หมวดหมู่
ขอเชิญชวนผู้ประกอบการสมัครเข้าร่วม กิจกรรมยกระดับการออกแบบบรรจุภัณฑ์สร้างสรรค์
กิจกรรมยกระดับการออกแบบบรรจุภัณฑ์สร้างสรรค์ Creative Packaging Design ดำเนินการโดย : ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 7 เปิดรับสมัครตั้งแต่วันนี้ - 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2566 กิจกรรมประกอบด้วย ให้คำปรึกษาแนะนำเแก่ผู้ประกอบการด้านการออกแบบ บรรจุภัณฑ์และกราฟิก จำนวนไม่น้อยกว่า 12 ชั่วโมง / 1 กิจการ ออกแบบพัฒนาบรรจุภัณฑ์โดยใช้ความคิดสร้างสรรค์ที่ส่งเสริม Soft Power ของไทย ในด้านต่าง ๆ จัดทำต้นแบบบรรจุภัณฑ์ ประโยชน์ที่จะได้รับ เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้ธุรกิจในอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ สามารถนำความคิดสร้างสรรค์ นวัตกรรม และเทคโนโลยี มาประยุกต์ใช้ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ / บรรจุภัณฑ์เชิงสร้างสรรค์ ได้ต้นแบบบรรจุภัณฑ์เพื่อทดสอบตลาด และไฟล์งานออกแบบเพื่อใช้ผลิตต่อไป คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ ผู้ประกอบการที่ผลิตสินค้า 4 จังหวัด อุบลราชธานี ศรีสะเกษ ยโสธร และอำนาจเจริญ ผู้ประกอบการจดทะเบียนนิติบุคคล หรือทะเบียนพาณิชย์ ผู้ประกอบการในสาขาอุตสาหกรรม ดังนี้ อุตสาหกรรมเกษตรแปรรูป อุตสาหกรรมอาหารแปรรูป และอุตสาหกรรมแฟชั่นและไลฟ์สไตล์ สมัครออนไลน์ ฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย (รับจำนวนจำกัด) ติดต่อสอบถามเพิ่มเติม ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 7 คุณม๋าเหมี่ยว 08 2151 9973
13 พ.ย. 2566
ขอเชิญชวนผู้ประกอบการที่ต้องการเพิ่มมูลค่าสมุนไพรไทยและรักษามาตรฐานการผลิตหรือแปรรูป
เข้าร่วมอบรม “หลักสูตรการผสานศาสตร์ของสมุนไพรเพื่อสร้างสรรค์เครื่องสำอางจากธรรมชาติ’’ สมุนไพรก้าวหน้า เพิ่มมูลค่า - รักษามาตรฐาน ดำเนินการโดย : กองพัฒนาเกษตรอุตสาหกรรม กองพัฒนาเกษตรอุตสาหกรรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ร่วมกับภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยคณาจารย์จาก ภาควิขาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และวิทยากรที่มากด้วยประสบการณ์ในวงการเครื่องสำอางทั้งในและต่างประเทศ ในวันที่ 7-8 ธันวาคม พ.ศ. 2566 ณ อาคารมหามกุฎ ชั้น 3 ห้อง 308—309 คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กิจกรรม การใช้เครื่องมือ GC-Mร วิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงของกลิ่นในผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง การใช้เครื่องมือ LC-MS ในการวิเคราะห์สารสำคัญและการติดตามความคงสภาพผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง หัวข้อการอบรม มาตรฐานการผลิตและแปรรูปสมุนไพรไทย การสกัดสมุนไพรให้ได้สารออกฤทธิ์ที่ต้องการ ระบบการกักเก็บ นำส่งและยืดเวลาการออกฤทธิ์ของสารสำคัญ เทคโนโลยีการกักเก็บสารออกฤทธิ์สมุนไพรด้วยพอลิเมอร์ชีวภาพ การสกัด สารออกฤทธิ์ นวัตกรรม กระชายดำ ขมิ้นชัน ไพล การวิเคราะห์เชิงคุณภาพและปริมาณในผลิตภัณฑ์ กลยุทธการตลาด การใช้ Raman Spectroscopy กับวัตถุดิบสมุนไพร ลงทะเบียนออนไลน์ ฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย (รับจำนวนจำกัด ไม่เกิน 80 ท่าน) ติดต่อสอบถามรายละเอียด รศ.