“ดีพร้อม” จับมือเดลต้า คิกออฟ “ดีพร้อม x เดลต้า เองเจิล ฟันด์ คอนเน็ค ปีที่ 10” ดึง 2 พันธมิตร ชู Content Marketing ขยายฐานลูกค้า ผ่านเงินทุน 5 ล้านบาท หวังสร้างมูลค่าทางการตลาดกว่า 10 เท่า สอดรับนโยบาย รมว.เอกนัฏ
กรุงเทพฯ 3 มีนาคม 2568 – นายดุสิต อนันตรักษ์ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ได้รับมอบหมายจาก นางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม เป็นประธานในพิธีเปิดการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการหลักสูตร “การพัฒนาทักษะและองค์ความรู้ด้านการตลาด (Marketing Camp)” ภายใต้โครงการเชื่อมโยงแหล่งเงินทุนและตลาดสำหรับวิสาหกิจเริ่มต้น หรือ DIPROM x DELTA Angel Fund Connect ปีที่ 10 ร่วมด้วย นาย วิคเตอร์ เจิ้ง ประธานกรรมการบริหาร บริษัท เดลต้า อีเลคโทรนิคส์ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) นางทรงสมร พาณิชย์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท มีเดีย แท็งค์ จำกัด นายก่อพงศักดิ์ ตันติศิริรักษ์ นายกสมาคมการค้าอินฟลูเอนเซอร์ไทย คณะผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ดีพร้อม กลุ่มผู้ประกอบการสตาร์ทอัพ กลุ่มอินฟลูเอนเซอร์ และสื่อมวลชน ณ โรงแรมเบสท์ เวสเทิร์น จตุจักร การฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการฯ ดังกล่าว เป็นการบ่มเพาะทักษะทางธุรกิจและการตลาดอย่างเข้มข้น (Marketing Camp) ภายใต้โครงการเชื่อมโยงแหล่งเงินทุนและตลาดสำหรับวิสาหกิจเริ่มต้น หรือ DIPROM x DELTA Angel Fund Connect ปีที่ 10 รวมทั้งเชื่อมโยงเครือข่ายกับผู้สร้างสรรค์คอนเทนต์ (Content Creator) ปั้นเทรนด์การเสพคอนเทนต์ด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมบนแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดีย โดยได้รับความร่วมมือจาก 2 พันธมิตรสำคัญ คือ 1) สมาคมการค้าอินฟลูเอนเซอร์ไทย ร่วมคัดเลือกผู้สร้างสรรค์คอนเทนต์เข้าร่วมโครงการ โดยมีบทบาทสำคัญในการช่วยพัฒนาต่อยอดกลยุทธ์การตลาดผ่านการสร้างเนื้อหา (Content Marketing) ให้เกิดเป็นกระแส และสร้างการรับรู้ให้กับผู้คนทั่วโลก เป็นการสร้างโอกาสให้สตาร์ทอัพสามารถเข้าถึงช่องทางการตลาดใหม่ ๆ ขยายฐานลูกค้า และผลักดันไปสู่ระยะเติบโตมากขึ้น และ 2) บริษัท มีเดีย แท็งค์ จำกัด (Shark Tank Thailand) ร่วมคัดเลือกและส่งต่อสตาร์ทอัพเข้าร่วมรายการ เพื่อให้สามารถสร้างโอกาสในการเชื่อมโยงไปสู่นักลงทุนรายอื่น ๆ อีกทั้งยังเปิดโอกาสให้สตาร์ทอัพได้ทำงานร่วมกับพันธมิตรภาคอุตสาหกรรม เพื่อร่วมทดลองใช้นวัตกรรม หรือ โซลูชั่นส์ในตลาดจริง (Proof of Concept: PoC) เพื่อให้ตอบโจทย์ความต้องการและง่ายต่อการขยายผลในเชิงธุรกิจ ก่อนเข้าสู่การนำเสนอโมเดลธุรกิจต่อแหล่งทุนในกิจกรรม Pitching Day ต่อไป นอกจากนั้น ยังมีพันธมิตรหลักคนสำคัญ คือ บริษัท เดลต้า อีเลคโทรนิคส์ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) ที่ร่วมกับดีพร้อมในการดำเนินธุรกิจเชิง CSR ผ่านการสนับสนุนทุนเพื่อพัฒนาและต่อยอดให้กับสตาร์ทอัพไทย ภายใต้โครงการ Angel Fund มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2559 จนถึงปัจจุบัน ส่งผลให้สตาร์ทอัพไทยได้รับการส่งเสริมศักยภาพกว่า 200 ราย เป็นเงินทุนมากกว่า 33 ล้านบาท สำหรับปี 2568 นี้ เดลต้า ได้สนับสนุนเงินทุนจำนวน 5 ล้านบาท โดยแบ่งเป็น การสนับสนุนสตาร์อัพที่มีธุรกิจและผลิตภัณฑ์เชิงนวัตกรรม จำนวน 4 ล้านบาท และสนับสนุนผู้สร้างสรรค์คอนเทนต์ จำนวน 1 ล้านบาท โดยให้ความสำคัญกับนวัตกรรมหรือเทคโนโลยี ที่จะแก้ไขปัญหาของโลกในบริบทต่าง ๆ เป็นหลัก โดยคาดว่าตลอดโครงการฯ จะสามารถสร้างมูลค่าทางการตลาดได้กว่า 50 ล้านบาท ทั้งนี้ DIPROM x DELTA Angel Fund Connect ปีที่ 10 เป็นโครงการที่สร้างกลไกสนับสนุนการพัฒนาขีดความสามารถในการดำเนินธุรกิจของสตาร์ทอัพ ตามนโยบาย "ที่นี่มีแต่ให้" ของ นางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ในการให้โอกาสเข้าถึงแหล่งทุนในรูปแบบเงินสนับสนุนแบบให้เปล่า เพื่อนำไปต่อยอดแนวคิดให้เกิดขึ้นเป็นธุรกิจใหม่ และขับเคลื่อนธุรกิจเชิงนวัตกรรมให้มีโอกาสเติบโตในเชิงพาณิชย์ สอดรับนโยบาย “ปฏิรูปอุตสาหกรรมไทยสู่เศรษฐกิจยุคใหม่ ทันสมัย สะอาด สะดวก โปร่งใส” ของ นายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม อีกด้วย
06 มี.ค. 2568
