แดรี่โด เรียนรู้ไม่สิ้นสุด
แดรี่โด เรียนรู้ไม่สิ้นสุด จนยอดขายโตไม่หยุด ตลาดผลิตภัณฑ์เบเกอรี่พร้อมรับประทานนับเป็นหนึ่งในตลาดที่มีการแข่งขันดุเดือดที่สุด เพราะมีแบรนด์สินค้านับไม่ถ้วนทั้งรายเก่า รายใหม่ พร้อมใจกันลงสู่สนามแข่งตลอดเวลา ซึ่งแบรนด์ “แดรี่โด” ก็นับเป็นหนึ่งในนั้น จากธุรกิจขายโดนัทของครอบครัวในพื้นที่ จ.นครสวรรค์ ที่ทำขาย เหมือนร้านทั่ว ๆ ไป มาสู่การสร้างแบรนด์ แตกไลน์สินค้าใหม่ ๆ ด้วยการเรียนรู้เองทั้งหมดของ คุณศักดิ์สิทธิ์ และคุณชนัญชิดา จันทร์สวัสดิ์ ใช้เวลาเพียงไม่กี่ปีก็เป็นที่รู้จักในจังหวัดภาคกลาง ยิ่งเมื่อผู้บริโภคย้ายไปอยู่บนตลาดออนไลน์ แดรี่โดซึ่งจับกระแสเข้าไป จองพื้นที่ขายได้เป็นเจ้าแรก ๆ จึงโตเปรี้ยงชนิดที่ว่า เคยเป็นเจ้าของ “คำค้นหาเยอะที่สุด” บน Google Trend ประเทศไทยมาแล้ว! ใครจะเชื่อว่าทุกขั้นตอน ตั้งแต่การคิดชื่อแบรนด์ การพัฒนาสูตร ไปจนถึงเปิดช่องทางออนไลน์ ขับเคลื่อนและลงมือทำโดยเจ้าของ ทั้งสองคนแบบไม่มีที่ปรึกษา เรียกว่าเรียนรู้ลงมือทำลองผิดลองถูกด้วยตัวเองและประสบความสำเร็จได้อย่างงดงามในเวลาเพียง 5 ปี กระทั่งแดรี่โดก้าวสู่การเติบโตอีกระดับและจำเป็นต้องสร้างโรงงาน ใหม่เพื่อรองรับยอดขายที่โตไม่หยุด คุณศักดิ์สิทธิ์ และคุณชนัญชิดา จึงเริ่มมองหาผู้ช่วยและได้เข้าร่วมโครงการพัฒนาผู้ประกอบการ สู่การบริหารธุรกิจแบบมืออาชีพ (Smart SME Program) กับดีพร้อม ซึ่งช่วยให้สามารถวางแผนธุรกิจ (Business Model Canvas) ได้อย่างมีประสิทธิภาพตามที่ต้องการเกิดผลลัพธ์ที่จับต้องได้ในทุกมิติ ตั้งแต่การลดต้นทุน การผลิตต่อหน่วยได้ถึง 40% หรือคิดเป็นเงิน 1,200,000 บาทต่อปี ลดการสูญเสียในขั้นตอนการผลิตพร้อมลดการใช้พลังงานคิดเป็นเงินรวมกันถึง 1,560,000 บาทต่อปี ด้วยความที่แดรี่โดเป็นแบรนด์ที่เน้นทำการตลาดออนไลน์ มาตั้งแต่ต้น และมุ่งมั่นที่จะเป็นผู้นำด้านผลิตภัณฑ์ อาหารสำเร็จรูป ประเภทขนม บนช่องทางตลาดออนไลน์ ที่มีความแตกต่างทั้งด้านสินค้าและบริการตลอดจน ความเป็นมาตรฐานให้กับผู้แทนจำหน่ายและผู้บริโภค การเข้าร่วมโครงการและได้รับความรู้ที่สามารถนำมา ต่อยอดได้ทันที จึงยิ่งเสริมความแข็งแกร่งให้กับการ ดำเนินธุรกิจของแดรี่โด ส่งผลให้มียอดขายเพิ่มขึ้น จากเดิมสูงถึง 4,500,000 บาทต่อปี เฉพาะยอดขาย ออนไลน์บน E-Commerce โตขึ้น 100% หรือประมาณ 3,600,000 บาทต่อปีเลยทีเดียว สิ่งหนึ่งที่เป็นเคล็ดลับความสำเร็จของแดรี่ใด ซึ่งคุณชนัญชิดา บอกต่อแบบไม่ปิดบังก็คือ “การไม่หยุดเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ ก้าวให้ทันโลก ปรับตัวให้ไว” โดยเฉพาะการเรียนรู้ พฤติกรรมของผู้บริโภคคุณชนัญชิดายังฝากข้อแนะนำ สำหรับผู้ประกอบการรายอื่น ๆ ว่า การได้เรียนรู้จาก โครงการของดีพร้อมเป็นหลักสูตรที่คัดสรรและออกแบบ มาแล้ว ทำให้ผู้ประกอบการไม่ต้องเสียทั้งเงินและเวลา จึงเป็นประโยชน์อย่างยิ่งและไม่ควรพลาดด้วยประการทังปวง! - บริษัท แดรี่โด อินเตอร์ฟู้ดส์ จำกัด - 168 หมู่ที่ 10 ต.หนองกรด อ.เมืองนครสวรรค์ จ.นครสวรรค์ 60240 - 08 8906 9457 - chida.chansawat@gmail.com - @dairydough - แดรี่โถ - DairyDough เพจบริษัท ที่มา : รายงานประจำปี 2565 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม
