Category
ปีงบประมาณ 2553
แผนผังกรอบคำรับรองฯ 2553 คำรับรองการปฏิบัติราชการ 2553 คำรับรองการปฏิบัติราชการ 2553 (กลุ่มภารกิจ) รายละเอียดคำรับรองการปฏิบัติราชการ 2553 รายงานผลคำรับรองการปฏิบัติราชการ 2553 (รอบ12 เดือน) SAR CARD การดำเนินงานตามคำรับรองการปฏิบัติราชการ 2553 (รอบ 6 เดือน) SAR CARD การดำเนินงานตามคำรับรองการปฏิบัติราชการ 2553 (รอบ 9 เดือน) SAR CARD การดำเนินงานตามคำรับรองการปฏิบัติราชการ 2553 (รอบ 12 เดือน)
01 มิ.ย. 2012
ปีงบประมาณ 2552
คำรับรองการปฏิบัติราชการประจำปีงบประมาณ 2552 SAR Card การดำเนินงานตามคำรับรองการปฏิบัติราชการ ปี 2552 (รอบ 6 เดือน) SAR Card การดำเนินงานตามคำรับรองการปฏิบัติราชการ ปี 2552 (รอบ 9 เดือน) SAR Card การดำเนินงานตามคำรับรองการปฏิบัติราชการ ปี 2552 (รอบ 12 เดือน)
01 มิ.ย. 2012
ปีงบประมาณ 2551
คำรับรองการปฏิบัติราชการ แผนที่ยุทธศาสตร์ของกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ตัวชี้วัดและเป้าหมายตามแผนปฏิบัติราชการ SAR Card การดำเนินงานตามคำรับรองการปฏิบัติราชการ ปี 2551 รอบ 6 เดือน SAR Card การดำเนินงานตามคำรับรองการปฏิบัติราชการ ปี 2551 รอบ 9 เดือน SAR Card การดำเนินงานตามคำรับรองการปฏิบัติราชการ ปี 2551 รอบ 12 เดือน
01 มิ.ย. 2012
ปีงบประมาณ 2550
คำรับรองการปฏิบัติราชการ ตัวชี้วัดและเป้าหมายตามแผนปฏิบัติราชการ SAR Card การดำเนินงานตามคำรับรองการปฏิบัติราชการ ปี 2550 รอบ 6-12 เดือน
01 มิ.ย. 2012
ปีงบประมาณ 2549
คำรับรองการปฏิบัติราชการ ตัวชี้วัดและเป้าหมายตามแผนปฏิบัติราชการ SAR Card การดำเนินงานตามคำรับรองการปฏิบัติราชการ ปี 2549 รอบ 6 เดือน SAR Card การดำเนินงานตามคำรับรองการปฏิบัติราชการ ปี 2549 รอบ 9 เดือน SAR Card การดำเนินงานตามคำรับรองการปฏิบัติราชการ ปี 2549 รอบ 12 เดือน
01 มิ.ย. 2012
ปีงบประมาณ 2548
คำรับรองการปฏิบัติราชการ ตัวชี้วัดและเป้าหมายตามแผนปฏิบัติราชการ SAR Card การดำเนินงานตามคำรับรองการปฏิบัติราชการ ปี 2548 รอบ 6เดือน SAR Card การดำเนินงานตามคำรับรองการปฏิบัติราชการ ปี 2548 รอบ 9 เดือน SAR Card การดำเนินงานตามคำรับรองการปฏิบัติราชการ ปี 2548 รอบ 12 เดือน
30 พ.ค. 2012
เฟอร์นิช บาย วนิส แตกต่างเพื่ออยู่รอดใน AEC
