Category
เลขานุการกรม เปิดกิจกรรมการการเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับมาตรฐานทางจริยธรรม ประมวลจริยธรรม และข้อกำหนดจริยธรรม
กรุงเทพฯ 25 เมษายน 2567 - นางสาวประเทือง พฤกษาพิทักษ์กุล เลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ให้เกียรติเป็นประธานเปิด กิจกรรมการการเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับมาตรฐานทางจริยธรรม ประมวลจริยธรรม และข้อกำหนดจริยธรรมกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม โดยการบรรยายจากเจ้าหน้าที่กลุ่มนิติการ ให้กับเจ้าหน้าที่กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม หรือ ดีพร้อม (DIPROM) เข้าร่วมกิจกรรมดังกล่าว เข้าร่วมประชุม ณ ห้องประชุม 2 ชั้น 6 อาคารกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (DIPROM Headquarter) การจัดกิจกรรมในครั้งนี้ เป็นการพัฒนาและส่งเสริมจริยธรรมที่สอดคล้องกับแนวทางการส่งเสริมจริยธรรมภาครัฐ บทบาทภารกิจ สภาพปัญหาด้านจริยธรรม และวัฒนธรรมองค์กร เจ้าหน้าที่ดีพร้อม ได้ทราบถึงหลักเกณฑ์ในการปฏิบัติตนและรักษาคุณงามความดีที่ข้าราชการต้องยึดถือในการปฏิบัติงาน และให้ข้าราชการเกิดสำนึกลึกซึ้งและเที่ยงธรรมในหน้าที่ ผดุงเกียรติและศักดิ์ศรีข้าราชการควรแก่ความไว้วางใจและ เชื่อมั่นของประชาชน มีการประพฤติปฏิบัติตนอย่างมีคุณธรรมและรักษาจริยธรรมอย่าง เคร่งครัดอยู่เสมอ (DNA ชาว DIPROM ที่สะท้อนภาพลักษณ์ของ กสอ. ที่ดีพร้อม) และได้ใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติตนปฏิบัติงานอย่างมีคุณธรรม และรักษาจริยธรรม ได้อย่างถูกต้องและเหมาะสมอยู่เสมอ เพื่อพัฒนากรมส่งเสริมอุตสาหกรรมให้เป็นองค์กรธรรมาภิบาล ตอบสนองความต้องการของผู้รับบริการได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้ง การส่งเสริมและรักษาไว้ซึ่งคุณธรรมที่พึงประสงค์ 5 ประการ ได้แก่ พอเพียง วินัย สุจริต จิตอาสา กตัญญู เพื่อวางรากฐานให้บุคลากรมีส่วนร่วมสร้างสังคมไทยเป็นสังคมคุณธรรมอย่างยั่งยืน
25 เม.ย. 2024
"รสอ.วัชรุน" เข้าร่วมประชุม กมอ. ครั้งที่ 4/2567
กรุงเทพฯ 23 เมษายน 2567 - นายภาสกร ชัยรัตน์ อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม มอบหมายให้ นายวัชรุน จุ้ยจำลอง รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม เข้าร่วมการประชุมคณะกรรมการมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (กมอ.) ครั้งที่ 734-4/2567 พร้อมด้วย นายวันชัย พนมชัย เลขาธิการสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม ผู้ทรงคุณวุฒิ และคณะกรรมการฯ โดยมี นายบรรจง สุกรีฑา รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม เป็นประธานการประชุม ณ ห้องประชุม 230 ชั้น 2 อาคารสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) การประชุมในครั้งนี้ เป็นการรายงานสรุปผลการดำเนินงานในภาพรวมของ กมอ. และการดำเนินการแต่งตั้งผู้ตรวจสอบผลิตภัณฑ์เพิ่มเติมในสาขาต่าง ๆ และรายงานผลการทำผลิตภัณฑ์บางประเภทให้สิ้นสภาพ พร้อมทั้งพิจารณาร่างหลักเกณฑ์และเงื่อนไขมาตรฐาน สมรรถนะของผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมกว่า 52 มาตรฐาน ให้เป็นไปตามมาตรฐาน มอก. ตาม พรบ. มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 มาตรา 15 เพื่อคุ้มครองความปลอดภัยผู้บริโภค และอำนวยความสะดวกให้ผู้ประกอบการในการดำเนินธุรกิจ พร้อมกันนี้ ได้ให้ความเห็นชอบรายชื่อมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมที่จะจัดทำในปี 2567 เพิ่มเติมอีกจำนวน 31 มาตรฐานอีกด้วย ### PR.DIPROM (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม) รายงาน/ภาพข่าว)
25 เม.ย. 2024
“รสอ.วาที” นำทีมดีพร้อม มอบเงินบริจาคมูลนิธิช่วยคนตาบอดฯ
กรุงเทพฯ 23 เมษายน 2567 – นายวาที พีระวรานุพงศ์ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม พร้อมด้วย นายจักรพันธ์ เด่นดวงบริพันธ์ ผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร นำคณะผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ ศส.กสอ. มอบเงินบริจาคให้แก่มูลนิธิช่วยคนตาบอดแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชินูปถัมภ์ โดยมี นางณัฏฐา มะระกานนท์ รองประธานกรรมการมูลนิธิฯ และ นางสาวจรัสศรี ศรีมณี ผู้อำนวยการสำนักบริหารมูลนิธิฯ ให้การต้อนรับ พร้อมรับมอบเงินบริจาคเป็นยอดรวมทั้งสิ้น 10,234 บาท จากการจัดกิจกรรมร่วมสนุกซุ้มสอยดาว พราวโชค ในเทศกาลสืบสานประเพณีสงกรานต์ ศส.กสอ. ภายใต้โครงการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม ประจำปีงบประมาณ 2567 ระหว่างวันที่ 29 มีนาคม - 10 เมษายน ที่ผ่านมา มูลนิธิช่วยคนตาบอดแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชินูปถัมภ์ เป็นองค์กรสาธารณกุศลที่ให้ความช่วยเหลือคนพิการแห่งแรกในประเทศไทย โดยมุ่งช่วยเหลือผู้พิการทางการมองเห็น ด้วยการพัฒนาความรู้ความสามารถและประสบการณ์ที่จำเป็นในการดำเนินชีวิตประจำวันโดยมิได้หวังผลตอบแทน จัดตั้งขึ้นในปี พ.ศ.2482 มีการดำเนินงานด้านต่าง ๆ ออกเป็น 5 ส่วน คือโรงเรียนสอนคนตาบอดกรุงเทพ ศูนย์พัฒนาสมรรถภาพคนตาบอด ศูนย์เทคโนโลยีการศึกษาเพื่อคนตาบอด ศูนย์พัฒนาอาชีพคนตาบอด และศูนย์ฝึกอาชีพหญิงตาบอดสามพราน ปัจจุบัน มีนักเรียนศึกษาในโรงเรียนสอนคนตาบอดกรุงเทพ จำนวน 110 คน ### PR.DIPROM (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม) รายงาน/ภาพข่าว
25 เม.ย. 2024
เปิดแล้ว หลักสูตร คพอ. ดีพร้อม รุ่นที่ 412 กรุงเทพมหานคร
