Category
"รสอ.ดวงดาว" ลงพื้นที่ บริษัท ไทยคิงดอม แอดไวเซอร์ จำกัด ติดตามการดำเนินงานของดีพร้อม
จ.ภูเก็ต 25 กรกฎาคม 2567 - นางดวงดาว ขาวเจริญ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ลงพื้นที่ติดตามการดำเนินโครงการของดีพร้อม ร่วมด้วย นางเกษราภรณ์ โกวิทลวากุล ผู้อำนวยการกองยุทธศาสตร์และแผนงาน นางสาวอังสนา โสมาภา ผู้อำนวยการกองพัฒนาอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ นายอาทิตย์ พัฒนพงศ์ชัย ผู้อำนวยการกองพัฒนาดิจิทัลอุตสาหกรรม ณ บริษัท ไทยคิงดอม แอดไวเซอร์ จำกัด ตำบลรัษฏา อำเภอเมืองภูเก็ต การลงพื้นที่ในครั้งนี้ เป็นการติดตามโครงการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของวิสาหกิจไทยด้วยดิจิทัล ผ่านกิจกรรมเพาะเมล็ดกล้าด้านการตลาดดิจิทัลให้ดีพร้อม ซึ่งเป็นการฝึกอบรมเฉพาะทาง เพื่อเพิ่มความเชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีดิจิทัลให้กับผู้ประกอบการในหัวข้อที่เกี่ยวข้องกับตลาดออนไลน์ ชึ่งจากการที่ บริษัท ไทยคิงดอม แอดไวเซอร์ จำกัด เข้าร่วมกิจกรรมดังกล่าว ทำให้ผู้ประกอบการได้รับองค์ความรู้ในการทำคอนเทนต์ เว็บไซต์ ถ่ายภาพวิดีโอ พร้อมทั้งผู้ประกอบการสามารถนำองค์ความรู้ที่ได้รับไปต่อยอดสู่การเป็น ที่ปรึกษาอุตสาหกรรม (Service Provider :SP) ในด้านการตลาด แบรนด์ กลยุทธ์การพัฒนาทั้งธุรกิจบริการและธุรกิจสินค้าทั่วไป
13 ส.ค 2024
"รสอ.ดวงดาว" ลงพื้นที่ ห้างหุ้นส่วนจำกัด เอกกุลทรัพย์ ติดตามการดำเนินงานของดีพร้อม
จ.ภูเก็ต 25 กรกฎาคม 2567 - นางดวงดาว ขาวเจริญ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ลงพื้นที่ติดตามการดำเนินโครงการของดีพร้อม ร่วมด้วย นางเกษราภรณ์ โกวิทลวากุล ผู้อำนวยการกองยุทธศาสตร์และแผนงาน นางสาวอังสนา โสมาภา ผู้อำนวยการกองพัฒนาอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ นายอาทิตย์ พัฒนพงศ์ชัย ผู้อำนวยการกองพัฒนาดิจิทัลอุตสาหกรรม ณ ห้างหุ้นส่วนจำกัด เอกกุลทรัพย์ ตำบลตลาดใหญ่ อำเภอเมืองภูเก็ต การลงพื้นที่ในครั้งนี้ เป็นการติดตามโครงการสร้างและพัฒนาธุรกิจอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ ผ่านกิจกรรมยกระดับการออกแบบผลิตภัณฑ์สร้างสรรค์ (Creative Product Design) เป็นการพัฒนาต้นแบบผลิตภัณฑ์สร้างสรรค์ให้ตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค และการสร้างอัตลักษณ์ของผลิตภัณฑ์ ซึ่งจากการเข้าร่วมกิจกรรมทำให้ ห้างหุ้นส่วนจำกัด เอกกุลทรัพย์ ซึ่งเป็นผู้ประกอบกิจการจำหน่ายอาหารและเครื่องดื่ม ชา กาแฟ ร้านโกปี๊ เดอ ภูเก็ต (KOPI DE PHUKET) ได้รับองค์ความรู้ในการออกแบบเชิงสร้างสรรค์ พร้อมทั้งเกิดการพัฒนาต้นแบบผลิตภัณฑ์ แก้วกาแฟโบราณ ที่เป็นการดึงเอาอัตลักษณ์ของร้านกาแฟ ผสมผสานกับจุดเด่นของเมืองภูเก็ต ทำให้แก้วกาแฟโบราณกลายเป็นของฝาก ของที่ระลึกประจำร้านโกปี๊ เดอ ภูเก็ต (KOPI DE PHUKET)
13 ส.ค 2024
รัฐมนตรีฯ พิมพ์ภัทรา ยกทัพทีม อก. เปิดตัวนิคมฯ Circular พร้อมสร้างความร่วมมือนักลงทุนญี่ปุ่น สร้าง Supply chain สู่เป้าหมาย Zero waste
กรุงเทพฯ 25 กรกฎาคม 2567 - นางสาวพิมพ์ภัทรา วิชัยกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม นำคณะผู้บริหารกระทรวงอุตสาหกรรม (อก.) และการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) ประชุมแนวทางความร่วมมือและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ปัจจัยความสำเร็จในการพัฒนาอุตสาหกรรมรีไซเคิลของ Kitakyushu Eco-town กับคุณ Akitoshi KANEO ผู้อำนวยการสำนักสิ่งแวดล้อม เทศบาลเมืองคิตะคิวชู และคุณ Junichi SONO ผู้จัดการสำนักส่งเสริมการเติบโตสีเขียว โดยมี นายดนัยณัฏฐ์ โชคอำนวย ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม นายชยงการ ภมรมาศ คณะทำงานรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม นางวรวรรณ ชิตอรุณ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม นายภาสกร ชัยรัตน์ อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม นายภานุวัฒน์ ตริยางกูรศรี ที่ปรึกษาของกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม นายโกศล สถิตธรรมจิตร กงสุลใหญ่ ณ เมืองฟูกูโอกะ นายกิตติพันธุ์ บางยี่ขัน อัครราชทูตที่ปรึกษา (ฝ่ายอุตสาหกรรม) ประจำกรุงโตเกียว นางนิภา รุกขมธุร์ รองผู้ว่าการสายงานยุทธศาสตร์ นางบุปผา กวินวศิน รองผู้ว่าการสายงานพัฒนาที่ยั่งยืน นางปนัดดา เย็นตระกูล ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายงานยุทธศาสตร์ และผู้บริหารการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ร่วมประชุม ณ สถานกงสุลใหญ่ ณ เมืองฟูกูโอก โดยทาง อก. และ กนอ. ได้ศึกษาปัจจัยความสำเร็จในการทำ Eco-town เพื่อนำมาใช้เป็นแนวทางในการบูรณาการความร่วมมือจากภาคส่วนต่างๆ ในการพัฒนานิคม Circular โดยภาครัฐมีการช่วยสนับสนุนผู้ประกอบการกลุ่มแรกที่เข้ามาประกอบกิจการในอุตสาหกรรมรีไซเคิล เพื่อให้เกิดการดึงดูดการลงทุนในพื้นที่ และมีกฎหมายกำหนดให้ผลิตภัณฑ์ต่างๆ เช่น เครื่องใช้ไฟฟ้า รถยนต์ หลอดไฟ จะต้องนำกลับมารีไซเคิล ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของปัจจัยความสำเร็จของ Eco-town ดังกล่าว ทั้งนี้ทางสถานกงสุลใหญ่ ณ เมืองฟูกูโอกะ และ กนอ. อยู่ระหว่างการหารือความร่วมมือกับเทศบาลเมืองฟูกูโอกะ และเทศบาลเมืองคิตะคิวชู เพื่อดำเนินโครงการพัฒนาศักยภาพของบุคลากรและการแลกเปลี่ยนเทคโนโลยีและนวัตกรรมในการบริหารจัดการวัสดุ ตามแนวทาง Circular Economy เพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับการพัฒนานิคม Circular ต่อไป ต่อมา เวลา 11.00 น. รัฐมนตรีฯ พิมพ์ภัทรา และคณะ เข้ารับฟังการบรรยายและเยี่ยมชมกระบวนการรีไซเคิลแผ่นโซล่าเซลล์ ชนิด Crystal silicon ของบริษัท Recycle-Tech โดยการเผาแผงโซล่าเซลล์ด้วยอุณหภูมิสูง เพื่อแยกวัสดุและสารเคมีประเภทต่างๆ ออกจากกัน โดยก๊าซที่เกิดจากการเผาสารเคมีจำพวกเรซินจะถูกรวบรวมวนกลับไปใช้เป็นเชื้อเพลิงสำหรับการเผาไหม้ วัสดุอื่นที่แยกออกมาได้ ประกอบด้วย เศษแก้ว ลวดทองแดง และ silicon cell ที่มีธาตุเงินเป็นองค์ประกอบ จะถูกส่งต่อไปใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตผลิตภัณฑ์อีกครั้ง โดยทางบริษัทฯ คาดการณ์ว่า ในปี ค.ศ. 2030 จะมีแผงโซล่าเซลล์ที่หมดอายุการใช้งานแล้วและนำเข้าสู่กระบวนการ recycle มากกว่า 200,000 แผงต่อปี ซึ่งมากกว่า 2 เท่าของกำลังการรีไซเคิลของบริษัทฯ ปัจจุบันจึงมีความจำเป็นต้องขยายกำลังการรีไซเคิลให้รองรับความต้องการในอนาคต ซึ่งข้อมูลดังกล่าวสอดคล้องกับความต้องการในประเทศไทย ที่จะต้องเตรียมความพร้อมเพื่อรองรับการจัดการแผงโซล่าเซลล์เช่นเดียวกับการพัฒนานิคมฯ circular และ supply chain ที่เกี่ยวข้อง เพื่อการจัดการแผงโซล่าเซลล์ที่หมดอายุการใช้งาน จึงเป็นประเด็นที่ กนอ. ให้ความสำคัญและเล็งเห็นถึงโอกาสทางธุรกิจที่จะเกิดขึ้นต่อไป
13 ส.ค 2024
"ดีพร้อม" อัพสกิลเกษตรกรสุพรรณฯ หนุน Smart Farm ประยุกต์ใช้ในสถานประกอบการ
จ.สุพรรณบุรี 25 กรกฎาคม 2567 – นายวาที พีระวรานุพงศ์ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ให้เกียรติเป็นประธานเปิดการอบรมเชิงปฏิบัติการด้าน Smart Farm และระบบอัตโนมัติต้นทุนต่ำ เพื่อเปลี่ยนชุมชนให้ดีพร้อม พร้อมด้วย ผู้แทนจากภาคีเครือข่าย คณะผู้บริหาร และเจ้าหน้าที่ดีพร้อม (DIPROM) โดยมี นายวิจักขณ์ รัตนสุวรรณ ผู้อำนวยการกองพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยีอุตสาหกรรม กล่าวรายงาน ณ โรงแรมสองพันบุรี อำเภอเมืองสุพรรณบุรี การอบรมฯ ดังกล่าว ได้มีการถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านการใช้ระบบเซ็นเซอร์อัจฉริยะที่ช่วยบันทึกข้อมูล เพื่อนำไปบริหารจัดการตรวจสอบความเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อม ให้สามารถวิเคราะห์ และสั่งการควบคุมระบบ พร้อมกันนี้ยังได้รับเกียรติจากวิทยากรจาก บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด มาร่วมแชร์ความรู้และประสบการณ์ ในการพัฒนากระบวนการทำงาน ให้สามารถนำไปพัฒนาต่อยอดกระบวนการทำงานทางการเกษตรให้สามารถลดเวลา ลดต้นทุน และเพิ่มคุณภาพได้ โดยมี กลุ่มเกษตรกร วิสาหกิจชุมชน ผู้ประกอบการที่ทำฟาร์มการเกษตร และผู้ที่มีความสนใจในการทำการเกษตรสมัยใหม่ในครั้งนี้ เข้าร่วมฝึกอบรมรวมกว่า 30 คน นอกจากนี้ ยังได้มีกิจกรรมศึกษาดูงานด้านการบริหารจัดการฟาร์มและทดลองติดตั้งระบบ Smart Farm ณ วิสาหกิจชุมชนเกษตรปลอดสารพิษสามชุกตลาดร้อยปี จังหวัดสุพรรณบุรี ช่วยจัดการในเรื่องของ อุณหภูมิ ตั้งเวลารดน้ำ แร่ธาตุ ความชื้นในดิน อัตราการให้น้ำ เพื่อไปพัฒนาและประยุกต์ใช้ในสถานประกอบการของตนเองต่อไป
