Category
คิดเห็นแชร์ : ต่อยอดภาคการเกษตร ด้วยศาสตร์แห่งเกษตรอุตสาหกรรม
คอลัมน์ : คิดเห็นแชร์ (มติชนออนไลน์) ผู้เขียน : นายณัฐพล รังสิตพล (อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม) สวัสดีแฟน ๆ คิดเห็นแชร์ทุกท่านครับ ผมเคยแชร์เรื่อง “เกษตรอุตสาหกรรม” ในบทความครั้งก่อน ๆ ไปแล้วว่าเกษตรอุตสาหกรรมคืออะไร และมีความสำคัญกับระบบเศรษฐกิจของประเทศไทยอย่างไร โดยเฉพาะหลังจากที่ประเทศไทยต้องประสบปัญหาการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ทำให้ระบบเศรษฐกิจของไทยได้รับผลกระทบในวงกว้าง ทั้งภาคอุตสาหกรรมภาคการเกษตร และภาคบริการ ยิ่งตอกย้ำให้เห็นถึงภาพอนาคตของประเทศไทยที่ชัดเจนขึ้นว่า อุตสาหกรรมแปรรูปอาหารมีความสำคัญและเป็นสิ่งที่ทั่วโลกต้องการมากกว่าอื่นใด สะท้อนได้จากตัวเลขดัชนีอุตสาหกรรมแปรรูปอาหารที่เป็นบวก สวนทางกับอุตสาหกรรมอื่นๆ ที่ติดลบกันเป็นทิวแถว ซึ่งอุตสาหกรรมแปรรูปอาหารยังเป็นจุดแข็งของไทยเพราะมีรากฐานเชื่อมโยงกับภาคการเกษตรที่เป็นแหล่งวัตถุดิบต้นน้ำ จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องเร่งขับเคลื่อนภาคการเกษตรซึ่งถือเป็นหนึ่งในฐานรากที่สำคัญของระบบเศรษฐกิจตามวิถีปกติใหม่ (New Normal) ด้วยการยกระดับ “เกษตรกรรม” ให้เป็น “เกษตรอุตสาหกรรม” มุ่งเน้นการส่งเสริมธุรกิจเกษตร เพื่อเป็นเครื่องยนต์ในการขับเคลื่อนและฟื้นฟูระบบเศรษฐกิจของประเทศ ช่วยให้เกษตรกรมีรายได้ที่ดีขึ้น ภาคการเกษตรมีการเติบโตต่อเนื่องอย่างเข้มแข็งและยั่งยืน ซึ่งผมเคยได้ให้คำนิยามของเกษตรอุตสาหกรรมไว้ว่า “เกษตรอุตสาหกรรม คือ ธุรกิจทางการเกษตรหรืออุตสาหกรรมการเกษตร ที่นำองค์ความรู้ทางด้านธุรกิจอุตสาหกรรม ทั้งในด้านการบริหารจัดการ การมาตรฐาน การเชื่อมโยงห่วงโซ่การผลิตอย่างเป็นระบบ การสร้างให้เกิดผลิตภัณฑ์ที่หลากหลาย และการตอบสนองต่อความต้องการของตลาดมาประยุกต์ใช้” ซึ่งวันนี้ผมจะขอยกตัวอย่างการขับเคลื่อนนโยบายเกษตรอุตสาหกรรมที่กรมส่งเสริมอุตสาหกรรมได้ดำเนินการให้เกิดผลเป็นรูปธรรมแล้ว ด้วยการประยุกต์ใช้ศาสตร์ของเกษตรอุตสาหกรรมกับการสร้างระบบเศรษฐกิจฐานรากตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงผ่าน “บ้านบึงโมเดล” และการต่อยอดทำธุรกิจเกษตรในรูปแบบของธุรกิจยุคใหม่ผ่านโครงการ Agro Beyond Academy ครับ ตัวอย่างแรก คือ การนำศาสตร์ของเกษตรอุตสาหกรรมมาปรับใช้ในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานรากบนพื้นฐานของเศรษฐกิจชุมชน เพื่อให้เหมาะสมกับวิถีชีวิตและความต้องการของแต่ละชุมชน ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการทำเกษตรแปลงเล็ก เพื่อต่อยอดจุดแข็งของการทำเกษตรกรรมชุมชนให้ยั่งยืน สร้างความเข้มแข็งให้ชุมชน ทำให้คนในชุมชนมีรายได้สามารถยืนได้ด้วยลำแข้งของตนเอง ด้วยการผนวกแนวคิดของการบริหารจัดการและเทคโนโลยีสมัยใหม่แบบอุตสาหกรรมเข้ากับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อสร้างให้เกิดห่วงโซ่มูลค่า (Value chain) ตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำ และสร้างมูลค่าเพิ่มให้ภาคการเกษตร ซึ่งได้นำร่องเป็นโมเดลเกษตรอุตสาหกรรมในพื้นที่แรกร่วมกับศูนย์กสิกรรมธรรมชาติมาบเอื้อง ซึ่งเป็นกลุ่มเกษตรกรชุนชนบ้านหนองบอนแดง อ.บ้านบึง จ.