หมวดหมู่
“ปลัดณัฐพล” สั่งการ “ดีพร้อม” เสนอปลดล็อคสุราสามทับ! รับนโยบาย รมต.เอกนัฏ เพื่อส่งเสริมอุตสาหกรรมและผู้ประกอบการผลิตภัณฑ์สมุนไพร ยกระดับการผลิต ผลิตภัณฑ์ และสมุนไพรรายย่อยในประเทศไทย ทำแผนระยะ 3 ปี
กรุงเทพฯ 4 ธันวาคม 2567 - ดร.ณัฐพล รังสิตพล ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม ให้เกียรติเป็นประธานการประชุมคณะอนุกรรมการส่งเสริมอุตสาหกรรมและผู้ประกอบการผลิตภัณฑ์สมุนไพร ครั้งที่ 2/2567 ร่วมด้วย นายโฆสิต สุวินิจจิต คณะที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธาธารณสุข นางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม นางดวงดาว ขาวเจริญ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม คณะผู้บริหารและผู้แทนจากหน่วยงานต่าง ๆ เข้าร่วมประชุม ณ ห้องประชุม อก.1 ชั้น 2 อาคารสำนักงานปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม และในรูปแบบออนไลน์ผ่านระบบ Zoom Meeting การประชุมครั้งนี้ เป็นการรายงานความก้าวหน้าการแก้ไขปัญหาเรื่องแอลกอฮอล์สำหรับอุตสาหกรรมสมุนไพร ที่เกิดจากการหารือร่วมกับผู้แทนจากหน่วยงานต่าง ๆ ประกอบด้วย สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย สมาคมเอทานอลจากมันสำปะหลัง องค์การสุรา กรมสรรพสามิต ภาคเอกชน โดยได้ร่วมกันพิจารณาให้ข้อคิดเห็นต่อข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการแก้ไขปัญหาเรื่องแอลกอฮอล์สำหรับอุตสาหกรรมสมุนไพร ความร่วมมือระหว่างองค์การสุรา และ บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด พร้อมร่างแผนการยกระดับผู้ประกอบการผลิตผลิตภัณฑ์สมุนไพรรายย่อยในประเทศไทย ระยะ 3 ปี (พ.ศ. 2568-2570) รวมถึงข้อเสนอต่าง ๆ ของภาคเอกชน เพื่อตรวจสอบ และยืนยันข้อมูลร่วมกัน ปัจจุบันการผลิตแอลกอฮอล์ในประเทศไทยหรือ “สุราสามทับ” มี 3 กลุ่มหลัก คือ 1) ผู้ผลิตจำหน่ายสุราสามทับภายในประเทศโดยองค์การสุรา กรมสรรพสามิต มีกำลังการผลิตอยู่ที่ 18 ล้านลิตร/ปี 2) กลุ่มผู้ผลิตสุราสามทับเพื่อการส่งออก 7 บริษัท มีกำลังการผลิตอยู่ที่ 132 ล้านลิตร/ปี และ 3) กลุ่มโรงงานเอทานอลเพื่อใช้เป็นเชื้อเพลิง รวม 26 โรงงาน มีกำลังการผลิตประมาณ 2,000 ล้านลิตร/ปี นอกจากนี้ ได้รายงานความก้าวหน้าการส่งเสริมและสนับสนุนผู้ประกอบการกัญชงกัญชาของดีพร้อม โดยมีการเพิ่มสมุนไพร 2 ชนิด คือ กระท่อม และกัญชงกัญชาในแผนการขับเคลื่อนสมุนไพร Herb of the year ปี 2568-2570 ตามมติคณะอนุกรรมการที่ปรึกษาคณะกรรมการนโยบายสมุนไพรแห่งชาติ ครั้งที่ 3/2567 และมีการขอความร่วมมือคณะอนุกรรมการฯ ที่เกี่ยวข้อง ร่วมดำเนินการขับเคลื่อนสมุนไพร Herb of the year ทั้งนี้ ดีพร้อมได้ดำเนินการพัฒนาศักยภาพกัญชง ดังนี้ 1) การจัดตั้งคณะกรรมการขับเคลื่อนการส่งเสริมและพัฒนาอุตสาหกรรมพืชกัญชงสู่เชิงพาณิชย์ 2) การดำเนินการขับเคลื่อนผ่าน 4 มาตรการ ได้แก่ สนับสนุนการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมผลิตภัณฑ์ตลอดห่วงโซ่กัญชง ส่งเสริมการผลิตและแปรรูปกัญชงเชิงพาณิชย์ ส่งเสริมด้านการตลาด และสร้างปัจจัยสนับสนุนให้เอื้อต่อการประกอบการ และ 3) การต่อยอดจากมาตรการสู่การดำเนินงานของดีพร้อมโดยร่วมมือกับสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) ดำเนินการจัดทำมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเพื่อรองรับการผลิตสินค้ากึ่งวัตถุดิบจากพืชกัญชง หรือมาตรฐานสินค้าแปรรูปจากกัญชง จำนวน 6 มาตรฐาน ได้แก่ น้ำมันเมล็ดกัญชง สารสกัดจากกัญชงที่มีปริมาณ CBD รวมไม่น้อยกว่าร้อยละ 30 สารสกัดจากกัญชงที่มีปริมาณ CBD รวมไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 เปลือกกัญชง แกนกัญชง เส้นใยกัญชง เพื่อให้มีมาตรฐานในการนำไปใช้ในอุตสาหกรรมต่อเนื่อง นอกจากนี้ ที่ประชุมยังร่วมกันพิจารณาแผนการยกระดับผู้ประกอบการผลิตผลิตภัณฑ์สมุนไพรรายย่อยในประเทศไทย ระยะ 3 ปี (พ.