อธิบดีณัฏฐิญา นำทีมดีพร้อม ร่วมคณะ รมว.เอกนัฏ ล่องใต้ตรวจราชการ ลุยยกระดับเศรษฐกิจฐานราก เน้นตลาดนำ นวัตกรรมเสริม เพิ่มรายได้ชุมชน หวังกระตุ้น GDP ระดับพื้นที่
จ.สุราษฎร์ธานี 17 กุมภาพันธ์ 2568 - นางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ร่วมลงพื้นที่ตรวจราชการกลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอ่าวไทย (ชุมพร นครศรีธรรมราช พัทลุง สุราษฎร์ธานี และสงขลา) ในโอกาสการประชุมคณะรัฐมนตรีอย่างเป็นทางการนอกสถานที่ ครั้งที่ 1/2568 โดยมี นายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ให้เกียรตินำคณะฯ พร้อมด้วย ดร.ณัฐพล รังสิตพล ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม นายพงศ์พล ยอดเมืองเจริญ เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมและโฆษกกระทรวงอุตสาหกรรม นางดวงดาว ขาวเจริญ และ นายสุรพล ปลื้มใจ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม และคณะผู้บริหารกระทรวงอุตสาหกรรมจากส่วนกลางและในพื้นที่ภาคใต้ ณ กลุ่มวิสาหกิจชุมชนหัตถกรรมจักสานกระจูดบ้านห้วยลึก อ.พุนพิน โดยมี นายบันดาล สถิรชวาล รองผู้ว่าราชการจังหวัดสุราษฎร์ธานี กล่าวต้อนรับ และ นางพัชรี จิรดิลก ประธานกลุ่มฯ ให้การต้อนรับ พร้อมทั้งสรุปภาพรวมการดำเนินงานและนำเยี่ยมชมกลุ่มวิสาหกิจชุมชนดังกล่าว นายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยภายหลังการลงพื้นที่ตรวจราชการว่า กระทรวงอุตสาหกรรม มุ่งมั่นที่จะ “ปฏิรูปอุตสาหกรรมสู่เศรษฐกิจยุคใหม่ ทันสมัย สะอาด สะดวก โปร่งใส” และวางรากฐาน สร้างความเข้มแข็งให้ชุมชนในพื้นที่ ด้วยการเพิ่มมูลค่าสินค้าเกษตรด้วยการนำวัตถุดิบในท้องถิ่นมาแปรรูปในเชิงอุตสาหกรรม การผนวกนวัตกรรมเข้ากับวิถีชุมชน เพื่อก้าวไปสู่การเป็นเกษตรอุตสาหกรรม นำเอาภูมิปัญญามาต่อยอดผ่านการใช้ความคิดสร้างสรรค์จนทำให้เกิดเป็นธุรกิจ สร้างอาชีพและรายได้ให้ชุมชน รวมทั้งเป็นการส่งเสริมการพัฒนาและสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ให้สินค้าไทยเป็นซอฟต์พาวเวอร์ (Soft Power) นำไปสู่การผลิตสินค้าที่มีคุณภาพสอดคล้องกับความต้องการของตลาดภายใต้แนวทาง “ตลาดนำ นวัตกรรมเสริม เพิ่มรายได้” ซึ่งเป็นการกระจายความเจริญสู่ระดับพื้นที่ สร้างความสามารถในการเติบโตในตลาดโลก ตลอดจนสร้างความยั่งยืนให้กับเศรษฐกิจชุมชนไทยต่อไป สำหรับกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม หรือดีพร้อม (DIPROM)ได้เข้าไปส่งเสริมและพัฒนากลุ่มวิสาหกิจฯ ในการให้คำปรึกษาแนะนำเชิงลึกด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์จากเส้นใยชีวภาพ ด้วยการนำเทคโนโลยีการปรับปรุงเส้นใยกระจูดที่สามารถป้องกันเชื้อรา การเพิ่มความทนทานให้เส้นใย และการใช้เทคโนโลยีการขึ้นรูปเส้นใยกระจูดเป็นแผ่นเคลือบ ซึ่งสามารถนำไปใช้แทนวัสดุประเภทหนังเทียม เพื่อทำของใช้และของตกแต่งได้ และเกิดผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ ที่หลากหลาย ส่งผลให้ยอดขายเพิ่มขึ้นจากเดิมไม่น้อยกว่าร้อยละ 15.90 ต่อปี นอกจากนี้ ยังให้บริการด้านเงินทุนหมุนเวียน ดีพร้อมเปย์ การพัฒนาผลิตภัณฑ์จากเส้นใยชีวภาพ โดยการประยุกต์ใช้โมเดลเศรษฐกิจ BCG ด้วยการนำเส้นใยกระจูดที่เหลือทิ้งจากกระบวนการผลิตมาวิจัยและพัฒนาเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มจากของเหลือทิ้งให้สามารถกลับมาใช้ประโยชน์ได้ ภายใต้นโยบาย “ดีพร้อมคอมมูนิตี้ ที่นี่มีแต่ให้” ผ่าน กลยุทธ์ 4 ให้ 1 ปฏิรูป ที่มุ่งเน้นให้ผู้ประกอบการและวิสาหกิจไทยเดินหน้าเติบโตอย่างยั่งยืน รวมถึงการพัฒนาอุตสาหกรรมใหม่ในพื้นที่และส่งเสริมให้อุตสาหกรรมดีอยู่คู่ชุมชน ทั้งนี้ กลุ่มวิสาหกิจดังกล่าว เป็นผู้ผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์จากเส้นใยกระจูด อาทิ กระเป๋า ของใช้ของตกแต่ง โดยนำภูมิปัญญาผนวกกับพืชพื้นถิ่นที่มีอยู่เดิม นำมาต่อยอดและพัฒนาออกแบบผลิตภัณฑ์ที่ประยุกต์ให้เข้ากับยุคสมัยและใช้งานได้หลากหลายตรงความต้องการของลูกค้า มีคุณภาพและได้รับมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน (มผช.) จนเป็นสินค้า OTOP ระดับประเทศ อีกทั้ง ยังมีการขยายตลาดเพิ่มขึ้น โดยปัจจุบันมีสัดส่วนตลาดภายในประเทศร้อยละ 80 แบ่งเป็นค้าส่ง ร้อยละ 60 และค้าปลีก ร้อยละ 20 สำหรับตลาดต่างประเทศ มีสัดส่วนร้อยละ 20 โดยมีตลาดส่งออก อาทิ สวีเดน ญี่ปุ่น เกาหลี เป็นต้น ซึ่งตลาดข้างต้นถือว่าเป็นตลาดหลักที่สร้างรายได้ให้กับชุมชนในพื้นที่ได้เป็นอย่างดี
21 ก.พ. 2025
พิธีอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุ (พระเขี้ยวแก้ว) กลับสาธารณรัฐประชาชนจีน ณ มณฑลพิธีท้องสนามหลวง