13 ส.ค 2024
ปลัดฯ ณัฐพล นำทีมข้าราชการ อก. กล่าวถวายสัตย์ปฏิญาณเพื่อเป็นข้าราชการที่ดีและพลังของแผ่นดิน พร้อมลงนามถวายพระพร เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567
กรุงเทพฯ 25 กรกฎาคม 2567 - นายณัฐพล รังสิตพล ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม นำคณะผู้บริหาร ข้าราชการ พนักงานของกระทรวงอุตสาหกรรม ถวายสัตย์ปฏิญาณเพื่อเป็นข้าราชการที่ดีและพลังของแผ่นดินเนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567 โดยมีนายเอกภัทร วังสุวรรณ นายใบน้อย สุวรรณชาตรี นางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม นายเดชา จาตุธนานันท์ นายศุภกิจ บุญศิริ ผู้ตรวจราชการกระทรวงอุตสาหกรรม นายวัชรุน จุ้ยจำลอง รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ผู้บริหารกระทรวงอุตสาหกรรม ข้าราชการ และพนักงานกระทรวงอุตสาหกรรม ร่วมพิธี ณ ห้องโถง ชั้น 1 อาคารสำนักงานปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม ได้เปิดกรวยกระทงดอกไม้ถวายราชสักการะ หน้าพระบรมฉายาลักษณ์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว กราบบังคมทูลถวายพระพรชัยมงคล กล่าวนำถวายสัตย์ปฏิญาณเพื่อเป็นข้าราชการที่ดีและพลังของแผ่นดิน เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567 โดยมีคำถวายพระพรชัยมงคล ดังนี้ ขอเดชะ ฝ่าละอองธุลีพระบาทปกเกล้าปกกระหม่อม ข้าพระพุทธเจ้า นายณัฐพล รังสิตพล ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม ในนามของข้าราชการและเจ้าหน้าที่ของรัฐ ในสังกัดกระทรวงอุตสาหกรรม ต่างมีความปลาบปลื้มปีติเป็นล้นพ้น ที่ได้มาร่วมกันแสดงความจงรักภักดีและถวายสัตย์ปฏิญาณ เพื่อเป็นข้าราชการที่ดีและพลังของแผ่นดิน เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา รอบ ของใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาท วันที่ 28 กรกฎาคม พุทธศักราช 2567 นี้ ข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ต่างล้วนสำนึกในพระเมตตาและพระมหากรุณาธิคุณอันหาที่สุดมิได้ ที่ใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาททรงบำเพ็ญพระราชกรณียกิจนานัปการ ด้วยพระราชวิริยะอุตสาหะ ทรงดำรงพระองค์เป็นแบบอย่างแก่ข้าราชการทั้งปวง ในการปฏิบัติหน้าที่เพื่อประโยชน์สุขแห่งปวงประชา และความวัฒนาสถาพรของประเทศ พระบรมราโชวาทที่พระราชทานแก่ข้าราชการในโอกาสต่างๆ ล้วนสร้างความสำนึกในหน้าที่และความรับผิดชอบในการปฏิบัติงานเพื่อแผ่นดิน ด้วยความเที่ยงธรรมและสุจริต ซึ่งปวงข้าพระพุทธเจ้าจักได้น้อมนำมาประพฤติปฏิบัติตาม ให้เกิดผลสัมฤทธิ์ เพื่อสนองพระราชปณิธานของใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาท ด้วยความจงรักภักดีสืบไป ในโอกาสอันเป็นมงคลยิ่งนี้ ข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลายขอตั้งจิตอธิฐานด้วยความจงรักภักดี ขออานุภาพแห่งคุณพระศรีรัตนตรัย และสิ่งศักดิ์สิทธิ์ในสากล อีกทั้งพลานุภาพแห่งองค์พระสยามเทวาธิราช โปรดอภิบาลและดลบันดาลประทานชัยมงคลให้ใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาท ทรงพระเจริญ พร้อมด้วยสิริสวัสดิ์พิพัฒนมงคล ทรงพระเกษมสำราญ พระบรมเดชานุภาพและพระบารมีเกริกไกรแผ่ไพศาล สถิตเป็นมิ่งขวัญปกเกล้าเหล่าพสกนิกรตราบกาลนาน ข้าพระพุทธเจ้า ขอพระราชทานพระบรมราชานุญาต นำบรรดาข้าราชการ และเจ้าหน้าที่ของรัฐ กล่าวถวายสัตย์ปฏิญาณ เพื่อสนองพระมหากรุณาธิคุณ ดังต่อไปนี้ “ข้าพระพุทธเจ้า นายณัฐพล รังสิตพล ขอถวายสัตย์ปฏิญาณว่า จะประพฤติปฏิบัติตนเป็นข้าราชการที่ดี และพลังของแผ่นดินมีความซื่อสัตย์สุจริต เจริญรอยตามเบื้องพระยุคลบาท มุ่งมั่นแน่วแน่แก้ไขปัญหาของประเทศชาติและประชาชนสร้างสรรค์คุณประโยชน์แก่แผ่นดิน และดำเนินชีวิตโดยยึดมั่นในหลักธรรมคำสอนแห่งศาสนา ตามแนวทางในพระบรมราโชวาทตลอดไป” ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อม ขอเดชะ หลังจากนั้นได้ร่วมร้องเพลงสรรเสริญพระบารมีและเพลงสดุดีจอมราชาโดยพร้อมเพรียงกัน และปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม และคณะผู้บริหารกระทรวงอุตสาหกรรม ได้ร่วมลงนามถวายพระพร เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม พุทธศักราช 2567 พร้อมชมนิทรรศการเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
13 ส.ค 2024
กระทรวงอุตสาหกรรม ผนึกหน่วยงานรัฐ-เอกชน-ประชาชน เปิด “โครงการอุตสาหกรรมรวมใจ ลดคาร์บอนไทย 7.2 ล้านตัน เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567” ตั้งเป้าลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก สร้างควา
กรุงเทพฯ 25 กรกฎาคม 2567 - ดร.ณัฐพล รังสิตพล ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม ในฐานะประธานคณะกรรมการฝ่ายโครงการและกิจกรรม งานเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567 ของกระทรวงอุตสาหกรรม เป็นประธานเปิด “โครงการอุตสาหกรรมรวมใจ ลดคาร์บอนไทย 7.2 ล้านตัน” โดยมีนางสาวศิรินันท์ ศิริพานิช ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงอุตสาหกรรม นายเอกภัทร วังสุวรรณ นายใบน้อย สุวรรณชาตรี นางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม นายเดชา จาตุธนานันท์ นายศุภกิจ บุญศิริ ผู้ตรวจราชการกระทรวงอุตสาหกรรม นายวัชรุน จุ้ยจำลอง รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม และผู้บริหารระดับสูงกระทรวงอุตสาหกรรม เข้าร่วมเป็นเกียรติ ณ ห้องโถง ชั้น 1 อาคารสำนักงานปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่มีแนวโน้มรุนแรงขึ้นในทุกภูมิภาคของโลก ก่อให้เกิดภาวะโลกเดือด ซึ่งเป็นสัญญาณเตือนว่าโลกกำลังเผชิญวิกฤตการณ์ เปลี่ยนแปลงอุณหภูมิที่เพิ่มสูงขึ้นต่อเนื่อง อันมีสาเหตุหลักมาจาก ‘กิจกรรมของมนุษย์’ ที่เกี่ยวข้องกับการใช้ทรัพยากรและพลังงานเพื่อการผลิต การบริโภค การขนส่ง และการประกอบกิจการอุตสาหกรรม ซึ่งตามนโยบายของนางสาวพิมพ์ภัทรา วิชัยกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ที่ได้กำหนดทิศทางการขับเคลื่อนภาคอุตสาหกรรมให้ก้าวไปข้างหน้า เพื่อโลก เพื่อเรา ส่งต่ออุตสาหกรรมสีเขียวจากรุ่นสู่รุ่น และเร่งสร้างการรับรู้ให้ภาคอุตสาหกรรมได้ตระหนักและให้ความสำคัญ ในการลดการใช้ทรัพยากรอย่างสิ้นเปลือง ลดปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม รวมถึงการพัฒนาองค์ความรู้เกี่ยวกับกฎหมายและกฎระเบียบเกี่ยวกับการจัดการภาวะโลกร้อนที่เป็นความท้าทายต่อภาคการผลิตของประเทศ กระทรวงอุตสาหกรรม จึงได้ร่วมมือกับ 13 หน่วยงานหลัก จากภาครัฐและภาคเอกชน จัด“โครงการอุตสาหกรรมรวมใจ ลดคาร์บอนไทย 7.2 ล้านตัน เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567” เพื่อแสดงความจงรักภักดี และสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่มีต่อประชาชนชาวไทย ตลอดจนเสริมสร้างจิตสำนึกของการเป็นผู้ให้ โดยสนับสนุน ส่งเสริมสถานประกอบการให้มีความรับผิดชอบต่อสังคม สามารถอยู่ด้วยกันกับชุมชนได้อย่างยั่งยืน ภายใต้นโยบาย MIND ใช้ ‘หัว’ และ ‘ใจ’ ปั้นอุตสาหกรรมคู่ชุมชน เพื่อให้สถานประกอบการอุตสาหกรรมเติบโตอย่างสมดุลและยั่งยืน ผ่าน 4 มิติิ ได้แก่ ความสำเร็จทางธุรกิจ ความอยู่ดีกับสังคมโดยรวม ความลงตัวกับกติกาสากล และการกระจายรายได้สู่ชุมชนที่ตั้ง โดยตั้งเป้าการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในภาคอุตสาหกรรมได้ปริมาณ 7.2 ล้านตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่าต่อปี ผ่านการขับเคลื่อนกิจกรรมใน 8 ด้าน จำนวน 298 