เหนียวหมู ไดร์ฟ ทรู ชูโรงความอร่อย ผ่านเครื่องทอดหมูนุ่มชุ่มซอส
ข้าวเหนียวหมูทอดสะดวกทานภายใต้แบรนด์ “เหนียวหมู ไดร์ฟ ทรู” ของ คุณนุชนาฏ ศุภเตชนาถ ได้รับการตอบรับที่ดีจากผู้บริโภคยุคนี้ เพราะคำว่าคุณภาพล้วน ๆ จากเนื้อหมูที่คัดสรรมาอย่างดี หมักและทอดด้วยซอสสูตรพิเศษที่ปรุงจากเครื่องปรุงรสกว่า 20 ชนิด จนได้หมูทอดนุ่มที่มีรสชาติกลมกล่อมถึงเนื้อใน และเมื่อประกอบกับข้าวเหนียวที่มีความเหนียวนุ่ม บรรจุในแพกเกจจิ้งที่สะดวก ทันสมัย ทุกอย่างจึงลงตัวโดนใจคนรุ่นใหม่ อย่างไรก็ดี คุณนุชนาฏยอมรับว่าการทอดหมูนั้นไม่ใช่เรื่องง่าย ในช่วงแรกของการทำธุรกิจปรากฏว่าต้องทอดหมูทิ้งไปหลายสิบกิโลกรัม เพราะเนื้อหมูที่ทอดออกมามีความแข็ง สีสันไม่สวย ดูไม่น่ารับประทาน นอกเหนือจากจะอาศัยประสบการณ์และการฝึกฝนเทคนิคการทอดหมูแล้ว สิ่งหนึ่งที่ผู้ประกอบการรุ่นใหม่อย่างเธอเลือกทำคือ การเข้าร่วมกิจกรรมการพัฒนาผลิตภัณฑ์สำหรับผู้ประกอบการใหม่ภายใต้ โครงการสร้างและพัฒนาผู้ประกอบการใหม่เชิงสร้างสรรค์และนวัตกรรม สิ่งที่ได้รับกลับมาเป็นรูปธรรมคือ เครื่องทอดหมูนุ่มชุ่มซอส ที่ปัจจุบันกลายเป็นเครื่องมือสำคัญในการผลิตหมูทอดให้ออกมามีคุณภาพ รสชาติอร่อย ตรงตามคอนเซ็ปต์ที่เธอตั้งเอาไว้ คือ “หมูทอดนุ่ม ชุ่มซอส กลมกล่อมถึงเนื้อใน อิ่ม ง่าย อร่อย” เครื่องทอดหมูนุ่มชุ่มซอสนี้ยังมีส่วนช่วยควบคุมคุณภาพและมาตรฐานของอาหาร ไม่ว่าจะเจ้าของธุรกิจจะขยายสาขาเอง หรือขยายธุรกิจในรูปแบบแฟรนไชส์ หมูทอดก็จะคงความอร่อยไม่แตกต่างกัน คุณนุชนาฏ ศุภเตชนาถ เหนียวหมู ไดร์ฟ ทรู 14-5 ซ.รามอินทรา 21 แขวงอนุสาวรีย์ เขตบางเขน กรุงเทพฯ 10220 โทรศัพท์ 09 7424 2956 https://www.facebook.com/neawmoogroup/ ที่มา : รายงานประจำปี 2562 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม
24 มี.ค. 2563
บริษัท เอส.ดับบลิว. อินเตอร์ฟู้ด จำกัด
กระบวนการผลิตภัณฑ์เกษตรแปรรูปด้วยเทคโนโลยี วิทยาศาสตร์ และนวัตกรรม ของบริษัทฯ เริ่มจากการหาแนวคิดผลิตภัณฑ์ (Product Concept) ของผลิตภัณฑ์ที่ชัดเจน บริษัทฯ ได้พัฒนาผลิตภัณฑ์ที่เป็น meal replacement โดยการคัดสรรวัตถุดิบที่มีคุณภาพสูง มีการออกแบบและการคำนวณปริมาณสารอาหารที่เหมาะสมสำหรับผู้บริโภคทั่วไป โดยกำหนดช่วงอายุของกลุ่มเป้าหมายที่เป็นวัยทำงาน มีความเร่งรีบ แต่ต้องการดูแลสุขภาพ ในขั้นตอนการพัฒนา มีการปรับปรุงสูตรส่วนผสม ปรับเปลี่ยนชนิดของแหล่งสารอาหาร ปรับกลิ่นรส มีกระบวนการทดสอบทางประสาทสัมผัสและทดสอบผู้บริโภคเพื่อให้มั่นใจว่าผลิตภัณฑ์ที่พัฒนาจะได้รับการยอมรับจากผู้บริโภค