“สิ่งที่เราเคยรับรู้ มีการเปลี่ยนแปลงไปตลอดเวลา โดยมากคนจะรับรู้ว่าแพร่ น่าน มีไม้สักคุณภาพ แต่ปัจจุบันมีแต่ไม้สักอ่อนพม่า ที่คนมักมองว่าเปิดประเทศแล้ว ธุรกิจไม้สักเก่าน่าจะดีมาก แต่สำหรับคนในพื้นที่จะทราบว่าไม้สักที่ SMEs ฝั่งพม่าและฝั่งไทยซื้อขายกันเริ่มลดน้อยลงไปมาก อย่างไรก็ตาม ต้นไม้คุณภาพดีในพม่าที่ยังไม่ได้ตัดยังมีอยู่มาก หรือกระทั่งธุรกิจต่าง ๆ จะบูมก็จริง แต่นั่นก็จะเป็นโอกาสสาหรับธุรกิจรายใหญ่มากกว่า” คุณวณิศรา ภิญญาสาส์น เจ้าของกิจการเฟอร์นิเจอร์เครื่องเรือนเก่า บริษัท เฟอร์นิช บาย วนิส จากัด ซึ่งมีสำนักงานอยู่ที่อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก วิเคราะห์ เฟอร์นิช บาย วนิส เองต้องปรับตัวจากการผลิตเฟอร์นิเจอร์ไม้เก่าจากพม่า หันมาซื้อเรือนไม้เก่าภายในประเทศเพื่อเป็นวัตถุดิบมาพักใหญ่ โดยเน้นผลิตเฟอร์นิเจอร์สไตล์โมเดิร์นแบรนด์ “อินถวา” ที่จับกลุ่มเป้าหมายตั้งแต่กลุ่มคนวัยทำงานและครอบครัวใหม่ จนถึงกลุ่มผู้ใหญ่ที่ชื่นชอบไม้เก่า โดยมีการขยายด้านการตลาดออกบูธงานแสดงสินค้าต่าง ๆ และเปิดหน้าร้านที่สวนจตุจักร ตลอดจนมีผู้นำไปจำหน่ายที่จังหวัดภูเก็ต สุราษฎร์ธานี และตรัง ตลอดเวลาของการดำเนินธุรกิจ คุณวณิศราให้ความสำคัญกับการเข้าอบรมเวิร์กช็อปต่าง ๆ ของกรมส่งเสริมอุตสาหกรรมและหน่วยงานต่าง ๆ อย่างต่อเนื่อง เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ ตลอดจนการบริหารจัดการภายใน ด้วยตระหนักว่า ไม่ว่าจะเป็นก่อนยุค AEC หรือเมื่อเข้าสู่ AEC แล้วสิ่งสำคัญสำหรับการทำธุรกิจเฟอร์นิเจอร์ นอกจากวัตถุดิบไม้ที่ดีแล้ว ยังต้องใช้ “ความรู้” ทั้งด้านดีไซน์ แรงงานฝีมือ ความชำนาญเครื่องจักร เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม สร้างความแตกต่างให้ชิ้นงาน จึงจะเป็นโอกาสในการสร้างแบรนด์จากขนาดตลาดและผู้บริโภคที่เพิ่มขึ้นจากการเปิดเสรี เพราะหากเป็นการผลิตตามอย่างกัน (Me tooproduct) ก็ไม่มีประโยชน์อันใด เพราะจะหวนกลับไปแข่งกันที่ราคา คุณวณิศรา ภิญญาสาส์น เจ้าของกิจการ บริษัท เฟอร์นิช บาย วนิส จำกัด ๙๕๙ หมู่ที่ ๑ ต. ท่าสายลวด อ. แม่สอด จ. ตาก ๖๓๑๑๐ โทรศัพท์ : ๐๘ ๑๗๘๕ ๖๗๗๖ ที่มา : รายงานประจำปี 2555 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม
31 ม.ค. 2012
สันทัศน์หัตถกรรม จำลองชีวิตวิถีไทย