18 ส.ค 2566
April's Bakery กำไรปัง จากของเสียเป็นศูนย์
หากเอ่ยถึง “พายสูตรฮ่องกง” แป้งบางเนื้อแน่น เชื่อว่าหลายคนต้อง นึกถึง “เอพริล เบเกอรี่” (April's Bakery) เพราะเป็นเจ้าแรก ๆ ที่นำ สูตรพายฮ่องกงยอดฮิตมาดัดแปลงจนใครกินเป็นต้องติดใจ โดยเฉพาะ “พายหมูแดง” ที่เป็นรสขึ้นชื่อเรียกว่าโด่งดังไม่แพ้ต้นตำรับเลยทีเดียว ย้อนกลับไปเมื่อ 15 ปีก่อน คุณกนกกัญจน์ มธุรพร หรือคูณอร ได้มีโอกาสชิมพายสูตรฮ่องกงเจ้าดังที่เพื่อนและน้องสาวฝากซื้อกลับเมืองไทย ด้วยรสชาติที่แตกต่างจากขนมเปี๊ยะที่เคยกิน ทำให้คุณอร ปิ๊งไอเดียแกะสูตรทดลองทำขายดูบ้าง โดยเริ่มต้นในห้องครัว ปรุงไส้ ปั้นมืออย่างตั้งใจทุกลูก กระทั่งได้สูตรที่มั่นใจจึงเริ่มทำขาย จุดเปลี่ยนสำคัญที่ทำให้ลูกค้าตอบรับอย่างล้นหลาม คือการ ปรับรสชาติใหม่ให้เข้ากับลิ้นของคนไทย เพราะคนฮ่องกงติดเค็มมากกว่า แต่คนไทยชอบรสออกหวาน ส่วนเนื้อหมูก็ไม่ใช้หมูติดมัน เหมือนต้นตำรับ เพื่อให้ดีต่อสุขภาพ และนี่คือที่มาของสูตรพาย ไส้หมูแดงจากฮ่องกง เจ้าแรกของเมืองไทย ที่มีความโดดเด่นตรง แป้งบาง เนื้อแน่น มีให้เลือกมากกว่า 40 ไส้ในปัจจุบัน หลังสร้างแบรนด์ได้ 5 ปี เอพริล เบเกอรี่ ก็ขยายธุรกิจสู่การวางขาย ในร้านสะดวกซื้อที่มีสาขาทั่วประเทศ ซึ่งเป็นทั้งความสำเร็จและ ความท้าทาย เพราะข้อกำหนดที่เข้มงวดในด้านมาตรฐาน บวกกับ จำนวนการผลิตที่เพิ่มสูงขึ้นทำให้คุณอรต้องย้ายโรงงานจากตึกแถวสี่คูหา มาเปิดโรงงานขนาดใหญ่ย่านชานเมืองโดยมีคนงาน กว่า 100 คน กำลังการผลิตวันละ 1 แสนลูกต่อวัน แม้จะมีเครื่องจักรอันทันสมัยเข้ามาเสริมทัพการผลิต แต่บางขั้นตอนยังคงต้องอาศัยแรงงานเพราะจุดเด่นของ แบรนด์คือ “ขนมเปี๊ยะที่ปั้นด้วยมือ” ทำให้แตกต่างจาก โรงงานทั่วไป นำมาซึ่งปัญหาในเรื่องต้นทุนการผลิตจาก การที่มีของเสียเกิดขึ้นเยอะมาก ด้วยเหตุนี้บริษัทจึงเข้าร่วมโครงการสนับสนุนและพัฒนาปัจจัยแวดล้อมที่เอื้อต่อ การดำเนินธุรกิจ ประจำปีงบประมาณ 2565 ของดีพร้อม หลังได้รับคำปรึกษาจากผู้เชี่ยวชาญทางโรงงานก็สามารถ ลดของเสียในกระบวนการผลิตได้ในเวลาอันสั้น อีกทั้ง พนักงานที่ได้รับการอบรมยังเกิดความตระหนักและเข้าใจ ในการจัดการของเสียจนถึงขั้นคิดค้นวิธีลดของเสียให้เป็น ศูนย์หรือ Zero Waste ได้เอง ซึ่งช่วยให้สามารถลดของเสีย เป็นศูนย์ได้ต่อเนื่องถึง 4 เดือน ทำให้ผลประกอบการของธุรกิจดีขึ้นอย่างมาก เนื่องจากลดต้นทุนการดำเนินงานได้ถึงกว่า 3 ล้านบาท เมื่อต้นทุนลด กำไรก็เพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัด การแก้ไข ปัญหาอย่างตรงจุดแม้ใช้เวลาไม่นานแต่ผลลัพธ์กลับยอดเยี่ยม ทำให้บริษัทฯ ตั้งใจเข้าร่วมโครงการอื่น ๆ ของดี พร้อมเพื่อให้ธุรกิจพัฒนาได้อย่างต่อเนื่อง สูตรเด็ดพาย ฮ่องกงอาจเปิดเผยไม่ได้ แต่สูตรลดต้นทุนเพิ่มกำไรจาก แนวคิดของเสียเป็นศูนย์ ทุกธุรกิจสามารถนำไปใช้ได้ทันที! - คุณกนกกัญจน์ มธุรพร - บริษัท สิงหา ฟู้ด อินดัสทรีส์ (ประเทศไทย) จำกัด - 190/65 หมู่ที่ 8 ต.ในคลองบางปลากด อ.พระสมุทรเจดีย์ จ.สมุทรปราการ 10290 - Email : ornaprils@gmail.com ที่มา : รายงานประจำปี 2565 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม
18 ส.ค 2566
ศรีสุดาเบเกอรี่
