรัพย์ โฆษกกระทรวงอุตสาหกรรม นายกอบชัย สังสิทธิสวัสดิ์ ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม นายณัฐพล รังสิตพล อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม และคณะผู้บริหารกระทรวงอุตสาหกรรม โดยมี ผู้แทนจากหน่วยงานภาครัฐและเอกชนในพื้นที่ให้การต้อนรับ ณ หอประชุมใหญ่สมาคมเพื่อเกษตรกรภาคตะวันออก ตำบลบ่อทอง อำเภอบ่อทอง การประชุมครั้งนี้ กระทรวงอุตสาหกรรม เตรียมมาตรการแก้ไขปัญหาอ้อยไฟไหม้ ในฤดูการผลิต 2563/2564 ด้วย 3 มาตรการ คือ 1. ลดอ้อยไฟไหม้เหลือร้อยละ 20 ด้วยมาตรการส่งเสริมให้ราคาอ้อยสดสูงกว่าอ้อยไฟไหม้ 2. สำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย ได้จัดหาเครื่องสางใบอ้อย ให้กับชาวไร่อ้อยสมาชิกกลุ่มเรียนรู้พัฒนาด้านอ้อยยืม จำนวน 112 เครื่อง 3. คณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทรายมีมติให้ความเห็นชอบหักเงินชาวไร่อ้อยที่ส่งอ้อยไฟไหม้ในอัตราตันละ 30 บาท จ่ายคืนให้กับชาวไร่อ้อยที่ตัดอ้อยสดคุณภาพดีทุกรายเต็มจำนวนโดยคิดแยกเป็นรายโรง และมีนโยบายที่จะผลักดันโครงการเงินช่วยเหลือชาวไร่อ้อยที่ตัดอ้อยสด ลดฝุ่น PM 2.5 เพื่อให้ชาวไร่อ้อยที่ตัดอ้อยสดมีรายได้รวมมากกว่าชาวไร่อ้อยที่ตัดอ้อยไฟไหม้ เป็นการจูงใจให้ชาวไร่อ้อยหันมาตัดอ้อยสดก่อนส่งโรงงาน พร้อมทั้งยังเป็นการแก้ไขปัญหาฝุ่น PM 2.5 และในโอกาสนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมและคณะฯ ได้มอบเครื่องสางใบอ้อยให้เกษตรกรชาวไร่อ้อย เพื่อจะช่วยให้คนงานตัดอ้อยสดได้รวดเร็วขึ้น โดยเป็นการช่วยอำนวยความสะดวกให้แก่ชาวไร่อ้อย ซึ่งจะเป็นแรงจูงใจให้เกษตรกรชาวไร่อ้อยปลูกอ้อยต่อไป และเป็นการสนับสนุนและจูงใจให้ชาวไร่อ้อยตัดอ้อยสดส่งโรงงานได้มากขึ้น ตลอดจนสามารถลดพื้นที่การเผาอ้อยได้ 1.2 ล้านไร่ ทั้งนี้กระทรวงอุตสาหกรรม ได้ดำเนินการโครงการส่งเสริมสินเชื่อเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตอ้อยอย่างครบวงจร ปี 2562 - 2564 วงเงินปีละ 2,000 ล้าน บาท ระยะเวลา 3 ปี รวมเป็นเงิน 6,000 ล้านบาท เพื่อการพัฒนาแหล่งน้ำและการบริหารจัดการน้ำในไร่อ้อย จัดซื้อรถตัดอ้อย รถคีบอ้อย รถแทรกเตอร์ รถบรรทุกอ้อย และเครื่องจักรกลการเกษตรอื่น ๆ อีกด้วย ### PR.DIProm (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม) รายงาน/ภาพข่าว
09 พ.ย. 2020
“แม่ทัพ กสอ.” ตะลุยย่านชุมชนเมืองเก่าภูเก็ตต้นแบบ CIV พร้อมดัน 3 อ. ชูอัตลักษณ์พื้นถิ่นสู่การท่องเที่ยววิถีใหม่
จ.ภูเก็ต 3 พฤศจิกายน 2563 - นายณัฐพล รังสิตพล อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม พร้อมด้วย นายจุลพงษ์ ทวีศรี รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม นายเจตนิพิฐ รอดภัย รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม คณะผู้บริหารและเจ้าหน้าที่กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กสอ.) ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมผลการดำเนินงานหมู่บ้านอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ (CIV) โดยมี นายสมยศ ปาทาน ผู้นำชุมชนย่านเมืองเก่าภูเก็ต ให้การต้อนรับและนำเยี่ยมชมวิถีชุมชนดังกล่าว ณ ถนนถลาง อ.