15 กุมภาพันธ์ 2568 - นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ในฐานะประธานคณะกรรมการดำเนินโครงการอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุ (พระเขี้ยวแก้ว) เป็นประธานในพิธีอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุ (พระเขี้ยวแก้ว) ณ มณฑลพิธีท้องสนามหลวง เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร การนี้ สมเด็จพระมหาธีราจารย์ เจ้าอาวาสวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม เป็นประธานฝ่ายสงฆ์ไทย และท่านจง ซิ่ง รองประธานพุทธสมาคมจีน เป็นประธานสงฆ์ฝ่ายจีน ในโอกาสนี้ นายณัฐพล รังสิตพล ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม ได้มอบหมายให้ นางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม เข้าร่วมพิธีดังกล่าว โดยมี นายชูศักดิ์ ศิรินิล รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี พลอากาศตรีสุพิชัย สุนทรบุระ รองเลขาธิการพระราชวัง นางสาวสุดาวรรณ หวังศุภกิจโกศล รัฐมนตรีกระทรวงวัฒนธรรม นางสาวธีรรัตน์ สำเร็จวาณิชย์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย ข้าราชการ ผู้แทนส่วนราชการ และประชาชน เข้าร่วมพิธีดังกล่าวด้วย นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รองนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า รัฐบาลได้อัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุ (พระเขี้ยวแก้ว) จากสาธารณรัฐประชาชนจีนมาประดิษฐานเป็นการชั่วคราวในประเทศไทย ตั้งแต่วันที่ 4 ธันวาคม 2568 จนถึงวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2568 รวมระยะเวลา 73 วัน เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม ๒๕๖๗ และเป็นการเฉลิมฉลองวาระครบรอบ 50 ปี แห่งความสัมพันธ์ทางการทูตไทย-จีน โดยมีประชาชนทั่วประเทศเดินทางเข้าร่วมสักการะพระบรมสารีริกธาตุ (พระเขี้ยวแก้ว) ตลอด 73 วัน จำนวนทั้งสิ้น 2,993,737 คน นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รองนายกรัฐมนตรี กล่าวเพิ่มเติมถึงความสำเร็จของพิธีอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุ (พระเขี้ยวแก้ว) หลังจากประดิษฐานเป็นการชั่วคราวในประเทศไทยครบ 73 วัน จนถึงการอัญเชิญกลับสู่สาธารณรัฐประชาชนจีนว่า เป็นอีกหนึ่งเหตุการณ์สำคัญที่แสดงถึงสายสัมพันธ์อันแน่นแฟ้นระหว่างสองประเทศที่ยาวนานกว่า 50 ปี โดยระบุว่า "ความร่วมมือในครั้งนี้เป็นสิ่งที่แสดงให้เห็นถึงสายใยแห่งศรัทธาและมิตรภาพของทั้งสองประเทศ" พร้อมเน้นย้ำว่าความสัมพันธ์อันดีระหว่างไทยและจีนจะยังคงเป็นไปอย่างมั่นคงและยั่งยืนตลอดไป พิธีอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุ (พระเขี้ยวแก้ว) กลับคืนสู่สาธารณรัฐประชาชนจีน เริ่มขึ้นตั้งแต่เวลา 06.00 น. โดยมีคณะสงฆ์จากไทยและจีน พร้อมด้วยคณะผู้บริหารจากทั้งสองประเทศเข้าร่วมในพิธี ท่ามกลางพุทธศาสนิกชนที่เดินทางมาร่วมพิธีเป็นจำนวนมาก ภายในพิธีมีการถวายพวงมาลัย การสวดเจริญพระพุทธมนต์ และประกอบพิธีส่งมอบพระบรมสารีริกธาตุอย่างสมเกียรติ การอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุ (พระเขี้ยวแก้ว) มาประดิษฐานในประเทศไทยครั้งนี้ ไม่ได้เป็นเพียงการแสดงออกถึงความศรัทธาร่วมกันในพระพุทธศาสนาเท่านั้น แต่ยังเป็นสัญลักษณ์แห่งมิตรภาพและความร่วมมือทางวัฒนธรรมที่สืบทอดมายาวนาน และจะยังคงดำเนินต่อไปอย่างยั่งยืนในอนาคต
21 ก.พ. 2025
“เอกนัฏ” ปาฐกถาพิเศษ FTI EXPO 2025 เสริมพลังอุตสาหกรรมไทย เพื่ออนาคตไทยที่ยั่งยืน
15 กุมภาพันธ์ 2568 - นายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวปาฐกถาพิเศษในหัวข้อ แนวทางการปฏิรูปภาคอุตสาหกรรมไทยสู่อนาคต ในงาน FTI EXPO 2025 จัดขึ้นภายใต้แนวคิด “EMPOWERING THAI INDUSTRY, ELEVATING THAILAND’S FUTURE เสริมพลังอุตสาหกรรมไทย เพื่ออนาคตไทยที่ยั่งยืน” โดยมี นางดวงดาว ขาวเจริญ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม นายเกรียงไกร เธียรนุกุล ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย พร้อมด้วย คณะผู้บริหารกระทรวงอุตสาหกรรม และคณะผู้บริหารสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ให้การต้อนรับ ณ Hall 5-8 ชั้น LG ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ รัฐมนตรีฯ เอกนัฏ กล่าวว่า ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีความพร้อมและมีศักยภาพในการเป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจที่สำคัญในภูมิภาคเอเชีย มีพื้นที่เศรษฐกิจ EEC พื้นที่การนิคมอุตสาหกรรมเป็นแรงผลักดันสำคัญในการดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศ และที่สำคัญมีสภาอุตสาหกรรมที่ช่วยผลัดดันภาคอุตสาหกรรมไทยก้าวสู่เศรษฐกิจยุคใหม่ที่ทันสมัย และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศในระยะยาว ปัญหาท้าทายภาคอุตสาหกรรมไทยในปัจจุบัน เช่น ปัญหาการเผาอ้อย จับสินค้าเถื่อนไม่ได้มาตราฐาน กระทรวงอุตสาหกรรมได้ใช้มาตราการอย่างเต็มที่เพื่อแก้ไขปัญหา แต่วันนี้ภารกิจที่กระทรวงอุตสาหกรรมเผชิญต้องได้ร่วมมือกับทางสภาอุตสาหกรรมในการปฏิรูปอุตสาหกรรม ส่งเสริมการใช้เทคโนโลยี Ai ปัญญาประดิษฐ์มาแก้ไขปัญหา และส่งเสริมสนับสนุนภาคเอกชนให้สามารถประกอบกิจการได้อย่างสะดวกและมีความรับผิดชอบ ในอนาคตกระทรวงอุตสาหกรรมจะนำเทคโนโลยี Ai ปัญญาประดิษฐ์มาใช้ในกระบวนการออกใบอนุญาต ให้มีความโปร่งใส มีความสะดวกมากขึ้น ซึ่งที่ผ่านมารัฐบาลได้ปลดล็อก“โซลาร์รูฟท็อป” โดยผู้ประกอบการหรือประชาชนไม่ต้องขอใบอนุญาต รง.4 เพื่ออำนวยความสะดวกและส่งเสริมการใช้พลังงานสะอาดในทุกภาคส่วน ปัจจุบันกระทรวงอุตสาหกรรมผลักดัน พรบ.กากอุตสาหกรรม ซึ่งจะเป็นกฎหมายสำคัญในการจัดการและแก้ไขปัญหากากอุตสาหกรรมในประเทศไทยที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและชุมชน “กระทรวงอุตสาหกรรมและทุกภาคส่วนยินดีสนับสนุนผู้ประกอบการไทยอย่างเต็มที่เพื่อให้ทุกธุรกิจเติบโตอย่างยั่งยืน กระทรวงอุตสาหกรรมพร้อมที่จะปรับแก้ไขใช้เทคโนโลยีสร้างความสะดวกและโปร่งใส เตรียมความพร้อมให้ SME ไทยขยายตลาดสู่ต่างประเทศ ปฎิรูปอุตสาหกรรมไทยด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรมให้เข้มแข็งและยั่งยืน“ รัฐมนตรีฯ เอกนัฏ กล่าวปิดท้าย
21 ก.พ. 2025
“อธิบดีณัฏฐิญา” แท็คทีมดีพร้อม ประชุมชี้แจงแนวทางการประเมินการทำงานฯ ปี 68 สร้าง “ดีพร้อมคอมมูนิตี้” เน้นปฏิรูปอุตสาหกรรมสู่เศรษฐกิจยุคใหม่ ร่วมดัน GDP ตามนโยบาย รมว.เอกนัฏ
กรุงเทพฯ 11 กุมภาพันธ์ 2568 - นางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ให้เกียรติเป็นประธานการประชุมชี้แจงแนวทางและรูปแบบการติดตาม การประเมินผลและการประเมินความคุ้มค่าการดำเนินงานโครงการของ กสอ. ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 ร่วมด้วย นางสุชาดา โพธิ์เจริญ ที่ปรึกษาปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม นางดวงดาว ขาวเจริญ นายสุรพล ปลื้มใจ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม คณะผู้บริหารและเจ้าหน้าที่กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม หรือดีพร้อม (DIPROM) และคณะที่ปรึกษาจาก บริษัท ทริส คอร์ปอเชั่น จำกัด ณ ห้องประชุม 1 ชั้น 3 อาคารกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (DIPROM Headquarter) พระรามที่ 6 ราชเทวี และในรูปแบบออนไลน์ผ่านระบบ Zoom Meeting การประชุมดังกล่าวจัดขึ้นเพื่อชี้แจงแนวทางและรูปแบบการติดตามและประเมินผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม กสอ. ปี 2568 และเตรียมความพร้อมในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ดีพร้อม โดยการติดตามและประเมินผลฯ ถือว่าเป็นปัจจัยสำคัญในการดำเนินงานให้ได้ผลผลิต ผลลัพธ์ตรงตามวัตถุประสงค์อย่างมีประสิทธิภาพและมีประโยชน์ที่สมดุลกับทรัพยากรที่ใช้ พร้อมทั้งดำเนินการวิเคราะห์และประเมินผลปัจจัยที่ทำให้เกิดความคุ้มค่าทั้งในเชิงเศรษฐกิจ สังคม เพื่อให้สอดคล้องกับภารกิจและนโยบายของดีพร้อม และแผนยุทธศาสตร์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง สำหรับปี 2568 ดีพร้อม มีแนวทางการพัฒนาผู้ประกอบการและภาคอุตสาหกรรมผ่าน 6 กลไกสำคัญ คือ 1) การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึก 2) การนำเทคโนโลยี ดิจิทัล นวัตกรรม และความคิดสร้างสรรค์มาประยุกต์ใช้ 3) การสนับสนุนการเข้าถึงแหล่งเงินทุน 4) การเชื่อมสิทธิประโยชน์ 5) การเชื่อมโยงเครือข่ายพันธมิตร และ 6) การผลักดันธุรกิจสู่สากล ภายใต้นโยบาย “ดีพร้อมคอมมูนิตี้ ที่นี่มีแต่ให้” ผ่านกลยุทธ์ 4 ให้ 1 ปฏิรูป ได้แก่ 1) ให้ทักษะใหม่ 2) ให้เครื่องมือที่ทันสมัย 3) ให้โอกาสโตไกล 4) ให้ธุรกิจไทยที่ดีคู่ชุมชน และปฏิรูปดีพร้อม ซึ่งดีพร้อมคอมมูนิตี้นี้ จะสามารถช่วยให้ผู้ประกอบการปรับตัวให้ทันต่อเศรษฐกิจยุคใหม่ เกิดการสร้างงาน สร้างรายได้ และกระตุ้นเศรษฐกิจเชิงบวกในหลายมิติ ทั้งระดับพื้นที่และระดับประเทศ สอดรับกับการปฏิรูปอุตสาหกรรมสู่เศรษฐกิจยุคใหม่ "สู้ เซฟ สร้าง ปฏิรูปอุตสาหกรรมไทย” พร้อมร่วมผลักดัน GDP ให้เพิ่มขึ้นอีก 1% ตามนโยบายของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม นายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์ โดยดีพร้อมได้มอบหมายให้ บริษัท ทริส คอร์ปอเรชั่น จํากัด เป็นที่ปรึกษาในการดำเนินการติดตามและประเมินผลดังกล่าว ซึ่งจะมุ่งเน้นถึงความสอดคล้องและเชื่อมโยงกับนโยบายประเทศ นโยบายกระทรวงฯ การดำเนินงานที่สะท้อนความก้าวหน้าในการสนับสนุนแผนประเทศและบทบาท กสอ. ในการพัฒนาอุตสาหกรรมและส่งเสริมผู้ประกอบการตั้งแต่ต้นน้ำ – ปลายน้ำ รวมถึงความสอดคล้องการพัฒนาผู้ประกอบการเชิงพื้นที่และความต้องการของตลาดและรูปแบบการทำธุรกิจในอนาคต โดยในปีนี้ทางทีมที่ปรึกษาฯ จะเพิ่มเครื่องมือสำหรับการประเมินผลฯ จากเดิมที่ใช้เครื่องมือประเมินผล CIPPi Model เพียงอย่างเดียว แต่ด้วยข้อจำกัดในการประเมินฯ มีขอบเขตที่แคบ ทำให้เพิ่มเครื่องมือ OECD ในการประเมิน โดยเพิ่มเติมในส่วนของความยั่งยืนและความคุ้มค่าเข้ามา เพื่อให้ครอบคลุมทุกลักษณะการดำเนินงานของ กสอ. อันจะสะท้อนให้เห็นผลกระทบครอบคลุมทุกมิติ ทั้งนี้ ดีพร้อมมีแผนการดำเนินงานโครงการ/กิจกรรมต่าง ๆ ประกอบด้วย 9 แผนงาน และมีโครงการที่เป็น Flag Ship จำนวน 3 โครงการ อีกทั้ง ยังมีโครงการที่สำคัญตามนโยบายรัฐบาล คือ โครงการ Soft Power ทั้งสาขาอาหารและสาขาแฟชั่น โดยมีเป้าหมายพัฒนาผู้ประกอบการในปี 2568 กว่า 23,500 ราย และคาดว่าจะสามารถสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจไม่น้อยกว่า 8,500 ล้านบาท ซึ่งจะเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยขับเคลื่อนภาคอุตสาหกรรมและเศรษฐกิจของประเทศอีกด้วย
21 ก.พ. 2025
“ดีพร้อม" นำทีมร่วมประชุมบอร์ดจัดงานรางวัลอุตสาหกรรม 68 เพื่อส่งเสริมภาคอุตสาหกรรมและเอสเอ็มอีที่ประกอบการดี ตามนโยบาย รมว.เอกนัฏ
กรุงเทพฯ 11 กุมภาพันธ์ 2568 - นายณัฐพล รังสิตพล ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม ให้เกียรติเป็นประธานในการประชุมคณะกรรมการจัดงานรางวัลอุตสาหกรรมประจำปี พ.ศ. 2568 ครั้งที่ 1 พร้อมด้วย นายศุภกิจ บุญศิริ รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม นายเดชา จาตุธนานันท์ หัวหน้าผู้ตรวจราชการ กระทรวงอุตสาหกรรม นางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม นางดวงดาว ขาวเจริญ และนายสุรพล ปลื้มใจ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ผู้บริหารกระทรวงอุตสาหกรรม ผู้บริหารหน่วยงานเอกชน คณะทำงาน ผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ดีพร้อม เข้าร่วม ณ ห้องประชุม 1 ชั้น 2 อาคารสำนักงานปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม การประชุมครั้งนี้ คณะกรรมการฯ ได้เห็นชอบ (ร่าง) คำสั่งแต่งตั้งคณะทำงานชุดต่าง ๆ ประกอบด้วย คณะทำงานพิจารณาคัดเลือกอุตสาหกรรมยอดเยี่ยม อุตสาหกรรมดีเด่น และอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดย่อมดีเด่น ประจำปี พ.ศ. 2568 คณะทำงานพิจารณากลั่นกรองรางวัลอุตสาหกรรม ประจำปี พ.ศ. 2568 และคณะทำงานจัดงานรางวัลอุตสาหกรรม ประจำปี พ.ศ. 2568 พร้อมให้ผู้แทนคณะทำงานแต่ละประเภทรางวัลนำเสนอองค์ประกอบคณะและชี้แจงหลักเกณฑ์พิจารณาคัดเลือกรางวัลอุตสาหกรรม ประจำปี พ.ศ. 2568 ทั้ง 14 ประเภทรางวัล ได้แก่ ประเภทรางวัลอุตสาหกรรมยอดเยี่ยม 1 รางวัล ประเภทรางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 9 รางวัล และประเภทรางวัลอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดย่อมดีเด่น 4 รางวัล โดยมุ่งเน้นให้เฟ้นหาผู้ประกอบการที่ดี ปฏิบัติตามแนวทางการปรับอุตสาหกรรมเข้าสู่วิถีใหม่ ภายใต้กรอบแนวคิดและทิศทางการทำงานตามนโยบาย “MIND” ของกระทรวงอุตสาหกรรม และสอดรับกับนโยบาย “ปฏิรูปอุตสาหกรรมไทยสู่เศรษฐกิจยุคใหม่ ทันสมัย สะอาด สะดวก โปร่งใส” ของ นายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ทั้งนี้ คณะกรรมการฯ ได้ให้ข้อเสนอแนะแก่คณะทำงานเกี่ยวกับการคัดเลือกกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ การเพิ่มความชัดเจนในหลักเกณฑ์การคัดเลือกแต่ละประเภทรางวัล การเปิดกว้างแก่ผู้สมัครรายใหม่เพื่อเป็นการส่งเสริมสถานประกอบการต้นแบบ การเข้มงวดกับคุณสมบัติของผู้สมัครเข้ารับการคัดเลือกรางวัลฯ เพื่อให้ได้สถานประกอบการที่ดีและสามารถเป็นต้นแบบให้แก่สถานประกอบการอื่น ๆ ต่อไป ตลอดจนเน้นย้ำให้กำหนดระยะเวลาในแผนการดำเนินงานให้เหมาะสมและสอดคล้องกับกิจกรรมต่าง ๆ ด้วย นอกจากนี้ ผู้แทนจาก บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด (โรงงานเกตเวย์) ในฐานะทูตอุตสาหกรรมภาคเอกชน หรือ MIND Ambassador ประจำปี 2567 ได้กล่าวเพิ่มเติมในที่ประชุมว่า บริษัทฯ กำลังทำหน้าที่เป็นต้นแบบของการเจริญเติบโตทางธุรกิจควบคู่กับการพัฒนาที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อมและสังคม