จากจุดเริ่มต้นเมื่อ ๑๔ ปีที่แล้ว ที่เพียงต้องการทำอะไรเล็ก ๆ น้อย ๆ เพื่อคร่าเวลาช่วงว่างงาน โดยลงทะเบียนเรียนการประดิษฐ์เรือนไม้ เรือไม้จำลอง และตุ๊กตาจำลองวิถีชีวิตไทย ได้กลายมาเป็นช่องทางทำกินที่นำมาทั้งชื่อเสียงและรายได้ให้กับ ว่าที่ ร.ต.หญิงณัฐชกรณ์ บุตรทรัพย์ เนื่องจากสามารถผลิตชิ้นงานได้มีความอ่อนช้อยประณีตสวยงาม โดยปัจจุบัน มีลูกค้าตั้งแต่นักสะสมชาวไทยและชาวต่างประเทศ ตลอดจนกลุ่มลูกค้าพิพิธภัณฑ์ที่สั่งชิ้นงานไปจัดแสดง ซึ่งคุ้มค่ากับความเพียรและหยาดเหงื่อ เพราะแต่ละชิ้นงานต้องใช้ความอุตสาหะและสมาธิสูง ประการสำคัญ แต่ละแบบจะผลิตเพียงน้อยชิ้นหรืออาจมีเพียงชิ้นเดียว จึงเป็นงานที่มีคุณค่าในความรู้สึกของผู้ครอบครอง อย่างไรก็ตาม แม้จะสามารถสร้างผลิตภัณฑ์สวยงาม แต่ก็ยังอ่อนประสบการณ์ในเชิงธุรกิจ ร.ต.หญิงณัฐชกรณ์ จึงแสวงหาความรู้เพิ่มเติม โดยได้เข้าร่วมอบรม “โครงการเสริมสร้างผู้ประกอบการใหม่ (New Entrepreneurs Creation: NEC)” กับศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรม ภาคที่ ๙ เมื่อปี ๒๕๕๑ และยังเพิ่มพูนประสบการณ์และพัฒนาผลิตภัณฑ์ด้วยการส่งผลิตภัณฑ์เข้าประกวด จนได้รางวัลผลิตภัณฑ์โอทอปหลายปี ภายหลังได้เข้าใช้บริการ “เงินทุนหมุนเวียนเพื่อการส่งเสริมอาชีพอุตสาหกรรมในครอบครัวและหัตถกรรมไทย (Revolving Fund for Cottage and Handicraft Industries: CF)” ของกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม จึงมีเงินทุนเวียนมาจัดหาอุปกรณ์และเครื่องทุ่นแรงในการช่วยผลิตชิ้นงานเพิ่มเติม ร.ต.หญิงณัฐชกรณ์มองว่า AEC จะทำให้ผู้คนในอาเซียนเดินทางไปมาหาสู่กันโดยสะดวก รวมถึงคนต่างทวีปที่ต้องการมาสัมผัสเอกลักษณ์วิถีชีวิตของอาเซียน ผลิตภัณฑ์ที่สะท้อนถึงอัตลักษณ์ของแต่ละท้องถิ่นหรือแต่ละประเทศ จะได้รับการตอบรับเป็นอย่างดี เพราะงานแฮนด์เมด เป็นสิ่งที่สะท้อนอัตลักษณ์ วิถีชีวิต วัฒนธรรม ภูมิปัญญา ของคนแต่ละชาติ ได้ดีทุกยุคทุกสมัย ว่าที่ ร.ต.หญิงณัฐชกรณ์ บุตรทรัพย์ สันทัศน์หัตถกรรม ๔๓ หมู่ ๑๑ แขวงโคกแฝด เขตหนองจอก กรุงเทพฯ ๑๐๕๓๐ โทรศัพท์ : ๐ ๒๑๘๖ ๐๖๘๔, ๐๘ ๙๑๒๘ ๑๑๕๐ ที่มา : รายงานประจำปี 2555 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม
31 ม.ค. 2012
ผ้าไหม BOON KOON ศิลปะต่อผ้า แต้มสีสันไหมไทย