ดร.พัฒทรา ธีรพิบูลย์เดช 08 1296 1475 : pattara.t@chula.ac.th
13 พ.ย. 2566
ดีพร้อม เร่งปฏิบัติการส่งเสริมด้านคุณธรรม จริยธรรม เป็นต้นแบบ องค์กรคุณธรรม ประจำปี 67
กรุงเทพฯ 11 พฤศจิกายน 2566 – นางสาวประเทือง พฤกษาพิทักษ์กุล เลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม เข้าร่วมประชุมคณะทำงานจัดทำและขับเคลื่อนแผนส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม ครั้งที่ 2/2566 พร้อมด้วย คณะกรรมการฯ คณะผู้บริหาร และเจ้าหน้าที่ดีพร้อม (DIPROM) โดยมี นางบุญเจือ วงษ์เกษม ประธานคณะทำงาน นายเพทาย ล่อใจ รองประธานคณะทำงาน และนายเจตนิพิฐ รอดภัย คณะทำงาน ณ ห้องประชุม 2 ชั้น 3 อาคารกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (DIPROM Headquarter) และผ่านระบบออนไลน์ด้วยโปรแกรม Zoom Meeting การประชุมครั้งนี้ เป็นการหารือผู้ปฏิบัติงานด้านส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม ของหน่วยงานในสังกัด กสอ. และผู้แทนคณะทำงานโครงการส่งเสริมสุขภาวะองค์กรในวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ตามแนวทางมาตรฐานองค์กรแห่งความสุข (SMEs Happy and Productive Workplace : SHAP) เข้าร่วมประชุม เพื่อกำหนดแนวทางร่วมกัน ในการจัดทำแผนปฏิบัติการด้านส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 และคณะทำงานได้ติดตามผลการดำเนินงานในส่วนต่าง ๆ เพื่อให้การขับเคลื่อนการดำเนินงานด้านการส่งเสริมคุณธรรมและจริยธรรม มีความสอดคล้องแผนปฏิบัติการด้านส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ของกระทรวงอุตสาหกรรมให้สอดคล้องกับแนวทางดังกล่าว และกฎหมาย ยุทธศาสตร์ นโยบายระดับชาติ และแผนงานที่เกี่ยวข้องเกิดการบูรณาการทุกภาคส่วนของหน่วยงานในสังกัด กสอ. เป็นไปด้วยความเรียบร้อย ต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ คณะทำงานฯ ได้ร่วมพิจารณา 1) ร่างประกาศกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม เรื่อง นโยบายขับเคลื่อนเป็นองค์กรคุณธรรม 2) ร่างแผนปฏิบัติการด้านส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 เพื่อรักษามาตรฐานการดำเนินการในเรื่องดังกล่าวคงมาตรฐานดังเดิม ## PR.DIPROM (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม) รายงาน/ภาพข่าว
13 พ.ย. 2566
"ไพลิน" เลขานุการรัฐมนตรีฯ ก.อุตฯ เปิดฝึกอบรม "สร้างโอกาส พัฒนาอาชีพ สู่เศรษฐกิจชุมชน” ส่งผลต่อเศรษฐกิจฐานรากให้เติบโตและยั่งยืน