หากมองว่าเคล็ดลับความสำเร็จในการประกอบธุรกิจข้อหนึ่งคือ ความพร้อมที่จะปรับตัวและพัฒนาตัวเองอยู่เสมอนั้น ศรีสุดุาเบเกอรี่ ผู้ผลิตและจำหน่ายขนมปังและเบเกอรี่ชื่อดังจากจังหวัดสุราษฎร์ธานี เดินอยู่ในเส้นทางที่ว่านี้มาโดยตลอดนับตั้งแต่รุ่นพ่อ-แม่ที่ช่วยกันสร้างจนมาต่อยอดที่รุ่นลูก ซึ่งยังคงพร้อมจะพัฒนาและปรับตัวให้เข้ากับยุคสมัย เพื่อสร้างการเติบโตให้กับธุรกิจ คุณเกษญาภา สุวรรณบุตร รองกรรมการผู้จัดการ บริษัท ศรีสุดาเบเกอรี่ จำกัด และเป็นหนึ่งในทายาทที่เข้ามารับช่วงต่อ เล่าถึงพัฒนาการของธุรกิจครอบครัวว่าเริ่มต้นมาตั้งแต่การเป็นบ้านเช่าเล็กๆ ทำขนมขายอยู่ในตัวเมืองสุราษฎร์ธานี โดยบรรจุใส่กล่อง กล่องละ 10 ชิ้น ออกจำหน่ายในละแวกใกล้เคียงด้วยรถจักรยานยนต์ พอเริ่มเห็นว่าในพื้นที่มีคู่แข่งมากขึ้น จึงขยายตลาดออกไปไกลขึ้น ขยายออกไปทีละจังหวัด ซึ่งได้ผลตอบรับดีมากจากลูกค้าเพราะถือเป็นเจ้าแรกๆ และคู่แข่งยังมีไม่มากนัก เมื่อยอดขายมากขึ้นจึงเริ่มลงทุนซื้อเครื่องจักร เครื่องแพ็กสินค้าก็ยิ่งทำให้ยอดขายเติบโตขึ้นไปอีก ดังนั้นจากที่ช่วยกันทำในบ้านเช่าก็ขยายเป็นบ้าน 2 คูหา สร้างโรงงานแห่งแรกและตามมาด้วยแห่งที่ 2 และ แห่งที่ 3 พร้อมลงทุนซื้อเครื่องจักรเพิ่มเติม จนปัจจุบันมีสินค้าหลากหลายกว่า 100 ชนิดจำหน่ายผ่านระบบตัวแทนและขายปลีกครอบคลุมทั้ง 14 จังหวัดภาคใต้และกรุงเทพฯ เธอบอกด้วยว่า พร้อมรับฟังคำแนะนำเพื่อนำมาปรับปรุงและพัฒนาธุรกิจอยู่เสมอ อย่างกิจกรรมล่าสุดที่ได้เข้าร่วมอบรมในโครงการกิจกรรมเพิ่มประสิทธิภาพ การบริหารจัดการโลจิสติกส์เพื่อการลดต้นทุนและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน ภายใต้โครงการเพิ่มขีดความสามารถการบริหารจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทานอุตสาหกรรมกับกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กสอ.) จากการเข้าร่วมกิจกรรมเมื่อได้รับคำแนะนำก็นำมาแก้ไขทันที ที่เห็นชัดๆ คือระบบการสั่งซื้อฟิล์มสำหรับแพ็กถุงขนม เดิมต้องสั่งซื้อ 40 ม้วนต่อ 1 ครั้ง ก็เปลี่ยนวิธีมาเป็นการสั่งซื้อเท่าเดิมแต่จะทยอยเรียกเข้าครั้งละ 8-10 ม้วน ระยะเวลา 10-15 วัน ขึ้นอยู่กับยอดการใช้งาน “เฉพาะเรื่องฟิล์มก็สามารถนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ได้มาก ช่วยให้ไม่ต้องลงทุนขยายพื้นที่เพิ่มเติมแถมยังมีที่เหลืออีก เงินก็ไม่ไปจมอยู่ในส่วนนั้นและมีอำนาจต่อรองมากขึ้น เพราะเมื่อสั่งซื้อจำนวนมากก็จะได้ราคาพิเศษที่ถูกลง ส่วนเรื่องที่สนใจและอยากเรียนรู้เพิ่มเติมอีก เช่น ทักษะการผลิตคอนเทนต์ดิจิทัล การถ่ายทำและตัดต่อคลิปวิดีโอ เพื่อโอกาสการขยายฐานลูกค้าใหม่ๆ ผ่านช่องทางโซเชียลมีเดีย รวมถึงการต่อยอดธุรกิจซึ่งที่มองไว้ตอนนี้ คือ ระบบแฟรนไชส์” ผลลัพธ์ที่ได้จากการเข้าร่วมกิจกรรมสามารถลดต้นทุนของกิจกรรมโลจิสติกส์ได้ 30 เปอร์เซ็นต์ มูลค่าต้นทุนโลจิสติกส์ที่สามารถลดได้คิดเป็นมูลค่า 13,900,000 บาท คุุณเกษญาภา สุุวรรณบุุตร บริิษััท ศรีีสุุดาเบเกอรี่่ จำำกััด 235/41 ซ.8 ต.มะขามเตี้้ย อ.เมืือง จ.สุุราษฎร์์ธานีี 84000 โทรศัพท์ 0 7721 7470, 09 2635 5989 ที่มา : รายงานประจำปี 2564 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม
23 มี.ค. 2565
เพื่อนช่วยเพื่อน คติบริหารประจำคลัสเตอร์
แต่ละคนมีจุดเด่นที่ต่างมาช่วยเสริมกันและกัน...ส่วนจุดด้อยก็ช่วยพัฒนาต่อให้ดีขึ้น คุณโจ้ ประวิทย์ เครือทรัพย์ รองประธานคลัสเตอร์อุตสาหกรรมขนม และคุณแพร ลวณะมาลย์ เลขานุการคลัสเตอร์อุตสาหกรรมขนม บอกว่า การเข้ามารวมกันเป็นกลุ่ม ก็เพื่อที่จะช่วยเติมจุดที่แต่ละคนขาดไปให้เต็ม และยังถือเป็นการช่วยพัฒนาผลิตภัณฑ์ ตลอดจนธุรกิจให้เติบโตขึ้นอีกด้วย เพื่อนช่วยเพื่อนคติขับเคลื่อนกลุ่มให้แข็งแกร่ง สมาชิกแต่ละท่านล้วนมีความรู้และความสามารถที่แตกต่างกันออกไป ภายในกลุ่มจึงทำงานในลักษณะของ “เพื่อนช่วยเพื่อน” ใครที่ถนัดในเรื่องไหน ก็จะเป็นพี่เลี้ยงให้กับเพื่อนคนที่ยังขาดความเชี่ยวชาญตรงนั้นไป เช่น คุณโจ้มีความรู้ในเรื่องโรงงานผลิต เครื่องจักร มาตรฐานของผลิตภัณฑ์ต่างๆ ใครที่ต้องการความรู้ด้านนี้ก็สามารถมาขอคำปรึกษาจากคุณโจ้ได้เลย ในขณะเดียวกันคุณโจ้เอง ก็ได้รับคำปรึกษาเรื่องวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตจากสมาชิกท่านอื่นๆ เช่นกัน แค่พลิกนิดเดียวก็ทำให้อะไรเปลี่ยนไปเยอะ การเปลี่ยนแปลงจะไม่เกิดขึ้นเลย ถ้าไม่มีขั้นตอนของการพูดคุย และแลกเปลี่ยนไอเดียซึ่งกันและกัน บางไอเดียแค่ปรับบางจุดไปนิดเดียว ก็ทำให้อะไรหลายๆ อย่างเปลี่ยนไปได้เยอะ เช่น การปรับ Packaging ขนมหม้อแกงของคุณโจ้ ที่ได้ไอเดียมาจากสมาชิกในกลุ่มว่าอยากให้ลองทำขนมหม้อแกงแบบถ้วยกลมแทนถาดสี่เหลี่ยมแบบที่ทุกคนคุ้นชินกัน ผลปรากฎว่าขนมหม้อแกงของคุณโจ้ได้รับฟีดแบ็คกลับมาดีมาก ทานง่าย เก็บได้นาน แถมรสชาติยังอร่อยเหมือนเดิม ขายขนมยุคใหม่ต้องสนิทกันไว้ สมัยก่อนขายขนมเหมือนกัน หลายคนก็อาจจะคิดว่าต้องเป็นคู่แข่ง ต้องทะเลาะกันไปมา แต่สำหรับคนที่ทำธุรกิจขนมในยุคใหม่ สนิทกันไว้เป็นดีที่สุด หากมีอะไรจะได้ช่วยเหลือกัน เช่น มียอดออร์เดอร์สั่งเข้ามาเยอะมากจนผลิตไม่ทัน สมาชิกในกลุ่มก็สามารถแบ่งออร์เดอร์ให้กับคนในกลุ่มช่วยผลิตได้ โดยที่ไม่ต้องเสียออร์เดอร์หรือลูกค้าไป เพียงเพราะว่าผลิตไม่ทัน มาตรฐานคือสิ่งสำคัญของสินค้า ไม่ว่าจะผลิตสินค้าแบบไหนออกมา สินค้านั้นๆ ควรจะมีมาตรฐานรองรับเสมอ ซึ่งคุณแพรเองก็บอกว่า ภายในปี 2564 นี้ ทางกลุ่มกำลังผลักดันให้ผลิตภัณฑ์ของสมาชิกในกลุ่ม ได้รับมาตรฐานรองรับอย่างน้อย 1 อย่าง เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือให้กับผู้บริโภคว่าผลิตภัณฑ์ของสมาชิกในกลุ่ม มีความปลอดภัย รับประทานได้แบบไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ ขนมไทยต้องไม่หายไปอย่างถาวร นอกจากการพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้มีคุณภาพมากยิ่งขึ้นแล้ว อีกสิ่งหนึ่งที่สมาชิกทุกคนในกลุ่มมีความตั้งใจร่วมกันเลยก็คือ อยากผลักดันให้ขนมไทยเป็นที่รู้จัก และไม่หายไปจากสายตาของทุกคน เพราะคนในกลุ่มเชื่อว่าขนมไทยเองก็มีศักยภาพไปไม่น้อยกว่าขนมของต่างประเทศเลย ทุกขั้นตอนการผลิตล้วนทำด้วยความละเอียด ใส่ใจ เพราะฉะนั้นคนในกลุ่มจึงอยากให้ทุกๆ คนลองเปิดใจให้กับขนมไทยมากขึ้น การเข้ามารวมกลุ่มกัน หากตั้งใจจะมาเพื่อตักตวง แต่ไม่คิดที่จะให้อะไรแก่ผู้อื่น นอกจากการพัฒนาจะไม่เกิดขึ้นจริงแล้ว กลุ่มก็จะไม่เดินหน้าไปไหนด้วย เพราะฉะนั้นการเปิดใจให้กัน พูดคุย แชร์ความรู้ ช่วยเหลือซึ่งกันและกันในแบบ “เพื่อนช่วยเพื่อน” ก็จะทำให้ทุกคนได้ประโยชน์กลับไปอย่างแน่นอน