ศ. 2568-2570) โดยปีที่ 1 เน้นการสร้างความเข้มแข็งให้กับอุตสาหกรรม ทั้งด้านบุคลากร ผู้เชี่ยวชาญ กระบวนการผลิต และเครือข่ายพันธมิตร ปีที่ 2 เน้นดำเนินการพัฒนาผลิตภัณฑ์และขยายตลาด และปีที่ 3 เน้นขยายธุรกิจและสร้างความยั่งยืน ซึ่งดีพร้อมได้ดำเนินโครงการส่งเสริมเกษตรอุตสาหกรรมครบวงจรผ่านกิจกรรมต่าง ๆ ได้แก่ กิจกรรมการพัฒนาการรวมกลุ่มและเชื่อมโยงอุตสาหกรรม กิจกรรมยกระดับผู้ประกอบการสมุนไพรเข้าสู่มาตรฐาน GMP เพื่อให้สอดรับกับแผนฯ ดังกล่าว ทั้งนี้ ขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเสนอโครงการ/กิจกรรมที่สอดรับกับแผนฯ ให้ครบถ้วนในแต่ละแนวทาง เพื่อให้แผนการผลักดันผู้ประกอบการบรรลุได้ตามเป้าหมายและเติมเต็มการทำงานให้เกิดเป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้น ตามนโยบาย “ปฏิรูปอุตสาหกรรมสู่เศรษฐกิจยุคใหม่ ทันสมัย สะอาด สะดวก โปร่งใส” ของนายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม นอกจากนี้ ผู้เข้าร่วมประชุมยังได้เสนอแนวทางการบูรณาการร่วมกับภาคเอกชนในการออกตรวจสถานประกอบการ พร้อมสนับสนุนให้มีการถ่ายทอดองค์ความรู้และทักษะด้านการตรวจสอบสถานประกอบการให้แก่เจ้าหน้าที่รัฐ เพื่อร่นระยะเวลาการรอดำเนินการตรวจสอบในอนาคต
15 ม.ค. 2568
”อธิบดีดีพร้อม“ ลงพื้นที่จังหวัดชลบุรี เดินหน้าพัฒนาเขต EEC ต่อยอดความร่วมมือเชิงพื้นที่ สร้าง Smart Park เพื่อส่งเสริมอุตสาหกรรมใหม่ ตามนโยบาย "รมว.เอกนัฏ"
จ.ชลบุรี 2 ธันวาคม 2567 – นางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ลงพื้นที่ติดตามการดำเนินงานและมอบนโยบายให้แก่เจ้าหน้าที่ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 9 ร่วมด้วย นางดวงดาว ขาวเจริญ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม คณะผู้บริหาร และเจ้าหน้าที่ดีพร้อม (DIPROM) ณ ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 9 จังหวัดชลบุรี อธิบดีดีพร้อม ได้สำรวจพื้นที่และติดตามผลการดำเนินงานพร้อมมอมอบนโยบายในการปฏิบัติงาน โดยเน้นย้ำแนวทางการสร้างและส่งเสริมซอฟต์พาวเวอร์ ภายใต้แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาซอฟต์พาวเวอร์ ซึ่งดีพร้อมได้รับผิดชอบในด้านสาขาอาหารและสาขาแฟชั่น อีกทั้งเน้นย้ำการบริหารจัดการบุคลากร ให้มีความพร้อมทั้งในด้านองค์ความรู้ การใช้งานระบบสารสนเทศที่มีความหลากหลาย และการพัฒนาตนเองเพื่อเข้าสู่ภาครัฐดิจิทัล โดยต้องผ่านการอบรมตามหลักสูตรดิจิทัลตามกรอบที่กำหนด นอกจากนี้ บุคลากรจำเป็นที่จะต้องเรียนรู้อัตลักษณ์ของพื้นที่ตนเอง ค้นหาเศรษฐกิจหลักในพื้นที่เพื่อพัฒนาอุตสาหกรรม เนื่องจากพื้นที่ในแต่ละศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมทั้ง 11 แห่งมีความแตกต่างกัน รวมถึงการทำงานในเชิงบูรณาการเชิงพื้นที่ร่วมกับอุตสาหกรรมจังหวัด ส่งเสริมและพัฒนาเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) นิคมอุตสาหกรรม Smart Park ที่รองรับการลงทุนในอุตสาหกรรมแห่งอนาคตที่ใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีอัจฉริยะ เพื่อให้เกิดการขับเคลื่อนสู่อุตสาหกรรมใหม่ที่ยั่งยืน ตามนโยบาย “ปฏิรูปอุตสาหกรรมสู่เศรษฐกิจยุคใหม่ ทันสมัย สะอาด สะดวก โปร่งใส” ของนายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ทั้งนี้ การลงพื้นที่ดังกล่าว ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 9 ได้รายงาน โครงสร้างและอัตรากำลังของเจ้าหน้าที่ดีพร้อม โดยมีพื้นที่ความรับผิดชอบ 8 จังหวัด ได้แก่ นครนายก ปราจีนบุรี สระแก้ว ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด อีกทั้งได้รายงานวงเงินงบประมาณและแผนงาน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 โดยมีวงเงินงบประมาณที่ได้รับการจัดสรร ประกอบไปด้วย งบดำเนินงาน งบรายจ่ายอื่น งบลงทุน และงบประมาณหมวดรายจ่ายอื่นสำหรับดำเนินโครงการ รวมไปถึงรายงานการให้บริการ ซึ่งในปัจจุบันศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 9 ได้มีการให้บริการในส่วนของศูนย์ปฏิรูปอุตสาหกรรมดีพร้อม (DIPROM ITC) การให้บริการสินเชื่อ การให้บริการปรึกษาแนะนำผู้ประกอบการ และการให้บริการศูนย์ HAPPY WORK PLACE CENTER 9
15 ม.ค. 2568
"ดีพร้อม" ประชุมบอร์ด CIO วางแผนเคาะงบประมาณโครงการด้านการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศปี 2569 ขยายการให้บริการด้านดิจิทัลแก่เอสเอ็มอี ตามนโยบาย "เอกนัฏ"