19 ก.ย. 2562
บริษัท เอเอ็มดี อินเตอร์ จำกัด
กระบวนการพัฒนาผลิตภัณฑ์น้ำมันเกรดอาหารจากไขมันวัว โดยปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อคุณภาพของน้ำมันที่เตรียมได้คือวัตถุดิบและกระบวนการ จากการทดลองผลิตโดยใช้หม้อทอดที่สภาวะความดันต่ำขนาด 200 ลิตร โดยมีขนาดการผลิตเท่ากับ 100 กิโลกรัม/กะ พบว่ากระบวนการผลิตโดยการเจียวน้ำมันที่สภาวะความดันต่ำ สามารถลดอุณหภูมิการเจียวน้ำมันลงได้เหลือเท่ากับ 80 องศาเซลเซียส ที่ความดัน 660 มิลลิเมตรปรอท ใช้เวลาในการเจียวและระเหยน้ำรวม 2 ชั่วโมง/กะ สามารถลดการเกิดปฏิกิริยาออกซิเดชันของน้ำมันในระหว่างกระบวนการ และลดปริมาณสารปนเปื้อนต่างๆในผลิตภัณฑ์ได้โดยมีค่าเป็นไปตามเกณฑ์อ้างอิงตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 205) พ.ศ. 2543 เรื่อง น้ำมันและไขมัน และการทดสอบประเมินทางประสาทสัมผัส พบว่าคะแนนความชอบของอาสาสมัครอยู่ที่ระดับ 7.13 จากคะแนนเต็มเท่ากับ 10 ถือว่ามีระดับความชอบปานกลาง โดยอาสาสมัครส่วนใหญ่แสดงความคิดเห็นว่าผลิตภัณฑ์ไขมันวัวทำให้อาหารประเภทเนื้อวัวมีรสชาติดีขึ้น แต่ยังมีกลิ่นค่อนข้างแรง ซึ่งเป็นแนวทางให้ผู้ประกอบการนำไปพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้ตรงความต้องการผู้บริโภคมากขึ้นต่อไป
19 ก.ย. 2562
บริษัท ไทยรสทิพย์ จำกัด
กระบวนการพัฒนาผลิตภัณฑ์น้ำส้มสายชูหมัก 2 กลิ่นรส ด้วยเทคโนโลยี วิทยาศาสตร์ และนวัตกรรม สำหรับน้ำส้มสายชูหมักจาก 1) สตรอเบอรี่และกุหลาบ 2) สับปะรดและมิ้นท์ 3) องุ่นขาวและซินนามอน ใช้เทคนิคการหาสัดส่วนของน้ำส้มสายชูหมักที่เป็นส่วนผสม 2 ตัว ในแต่ละสูตร กล่าวคือ 1) สำหรับน้ำส้มสายชู 2 กลิ่นรสจากสตรอเบอรี่และกุหลาบ ศึกษาสัดส่วนของปริมาณน้ำส้มสายชูหมักจากสตรอเบอรี่ และน้ำส้มสายชูหมัก จากกุหลาบที่จะนำมาผสมกัน เพื่อให้ได้กลิ่นรสของสตรอเบอรี่และกลิ่นของกุหลาบในระดับที่ผู้บริโภคยอมรับ 2) สำหรับน้ำส้มสายชู 2 กลิ่นรสจาก สับปะรดและมิ้นท์ ศึกษาสัดส่วนของปริมาณน้ำส้มสายชูหมักจากสับปะรด