กรุงเทพฯ 11 พฤศจิกายน 2566 - ดร.ไพลิน เทียนสุวรรณ เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดกิจกรรมฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ “สร้างโอกาส พัฒนาอาชีพ สู่เศรษฐกิจชุมชน” พร้อมเยี่ยมชมฐานการเรียนรู้ และร่วมฝึกปฏิบัติ โดยมี นายภาสกร ชัยรัตน์ ผู้ตรวจราชการกระทรวงอุตสาหกรรม รักษาราชการแทนอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กล่าวรายงานวัตถุประสงค์ ของการจัดกิจกรรมฯ และมีนางสาวฐิติภัสร์ โชติเดชาชัยนันต์ ผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ปฏิบัติราชการประจํารัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวขอบคุณ ณ วัดจันทวงศาราม (กลาง) แขวงคลองจั่น เขตบางกะปิ เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวว่า ปัจจุบันนโยบายสำคัญของรัฐบาลและนายกรัฐมนตรี คือ เศรษฐกิจของไทยที่ได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงด้านภูมิรัฐศาสตร์ การเมือง เศรษฐกิจ และสังคมของโลกที่ไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป ความแปรปรวนของสภาพอากาศ และโรคอุบัติใหม่ พร้อมกับประเทศไทยที่กำลังเผชิญกับการเข้าสู่สังคมสูงวัยแบบสมบูรณ์ (Aged Society) โดยมีคนสูงวัยมากกว่าร้อยละ 20 ของประชากรทั้งหมด มีความจำเป็นต้องฟื้นฟูระบบเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ ทางกระทรวงอุตสาหกรรม โดยกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ให้ความสำคัญกับนโยบายเพื่อฟื้นฟูระบบเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ กำหนดนโยบายในมิติการกระจายรายได้ให้กับประชาชนให้มีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ได้จัดกิจกรรมฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ “สร้างโอกาส พัฒนาอาชีพ สู่เศรษฐกิจชุมชน” ณ วัดจันทวงศาราม (กลาง) แขวงคลองจั่น เขตบางกะปิ กรุงเทพ ขึ้นในวันนี้ เพื่อเป็นถ่ายทอดองค์ความรู้ จำนวน 2 หลักสูตร คือ หลักสูตรที่ 1 การผลิตบ๊ะจ่าง สร้างโอกาส และ หลักสูตรที่ 2 การผลิตน้ำยำ ให้กับผู้สูงวัย ประชาชนผู้สนใจทั่วไป หรือผู้ประกอบการ อุตสาหกรรมชุมชน หรือกลุ่มวิสาหกิจชุมชน หรือกลุ่มอาชีพในชุมชน จำนวน 100 คน ในการสร้างโอกาสให้กับสังคมสูงวัยแบบสมบูรณ์ (Aged Society) ให้สามารถพึ่งพาตนเองได้ ช่วยก่อให้เกิดการยกระดับมาตรฐาน การครองชีพและความเป็นอยู่ของประชาชนในชุมชนให้ดีขึ้น รวมถึงการแก้ไขปัญหาความยากจน ความเหลื่อมล้า โดยได้รับการถ่ายทอดองค์ความรู้ผ่านผู้มีองค์ความรู้ เป็นการเสริมสร้างทักษะให้สามารถพัฒนาผลิตภัณฑ์ในสาขาอุตสาหกรรมประเภทต่าง ๆ ด้วยตนเอง ให้กลายเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีคุณค่าและเกิดมูลค่าเพิ่มขึ้นได้ นอกจากนี้ยังทำให้ผู้ประกอบการหรือประชาชนในพื้นที่สามารถนำองค์ความรู้และสั่งสมความเชี่ยวชาญ ที่ได้รับไปถ่ายทอดให้คนในชุมชนรุ่นต่อไป สามารถขยายผลการดำเนินงานไปยังพื้นที่ทั่วประเทศ ซึ่งสามารถช่วยยกระดับศักยภาพเศรษฐกิจฐานรากทำให้เกิดการสร้างรายได้เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง เกิดการกระจายรายได้ ลดรายจ่ายในครัวเรือน เกิดการสร้างงานและสร้างอาชีพในชุมชน กระตุ้นเศรษฐกิจหมุนเวียนในชุมชน ซึ่งจะส่งผลให้เศรษฐกิจฐานรากเติบโตและมีความเข้มแข็ง และเป็นพลังสำคัญ ในการขับเคลื่อนประเทศไทยสู่ความยั่งยืนต่อไป ## PR.DIPROM (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม) รายงาน/ภาพข่าว
