หมวดหมู่
ศรีสุดาเบเกอรี่
หากมองว่าเคล็ดลับความสำเร็จในการประกอบธุรกิจข้อหนึ่งคือ ความพร้อมที่จะปรับตัวและพัฒนาตัวเองอยู่เสมอนั้น ศรีสุดุาเบเกอรี่ ผู้ผลิตและจำหน่ายขนมปังและเบเกอรี่ชื่อดังจากจังหวัดสุราษฎร์ธานี เดินอยู่ในเส้นทางที่ว่านี้มาโดยตลอดนับตั้งแต่รุ่นพ่อ-แม่ที่ช่วยกันสร้างจนมาต่อยอดที่รุ่นลูก ซึ่งยังคงพร้อมจะพัฒนาและปรับตัวให้เข้ากับยุคสมัย เพื่อสร้างการเติบโตให้กับธุรกิจ คุณเกษญาภา สุวรรณบุตร รองกรรมการผู้จัดการ บริษัท ศรีสุดาเบเกอรี่ จำกัด และเป็นหนึ่งในทายาทที่เข้ามารับช่วงต่อ เล่าถึงพัฒนาการของธุรกิจครอบครัวว่าเริ่มต้นมาตั้งแต่การเป็นบ้านเช่าเล็กๆ ทำขนมขายอยู่ในตัวเมืองสุราษฎร์ธานี โดยบรรจุใส่กล่อง กล่องละ 10 ชิ้น ออกจำหน่ายในละแวกใกล้เคียงด้วยรถจักรยานยนต์ พอเริ่มเห็นว่าในพื้นที่มีคู่แข่งมากขึ้น จึงขยายตลาดออกไปไกลขึ้น ขยายออกไปทีละจังหวัด ซึ่งได้ผลตอบรับดีมากจากลูกค้าเพราะถือเป็นเจ้าแรกๆ และคู่แข่งยังมีไม่มากนัก เมื่อยอดขายมากขึ้นจึงเริ่มลงทุนซื้อเครื่องจักร เครื่องแพ็กสินค้าก็ยิ่งทำให้ยอดขายเติบโตขึ้นไปอีก ดังนั้นจากที่ช่วยกันทำในบ้านเช่าก็ขยายเป็นบ้าน 2 คูหา สร้างโรงงานแห่งแรกและตามมาด้วยแห่งที่ 2 และ แห่งที่ 3 พร้อมลงทุนซื้อเครื่องจักรเพิ่มเติม จนปัจจุบันมีสินค้าหลากหลายกว่า 100 ชนิดจำหน่ายผ่านระบบตัวแทนและขายปลีกครอบคลุมทั้ง 14 จังหวัดภาคใต้และกรุงเทพฯ เธอบอกด้วยว่า พร้อมรับฟังคำแนะนำเพื่อนำมาปรับปรุงและพัฒนาธุรกิจอยู่เสมอ อย่างกิจกรรมล่าสุดที่ได้เข้าร่วมอบรมในโครงการกิจกรรมเพิ่มประสิทธิภาพ การบริหารจัดการโลจิสติกส์เพื่อการลดต้นทุนและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน ภายใต้โครงการเพิ่มขีดความสามารถการบริหารจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทานอุตสาหกรรมกับกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กสอ.) จากการเข้าร่วมกิจกรรมเมื่อได้รับคำแนะนำก็นำมาแก้ไขทันที ที่เห็นชัดๆ คือระบบการสั่งซื้อฟิล์มสำหรับแพ็กถุงขนม เดิมต้องสั่งซื้อ 40 ม้วนต่อ 1 ครั้ง ก็เปลี่ยนวิธีมาเป็นการสั่งซื้อเท่าเดิมแต่จะทยอยเรียกเข้าครั้งละ 8-10 ม้วน ระยะเวลา 10-15 วัน ขึ้นอยู่กับยอดการใช้งาน “เฉพาะเรื่องฟิล์มก็สามารถนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ได้มาก ช่วยให้ไม่ต้องลงทุนขยายพื้นที่เพิ่มเติมแถมยังมีที่เหลืออีก เงินก็ไม่ไปจมอยู่ในส่วนนั้นและมีอำนาจต่อรองมากขึ้น เพราะเมื่อสั่งซื้อจำนวนมากก็จะได้ราคาพิเศษที่ถูกลง ส่วนเรื่องที่สนใจและอยากเรียนรู้เพิ่มเติมอีก เช่น ทักษะการผลิตคอนเทนต์ดิจิทัล การถ่ายทำและตัดต่อคลิปวิดีโอ เพื่อโอกาสการขยายฐานลูกค้าใหม่ๆ ผ่านช่องทางโซเชียลมีเดีย รวมถึงการต่อยอดธุรกิจซึ่งที่มองไว้ตอนนี้ คือ ระบบแฟรนไชส์” ผลลัพธ์ที่ได้จากการเข้าร่วมกิจกรรมสามารถลดต้นทุนของกิจกรรมโลจิสติกส์ได้ 30 เปอร์เซ็นต์ มูลค่าต้นทุนโลจิสติกส์ที่สามารถลดได้คิดเป็นมูลค่า 13,900,000 บาท คุุณเกษญาภา สุุวรรณบุุตร บริิษััท ศรีีสุุดาเบเกอรี่่ จำำกััด 235/41 ซ.8 ต.