“รสอ.ดวงดาว" บันทึกเทปรายการ NBT มีคำตอบ เดินหน้าสนับสนุนนักออกแบบไทย ผ่านโครงการ DIPROM Thai Designer Lab 2025 มุ่งเน้นการนำเทคโนโลยี นวัตกรรมมาใช้ในการพัฒนาดีไซน์เนอร์ไทยสู่เวทีสากล ตามนโยบาย รมว.เอกนัฏ
กรุงเทพฯ 3 มีนาคม 2568 - นางดวงดาว ขาวเจริญ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ได้รับมอบหมายจากนางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ให้เกียรติบันทึกเทปรายการ NBT มีคำตอบ ในประเด็นการเดินหน้าสนับสนุนนักออกแบบไทย ผ่านโครงการ DIPROM Thai Designer Lab 2025 โดย นายนวัศกรณ์ สรษณะ เป็นผู้ดำเนินรายการ ณ สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย (NBT) กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม หรือดีพร้อม (DIPROM) เร่งดำเนินการตามยุทธศาสตร์การพัฒนาซอฟต์พาวเวอร์ ใน 4 สาขาอุตสาหกรรมแฟชั่น ได้แก่ เสื้อผ้าและเครื่องแต่งกายไทย (Apparel) อัญมณีและเครื่องประดับไทย (Jewelry) หัตถอุตสาหกรรมไทย (Craft) และเครื่องสำอางและความงามไทย (Beauty) ผ่านการดำเนินงานโครงการพัฒนานักออกแบบดีพร้อมในอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ (DIPROM Thai Designer Lab 2025) ซึ่งจัดต่อเนื่องเป็นปีที่ 2 มุ่งเน้นการพัฒนาศักยภาพนักออกแบบอย่างครบวงจร ผ่านการค้นคว้า วิจัยและทดลอง (Design Lab) สร้างประสบการณ์โดยตรงให้กับนักออกแบบ ให้พร้อมรับมือกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา ไม่ใช่เพียงออกแบบได้ดีเท่านั้น แต่ยังต้องคาดการณ์สถานการณ์ในอนาคตได้ดีด้วย โดย “ดีพร้อม” สนับสนุนและส่งเสริมการนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีมาช่วยสร้างเครื่องมือทางการตลาดในรูปแบบใหม่เพื่อตอบโจทย์ตลาดดิจิทัล (Digital Marketing) โดยจะยกระดับความสามารถในการแข่งขันของผู้ประกอบการธุรกิจแฟชั่นของไทยให้เทียบเท่าหรือเป็นที่ยอมรับในระดับสากล ในปี 2025 นี้ ผ่านธีม “Soft Power Fashion” เพื่อให้เกิดการเชื่อมโยงทุนทางวัฒนธรรมของไทยต่อยอดไปสู่การผลิตสินค้าแฟชั่นเชิงสร้างสรรค์ที่มีมูลค่าเพิ่ม และขยายโอกาสทางการตลาด พร้อมผลักดัน Soft Power สาขาแฟชั่นของไทยให้ก้าวสู่เวทีในระดับโลกต่อไป สอดรับนโยบาย “ปฏิรูปอุตสาหกรรมไทยสู่เศรษฐกิจยุคใหม่ ทันสมัย สะอาด สะดวก โปร่งใส” ของ นายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม นอกจากนี้ “ดีพร้อม” ยังมีการสนับสนุนภาคอุตสาหกรรมด้านอื่น ๆ อีกมากมาย ตามนโยบาย “ดีพร้อม คอมมูนิตี้ ที่นี่มีแต่ให้” ของ นางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ภายใต้แนวทาง 4 ให้ 1 ปฏิรูป ประกอบด้วย (1) การให้ทักษะใหม่ ทั้งการ Upskill, Reskill และสร้างทักษะใหม่ หรือ New skill ด้วยหลักสูตรที่ทันสมัยมีมาตรฐานรับรอง (2) ให้เครื่องมือที่ทันสมัย เปลี่ยนผ่านอุตสาหกรรมเดิมไปสู่อุตสาหกรรมเศรษฐกิจใหม่ เพื่อเพิ่มศักยภาพและเสริมความแข็งแกร่งให้กับวิสาหกิจ (3) ให้โอกาสโตไกลเพื่อวิสาหกิจไทยได้มีขีดความสามารถในการประกอบการเข้าถึงโอกาสต่าง ๆ อาทิ แหล่งเงินทุน การเชื่อมโยงเครือข่ายเป็นซัพพลายเชนที่เข้มแข็ง รวมถึงการสร้างโอกาสเข้าถึงช่องทางการตลาด และ (4) ให้ธุรกิจไทยที่ดีคู่ชุมชน มุ่งส่งเสริมและพัฒนาผู้ประกอบการที่ดี มีขีดความสามารถในการแข่งขันและเติบโตได้อย่างยั่งยืน ตลอดจนยังให้ความสำคัญกับการปฏิรูปดีพร้อมเพื่อมุ่งสู่องค์กรทันสมัยในด้านต่าง ๆ ทั้งการพัฒนาองค์กรและบุคลากร ให้สามารถก้าวทันการเปลี่ยนแปลงในสภาพแวดล้อมทางธุรกิจที่เปลี่ยนไปได้ ทั้งนี้ ผู้ที่สนใจเข้าร่วมโครงการ DIPROM Thai Designer Lab 2025 สามารถติดต่อสอบถามเพื่อสมัครเข้าร่วมโครงการได้ตั้งแต่วันนี้ ถึง 12 มีนาคม 2568 โดยผู้ที่ผ่านการพัฒนาจะมีโอกาสได้เข้าร่วมกิจกรรมการศึกษาดูงาน Field Trip จากแบรนด์ดังระดับประเทศ เรียนรู้และแชร์ประสบการณ์ในค่ายปฏิบัติการออกแบบ (Design Lab) และให้คำปรึกษาแบบตัวต่อตัวสุด Exclusive กับดีไซเนอร์ระดับประเทศ สามารถนำความรู้ ทักษะ และประสบการณ์ที่ได้ไปประยุกต์ใช้ในการดำเนินธุรกิจ สามารถสร้างความโดดเด่นเป็นอัตลักษณ์ให้กับแบรนด์ของตนเอง และตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภคยุคปัจจุบัน พร้อมสู่การเติบโตอีกระดับก้าวสู่การเป็นแบรนด์สินค้าที่เป็นที่รู้จักในระดับสากล รวมทั้งเกิดการการสร้างเครือข่ายความร่วมมือในกลุ่มนักออกแบบและผู้ประกอบการอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ เกิดการเชื่อมโยงธุรกิจ ก่อให้เกิดพันธมิตรทางธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยสามารถติดตามรับชมได้ทางรายการ NBT มีคำตอบ ออกอากาศในวันศุกร์ที่ 7 มีนาคม 2568 เวลา 15.30 – 16.00 น. ทางสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย (NBT) และ Facebook : Live NBT- เอ็นบีที