ให้เป็นไปอย่างสมดุลตามแนวทางที่วางไว้ ซึ่งจากการเข้าร่วมคัดเลือกรางวัลอุตสาหกรรมยอดเยี่ยม ประจำปี 2567 ที่ผ่านมา ทำให้บริษัทฯ มีการเตรียมตัวเพื่อให้เกิดความพร้อมอย่างรอบด้าน โดยมีการแก้ปัญหาในเรื่องที่เป็นจุดอ่อนและเสริมศักยภาพทุกหน่วยอย่างเป็นระบบ ทำให้องค์กรพัฒนาอย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ ยังเห็นว่าสถานประกอบการที่ได้รับรางวัล ควรรักษามาตรฐานของรางวัลและพัฒนาให้ดีขึ้น ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อตนเองและเป็นเอสเอ็มอีต้นแบบได้ ซึ่งจะเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยเสริมแกร่งในการขับเคลื่อนการพัฒนาภาคอุตสาหกรรมไทยให้เติบโตได้ไกลในระดับสากล
21 ก.พ. 2025
รมว.เอกนัฏ นั่งหัวโต๊ะ ถกภาครัฐ – เอกชน หาแนวร่วมขับเคลื่อนวิสาหกิจไทย เดินหน้าดัน SMEs เชื่อมโยงซัพพลายเชนรายใหญ่ หวังยกระดับภาคอุตสาหกรรมไทยให้ยั่งยืน
กรุงเทพฯ 10 กุมภาพันธ์ 2568 - นางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ร่วมการประชุมหารือแนวทางความร่วมมือการขับเคลื่อนวิสาหกิจเพื่อยกระดับอุตสาหกรรมไทย โดยมี นายเอกนัฎ พร้อมพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ให้เกียรติเป็นประธาน พร้อมด้วย ดร.ณัฐพล รังสิตพล ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม นางสาวไพลิน เทียนสุวรรณ ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม คณะผู้บริหารกระทรวงอุตสาหกรรม ผู้แทนจากสมาพันธ์ สถาบัน และสมาคมเครือข่ายทั้งภาครัฐ-เอกชนกว่า 30 หน่วยงาน เข้าร่วมประชุม ณ ห้องประชุม 401 ชั้น 4 อาคารกองพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยีอุตสาหกรรม ซอยตรีมิตร ถ.พระรามที่ 4 กล้วยน้ำไท คลองเตย นายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า การประชุมครั้งนี้ ถือเป็นอีกหนึ่งก้าวสำคัญในการขับเคลื่อนและพัฒนาวิสาหกิจเพื่อปฏิรูปอุตสาหกรรมสู่เศรษฐกิจยุคใหม่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่ม SMEs ซึ่งเป็นฟันเฟืองสำคัญในการขับเคลื่อนระบบเศรษฐกิจของประเทศ ให้มีโอกาสเข้าถึงการพัฒนาศักยภาพและยกระดับความสามารถทางการแข่งขัน ตามนโยบาย "สู้ เซฟ สร้าง ปฏิรูปอุตสาหกรรมไทย” โดยเชื่อมโยงกับการดึงดูดการลงทุนของ BOI เพื่อให้ SMEs มีโอกาสเป็นส่วนหนึ่งในซัพพลายเชนของธุรกิจขนาดใหญ่ หรือบริษัทที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุน ทำให้เกิดการสร้างรายได้ สร้างโอกาสในการแข่งขัน และกระตุ้นการลงทุนภายในประเทศ เพื่อผลักดัน GDP ให้เติบโตเพิ่มขึ้นอย่างน้อย 1% โดยไม่ต้องใช้งบประมาณจากภาครัฐ นายณัฐพล รังสิตพล ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวว่า กระทรวงอุตสาหกรรมตอบรับนโยบายของ รมว.เอกนัฏ ในการดึงดูดการลงทุนกลุ่มอุตสาหกรรมเศรษฐกิจใหม่ โดยวางแผนสร้างคอมมูนิตี้นิคมอุตสาหกรรม SMEs เพื่อให้เกิดการพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรม การส่งเสริมและพัฒนาทักษะบุคลากรในภาคอุตสาหกรรม สนับสนุนผู้ประกอบการในการขยายตลาดทั้งในและต่างประเทศ และส่งเสริมเศรษฐกิจหมุนเวียนสร้างระบบอุตสาหกรรมที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม โดยมอบหมายให้ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม หรือดีพร้อม (DIPROM) เป็นหน่วยงานหลักในการดำเนินงานดังกล่าว เพื่อให้เกิดเป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้น นางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กล่าวเพิ่มเติมว่า สำหรับดีพร้อมมีแนวทางการดำเนินงานที่มุ่งส่งเสริม สนับสนุน ผู้ประกอบการทุกระดับให้มีขีดความสามารถที่สูงขึ้นและแข่งขันได้ในตลาดโลกผ่าน 6 กลไกสำคัญ คือ 1) การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึก 2) การใช้เทคโนโลยี ดิจิทัล นวัตกรรม และความคิดสร้างสรรค์ 3) การเข้าถึงแหล่งเงินทุน 4) การเชื่อมสิทธิประโยชน์ผ่านหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 5) การเชื่อมโยงเครือข่ายพันธมิตร และ 6) การผลักดันธุรกิจสู่สากล เพื่อให้วิสาหกิจไทยสามารถ “สร้างงาน สร้างรายได้ สร้างเครือข่าย” สอดคล้องตามนโยบาย “ดีพร้อมคอมมูนิตี้” ดังนั้น การหารือกับพันธมิตรเครือข่ายทั้งภาครัฐและเอกชนกว่า 30 หน่วยงานในวันนี้ จะเป็นการกำหนดแนวทางเชื่อมโยง SMEs ให้เข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของซัพพลายเชนในนิคมฯ SMEs ร่วมกับบริษัทขนาดใหญ่ สอดรับนโยบาย รมว.เอกนัฏ ในการดึงดูดการลงทุนกลุ่มอุตสาหกรรมเศรษฐกิจใหม่ เพื่อให้วิสาหกิจไทยอยู่รอดและเติบโตอย่างยั่งยืนต่อไป