กิจกรรม ประกอบด้วย • ด้านที่ 1 การลด ดูดซับ และการกักเก็บก๊าซเรือนกระจกจากภาคป่าไม้และเกษตร จำนวน 13 กิจกรรม ลดได้ 2,934,277 ตัน อาทิ กิจกรรมการรณรงค์ลดการเผาอ้อย กิจกรรมการพัฒนาฟื้นฟูพื้นที่ทำเหมืองแร่ให้สามารถใช้ประโยชน์ได้อย่างยั่งยืน และกิจกรรมการปลูกต้นไม้เพื่อเพิมพื้นที่สีเขียว• ด้านที่ 2 การยกระดับผู้ประกอบการสู่มาตรฐานการลดการปล่อย หรือการดูดกลับก๊าซเรือนกระจก จำนวน 1 กิจกรรม ลดได้ 2,000,000 ตัน อาทิ กิจกรรมการตรวจสอบความใช้ได้และทวนสอบโครงการลดก๊าซเรือนกระจกตามมาตรฐานภายใต้การรับรองระบบงาน• ด้านที่ 3 การใช้พลังงานหมุนเวียนหรือพลังงาน ที่ใช้ทดแทนเชื้อเพลิงฟอสซิล จำนวน 209 กิจกรรม ลดได้ 1,140,429 ตัน อาทิ กิจกรรมผลิตพลังงานไฟฟ้าจากเชื้อเพลิงชีวมวล และกิจกรรมการนำใบและยอดอ้อยไปใช้เป็นเชื้อเพลิงชีวมวลในโรงงานน้ำตาลและโรงไฟฟ้าชีวมวลที่ต่อเนื่องจากโรงงานน้ำตาล• ด้านที่ 4 การเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานในอาคารและโรงงาน จำนวน 44 กิจกรรม ลดได้ 796,525 ตัน อาทิ กิจกรรมเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม (IoT, AI, Capacitor bank) และกิจกรรมลดของเสียจากกระบวนการผลิต (By-product / Industrial waste)• ด้านที่ 5 การจัดการสารเคมี จำนวน 3 กิจกรรม ลดได้ 200,961 ตัน อาทิ กิจกรรมเผาทำลายสารทำความเย็น• ด้านที่ 6 การส่งเสริมและปรับเปลี่ยนมาตรฐานด้านยานยนต์ จำนวน 5 กิจกรรม ลดได้ 91,873 ตัน อาทิ การควบคุมปริมาณสารมลพิษจากรถยนต์ มาตรฐาน EURO 5 และการส่งเสริมการใช้ยานยนต์ไฟฟ้า (xEV)• ด้านที่ 7 การบริหารจัดการทรัพยากร (นํ้า/ของเสีย/วัตถุดิบ) จำนวน 10 กิจกรรม อาทิ กิจกรรมเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการกากอุตสาหกรรม และกิจกรรมการส่งเสริมเทคโนโลยีการบริหารจัดการน้ำ• ด้านที่ 8 การส่งเสริมการใช้ปูนซีเมนต์ไฮดรอลิก (Hydraulic Cement) จำนวน 13 กิจกรรม ลดได้ 1,586 ตัน อาทิ การส่งเสริมการใช้ปูนซีเมนต์ไฮดรอลิก การใช้ปูนซีเมนต์ไฮดรอลิก แทนปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ (Portland Cement) ในการก่อสร้างระบบสาธารณูปโภคนิคมฯ Smart Park สำหรับกิจกรรมในวันนี้มีการแสดงจากนักเรียนโรงเรียนวัดหนองพะวา อำเภอบ้านค่าย จังหวัดระยอง ในชื่อชุด “พลังงานสะอาดสู่อนาคต“แสดงถึงการร่วมแรงร่วมใจ รวมพลังทุกภาคส่วน พร้อมมอบโล่เชิงสัญลักษณ์ ให้แก่ 13 หน่วยงาน เพื่อเป็นขวัญและกำลังใจในการดำเนินงานในกิจกรรมต่าง ๆ ภายใต้โครงการฯ แก่หน่วยงานในสังกัดกระทรวงอุตสาหกรรม การดำเนินกิจกรรมภายใต้โครงการดังกล่าว ก่อให้เกิดความจงรักภักดีและสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ ทั้งยังเป็นการสร้างความรัก ความสามัคคี และความร่วมมือร่วมใจกันทำประโยชน์ต่อสาธารณะ กระทรวงอุตสาหกรรม ในฐานะหน่วยงานภาครัฐได้ตระหนักถึงความสำคัญในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ซึ่งสอดคล้องกับอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (United Nations Framework Convention on Climate Change : UNFCCC) เพื่อให้ประเทศไทยบรรลุเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) ภายในปี 2593 และปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero) ภายในปี 2608 ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวทิ้งท้าย
13 ส.ค 2024
"ดีพร้อม" ปักหมุดราชบุรี ขับเคลื่อน “ชุมชนเปลี่ยน” หนุนใช้เทคโนโลยีระบบอัตโนมัติต้นทุนต่ำ