และน้ำส้มสายชูหมักจากมิ้นท์ที่จะนำมาผสมกันให้ได้กลิ่นรสของสับปะรดและกลิ่นมิ้นท์ในระดับที่ผู้บริโภคยอมรับ และ 3) สำหรับน้ำส้มสายชู 2 กลิ่นรสจาก องุ่นขาวและซินนามอน ศึกษาสัดส่วนของปริมาณน้ำส้มสายชูหมักจากองุ่นขาว และน้ำส้มสายชูหมักจากซินนามอน ที่จะนำมาผสมกันให้ได้กลิ่นรสขององุ่นขาวและซินนามอนในระดับที่ผู้บริโภคยอมรับ ซึ่งในการปรับปริมาณส่วนผสมต้องใช้การทดสอบทางประสาทสัมผัส โดยจะนำผลิตภัณฑ์น้ำส้มสายชูหมักนำมาผสมกับน้ำผึ้งในอัตราส่วนที่กำหนด ผสมให้เข้ากันแล้วจึงนำไปให้ผู้ทดสอบชิม ใช้วิธีการให้คะแนนความชอบแบบ 9-Point hedonic scale ร่วมกับการทดสอบความพอดี (Just about right) ด้านกลิ่น กลิ่นรส และรสหวาน เพื่อปรับปริมาณส่วนผสมที่ใช้ให้ตรงตามความต้องการของผู้บริโภค แล้วจึงนำมาทดสอบการยอมรับของตลาดขั้นสุดท้ายด้วยแบบทดสอบความชอบผลิตภัณฑ์ และสำรวจตลาด เพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์ที่เป็นที่ต้องการของตลาด และสามารถกำหนดราคาที่เหมาะสม
19 ก.ย. 2562
บริษัท ฮอทดอทเคอรี่ จำกัด
กระบวนการผลิตภัณฑ์เกษตรแปรรูปด้วยเทคโนโลยี วิทยาศาสตร์ และนวัตกรรม เริ่มด้วยการพัฒนาสูตรน้ำพริกไข่เค็มผงปรุงรสกึ่งสำเร็จรูปให้ตรงกับความชอบและความต้องการของผู้บริโภคกลุ่มเป้าหมาย ร่วมกับการใช้เทคนิคการอบแห้งที่ทำให้ผลิตภัณฑ์เก็บรักษาได้นาน จากนั้นปรับปรุงสู่กระบวนการผลิตจริง ร่วมกับการใช้บรรจุภัณฑ์ที่เหมาะสม โดยมีจุดคุ้มทุนที่สามารถผลิตและจำหน่ายได้จริงในเชิงพาณิชย์
19 ก.ย. 2562
บริษัท ซีเอสพีฟูดส์ซัพพลาย จำกัด
้ กระบวนการพัฒนาผลิตภัณฑ์ลูกชิ้นหมูสอดใส้น้ำจิ้มเป็นกระบวนการที่ต้องใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยศึกษาการใช้สาร emulsifier และสาร binder เพื่อทำให้ลูกชิ้นที่ผลิตได้มีเนื้อสัมผัสที่แน่นเหนียวพร้อมที่จะรองรับน้ำจิ้มที่สอดใส้ข้างและมีการศึกษาการใช้สาร hydrocolloid ชนิดต่างๆ ที่มีคุณสมบัติเป็น Thermoreversible gel จะสามารถทำให้น้ำจิ้มอยู่ในรูปแบบของแข็งในขณะเย็นเพื่อป้องกันการเสื่อมเสีย และกลายเป็นของเหลวหนืดได้เมื่ออุ่นให้ร้อนท่อนรับประทาน และใช้นวัตกรรมในการสอดใส้น้ำจิ้มเข้าไปในลูกชิ้น หลังจากได้ผลิตภัณฑ์ต้นแบบทำการทดสอบการยอมรับจากผู้บริโภค
19 ก.ย. 2562
บริษัท ซีซ่า ฟูดส์ จำกัด