20 ก.พ. 2025
รัฐมนตรีฯ เอกนัฏ ร่วมงาน FTI EXPO 2025 เสริมแกร่งผู้ประกอบการอุตสาหกรรมไทย สู่ตลาดโลกอย่างยั่งยืน
วันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2568 - นายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เข้าร่วมงาน FTI EXPO 2025 จัดโดย สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ภายใต้แนวคิด “EMPOWERING THAI INDUSTRY, ELEVATING THAILAND’S FUTURE เสริมพลังอุตสาหกรรมไทย เพื่ออนาคตไทยที่ยั่งยืน” โดยมี นางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เป็นประธานเปิดงาน พร้อมด้วย นายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม พร้อมด้วย นายมาริษ เสงี่ยมพงษ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ นายพิชัย นริพทะพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ นางสาวจิราพร สินธุไพร รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี นายจุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง นายเผ่าภูมิ โรจนสกุล รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง นายเดชอิศม์ ขาวทอง รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข เข้าร่วมเป็นเกียรติในพิธีเปิด ในส่วนกระทรวงอุตสาหกรรมมี นายณัฐพล รังสิตพล ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม นางสาวไพลิน เทียนสุวรรณ ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม นายพงศ์พล ยอดเมืองเจริญ เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมและโฆษกกระทรวงอุตสาหกรรม คณะผู้บริหารกระทรวงอุตสาหกรรม เข้าร่วม โดยมี นายเกรียงไกร เธียรนุกุล ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ให้การต้อนรับพร้อมกล่าวรายงานวัตถุประสงค์การจัดงาน ณ Hall 5-8 ชั้น LG ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ FTI EXPO 2025 เป็นงานแสดงศักยภาพของภาคอุตสาหกรรมไทย ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดแห่งปี ซึ่งรวบรวมนวัตกรรมและเทคโนโลยีไว้มากมาย แสดงถึงความก้าวหน้าของภาคอุตสาหกรรม ที่เป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศไทย เพื่อนำไปสู่การปฏิรูปโครงสร้างเศรษฐกิจ และพัฒนาจากอุตสาหกรรมเดิมไปสู่อุตสาหกรรมแห่งอนาคต ซึ่งเป็นเป้าหมายของประเทศ โดยต้องมีการยกระดับขีดความสามารถทางแข่งขัน ควบคู่ไปกับการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ในแนวทางที่ยั่งยืน ทั้งนี้ การจัดงานดังกล่าวเป็นการจับมือกันระหว่างองค์กรพันธมิตรชั้นนำ ซึ่งสะท้อนถึงความร่วมมือในการทำงานระหว่างภาครัฐและภาคเอกชนในการขับเคลื่อนประเทศไทยให้เป็นที่ยอมรับในระดับนานาชาติ เศรษฐกิจมีความมั่นคง ประชาชนมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น และสร้างรายได้ให้กับประเทศ ดังนั้น ภาคอุตสาหกรรมจึงต้องมีการพัฒนาและปรับตัวให้พร้อมรับกับการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา และต้องพลิกความท้าทายให้เป็นโอกาส เร่งเดินหน้าปฏิรูปโครงสร้างอุตสาหกรรมสู่เศรษฐกิจยุคใหม่ ต่อยอดการพัฒนาของภาคการผลิตด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม มุ่งเน้นการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าและบริการ ขณะเดียวกันยังต้องให้ความสำคัญกับการพัฒนาการศึกษา เพื่อสร้างกำลังคนรองรับอุตสาหกรรมแห่งอนาคต พร้อมทั้งวางยุทธศาสตร์ให้ไทยเป็นศูนย์กลางการผลิตอุตสาหกรรมของภูมิภาค โดยงาน FTI EXPO 2025 จัดขึ้นระหว่างวันที่ 12-15 กุมภาพันธ์ 2568 เวลา 10.00-19.00 น. ณ Hall 5-8 ชั้น LG ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ประชาชนและผู้สนใจทั่วไปสามารถเข้าชมได้โดยไม่มีค่าใช้จ่าย
17 ก.พ. 2025
กระทรวงอุตสาหกรรมร่วมพิธีเจริญพระพุทธมนต์พระบรมสารีริกธาตุ (พระเขี้ยวแก้ว) จากวัดหลิงกวง กรุงปักกิ่ง ณ มณฑลพิธีท้องสนามหลวง
วันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2568 - ดร.