ขอเชิญผู้ประกอบการสมัครเข้าร่วมการฝึกอบรม หลักสูตร การพัฒนาผู้ประกอบการธุรกิจอุตสาหกรรมให้ดีพร้อม ประจำปี 2567 เพื่อพัฒนา SME ให้เป็น Smart SME และยกระดับธุรกิจให้เติบโต เกิดการเชื่อมโยงเครือข่ายผู้ประกอบการ SME ดำเนินการโดย : กองพัฒนาขีดความสามารถอุตสาหกรรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม สามารถสมัครได้ตั้งแต่วันนี้ - 21 พฤษภาคม 2567 สัมภาษณ์วันที่ 28 - 29 พฤษภาคม 2567 ประกาศผลวันที่ 4 มิถุนายน 2567 ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม 0 2430 6869 ต่อ 1272,1273 dipsmes.edu@gmail.com
25 เม.ย. 2024
ผู้ช่วยรัฐมนตรีฯ ศิรินันท์ เข้าร่วมประชุมคณะกรรมการยุทธศาสตร์ซอฟต์พาวเวอร์แห่งชาติ ครั้งที่ 2/2567
กรุงเทพฯ 22 เมษายน 2567 - นางสาวพิมพ์ภัทรา วิชัยกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม มอบหมายให้ นางสาวศิรินันท์ ศิริพานิช ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงอุตสาหกรรม เข้าร่วมประชุมคณะกรรมการยุทธศาสตร์ซอฟต์พาวเวอร์แห่งชาติ ครั้งที่ 2/2567 พร้อมด้วย นางดวงดาว ขาวเจริญ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม โดยมี นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เป็นประธานการประชุม ณ ตึกสันติไมตรี ทำเนียบรัฐบาล การประชุมดังกล่าวนายกรัฐมนตรีมอบนโยบายต่อที่ประชุมว่า นโยบายในแต่ละสาขา ควรเตรียมความพร้อมสำหรับการพัฒนาอุตสาหกรรมและคน ในช่วงของต้นน้ำ ไปจนถึงปลายน้ำ เพื่อให้ครอบคลุมถึงประชาชนทุกกลุ่ม โดยเฉพาะผู้ที่เริ่มต้น ต้องการฝึกฝนหรือเรียนรู้เพื่อสร้างอาชีพต่อไปในอนาคต โดยได้มอบนโยบายในการทำงาน จำนวน 3 ข้อ ดังนี้ ข้อ 1 ขอให้ทำแผนการ “รับ Register” เพื่อคัด 1 ครอบครัว 1 soft power ให้เร็วที่สุด เพื่อเราจะได้แยกความรู้ความสามารถตามความชำนาญและสาขาอาชีพ และนำคนไปเข้าหลักสูตรฝึกอบรม ซึ่งควรจะมีทั้ง Online และ Onsite ตามความสามารถ รวมถึงต้องจัด Class และวิธีการคัดเลือกผู้เข้าเรียนให้ทั่วถึง และยุติธรรม ข้อ 2 ขอให้เตรียม “เนื้อหา Content” ที่จะใช้ในการ Upskill/Reskill ให้ตรงกับความชำนาญ และเนื้อหาที่เป็นประโยชน์ First Impression ในการเรียนรู้สำคัญมาก เราไม่อยากเห็นประชาชนสมัครเข้ามาแล้วพบว่าไม่ได้มีเนื้อหาอะไรที่จะสอน เราไม่อยากเห็นภาพคนเข้าโครงการ แต่เนื้อหาไม่น่าสนใจ เกิดเป็น Bad Experience และทำให้คน Drop off ไปได้ และที่สำคัญ วิธีการเรียนการสอน ต้องเข้าใจง่าย มีมาตรฐานที่ดี และข้อที่ 3 การจัด Event ต้องขอให้เป็นการ “ต่อยอด” จากที่ภาคอุตสาหกรรมทำอยู่แล้ว รัฐควรพิจารณาในการต่อยอด Event ที่ทำแล้วจะช่วยขยายผลได้มาก ต่อยอดจากภาคอุตสาหกรรมให้เข้าถึงคนได้มากขึ้น และต้องให้แน่ใจว่าการต่อยอดนั้นเป็นประโยชน์มากขึ้น มีความคุ้มค่าในการลงทุน ที่ประชุมรับทราบคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการยุทธศาสตร์ซอฟต์พาวเวอร์แห่งชาติ เพิ่มเติม และรับทราบผลการประชุมคณะกรรมการพัฒนาซอฟต์พาวเวอร์แห่งชาติ โดย นายกรัฐมนตรีได้ขอบคุณคณะกรรมการฯ ทุกท่าน ที่ได้ดำเนินโครงการซอฟต์พาวเวอร์ในด้านต่าง