ชลบุรี จึงเป็นที่มาของ “บ้านบึงโมเดล” เพื่อให้เป็นต้นแบบการพัฒนาเกษตรอุตสาหกรรมอย่างยั่งยืน และจะใช้บ้านบึงโมเดลเป็นกลไกในการขยายผลการขับเคลื่อนเศรษฐกิจชุมชนฐานรากตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ผ่านการรวมกลุ่มของเกษตรกรกว่า 80 กลุ่มทั่วประเทศ มีการเรียนรู้ต่อยอดและพัฒนาศักยภาพในการจัดการระบบเกษตรอุตสาหกรรมอย่างยั่งยืน สร้างงานสร้างรายได้ ทำให้คนในชุมชนมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ตัวอย่างที่สอง คือ การนำศาสตร์ของเกษตรอุตสาหกรรมมาช่วยต่อยอดการทำธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกับเกษตรอุตสาหกรรมและอาหารในรูปแบบของธุรกิจยุคใหม่ ผ่านโครงการ Agro Beyond Academy ซึ่งเป็นการเรียนออนไลน์ในรูปแบบของ E-Learning เป็นนิว นอร์มอล ของการเรียนรู้ในรูปแบบใหม่ เพื่อปรับเปลี่ยนวิธีการพัฒนาภาคเกษตรด้วยวิธีการใหม่ๆ โดยทางกรมส่งเสริมอุตสาหกรรมได้ร่วมมือกับ คุณวู้ดดี้ พิธีกรแถวหน้าของประเทศ ซึ่งเป็นผู้ที่มีใจอยากเข้ามาช่วยพัฒนาภาคการเกษตรไทย โดยคุณวู้ดดี้จะมาร่วมเป็นพันธมิตรที่สำคัญในการออกแบบหลักสูตรการเรียนการสอน พร้อมทั้งได้เชิญนักธุรกิจเกษตรอุตสาหกรรมที่ประกอบธุรกิจเกษตรในรูปแบบของธุรกิจยุคใหม่ เช่น คุณโจน จันได เจ้าของพันพรรณ บ้านดิน, คุณเมย์ เจ้าของร้านอาฟเตอร์ยู, คุณนาขวัญ เจ้าของแบรนด์ NANA Fruit ผลไม้อบแห้ง และยังมีอีกหลายท่านซึ่งเป็นผู้ที่ได้พิสูจน์ให้เห็นแล้วว่า สามารถพัฒนาต่อยอดธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกับเกษตรอุตสาหกรรมและอาหารจนประสบความสำเร็จ มาร่วมเป็นวิทยากรที่จะมาให้แนวคิด สร้างแรงบันดาลใจและถ่ายทอดองค์ความรู้จากประสบการณ์ในการทำเกษตรอุตสาหกรรมให้ประสบความสำเร็จ เพื่อสร้างและบ่มเพาะให้ผู้ที่สนใจอยากเริ่มต้นทำธุรกิจเกษตรอุตสาหกรรม และพร้อมที่จะพัฒนาตนเองให้กลายเป็นนักธุรกิจเกษตรอุตสาหกรรมยุคใหม่ ซึ่งผู้ที่สนใจเข้าร่วมโครงการสามารถสมัครเข้าร่วมโครงการได้ที่ www.agrobeyond.com หรือติดตามข้อมูลได้จาก Fan page ของคุณวู้ดดี้ (Woody) ทั้งสองตัวอย่างนี้ เป็นผลการดำเนินภายใต้นโยบายเกษตรอุตสาหกรรมของรัฐบาล ด้วยการใช้กลไกในรูปแบบใหม่ เพื่อยกระดับภาคการเกษตรของไทย ผ่านการนำศาสตร์ของเกษตรอุตสาหกรรมมาปรับใช้ในบริบทที่แตกต่างกัน ซึ่งภารกิจการยกระดับ “เกษตรกรรม” ให้เป็น “เกษตรอุตสาหกรรม” ถือเป็นงานที่มีความท้าทาย ซึ่งไม่ง่ายแต่ก็ไม่ใช่เรื่องยาก และเชื่อได้ว่า เกษตรอุตสาหกรรมจะทำให้พี่น้องเกษตรกรไทยมีรายได้และชีวิตความเป็นอยู่ดีและมั่นคงขึ้น อีกทั้งจะยังเป็นหนึ่งในเครื่องยนต์สำคัญเพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยให้ฟื้นตัวและกลับมาเข้มแข็งอย่างยั่งยืน ที่มา https://www.matichon.co.th/economy/news_2253526
04 ก.ค. 2020
กสอ. ติวเข้มบุคลากร เสริมทักษะการค้าออนไลน์ ต่อยอดเสริมแกร่ง ผปก. ในอนาคต
กรุงเทพฯ 3 กรกฎาคม 2563 - นายณัฐพล รังสิตพล อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ให้เกียรติเป็นประธานในการประชุมผ่านระบบการประชุมทางไกล (VDO Conference) เพื่อชี้แจงหลักสูตรการพัฒนาศักยภาพบุคลากรให้ดีพร้อมด้านการค้าออนไลน์ ร่วมด้วย นายใบน้อย สุวรรณชาตรี รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ผู้บริหารกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม เจ้าหน้าที่กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กสอ.) ทั้งจากส่วนกลางและส่วนภูมิภาค ณ ห้องประชุมชั้น 6 โซนบี อาคาร กสอ. สำหรับหลักสูตรการพัฒนาศักยภาพบุคลากรให้ดีพร้อมด้านการค้าออนไลน์ จะเป็นการจัดอบรมในรูปแบบออนไลน์ทั้งภาคทฤษฎีและปฏิบัติ ใช้ระยะเวลารวม 26 ชั่วโมง เพื่อมุ่งเน้นพัฒนาบุคลากรของ กสอ. ให้มีองค์ความรู้และทักษะด้านการค้าออนไลน์ในเชิงลึก เพื่อนำไปต่อยอดการดำเนินงานส่งเสริมผู้ประกอบการให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น รวมทั้งเปิดโอกาสให้เป็นเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ประสบการณ์ และสร้างความสัมพันธ์ระหว่างกัน จนเกิดเป็นเครือข่ายความร่วมมือในการส่งเสริม SMEs ในอนาคต ### PR.DIProm (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม) รายงาน/ภาพข่าว
03 ก.ค. 2020
รับฟังความคิดเห็นเพิ่มเติมจากผู้เกี่ยวข้อง ตามแนวทางการจัดทำและเสนอร่างกฎหมายตามพระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดทำร่างกฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย
ด้วยร่างพระราชบัญญัติสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ... ที่ได้ผ่านการรับฟังความคิดเห็นไปแล้ว ในระหว่างวันที่ 26 ตุลาคม 2561 – 15 พฤศจิกายน 2561 และคณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติในหลักการ เมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2562 รวมทั้งได้ผ่านการตรวจพิจารณาจากคณะกรรมการกฤษฎีกา โดยมีการแก้ไขในหลักการที่สำคัญ จึงจำเป็นต้องเผยแพร่ร่างพระราชบัญญัติดังกล่าว เพื่อให้มีการรับฟังความคิดเห็นเพิ่มเติมจากผู้เกี่ยวข้อง ตามแนวทางการจัดทำและการเสนอร่างกฎหมายตามพระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดทำร่างกฎหมายและประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย พ.ศ. 2562 สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม จึงได้กำหนดให้มีการรับฟังความคิดเห็นเพิ่มเติมต่อร่างพระราชบัญญัติฯ ดังกล่าว ในระหว่างวันที่ 26 มิถุนายน 2563 – วันที่ 16 กรกฎาคม 2563 ประกาศ สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม เรื่อง การรับฟังความคิดเห็นเพิ่มเติมต่อร่างพระราชบัญญัติสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ... ข้อมูลประกอบการฟังความคิดเห็นเพิ่มเติม ร่างพระราชบัญญัติสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ... ที่ผ่านการพิจารณาของคณะกรรมการกฤษฎีกา แบบฟอร์มแสดงความคิดเห็นเพิ่มเติมต่อ ร่างพระราชบัญญัติสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ... ที่ผ่านการพิจารณาของคณะกรรมการกฤษฎีกา
02 ก.ค. 2020
“อธิบดีณัฐพล” พร้อมคณะผู้บริหาร กสอ.ให้การต้อนรับคณะผู้ตรวจราชการกระทรวงอุตสาหกรรม
กรุงเทพฯ 1 กรกฎาคม 2563 - นายณัฐพล รังสิตพล อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม พร้อมด้วย นายภาสกร ชัยรัตน์ นายใบน้อย สุวรรณชาตรี นายเจตนิพิฐ รอดภัย รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม และคณะผู้บริหารกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กสอ.) ให้การต้อนรับ นายเดชา จาตุธนานันท์ นายสุระ เพชรพิรุณ นายบรรจง สุกรีฑา และนายนิรันดร์ ยิ่งมหิศรานนท์ คณะผู้ตรวจราชการกระทรวงอุตสาหกรรม ในโอกาสตรวจราชการระดับกรมและรัฐวิสาหกิจในสังกัด กระทรวงอุตสาหกรรม ณ ห้องประชุม โซนบี ชั้น 6 อาคารกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม โดยอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรมได้สรุปภาพรวมบทบาท ภารกิจ นโยบาย