06 มี.ค. 2568
อุตฯ ลุย “เปิดครัวดีพร้อม Soft Power อาหารไทย อิ่มอร่อยที่ดีพร้อม” ชูอาหารไทยยืนหนึ่งครัวโลก พร้อมเร่งขับเคลื่อนซอฟต์พาวเวอร์ 1 ในจิ๊กซอว์ผลักดัน GDP เพิ่มขึ้น 1 % ตามนโยบายของ รมว.เอกนัฏ
กรุงเทพฯ 3 มีนาคม 2568 - ดร.ณัฐพล รังสิตพล ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม ให้เกียรติเป็นประธานเปิดงาน “เปิดครัวดีพร้อม Soft Power อาหารไทย อิ่มอร่อยที่ดีพร้อม“ โดยมี นางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กล่าวรายงาน ร่วมด้วย นายบรรจง สุกรีฑา รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม นายวันชัย พนมชัย เลขาธิการสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม นายใบน้อย สุวรรณชาตรี เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย นายภาสกร ชัยรัตน์ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม คณะผู้บริหารกระทรวงอุตสาหกรรม คณะผู้บริหารกรมส่งเสริมอุตสาหกรรมและเจ้าหน้าที่ ประธานมูลนิธิช่างหัตถศิลป์ไทย ผู้อำนวยการโรงเรียนสอนทำอาหารครัววันดี ผู้ประกอบการและสื่อมวลชน เข้าร่วมงานจำนวนมาก ณ ห้องนิทรรศการและบริเวณลานจอดรถ ชั้น 1 อาคารกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (DIPROM Headquarter) ดร.ณัฐพล รังสิตพล ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า ภายใต้บริบททางเศรษฐกิจที่เปลี่ยนแปลงไปจากการนำเข้าสินค้าอุตสาหกรรมที่ไม่ได้มาตรฐาน และการประกอบการที่ไม่ถูกต้องตามกฎหมายกำหนด ส่งผลอย่างมากต่อผู้ประกอบการไทย จึงจำเป็นที่กระทรวงอุตสาหกรรมจะเข้ามามีบทบาทในการสู้ เซฟ สร้าง และทำงานร่วมกับทุกภาคส่วน เพื่อผลักดันให้เกิดการลงทุน และพัฒนากระบวนการผลิตที่สร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าและผลิตภัณฑ์ เพื่อสร้างรายให้สูงขึ้น ตามนโยบาย “ปฏิรูปอุตสาหกรรมสู่เศรษฐกิจยุคใหม่ ทันสมัย สะอาด สะดวก โปร่งใส” ของนายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ที่มุ่งพัฒนาอุตสาหกรรมใหม่ที่มีการใช้พลังงานสะอาด การพัฒนาทักษะแรงงาน ตลอดจนสนับสนุนการใช้ภูมิปัญญาและทุนทางวัฒนธรรมท้องถิ่น เพื่อยกระดับสินค้าให้มีดีไซน์ทันสมัย โดดเด่น แตกต่างและได้มาตรฐาน สามารถตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภค ตามนโยบายการพัฒนาอุตสาหกรรมซอฟต์พาวเวอร์ของรัฐบาล นางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กล่าวต่อว่า ดีพร้อม ได้รับมอบหมายให้ดำเนินการรพัฒนาและส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์พาวเวอร์ในด้านแฟชั่นและอาหาร ภายใต้นโยบาย “ดีพร้อมคอมมูนิตี้ ที่นี่มีแต่ให้” ผ่านกลยุทธ์การให้ทักษะใหม่ ๆ เพื่อยกระดับทักษะที่มีอยู่เดิม (Upskill) และสร้างทักษะขึ้นมาใหม่ (Reskill) ให้เกิด DNA ของ Soft Power ที่จำเป็นต่อการทำงานโดยเฉพาะในอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ รวมถึงการให้โอกาสโตไกลด้วยการพัฒนาและยกระดับผลิตภัณฑ์ด้วยเทคโนโลยี นวัตกรรม และเครื่องมือต่าง ๆ ของดีพร้อม เพื่อให้ตอบโจทย์ความต้องการของตลาด การสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลิตภัณฑ์ผ่านอัตลักษณ์และภูมิปัญญา โดยการใช้วัตถุดิบและการประกอบอาหารตามแบบท้องถิ่น ตลอดจนเสริมทักษะในการสร้างแบรนด์ ให้เกิดการสร้างรายได้ ขยายโอกาสไปยังตลาดทั้งในและต่างประเทศ ซึ่งสอดรับกับนโยบาย OFOS (One Family One Soft Power) ที่ครอบคลุมต้นน้ำสำคัญ คือ การสร้าง “นักรบซอฟต์พาวเวอร์” ที่มีทักษะสูง เพื่อไปผลักดันให้วิสาหกิจมีการพัฒนา มีการนำเอกลักษณ์ ภูมิปัญญา และวัฒนธรรมสร้างสรรค์ของไทยมาใช้ในการสร้างมูลค่าเพิ่ม เกิดการสร้างงาน สร้างรายได้ นับเป็นหนึ่งในตัวคูณทางเศรษฐกิจที่ทำให้ GDP ของประเทศไทยเพิ่มขึ้น 1% จากการบริโภคภาคครัวเรือน สำหรับ งาน “เปิดครัวดีพร้อม Soft Power อาหารไทย อิ่มอร่อยที่ดีพร้อม” นี้ เป็นอีกหนึ่งการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์การพัฒนาซอฟต์พาวเวอร์ไทย สาขาอาหารของดีพร้อม