กรุงเทพฯ 4 ธันวาคม 2567 – นางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ได้มอบหมายให้ นางดวงดาว ขาวเจริญ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม เป็นประธานในการประชุมคณะกรรมการบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (CIO) ครั้งที่ 2/2567 พร้อมด้วย คณะผู้บริหาร และเจ้าหน้าที่ดีพร้อม (DIPROM) เข้าร่วมประชุมดังกล่าวในรูปแบบออนไลน์ผ่านระบบ Zoom Meeting การประชุมดังกล่าว เป็นการพิจารณาคำของบประมาณโครงการด้านการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ประจำ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2569 ประกอบด้วย 1) งบลงทุน ได้แก่ ครุภัณฑ์คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่อพ่วง การปรับปรุงระบบเครือข่ายและความปลอดภัยของระบบงานสารสนเทศ กล้องโทรทัศน์วงจรปิดสำหรับใช้ในงานรักษาความปลอดภัยทั่วไปและงานอื่น ๆ การพัฒนาระบบสารสนเทศ 2) งบดำเนินงานในการปรับปรุงและบำรุงรักษาระบบสารสนเทศ และ 3) งบรายจ่ายอื่นผ่านโครงการบริหารจัดการและคุ้มครองข้อมูลเพื่อความมั่นคงปลอดภัย เพื่อการศึกษาและจัดทำรายงาน แนวปฏิบัติ และประกาศที่เกี่ยวข้องกับธรรมาภิบาลข้อมูลพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (PDPA) และการบริหารและจัดการความเสี่ยงทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อให้การดำเนินงานตลอดปีงบประมาณ พ.ศ. 2569 ด้านสารสนเทศ เกิดผลสัมฤทธิ์และมีประสิทธิภาพ มีความพร้อมในการให้บริการแก่ผู้ประกอบการภาคอุตสาหกรรมอย่างครบวงจร ตามนโยบาย “ปฏิรูปอุตสาหกรรมสู่เศรษฐกิจยุคใหม่ ทันสมัย สะอาด สะดวก โปร่งใส” ของนายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม
15 ม.ค. 2568
“ดีพร้อม” ประชุมหารือแนวทางสร้างความเข้าใจโครงการซอฟต์พาวเวอร์อาหารและแฟชั่น ตอบโจทย์นโยบาย "รมว.เอกนัฏ" สร้างอัตลักษณ์พื้นถิ่นไทย ดังไปไกลสู่สากล
จ.สงขลา 3 ธันวาคม 2567 – นางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ได้มอบหมายให้ นายสุรพล ปลื้มใจ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม เป็นประธานในการประชุมหารือแนวทางการดำเนินโครงการซอฟต์พาวเวอร์ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 พร้อมด้วย คณะผู้บริหาร และเจ้าหน้าที่ดีพร้อม (DIPROM) เข้าร่วม ณ ห้องประชุมกระจูด อาคารศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 11 การประชุมในครั้งนี้ ได้มีการแจ้งให้ทราบถึงความคืบหน้าในการดำเนินงานโครงการซอฟต์พาวเวอร์ ประจำปี 2568 ดีพร้อมมีแนวทางในการสร้าง พัฒนา และส่งเสริมซอฟต์พาวเวอร์ภายใต้แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาซอฟต์พาวเวอร์สาขาอาหารและแฟชั่น โดยมุ่งเน้นการพัฒนาผู้ประกอบการ สถานประกอบการ ร้านค้าชุมชน ให้มีการสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ที่ทรงคุณค่า มีอัตลักษณ์ แสดงออกถึงภูมิปัญญาและวัฒนธรรมท้องถิ่น ทั้งนี้ ดีพร้อม ได้กำหนดแนวทางการดำเนินงานที่มีความสอดคล้องกับนโยบาย “ปฏิรูปอุตสาหกรรมสู่เศรษฐกิจยุคใหม่ ทันสมัย สะอาด สะดวก โปร่งใส” ของนายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ในการพัฒนาเศรษฐกิจเชิงรุก เซฟพี่น้องอุตสาหกรรมไทย สร้างความเท่าเทียม สร้างรายได้ สร้างโอกาสในการแข่งขันทางธุรกิจ โดยมีเป้าหมายในการส่งเสริมวัฒนธรรม ธุรกิจ และความเป็นไทยให้ก้าวสู่ Soft Power ในระดับสากล เพื่อการสร้างมูลค่าเพิ่มของสินค้าและบริการของประเทศไทย
15 ม.ค. 2568
“รมว.เอกนัฏ” บุกภาคเหนือ โชว์ปฏิรูปอุตสาหกรรม สั่งการ “ดีพร้อม” ส่งเสริมเกษตรแปรรูป ชูอัตลักษณ์ท้องถิ่น หนุนซอฟต์พาวเวอร์ เชื่อมโยงเครือข่ายคลัสเตอร์ดิจิทัล ป้องกันภัยพิบัติ ดันอุตสาหกรรมการแพทย์และสุขภาพอย่างยั่งยืน
จ.เชียงใหม่ 30 พฤศจิกายน 2567 - นายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม พร้อมด้วย นายณัฐพล รังสิตพล ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม นางสาวไพลิน เทียนสุวรรณ ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม นายพงศ์พล ยอดเมืองเจริญ เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม นายศุภกิจ บุญศิริ รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม นายเอกนิติ รมยานนท์ นายเศรษฐรัชต์ เลือดสกุล ผู้ตรวจราชการกระทรวงอุตสาหกรรม นางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม นายพรยศ กลั่นกรอง อธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม นางสาวณิรดา วิสุทธิชาติธาดา ผู้ช่วยปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม คณะผู้บริหารกระทรวงอุตสาหกรรม ลงพื้นที่ตรวจราชการและประชุมคณะรัฐมนตรีอย่างเป็นทางการนอกสถานที่ ณ ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 1 จังหวัดเชียงใหม่ นายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า ปัจจุบันการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของสถานการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นทั่วโลก ที่ไม่อาจคาดเดา มีความซับซ้อน และไม่ชัดเจนตลอดระยะเวลาหลายปีที่ผ่านมา ประเทศไทยต้องปรับตัวเพื่อให้สามารถแข่งขันได้ในตลาดสากล โดยเฉพาะอย่างยิ่งในพื้นที่ภาคเหนือเป็นพื้นที่ผลิตสินค้าเกษตรที่มีศักยภาพแต่กลับมีพื้นที่ใช้ประโยชน์ทางการเกษตรไม่มากนักจึงเหมาะกับเกษตรประณีตหรือเกษตรอินทรีย์ที่ใช้พื้นที่ และน้ำน้อยแต่ผลตอบแทนสูงซึ่งพืชเศรษฐกิจที่สำคัญเป็นอัตลักษณ์พื้นถิ่นและสามารถเติบโตได้ดีในพื้นที่ ดังนั้น กระทรวงอุตสาหกรรม ตามนโยบาย “ปฏิรูปอุตสาหกรรมไทย สู่เศรษฐกิจยุคใหม่ ทันสมัย สะดวก โปร่งใส” จึงได้มอบหมายให้ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม หรือ ดีพร้อม (DIPROM) พัฒนาอุตสาหกรรมในพื้นที่เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าอัตลักษณ์พื้นถิ่น อาทิ สินค้าเกษตรอัตลักษณ์พื้นถิ่น (Crop) อาหารพื้นถิ่น (Food) หัตถกรรมพื้นบ้าน (Craft) สมุนไพรประจำถิ่น (Herb) และวัสดุพื้นถิ่น (Material) ด้วยการประยุกต์ ใช้ทุนทางวัฒนธรรม ภูมิปัญญา นวัตกรรม และเทคโนโลยีสู่ผลิตภัณฑ์มูลค่าสูงที่สร้างโอกาสทางการตลาดและพื้นที่เศรษฐกิจใหม่ ส่งเสริมการนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมสมัยใหม่มาใช้ในกระบวนการผลิต สร้างภาพลักษณ์และการรับรู้ผ่านการสร้างแบรนด์และนำเสนอเรื่องราวที่เชื่อมโยงกับแหล่งผลิต ตลอดจนขยายโอกาสทางธุรกิจด้วยการเชื่อมโยงการท่องเที่ยว ทั้งการท่องเที่ยวเชิงอาหาร การท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ และการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ ซึ่งจะมีส่วนช่วยให้ชุมชนสามารถดำรงอยู่ได้ด้วยตนเองและเป็นการกระจายรายได้ไปยังเกษตรกรและผู้ผลิตรายย่อยอย่างทั่วถึง อันจะเป็นการสร้างความเข้มแข็งให้กับเศรษฐกิจภูมิภาค (Local Economy) ได้อย่างยั่งยืน นายเอกนัฏ กล่าวเพิ่มเติมว่า โกโก้ เป็นพืชเศรษฐกิจใหม่อีกหนึ่งชนิดที่น่าสนใจของภาคเหนือ ที่สามารถผลักดันและเชื่อมโยงผู้ประกอบการอุตสาหกรรมโกโก้แบรนด์ชั้นนำของไทยสู่ตลาดสากลได้ รวมถึงการพัฒนาและยกระดับการแปรรูปโกโก้สู่การเป็นอาหารแห่งอนาคต (Future Food) ด้วยการนำทุกส่วนของโกโก้มาแปรรูปและสร้างมูลค่าเพิ่มผลิตภัณฑ์ที่หลากหลายสู่การเป็นสินค้าพรีเมี่ยม อาทิ โกโก้ผง เนยโกโก้ ช็อกโกแลต โดยการใช้ “อุตสาหกรรมนำ” เช่นเดียวกับกรณีของอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทราย ผ่านแนวทางการเติมศักยภาพยผู้ประกอบการอุตสาหกรรมโกโก้ ชา หรือกาแฟ ให้มีขีดความสามารถการแข่งขันระดับเวทีโลก เพื่อดึงให้เกิดการเพาะปลูกและผลิตสินค้าเกษตรของพื้นที่ที่มีคุณภาพพร้อมมีตลาดรองรับ ภายใต้หลักการ “ตลาดนำ” ที่สามารถต่อยอดไปสู่ธุรกิจต่าง ๆ ได้อีก ไม่ว่าจะเป็นร้านอาหาร คาเฟ่ โรงแรม รีสอร์ท และแหล่งท่องเที่ยว ซึ่งนับได้ว่าเป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับพืชเศรษฐกิจนตลอดทั้งห่วงโซ่ นอกจากเรื่องของการเกษตรแล้ว จังหวัดเชียงใหม่ยังมีผู้ประกอบการที่มีความรู้เรื่องดิจิทัลอยู่เป็นจำนวนมาก ซึ่งถือเป็นอันดับ 2 รองจากกรุงเทพมหานคร ดังนั้น หากสามารถเชื่อมโยงเครือข่ายผู้ประกอบการให้เกิด Cluster Digital จะส่งผลให้บริษัทดิจิทัลชั้นนำของไทยเกิดการขยายตัว และสามารถเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจของประเทศไทยได้อย่างยั่งยืน นางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กล่าวว่า กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม หรือ ดีพร้อม (DIPROM) ได้ดำเนินการขับเคลื่อนการพัฒนาอุตสาหกรรมเศรษฐกิจในพื้นที่ภาคเหนือ ซึ่งมีเป้าหมาย “เป็นองค์กรนำวิสาหกิจภาคเหนือตอนบนสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์” โดยมีการดำเนินการทั้งในด้านวิชาการ คิดค้นรูปแบบ หลักสูตร เพื่อสร้างต้นแบบการส่งเสริมอุตสาหกรรมที่สอดคล้องกับศักยภาพของพื้นที่ เป็นศูนย์กลางการบริการทั้งการให้คำปรึกษาแนะนำ การถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านต่าง ๆ และในด้านการปฏิบัติ ในด้านการส่งเสริมและพัฒนาวิสาหกิจให้มีขีดความสามารถสอดคล้องกับความต้องการและอุตสาหกรรมที่มีศักยภาพของพื้นที่ อาทิ อุตสาหกรรมอาหารและเกษตรอุตสาหกรรม อุตสาหกรรมสร้างสรรค์ อุตสาหกรรมการแพทย์และสุขภาพ ประกอบกับรัฐบาลได้กำหนดพื้นที่จังหวัดเชียงราย เชียงใหม่ ลำพูน