กระบวนการพัฒนาผลิตภัณฑ์มะม่วงเส้นอบแห้งทั้งรสธรรมชาติ และ 3 รส มุ่งเน้นการพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่แปลกใหม่ ไม่มีจำหน่ายในท้องตลาด มีเนื้อสัมผัสที่แตกต่างจากผลิตภัณฑ์มะม่วงแผ่นอบแห้งทั่วไป โดยต้องการให้มีเนื้อสัมผัสนุ่ม ไม่เหนียว เคี้ยวเพลิน และไม่ติดฟัน แต่ให้มีส่วนผสมของแป้งและน้ำตาลน้อย โดยใส่พอลิแซ็กคาไรด์ (Polysaccharide) หรือคาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อนที่สกัดมาจากพืชทดแทน กระบวนการผลิตผลิตภัณฑ์เกษตรแปรรูปด้วยเทคโนโลยี วิทยาศาสตร์ และนวัตกรรม เริ่มด้วยนำเนื้อมะม่วงไปปั่นให้ละเอียด ซึ่งทำให้ใช้ประโยชน์จากเนื้อมะม่วงได้ทุกส่วน จากนั้นผสมส่วนผสมต่างๆ ให้เข้ากัน นำมาขึ้นรูป แล้วจึงนำไปอบแห้ง และตัดให้เป็นเส้น ทั้งนี้ต้องศึกษาเงื่อนไขการผลิตที่เหมาะสม เช่น ปริมาณส่วนผสม ชนิดของพอลิแซ็กคาไรด์ การขึ้นรูปตัวอย่าง ความหนาของตัวอย่าง อุณหภูมิและระยะเวลาในการอบแห้ง ความชื้นสุดท้ายของผลิตภัณฑ์หลังการอบแห้ง และระยะเวลาในการทำให้ผลิตภัณฑ์เปลี่ยนสภาวะจากของยืดหยุ่นคล้ายยาง (rubbery state) เป็นของแข็งคล้ายแก้ว (glassy state) เป็นต้น จากนั้นจึงทำการทดสอบผู้บริโภค เพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์ที่ตรงตามความต้องการของผู้บริโภค ซึ่งผลิตภัณฑ์มะม่วงเส้นอบแห้งนี้เหมาะสมสำหรับผู้ที่ชื่นชอบอาหารทานเล่นที่ผลิตจากผลไม้ และผู้ที่รักสุขภาพ
19 ก.ย. 2562
บริษัท เบญทอยส์ กรุ๊ป จำกัด
กระบวนการผลิตภัณฑ์เกษตรแปรรูปด้วยเทคโนโลยี วิทยาศาสตร์ และนวัตกรรม เริ่มด้วยการเลือกวัตถุดิบ ปรับปรุงรสชาติ และคำนวณปริมาณแคลลอรีที่เหมาะสม จากนั้นศึกษารูปแบบการละลายที่เหมาะสมและทำการปรับปรุงทางประสาทสัมผัส โดยพิจารณาเรื่องของรสชาติ และกลิ่น ของผลิตภัณฑ์โปรตีนไข่ขาวพร้อมชงรส 1) เผือก 2) กล้วยหอม 3) เมลอน และ 4) กาแฟ จากนั้นจึงทำการทดสอบผู้บริโภค เพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์ที่เป็นที่ต้องการของตลาด โดยมีจุดคุ้มทุนที่สามารถผลิตขายในเชิงพาณิชย์ได้
11 ก.ย. 2562
บริษัท พณกรชลวิชญ์ จำกัด
