Category
รมว. สุริยะ ให้เกียรติกล่าวต้อนรับในกิจกรรม Business Matching หวังเชื่อมสัมพันธ์ธุรกิจไทย-ญี่ปุ่นในอนาคต
กรุงเทพฯ 18 พฤศจิกายน 2562 - นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ให้เกียรติกล่าวต้อนรับในกิจกรรมจับคู่ธุรกิจ (Business Matching ) ซึ่งจัดขึ้นภายใต้งานสัมมนาเจรจาจับคู่ธุรกิจ “The 4th Business Connecting 2019” หัวข้อ “ยุทธศาสตร์ไทยแลนด์พลัสวัน สู่ความเป็นไปได้ทางความร่วมมือ ระหว่างผู้ประกอบการไทยและญี่ปุ่น” โดยมี นายณัฐพล รังสิตพล อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม นายมาซาฮิโกะ โฮซากะ ประธาน Tokyo SME Support Center ประจำประเทศญี่ปุ่น นายภาสกร ชัยรัตน์ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม นางสาวสุชาดา แทนทรัพย์ โฆษกกระทรวงอุตสาหกรรม ผู้บริหารหน่วยงานภาครัฐและเอกชน และผู้ประกอบการไทยและญี่ปุ่น เข้าร่วมงาน ณ ห้องฟูจิ โรงแรมนิกโก้ ประเทศญี่ปุ่น ถือเป็นพันธมิตรทางเศรษฐกิจที่สำคัญของประเทศไทย ที่มีความสัมพันธ์อันดีต่อกันในหลาย ๆ ด้าน ทั้งด้านการค้า การลงทุน และอุตสาหกรรม นำไปสู่การลงนามบันทึกความเข้าใจ (MOU) ร่วมกับศูนย์ส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งมหานครโตเกียว หรือ Tokyo SME Support Center เพื่อความร่วมมือด้านการพัฒนาอุตสาหกรรมระหว่างไทย-ญี่ปุ่น และเปิดสำนักงานขึ้นในประเทศไทย เมื่อเดือนพฤษภาคม ปี พ.ศ. 2558 ซึ่งในปี พ.ศ. 2562 นี้ กลุ่มนักลงทุนชาวญี่ปุ่น ยังคงเป็นอันดับ 1 ในการลงทุนโดยตรงจากต่างชาติ หรือ FDI (Foreign Direct Investment) ที่มีการยื่นขอ BOI กว่า 59,000 ล้านบาท หรือ คิดเป็นร้อยละ 24 ของจำนวนโครงการลงทุนต่างชาติทั้งหมด ทั้งนี้ กระทรวงอุตสาหกรรมยังมีเป้าหมายสำคัญที่จะเชื่อมโยงความร่วมมือในด้านการพัฒนาอุตสาหกรรม และการรับฟังความคิดเห็นจากภาคอุตสาหกรรม เพื่อนำมาปรับปรุงนโยบายการส่งเสริมการลงทุนให้ตรงกับความต้องการของนักลงทุนชาวญี่ปุ่น โดยกิจกรรม Business Matching นับเป็นโอกาสอันดีที่ผู้ประกอบการทั้ง 2 ฝั่ง จะได้มีโอกาสมาเจอกันเพื่อเชื่อมโยงธุรกิจระหว่างกัน และต่อยอดไปสู่การเชื่อมโยงกันในอนาคต ทั้งนี้ มีผู้ประกอบการไทยและญี่ปุ่น จำนวน 25 บริษัท มาร่วมเจรจาจับคู่ธุรกิจกับผู้เข้าร่วมงานกว่า 300 ราย และคาดว่าจะก่อให้เกิดการเจรจาธุรกิจระหว่างกันกว่า 100 คู่ ### PR.DIP (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม) รายงาน /ภาพข่าว
19 พ.ย. 2019
กสอ. ผนึกกำลัง ศูนย์ส่งเสริมเอสเอ็มอีแห่งมหานครโตเกียว ติวเข้ม SMEs ไทย พร้อมเชื่อมโยงธุรกิจไทย-ญี่ปุ่น คาดเกิดการจับคู่กว่า 100 คู่