03 มี.ค. 2565
ถอดเคล็ดลับทางรอดธุรกิจ Lana House
ในวันที่โควิดมาเคาะประตูถึงหน้าบ้าน ธุรกิจของผู้ประกอบการส่วนมากต่างก็ได้รับผลกระทบกันไปแบบเต็มๆ ซึ่งหนึ่งในปัจจัยที่จะช่วยให้ธุรกิจยังคงเดินหน้าต่อไปได้นั้นก็คือ “การปรับตัว” เหมือนกับคุณแจ็ค บดินทร์ เจริญพงศ์ชัย เจ้าของ Larna House ที่ยังคงส่งต่อความหวานและขมของเค้กช็อกโกแลตหน้านิ่มได้ ด้วยการพลิกวิกฤตให้เป็นโอกาส ตลาดออนไลน์คือคำตอบเมื่อพฤติกรรมผู้บริโภคเปลี่ยนไป เมื่อพฤติกรรมผู้บริโภคเปลี่ยน การขายหน้าร้านเพียงอย่างเดียวอาจจะไม่ตอบโจทย์อีกต่อไป เมื่อ 5 ปีที่แล้วคุณแจ็คจึงได้เริ่มหันมาศึกษาช่องทางการทำธุรกิจออนไลน์เพิ่มขึ้น ซึ่งการปรับตัวในครั้งนั้นก็ทำให้คุณแจ็คเหมือนมีแต้มต่อ ในวันที่โรคโควิด – 19 แพร่ระบาด แม้หน้าร้านจะขายไม่ได้ แต่ก็ยังพอมีรายได้จากช่องทางการสั่งซื้อทางออนไลน์อยู่ นอกจากนี้คุณแจ็คยังได้นำความรู้เรื่องการทำธุรกิจออนไลน์ มาช่วยแนะนำและผลักดันเพื่อนๆ สมาชิกในคลัสเตอร์ผู้ประกอบการคุณภาพด้านอาหาร (Taste Top Thailand: TTT) สมาชิกคนไหนที่ทำเป็นอยู่แล้วก็มาช่วยเสริมให้กับคนที่ยังไม่มีร้านแบบออนไลน์ ซึ่งจุดนี้ก็จะช่วยสร้างตัวตนของแบรนด์บนโลกออนไลน์ ทำให้คนมองเห็นและมีโอกาสที่จะขายสินค้าได้มากขึ้น เชื่อมโยงความต่างสร้างช่องทางหารายได้เพิ่ม ความหลากหลายของสินค้า คือความสนุกและความท้าทายของการทำธุรกิจ หลังจากที่ผ่านการล็อคดาวน์ครั้งแรกมาแล้ว คุณแจ็คและเพื่อนๆ สมาชิกในกลุ่ม ช่วยกันจัดอีเวนต์แคมเปญ “ไทยหนุนไทย” ในช่วงเดือนพฤศจิกายน 2563 ขึ้นมา เพื่อนำเอาสินค้าในกลุ่มที่คิดว่าน่าจะไปด้วยกันได้ ไม่ว่าจะเป็น ผักผลไม้แปรรูป ลูกตาลลอยแก้ว ส้มตำกรอบ น้ำขม เค้กช็อกโกแลต เครื่องเทศ ผงปรุงรสต่างๆ รวมไปถึงเครื่องดื่มคอลลาเจนแบบผง ฯลฯ มาจับคู่กันแล้วขายเป็น Gift Set ถือเป็นช่องทางในการเพิ่มศักยภาพและสร้างโอกาสในการขายสินค้าได้มากขึ้น ทำธุรกิจต้องมีแผนสำรองเรื่องการเงิน ธุรกิจมาพร้อมกับเม็ดเงิน ยิ่งในช่วงสถานการณ์ที่โรคโควิด – 19 กลับมาระบาดใหม่อีกระลอก จนทำให้กำลังซื้อของผู้บริโภคลดน้อยลง ยิ่งต้องวางแผนการเงินให้รอบคอบ คุณแจ็คใช้วิธีการทำธุรกิจแบบพอเพียง ไม่มีหนี้ แต่ต้องมีเงินสำรองกันไว้ใช้ในอีก 6 เดือนข้างหน้าได้ แม้รายได้จะลดลงไปบ้าง แต่ก็ยังรับมือไหว ธุรกิจพอเดินต่อไปได้ เพราะไม่หยุดที่จะเรียนรู้และพร้อมปรับตัวอยู่เสมอ จึงทำให้ธุรกิจ Larna House เค้กช็อกโกแลตหน้านิ่ม ของคุณแจ็คยังคงเดินต่อไปได้ ไม่ว่าจะมีอุปสรรคอย่างโรคโควิด – 19 มาขัดขาก็ตาม
03 มี.ค. 2565
COMESOOK
มิติใหม่เบเกอรี่พันธุ์ไทย ความอร่อยที่ไม่รู้สึกผิดต่อสุขภาพ
17 ม.ค. 2565
“ขนมครกอบกรอบเข้าวัง” ขนมไทย ของฝากแสนอร่อย