ที่จะแสดงศักยภาพของอาหารไทยโดยการนำวัตถุดิบในท้องถิ่นมาประยุกต์เพื่อประกอบเมนูอาหารให้มีเอกลักษณ์เฉพาะถิ่น สามารถสร้างชื่อเสียงให้กับชุมชน สร้างอาชีพ และสร้างรายได้ โดยงานดังกล่าวกำหนดจัดขึ้นระหว่างวันที่ 3 – 7 มีนาคม 2568 ซึ่งภายในงานได้รวบรวมผลิตภัณฑ์ชุมชนและร้านอาหารเด็ดทั่วประเทศมาให้ทุกท่านได้ ช้อป ชม ชิม จำนวน 82 ร้านค้า อาทิ ร้านเป็นลาว อาหารอีสานสุดแซ่บมิชลินสตาร์ 2 ปีซ้อน และเมนูเด็ดจากร้านดัง เช่น แกงคั่วเป็ดเมืองตรัง ผัดไทเห็ด ขาหมูตุ๋นเตาถ่าน เป็นต้น นอกจากนี้ ยังมีกิจกรรมที่น่าสนใจ อาทิ การสอนปรุงอาหารแบบ Chef โดย “ครัววันดี” รวมถึงการสัมมนาและสอนทำคลิปคอนเทนต์ต่าง ๆ อีกด้วย
05 มี.ค. 2568
“อธิบดีณัฏฐิญา” ติดตามความคืบหน้าระบบเทคโนโลยีสารสนเทศดีพร้อม เตรียมนำ AI มาใช้ขับเคลื่อนผู้ประกอบการไทยสู่อุตสาหกรรม 5.0 ตามนโยบาย รมว.เอกนัฏ
กรุงเทพฯ 27 กุมภาพันธ์ 2568 - นางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ให้เกียรติเป็นประธานการประชุมความคืบหน้าการพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม พร้อมด้วย นายดุสิต อนันตรักษ์ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม และเจ้าหน้าที่ดีพร้อม (DIPROM) ณ ห้องประชุม 3 ชั้น 3 อาคารกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (DIPROM Headquarter) การประชุมครั้งนี้ เป็นการติดตามความคืบหน้าการพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศภายใต้แผนปฏิบัติการดิจิทัล กระทรวงอุตสาหกรรม ปี 2566 - 2570 โดยระบบนิเวศอุตสาหกรรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (DIPROM Ecosystem) ประกอบด้วย ระบบเผยแพร่ข้อมูลภาครัฐอิเล็กทรอนิกส์ (E-Government) ที่มีการออกแบบภายใต้มาตรฐานเว็บไซต์ภาครัฐเวอร์ชั่น 2.0 ที่สามารถแสดงผลได้อย่างเหมาะสมผ่านอุปกรณ์ประเภท Smart Devices ต่าง ๆ ซึ่งมีการนำเทคโนโลยีที่มีมาตรฐานความปลอดภัยมาใช้ และมีระบบบริหารจัดการอัจฉริยะ รวมถึงมีแผนการนำระบบงานใหม่มาใช้ในการปฏิบัติงาน (Go Live) นอกจากนี้ มีการนำระบบแผนงานงบประมาณและผลการดำเนินงานประจำปี (E-Office) ซึ่งมีการออกแบบให้ครอบคลุมกระบวนการดำเนินงาน แผนงานและงบประมาณตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ โดยในระบบต่าง ๆ มีการเชื่อมโยงทำงานร่วมกันของกลุ่มงานที่เกี่ยวข้อง ตั้งแต่ยุทธศาสตร์ แผนงานงบประมาณ การติดตามผล รวมถึงหน่วยปฏิบัติทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค (Collaboration) เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการทำงานร่วมกับเทคโนโลยีและนวัตกรรม สอดรับกับแนวทางการปฏิรูปดีพร้อม ตามนโยบาย “ดีพร้อมคอมมูนิตี้ ที่นี่มีแต่ให้” ในส่วน "ปฏิรูปดีพร้อม" ด้านการพัฒนาองค์กร ด้วยการยกระดับระบบการให้บริการของดีพร้อมให้ก้าวทันยุคของการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีดิจิทัล ของนางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม นอกจากนี้ อธิบดีณัฏฐิญา ได้ให้แนวทางในการนำ AI มาเป็นเครื่องมือในการวิเคราะห์เพื่อประเมินศักยภาพให้กับผู้ประกอบการที่เข้ามารับบริการ และเน้นย้ำเจ้าหน้าที่ดีพร้อมให้มีการบูรณาการการทำงานร่วมกัน โดยการเชื่อมโยงกันระหว่างการทำงานด้านการส่งเสริมกับระบบนวัตกรรมภายในดีพร้อม ซึ่งจะนำไปสู่การขับเคลื่อนสู่อุตสาหกรรม 5.0 เพื่อต่อยอดการพัฒนาศักยภาพอุตสาหกรรมและวิสาหกิจไทย สอดรับนโยบาย “ปฏิรูปอุตสาหกรรมไทยสู่เศรษฐกิจยุคใหม่ ทันสมัย สะอาด สะดวก โปร่งใส” ของ นายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม
05 มี.ค. 2568
รสอ.สุรพล ร่วมประชุม คณะกรรมการร่วมภาคเอกชน ภาคกลางปริมณฑล นำเสนอ “ดีพร้อมคอมมูนิตี้” 1 ในฟันเฟืองผลักดันภาคอุตสาหกรรมไทยตามนโยบาย รมว.เอกนัฏ