13 พ.ย. 2566
รัฐมนตรีฯ พิมพ์ภัทรา มอบนโยบาย สอจ.สุราษฎร์ธานี - ศูนย์ฯ ภาคที่ 10 ย้ำนโยบายสำคัญ “อุตสาหกรรมเติบโตอย่างยั่งยืน ชุมชนมีความสุข”
จ.สุราษฎร์ธานี 10 พฤศจิกายน 2566 - นางสาวพิมพ์ภัทรา วิชัยกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ลงพื้นที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี ตรวจราชการและมอบนโยบายให้แก่หน่วยงานภายใต้กระทรวงอุตสาหกรรม โดยมีนายวัชรินทร์ ไชยานุพงศ์ อุตสาหกรรมจังหวัดสุราษฎร์ธานี (อสจ.สุราษฎร์ธานี) นางสาวอริยาพร อำนรรฆสรเดช ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 10 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ผู้แทนศูนย์วิจัยและเตือนภัยมลพิษโรงงานภาคใต้ สาขาย่อยจังหวัดจังหวัดสุราษฎร์ธานี กรมโรงงานอุตสาหกรรม ผู้การภาค 7 ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย และผู้จัดการธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย สาขาสุราษฎร์ธานี ร่วมต้อนรับ ณ ห้องประชุมศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 10 จังหวัดสุราษฎร์ธานี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ได้กล่าวให้กำลังใจการปฏิบัติหน้าที่ของข้าราชการ พนักงาน ลูกจ้าง สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดสุราษฎร์ธานี และศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 10 ผู้บริหาร บุคลากรทุกคนเป็นกำลังหลักสำคัญในการขับเคลื่อนองคาพยพของกระทรวงอุตสาหกรรม และยังต้องมีหน้าที่เป็นผู้ประสานระหว่างชุมชนถึงโรงงานอุตสาหกรรม เพื่อให้ภาคอุตสาหกรรมเดินหน้าอยู่คู่ชุมชนได้อย่างมีความสุข ทั้งนี้ขอให้หน่วยงานทุกภาคส่วนร่วมกันขับเคลื่อนประเทศสู่การพัฒนาอุตสาหกรรมไทยให้เติบโตอย่างสมดุลในระยะยาวทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ตามนโยบาย "ปฏิรูปอุตสาหกรรมไทยสู่อุตสาหกรรมเศรษฐกิจ ให้เติบโตคู่ชุมชนยั่งยืน" ซึ่งเป็นแนวทางของการพัฒนาอุตสาหกรรมยุคใหม่ที่สามารถเติบโตไปได้ อยู่ได้ร่วมกับชุมชนอย่างมีความสุขนั่นเอง อสจ.สุราษฎร์ธานี ระบุว่า พื้นที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี มีผู้ประกอบกิจการโรงงานอุตสาหกรรมที่ดำเนินกิจการ จำนวน 934 โรง มีจำนวนการจ้างงาน 36,419 คน โดยกลุ่มอุตสาหกรรมที่มีการลงทุนมากที่สุด 5 อันดับแรก ได้แก่ กลุ่มการผลิตอื่น ๆ เช่น ขุดดิน ดูดทราย ผลิตไฟฟ้า คัดแยกวัสดุที่ไม่ใช้แล้ว จำนวน 364 โรงงาน กลุ่มแปรรูปไม้และผลิตภัณฑ์จากไม้ จำนวน 232 โรงงาน กลุ่มอุตสาหกรรมอาหาร เช่น