กระบวนการพัฒนาผลิตภัณฑ์น้ำสลัดปราศจากไขมันของบริษัท เริ่มจากแนวคิดที่จะพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่แตกต่างจากผลิตภัณฑ์ที่มีในท้องตลาด จึงได้เลือกพัฒนาผลิตภัณฑ์น้ำสลัดเพื่อสุขภาพที่ปราศจากไขมัน คอเลสเตอรอล และน้ำตาล (3zero) แต่ยังคงลักษณะคล้ายน้ำสลัดครีม จึงต้องมีการคัดเลือกส่วนผสมที่มีคุณสมบัติเป็นสารทดแทนไขมัน โดยใช้ทั้งโปรตีน แป้งดัดแปร และไฮโดรคอลลอยด์ ผสมผสานกันอย่างลงตัว ในขั้นตอนการพัฒนามีการปรับสูตรและวัดค่าคุณภาพ รวมทั้งการทดสอบคุณภาพทางประสาทสัมผัสทั้งกับผู้ทดสอบทั่วไปและผู้บริโภค ทำให้บริษัทมั่นใจได้ว่าผลิตภัณฑ์ที่พัฒนานี้จะได้รับการยอมรับ
11 ก.ย. 2562
ป.อุบล ของดีเมืองอุบลเชื่อมโยงอุตสาหกรรมสู่การท่องเที่ยว
การเติบโตของอุตสาหกรรมการแปรรูปอาหารในจังหวัดอุบลราชธานี รวมถึงอุตสาหกรรมการเกษตรและเทคโนโลยีชีวภาพกระตุ้นเศรษฐกิจในพื้นที่นับพันล้านบาท แต่การเติบโตอย่างยั่งยืนไม่ใช่การแข่งขันชิงสัดส่วนทางการตลาด หากแต่หมายถึงการร่วมมือพัฒนาระบบอุตสาหกรรมให้แข็งแรง เช่นเดียวกับมุมมองของ คุณสมนึก เหรียญรักวงศ์ ผู้ผลิตอาหารแปรรูป ป.อุบล ที่ได้มาตรฐานการผลิตทั้ง อย. GMP และ HACCP จึงได้เข้าร่วมโครงการพัฒนาการรวมกลุ่มและเชื่อมโยงอุตสาหกรรม (คลัสเตอร์) ปีงบประมาณ 2561 คุณสมนึกมองว่า การรวมกลุ่มของผู้ประกอบการช่วยเชื่อมโยงเครือข่ายผู้ผลิตกลุ่มเดียวกันให้สามารถต่อรองเรื่องการสั่งซื้อวัตถุดิบที่ดีมีคุณภาพ หลังจากเข้าร่วมโครงการดังกล่าว รวมถึงอีกหลายโครงการที่ได้รับกาสนับสนุนจากกรมส่งเสริมอุตสาหกรรมในช่วง 4 - 5 ปีที่ผ่านมา ช่วยส่งเสริมให้ ป.อุบล นำความรู้ไปต่อยอดการพัฒนาธุรกิจในด้านต่างๆ เช่น ผลิตภัณฑ์ปรับปรุงเรื่องบรรจุภัณฑ์ให้มีความน่าสนใจ มีความปลอดภัย และหลักการรวมกลุ่มแบบคลัสเตอร์มาปรับใช้ โดยเปิดศูนย์จำหน่ายสินค้าของฝากของที่ระลึกของจังหวังอุบลราชธานี ช่วยรับผลิตภัณฑ์ของกลุ่มเข้ามาวางจำหน่าย เพื่อเป็นการขยายต่อยอดตลาดของกลุ่ม นอกจากนี้ยังลุยตลาดท่องเที่ยวเชิงเกษตรสำหรับคนรักสุขภาพ เปิดโครงการ “ฟาร์มฮัก” ฟาร์มปลูกผักออร์แกนิกแบบ 100เปอร์เซ็นต์ เชื่อมโยงจุดท่องเที่ยว เช่น พิพิธภัณฑ์รถโบราณ แพร้านอาหารลอยน้ำ ฟาร์มแกะ จำหน่ายผลิตภัณฑ์จากกลุ่มภายในฟาร์มพร้อมทำตลาดออนไลน์ เพื่อประชาสัมพันธ์ธุรกิจให้เกิดการรับรู้จากกลุ่มผู้บริโภคมากขึ้น ส่งผลถึงยอดจำหน่ายที่สูงขึ้นตามลำดับ คุณสมนึก เหรียญรักวงศ์ 27 หมู่ 22 ต.วารินชำราบ อ.วารินชำราบ จ.อุบลราชธานี 34190 โทรศัพท์ 0-4532-1198, 08-1266-8766 ที่มา : รายงานประจำปี 2561 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม
31 ม.ค. 2561