กรุงเทพฯ 18 พฤศจิกายน 2562 - นายณัฐพล รังสิตพล อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม เป็นประธานเปิดงานสัมมนาเจรจาจับคู่ธุรกิจ “The 4th Business Connecting 2019” หัวข้อ “ยุทธศาสตร์ไทยแลนด์พลัสวัน สู่ความเป็นไปได้ทางความร่วมมือ” โดยมี นายมาซาฮิโกะ โฮซากะ ประธาน Tokyo SME Support Center ประจำประเทศญี่ปุ่น กล่าวสุนทรพจน์ นายอซึชิ ทาเคทานิ ประธานองค์การส่งเสริมการค้าต่างประเทศของญี่ปุ่น กรุงเทพฯ หรือ เจโทร กล่าวต้อนรับ ร่วมด้วย นายภาสกร ชัยรัตน์ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม นายสรกิจ มั่นบุปผาชาติ คณะกรรมการบริหารสถาบันวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมอุตสาหกรรมการผลิต (SMI) ผู้บริหารหน่วยงานภาครัฐและเอกชน และผู้ประกอบการไทยและญี่ปุ่น เข้าร่วมงานดังกล่าว ณ ห้องฟูจิ โรงแรมนิกโก้ การจัดสัมมนาในครั้งนี้ เป็นความร่วมมือระหว่าง กระทรวงอุตสาหกรรม โดยกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กสอ.) กับ ศูนย์ส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งมหานครโตเกียว (Tokyo SME Support Center) จัดขึ้นต่อเนื่องเป็นปีที่ 4 เพื่อเน้นย้ำถึงความสำคัญในการสร้างความร่วมมือทางธุรกิจของทั้งสองประเทศ รวมถึงมุ่งส่งเสริมความร่วมมือในธุรกิจอุตสาหกรรมผู้ผลิตชิ้นส่วนในประเทศ CLM โดยมีประเทศไทยเป็นศูนย์กลางของการทำธุรกิจ เนื่องด้วย supply chain ของอุตสาหกรรมการผลิตในประเทศดังกล่าวยังขาดความพร้อมด้านเทคโนโลยีและทักษะงานช่าง จึงมีความเหมาะสมที่จะพัฒนาเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจของทุกประเทศให้มีความมั่นคงและยั่งยืนต่อไป ทั้งนี้ ภายในงานแบ่งออกเป็น 2 ช่วง ประกอบด้วย ช่วงที่ 1 เป็นการสัมมนาสรุปผลการสำรวจโอกาสทางธุรกิจในพื้นที่เศรษฐกิจของประเทศ กัมพูชา ลาว และพม่า ภายใต้การบรรยายหัวข้อ "บริษัทไทยและญี่ปุ่นควรร่วมมือกันอย่างไรในการพัฒนาธุรกิจอย่างมีประสิทธิภาพ โดยใช้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางของ CLM" โดย บริษัท เอ็นอาร์ไอ คอนซัลติ้ง แอนด์โซลูชั่น (ไทยแลนด์) จำกัด และการบรรยายพิเศษในหัวข้อ "ยุทธศสตร์ไทยแลนด์พลัสวัน" โดย บริษัท เด็นโซ่ อินเตอร์นชั่นแนล เอเชีย จำกัด มาร่วมแชร์ประสบการณ์การทำธุรกิจทั้งในประเทศไทย กัมพูชา และพม่า นอกจากนี้ ช่วงที่ 2 เป็นการเปิดเวทีให้กับผู้ประกอบการไทยและญี่ปุ่น จำนวน 25 บริษัท ได้ทำการเจรจาจับคู่ธุรกิจกับผู้เข้าร่วมงานกว่า 300 ราย และคาดว่าจะก่อให้เกิดการเจรจาธุรกิจระหว่างกันกว่า 100 คู่ ### PR.DIP (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม) รายงาน /ภาพข่าว
19 พ.ย. 2019
“อธิบดีณัฐพล นำคณะผู้บริหาร กสอ. มอบของรางวัลให้กับประชาชนที่มาร่วมสนุกกับร้านกระทรวงอุตสาหกรรมในงานกาชาด ประจำปี 2562