จังหวัดนนทบุรี 25 กุมภาพันธ์ 2568 – นายสุรพล ปลื้มใจ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ได้รับมอบหมายจาก นางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม เข้าร่วมประชุมคณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน (กกร.) กลุ่มจังหวัดภาคกลางปริมณฑล ครั้งที่ 1/2568 โดยมีนายทวีศักดิ์ สุทิน เป็นประธานการประชุม พร้อมด้วย ผู้บริหารองค์กรภาคเอกชนในพื้นที่ 4 จังหวัดภาคกลาง (จังหวัดนนทบุรี จังหวัดปทุมธานี จังหวัดสมุทรปราการ และจังหวัดนครปฐม) รวมถึงผู้แทนธนาคารแห่งประเทศไทย เข้าร่วมประชุมเพื่อร่วมหารือในการพิจารณา กลั่นกรองประเด็นและข้อเสนอที่เป็นประโยชน์ในการพัฒนาภาพรวมเศรษฐกิจของภาคเอกชน และนำเสนอต่อคคณะกรรมการร่วมฯ กลุ่มจังหวัด หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ณ ห้องประชุมใหญ่ ชั้น 5 บริษัท ศักดิ์สยามอินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด อำเภอไทรน้อย ในการประชุมดังกล่าว นายสุรพล ปลื้มใจ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ได้นำเสนอแนวทางการดำเนินงานตามนโยบาย “ดีพร้อม คอมมูนิตี้ ที่นี่มีแต่ให้” ของ นางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสหกรรม ให้ที่ประชุมรับทราบถึงแนวทาง 4 ให้ 1 ปฏิรูป ประกอบด้วย (1) ให้ทักษะใหม่ ทั้งการ Upskill , Reskill และสร้างทักษะใหม่ หรือ New skill ด้วยหลักสูตรที่ทันสมัยมีมาตรฐานรับรอง (2) ให้เครื่องมือที่ทันสมัย เปลี่ยนผ่านอุตสาหกรรมเดิมไปสู่อุตสาหกรรมเศรษฐกิจใหม่ เพื่อเพิ่มศักยภาพและเสริมความแข็งแกร่งให้กับวิสาหกิจ (3) ให้โอกาสโตไกลเพื่อวิสาหกิจไทยได้มีขีดความสามารถในการประกอบการเข้าถึงโอกาสต่าง ๆ อาทิ แหล่งเงินทุน การเชื่อมโยงเครือข่ายเป็นซัพพลายเชนที่เข้มแข็ง รวมถึงการสร้างโอกาสเข้าถึงช่องทางการตลาด และ (4) ให้ธุรกิจไทยที่ดีคู่ชุมชน มุ่งส่งเสริมและพัฒนาผู้ประกอบการที่ดี มีขีดความสามารถในการแข่งขันและเติบโตได้อย่างยั่งยืน นอกจากนั้น ยังให้ความสำคัญกับการปฏิรูปดีพร้อมเพื่อมุ่งสู่องค์กรทันสมัยในด้านต่างๆ ทั้งการพัฒนาองค์กร การพัฒนาตัวบุคลากร และการให้บริการต่าง ๆ สอดรับกับนโยบาย “ปฏิรูปอุตสาหกรรมสู่เศรษฐกิจยุคใหม่ ทันสมัย สะอาด สะดวก โปร่งใส” ของนายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม สำหรับการขับเคลื่อนการให้บริการของ “ดีพร้อม” จะมีหน่วยงานทั้งส่วนกลาง (กรุงเทพฯ และปริมณฑล) และในภูมิภาคต่าง ๆ 11 ศูนย์ พร้อมรองรับการให้บริการแก่ผู้ประกอบการและวิสาหกิจทั่วประเทศ นอกจากนี้ ดีพร้อมยังมีระบบการสนับสนุนอื่น ๆ สำหรับให้บริการ อาทิ แหล่งเงินทุน “ดีพร้อม เปย์” ที่เป็นแหล่งทุนสำหรับให้ผู้ประกอบการนำไปหมุนเวียนและลงทุนในกิจการ การบริการของศูนย์บริการเครื่องมือ ITC เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ต้นแบบ การให้บริการศูนย์ออกแบบ Thai – IDC รวมถึงการให้บริการอื่น ๆ ที่สามารถเชื่อมโยงเครือข่ายภายนอก เช่น การประเมินสถานประกอบการตามแพลตฟอร์ม Thailand I 4.0 CheckUp การให้บริการทดลองใช้ซอร์ฟแวร์ของซอร์ฟแวร์เฮาส์ต่าง ๆ 16 รายการ เป็นต้น โดยในที่ประชุมมีข้อเสนอจากผู้ประกอบการ เรื่องการส่งเสริมแหล่งทุนสำหรับการลงทุนเพิ่ม การฟื้นฟู/การปรับเปลี่ยนเครื่องมือเครื่องจักรการผลิต การให้บริการฟรีซอร์ฟแวร์สำหรับทดลองใช้งานระยะเวลาที่เหมาะสม และประเด็นอื่น ๆ ซึ่งที่ประชุมมีมติให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำไปหารือ เพื่อร่วมกันทบทวนและพัฒนาแนวทางการส่งเสริมภาคอุตสาหกรรมของประเทศไทยให้มีประสิทธิภาพต่อไป และที่ประชุมรับทราบ การนำเสนอกรอบภารกิจของดีพร้อม และจะนำไปเผยแพร่ต่อสมาชิก เพื่อประโยชน์ต่อการพัฒนาอุตสาหกรรมต่อไป
05 มี.ค. 2568
"รองอธิบดีดวงดาว" ประชุมคณะอนุกรรมการบริหารเงินทุนหมุนเวียนฯ 2 ครั้งที่ 1/68 ตามนโยบาย "ที่นี่มีแต่ให้" ของ "อธิบดีณัฏฐิญา"
กรุงเทพฯ 27 กุมภาพันธ์ 2568 - นางดวงดาว ขาวเจริญ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ให้เกียรติเป็นประธานในการประชุมคณะอนุกรรมการบริหารเงินทุนหมุนเวียนฯ 2 ครั้งที่ 1/2568 พร้อมด้วย คณะอนุกรรมการฯ และเจ้าหน้าที่ดีพร้อม (DIPROM) ณ ห้องประชุม 1 ชั้น 3 อาคารกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม การประชุมดังกล่าว มีการพิจารณาเอกสารคำขอกู้เงินไม่เกิน 2 ล้านบาท ซึ่งเป็นผู้ประกอบการที่ทำธุรกิจการประดิษฐ์ของเล่นสำหรับการพัฒนาทักษะจากไม้ ซึ่งมีการจำหน่ายในรูปแบบขายส่งกว่าร้อยละ 90 ของรายได้ และวัตถุประสงค์ในการยื่นขอรับบริการเงินทุนหมุนเวียนฯ ในครั้งนี้ เพื่อนำไปใช้ในการสั่งซื้อวัตถุดิบ ซึ่งเป็นสินค้าที่ต้องมีระยะเวลาของกระบวนการในการจัดเตรียมก่อนนำเข้ากระบวนการผลิต จึงมีความจำเป็นต้องสต็อคไว้ โดยคณะอนุกรรมการฯ พิจารณาแล้วมีความเห็นให้เจ้าหน้าที่วิเคราะห์ดำเนินการขอข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับความสามารถในการทำกำไร โดยขอให้ผู้ยื่นกู้จัดเตรียมเอกสารคำสั่งซื้อของบริษัทคู่ค้าหลัก