ณัฐพล รังสิตพล ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม เป็นประธานในพิธีเจริญพระพุทธมนต์ถวายเป็นพุทธบูชาพระบรมสารีริกธาตุ (พระเขี้ยวแก้ว) เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 72 พรรษา 28 กรกฎาคม 2567 โดยมีนายศุภกิจ บุญศิริ รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม นายกฤศ จันทร์สุวรรณ ผู้ตรวจราชการกระทรวงอุตสาหกรรม นางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม นายวันชัย พนมชัย เลขาธิการสำงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม นายอดิทัศน์ วะสีนนท์ อธิบดีกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ ผู้บริหารและข้าราชการกระทรวงอุตสาหกรรม พร้อมด้วยพุทธศาสนิกชนทั่วไปเข้าร่วม ณ มณฑลพิธีท้องสนามหลวง ทั้งนี้ การอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุ (พระเขี้ยวแก้ว) จากสาธารณรัฐประชาชนจีน มาประดิษฐานเป็นการชั่วคราว ณ มณฑลพิธีท้องสนามหลวง ตั้งแต่วันที่ 4 ธันวาคม 2567 ถึงวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2568 เป็นเวลา 73 วัน นั้น เนื่องในวาระสำคัญคือ เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567 และในโอกาสครบรอบ 50 ปี ของการสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตไทย - จีน ในปี 2568
11 ก.พ. 2025
“ดีมาก” : ดีพร้อม ขับเคลื่อน กิจกรรม DIMARC 5 Day Trick ต่อเนื่อง ล่องใต้เสริมแกร่ง ผปก. สร้างตัวตนผลิตภัณฑ์ผ่านคนสร้างเรื่อง "พลิกธุรกิจชุมชนโตไกลสู่ตลาดสากล" พร้อมขึ้นแท่น Premium Product ตามนโยบาย "รมว.เอกนัฏ"
จ.สงขลา 6 กุมภาพันธ์ 2568 - นางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ให้เกียรติเป็นประธานเปิดกิจกรรมเพิ่มขีดความสามารถผู้ประกอบการเศรษฐกิจฐานราก (Group Camp) พร้อมด้วย นายสุรพล ปลื้มใจ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม คณะผู้บริหารและเจ้าหน้าที่กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม หรือดีพร้อม (DIPROM) คณะอุตสาหกรรมจังหวัดพื้นที่ภาคใต้ ทีมวิทยากร และผู้ประกอบการที่เข้าร่วมกิจกรรม โดยมี นางสาววรรณี พุฒแก้ว ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 11 กล่าวรายงานถึงวัตถุประสงค์การจัดกิจกรรมฯ ณ ห้องปารีสแกรนด์ ชั้น 2 โรงแรมคริสตัล อำเภอหาดใหญ่ นางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กล่าวว่า กรมส่งเสริมอุตสาหกรรมอุตสาหกรรม หรือดีพร้อม (DIPROM) เร่งเดินหน้าจัดกิจกรรมเพิ่มขีดความสามารถผู้ประกอบการเศรษฐกิจฐานราก (Group Camp) ภายใต้โครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์สินค้าชุมชน (DIPROM MIND ALL RISING COMMUNITY - DIMARC “ดีมาก”) ในพื้นที่ภาคใต้ ตามนโยบาย “ดีพร้อมคอมมูนิตี้ ที่นี่มีแต่ให้” ผ่านกลยุทธ์ “ให้โอกาสโตไกล” โดยการพัฒนาและยกระดับผลิตภัณฑ์ชุมชนให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาดด้วยเทคโนโลยี นวัตกรรม และเครื่องมือต่าง ๆ ของดีพร้อมที่เหมาะสม รวมถึงการสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันและพัฒนาให้สินค้ามีมาตรฐานในการส่งออก รวมถึงการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลิตภัณฑ์ ผ่านอัตลักษณ์ ลักษณะเด่น เพื่อสร้างสรรค์และพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้เชื่อมโยงกับ Hard Power และ Soft Power ตลอดจนผลักดันผลิตภัณฑ์ชุมชนสู่ Premium Product อันจะส่งผลให้เกิดการลงทุน การจ้างงาน และกระตุ้นเศรษฐกิจในพื้นที่ภาคใต้มากยิ่งขึ้น สอดรับกับนโยบาย “ปฏิรูปอุตสาหกรรม สู่เศรษฐกิจยุคใหม่ ทันสมัย สะอาด สะดวก โปร่งใส” ของนายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ที่เน้นการพัฒนาอุตสาหกรรมเศรษฐกิจควบคู่กับการปรับตัวให้เข้ากับวิถีใหม่ ให้สามารถเติบโตได้อย่างยั่งยืน กิจกรรมฯ ในครั้งนี้ มีผู้ประกอบการในพื้นที่ภาคใต้สนใจเข้าร่วม จำนวน 250 ราย จากกลุ่มสินค้าที่มีนวัตกรรม ของใช้ของตกแต่ง ของที่ระลึก ผ้าและเครื่องแต่งกาย อาหารและเครื่องดื่ม และอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องผ่านการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการในหัวข้อต่าง ๆ ที่น่าสนใจ ได้แก่ 1) Product Innovation : การพัฒนาผลิตภัณฑ์ ”นวัตกรรมนอกกรอบ แต่ไม่นอกเทรนด์" โดย ชื่อ : ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและนวัตกรรม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 2) การสร้าง Story Telling & Branding โดย โค้ชทอปัด สุบรรณรักษ์ที่ปรึกษาและผู้เชี่ยวชาญด้านการสื่อสารเพื่อความยั่งยืน และผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนาธุรกิจ สายการบินไทยแอร์เอเชีย 3) แนวโน้มตลาดผ้าและการพัฒนาสินค้าผ้าและแฟชั่น โดย ผศ.ดร.