เมือง ชุมชนย่านเมืองเก่าภูเก็ต เป็นอีกหนึ่งชุมชนที่เข้าร่วมโครงการหมู่บ้านอุตสาหกรรมสร้างสรรค์(หมู่บ้าน CIV) กับ กสอ. เพื่อชูอัตลักษณ์ท้องถิ่นร่วมกับเทคโนโลยีสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์และบริการ เพื่อกระจายรายได้ให้กับชุมชน ผ่านความโดดเด่นทางวัฒนธรรมอันเกิดจากการผสมผสานความแตกต่างทางชาติพันธุ์ของชาวพื้นเมืองจนเกิดเป็นอัตลักษณ์ของเมืองภูเก็ต ในด้านต่าง ๆ ได้แก่ ด้านอาหาร จนได้รับการประกาศจาก “ยูเนสโก” ให้เป็นเมืองสร้างสรรค์ด้านวิทยาการอาหาร (City of Gastronomy) ด้านอาภรณ์ ที่พัฒนาผ้าพื้นถิ่น "บ่าบ๋า ย่าหยา" ที่สะท้อนถึงวัฒนธรรมท้องถิ่นแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ของประดับตกแต่งบ้านและของฝากที่ระลึกภายใต้แนวทางการพัฒนา "โลคอลสู่เลอค่า" และ ด้านอาคารซึ่งถือเป็นจุดท่องเที่ยวที่มีความโดดเด่นทางสถาปัตยกรรมเก่าแก่สไตล์ชิโนโปรตุกีส โดยในครั้งนี้ผู้นำชุมชนได้พาเข้าชมสถานที่ในย่านดังกล่าว ได้แก่ บ้านขุนนิเทศจีนารักษ์ พิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ท้องถิ่นพร้อมเป็นร้านขายของฝากและขนมพื้นเมืองหลากหลายชนิด อาทิ เหนียวหีบ อังกู๊ หยกมณี หม่อเส้ง มิวเซียม หวู แกลเลอรี่ แอนด์ บูติกโฮเทล ที่เป็นทั้งโรงแรมและพิพิธภัณฑ์ ภายในอาคารที่ยาวกว่าร้อยเมตร และ บ้านเลขที่ 92 เปรียบเสมือนเป็นครัวชุมชนวิสหกิจชุมชนท่องเที่ยวย่านเมืองเก่า ที่มีสมาชิกชุมชนมาร่วมกันปรุงอาหารพื้นเมืองขึ้นชื่ออย่าง ผัดหมี่ฮกเกี้ยนให้นักท่องเที่ยวได้ชิม ทั้งนี้ ผู้นำชุมชนมีความต้องการให้ทาง กสอ. ให้การส่งเสริมและพัฒนาอาหารพื้นเมืองอย่างมี”หมี่ฮกเกี้ยน” กลายเป็นของฝากประจำชุมชนที่นักท่องเที่ยวมาเยือนแล้วสามารถซื้อกลับไปฝากได้อีกด้วย และในโอกาสนี้อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม พร้อมคณะฯ ยังได้พบปะและกล่าวทักทายผู้เข้ารับการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ กิจกรรม ปั้นหมู่บ้าน CIV เพื่อการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม (Creative Industrial Village for heritage tourism) จัดโดยศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 10 จ.สุราษฎร์ธานี เพื่อประชาสัมพันธ์ต้นแบบหมู่บ้านอุตสาหกรมสร้างสรรค์ให้เป็นที่รู้จักแก่นักท่องเที่ยว รวมถึงถ่ายทอดการสร้างอัตลักษณ์ของหมู่บ้านแก่วิสาหกิจชุมชนอื่นที่มีศักยภาพ และถ่ายทอดความรู้การสร้างเครือข่ายและการเชื่อมโยงธุรกิจระหว่างสมาชิกเพื่อการดำเนินกิจการการท่องเที่ยวชุมชนให้เข้มแข็งยิ่งขึ้น นอกจากนี้ ยังได้หารือกับผู้ประกอบการเครือข่าย คพอ.(โครงการพัฒนาธุรกิจอุตสาหกรรม) อีกด้วย ### PR.DIProm (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม) รายงาน/ภาพข่าว
03 พ.ย. 2020
“อธิบดีณัฐพล” ร่วมคณะ “รมว.สุริยะ” โชว์ผลสำเร็จฟาร์มเลี้ยงเป๋าฮื้อเชิงพาณิชย์เจ้าแรกในไทย