ๆ เกิดผลดีต่อประเทศไทย ทำให้ต่างชาติรู้จักความเป็นไทยมากยิ่งขึ้น พร้อมกันนี้ ที่ประชุมได้ เห็นชอบในหลักการการจัดประชุมนานาชาติด้านซอฟต์พาวเวอร์ตามที่ฝ่ายเลขานุการเสนอ และเห็นชอบกรอบวงเงินงบประมาณการจัดประชุมฯ โดยมอบหมายให้สำนักงบประมาณและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ดำเนินการตามขั้นตอนเพื่อขอรับจัดสรรงบประมาณรายจ่ายงบกลางฯ ต่อไป และนายกรัฐมนตรีได้กำชับให้ผู้ที่เกี่ยวข้องพิจารณารายละเอียดของโครงการ ลดความซ้ำซ้อนการดำเนินงาน พร้อมกับเน้นย้ำเรื่องการใช้จ่ายงบประมาณต้องถูกต้องตามระเบียบราชการ ตรงตามวัตถุประสงค์ ให้คำนึงถึงความคุ้มค่าและประโยชน์ที่ได้รับเป็นสำคัญ โดยให้เรียงลำดับความสำคัญของโครงการในการพิจารณางบประมาณ ขอให้คณะกรรมการ และทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องช่วยกันขับเคลื่อน ผลักดันนโยบายซอฟต์พาวเวอร์ให้เกิดผลเป็นรูปธรรม เกิดประโยชน์สูงสุด หากติดขัดปัญหาตรงไหนขอให้รายงานมาให้ทราบ เพื่อจะได้แก้ไขปัญหาช่วยให้เกิดผลสำเร็จตามระยะเวลาที่กำหนดไว้
23 เม.ย. 2024
ก.อุตฯ มอบ 74 รางวัล เชิดชูเกียรติ เกษตรกรชาวไร่อ้อยและโรงงานน้ำตาลต้นแบบ ประจำปี 2566
กรุงเทพฯ 22 เมษายน 2567 - นางสาวพิมพ์ภัทรา วิชัยกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เป็นประธานมอบรางวัลชาวไร่อ้อยดีเด่นและโรงงานน้ำตาลดีเด่น ประจำปี พ.ศ. 2566 พร้อมด้วย นายณัฐพล รังสิตพล ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม นายดนัยณัฏฐ์ โชคอำนวย ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม นางสาวไพลิน เทียนสุวรรณ เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม นายบรรจง สุกรีฑา รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม นายศุภกิจ บุญศิริ ผู้ตรวจราชการกระทรวงอุตสาหกรรม นายวันชัย พนมชัย เลขาธิการสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม นายวิฤทธิ์ วิเศษสินธุ์ เลขาธิการคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย นายวาที พีระวรานุพงศ์ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม และคณะผู้บริหารกระทรวงอุตสาหกรรม เข้าร่วม ณ ห้องแกรนด์ บอลรูม โรงแรมมิราเคิล แกรนด์ คอนเวนชั่น นางสาวพิมพ์ภัทรา กล่าวว่า กระทรวงอุตสาหกรรมได้จัดงานมอบรางวัลชาวไร่อ้อยดีเด่นและโรงงานน้ำตาลดีเด่น เพื่อประกาศเกียรติคุณและเชิดชูเกียรติเกษตรกรชาวไร่อ้อย ผู้ประกอบการโรงงานน้ำตาลที่มีความเป็นเลิศในแต่ละด้านรางวัลที่กำหนด เพื่อส่งเสริมให้ภาคอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทรายของไทยมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องและก้าวสู่ความสำเร็จอย่างยั่งยืน ส่งเสริมการดำเนินธุรกิจที่มีความรับผิดชอบต่อสังคม อนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ส่งเสริมสนับสนุนเกษตรกรชาวไร่อ้อยและโรงงานน้ำตาลให้เติบโตอย่างมีคุณภาพ ใช้ศักยภาพที่มีอยู่อย่างเต็มที่ ในการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทราย และการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ ไปพร้อม ๆ กับการดูแลสังคมและสิ่งแวดล้อมอย่างสมดุล ภายใต้นโยบาย “สร้างอุตสาหกรรมดี อยู่คู่ชุมชนอย่างยั่งยืน” โดยในวันนี้ได้มีการมอบรางวัลให้กับเกษตรกรชาวไร่อ้อยและผู้ประกอบการโรงงานน้ำตาล รวม 74 รางวัล ซึ่งต้องขอแสดงความยินดีและชื่นชมกับความสำเร็จของทุกท่านที่ถือได้ว่าเป็นบุคคลและองค์กรต้นแบบ และเชื่อมั่นว่างานในวันนี้จะเป็นอีกก้าวสำคัญและเป็นพลังในการสร้างสรรค์และพัฒนาอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทรายของไทยให้สามารถแข่งขันได้ในเวทีโลกต่อไป “กระทรวงอุตสาหกรรม ขอขอบคุณ 4 องค์กรชาวไร่อ้อย ที่มีความตั้งใจและให้ความร่วมมือในการลดปริมาณอ้อยไฟไหม้ในฤดูการผลิตปี 2566/67 ยังคงมีปริมาณอ้อยไฟไหม้อยู่ในระดับที่สูง ในฤดูการผลิตปีต่อไป กระทรวงอุตสาหกรรม จึงได้วางแนวทางบริหารจัดการแก้ไขปัญหาลดการเผาอ้อยให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น อาทิ 1) การนำระบบ AI มาจำแนกอ้อยเผาและอ้อยสดก่อนเข้าหีบ 2) การสนับสนุนสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำให้เกษตรกรชาวไร่อ้อยกู้เพื่อซื้อเครื่องจักรกลการเกษตรใช้ในไร่อ้อยและเก็บเกี่ยวอ้อยสด 3) จัดหาเครื่องสางใบอ้อย 4) มาตรการทางกฎหมาย 5) ปรับปรุงการคำนวณราคาอ้อยให้เป็นตามเกณฑ์คุณภาพการผลิตอ้อย 6) ส่งเสริมการรับซื้อใบอ้อยเพื่อเพิ่มรายได้และลดการเผาใบอ้อย 7) บูรณาการการทำงานร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการลดการเผาอ้อยในพื้นที่ที่มีการเผาซ้ำซาก คาดว่าฤดูการผลิตปีต่อไป จะมีปริมาณอ้อยสดในทิศทางที่เพิ่มขึ้น ส่งผลทำให้ผลผลิตน้ำตาลต่อตันอ้อยสูงขึ้น สามารถสร้างรายได้ให้แก่พี่น้องเกษตรกรชาวไร่อ้อยมากกว่า 240,000 ราย และโรงงานน้ำตาลเพิ่มขึ้นด้วย“ รมว.อุตสาหกรรม กล่าว สำหรับรางวัลชาวไร่อ้อยดีเด่นและโรงงานน้ำตาลดีเด่น ประจำปี พ.ศ. 2566 มีจำนวน 9 ประเภทรางวัล ประกอบด้วย1. รางวัลชาวไร่อ้อยดีเด่น แบ่งเป็น 5 ประเภท รวม 47 รางวัล ได้แก่ รางวัลแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงตามศาสตร์พระราชา รางวัลการบริหารจัดการปัจจัยการผลิตที่มีประสิทธิภาพ รางวัลการบริหารจัดการไร่อ้อยเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม รางวัลชาวไร่อ้อยตัวอย่าง และรางวัลชาวไร่อ้อยดีเด่นของสถาบันชาวไร่อ้อย2. รางวัลโรงงานน้ำตาลดีเด่น แบ่งเป็น 4 ประเภท รวม 27 รางวัล ได้แก่ รางวัลโรงงานน้ำตาลยอดเยี่ยม เป็นรางวัลพิเศษมอบให้กับผู้ประกอบการที่ได้รับรางวัลโรงงานน้ำตาลดีเด่น ลำดับที่ 1 ด้านการส่งเสริมและพัฒนาประสิทธิภาพการผลิตเป็นระยะเวลา 3 ปี ติดต่อกัน ตั้งแต่ปี 2564 – 2566 ได้แก่ โรงงานรวมเกษตรกรอุตสาหกรรม รางวัลอ้อยรักษ์โลก รางวัลการส่งเสริมและพัฒนาประสิทธิภาพการผลิต และรางวัลการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพวัตถุดิบ
23 เม.ย. 2024
“รสอ.วัชรุน” ส่งเสริมสุขภาวะองค์กร Happy DIPROM
กรุงเทพฯ 19 เมษายน 2567 – นายวัชรุน จุ้ยจำลอง รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ให้เกียรติเป็นประธานการประชุมคณะกรรมการอำนวยการโครงการส่งเสริมสุขภาวะองค์กรในวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมตามแนวทางมาตรฐานองค์กรแห่งความสุข โดยมีคณะผู้บริหาร และเจ้าหน้าที่ดีพร้อม (DIPROM) เข้าร่วมประชุม ณ ห้องประชุม 2 ชั้น 3 อาคารกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (DIPROM Headquarter) การประชุมดังกล่าง ได้แจ้งวัตถุประสงค์ เป้าหมาย แผนการการดำเนินโครงการ ความคืบหน้ากิจกรรมพัฒนาผลิตภาพควบคู่กับการสร้างสุขภาวะองค์กรในวิสาหกิจ กิจกรรมสร้างศูนย์ Happy Workplace Center ความคืบหน้ากิจกรรม Happy DIPROM การประกวดองค์กรต้นแบบ ประจำปีงบประมาณ 2567 นอกจากนี้ ยังได้ร่วมพิจารณาเกี่ยวกับการเสนอรางวัล HERO SHAP Agents สำหรับทีมงานที่มีผลงานดีเด่นในการส่งเสริมสถานประกอบการเพื่อสร้างขวัญและกำลังใจในการทำงานอีกด้วย ### PR.DIPROM (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม) รายงาน/ภาพข่าว
22 เม.ย. 2024
"รสอ.ดวงดาว" ร่วมประชุมคณะกรรมการพัฒนาซอฟต์พาวเวอร์แห่งชาติ ครั้งที่ 4
กรุงเทพฯ 19 เมษายน 2567 - นางดวงดาว ขาวเจริญ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม เข้าร่วมการประชุมคณะกรรมการซอฟต์พาวเวอร์แห่งชาติ ครั้งที่ 4/2567 พร้อมด้วย นายแพทย์สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี ประธานคณะอนุกรรมการ Soft Power Forum คณะผู้บริหาร และเจ้าหน้าที่ดีพร้อม (DIPROM) เข้าร่วม โดยมี นางสาวแพรทองธาร ชินวัตร เป็นประธานคณะกรรมการพัฒนาซอฟต์พาวเวอร์แห่งชาติ ณ วิเทศสโมสร กระทรวงการต่างประเทศ การประชุมดังกล่าว ได้มีการพิจารณาประเด็นสำคัญต่าง ๆ ดังนี้ 1) กระบวนการขับเคลื่อนแผนดำเนินโครงการภายใต้ปีงบประมาณ 2567 2) การแต่งตั้งคณะกรรมการฯ เพิ่มเติม 3) ความคืบหน้าการจัดงาน SPLASH และ 4) การกำหนดกรอบวงเงินเพื่อดำเนินโครงการภายใต้อุตสาหกรรมซอฟต์พาวเวอร์เป้าหมาย ปีงบประมาณ 2567 ทั้งนี้ ในที่ประชุมมีการสรุปภาพรวมการทบทวนแผนงานโครงการของอุตสาหกรรมเป้าหมายซอฟต์พาวเวอร์ 11 สาขา ซึ่งในส่วนของการดำเนินโครงการพัฒนาซอฟต์พาวเวอร์ของ กสอ. ร่วมหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้มีการจัดตั้งโครงการผลักดันหนึ่งหมู่บ้าน หนึ่งเชฟอาหารไทย โครงการร้านอาหารเชฟชุมชนอาหารถิ่นอาหารไทย โครงการพัฒนาศักยภาพบุคลากรในอุตสาหกรรมแฟชั่น และโครงการส่งเสริมภาพลักษณ์สินค้าแฟชั่นไทยสู่สากล ### PR.DIPROM (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม) รายงาน/ภาพข่าว