จากขนมครกร้านธรรมดาที่ขายในตลาดราชวัตร ไม่มีชื่อร้าน แต่ด้วยรสชาติที่ถูกปาก อร่อย หอม มัน ทำให้มีเจ้าหน้าที่ทั้งวังสวนจิตรวังสุโขทัย แวะเวียนมาซื้ออยู่บ่อย ๆ กระทั่งได้รับความนิยมในวงกว้าง เรียกขาน ขนมครกร้านนี้ว่า “ขนมครกเข้าวัง” และได้รับความนิยมมาอย่างยาวนานกว่า 40 ปี โดยมีคุณสกนธ์ ฐาปนะกิจไพบูลย์ เป็นผู้สืบทอดสูตรในนามบริษัท เค อี แอนด์ ที จำกัด ที่มองว่า ขนมครก มิได้เป็นเพียงแค่ธุรกิจเล็ก ๆ ในตลาดเท่านั้น หากตั้งใจพัฒนาจริง ก็สามารถขยายเป็นแฟรนไชส์หรือแม้กระทั่งขายออกไปต่างประเทศได้ ด้วยเหตุผลนี้คุณสกนธ์จึงเดินหน้าเข้าร่วมโครงการกิจกรรมพัฒนาและสร้างมูลค่าเพิ่มผลิตภัณฑ์อาหารแปรรูปโครงการพัฒนาอุตสาหกรรมอาหารแปรรูป ประจำปีงบประมาณ 2560 พัฒนาจากขนมครกสด มาเป็น “ขนมครกอบกรอบเข้าวัง” มีอายุการเก็บรักษานาน สามารถจำหน่ายเป็นของฝากได้ เพิ่มช่องทางสร้างรายได้อีกทางหนึ่ง โดยเริ่มจากผลิตแบบพาสเจอร์ไรซ์ ซึ่งมีอายุการเก็บรักษาได้นาน แต่ต้องอยู่ในตู้เย็นถึงจะคงความกรอบเหมือนทำเสร็จใหม่ ๆอีกทั้งบรรจุภัณฑ์ยังไม่ช่วยคงเอกลักษณ์ในเรื่องของกลิ่นและรสชาติของขนมครกแบบดั้งเดิมไว้ได้ จึงพัฒนาต่อด้วยการผลิตเป็นแบบสเตอริไลซ์มีอายุการเก็บรักษาที่ยาวนานถึง 1 ปี ในอุณหภูมิห้อง คงความกรอบ หอมกลิ่นกะทิ ปรับเปลี่ยนบรรจุภัณฑ์ให้ทันสมัย แต่คงเอกลักษณ์ความเป็นไทย มีสารดูดความชื้นเพื่อรักษาความกรอบและการเกิดกลิ่นอันไม่พึงประสงค์ พร้อมพัฒนาแป้งเป็นข้าวไรซ์เบอรี่เพื่อสุขภาพมากขึ้น มีทั้งหมด 10 หน้าให้เลือก ขายในราคากล่องละ 40-60 บาท จากเดิม 20-40 บาท ทำให้มีรายได้เพิ่มขึ้น 5% เพราะปัจจุบันคุณสกนธ์ยังหาบริษัทรับผลิตเข้ามาช่วยได้ไม่เต็มกำลังจึงทำให้ธุรกิจสะดุดเล็กน้อย คาดว่าหากแหล่งผลิตลงตัวและวางจำหน่ายตามร้านขายของฝาก ภายในปีหน้าจะสามารถเพิ่มมูลค่าการขายได้อีกเท่าตัว คุณสกนธ์ ฐาปนะกิจไพบูลย์ บริษัท เค อี แอนด์ ที จำกัด 102/122 ถ.เทศบาลสงเคราะห์แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900 โทรศัพท์ : 0 2241 3840,08 1916 0974 www.ขนมครกเข้าวัง.com ที่มา : รายงานประจำปี 2560 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม
31 ม.ค. 2560
GI ข้าวสังข์หยด ณ เมืองลุง สู่คุกกี้เพื่อ คนรักสุขภาพ
สำหรับคนรักสุขภาพจะคุ้นกับชื่อ “ข้าวสังข์หยด” ข้าวพื้นเมืองของจังหวัดทางภาคใต้ที่มากด้วยวิตามินและมีกระบวนการปลูกแบบธรรมชาติไม่เร่งรัดเพิ่มผลผลิต แต่สำหรับอีกหลายคนอาจไม่รู้จักและไม่เคยได้ยินซึ่ง คุณศิริยา ปาละวงศ์ ก็ไม่เคยเหน็ดเหนี่อยในการที่จะอธิบายถึงที่มาที่ไปของข้าวพันธุ์นี้เมื่อมีผู้แสดงความสนใจ“คุกกี้ข้าวสังข์หยด” ผลิตภัณฑ์ที่เธอตั้งใจพัฒนาขึ้นเพื่อจำหน่ายในพัทลุง ก่อนจะค่อยๆ ขยายความนิยมไปในจังหวัดใกล้เคียง คุณศิริยาชื่นชอบการทำเบเกอรี่และได้ผลิตขายมานานแล้ว และหมั่นพัฒนาผลิตภัณฑ์อยู่เสมอ เธอสนใจข้าวสังข์หยดซึ่งได้รับการขนานนามว่าเป็นราชินีข้าวแห่งภาคใต้ มีรสชาติอร่อยแม้จะเม็ดเล็กแต่วิตามินมากมายที่ซ่อนอยู่ภายในเมล็ดสีแดงทำให้เกิดคุณค่าเกินตัว โดยเฉพาะข้าวสังข์หยดพัทลุงได้รับการจดทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ หรือ Geographical Indications (GI) จากกรมทรัพย์สินทางปัญญา เพราะข้าวสังข์หยดปลูกที่ใดก็ไม่ได้ผลผลิตเหมือนแดนดินถิ่นใต้ ขนาดในพื้นที่ใกล้เคียงกัน ยังมีกระบวนการผลิตที่มีความแตกต่างปลีกย่อยเพิ่มขึ้นไปอีก ด้วยคุณลักษณะพิเศษเช่นนี้ ข้าวสังข์หยดจึงเป็นที่ต้องการของตลาดทั้งในและต่างประเทศ คุณศิริยาจึงเกิดประกายความคิดที่จะพัฒนาคุกกี้จากข้าวสังข์หยดขึ้น