จ.ภูเก็ต 2 พฤศจิกายน 2563 - นายณัฐพล รังสิตพล อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม นายใบน้อย สุวรรณชาตรี นายเจตนิพิฐ รอดภัย รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม และคณะผู้บริหารกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กสอ.) ร่วมลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมสถานประกอบการ บริษัท ภูเก็ตเป๋าฮื้อฟาร์ม จำกัด ในโอกาสตรวจราชการและเตรียมความพร้อมการประชุมคณะรัฐมนตรีอย่างเป็นทางการนอกสถานที่ ครั้งที่ 3/2563 กลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอันดามัน (ภูเก็ต กระบี่ ตรัง พังงา ระนอง และสตูล) โดยมี นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม นำคณะฯ พร้อมด้วย นายสุชาติ ไตรแสงรุจิระ ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม นายกฤชนนท์ อัยยปัญญา เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม นางสาวสุชาดา แทนทรัพย์ โฆษกกระทรวงอุตสาหกรรม นายกอบชัย สังสิทธิสวัสดิ์ ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม และคณะผู้บริหารกระทรวงอุตสาหกรรม ซึ่งมี นายสัตวแพทย์สิทธิศักดิ์ เหมืองสิน กรรมการผู้จัดการ บริษัทฯ ให้การต้อนรับ พร้อมทั้งสรุปภาพรวมการดำเนินงานและนำเยี่ยมชมสถานประกอบการดังกล่าว บริษัท ภูเก็ตเป๋าฮื้อฟาร์ม จำกัด ผู้ผลิตวัตถุดิบจากหอยเป๋าฮื้อ โดยมีฟาร์มเพาะเลี้ยงเป๋าฮื้อเชิงพาณิชย์แห่งแรกในประเทศไทย และสามารถเพาะเลี้ยงได้ถึง 6 ล้านตัวต่อปี ซึ่งในช่วงเริ่มต้นได้นําเข้าพันธุ์หอยเป๋าฮื้อจากเกาะโอกินาวา ประเทศญี่ปุ่น และพัฒนาสายพันธุ์เพาะเลี้ยงเองได้ในปัจจุบันและเป็นเจ้าเดียวในประเทศไทยที่สามารถผลิตและจําหน่ายคอลลาเจนสกัดเย็นและเมือกหอย เพื่อใช้เป็นวัตถุดิบตั้งต้นในอุตสาหกรรมอาหารเพื่อสุขภาพและผลิตภัณฑ์บํารุงผิว ซึ่งได้รับมาตรฐานผลิตภัณฑ์: ISO 22000 ฮาลาล HACCP อย. GMP และGAP โดยผลิตภัณฑ์หลักจะเป็นเซรั่มบํารุงผิวหน้าด้วยสารสกัดจากเมือกหอยเป๋าฮื้อ และเครื่องดื่มคอลลาเจนแท้สกัดเย็นเป๋าฮื้อและเปปไทด์ในน้ําทับทิม ชื่อว่า “เอโอ วา”ในระยะแรกดําเนินธุรกิจโดยการรับจ้างผลิต (OEM) ในชื่อ “ชายา”(Chaya) เมื่อเริ่มผลิตในแบรนด์ของตนเองได้ใช้ช่องทางการขายแบบเครือข่ายขายตรงในชื่อ Orajis ซึ่งพบว่ามีค่าใช้จ่ายในการทําตลาดค่อนข้างสูง จึงเปลี่ยนเป็นการขายสินค้าไปยังผู้บริโภคทั่วโลกโดยตรง หรือ B2C ผ่านเฟซบุ๊กและแอปพลิเคชั่นต่าง ๆ ซึ่งได้ผลเป็นที่น่าพอใจและเข้าถึงผู้ใช้ได้โดยตรง ทั้งนี้ บริษัทฯ ได้รับการสนับสนุนจากศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 10 จ.สุราษฎร์ธานี ผ่านกิจกรรม/โครงการต่าง ๆ และได้นำองค์ความรู้ที่ได้รับไปปรับใช้ในการต่อยอดทางธุรกิจจนประสบผลสำเร็จ รวมถึงสามารถเพิ่มมูลค่ายอดขายเพิ่มขึ้น 10,000,000 บาท/ปี คิดเป็น 11.76 % และในปัจจุบันผู้ประกอบการยังขยายช่องทางการตลาดผ่านอาลีบาบา อย่างต่อเนื่อง ### PR.DIProm (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม) รายงาน/ภาพข่าว
03 พ.ย. 2020
“อธิบดีณัฐพล” ร่วมคณะ “รมว.สุริยะ” เยี่ยมชมบริษัทผู้ผลิตชิ้นส่วนใบเรือชั้นนำของโลกในจ. ภูเก็ต