กรุงเทพฯ 17 พฤศจิกายน 2562 - นายณัฐพล รังสิตพล อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม พร้อมด้วย นายเจตนิพิฐ รอดภัย เลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กสอ.) นายวิจักขณ์ รัตนสุวรรณ ผู้อำนวยการกองส่งเสริมผู้ประกอบการและธุรกิจใหม่ กสอ. และนายนฤบดินทร์ วุฒิวรรณ ผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กสอ. เยี่ยมชมและให้กำลังใจการทำงานของเจ้าหน้าที่กระทรวงอุตสาหกรรม พร้อมทั้งมอบของรางวัลให้กับประชาชนที่มาร่วมสนุกกับร้านกระทรวงอุตสาหกรรมในงานกาชาด ประจำปี 2562 ณ ร้านกระทรวงอุตสาหกรรม โซน 3 สวนลุมพินี ปทุมวัน สำหรับกระทรวงอุตสาหกรรมเป็น 1 ในหน่วยงานภาครัฐที่ได้ร่วมออกร้านงานกาชาดเป็นประจำทุกปี และในปีนี้ได้ร่วมออกร้านกระทรวงอุตสาหกรรมในงานกาชาด ประจำปี 2562 ภายใต้แนวคิด “อุตสาหกรรมร่วมสืบสาน สายธารการให้ที่งดงาม”โดยมีกิจกรรม “จับ แจก จริง”กับเกมกระสวยอวกาศที่ให้ประชาชนร่วมทำบุญและลุ้นรับรางวัลชิ้นใหญ่ และกิจกรรมความบันเทิงมากมาย ๆ กับร้านกระทรวงอุตสาหกรรม ระหว่างวันที่ 15 - 24 พฤศจิกายนนี้ ตั้งแต่เวลา 10.30 - 22.00 น. ณ บูทที่ 3.4 โซน 3 สวนลุมพินี ประตู 1 (ฝั่งถนนวิทยุ) ปทุมวัน นอกจากนี้ ยังพบกับนิทรรศการ การออกร้านของหน่วยงานภาครัฐและเอกชนที่มาร่วมทำบุญส่งต่อการให้ที่งดงามกับสภากาชาดไทย ตลอด 10 วัน 10 คืน เที่ยวสนุก สุขใจ ได้กุศล รายได้โดยเสด็จพระราชกุศลบำรุงสภากาชาดไทย ### PR.DIP (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม) รายงาน /ภาพข่าว
18 พ.ย. 2019
โครงการสินเชื่อ SME โตไว ไทยยั่งยืน ภายใต้กองทุนพัฒนาเอสเอ็มอีตามแนวประชารัฐ
โครงการสินเชื่อ SME โตไว ไทยยั่งยืน ภายใต้กองทุนพัฒนาเอสเอ็มอีตามแนวประชารัฐ วงเงิน 3,000 ล้านบาท จัดทำขึ้นเพื่อช่วยเหลือให้เอสเอ็มอีปรับตัวเข้าสู่ยุค 4.0 ได้อย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน โดยมีการขยายกลุ่มเป้าหมายเอสเอ็มอีที่หลากหลายขึ้น จากเดิมเมื่อปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 ที่ผ่านมา จะเน้นเอสเอ็มอีที่อยู่ในกลุ่ม S-Curve ขณะที่ในปีงบประมาณ พ.ศ.2563 นี้ จะเปิดโอกาสให้ผู้กู้ในกลุ่มที่หลากหลายขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ รวมถึงผู้ประกอบการที่ต้องการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการปรับปรุงกิจการ เพื่อเป็นการขับเคลื่อนและพัฒนาเอสเอ็มอีเปลี่ยนผ่านสู่ยุค 4.0 วัตถุประสงค์และเงื่อนไขสินเชื่อ เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้กู้รายใหม่ได้เข้าถึงแหล่งเงินทุน เพื่อนำเงินไปลงทุนขยายและปรับปรุงกิจการ โดยสามารถกู้ได้สูงสุดไม่เกิน 3 ล้านบาท ระยะเวลากู้สูงสุดไม่เกิน 7 ปี ปลอดชำระคืนเงินต้นสูงสุดไม่เกิน 1 ปี อีกทั้งยังสามารถนำมาเป็นเงินทุนหมุนเวียนได้ด้วยในเงื่อนไข ไม่เกินร้อยละ 50 ของวงเงินอนุมัติ เปิดรับคำขอทั่วประเทศตั้งแต่วันที่ 15 พ.