หลายประเทศในอาเซียน รวมถึงอาเซียน +๓ +๖ ต่างมีภูมิปัญญาการผลิตผ้าไหมของตนเอง ไม่ว่าจะเป็นพม่า ลาว อินโดนีเซีย กัมพูชา จีน การสร้างเอกลักษณ์ความแตกต่างเฉพาะถิ่น หรือเฉพาะแบรนด์จึงมีความสำคัญมาก ซึ่งร้านผ้าไหม BOON KOON ได้พบแนวทางนั้นแล้วคือ การตัดเย็บชิ้นงานผ้าไหมแบบศิลปะผ้าต่อ (Patchwork) คุณชาญบุญ เอี่ยมหนู เจ้าของร้าน BOON KOON SHOP ซึ่งมีหน้าร้านอยู่ที่ เจ.เจ.มอลล์ และอีกหลายแห่ง เริ่มผันชีวิตจากพนักงานประจำมาเป็นเจ้าของร้านค้าเล็ก ๆ ที่สวนลุมไนท์บาร์ซาร์ เมื่อปี ๒๕๔๓ ผลิตภัณฑ์ขายดีคือ ผ้าไหมคลุมไหล่ เนกไท ปลอกหมอน และจากการแสวงหาซัพพลายเออร์และแรงงานตัดเย็บที่ดี จึงได้รู้จักกับชุมชนคลองสามวาซึ่งโยกย้ายมาจากชุมชนบ้านครัว ชุมชนผลิตผ้าไหมเก่าแก่แห่งหนึ่งในกรุงเทพฯ จึงเกิดการพัฒนางานร่วมกันเรื่อยมา รวมทั้งได้แลกเปลี่ยนความรู้ซึ่งกันและกัน จนเกิดเป็นไอเดียในการนำเศษผ้าที่เหลือ จากการตัดเย็บมากมาย นำมาทำ patchwork และผลิตเป็นชิ้นงานต่าง ๆ งานต่อผ้าต้องอาศัยช่างที่มีความชำนาญ ประณีต ซึ่งต้องใช้เวลามากขึ้นและทำให้ต้นทุนสูงขึ้นตาม แต่ก็คุ้มค่าเมื่อพบว่าลูกค้า มาถามหางาน patchwork อย่างต่อเนื่อง คุณชาญบุญ มีโอกาสได้เข้าร่วมกิจกรรมต่าง ๆ ของกรมส่งเสริมอุตสาหกรรมมากมาย ไม่ว่าจะเป็น TOPOTOP, DIP CAMP หรือคลัสเตอร์ ทำให้มีการพัฒนาด้านการตลาดควบคู่ไปกับการพัฒนาผลิตภัณฑ์ ชื่อแบรนด์ BOON KOON เองก็เกิดขึ้นภายหลังร่วมอบรมในกิจกรรมต่าง ๆ กับกรมฯ อย่างไรก็ตาม การแข่งขันที่จะเกิดขึ้นในอนาคตผู้ประกอบการจะหยุดเรียนรู้ไม่ได้เลย “AEC ที่จะมีผลในปี ๒๕๕๘ เราต้องมองอย่างรอบด้าน ไม่ใช่แค่การพัฒนาผลิตภัณฑ์ พัฒนาดีไซน์หรือโอกาสในการเข้าถึงวัตถุดิบผ้าไหมจากประเทศเพื่อนบ้านมากขึ้นเท่านั้น แต่การบริหารจัดการด้านอื่น ๆ ก็สำคัญ เช่น ระบบบัญชีความห่วงใยในสิ่งแวดล้อม การบริหารจัดการต้นทุน และอีกหลายเรื่องที่ต้องเตรียมพร้อม” คุณชาญบุญ เอี่ยมหนู ร้านผ้าไหมบุญคุณ เจ.เจ.มอลล์ โทรศัพท์ : ๐ ๒๖๔๒ ๙๒๕๑ อีเมล : boonkoon2006@hotmail.com ที่มา : รายงานประจำปี 2555 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม
31 ม.ค. 2012
ศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพบ้านกุดนาขาม สานมรดกศิลป์ถิ่นอีสาน