จ.ภูเก็ต 2 พฤศจิกายน 2563 - นายณัฐพล รังสิตพล อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม นายใบน้อย สุวรรณชาตรี นายเจตนิพิฐ รอดภัย รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม และคณะผู้บริหารกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กสอ.) ร่วมลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมสถานประกอบการ บริษัท รอลลี่ ทาสเกอร์ เซลส์ (ประเทศไทย) จำกัด ในโอกาสตรวจราชการและเตรียมความพร้อมการประชุมคณะรัฐมนตรีอย่างเป็นทางการนอกสถานที่ ครั้งที่ 3/2563 กลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอันดามัน (ภูเก็ต กระบี่ ตรัง พังงา ระนอง และสตูล) โดยมี นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม นำคณะฯ พร้อมด้วย นายสุชาติ ไตรแสงรุจิระ ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม นายกฤชนนท์ อัยยปัญญา เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม นางสาวสุชาดา แทนทรัพย์ โฆษกกระทรวงอุตสาหกรรม นายกอบชัย สังสิทธิสวัสดิ์ ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม และคณะผู้บริหารกระทรวงอุตสาหกรรม ร่วมด้วย ผู้แทนจากหน่วยงานภาครัฐและเอกชนในพื้นที่ ซึ่งมี ตัวแทนผู้บริหารบริษัทฯ ให้การต้อนรับ บริษัท รอลลี่ ทาสเกอร์ เซลส์ (ประเทศไทย) จำกัด ก่อตั้งในประเทศไทย เมื่อปี พ.ศ. 2535 ด้วยเล็งเห็นว่าประเทศไทยมีศักยภาพเอื้อต่อการผลิตสินค้า โดยเน้นการผลิตและส่งออกผ้าใบเรือคุณภาพ ที่ใช้เทคโนโลยีเลเซอร์คัทติ้ง ซึ่งเป็นเทคนิคสำหรับการตัดวัสดุที่มีประสิทธิภาพสูง ให้ได้ชิ้นงานที่มีคุณภาพภายในระยะเวลาที่รวดเร็ว และสามารถตัดวัสดุที่มีรูปร่างซับซ้อนได้อย่างแม่นยำ ซึ่งรายได้กว่าร้อยละ 75 ได้มาจากการส่งออกใน ฮ่องกง สิงค์โปร์ อเมริกา ออสเตรเลีย และกลุ่มประเทศในแถบยุโรป โดยมียอดขายเป็น อันดับ 12 ของโลก และภายหลังจากที่บริษัทฯ ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โควิด-19 จึงได้หันมาให้ความสำคัญในหลาย ๆ ด้าน เช่น การนำซอร์ฟแวร์ที่มีคุณภาพมาช่วยในด้านการผลิต การส่งเสริมด้านการค้าออนไลน์ เพื่อเพิ่มช่องทางกระตุ้นยอดขาย นอกจากนี้ทางบริษัทฯ ยังมีเป้าหมายให้ประเทศไทยสามารถเจรจาการค้าเสรี เพื่อสร้างโอกาสทางการค้าสู่ตลาดสากลและก้าวขึ้นสู่การเป็นผู้นำการผลิตอันดับต้น ๆ ของโลก ### PR.DIProm (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม) รายงาน/ภาพข่าว
03 พ.ย. 2020
“อธิบดีณัฐพล” ร่วมคณะ “รมว.สุริยะ” บินตรงถิ่นอันดามัน เยี่ยมชมท่าจอดเรือครบวงจรแห่งแรกในภูเก็ต
จ.ภูเก็ต 2 พฤศจิกายน 2563 - นายณัฐพล รังสิตพล อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม นายใบน้อย สุวรรณชาตรี นายเจตนิพิฐ รอดภัย รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม และคณะผู้บริหารกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กสอ.) ร่วมลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมสถานประกอบการ บริษัท ภูเก็ตโบ๊ทลากูน จำกัด ในโอกาสตรวจราชการและเตรียมความพร้อมการประชุมคณะรัฐมนตรีอย่างเป็นทางการนอกสถานที่ ครั้งที่ 3/2563 กลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอันดามัน (ภูเก็ต กระบี่ ตรัง พังงา ระนอง และสตูล) โดยมี นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม นำคณะฯ พร้อมด้วย นายสุชาติ ไตรแสงรุจิระ ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม นายกฤชนนท์ อัยยปัญญา เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม นางสาวสุชาดา แทนทรัพย์ โฆษกกระทรวงอุตสาหกรรม นายกอบชัย สังสิทธิสวัสดิ์ ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม และคณะผู้บริหารกระทรวงอุตสาหกรรม ร่วมด้วย ผู้แทนจากหน่วยงานภาครัฐและเอกชนในพื้นที่ ซึ่งมี นายบุญ ยงสกุล กรรมการผู้จัดการ บริษัทฯ ให้การต้อนรับ พร้อมทั้งสรุปภาพรวมการดำเนินงานและนำเยี่ยมชมสถานประกอบการดังกล่าว โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมและคณะฯ ได้รับฟังภาพรวมการดำเนินงาน รวมถึงปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอจากผู้ประกอบการและหน่วยงานภาครัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมการต่อเรือในพื้นที่ ขณะเดียวกันผู้ประกอบการได้เสนอให้ลดขั้นตอนในการติดต่อราชการให้มีความรวดเร็วและซับซ้อน รวมถึงให้ภาครัฐสนับสนุนผู้ประกอบการได้เข้าถึงแหล่งเงินทุนได้มากกว่าเดิม ตลอดจนส่งเสริมการสร้างงาน สร้างอาชีพให้กับชุมชนในพื้นที่ ทั้งนี้ รัฐมนตรีว่าการฯ ให้ทางผู้ประกอบการจัดทำรายละเอียดปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะต่าง ๆ เพื่อทางกระทรวงอุตสาหกรรมจะได้นำเสนอต่อคณะรัฐมนตรีต่อไป นอกจากนี้ ยังได้มอบหมายให้หน่วยงานของกระทรวงอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องประสานให้ข้อมูลด้านสินเชื่อของกองทุนพัฒนาเอสเอ็มอีตามแนวประชารัฐ เพื่อให้ผู้ประกอบการเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น บริษัทดังกล่าว เป็นผู้นำการให้บริการท่าจอดเรือยอร์ช การซ่อมแซม ตกแต่ง และปรับปรุงเรือ คลังสินค้าทัณฑ์บน พร้อมที่พักแบบครบวงจรในภาคพื้นเอเชียตะวันออกเฉียงใต้บนพื้นที่ 300 ไร่ สามารถรองรับเรือที่มีขนาดความยาวของเรือมากถึง 120 ฟุต มีที่จอดเรือในน้ำสามารถจุเรือได้ 180 ลํา จอดเรือบนบกสามารถจุเรือได้ 140 ลํา โรงเก็บเรือสองชั้นมีหลังคาสามารถจุเรือได้ 24 ลํา และมีเครนยกเรือขนาด 40 ตัน 60 ตัน 80 ตัน และ120 ตัน รวมถึงมีศูนย์รวมการให้บริการแบบครบครันพร้อมด้วยช่างเทคนิค และมีโรงงานสําหรับซ่อมบํารุงเรือขนาดใหญ่ได้มากถึง 100 ฟุตอีกด้วย ### PR.DIProm (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม) รายงาน/ภาพข่าว
03 พ.ย. 2020
โครงการการสร้างความเข้มแข็งผู้ประกอบการวิสาหกิจชุมชนสู่การเป็นผู้ประกอบการอย่างมืออาชีพ
วัตถุประสงค์โครงการ เพื่อพัฒนาผู้ประกอบการชุมชนให้มีความรู้ความสามารถในการบริหารจัดการอย่างเป็นระบบ มีประสิทธิภาพและมีทักษะในการประยุกต์ใช้เครื่องมือสารสนเทศได้อย่างเหมาะสม คุณสมบัติ เป็นผู้ประกอบการชุมชนที่เป็นผู้ผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์ชุมชนในพื้นที่กรุงเทพฯ เป็นผู้ประกอบการชุมชนผู้มีศักยภาพ และมีความพร้อมในการพัฒนา อายุ 20 -50 ปี ติดต่อสอบถาม กองพัฒนาอุตสาหกรรมชุมชน นางสาวมธุรส ทับทิมทอง maturos@dip.go.th 0 2367 8391
02 พ.ย. 2020