ย. 62 เป็นต้นไป คุณสมบัติผู้กู้ เป็นเอสเอ็มอีที่มีศักยภาพ ภาคการผลิตสินค้า หรือการให้บริการ ภาคการค้าปลีก หรือการค้าส่ง เป็นนิติบุคคลสัญชาติไทย เฉพาะที่เป็นบริษัทจำกัด ห้างหุ้นส่วนจำกัด หรือห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล ซึ่งประกอบธุรกิจในกลุ่มดังนี้.- 1) กลุ่มธุรกิจเกษตรอุตสาหกรรม ธุรกิจเกษตรแปรรูป ประเภทอาหารและไม่ใช่อาหาร 2) กลุ่มผู้ผลิต หรือผู้ออกแบบ ธุรกิจอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ ได้แก่ ธุรกิจเพื่อสุขภาพ ธุรกิจภาพยนตร์ วีดีทัศน์ และทัศนศิลป์ ธุรกิจการกระจายเสียงและดนตรี ธุรกิจแฟชั่น เช่น สิ่งทอ เครื่องหนัง อัญมณีและเครื่องประดับ ธุรกิจการโฆษณา และธุรกิจซอฟต์แวร์ 3) ธุรกิจที่จะใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการปรับปรุงกิจการ เช่น เครื่องมือ เครื่องจักร อุปกรณ์ที่ควบคุมด้วยระบบซอฟต์แวร์ หรือ ระบบอัตโนมัติ **ผู้กู้ต้องไม่อยู่ระหว่างการได้รับความช่วยเหลือด้านการเงินจากกองทุนหมุนเวียนที่ได้ดำเนินการอยู่แล้ว อาทิ กองทุนส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในโครงการเงินทุนพลิกฟื้นวิสาหกิจขนาดย่อม, กองทุนส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในการดำเนินการตามมาตรการฟื้นฟูกิจการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม, เงินทุนหมุนเวียนเพื่อการส่งเสริมอาชีพอุตสาหกรรมในครอบครัวและหัตถกรรมไทย, สินเชื่อกองทุนพัฒนาเอสเอ็มอีตามแนวประชารัฐ, โครงการฟื้นฟูและเสริมศักยภาพวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมสำหรับ SMEs-คนตัวเล็ก และโครงการสนับสนุน SMEs รายย่อย ผ่านกองทุนส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม 1. อาคารกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ชั้น 6 กระทรวงอุตสาหกรรม ถนนพระรามที่ 6 2. สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดทั่วประเทศ 3. เว็บไซต์ www.smessrc.com
15 พ.ย. 2019
อายุน้อยร้อยล้าน แคมเปญพิเศษ OTOP TOP THAILAND ของดีวิถีไทย
อายุน้อยร้อยล้าน แคมเปญพิเศษ OTOP TOP THAILAND ของดีวิถีไทย เสาร์นี้ ห้ามพลาด‼️ ผ้าพิมพ์เทียน ลวดลายไทย สร้างรายได้ปีละ 15 ล้าน‼️ ไปไหมงามงอน ไปเที่ยวอุดรบ้านพี่...จะพาน้องไปเจอของดีเมืองนี้กันจ้า พบกับผ้าย้อมครามพิมพ์เทียน ต.บ้านผือ ภูมิปัญญาจากคุณแม่ พัฒนากลายมาเป็นผ้าพิมพ์เทียนลวดลายร่วมสมัย????ตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์คนรุ่นใหม่ สร้างรายได้ 15 ล้านบาทต่อปี และพบกับผลิตภัณฑ์น้ำหมักเอนไซม์ จากสมุนไพรพื้นบ้านของไทยกว่า 50 ชนิด แปรรูปกลายเป็นผลิตภัณฑ์ที่สร้างรายได้ให้ชุมชนปีละ 2,400,000 บาท วันเสาร์ที่ 16 พฤศจิกายน 2562 เวลา 09.05 น. ช่องเวิร์คพอยท์ 23
14 พ.ย. 2019
“อธิบดีณัฐพล” พร้อมคณะผู้บริหาร กสอ. ตรวจเยี่ยมและมอบนโยบายแก่ ข้าราชการ พนักงาน และลูกจ้าง ศภ.8 กสอ. เน้นการทำงานให้เกิดประสิทธิผลมากยิ่งขึ้น
จ.สุพรรณบุรี 12 พฤศจิกายน 2562 (เวลา 15.00 น.) - นายณัฐพล รังสิตพล อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (อสอ.) พร้อมด้วย นายภาสกร ชัยรัตน์ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม และคณะผู้บริหารกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ตรวจเยี่ยมและติดตามผลการดำเนินงาน พร้อมทั้งมอบนโยบายการขับเคลื่อน SMEs และวิสาหกิจชุมชนให้แก่ ข้าราชการ พนักงาน และเจ้าหน้าที่ของศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 8 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม จ.สุพรรณบุรี (ศภ.8 กสอ.) โดยมีนางสาวหนึ่งหทัย ธรรมพิทักษ์ ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 8 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (ศภ.8 กสอ.) และเจ้าหน้าที่ให้การต้อนรับ ณ ห้องประชุมศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 8 อ.เมือง ในโอกาสนี้ อสอ.ณัฐพล ได้รับฟังแนวทางการดำเนินงานและการให้บริการของ ศภ.8 กสอ. พร้อมทั้งรับฟังปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินงานที่ผ่านมา นอกจากนี้ ยังได้มอบนโยบายการดำเนินงานในปีงบประมาณ 2563 โดยมุ่งเน้นการดำเนินงานใน 3 ประเด็นสำคัญ ได้แก่ การส่งเสริมธุรกิจเกษตรอุตสาหกรรม การยกระดับการใช้ระบบดิจิทัล (Digital Transformation) และการพัฒนาเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (Creative Economy) รวมถึงมุ่งเน้นการเชื่อมโยงเครือข่ายกับหน่วยงานภาครัฐ-ภาคเอกชนที่เกี่ยวข้องในการบูรณาการการให้บริการผู้ประกอบและเน้นกระจายการให้บริการแก่ผู้ประกอบการให้ครอบคลุมหลากหลายในทุกมิติมากขึ้น นอกจากนี้ ยังได้เยี่ยมชมพื้นที่การทำงานของศูนย์ปฏิรูปอุตสาหกรรม 4.0 รวมถึงเยี่ยมชมการให้บริการเครื่องจักรและพบปะผู้ประกอบการที่ขอรับบริการเครื่องทอดระบบสุญญากาศเพื่อทดลองแปรรูปผลิตภัณฑ์สำหรับทดสอบตลาดและพัฒนาต่อยอดต่อไป พร้อมทั้งส่งมอบผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์ต้นแบบให้แก่ผู้ประกอบการที่ขอรับบริการด้านการออกแบบบรรจุภัณฑ์จาก ศภ.8 กสอ. ### PR.DIP (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม) รายงาน
13 พ.ย. 2019
“อสอ.ณัฐพล” นำคณะผู้บริหาร กสอ. ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมสถานประกอบการ ต้นแบบความสำเร็จธุรกิจชุมชน