จ.ราชบุรี 24 กรกฎาคม 2567 – นายวาที พีระวรานุพงศ์ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ให้เกียรติเป็นประธานเปิดกิจกรรมสร้างการรับรู้ด้านการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีระบบอัตโนมัติต้นทุนต่ำ พร้อมด้วย นายสุพัฒน์ อ่อนคง เกษตรจังหวัดราชบุรี ผู้แทนจากภาคีเครือข่าย คณะผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ดีพร้อม (DIPROM) โดยมี นายวิจักขณ์ รัตนสุวรรณ ผู้อำนวยการกองพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยีอุตสาหกรรม กล่าวรายงาน ณ โรงแรมไทยนำริเวอร์ไซด์ อำเภอบ้านโป่ง กิจกรรมดังกล่าว เป็นการดำเนินงานภายใต้กลไก “ชุมชนเปลี่ยน” (COMMUNITY TRANSFORMATION) ขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานรากด้วยการเปลี่ยนชุมชน มุ่งเน้นการพัฒนาแบบองค์รวม โดยใช้เครื่องมือหรือเทคโนโลยีที่สอดคล้องกับระดับศักยภาพของแต่ละชุมชน ตอบสนองความต้องการและแก้ปัญหาภายในชุมชนได้อย่างแท้จริง สามารถเปลี่ยนผ่านไปสู่ชุมชนดีพร้อมที่มีความเข้มแข็งและพึ่งพาตนเองได้ในระยะยาว โดยภายในกิจกรรมได้จัดคลินิกอุตสาหกรรม ด้านการใช้ระบบ Karakuri Kaizen โดยผู้เชี่ยวชาญจาก บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด บริการให้คำปรึกษาแนะนำเบื้องต้นด้านกระบวนการผลิต การแปรรูปผลผลิตทางการเกษตร แก่ผู้ร่วมงาน นอกจากนี้ ยังได้มีการนำเสนอความสำเร็จของวิสาหกิจชุมชนในการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีระบบอัตโนมัติต้นทุนต่ำ ภายใต้การดำเนินงานของดีพร้อม จำนวน 2 แบบ ได้แก่ เครื่องตุ๋นและคัดกรองแยกกากละเอียดด้วยระบบอัตโนมัติอย่างง่าย สำหรับผลิตภัณฑ์ดูแลเส้นผมจากมะกรูด จากวิสาหกิจชุมชนพึ่งตนคนพอเพียง และ เครื่องตุ๋นสกัดน้ำมัลเบอร์รี่ จากวิสาหกิจชุมชนแปลงใหญ่หม่อนผลสดตำบลจอมบึง โดยเครื่องจักรทั้ง 2 เครื่องได้ออกแบบและนำไปทดลองใช้จริง ซึ่งก่อให้เกิดการลดต้นทุนแรงงาน ลดการใช้พลังงาน และเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต คำนวณเป็นมูลค่าทางเศรษฐกิจต่อชุมชนได้กว่า 3.8 ล้านบาท/ปี
13 ส.ค 2024
"ดีพร้อม" เร่งขับเคลื่อนโปรเจกต์กรีน ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ยกระดับอุตสาหกรรมสีเขียวในพื้นที่ภาคอีสาน
จ.ขอนแก่น 24 กรกฎาคม 2567 นางดวงดาว ขาวเจริญ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ให้เกียรติเป็นประธานเปิดงาน ISAN Moving Green Forward ก้าวไปข้างหน้า เพื่อโลก เพื่อเรา ชาวอีสาน” พร้อมด้วย นายชาลี พงษ์นุ่มกูล ที่ปรึกษาผู้ตรวจราชการสำนักนายกรัฐมนตรี นายธเรศ ประภาการ ที่ปรึกษาผู้ตรวจราชการสำนักนายกรัฐมนตรี นายชาญณรงค์ บุริสตระกูล ประธานหอการค้าจังหวัดขอนแก่น คณะผู้บริหาร และเจ้าหน้าที่ดีพร้อม (DIPROM) ผู้แทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ผู้ประกอบการภาคอุตสาหกรรม ผู้ที่สนใจในพื้นที่ภาคอีสาน และสื่อมวลชน โดยมี นางรุ่งอรุณ เปี่ยมปัจจัย ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 5 กล่าวรายงาน ณ ห้องมงกุฎเพชร โรงแรมโฆษะ ดีพร้อม เร่งขับเคลื่อนอุตสาหกรรมสีเขียวในพื้นที่ภาคอีสาน ผ่านกลไก 3 ด้าน ได้แก่ Green Productivity, Green Marketing และ Green Finance เพื่อผลักดันให้ภาคอุตสาหกรรมคำนึงถึงความยั่งยืนและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม โดยมีโปรเจกต์กรีนต่าง ๆ ในปี 2567 ในพื้นที่อีสาน เช่น การพัฒนาผลิตภัณฑ์จากสมุนไพรเชิงพื้นที่เพื่อสุขภาพและความงาม อาหารจากซูเปอร์ฟู้ด และผลิตภัณฑ์จากเส้นใยชีวภาพ กิจกรรมในวันนี้ จัดขึ้นเพื่อช่วยสร้างการรับรู้ให้ภาคอุตสาหกรรมลดการใช้ทรัพยากร ลดปัญหาสิ่งแวดล้อม และบริหารจัดการด้านสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน มีการบรรยาย และเสวนาจากองค์กรชั้นนำ พร้อมนำเสนอองค์ความรู้และประสบการณ์ต่อยอดธุรกิจยุคใหม่สู่สังคมคาร์บอนต่ำ รวมถึงการอัปเดตเทรนด์ตลาด บรรจุภัณฑ์ และการพัฒนาผลิตภัณฑ์รักษ์โลก
13 ส.ค 2024
“พิมพ์ภัทรา” หารือ NEDO - IHI เร่งเครื่อง BCG ลุยพัฒนานิคมฯ Circular ดูดลงทุนอุตฯ สีเขียวในไทย