และลำปาง เป็นระเบียงเศรษฐกิจภาคเหนือ หรือ Northern Economic Corridor: NEC – Creative LANNA เพื่อพัฒนาเป็นพื้นฐานเศรษฐกิจสร้างสรรค์หลักของประเทศอย่างยั่งยืน ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายซอฟต์พาวเวอร์ ของรัฐบาลที่มุ่งสนับสนุนการสร้างพลังสร้างสรรค์ของประเทศในการยกระดับและพัฒนาความรู้ ความสามารถ และความคิดสร้างสรรค์ของคนไทยให้สามารถสร้างมูลค่าและรายได้ โดยดีพร้อมได้ขับเคลื่อนซอฟต์พาวเวอร์ด้านอาหารและด้านแฟชั่น ด้วยการสร้างและพัฒนา Thailand Soft Power DNA ผ่าน 3 แนวทาง คือ 1) สร้างสรรค์และต่อยอด 2) โน้มน้าว และ 3) เผยแพร่ ซึ่งศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 1 ได้ชูเรื่องการพัฒนาอัตลักษณ์ท้องถิ่นสู่ซอฟต์พาวเวอร์ด้านอาหาร โดยการ “สร้างสรรค์” วัตถุดิบล้านนาสู่สินค้ามูลค่าสูง วัตถุดิบ Local สู่ทางเลือกสุขภาพ สมุนไพร Local สู่สารสกัดเลอค่า และ Hyper Local Taste รสชาติท้องถิ่นที่กินสะดวก “โน้มน้าว” ให้มาสัมผัสวิถีล้านนา และ “เผยแพร่” ผ่าน Influencer ส่งต่อประสบการณ์ใหม่ผ่านมุมมองที่สัมผัสได้สไตล์ Local LANNA ผ่านบูธนิทรรศการต่าง ๆ ของผู้ประกอบการ อาทิ บริษัท บีโปรดักส์ อินดัสตรี จำกัด บริษัท ที แกลเลอรี่ กรุ๊ป (ประเทศไทย) จำกัด และบริษัท ชาระมิงค์ จำกัด นางสาวณัฏฐิญา กล่าวเพิ่มเติมว่า กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม หรือ ดีพร้อม (DIPROM) ยังได้เล็งเห็นถึงปัญหาของอุทกภัยในพื้นที่ภาคเหนือ จึงได้เร่งดำเนินการส่งเสริม และพัฒนาอุตสาหกรรมป้องกันภัยพิบัติเป็นอีกหนึ่งในอุตสาหกรรมป้องกันประเทศ พร้อมจับมือกับภาคเอกชน ผลิตแผ่นป้องกันน้ำท่วมที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งผลิตจากวัสดุคอมโพสิต หรือขยะพลาสติก และเตรียมขยายผลสู่เชิงพาณิชย์ รวมถึงเร่งฟื้นฟูสถานประกอบการที่ได้รับผลกระทบผ่านการซ่อมแซมเครื่องจักร และบูรณะสถานประกอบการ อีกทั้ง ยังมีการสนับสนุนเงินทุนหมุนเวียน เพื่อบรรเทาปัญหาความเดือดร้อนด้านการเงินแก่ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมที่ได้รับผลกระทบจากภัยพิบัติทางธรรมชาติ นอกจากนี้ ในการพัฒนาอุตสาหกรรมป้องกันประเทศยังได้พัฒนาวัสดุอุตสาหกรรมต่อยอดงานวิจัยเกราะกันกระสุนผสมใยกัญชงให้ได้มาตรฐานและขยายผลเชิงพาณิชย์ สามารถลดต้นทุนการผลิตได้มากกว่าร้อยละ 50 และได้ร่วมกับสถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ ในการให้คำปรึกษาแนะนำและแก้ไขให้สายพานที่ติดมากับหุ่นยนต์กู้ภัยจากต่างประเทศมาออกแบบทำใหม่ทดแทนตัวเก่า รวมทั้งสนับสนุนการสร้างเครือข่ายคลัสเตอร์อุตสาหกรรมป้องกันประเทศ อาทิ อุตสาหกรรมยานต์รบ อุตสาหกรรมต่อเรือ เทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ เป็นต้น “การขับเคลื่อนการพัฒนาในเชิงพื้นที่ จำเป็นต้องอาศัยการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วนในพื้นที่ เพื่อให้เกิดการพัฒนารูปแบบและกลไกการทำงานที่สามารถจัดการกับประเด็นปัญหาหรือความต้องการของพื้นที่ได้อย่างแท้จริง ด้วยการสร้างความร่วมมือกับเครือข่ายพันธมิตรในการขับเคลื่อนการพัฒนาอุตสาหกรรมเป้าหมายและผู้ประกอบการร่วมกัน ด้วยการเชื่อมโยงกับองค์กรภาครัฐ ภาคเอกชน SME และสถาบันการศึกษา เพื่อยกระดับศักยภาพและสร้างโอกาสการพัฒนาเศรษฐกิจร่วมกัน ซึ่งจะนำไปสู่การยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันของภาคอุตสาหกรรมไทยในภาพรวม” นางสาวณัฏฐิญา กล่าวทิ้งท้าย
15 ม.ค. 2568
”ดีพร้อม“ เดินหน้าโครงการ DIPROM HAPPY WORKPLACE สร้างบรรยากาศองค์กรแห่งความสุข เพื่อส่งต่อความสุขให้แก่ผู้ประกอบการภาคอุตสาหกรรม ตามนโยบาย "รมว.เอกนัฏ"
กรุงเทพฯ 3 ธันวาคม 2567 – นางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ได้มอบหมายให้ นางดวงดาว ขาวเจริญ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม เข้าร่วมประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อนโครงการกรมส่งเสริมอุตสาหกรรมองค์กรแห่งความสุข (DIPROM HAPPY WORKPLACE) ครั้งที่ 1/2568 ร่วมด้วย นายอาทิตย์ พัฒนพงศ์ชัย ผู้อำนวยการกองพัฒนาขีดความสามารถธุรกิจอุตสาหกรรม นายพลาวุธ วงศ์วิวัฒน์ ผู้อำนวยการกองยุทธศาสตร์และแผนงาน และเจ้าหน้าที่ดีพร้อม (DIPROM) เข้าร่วม ณ ห้องประชุม 2 ชั้น 3 อาคารกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (DIPROM Headquarter) การประชุมในครั้งนี้ ได้มีการรายงานกรอบการดำเนินโครงการกรมส่งเสริมอุตสาหกรรมองค์กรแห่งความสุข (DIPROM HAPPY WORKPLACE) อีกทั้งได้มีการร่วมพิจารณาแผนดำเนินการจัดทำห้องสร้างสุขสำหรับเจ้าหน้าที่ดีพร้อม ตามหลัก Happy 8 Workplace ภายในห้องสร้างสุขจะประกอบไปด้วย มุมส่งเสริมสุขภาพกาย มุมส่งเสริมสุขภาพใจ มุมให้คำปรึกษาแนะนำเกี่ยวกับการสร้างสุขภาวะที่ดี มุมให้ความรู้ด้านการเงิน มุมพักผ่อนหย่อนใจ/สันทนาการ และ Co – Working Space โดยปัจจุบันอยู่ระหว่างการดำเนินการจัดสรรพื้นที่ในกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม พระรามที่ 6 เพื่อจัดทำห้องสร้างสุข ทั้งนี้ ผลลัพธ์ที่มุ่งหวังในการดำเนินโครงการดังกล่าว เพื่อให้บุคลากรดีพร้อม มีความรู้ด้านสุขภาวะ สามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพ เกิดพลังเครือข่ายหน่วยงานสุขภาวะองค์กร มีองค์ความรู้ในการร่วมแลกเปลี่ยนและได้พัฒนาสุขภาวะองค์กรอย่างต่อเนื่อง พร้อมเป็นแบบอย่างที่ดีให้หน่วยงานภาครัฐ และสถานประกอบการที่มีความสนใจ ส่งเสริมให้บุคลากรดีพร้อม มีสุขภาพกายและสุขภาพใจที่ดียิ่งขึ้น เพื่อส่งต่อความสุขให้แก่ผู้ประกอบการภาคอุตสาหกรรม ตามนโยบาย “ปฏิรูปอุตสาหกรรมสู่เศรษฐกิจยุคใหม่ ทันสมัย สะอาด สะดวก โปร่งใส” ของนายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม
15 ม.ค. 2568
"ดีพร้อม" สานต่อความสัมพันธ์กับ "จังหวัดโคจิ" ร่วมกันพัฒนาอุตฯ ป้องกันภัยพิบัติ เชื่อมโยงเครือข่ายไทย-ญี่ปุ่นสู่ความสำเร็จที่ยั่งยืน
กรุงเทพฯ 2 ธันวาคม 2567 – นางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม มอบหมายให้ นายวัชรุน จุ้ยจำลอง รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม เป็นผู้แทนต้อนรับ นายโอคาดะ ทาดาอากิ (Mr. OKADA Tadaaki) อธิบดีกรมการค้าอุตสาหกรรมและแรงงาน จังหวัดโคจิ พร้อมคณะเข้าเยี่ยมคารวะและประชุมหารือเกี่ยวกับความร่วมมือระหว่างจังหวัดโคจิและดีพร้อม พร้อมด้วย คณะผู้บริหาร และเจ้าหน้าที่ดีพร้อม (DIPROM) เข้าร่วม ณ ห้องประชุม 2 ชั้น 3 อาคารกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (DIPROM Headquarter) การประชุมครั้งนี้ นายโอคาดะฯ กล่าวว่า จังหวัดโคจิ เป็น 1 ใน 4 จังหวัดของภูมิภาคเกาะชิโกกุ มีธรรมชาติรายล้อม ทั้งภูเขา ทะเล และแม่น้ำ ทำให้มีชื่อเสียงด้านการเกษตรกรรมและอุตสาหกรรมป่าไม้มาเป็นเวลายาวนาน มีพืชเศรษฐกิจ คือ ส้มยูซุ และมะเขือเทศ รวมทั้งยังมีความเชื่ยวชาญด้านการทำประมงและปลาทูน่า ทางจังหวัดจึงได้พัฒนาด้านเครื่องจักรและเทคโนโลยีการเกษตร ทั้งนี้ ปัจจุบันโคจิถือเป็นจังหวัดอันดับหนึ่งของประเทศญี่ปุ่นที่มีการปลูกพืชโดยใช้โรงเรือนเกษตรแบบ Green House ซึ่งสามารถเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ดิจิทัลอื่น ๆ ได้ ทำให้ช่วยประหยัดพลังงานและควบคุมคุณภาพของผลผลิตได้อย่างมีประสิทธิภาพ อย่างไรก็ตาม จังหวัดโคจิก็ถือเป็นอีกหนึ่งจังหวัดที่ประสบกับภัยทางธรรมชาติค่อนข้างบ่อย ทำให้เกิดแรงผลักดันในการพัฒนาเทคโนโลยีป้องกันภัยพิบัติ ซึ่งแบ่งออกได้เป็น 3 กลุ่ม คือ 1) เทคโนโลยีเพื่อเตรียมการก่อนเกิดภัยพิบัติ 2) เทคโนโลยีสำหรับเผชิญภัยพิบัติ และ 3) เทคโนโลยีเพื่อการบรรเทาทุกข์หลังเกิดภัยพิบัติ ทั้งหมดนี้กำลังได้รับความสนใจจากนานาประเทศ เนื่องจากความแปรปรวนของสภาพภูมิกาศที่ส่งผลกระทบไปทั่วโลก ต่อมา นายวัชรุนฯ ได้กล่าวว่า ภาคใต้ของประเทศไทยก็กำลังประสบกับอุทกภัยครั้งใหญ่ ดังนั้น หากทางโคจิสามารถถ่ายทอดเทคโนโลยีป้องกันภัยพิบัติมาสู่ประเทศไทยได้นั้นจะเป็นประโยชน์กับภาคอุตสาหกรรมและครัวเรือนของไทย ซึ่งจะช่วยบรรเทาความเสียหายจากปัญหาอุทกภัยที่เกิดขึ้นทุกปี อีกทั้งยังสามารถสร้างความมั่นใจให้กับภาคอุตสาหกรรมได้ ว่ากระบวนการผลิตจะไม่หยุดชะงักเนื่องจากปัญหาดังกล่าวตามนโยบาย “ปฏิรูปอุตสาหกรรมสู่เศรษฐกิจยุคใหม่ ทันสมัย สะอาด สะดวก โปร่งใส” ชองนายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม นอกจากนี้ อุตสาหกรรมภาคการเกษตรและเกษตรแปรรูปของไทยสามารถเชื่อมโยงกับจังหวัดโคจิได้ อีกทั้งจังหวัดโคจิยังให้ความสนใจด้านเครื่องจักรทางการเกษตร ซึ่งประเทศไทยเองยังต้องการองค์ความรู้และเทคโนโลยีในการพัฒนาเครื่องจักรการเกษตรแบบแปลงเล็ก สำหรับผู้ประกอบการรายย่อย เพื่อเก็บเกี่ยว แปรรูป และกำจัดซากพืชต่าง ๆ ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เพื่อลดปัญหาการเผาไหม้และ PM2.5 ที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน ทางนายโอคาดะฯ ยินดีที่จะประสานและเป็นตัวกลางในการจัดกิจกรรมร่วมกับดีพร้อม เพื่อผลักดันการถ่ายทอดเทคโนโลยีดังกล่าว ทั้งด้านเกษตรอุตสาหกรรม และการป้องกันภัยพิบัติ เพื่อช่วยยกระดับภาคอุตสาหกรรมของไทย พร้อมทั้งเชื่อมโยงให้เกิดเครือข่ายผู้ประกอบการของทั้งสองประเทศ ให้ได้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างกัน และผลักดันการเติบโตของเศรษฐกิจไทย-ญี่ปุ่นต่อไปในอนาคต