จ.กาญจนบุรี 12 พฤศจิกายน 2562 - นายณัฐพล รังสิตพล อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม พร้อมด้วย นายภาสกร ชัยรัตน์ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ผู้แทนจาก บริษัทโตโยต้า มอร์เตอร์ ประเทศไทย และคณะผู้บริหารกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมสถานประกอบการที่ได้รับการส่งเสริม พัฒนา และสนับสนุนจาก ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 8 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กสอ.) โดยมี นางรสวรรณ จงไมตรีพร ประธานกลุ่มสตรีตำบลรางหวาย ให้การต้อนรับ พร้อมทั้งให้ข้อมูลและพาเยี่ยมชมการดำเนินงานของบริษัท และผู้แทนจาก บริษัทโตโยต้า มอร์เตอร์ ประเทศไทย ร่วมให้ข้อมูลณ บริษัทฮาร์ต สปอร์ตแวร์ จำกัด อำเภอพนมทวน บริษัท ฮาร์ต สปอร์ตแวร์ จำกัด เป็นผู้ผลิต ออกแบบ และจำหน่ายเสื้อยืดโปโล มียอดจำหน่ายตลาดในประเทศ 100% จำนวนกว่า 28 ล้าน บาท/ปี โดยจากเดิมบริษัทใช้ชื่อว่า Hart OTOP ซึ่งก่อตั้งขึ้นเพื่อพัฒนาอาชีพตัดเย็บเสื้อผ้าของกลุ่มสตรีใน ต.รางหวาย อ.พนมทวน จ.กาญจนบุรี ที่เริ่มจากการรวมตัวกันของกลุ่มสตรีเพียงไม่กี่คนและได้พัฒนางานมาเป็นธุรกิจโรงงานตัดเย็บเสื้อโปโลขยายใหญ่ขึ้นในปัจจุบัน ทั้งนี้ ที่ผ่านมาบริษัทได้รับการส่งเสริมและสนับสนุนจาก ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 8 จ.สุพรรณบุรี กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (ศภ.8 กสอ.) ผ่านโครงการและกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อยกระดับและเพิ่มศักยภาพในการประกอบธุรกิจ ซึ่งล่าสุดในปี พ.ศ. 2562 ได้เข้าร่วมโครงการส่งเสริมผลิตภาพและสุขภาวะองค์กรในวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SHAP) กับทาง ศภ.8 กสอ. กสอ. โดยร่วมมือกับ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ในการเพิ่มผลิตภาพที่มีคนเป็นศูนย์กลาง ซึ่งถือเป็นปัจจัยหนึ่งที่ขับเคลื่อนองค์กรใหญ่เติบโตอย่างมีคุณภาพและเป็นองค์กรแห่งความสุข นอกจากนี้ ยังเข้าร่วมโครงการโตโยต้าธุรกิจชุมชนพัฒน์ ของ บริษัทโตโยต้า มอร์เตอร์ ประเทศไทย เพื่อดูแลจัดการให้มีระบบการผลิตการบริหารการจัดการที่ดีด้วยการผลิตที่มีคุณภาพใส่ใจการผลิตทุกขั้นตอน รวมทั้งได้รับคัดเลือกให้เป็นศูนย์การเรียนรู้แห่งแรก เพื่อถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์แก่ธุรกิจชุมชนรายอื่น ๆ มุ่งสู่ความยั่งยืน ซึ่งปัจจุบันสามารถพัฒนาธุรกิจที่สามารถดำเนินงานตาม 4 แนวทางหลักของโตโยต้า ได้แก่ 1.รู้ รู้ปัญหาในทุกกระบวนการภายใต้หลัก Toyota Production System (TPS) 2.เห็น เห็นแนวทางการแก้ไขตามหลักไคเซน (Kaizen) 3.เป็น ทำเป็นด้วยตัวเองตามหลักไคเซนและพอเพียง 4.ใจ เข้าใจ ถูกใจ ใส่ใจ ตามหลักปรัชญาลูกค้าเป็นที่หนึ่ง ### PR.DIP (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม) รายงาน
13 พ.ย. 2019
“อสอ.ณัฐพล” ร่วมคณะ “รมว.สุริยะ” ลงพื้นที่บ้านหัวเขาจีน รุดผลักดันอัตลักษณ์ท้องถิ่น เสริมแกร่งชุมชน อัพเกรดขึ้นแท่น CIV หวังสร้างรายได้ให้ชุมชนอย่างยั่งยืน