ผลิตน้ำแข็ง เครื่องดื่ม แปรรูปผลผลิตทางการเกษตร จำนวน 135 โรงงาน กลุ่มยางและผลิตภัณฑ์ยาง จำนวน 69 โรงงาน และกลุ่มอุตสาหกรรมเครื่องดื่ม จำนวน 10 โรงงาน มีเงินลงทุน จำนวน 65,334.48 ล้านบาท นอกจากนี้ ยังมีประทานบัตรเปิดการทำเหมือง จำนวน 33 ประทานบัตร และยังได้รายงานการปฏิบัติงานที่เห็นผลสำคัญ คือ โครงการยกระดับสินค้าเกษตรอินทรีย์ เกษตรปลอดภัยด้วยนวัตกรรมสร้างสรรค์ ที่มีแนวโน้มมุ่งสู่ผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพ มีคุณค่าทางโภชนาการ และมีความสะดวกในการบริโภค มีบรรจุภัณฑ์ที่เหมาะสม สามารถคงคุณภาพผลิตภัณฑ์ไว้ได้ยาวนาน การเตรียมความพร้อมให้กับเกษตรกร ผู้ผลิต หรือเอสเอ็มอี มีขีดความสามารถพร้อมเข้าสู่การผลิตสินค้าที่มีคุณค่าเพิ่ม (Value Creation) ภายใต้กระบวนการผลิตอาหารปลอดภัย (Food Safety) ทั้งนั้มีโครงการค่าใช้จ่ายแปรรูปสินค้าเกษตรอุตสาหกรรม 1 จังหวัด 1 ชุมชน เสริมสร้างความรู้ด้านการสร้างมูลค่าเพิ่ม การพัฒนาผลิตภัณฑ์ บรรจุภัณฑ์ต้นแบบ และทดสอบตลาด ในปี 2566 โดยมีกรณีที่ประสบความสำเร็จ คือ ซอสคั่วกลิ้งปรุงสำเร็จ จากกลุ่มวิสาหกิจชุมชนแม่บ้านเกษตรกรบ้านควนไทร ต.ท่าโรงช้าง อ.พุนพิน จ.สุราษฎร์ธานี ผลิตภัณฑ์ตัวนี้ได้พัฒนาต่อยอดมาจากส่วนผสมพื้นถิ่นที่ได้รับความนิยมอย่างมาก นอกจากนี้ยังได้รายงานถึงการดำเนินงาน “พลอยได้..พาสุข” ผลิตภัณฑ์ปุ๋ยหมักอินทรีย์ ภายใต้โครงการเสริมสร้างขีดความสามารถเพื่อสนับสนุนการแข่งขันแบบจำลองธุรกิจและการนำไปดำเนินการ” เป็นโครงการสนับสนุนให้ผู้ประกอบการรายย่อย วิสาหกิจชุมชน หรือ กลุ่มบุคคล ที่มีศักยภาพและความคิดสร้างสรรค์ในการนำสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้ว (Waste) หรือ วัสดุพลอยได้ (By-product) จากภาคอุตสาหกรรม มาต่อยอดทำเป็นผลิตภัณฑ์ที่สร้างมูลค่าเพิ่มตามหลักแนวคิด “การพึ่งพาอาศัยกันระหว่างภาคอุตสาหกรรมและชุมชน” ซึ่งเห็นผลและสอดคล้องกับนโยบายของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมอีกด้วย ## PR.DIPROM (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม) รายงาน/ศภ.10 ภาพข่าว
13 พ.ย. 2566
รัฐมนตรีฯ พิมพ์ภัทรา หารือผู้ว่าไซตามะ ขยายความร่วมมือเศรษฐกิจการลงทุนทุกระดับ
กรุงเทพฯ 10 พฤศจิกายน 2566 – นางสาวพิมพ์ภัทรา วิชัยกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ให้การต้อนรับนายโอโนะ โมโตฮิโระ (Mr. OHNO Motohiro) ผู้ว่าราชการจังหวัดไซตามะ และคณะผู้แทนจากภาคเอกชนและสถาบันการเงินประเทศญี่ปุ่น ในโอกาสเดินทางเยือนประเทศไทยเพื่อร่วมหารือแนวทางการขยายความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการลงทุนในอุตสาหกรรมของประเทศไทย และเพื่อเข้าร่วมงาน Saitama Business Networking in Thailand โดยมีนางสาวศิรินันท์ ศิริพานิช ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงอุตสาหกรรม นางสาวไพลิน เทียนสุวรรณ เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม นายณัฐพล รังสิตพล ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม นายภาสกร ชัยรัตน์ ผู้ตรวจราชการกระทรวงอุตสาหกรรม รักษาราชการแทนอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม และผู้บริหารกระทรวงอุตสาหกรรม เข้าร่วมด้วย ณ ห้องประชุม อก.1 ชั้น 2 อาคารสำนักงานปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม การประชุมดังกล่าว จังหวัดไซตามะเน้นย้ำว่าประเทศไทยยังเป็นเป้าหมายแรกในภูมิภาคอาเซียนที่ผู้ประกอบการให้ความสนใจเข้ามาลงทุน เนื่องจากศักยภาพและความพร้อมด้านทรัพยากรและโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญ โดยเฉพาะบรรยากาศการลงทุนและนโยบายความร่วมมือระหว่างรัฐบาล ที่เอื้อต่อการดำเนินธุรกิจของทั้งสองประเทศ ซึ่งปัจจุบันมีบริษัทจากจังหวัดไซตามะเข้าลงทุนในประเทศไทยแล้วมากถึง 262 บริษัท ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในอุตสาหกรรมยานยนต์ โดยกระทรวงอุตสาหกรรม ได้ขับเคลื่อนความร่วมมือกับประเทศญี่ปุ่น ผ่านการลงนามบันทึกความเข้าใจ (MOU) ทั้งในระดับรัฐบาลกลางและรัฐบาลท้องถิ่น รวม 28 แห่ง เพื่อเดินหน้าพัฒนาความร่วมมือในรูปแบบ Local to Local ที่เน้นเชื่อมโยงอุตสาหกรรมที่โดดเด่นของจังหวัดต่าง ๆ ของญี่ปุ่น เข้ากับภาคอุตสาหกรรมของประเทศไทย จังหวัดไซตามะถือเป็นรัฐบาลท้องถิ่นแห่งแรกที่ลงนาม MOU กับกระทรวงอุตสาหกรรม ตั้งแต่ปี 2556 ซึ่งนับเป็นต้นแบบความร่วมมือที่สำคัญในการเริ่มต้นสนับสนุนผู้ประกอบการเอสเอ็มอี ยกระดับองค์ความรู้ด้านเทคโนโลยีอุตสาหกรรม รวมทั้งการพัฒนาบุคลากรระหว่างทั้งสองประเทศ ซึ่งตลอดระยะเวลา 10 ปีที่ดำเนินงานร่วมกัน ได้สร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจไม่ต่ำกว่า 1,000 ล้านบาท ## PR.DIPROM (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม) รายงาน/ภาพข่าว
13 พ.ย. 2566
ดีพร้อม เร่งปฏิบัติการส่งเสริมด้านคุณธรรม จริยธรรม เป็นต้นแบบ องค์กรคุณธรรม ประจำปี 67
กรุงเทพฯ 11 พฤศจิกายน 2566 – นางสาวประเทือง พฤกษาพิทักษ์กุล เลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม เข้าร่วมประชุมคณะทำงานจัดทำและขับเคลื่อนแผนส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม ครั้งที่ 2/2566 พร้อมด้วย คณะกรรมการฯ คณะผู้บริหาร และเจ้าหน้าที่ดีพร้อม (DIPROM) โดยมี นางบุญเจือ วงษ์เกษม ประธานคณะทำงาน นายเพทาย ล่อใจ รองประธานคณะทำงาน และนายเจตนิพิฐ รอดภัย คณะทำงาน ณ ห้องประชุม 2 ชั้น 3 อาคารกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (DIPROM Headquarter) และผ่านระบบออนไลน์ด้วยโปรแกรม Zoom Meeting การประชุมครั้งนี้ เป็นการหารือผู้ปฏิบัติงานด้านส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม ของหน่วยงานในสังกัด กสอ. และผู้แทนคณะทำงานโครงการส่งเสริมสุขภาวะองค์กรในวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ตามแนวทางมาตรฐานองค์กรแห่งความสุข (SMEs Happy and Productive Workplace : SHAP) เข้าร่วมประชุม เพื่อกำหนดแนวทางร่วมกัน ในการจัดทำแผนปฏิบัติการด้านส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 และคณะทำงานได้ติดตามผลการดำเนินงานในส่วนต่าง ๆ เพื่อให้การขับเคลื่อนการดำเนินงานด้านการส่งเสริมคุณธรรมและจริยธรรม มีความสอดคล้องแผนปฏิบัติการด้านส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ของกระทรวงอุตสาหกรรมให้สอดคล้องกับแนวทางดังกล่าว และกฎหมาย ยุทธศาสตร์ นโยบายระดับชาติ และแผนงานที่เกี่ยวข้องเกิดการบูรณาการทุกภาคส่วนของหน่วยงานในสังกัด กสอ. เป็นไปด้วยความเรียบร้อย ต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ คณะทำงานฯ ได้ร่วมพิจารณา 1) ร่างประกาศกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม เรื่อง นโยบายขับเคลื่อนเป็นองค์กรคุณธรรม 2) ร่างแผนปฏิบัติการด้านส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 เพื่อรักษามาตรฐานการดำเนินการในเรื่องดังกล่าวคงมาตรฐานดังเดิม ## PR.DIPROM (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม) รายงาน/ภาพข่าว
11 พ.ย. 2566
เชิญร่วมตอบแบบสอบถามการสำรวจความตระหนักและการปกป้องข้อมูลส่วนบุคคลภาคประชาชน
แบบสอบถามการสำรวจความตระหนักและการปกป้องข้อมูลส่วนบุคคลภาคประชาชน (Privacy First Citizen Survey : P1 Survey) "ไม่หลุด ไม่รั่ว ไม่โดนหลอก" เราปกป้องข้อมูลส่วนบุคคลได้ดีพอหรือยัง มาร่วมวัดระดับความรู้และการปกป้องข้อมูลส่วนบุคคล ไปกับแบบสอบถาม P1 Survey โดย สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (สคส.) ตอบแบบสอบถาม เปิดรับคำตอบตั้งแต่วันที่ 1-17 พฤศจิการยน 2566 ลุ้นรับของรางวัล Lotus Gift Card มูลค่า 500 บาท จำนวน รางวัล
10 พ.ย. 2566
ขอเชิญเข้าร่วมอบรมเชิงปฎิบัติการ หลักสูตร “นักการตลาดชุมชนดีพร้อมแบบมืออาชีพ” กิจกรรมเพิ่มศักยภาพทางการตลาดวิถีใหม่ให้ชุมชนดีพร้อม
ขอเชิญเข้าร่วมอบรมเชิงปฎิบัติการ หลักสูตร “นักการตลาดชุมชนดีพร้อมแบบมืออาชีพ” กิจกรรมเพิ่มศักยภาพทางการตลาดวิถีใหม่ให้ชุมชนดีพร้อม ดำเนินการโดย : ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 1 ภายใต้โครงการ : ยกระดับธุรกิจอุตสาหกรรมและวิสาหกิจชุมชน รับสมัครตั้งเเต่บัดนี้เป็นต้นไป จนกว่าจำนวนผู้สมัครจะเต็ม อบรมวันที่ 20-22 ธันวาคม พ.ศ. 2566 (รวม 3 วัน) ณ โรงแรม ไอบิส สไตล์ เชียงใหม่ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ กลุ่มเป้าหมาย ผู้ประกอบการชุมชน หรือวิสาหกิจชุมชน ที่ผ่านการพัฒนาผลิตภัณฑ์ โครงการของกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ผู้ประกอบการชุมชนที่ผลิตภัณฑ์มีคุณภาพระดับพืันฐาน ตามที่กฎหมายกำหนด หรือมาตรฐานอื่น เช่น มอก. อย. GMP สาขาอุตสาหกรรม ผลิตภัณฑ์ผ้าและเครื่องแต่งกาย ของใช้และเครื่องประดับตกแต่ง อาหารและเครื่องดื่ม สมุนไพร่ที่ไม่ใช่อาหาร สิ่งที่ท่านจะได้รับ เทคนิคการถ่ายภาพ การสร้างแบรนด์สินค้า