22 เม.ย. 2024
“ดีพร้อม” หารือความร่วมมือ “สำนักงานสภาเกษตรกรแห่งชาติ”
กรุงเทพฯ 19 เมษายน 2567 – นายภาสกร ชัยรัตน์ อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม เข้าร่วมการประชุมหารือเกี่ยวกับความร่วมระหว่าง กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม และสำนักงานสภาเกษตรกรแห่งชาติ โดยมี นายวัชรุน จุ้ยจำลอง รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม คณะผู้บริหาร เจ้าหน้าที่ดีพร้อม (DIPROM) คณะผู้บริหาร และเจ้าหน้าที่สำนักงานสภาเกษตรกรแห่งชาติ เข้าร่วมประชุม ณ อาคารรัฐประศาสนภัคดี (อาคาร B) ชั้น 1 ศูนย์ราชการฯ ถนนแจ้งวัฒนะ การประชุมในวันนี้ ดีพร้อมได้เสนอแนวทางการบูรณาการความร่วมมือ เพื่อผลักดันให้เกิดกลไกการพัฒนาอย่างเป็นรูปธรรม เพื่อสร้างโอกาสในการเข้าถึงตลาดให้แก่เกษตรกร โดยริเริ่มส่งเสริมเกษตรแปรรูปมูลค่าสูง ได้แก่ การแปรรูปโกโก้ การแปรรูปไผ่ การแปรรูปพืชสมุนไพร ตลอดจนการนำวัสดุเหลือใช้จากการเกษตร (Waste) ไปทำเป็นพลังงานชีวมวล (Biomass) ทั้งนี้ ดีพร้อมจะมีการลงนามความร่วมมือกับสำนักงานสภาเกษตรกรแห่งชาติ เพื่อร่วมกันพัฒนาภาคการเกษตรของประเทศต่อไป ### PR.DIPROM (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม) รายงาน/ภาพข่าว
22 เม.ย. 2024
“ดีพร้อม” สร้างเครือข่ายพันธมิตรอุตสาหกรรม
จ.สุพรรณบุรี 18 เมษายน 2567 – นายภาสกร ชัยรัตน์ อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม พร้อมด้วย นายวาที พีระวรานุพงศ์ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม นำคณะผู้บริหารลงพื้นที่ประชุมร่วมกับบริษัท เครือสุมิพล จำกัด เพื่อหารือเกี่ยวกับความร่วมมือการพัฒนาภาคอุตสาหกรรม ด้านเกษตรอุตสาหกรรม และเทคโนโลยีอัตโนมัติ โดยมี คุณทองพล อุลปาทร ผู้บริหาร บริษัท เครือสุมิพล จำกัด และสถาบันเทคโนโลยีการผลิตสุมิพล ให้การต้อนรับ ณ ศูนย์การเรียนรู้ บริษัท เครือสุมิพล อ.บางปลาม้า กิจกรรมในวันนี้ เป็นการหารือถึงแนวทางความร่วมมือในการส่งเสริมเกษตรอุตสาหกรรม การแปรรูปผลิตภัณฑ์หทางการเกษตรที่มีมูลค่าทางเศรษฐกิจสูงในเชิงพื้นที่ การพัฒนาพลังงานชีวมวลจากผลิตผลในพื้นที่ รวมถึงการสร้างและพัฒนาหลักสูตรการพัฒนาบุคลกรภาคอุตสาหกรรม เช่น หลักสูตร LEAN IoT เพื่อพัฒนาบุคลากรในการนำ IoT ไปประยุกต์ใช้ในสถานประกอบการ หลักสูตร LEAN Process พัฒนาบุคลากรให้สามารถวิเคราะห์สภาพปัญหาต่างๆ ในกระบวนการผลิตนำไปสู่การลดต้นทุนและเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตได้ เป็นต้น และการต่อยอดเครือข่ายในการใช้ศูนย์ปฎิรูปอุตสาหกรรม ในการพัฒนาวิสาหกิจในพื้นที่ จ.สุพรรณบุรี และจังหวัดใกล้เคียงอีกด้วย ### PR.DIPROM (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม) รายงาน/ภาพข่าว
22 เม.ย. 2024