การส่งเสริม พัฒนา และสนับสนุนผู้ประกอบการในมิติต่าง ๆ รวมถึงโครงสร้าง อัตรากำลัง งบประมาณและการใช้จ่ายงบประมาณประจำปี 2563 ของ กสอ. ตลอดจนแนวทางมาตรการช่วยเหลือและฟื้นฟูผู้ที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ COVID-19 ของ กสอ. นอกจากนี้ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรมทั้ง 3 ท่าน ยังได้สรุปภาพรวมผลการดำเนินงานการขับเคลื่อนนโยบายสำคัญของรัฐบาลและกระทรวงอุตสาหกรรมในการส่งเสริมและพัฒนาอุตสาหกรรมเป้าหมาย การส่งเสริมและพัฒนาผู้ประกอบการ 4.0 และเกษตรอุตสาหกรรม และการเชื่อมโยงและพัฒนาระบบฐานข้อมูลแบบบูรณาการ ทั้งนี้ คณะผู้ตรวจราชการกระทรวงอุตสาหกรรมได้มีข้อเสนอแนะการดำเนินงานส่งเสริมและพัฒนาอุตสาหกรรมเป้าหมายให้เกิดเป็นรูปธรรม โดยเฉพาะอุตสาหกรรมเครื่องมือแพทย์ รวมถึงการเชื่อมโยงการรวมกลุ่มอุตสาหกรรม (Cluster) ขณะเดียวกัน ยังได้เน้นย้ำการบูรณการความร่วมมือระหว่างศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคกับอุตสาหกรรมจังหวัดในการส่งเสริมและพัฒนาผู้ประกอบการและวิสาหกิจให้มากขึ้น ตลอดจนการจัดทำฐานข้อมูลต่าง ๆ ร่วมกัน เพื่อให้เกิดความเชื่อมโยงในการทำงานได้อย่างดีในอนาคต ### PR.DIProm (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม) รายงาน/ภาพข่าว
01 ก.ค. 2020
กรุงเทพฯ 1 กรกฎาคม 2563 – นายณัฐพล รังสิตพล อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ให้เกียรติเป็นประธานในพิธีเปิดกิจกรรมการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการผ่านระบบออนไลน์ ในหัวข้อ “แนวทางการปฏิบัติราชการที่ดี เพื่อลดความเสี่ยงในการปฏิบัติงาน” โดยมีนางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา เลขานุ
กรุงเทพฯ 1 กรกฎาคม 2563 – นายณัฐพล รังสิตพล อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ให้เกียรติเป็นประธานในพิธีเปิดกิจกรรมการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการผ่านระบบออนไลน์ ในหัวข้อ “แนวทางการปฏิบัติราชการที่ดี เพื่อลดความเสี่ยงในการปฏิบัติงาน” โดยมีนางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา เลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กล่าวรายงาน ณ ห้องประชุม 1 ชั้น 3 อาคาร กสอ. กิจกรรมอบรมดังกล่าว จัดขึ้นเพื่อปั้นเจ้าหน้า กสอ. ให้มีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับกระบวนการและวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้างให้สามารถปรุงและปรับใช้องค์ความรู้ดังกล่าวในกระบวนการปฏิบัติงาน ซึ่งจะส่งผลให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรม เปลี่ยนเป็นบุคลากรที่ดีพร้อม (DIProm) ในการปฏิบัติงานที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของความคุ้มค่าในการใช้จ่ายงบประมาณ และเพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาล โดยกิจกรรมในครั้งนี้ กำหนดจัดขึ้นระหว่างวันที่ 1-3 กรกฎาคม 2563 เวลา 09.00 - 16.00 น. โดยสามารถรับชมออนไลน์ได้ทางเฟซบุ๊กแฟนเพจ HRD DIP ### PR.DIProm (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม) รายงาน /ภาพข่าว
01 ก.ค. 2020
E-Service
การให้บริการแก่ประชาชน และผู้ประกอบการในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งครอบคลุมทั้งด้านการให้คำปรึกษาแนะนำ การฝึกอบรม บริการข้อมูล และความช่วยเหลือทางการเงิน...