จ.ราชบุรี 11 พฤศจิกายน 2562 - นายณัฐพล รังสิตพล อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม พร้อมด้วย นายภาสกร ชัยรัตน์ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม และคณะผู้บริหารกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กสอ.) ร่วมคณะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม (นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ) ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมหมู่บ้านอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ (CIV) ร่วมด้วย นายธีระยุทธ วานิชชัง ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงอุตสาหกรรม นายสุชาติ ไตรแสงรุจิระ ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่ากระทรวงอุตสาหกรรม นายภิรมย์ พลวิเศษ เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม นายกอบชัย สังสิทธิสวัสดิ์ ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม และคณะผู้บริหารกระทรวงอุตสาหกรรม โดยมี นางวีณา สุขอยู่ เลขานุการวิสาหกิจชุมชนผ้าทอไทยทรงดำบ้านหัวเขาจีน ให้การต้อนรับและพาเยี่ยมชมชุมชนดังกล่าว “ชุมชนบ้านหัวเขาจีน” เป็น 1 ใน 215 ชุมชน ที่ทางกระทรวงอุตสาหกรรม โดย กองพัฒนาอุตสาหกรรมชุมชนและศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 8 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กสอ.) ให้การส่งเสริม พัฒนา และสนับสนุนเป็น“หมู่บ้านอุตสาหกรรมสร้างสรรค์” (Creative Industry Village : CIV) หรือ “หมู่บ้าน CIV” ชุมชนดังกล่าวยังคงรักษาและอนุรักษ์ประเพณี วัฒนธรรมที่โดดเด่น ภาษาพูด การแต่งกาย การประกอบ อาชีพ และการดำรงชีวิตแบบดั้งเดิมของชาวบ้านไทยทรงดำไว้อย่างเหนียวแน่น จนได้รับการคัดเลือกให้เป็นหมู่บ้าน OTOP เพื่อการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของจังหวัดราชบุรี นอกจากนี้ ชาวบ้านยังคงดำรงประเพณีการทอผ้า ซึ่งมีผ้าซิ่นลายแตงโมทอมือเป็นเอกลักษณ์ของชุมชน โดยมีกลุ่มสตรีทอผ้าไทยทรงดำที่เกิดขึ้นจากการรวมกลุ่มของสตรีที่มีความรู้และความสามารถในการทอผ้า ซึ่งเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่น นอกจากนี้ ยังมีประเพณีและขนบธรรมเนียมที่สะท้อนถึงอัตลักษณ์ของชุมชน อาทิ การแสดงอิ้นกลอน ฟ้อนแกรน ซึ่งเป็นการรำท่วงท่าทำนองของชาวไทยทรงดำที่สื่อถึงการสืบทอดประเพณีวัฒนธรรมที่อ่อนช้อย พิธีเรียกขวัญ ซึ่งเป็นพิธีกรรมที่ชาวไทยทรงดำไว้ใช้เรียกขวัญผู้มาเยือน เพื่อเป็นการปัดเป่าสิ่งไม่ดีออกจากตัวและให้พบแต่สิ่งดีในชีวิต อีกทั้ง ยังมีโฮมสเตย์บ้านพักสไตล์ไทยทรงดำพร้อมชุดเครื่องนอน และสิ่งอำนวยความสะดวกแบบครบครัน กระทรวงอุตสาหกรรม โดย