สินค้าที่ระลึกทั่วทุกมุมโลกที่มีมูลค่าการซื้อขายมหาศาลในแต่ละปีนั้น ผู้บริโภคจำนวนมากไม่ได้ซื้อเพื่อประโยชน์ใช้สอย หากแต่ซื้อเพราะพึงใจเสพมรดกทางวัฒนธรรม (Cultural Heritage) หรือเรื่องราวของท้องถิ่นหรือประเทศนั้น ๆ ในอดีต บ้านกุดนาขามเป็นเพียงพื้นที่แห้งแล้งสลับกับน้ำท่วมขัง ไม่สามารถเพาะปลูกได้ จนราษฎรต้องอพยพไปทำงานรับจ้างในต่างถิ่น ปี พ.ศ. ๒๕๒๖ โรงงานเครื่องปั้นดินเผาสำหรับศูนย์ศิลปาชีพบ้านกุดนาขามได้ถือกำเนิดขึ้น ตามพระราชเสาวนีย์สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เพื่อให้ราษฎรไม่ต้องทิ้งถิ่นฐานไปทำงานที่อื่นและหยุดยั้งการตัดไม้ทำลายป่า และด้วยทรงรำลึกถึงเครื่องปั้นดินเผาของบ้านเชียงที่แสดงถึงอารยธรรมยุคก่อนประวัติศาสตร์ของดินแดนแถบนี้ จึงน่าจะมีเครื่องปั้นดินเผาของภูมิภาคเดียวกันที่แสดงถึงอารยธรรมยุคปัจจุบันบ้าง ทรงแนะนำให้ถ่ายทอดวิถีชีวิตของท้องถิ่นอีสานลงบนเครื่องปั้นดินเผา เช่น พิธีแห่บั้งไฟ พิธีจับปลาบึก การแสดงดนตรีโปงลาง เซิ้งเรณูนคร การปลูกหม่อนเลี้ยงไหม การผลิตผ้าแพรวา และดอกไม้ป่าในท้องถิ่น เป็นต้น ผลิตภัณฑ์ที่ได้ นอกจากจะเป็นการเพิ่มโอกาสทางการตลาดแล้ว ยังได้พัฒนาศักยภาพทางด้านศิลปะของคนในชุมชนอีกด้วย ภายหลังศูนย์ศิลปาชีพบ้านกุดนาขามได้เปิดสอนอาชีพเพิ่มขึ้นอีกหลายแขนง อาทิ เครื่องเรือน ทอผ้า ดอกไม้ประดิษฐ์ ถนอมอาหารและโภชนาการ หล่อโลหะ ตีเหล็ก ทำอิฐบล็อก และปลูกหม่อน-เลี้ยงไหมเป็นต้น โดยปัจจุบัน มีพลตรีศักดา เปรุนาวิน ผู้บัญชาการกองพลทหารราบที่ ๓ เป็นผู้ดูแลศูนย์ฯ ศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพบ้านกุดนาขามได้เข้าร่วม “กิจกรรมการส่งเสริมนวัตกรรมอุตสาหกรรมและอุตสาหกรรมเชิงสร้างสรรค์” กับ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม และได้นำภูมิปัญญาอัตลักษณ์อีสานมาสร้างต้นแบบผลิตภัณฑ์ใหม่ที่ทรงคุณค่า มีสีสันและลวดลายที่แตกต่างไปจากผลิตภัณฑ์อื่นในท้องถิ่น สร้างความหลากหลายให้กับผู้บริโภค ช่วยให้ยอดจำหน่ายผลิตภัณฑ์รูปแบบใหม่เพิ่มขึ้นอีกประมาณร้อยละ ๐.๕ และยังทำให้สมาชิกผู้ปฏิบัติงานได้เรียนรู้เทคนิคการผลิตใหม่ ๆก่อให้เกิดทักษะการทำงานที่หลากหลาย ส่งผลดีต่อการพัฒนาผลิตภัณฑ์ในท้องถิ่นได้อย่างยั่งยืน พลตรีศักดา เปรุนาวิน ผู้บัญชาการกองพลทหารราบที่ ๓ ศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพบ้านกุดนาขาม อ. เจริญศิลป์ จ. สกลนคร ๔๗๒๙๐ โทรศัพท์ : ๐๔๒ ๗๐๙ ๑๖๒ ที่มา : รายงานประจำปี 2555 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม
31 ม.ค. 2012