ประเทศญี่ปุ่น 23 กรกฎาคม 2567 - นางสาวพิมพ์ภัทรา วิชัยกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ประชุมร่วมกับองค์การพัฒนาพลังงานใหม่และเทคโนโลยีอุตสาหกรรมแห่งประเทศญี่ปุ่น (New Energy and Industrial Technology Development Organization : NEDO) และ บริษัท ไอเอชไอ คอร์ปอเรชั่น (IHI Corporation) พร้อมด้วย นายดนัยณัฏฐ์ โชคอำนวย ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม นายชยงการ ภมรมาศ คณะทำงานรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม นางวรวรรณ ชิตอรุณ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม นายภาสกร ชัยรัตน์ อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม นายภานุวัฒน์ ตริยางกูรศรี ที่ปรึกษาของกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม นายกิตติพันธุ์ บางยี่ขัน อัครราชทูตที่ปรึกษา (ฝ่ายอุตสาหกรรม) ประจำกรุงโตเกียว นางนิภา รุกขมธุร์ รองผู้ว่าการสายงานยุทธศาสตร์ นางบุปผา กวินวศิน รองผู้ว่าการสายงานพัฒนาที่ยั่งยืน นางปนัดดา เย็นตระกูล ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายงานยุทธศาสตร์ การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ณ ประเทศญี่ปุ่น นางสาวพิมพ์ภัทรา วิชัยกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยภายหลังการประชุมร่วมกับนายไซโต้ ทาโมสึ ประธานองค์การพัฒนาพลังงานใหม่และเทคโนโลยีอุตสาหกรรมแห่งประเทศญี่ปุ่น (New Energy and Industrial Technology Development Organization : NEDO) ณ หอประชุม สถานเอกอัครราชทูตไทย กรุงโตเกียว ว่า รัฐบาลไทยให้ความสำคัญต่อปัญหาสิ่งแวดล้อม และมีการผลักดันนโยบาย BCG (Bio-Circular-Green Economy) มุ่งเน้นการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า การนำวัสดุกลับมาใช้ประโยชน์ให้มากที่สุด รวมถึงการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ โดยมีเป้าหมายสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon neutrality) ในปี ค.ศ. 2050 และมีคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero) ในปี ค.ศ. 2065 สำหรับความร่วมมือด้านสิ่งแวดล้อมระหว่าง 2 ประเทศ เน้นการพัฒนานิคมอุตสาหกรรม Circular แห่งแรกของไทยในพื้นที่ EEC ซึ่งการหารือครั้งนี้เป็นการต่อยอดจากการพบกันเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา โดยเน้นศึกษาแนวทางการจัดการซากรถยนต์และของเสียอย่างเป็นระบบ สอดคล้องกับนโยบาย BCG ของรัฐบาลไทยที่มุ่งสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอนและ Net Zero รมว.อุตสาหกรรม ได้แสดงความขอบคุณ นายคาวามูระ ผู้อำนวยการสำนักงาน NEDO กรุงเทพฯ เกี่ยวกับโครงการที่ NEDO กำลังดำเนินการในประเทศไทย 15 โครงการ โดยหลายโครงการดำเนินงานในนิคมอุตสาหกรรม เช่น โครงการศึกษาความเป็นไปได้การจัดการโครงสร้างพื้นฐานของพลังงานสะอาด ประเภทต่างๆ และการคมนาคมที่ไม่มีการปล่อยคาร์บอนในนิคมอุตสาหกรรมสมาร์ทปาร์ค ซึ่ง กนอ. ได้ดำเนินการอย่างใกล้ชิดกับ NEDO ตั้งแต่ปี 2566 ขณะเดียวกัน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ยังแสดงความสนใจเป็นพิเศษ ในโครงการสาธิตเทคโนโลยีรถบรรทุกเซลล์เชื้อเพลิง และโครงการรีไซเคิลแผงโซลาร์เซลล์ ซึ่งสอดคล้องกับเป้าหมายของกระทรวงในการส่งเสริมการใช้พลังงานสะอาดและการจัดการของเสียอย่างยั่งยืน ที่ทั้งสองฝ่ายได้หารือถึงความเป็นไปได้ในการลงนามในหนังสือแสดงเจตจำนง (LOI) เพื่อกระชับความร่วมมือในอนาคต โดยกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กสอ.) กระทรวงอุตสาหกรรม จะเป็นผู้ประสานงานหลัก และขอให้ทาง NEDO สนับสนุนและผลักดันความร่วมมือระหว่าง บริษัท IHI และ กนอ. รวมถึงสนับสนุนและผลักดันความร่วมมือ ระหว่าง NEDO กับกระทรวงอุตสาหกรรม ซึ่งความร่วมมือครั้งนี้เป็นก้าวสำคัญในการขับเคลื่อนนโยบายลดคาร์บอนในภาคอุตสาหกรรม เพื่อประโยชน์สูงสุดของภาคอุตสาหกรรม โดยเฉพาะกับเศรษฐกิจของไทยและญี่ปุ่น “การขับเคลื่อน BCG ของกระทรวงฯ เป็นการแสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นของเรา เพื่อสร้างอนาคตที่ยั่งยืน ด้วยการส่งเสริมการใช้พลังงานสะอาด ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก พัฒนาอุตสาหกรรมสีเขียว เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ และร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการแก้ไขปัญหาโลกร้อน” นางสาวพิมพ์ภัทรา กล่าว นอกจากนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม และคณะ ยังได้ร่วมประชุมกับนายฮิโรชิ อิเดะ ประธานบริษัท ไอเอชไอ คอร์ปอเรชั่น (IHI Corporation) และคณะ พร้อมรับฟังการบรรยายสรุปเกี่ยวกับเทคโนโลยีพลังงานสะอาดของ IHI รวมถึงการใช้แอมโมเนียแทนก๊าซธรรมชาติ เทคโนโลยีการดักจับ กักเก็บ และใช้ประโยชน์จากก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (Carbon Capture Utilization and Storage : CCUS) ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่น่าสนใจและมีศักยภาพในการลดการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิล โดยนางสาวพิมพ์ภัทรา กล่าวว่า ที่ผ่านมา กระทรวงฯ โดย กนอ.ได้ลงนามความร่วมมือกับ IHI Corporation ในการศึกษาและพัฒนา Green Air เพื่อลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมในนิคมอุตสาหกรรม รวมทั้งการพัฒนานิคมอุตสาหกรรม Circular ซึ่งความร่วมมือกับ IHI ในด้านพลังงานสะอาด เป็นเครื่องยืนยันถึงความมุ่งมั่นของ กนอ. และกระทรวงฯ ในการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมสีเขียวและเศรษฐกิจหมุนเวียนในประเทศไทย เพื่อสร้างความยั่งยืนให้กับภาคอุตสาหกรรมและสิ่งแวดล้อม พร้อมทั้งสนับสนุนให้นักลงทุนสามารถดำเนินธุรกิจที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมได้อย่างเต็มที่ สำหรับบริษัท ไอเอชไอ คอร์ปอเรชั่น เป็นบริษัทชั้นนำของญี่ปุ่นที่มีประวัติยาวนานกว่า 160 ปี เริ่มต้นจากธุรกิจต่อเรือ ปัจจุบันได้ขยายธุรกิจครอบคลุมหลากหลายอุตสาหกรรม เช่น เครื่องจักร, ระบบโรงไฟฟ้า, เครื่องยนต์อากาศยาน และอื่นๆ โดยให้ความสำคัญกับการใช้พลังงานสะอาดเพื่อลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม โดยในประเทศไทย บริษัท ไอเอชไอ เอเชีย แปซิฟิค (ประเทศไทย) จำกัด เป็นบริษัทในเครือที่ดำเนินธุรกิจหลากหลายด้าน เช่น ระบบอุตสาหกรรม, เครื่องจักร, การจัดการทรัพยากร, พลังงานและสิ่งแวดล้อม, โครงสร้างพื้นฐาน, เครื่องยนต์อากาศยาน และอื่นๆ
13 ส.ค 2024
รัฐมนตรีฯ พิมพ์ภัทรา นำคณะผู้บริหารกระทรวงอุตสาหกรรมเยี่ยมชมกระบวนการรีไซเคิลรถยนต์ ณ eco-R Co., Ltd. ประเทศญี่ปุ่น
ประเทญี่ปุ่น 22 กรกฎาคม 2567 - นางสาวพิมพ์ภัทรา วิชัยกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม พร้อมด้วย นายดนัยณัฏฐ์ โชคอำนวย ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม นายชยงการ ภมรมาศ คณะทำงานรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม นางวรวรรณ ชิตอรุณ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม นายภาสกร ชัยรัตน์ อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม นายภานุวัฒน์ ตริยางกูรศรี ที่ปรึกษาของกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม นายกิตติพันธุ์ บางยี่ขัน อัครราชทูตที่ปรึกษา (ฝ่ายอุตสาหกรรม) ประจำกรุงโตเกียว นางนิภา รุกขมธุร์ รองผู้ว่าการสายงานยุทธศาสตร์ นางบุปผา กวินวศิน รองผู้ว่าการสายงานพัฒนาที่ยั่งยืน นางปนัดดา เย็นตระกูล ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายงานยุทธศาสตร์ การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย รับฟังการบรรยายและเยี่ยมชมกระบวนการคัดแยกชิ้นส่วนรถยนต์ของบริษัท eco-R ซึ่งประกอบธุรกิจการถอดแยกชิ้นส่วนรถยนต์ที่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ การคัดแยกวัสดุมีค่า เพื่อขายต่อให้กับบริษัทที่จะรับไปดำเนินการรีไซเคิลในลำดับถัดไป และการซ่อมแซมชิ้นส่วนรถยนต์ โดยสามารถคัดแยกวัสดุประเภทต่างๆ หมุนเวียนกลับไปใช้ใหม่ได้มากถึง 99% นอกจากนี้ ได้แลกเปลี่ยนแนวปฏิบัติที่ดีเชิงกฎหมายและนโยบายของภาครัฐ รวมทั้งการพัฒนากลไกสนับสนุนทางการเงิน ที่จะช่วยสนับสนุนธุรกิจการจัดการซากรถยนต์ และการเพิ่มมูลค่าให้กับวัสดุรีไซเคิล ซึ่งเป็นแนวทางที่ กนอ. สามารถนำไปประยุกต์ในการพัฒนานิคม Circular และการจัดให้มีกลไกต่างๆ เพื่อสนับสนุนให้เกิดธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องในโซ่อุปทานของการบริหารจัดการวัสดุ ตามแนวทาง Circular Economy
13 ส.ค 2024