โดยทดลองปรุงหลายๆ สูตร รวมไปถึงการเข้าอบรมจากสถาบันต่าง ๆ เพื่อเพิ่มพูนความรู้ และที่สำคัญได้แรงผลักดันจากญาติมิตรและเพื่อนฝูงรอบข้างที่คอยให้คำติชม จนในที่สุดก็ได้รสชาติออกมาเป็นที่พอใจ เกิดเป็น “คุกกี้ข้าวสังข์หยด” ตราคุณหญิง เริ่มวางจำหน่ายเมื่อปี 2551 และได้พัฒนาการผลิตอย่างต่อเนื่องจนได้รับตราสินค้าโอทอป 5 ดาว และมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน (มผช.) จากสำนักงานมาตรฐานอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม ในปี 2556 คุณศิริยาได้เข้าร่วมอบรมโครงการ “การเสริมสร้างผู้ประกอบการใหม่” กับศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 11 จังหวัดสงขลา “หลังอบรม ทำให้เข้าใจเรื่องการทำธุรกิจในภาพรวมมากขึ้น จนตระหนักถึงความสำคัญของการจัดเก็บข้อมูลทางการเงินและข้อมูลอื่น ๆ อย่างเป็นระบบ ทำให้ทราบถึงต้นทุนที่แท้จริงของผลิตภัณฑ์ทุกผลิตภัณฑ์ ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อการวางแผนการผลิต ลดปัญหาคอขวด และยังเปิดมุมมองในการขยายตลาดด้วย” ปัจจุบันข้าวสังข์หยดคุณหญิงได้ขยายไปวางตลาดในอำเภอเมืองสงขลา จังหวัดตรัง และร้านเลมอนฟาร์ม ซึ่งในอนาคตจะไม่หยุดอยู่เพียง ณ จุดนี้ คุณศิริยา ปาละวงศ์ คุกกี้ข้าวสังข์หยด “คุณหญิง” 65 หมู่ที่ 14 ต.ควนมะพร้าว อ.เมือง จ.พัทลุง 93000 โทร. 08 1388 4990, 08 9305 4997 ที่มา : รายงานประจำปี 2556 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม
31 ม.ค. 2556
ขนมบ้านอุ๋ม นวัตกรรมของครอบครัวนักทำขนม
คุณจิราภรณ์ อังคเรืองรัตนา เจ้าของสูตรขนม “ร้านบ้านอุ๋ม” จังหวัดฉะเชิงเทรา เล่าว่าตระกูล “อั้งเต๊กหมง” ทำขนมเปี๊ยะมาช้านาน พ่อและแม่ของเธอก็สืบสานภูมิปัญญานี้ยึดเป็นอาชีพก่อร่างสร้างตัว ส่งลูกๆ เรียนจนจบ เธอจึงมีสายเลือดของนักทำขนมเต็มตัว เมื่อจบการศึกษาด้านเทคโนโลยีอาหารจากมหาวิทยาลัยสุรนารี จังหวัดนครราชสีมา จึงกลับบ้านเกิดเมื่อ 12 ปีที่แล้ว และพัฒนาขนมสูตรใหม่ ๆ เพื่อเอาใจผู้บริโภคยุคใหม่ที่เริ่มเอาใจออกห่างขนมเปี๊ยะ โดยมีพี่น้องมาร่วมด้วยช่วยกัน ช่วงแรก “ชิฟฟอนสามเหลี่ยม” ถือเป็นพระเอกของร้าน เนื้อที่นุ่มเบา หอมอร่อย สะกดให้ผู้คนติดใจ จากนั้นค่อย ๆ เพิ่มเมนูให้มากขึ้น เช่น เค้กนมสด เค้กฝอยทอง บราวนี่ทอฟฟี่ ขนมปังสังขยา คุกกี้ รวมไปถึงรื้อฟื้นขนมเปี๊ยะโดยปรับลุคเป็นเปี๊ยะพอดีคำ ปัจจุบันนอกจากขยายร้านขนมบ้านอุ๋ม 2 สาขาแล้ว สมาชิกภายในครอบครัวยังร่วมกันขยายร้าน “อุ๋มปังหยา” ที่มีขนมปังสังขยานมสดเป็นผลิตภัณฑ์สำคัญที่ดึงดูดให้ทุกเพศทุกวัยเข้ามาเป็นลูกค้า และเป็นสถานที่สำหรับพบปะและสังสรรค์กัน แม้งานผลิตขนมและงานดูแลร้านจะมากมายในแต่ละวัน แต่การพัฒนาก็เป็นสิ่งสำคัญไม่แพ้กัน โดยเมื่อปี 2556 คุณจิราภรณ์ได้เข้าร่วมอบรมในกิจกรรม “การส่งเสริมนวัตกรรมอุตสาหกรรมและอุตสาหกรรมเชิงสร้างสรรค์” กับศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 9 ซึ่งผู้ประกอบการมีความสนุกสนานที่ได้สร้างสรรค์เมนูใหม่ร่วมกับอาจารย์ที่ปรึกษา “เราได้เมนูใหม่คือขนมเปี๊ยะไส้รากบัว เป็นเมนูสุขภาพขนาดชิ้นพอดีคำ ซึ่งตอนนี้ยังไม่ได้ผลิตจำนวนมาก แต่เป็นการผลิตตามออร์เดอร์ ความสำคัญคือไม่ใช่ว่าเราได้สูตรขนมใหม่ แต่คือการที่อาจารย์กระตุ้นให้เราคิดทำอะไรใหม่ ๆ อยู่เสมอ” คุณจิราภรณ์เล่าถึงผลจากการอบรมที่ทำให้ได้ปัดฝุ่นภูมิปัญญาของบรรพบุรุษมาต่อยอดเป็นสิ่งใหม่" ความสุขของคนทำขนมนอกจากจะผลิตอย่างพิถีพิถัน และนำออกจากเตาหอมกรุ่นทุกวันด้วยความสุขแล้ว ร้อยทั้งร้อยมักสนุกกับการสรรค์สร้างเมนูใหม่ ๆ เช่นเดียวกับความสุขของนักชิมคือได้ลองเมนูใหม่ ๆ ตลอดหลายปีร้านขนมบ้านอุ๋มจึงได้พัฒนาขนมใหม่ ๆ อย่างต่อเนื่อง เพื่อให้เป็นของฝากคุณภาพสำหรับผู้มาเยือนฉะเชิงเทรา คุณจิราภรณ์ อังคเรืองรัตนา ร้านขนมบ้านอุ๋ม 605/2 ถ.เทพคุณากร ต.หน้าเมือง อ.เมือง จ.ฉะเชิงเทรา 24000 โทร. 08 1751 2137, 038 517 109 ที่มา : รายงานประจำปี 2556 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม
31 ม.ค. 2556
บ้านขนม อำเภอนางรอง รสชาติไม่เป็นสองรองใคร
ในปี 2538 ที่อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ มีธุรกิจเกิดใหม่ชื่อ “บ้านขนมโสมนัส” มีขนมเค้กกล้วยหอมเป็นสินค้าขึ้นชื่อ ผ่านไป 10 ปี กิจการเติบโตขึ้น มีทั้งเบเกอรี่ น้ำพริก และอาหารพื้นเมืองเป็นของฝากกว่าร้อยชนิด และได้ขยายธุรกิจไปสู่บ้านขนมฯ สาขา 2 ซึ่งเวลานั้นเอง คุณปริญญา กอปรสิริพัฒน์ เริ่มมองหาโครงการการอบรมต่าง ๆ เพื่อเสริมสร้างความรู้และการพัฒนาสินค้าอย่างสม่ำเสมอ เมื่อปี 2556 คุณปริญญามีโอกาสได้เข้าร่วมโครงการ “การพัฒนาผู้ประกอบการธุรกิจอุตสาหกรรม (คพอ.)” ของกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม ซึ่งเป็นการต่อยอดความรู้ครั้งสำคัญ จากที่เคยเรียนรู้ด้วยตัวเองในการทำธุรกิจมาสู่การเรียนรู้ความสำเร็จจากมืออาชีพนับจากวันนั้นการเปลี่ยนแปลงในการทำธุรกิจร้านบ้านขนมโสมนัสก็เกิดขึ้น มีการปรับปรุงในทุกด้าน ทั้งการกำหนดราคา การประชาสัมพันธ์สินค้า การตกแต่งร้าน ฯลฯ ส่งผลให้ตัวเลขการขายเพิ่มขึ้นจากเดิมประมาณ 20% นอกจากนี้ยังมีการพัฒนาสินค้าหรือขนมต่าง ๆ ภายในร้านเพิ่มขึ้นอีกมากมายหลายรายการ และที่สำคัญ การอบรมนำไปสู่การสร้างเครือข่ายและพันธมิตรทางการค้า ปัจจุบัน บ้านขนมโสมนัสเติบโตขึ้นโดยมีสาขาทั้งหมด 3 แห่ง ในจังหวัดบุรีรัมย์ และด้วยทำเลที่ตั้งของจังหวัดที่อยู่ในเส้นทางการค้าของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน อาจทำให้มีลูกค้ามากขึ้น แต่คู่แข่งทางธุรกิจก็อาจมากขึ้นตามไปด้วย เพราะฉะนั้นสิ่งที่ต้องเตรียมพร้อมคือ การพัฒนาตัวเองและเรียนรู้ในสิ่งต่าง ๆ ตลอดเวลา ทั้งประเด็นทางธุรกิจ การเรียนรู้ วัฒนธรรมและภาษาของเพื่อนบ้าน ในการก้าวสู่ทศวรรษที่ 3 ของบ้านขนมโสมนัสอาจเป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญ รสชาติ หน้าตาอาหารและขนมอาจมีลักษณะผสมผสานระหว่างวัฒนธรรม (fusion) มากขึ้น โดยไม่ลืมเรื่องการรักษาคุณภาพมาตรฐานความสะอาดปลอดภัยและชีวอนามัย ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญที่สุดสำหรับผู้ประกอบการธุรกิจอาหาร คุณปริญญา กอปรสิริพัฒน์ บ้านขนมโสมนัส 463 ถ.ประจันตเขต ต.นางรอง อ.นางรอง จ.บุรีรัมย์ 31110 โทร. 08 1264 5169, 08 4605 3213 โทรสาร 044 624 227 ที่มา : รายงานประจำปี 2556 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม
31 ม.ค. 2556