กองพัฒนาอุตสาหกรรมชุมชนและศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 8 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กสอ.) ได้ให้การส่งเสริมการพัฒนาผลิตภัณฑ์โดยต่อยอดภูมิปัญญาดั้งเดิม สะท้อนให้เห็นอัตลักษณ์ของชาวไทยทรงดำโดยการนำเอาลักษณะเด่นและลวดลายมาต่อยอดเป็นผลิตภัณฑ์ที่ตรงต่อความต้องการของผู้บริโภคและผลิตได้ในชุมชน อาทิ ชุดเสื้อผ้าสตรี สร้อยคอ ต่างหู ของที่ระลึก รวมทั้งการพัฒนามาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน (มผช.) สามารถสร้างรายได้จากการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ ประมาณ 270,000 – 300,000 บาท ต่อเดือน ### PR.DIP (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม) รายงาน
13 พ.ย. 2019
เจ้าหน้าที่ศูนย์วิจัยและพัฒนาวัสดุอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ ลงพื้นที่และประชุมปรึกษาหารือ แลกเปลี่ยนความคิดเห็น ร่วมกับหัวหน้าชุดปฏิบัติการโครงการพระราชดำริทุ่งจี้
นายสิงห์คำ อายะชู ผกพ.ศว.กสอ. พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่ ศูนย์วิจัยและพัฒนาวัสดุอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ ลงพื้นที่และประชุมปรึกษาหารือ แลกเปลี่ยนความคิดเห็น ร่วมกับหัวหน้าชุดปฏิบัติการโครงการพระราชดำริทุ่งจี้ ตำบลทุ่งกว๋าว อำเภอเมืองปาน จังหวัดลำปาง เพื่อร่วมวางแผนแนวทางการดำเนินงานกิจกรรมการยกระดับศักยภาพวิสาหกิจชุมชนสู่การเป็นผู้ประกอบการมืออาชีพ (พระราชดำริ)
12 พ.ย. 2019
ขอเชิญผู้ประกอบการเข้าร่วมกิจกรรมการพัฒนาผลิตภัณฑ์ด้วยสารสกัดธรรมชาติ
วัตถุประสงค์ 1. เพื่อคัดเลือกสารสกัดธรรมชาติที่มีคุณภาพไปประยุกต์ใช้ในผลิตภัณฑ์ 2. เพื่อพัฒนาและเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง หรืออุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องด้วยสารสกัดธรรมชาติสู่การผลิตเชิงพาณิชย์ กลุ่มเป้าหมายวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ในอุตสาหกรรมเกษตรแปรรูป อุตสาหกรรมเครื่องสำอางหรืออุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง เกณฑ์การพิจารณา 1. สถานประกอบการมีระบบมาตรฐานและมีผลิตภัณฑ์มานำเสนอ 2. สถานประกอบการอยู่ในพื้นที่ กทม.หรือปริมณฑล สิทธิประโยชน์ (สำหรับผู้ที่ผ่านการคัดเลือก) 1. ได้ผลิตภัณฑ์จากสารสกัดธรรมชาติจากผู้เชี่ยวชาญ 1 ผลิตภัณฑ์ ต่อ 1 กิจการ 2. การรับคำแนะนำ และปรึกษาเกี่ยวกับการพัฒนาผลิตภัณฑ์จากผู้เชี่ยวชาญ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม กลุ่มพัฒนาอุตสาหกรรมรายสาขา กองพัฒนาขีดความสามารถธุรกิจอุตสาหกรรม อภิรักษ์ รักท้วม วรวรรณ พงษ์ขจรธน โทรศัพท์ 0 2354 3400, 0 2202 4534 มือถือ 063 273 4398 โทรสาร 0 2202 4527, 0 2354 0308 เฟสบุ๊ค @dbcd.dip2019
12 พ.ย. 2019