เพื่อให้เห็นถึงยอดคำสั่งซื้อย้อนหลังในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมา และแนวโน้มของยอดขายที่จะเพิ่มขึ้น ซึ่งจะทำให้สามารถคำนวณวงเงินสำรองในการสั่งซื้อวัตถุดิบได้อย่างเหมาะสม ซึ่งสอดรับตามนโยบาย “ดีพร้อมคอมมูนิตี้ ที่นี่มีแต่ให้” ภายใต้กลยุทธ์ 4 ให้ 1 ปฏิรูป ของดีพร้อม โดยการให้โอกาสผู้ประกอบการได้มีเงินทุนต่อยอดในการดำเนินธุรกิจต่อไป ทั้งนี้ เจ้าหน้าที่วิเคราะห์โครงการจะนำเอกสารดังกล่าวมาแสดงต่อคณะอนุกรรมการฯ เพื่อพิจารณา ในประชุมครั้งถัดไป นอกจากนี้ ยังมีการรายงานผลการบริหารเงินทุนหมุนเวียนฯ ประกอบไปด้วย 1) ผลการดำเนินงานในภาพรวมของเงินทุนหมุนเวียนฯ ศภ.1, ศภ.3, ศภ.4,ศภ.6 และ สล.กสอ. และ 2) ลูกหนี้ตามคำพิพากษาที่ครบระยะเวลาบังคับคดี 10 ปี อีกด้วย
04 มี.ค. 2568
"ดีพร้อม" ยกระดับศูนย์บริการ DIPROM BSC เพิ่มประสิทธิภาพการเข้าถึงบริการทั้งออนไซต์ - ออนไลน์ เพื่อส่งเสริมเอสเอ็มอีเข้าสู่เศรษฐกิจยุคใหม่ ตามนโยบาย รมว.เอกนัฏ
กรุงเทพฯ 28 กุมภาพันธ์ 2568 – นายดุสิต อนันตรักษ์ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ได้รับมอบหมายจาก นางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม เป็นประธานในพิธีเปิดงาน “Navigate to Success by DIPROM BSC” บริการปรึกษาแนะนำเพื่อความสำเร็จของธุรกิจ ร่วมด้วย นายสุรพล ปลื้มใจ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม รศ.ดร.สมภพ มานะรังสรรค์ อธิการบดีสถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ คณะผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ดีพร้อม ผู้ประกอบการ และผู้ที่สนใจในการดำเนินธุรกิจ โดยมี นายวุฒิชัย ประชาพร ผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กล่าวรายงาน ณ ห้องราชเทวี 1 โรงแรมเอเชีย ราชเทวี “Navigate to Success by DIPROM BSC” เป็นการให้บริการปรึกษาแนะนำผู้ประกอบการ และผู้สนใจ เพื่อความสำเร็จของธุรกิจ และสร้างการรับรู้บริการต่าง ๆ ของดีพร้อม 1) ผ่านช่องทางออนไซต์ ณ “ศูนย์บริการธุรกิจอุตสาหกรรมดีพร้อม หรือ DIPROM BSC” ในกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม หรือศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาค รวม 13 แห่งทั่วประเทศ ซึ่งเป็น Front Desk ที่มีการปรับปรุงการบริการให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น และยกระดับการเข้าถึงบริการต่าง ๆ ให้มีความง่าย สะดวก รวดเร็ว ตรงตามความต้องการของผู้รับบริการ รวมทั้ง 2) ผ่านช่องทางออนไลน์ด้วยระบบ DIPROM E-Service ซึ่งเป็นกลไกสำคัญในการพัฒนาระบบนิเวศอุตสาหกรรม และปัจจัยสำคัญที่เอื้อต่อการพัฒนาธุรกิจอุตสาหกรรมของประเทศไทย เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันสู่ระดับสากล ตามนโยบาย “ดีพร้อมคอมมูนิตี้ ที่นี่มีแต่ให้” ภายใต้กลยุทธ์ 4 ให้ 1 ปฏิรูป ของดีพร้อมและสอดรับกับนโยบาย “ปฏิรูปอุตสาหกรรม สู่เศรษฐกิจยุคใหม่ ทันสมัย สะอาด สะดวก โปร่งใส” ของนายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม กิจกรรมภายในงานประกอบด้วย การบรรยายพิเศษ โดย รศ.ดร.สมภพ มานะรังสรรค์ อธิการบดีสถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ ในหัวข้อ “Next Chapter ของเศรษฐกิจไทยปี 2568 : โอกาสและความท้าทายในโลกที่เปลี่ยนแปลง” การบริการให้คำปรึกษาทางธุรกิจทั้งในรูปแบบออนไลน์และออฟไลน์ โดยผู้เชี่ยวชาญด้านต่าง ๆ อาทิ ด้านการตลาด ด้านการบริหารทรัพยากรบุคคล ด้านบัญชีและการเงิน ด้านการผลิต เป็นต้น และการประชาสัมพันธ์โครงการของหน่วยงานดีพร้อมในการส่งเสริมการประกอบธุรกิจ ทั้งด้านการออกแบบผลิตภัณฑ์/บรรจุภัณฑ์ สินเชื่อเพื่อการลงทุน การสร้างสุขภาวะในองค์กร และการบริการซอฟต์แวร์ เครื่องมือที่ช่วยประกอบธุรกิจในยุคดิจิทัลอีกด้วย
04 มี.ค. 2568
“ดีพร้อม” ร่วมโต๊ะอนุกรรมาธิการฯ เสนอแนวทางการเปลี่ยนผ่านพลังงานสะอาด ลดผลกระทบจากการพัฒนาอุตสาหกรรมไทย ตามนโยบาย รมว.เอกนัฏ