อโนทัย ชลชาติภิญโญ ผู้เชี่ยวชาญด้านแฟชั่น ที่ปรึกษาการออกแบบ การสร้างแบรนด์ การจัดการสินค้าและการตลาดแฟชั่น 4) Sustainable Products Design : ผลิตภัณฑ์ดีไซน์เพื่อความยั่งยืน โดย โค้ชเมย์ เมญาลินทร์ จันทร์ทอง ผู้เชี่ยวชาญด้านพัฒนาผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์ 5) Upcyling : ธุรกิจวิธีชุมชนที่ยังยั่งยืน โดย โค้ชผึ้ง จุฑามาศเล้าประเสริฐ ผู้เชี่ยวชาญด้าน ออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์บริษัท โลเคิล อไลค์ จำกัด 6) ดีไซน์ดีมาก : ของที่ระลึกไทยที่โลกจำ - โค้ชศุภชัย แกล้วทนงค์ โดย โค้ชศุภชัย แกล้วทนงค์ ผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์ และศิลปินผู้มีชื่อเสียง ในฐานะ Art & Culture Design Consultant7) Packaging Design 2025 : ตอบโจทย์เทรนด์ใหม่ สไตล์คนรุ่นใหม่ โดย โค้ชโจ้ ภูสิษฐ์(พีรวงศ์) จาตุรงคกุล ผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบและพัฒนาบรรจุภัณฑ์8) การสร้างสินค้าและทำตลาดคนรู้จักในยุค AI โดย โค้ชซี ฉัตรปวีณ์ ตรีชัชวาลวงศ์ CEO บริษัท โซเชียลแล็ป จำกัด และเจ้าของเพจ Ceemeagain9) Sustainable Innovation นวัตกรรมเพื่อการพัฒนาชุมชุนที่ยั่งยืน โดย ดร.พัฒนพงศ์ เพ็งจันทร์ที่ปรึกษาดีเด่น กระทรวงอุตสาหกรรม ผู้เชี่ยวชาญด้านนวัตกรรมผลิตภัณฑ์ชุมชนเพื่อความยั่งยืน
11 ก.พ. 2025
“อธิบดีณัฏฐิญา” ขับเคลื่อน “ดีพร้อมคอมมูนิตี้” ผ่านการทำ Content TikTok เสริมแกร่ง ผปก. พร้อม Pitching หาดาวเด่นอวดโฉมผ่านรายการทีวีดัง ให้ผลิตภัณฑ์ชุมชนโตไกลสู่ตลาดไทยและสากล สอดรับนโยบายปฏิรูปอุตสาหกรรมสู่เศรษฐกิจยุคใหม่ของ “รมว.เอกนัฏ”
กรุงเทพฯ 4 กุมภาพันธ์ 2568 - นางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ให้เกียรติเป็นประธานเปิดการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการหลักสูตร “PitchFluencer Academy DIPROM” พร้อมด้วย นายสุรพล ปลื้มใจ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม คณะผู้บริหารและเจ้าหน้าที่กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม หรือดีพร้อม (DIPROM) วิทยากร และผู้ประกอบการที่เข้าร่วมอบรม โดยมี ดร.อริยาพร อำนรรฆสรเดช ผู้อำนวยการกองพัฒนาอุตสาหกรรมชุมชน กล่าวรายงาน ณ โรงแรมเบย์ โฮเทล ศรีนครินทร์ จังหวัดสมุทรปราการ นางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า กิจกรรมการผลักดันสินค้าและบริการชุมชนสู่ช่องทางตลาดใหม่ “หลักสูตร PitchFluencer Academy DIPROM” ภายใต้ โครงการยกระดับธุรกิจอุตสาหกรรมและวิสาหกิจชุมชน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 เป็นอีกหนึ่งฟันเฟืองในการขับเคลื่อนการดำเนินงานของดีพร้อม (DIPROM) ด้านซอฟต์พาวเวอร์ที่มีการสร้างและพัฒนา Thailand Soft Power DNA ผ่าน 3 แนวทาง คือ 1) สร้างสรรค์และต่อยอด เพื่อเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจ ต่อยอดต้นทุนวัฒนธรรมและภูมิปัญญาสู่วัฒนธรรมสร้างสรรค์ 2) โน้มน้าว โดยการจูงใจให้เปลี่ยนแปลงทางด้านความคิด หรือพฤติกรรมความชอบให้หันมาสนใจสิ่งเหล่านี้มากขึ้น เช่น Storytelling การเล่าเรื่องราวที่มีคุณค่า และ 3) เผยแพร่ โดยการบอกเล่าเรื่องราวต่าง ๆ ผ่านเครื่องมือในการเผยแพร่ เช่น Influencer ประกอบกับนโยบาย “ดีพร้อมคอมมูนิตี้ ที่นี่มีแต่ให้” ผ่านกลยุทธ์ “ให้โอกาสโตไกล” ด้วยการเสริมทักษะในการสร้างแบรนด์และการนำเสนอสินค้าและบริการให้ผู้ประกอบการชุมชน สามารถเข้าสู่ช่องทางการตลาดและลูกค้ารายใหม่ เพื่อเป็นการขยายตลาดทั้งในและต่างประเทศ เพิ่มยอดขายและสร้างเครือข่ายทางธุรกิจ ซึ่งสอดรับกับนโยบาย “ปฏิรูปอุตสาหกรรม สู่เศรษฐกิจยุคใหม่ ทันสมัย สะอาด สะดวก โปร่งใส” ของนายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ที่เน้นการพัฒนาอุตสาหกรรมเศรษฐกิจควบคู่กับการปรับตัวให้เข้ากับวิถีใหม่ ให้สามารถเติบโตได้อย่างยั่งยืน การฝึกอบรมครั้งนี้เป็นหลักสูตรสำหรับผู้ประกอบการที่มีศักยภาพในการทำธุรกิจอยู่แล้ว ซึ่งมาจากหลากหลายกลุ่ม เช่น สินค้าอุปโภค บริโภค ของใช้ ของตกแต่ง ของที่ระลึก เสื้อผ้าและเครื่องแต่งกาย สินค้าเกษตรแปรรูป และต้องการติดอาวุธทางการตลาดพร้อมสร้างโอกาสเติบโตทางธุรกิจ ผ่านการเรียนรู้และฝึกปฏิบัติจริงแบบเข้มข้น ภายในระยะเวลา 3 วัน โดยทีมวิทยากรระดับประเทศที่มีความเชี่ยวชาญด้าน AI Marketing ด้าน Social Media และนักการตลาดมืออาชีพ มาร่วมถ่ายทอดองค์ความรู้และประสบการณ์ให้กับผู้ประกอบการ อาทิ การประยุกต์ใช้ AI ในการเขียน ออกแบบ วิเคราะห์ตลาด การสร้างคอนเทนต์ สร้างโฆษณา โพสต์ขายสินค้า การสร้างแคมเปญบน TikTok รวมถึงการวางแผนแคมเปญ Influencer Marketing พร้อมการทำคลิป VDO สั้นเพื่อการตลาด ตลอดจนฝึกการนำเสนอสินค้าและบริการสู่ช่องทางตลาดใหม่ ๆ เพื่อเพิ่มการรับรู้ให้กับกลุ่มเป้าหมายมากยิ่งขึ้น โดยหลังจากการฝึกปฏิบัติดังกล่าวแล้ว จะมีการ Pitching เพื่อเฟ้นหาผู้ประกอบการดาวเด่นที่จะมีสิทธิ์ได้ออกทีวีรายการดัง “ SME มีดีให้ดู” ช่อง ททบ.5 และได้โอกาสวางจำหน่ายสินค้าในตลาดเป้าหมายต่อไป
06 ก.พ. 2025