01 ก.ค. 2020
แผนและความก้าวหน้าในการดำเนินงานและการใช้จ่ายงบประมาณประจำปี
- แสดงแผนการดำเนินงานตามภารกิจของหน่วยงาน ประจำปี พ.ศ. 2568 ที่มีรายละเอียดอย่างน้อยประกอบด้วย (1) โครงการหรือกิจกรรม (2) งบประมาณแต่ละโครงการหรือกิจกรรม* (3) ช่วงระยะเวลาในการดำเนินงานแต่ละโครงการหรือกิจกรรม - แสดงผลความก้าวหน้าในการดำเนินงานตามแผนการดำเนินงานประจำปี พ.ศ. 2568 ข้อมูล ณ วันที่ 31 มีนาคม 2568 ที่มีเนื้อหาหรือรายละเอียดความก้าวหน้า อย่างน้อยประกอบด้วย (1) ผลการดำเนินงานของแต่ละโครงการหรือกิจกรรม** (2) ผลการใช้จ่ายงบประมาณที่ใช้ดำเนินงานแต่ละโครงการหรือกิจกรรม** * กรณีการดำเนินโครงการหรือกิจกรรมที่ไม่ใช้งบประมาณ ให้แสดงให้เห็นว่าการดำเนินโครงการหรือกิจกรรมนั้น ๆ ไม่ใช้งบประมาณ โดยไม่มีการเว้นว่างข้อมูลไว้ ** กรณีโครงการหรือกิจกรรมที่ยังไม่ได้ดำเนินการ หรือมีการยกเลิกการดำเนินการ หรืออยู่ระหว่างการดำเนินการแต่ยังไม่มีการเบิกจ่ายงบประมาณ ให้แสดงให้เห็นว่ายังไม่ได้ดำเนินการ ดำเนินการ หรือมีการยกเลิกการดำเนินการ หรืออยู่ระหว่างการดำเนินการแต่ยังไม่มีการเบิกจ่ายงบประมาณ โดยไม่มีการเว้นว่างข้อมูลไว้ แผนและความก้าวหน้าในการดำเนินงานและการใช้งบประมาณประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 ของกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม
30 มิ.ย. 2020
รายงานการกำกับติดตามการการใช้จ่ายงบประมาณประจำปี รอบ 6 เดือน
รายงานผลความก้าวหน้าในการดำเนินงานตามแผนดำเนินงานประจำปีในข้อ o11 ซึ่งมีเนื้อหาหรือรายละเอียดความก้าวหน้า อย่างน้อยประกอบด้วย (1) ความก้าวหน้าการดำเนินการแต่ละโครงการ/กิจกรรม (2) รายละเอียดงบประมาณที่ใช้ดำเนินงานแต่ละโครงการ/กิจกรรม โดยสามารถจัดทำข้อมูลเป็นแบบรายเดือน หรือรายไตรมาส หรือราย 6 เดือน ที่มีข้อมูลครอบคลุมในระยะเวลา 6 เดือนแรกของปี พ.ศ. 2566 รายงานผลการปฏิบัติงานและการใช้จ่ายงบประมาณ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 (ไตรมาสที่ 1 และ ไตรมาสที่ 2) รายงานผลการปฏิบัติงานและการใช้จ่ายงบประมาณ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 (ไตรมาสที่ 1 และ ไตรมาสที่ 2) รายงานผลการปฏิบัติงานและการใช้จ่ายงบประมาณ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 (ไตรมาสที่ 1 และ ไตรมาสที่ 2) รายงานผลการปฏิบัติงานและการใช้จ่ายงบประมาณ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 (ไตรมาสที่ 1 และ ไตรมาสที่ 2)
30 มิ.ย. 2020
รายงานผลการดำเนินงานประจำปี
- แสดงผลการดำเนินงานตามแผนดำเนินงานประจำปี พ.ศ. 2567 ที่มีรายละเอียดอย่างน้อยประกอบด้วย (1) ผลการดำเนินงานของแต่ละโครงการหรือกิจกรรม (2) งบประมาณที่ได้รับจัดสรรแต่ละโครงการหรือกิจกรรม* (3) ผลการใช้จ่ายงบประมาณที่ใช้ดำเนินงานแต่ละโครงการหรือกิจกรรม** (4) ช่วงระยะเวลาในการดำเนินงานแต่ละโครงการหรือกิจกรรม รายงานผลการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติงาน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567
30 มิ.ย. 2020