เทคนิคการเลือกใช้ Content Marketing แบบมืออาชีพ การเล่าเรื่อง Story Telling ให้เหมาะสมกับผลิตภัณฑ์ชุมชนดีพร้อม เทคนิคการปิดการขายแบบมืออาชีพ สมัครออนไลน์ ฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย รับจำนวน 30 ท่าน ดาวน์โหลดตารางฝึกอบรม ติดต่อสอบถามเพิ่มเติม ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 1 0 5324 5361-2 ต่อ 320 คุณสมพร 08 1531 9151
10 พ.ย. 2566
ขอเชิญรับฟังการบรรยายพิเศษ การลดต้นทุนโลจิสติกส์เเละเพิ่มประสิทธิภาพซัพพลายเชน
กิจกรรมพัฒนาศักยภาพการบริหารจัดการโลจิสติกส์และซัพพลายเชน การลดต้นทุนโลจิสติกส์เเละเพิ่มประสิทธิภาพซัพพลายเชนเพื่อสร้างความยั่งยืนด้วยมาตรฐานเเละนวัตกรรม ดำเนินการโดย : กองโลจิสติกส์ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม สมัครได้ตั้งแต่วันนี้ - 16 พ.ย. พ.ศ. 2566 หรือจนกว่าจะเต็ม สัมมนาวันเสาร์ที่ 18 พ.ย. พ.ศ. 2566 อบรม online ผ่านโปรแกรม Zoom เวลา 9.00-17.00 น. กลุ่มเป้าหมายหลัก เป็นกิจการ สถานประกอบการภาคการผลิต การค้า บริการ จดทะเบียนนิติบุคคลในประเทศไทย ทุกขนาดธุรกิจ วัตถุประสงค์ เพื่อให้ผู้เข้าร่วมอบรมเข้าใจถึงแนวทางและหลักการการลดต้นทุนโลจิสติกส์และเพิ่มประสิทธิภาพซัพพลายเชนขององค์กรได้ เพื่อให้ผู้เข้าร่วมสามารถนำหลักการไปประยุกต์ใช้ในองค์กรได้จริง เพื่อให้ผู้เข้าอบรมสามารถนำเครื่องมือแบบประเมินศักยภาพ ILPI ไปประยุกต์ใช้ได้ กล่าวเปิดงานและชี้แจงวัตถุประสงค์ของโครงการฯ โดย ดร.จิรประภา ขจรบุญ วิทยากร/หัวข้อการอบรม นักวิชาการอุตสาหกรรมชำนาญการพิเศษ ผอ. กลุ่มมาตรฐานและนวัตกรรมโลจิสติกส์ เวลาบรรยาย 9.00-09.30 น. อ.ณญารร แทนอำพันทอง หัวข้อบรรยาย : เข้าใจซัพพลายเชนเพิ่มแต้มต่อในการเติบโต เวลาบรรยาย 9.30-11.00 น. ผศ.ดำรงค์ ถาวร หัวข้อบรรยาย : แนวทางการลดต้นทุนสินค้าคงคลัง เวลาบรรยาย 11.00 -12.00 น. ดร.อาทร จิตสุนทรชัยกุล หัวข้อบรรยาย : คลังสินค้าขมสมบัติ หรือถังขยะของโรงงาน เวลาบรรยาย 13.00-14.00 น. ดร.วศ.สิริพงศ์ จึงถาวรรณ หัวข้อบรรยาย : Lean Solution เพื่อสร้างกำไรอย่างยั่งยืน เวลาบรรยาย 14.00-15.00 น. อ.สุรศักดิ์ พรบรรเจิดกุล หัวข้อบรรยาย : Transport แนวทางลดต้นทุนขนส่ง เวลาบรรยาย 15.00-16.00 น. อ.สมพงษ์ พูนลาภทวี หัวข้อบรรยาย : การประยุกต์ใช้ดิจิตัลในงานโลจิสติกส์ เวลาบรรยาย 16.00-17.00 น. สมัครออนไลน์ ฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย หมายเหตุ : 1.เมื่อท่านลงทะเบียนเรียบร้อยแล้ว ทีมงานจะส่งอีเมลยืนยันการลงทะเบียน ไปยังอีเมลที่ท่านได้ลงทะเบียนไว้ใน2.กรณีมีผู้สมัครเข้าอบรมเกินจำนวน 100 ท่าน ทางผู้จัดฯ ขอสงวนสิทธิการคัดเลือกผู้เข้าอบรม สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม กองโลจิสติกส์ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม อ.เพ็ญพักตร์ 09 0539 9666 คุณพงศ์กฤษณ์ 08 6564 1295 คุณจิรประภา 08 2929 6595
10 พ.ย. 2566