15 ม.ค. 2568
“อธิบดีดีพร้อม” ต้อนรับ “นายกฯ แพทองธาร” ชมผลิตภัณฑ์สุดปังจากดีพร้อม โชว์ไผ่และเครื่องเขินไทย ชูอัตลักษณ์พื้นถิ่น ดันซอฟต์พาวเวอร์ไทยสู่สากล ตามนโยบาย "รมต.เอกนัฏ"
จ.เชียงใหม่ 30 พฤศจิกายน 2567 – นางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ให้การต้อนรับนางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี นำคณะรัฐมนตรีเยี่ยมชมการดำเนินโครงการและกิจกรรมของดีพร้อมในการลงพื้นที่คณะรัฐมนตรีสัญจรจังหวัดเชียงใหม่ พร้อมด้วย นายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ดร.ณัฐพล รังสิตพล ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม นายศุภกิจ บุญศิริ รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม นายเอกนิติ รมยานนท์ นายเศรษฐรัชต์ เลือดสกุล ผู้ตรวจราชการกระทรวงอุตสาหกรรม นายวัชรุน จุ้ยจำลอง และนายสุรพล ปลื้มใจ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม คณะผู้บริหาร และเจ้าหน้าที่กระทรวงอุตสาหกรรม เข้าร่วม ณ หอประชุมทีปังกรรัศมีโชติ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ การลงพื้นที่ดังกล่าง นางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ได้แนะนำการดำเนินโครงการและกิจกรรมในพื้นที่ภาคเหนือตอนบนของศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 1 ผ่านจัดแสดงผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมสร้างสรรค์ ซึ่งได้รับการพัฒนาจากศูนย์เรียนรู้วิถีไผ่ (DIPROM Bamboo City Center) และศูนย์อนุรักษ์หัตถกรรมเครื่องเขินภาคเหนือ (DIPROM Northern Lacquerware Center) ตามแนวทาง BCG มุ่งเน้นการสร้างคุณค่า และเพิ่มมูลค่าทางการตลาดให้กับผลิตภัณฑ์ไผ่และเครื่องเขิน ตามนโยบาย “ปฏิรูปอุตสาหกรรมสู่เศรษฐกิจยุคใหม่ ทันสมัย สะอาด สะดวก โปร่งใส” ของนายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม โดยการนำนวัตกรรมมาประยุกต์ใช้ในกระบวนการผลิต ออกแบบผสมผสานความร่วมสมัย คงอัตลักษณ์ความเป็นไทย รักษาไว้ซึ่งภูมิปัญญาของภาคเหนือ เช่น โคมไฟ ชุดเฟอร์นิเจอร์ ของใช้จากไผ่ กระเป๋า ชุดจิบชา และชุดเก้าอี้จากงานเครื่องเขิน ด้วยการการพัฒนาเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (Creative Economy) ถือเป็นแนวทางหนึ่งที่สำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศไทย รัฐบาลจึงมุ่งขับเคลื่อนเศรษฐกิจสร้างสรรค์เป็นซอฟต์พาวเวอร์ (Soft Power) เพื่อให้เป็นอีกหนึ่งฟันเฟืองในการผลักดันอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ของไทยให้เป็นที่รู้จักทั่วโลก โดยการพัฒนา Thailand Soft Power DNA ผ่าน 3 แนวทาง คือ 1) สร้างสรรค์และต่อยอด 2) โน้มน้าว และ 3) เผยแพร่ ซึ่งศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 1 ชูการพัฒนาอัตลักษณ์ท้องถิ่นสู่ซอฟต์พาวเวอร์ด้านอาหาร โดยการ “สร้างสรรค์” วัตถุดิบล้านนาสู่สินค้ามูลค่าสูง วัตถุดิบ Local สู่ทางเลือกสุขภาพ สมุนไพร Local สู่สารสกัดเลอค่า และ Hyper Local Taste รสชาติท้องถิ่นที่กินสะดวก “โน้มน้าว” ให้มาสัมผัสวิถีล้านนา และ “เผยแพร่” ผ่าน Influencer ส่งต่อประสบการณ์ใหม่ผ่านมุมมองที่สัมผัสได้สไตล์ Local LANNA ทั้งนี้ ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 1 ที่เป็นหนึ่งในหน่วยงานที่มีบทบาทในการขับเคลื่อนการพัฒนาอุตสาหกรรมเศรษฐกิจในพื้นที่ภาคเหนือ ซึ่งมีเป้าหมาย “เป็นองค์กรนำวิสาหกิจภาคเหนือตอนบนสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์” โดยมีการดำเนินการทั้งในด้านวิชาการ คิดค้นรูปแบบ หลักสูตร เพื่อสร้างต้นแบบการส่งเสริมอุตสาหกรรมที่สอดคล้องกับศักยภาพของพื้นที่ เป็นแกนหลักในการกำหนดยุทธศาสตร์ และจัดทำแผนพัฒนาในระดับภูมิภาค ด้านการบริการ เป็นศูนย์กลางการบริการทั้งการให้คำปรึกษาแนะนำ การถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านต่าง ๆ รวมทั้งมีศูนย์บริการที่สำคัญเพื่อให้บริการแก่ผู้ประกอบการ เช่น ศูนย์ปฏิรูปอุตสาหกรรม (DIPROM ITC) ศูนย์ออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์ (DIPROM THAI-IDC) ศูนย์อนุรักษ์หัตถกรรมเครื่องเขินภาคเหนือ ศูนย์จัดแสดงสินค้าเครื่องมือแพทย์ ศูนย์เรียนรู้วิถีไผ่ และศูนย์พัฒนากาแฟไทยเป็นต้น นอกจากนี้ยังดำเนินการส่งเสริมและพัฒนาวิสาหกิจให้มีขีดความสามารถสอดคล้องกับความต้องการและอุตสาหกรรมที่มีศักยภาพของพื้นที่ อาทิ อุตสาหกรรมอาหารและเกษตรแปรรูป อุตสาหกรรมสร้างสรรค์ อุตสาหกรรมการแพทย์และสุขภาพ