กรุงเทพฯ 26 กุมภาพันธ์ 2568 - นางดวงดาว ขาวเจริญ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ได้รับมอบหมายจาก นางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม เข้าร่วมประชุมคณะอนุกรรมาธิการศึกษาแนวทางการพัฒนาเศรษฐกิจผ่านอุตสาหกรรมสีเขียว ในคณะอนุกรรมาธิการการพัฒนาเศรษฐกิจ สภาผู้แทนราษฎร เพื่อพิจารณา “ผลกระทบต่ออุตสาหกรรมและเศรษฐกิจไทยในการดำเนินการตามพระราชบัญญัติการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ” โดยมี นายสิทธิพล วิบูลย์ธนากุล ประธานคณะอนุกรรมาธิการฯ เป็นประธานการประชุม พร้อมด้วยคณะอนุกรรมาธิการ ที่ปรึกษาคณะอนุกรรมาธิการ และเจ้าหน้าที่จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วมประชุม ณ ห้องประชุม 401 ชั้น 4 อาคารรัฐสภา เขตดุสิต กรุงเทพฯ การประชุมในครั้งนี้ ที่ประชุมได้ร่วมหารือและเสนอข้อคิดเห็นสำหรับเป็นข้อมูลในการพิจารณาศึกษาการเปลี่ยนผ่านพลังงานสะอาดและผลกระทบต่อการพัฒนาอุตสาหกรรมของไทย ซึ่งเป็นแนวคิดที่เกิดขึ้นเพื่อลดข้อกังวลในด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และเศรษฐกิจ ที่อาจส่งผลกระทบต่อภาคอุตสาหกรรม เนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงกฎระเบียบด้านสิ่งแวดล้อมใหม่ ทำให้มีการเปลี่ยนผ่านไปสู่ภาคอุตสาหกรรมที่สะอาดกว่าในด้านต่าง ๆ อาทิ กระบวนการผลิต ผลิตภัณฑ์ ทั้งนี้ “ดีพร้อม” ได้ให้ข้อมูลเพิ่มเติมในการส่งเสริมการยกระดับธุรกิจ SME ด้วยการประยุกต์ใช้โมเดลเศรษฐกิจ BCG เพื่อให้สามารถปรับตัวให้ก้าวทันอุตสาหกรรมยุคใหม่ ปรับปรุงกระบวนการผลิตให้เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ลดต้นทุนการใช้พลังงาน ส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมในการบริหารจัดการและเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต สอดคล้องตามนโยบาย “ปฏิรูปอุตสาหกรรมไทย สู่เศรษฐกิจยุคใหม่ ทันสมัย สะอาด สะดวก โปร่งใส” ของ นายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม รวมทั้ง ยังมุ่งเน้นการพัฒนาทักษะและองค์ความรู้ของบุคลากรในภาคอุตสาหกรรม ทั้งในส่วนของผู้ประกอบการและแรงงาน ให้สามารถปฏิบัติงานร่วมกับหุ่นยนต์และเครื่องจักรอัจฉริยะได้ สอดรับตามนโยบาย "ดีพร้อมคอมมูนิตี้" ปฏิรูปดีพร้อม โดยมีเป้าหมายที่จะพัฒนาภาคอุตสาหกรรมให้พร้อมเข้าสู่ยุค 5.0 อย่างยั่งยืน นอกจากนี้ คณะอนุกรรมาธิการฯ ได้ติดตามความคืบหน้าผลกระทบต่อภาคอุตสาหกรรมและเศรษฐกิจ จากการดำเนินการตามพระราชบัญญัติการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ รวมถึงผลกระทบจากมาตรการภาษีคาร์บอน, Green Taxonomy, และผลกระทบจากมาตรการ Carbon Pricing เพื่อร่วมกันกำหนดแนวทางในการพัฒนาภาคอุตสาหกรรมและเศรษฐกิจของไทยให้สามารถเติบโตได้อย่างยั่งยืนต่อไป
04 มี.ค. 2568
รสอ.สุรพล ระดมทีมดีพร้อม ศึกษาแนวทางการให้บริการผู้ประกอบการ เตรียมปฏิรูปดีพร้อมสู่องค์กรทันสมัยสอดรับนโยบาย รมว.เอกนัฏ
กรุงเทพฯ 26 กุมภาพันธ์ 2568 - นายสุรพล ปลื้มใจ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ได้รับมอบหมายจาก นางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม เป็นประธานการประชุมหารือแนวทางการบริหารจัดการผู้รับบริการของกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม หรือดีพร้อม (DIPROM) ร่วมด้วย คณะผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ดีพร้อม ณ ห้องประชุม 3 ชั้น 3 อาคารกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ถ.พระรามที่ 6 ราชเทวี การประชุมดังกล่าวจัดขึ้นเพื่อหารือแนวทางการบริหารจัดการผู้รับบริการของดีพร้อมในประเด็นต่าง ๆ ดังนี้ 1) การแบ่งพื้นที่การให้บริการงานส่งเสริมของดีพร้อม ว่าจะเป็นแบบ Project based หรือ Customer based ซึ่งต้องมีการปรับพื้นที่ความรับผิดชอบ เพื่อให้ผู้ประกอบการสามารถเข้าถึงการบริการได้ครอบคลุมทั่วประเทศมากขึ้น 2) การบริหารจัดการให้ผู้รับบริการมีความสะดวกมากขึ้น โดยบูณาการการทำงานร่วมกันระหว่างศูนย์บริการธุรกิจอุตสาหกรรมดีพร้อม (DIPROM BSC) ทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค ร่วมกับสำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัด (สอจ.) เพื่อเป็น Front desk ในการให้บริการลูกค้าครอบคลุมทั่วประเทศ และ 3) การส่งต่อผู้รับบริการของศูนย์ DIPROM BSC ผ่าน Front desk ซึ่งจะเป็นการดำเนินการโดย DIPROM BSC ทั้งจากส่วนกลางและส่วนภูมิภาค ร่วมกับสำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัด (สอจ.) โดยจะมีการวิเคราะห์สภาพปัญหาและความต้องการของผู้รับบริการด้วยเครื่องมือ DIPROM Business Check Up ผ่านระบบ E-service และบริหารจัดการข้อมูล โดยให้มีการศึกษาเพิ่มเติมร่วมกับศูนย์ฯ ที่เกี่ยวข้อง ก่อนนำเสนอผู้บริหารพิจารณาต่อไป ทั้งนี้ การประชุมหารือฯ ในครั้งนี้ เป็นอีกหนึ่งกลไกการดำเนินงานภายใต้กลยุทธ์ปฏิรูปดีพร้อม ตามนโยบาย “ดีพร้อมคอมมูนิตี้ ที่นี่มีแต่ให้ (DIPROM Community)” ที่มุ่งปฏิรูปดีพร้อมให้เป็นองค์กรที่ทันสมัย สามารถให้บริการวิสาหกิจไทยได้ครอบคลุมทุกพื้นที่ เพื่อให้ผู้ประกอบการไทยสามารถรับมือกับบริบทและกระแสการเปลี่ยนแปลงของโลกผ่านการบูรณาการความร่วมมือกับหน่วยงานภาครัฐ-เอกชน ที่มุ่งส่งเสริมผู้ประกอบการเอสเอ็มอีไทยทั่วทุกพื้นที่ของประเทศและพัฒนาอุตสาหกรรมเศรษฐกิจให้เติบโตอย่างยั่งยืนควบคู่กับการปรับตัวให้เข้ากับวิถีใหม่ของโลก สอดรับกับนโยบาย “ปฏิรูปอุตสาหกรรมไทย สู่เศรษฐกิจยุคใหม่ ทันสมัย สะอาด สะดวก โปร่งใส” ของนายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม
28 ก.พ. 2568
ปลัดฯณัฐพล ดันสมุนไพรไทยสู่ตลาดโลก ชื่นชม บ.เทพไทย ต้นแบบพัฒนากิจการจากโอทอปสู่เอสเอ็มอี
จ.สงขลา - นายณัฐพล รังสิตพล ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม พร้อมด้วย นางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม นางดวงดาว ขาวเจริญ และ นายสุรพล ปลื้มใจ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม และคณะผู้บริหารกระทรวงอุตสาหกรรม ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมผู้ประกอบการในจังหวัดสงขลา ตามนโยบายปฏิรูปอุตสาหกรรมของ นายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ที่ให้ความสำคัญกับการสร้างโอกาสให้ผู้ประกอบการ ณ บริษัท เทพไทย โปรดัคท์ จำกัด จ.สงขลา ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวว่า บริษัทฯ เทพไทย เป็นหนึ่งในผู้ประกอบการที่กระทรวงอุตสาหกรรม (อก.) ภาคภูมิใจ เพราะเป็นผู้ประกอบการที่มีการส่งเสริมและพัฒนาธุรกิจอยู่เสมอ โดยแรกเริ่มเป็นกิจการโอทอป ก่อนจะขยับขยาย เป็นกิจการเอสเอ็มอีที่เป็นที่รู้จัก โดยบริษัทฯ ได้รับการสนับสนุนผ่านกลไกเครื่องมือต่าง ๆ ของกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม หรือ “ดีพร้อม” อาทิ การสนับสนุนเงินทุนหมุนเวียนฯ การพัฒนาและออกแบบสลากสินค้า/บรรจุภัณฑ์ การเสริมสร้างผู้ประกอบการใหม่ (NEC) และธุรกิจใหม่ (NBC) การพัฒนาผู้ประกอบการ OTOP สู่ยุคดิจิทัล (Digital OTOP) การเพิ่มประสิทธิภาพกระบวนการผลิตด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรมระบบอัจฉริยะ ปรับปรุงระบบบริหาร และทำให้บริษัทฯ ได้รับรางวัลอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดย่อมดีเด่น ประเภทการบริหารจัดการที่ดี ประจำปี 2566 ถือเป็นต้นแบบของผู้ประกอบการที่มีความมุ่งมั่นในการพัฒนาศักยภาพของตนเองอย่างต่อเนื่อง "บริษัทเทพไทยฯ นับเป็นตัวอย่างที่ดีและเป็นแรงบันดาลใจให้ผู้ประกอบการรายเล็ก ในการพัฒนาธุรกิจ พัฒนาตนเอง อย่างมุ่งมั่นและต่อเนื่องจนประสบความสำเร็จ ซึ่ง อก. จะส่งเสริมสนับสนุนการชูอัตลักษณ์เรื่องการสมุนไพรเพื่อสร้างจุดแข็งที่สำคัญทางการตลาด ทำให้สินค้ามีความโดดเด่น น่าสนใจ และเป็นที่สนใจของตลาดต่างชาติ นับเป็น soft power ที่มีอัตลักษณ์อย่างหนึ่งที่สามารถส่งออกไปยังตลาดต่างชาติได้ และยังเป็นการสนับสนุนการซื้อและใช้วัตถุดิบสมุนไพรต่าง ๆ เกิดการหมุนเวียนเศรษฐกิจ สร้างงาน สร้างอาชีพให้กับชุมชน และในระยะต่อไป อก. จะส่งเสริมในด้านต่างๆ อาทิ การขยายตลาดไปยังต่างประเทศ การจับคู่ทางการค้า การให้ความรู้ด้านการตลาดและโฆษณา การส่งเสริมการจัดหาวัตถุดิบในประเทศเพิ่มขึ้น การสนับสนุนเรื่องการวิจัยผลิตภัณฑ์ เป็นต้น และ อก. ยังมีโครงการและกิจกรรมอีกมากมายสำหรับผู้ประกอบการที่สนใจ อาทิ การอบรมให้ความรู้การจัดการการบริหารงานองค์กร การให้คำแนะนำออกแบบผลิตภัณฑ์ การสนับสนุนเงินทุนผ่านกองทุนต่าง ๆ เป็นต้น" ปลัดฯ ณัฐพลกล่าว บริษัท เทพไทย โปรดัคท์ จำกัด เป็นผู้ผลิตยาสีฟัน สบู่ และโลชั่นบำรุงผิวจากส่วนผสมสมุนไพร อาทิ การบูร พิมเสน เมนทอล ข่อย กานพลู ใบฝรั่ง อบเชย ชะเอม ที่มีการเริ่มต้นจากอุตสาหกรรมในครัวเรือน และได้พัฒนาต่อยอดขยายธุรกิจจนมีชื่อเสียงในประเทศ และมีกระบวนการผลิตที่มีการควบคุมคุณภาพ ผ่านการรับรองและการตรวจประเมินต่าง ๆ ซึ่งศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 11 (ศภ.11) กรมส่งเสริมอุตสาหกรรมได้มีส่วนในการพัฒนาช่องทางการตลาด ส่งเสริมการหารายได้และรูปแบบการบริหารจัดการตลาดออนไลน์ รวมถึงการพัฒนาผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์ให้เกิดมูลค่าเพิ่ม สอดคล้องกับความต้องการของตลาดมากขึ้น
26 ก.พ. 2568