15 ม.ค. 2568
“ดีพร้อม” ร่วมผลักดันซอฟต์พาวเวอร์ ตามนโยบาย "รมว.เอกนัฏ" เร่งสร้างอัตลักษณ์ไทย นำผู้ประกอบการไทยสู่สากล
กรุงเทพฯ 29 พฤศจิกายน 2567 – นางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ได้มอบหมายให้ นางดวงดาว ขาวเจริญ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม เข้าร่วมประชุมคณะกรรมการพัฒนาซอฟต์พาวเวอร์แห่งชาติ 2/2567 (ครั้งที่ 9) พร้อมด้วย คณะกรรมการจากภาคส่วนต่าง ๆ โดยมี นายแพทย์สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี รองประธานคณะที่ปรึกษาด้านนโยบายของนายกรัฐมนตรี และประธานกรรมการพัฒนาซอฟต์พาวเวอร์แห่งชาติ เป็นประธานการประชุม และนายพันศักดิ์ วิญญรัตน์ เป็นที่ปรึกษาและกรรมการในคณะกรรมการยุทธศาสตร์ซอฟต์พาวเวอร์แห่งชาติ ณ วิเทศสโมสร กระทรวงการต่างประเทศ การประชุมในครั้งนี้ ได้มีการแจ้งเพื่อทราบถึงความคืบหน้าในการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมในแต่ละด้าน ได้แก่ ด้านแฟชั่น ด้านภาพยนตร์ สารคดี และแอนิเมชัน ด้านหนังสือ ด้านสาขาศิลปะการแสดง รวมไปถึงความคืบหน้าการออกแบบโลโก้ซีเกมส์ โดยดีพร้อมได้มีแนวทางการสร้างและส่งเสริมซอฟต์พาวเวอร์ภายใต้แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาซอฟต์พาวเวอร์สาขาอาหารและแฟชั่น อันประกอบด้วย 5 เสาหลัก คือ 1) ศึกษาและพัฒนาทรัพยากร และทุนทางวัฒนธรรม อย่างสร้างสรรค์ 2) พัฒนาบุคลากรเพื่อขับเคลื่อน Soft Power ไทย 3) พัฒนาธุรกิจ เพื่อยกระดับขีดความสามารถ ของ Soft Power ไทย 4) ส่งเสริม Soft Power ไทย สู่ระดับสากล 5) สนับสนุนปัจจัยเอื้อ ในการส่งเสริม Soft Power ไทย ทั้งนี้ ที่ประชุมได้ร่วมกันพิจารณาประเด็นต่าง ๆ เพิ่มเติม ประกอบไปด้วย การขอรับการสนับสนุนงบประมาณสำหรับการจัดงานมหาสงกรานต์ พ.ศ. 2568 และการของบกลางเพื่อดำเนินโครงการในปีงบประมาณ 2568 ของอุตสาหกรรมซอฟต์พาวเวอร์ด้านต่างๆ ได้แก่ ด้านเฟสติวัล ด้านหนังสือ ด้านเกม ด้านการออกแบบ และได้มีแนวทางความร่วมมือระหว่างอุตสาหกรรมศิลปะและภาพยนตร์ ละคร และซีรีส์ ในการดำเนินการสนับสนุนงานศิลปะไทยมุ่งสู่สายตาคนทั่วโลกผ่านภาพยนตร์ รวมไปถึงการนำเสนอโครงการ Archive & Digital Platform สำหรับสาขาศิลปะการแสดงอีกด้วย
15 ม.ค. 2568
"ดีพร้อม" นำทีมส่งมอบ "ถุง MIND ไม่ทิ้งกัน" ร่วมใจช่วยเหลือพี่น้องผู้ประสบภัยพิบัติในพื้นที่ภาคใต้
กรุงเทพฯ 29 พฤศจิกายน 2567 - นางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ได้มอบหมายให้ นางดวงดาว ขาวเจริญ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม คณะผู้บริหาร และเจ้าหน้าที่ดีพร้อม (DIPROM) ร่วมบรรจุและขนย้าย "ถุงอุตสาหกรรมรวมใจ MIND ไม่ทิ้งกัน" ขึ้นรถบรรทุกเพื่อลำเลียงไปส่งมอบเป็นกำลังใจให้กับประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อน รวมถึงได้รับผลกระทบจากภัยพิบัติในพื้นที่ภาคใต้ ณ ห้องนิทรรศการ ชั้น 1 อาคารกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (DIPROM Headquarter) ซึ่งภายในถุงบรรจุสิ่งของอุปโภค บริโภค และของใช้ที่จำเป็น เช่น ข้าวสาร น้ำตาลทราย บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป เป็นถุงยังชีพที่ได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานรัฐ ภาคเอกชน ผู้ประกอบการโรงงานอุตสาหกรรมทั่วประเทศที่รวมใจส่งมอบรอยยิ้ม เป็นกำลังใจให้กับผู้ประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อนจากภัยพิบัติในพื้นที่จังหวัดสงขลาและจังหวัดใกล้เคียงในการก้าวข้ามช่วงเวลาที่ยากลำบากไปได้ ตามนโยบายของนายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ในการเตรียมมาตรการป้องกันให้พร้อมรับมือกับปัญหาภัยพิบัติอย่างเต็มประสิทธิภาพ เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับผู้ประกอบการและประชาชน
15 ม.ค. 2568