มะขามเตี้้ย อ.เมืือง จ.สุุราษฎร์์ธานีี 84000 โทรศัพท์ 0 7721 7470, 09 2635 5989 ที่มา : รายงานประจำปี 2564 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม
23 มี.ค. 2565
ซินิเท็กซ์ อินดัสตรี้
ในแวดวงอุตสาหกรรมสิ่งทอ ซินิเท็กซ์ อินดัสตรี้ ได้รับการยอมรับในฐานะผู้นำด้านการผลิตผ้าใบของไทย ที่มีประสบการณ์ร่วม 20 ปี โดยเฉพาะการทอและเคลือบด้วยพีวีซี ซึ่งบริษัทมีนวัตกรรมการผลิตที่เป็นมาตรฐานสากล สินค้ามีคุณภาพสูง และมีความหลากหลายโดนใจลูกค้าจากทั่วโลก โดยมีสำนักงานใหญ่อยู่ที่ จ.สมุทรปราการ และมีโรงงานตั้งอยู่ที่ จ.ชลบุรี ธุรกิจส่งต่อมาถึงผู้บริหารรุ่น 2 คือ คุณพีระศักดิ์ ศรีรินทราชัย ที่ให้ความสำคัญกับการปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิตมาอย่างต่อเนื่อง ทั้งการลงทุนแผนกวิจัยและพัฒนา สำหรับรองรับลูกค้าแบบมาที่ซินิเท็กซ์ อินดัสตรี้ ที่เดียวตอบโจทย์ได้ครบทุกความต้องการ ส่งผลให้สามารถส่งออกผ้าใบโคลทติ้งไปยังตลาดต่างประเทศในสัดส่วนสูงถึง 80-90 เปอร์เซ็นต์ เช่น ซาอุดีอาระเบีย มาเลเซีย ญี่ปุ่น ฯลฯ เพื่อนำไปผลิตเป็นเต็นท์ผ้าคลุมรถ ผ้าปูตามชายหาด ผ้าปูบ่อแก๊ส ฯลฯ แล้วแต่การต้องการใช้งานของลูกค้าแต่ละราย ขณะเดียวกันยังจัดตั้งแผนก Automation ขึ้นมา หลังจากประสบปัญหาแรงงานฝีมือด้านนีค่อนข้างหายากจึงพยายามมองหานวัตกรรมและเครื่องไม้เครื่องมือที่มาช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน อย่างไรก็ตามการแพร่ระบาดของโควิด-19 ส่งผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจพอสมควร การส่งออกทำได้ยากลำบากเมื่อมีการปิดประเทศ ในระหว่างที่ประคองธุรกิจให้ก้าวผ่านช่วงเวลาที่ยากลำบาก นอกจากจะมีการปรับปรุงระบบการทำงานด้วยหลัก 5ส และหลักไคเซ็น ซินิเท็กซ์ อินดัสตรี้ คิดนอกกรอบต่อยอดความรู้สู่ยานยนต์ไฟฟ้าใช้สำหรับฉีดพ่นแอลกอฮอล์ คุณพีระศักดิ์ ยังสนใจส่งพนักงานเข้าร่วมอบรมกับกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ในกิจกรรมพัฒนาสถานประกอบการ ภายใต้โครงการพัฒนาศักยภาพอุตสาหกรรมยานยนต์ ปีงบประมาณ 2564 “ผลลัพธ์ที่ได้คือ ต้นแบบยานยนต์ไฟฟ้าใช้สำหรับฉีดพ่นแอลกอฮอล์ ซึ่งแผนก Automation ได้ไอเดียจากการฉีดพ่นฆ่าเชื้อก่อนโหลดผ้าไปต่างประเทศ มาต่อยอดประดิษฐ์เป็นยานยนต์ไฟฟ้าตัวต้นแบบ โดยมีอาจารย์ประจำโครงการคอยให้คำปรึกษา ปัจจุบันมีการขยายผลด้วยการผลิตยานยนต์ไฟฟ้าขึ้นมาเพื่อศึกษาและทดลองใช้ภายในโรงงาน ไม่ว่าจะเป็นฉีดพ่นแอลกอฮอล์ ขนย้ายสารเคมี บรรทุกสิ่งของเล็กๆ น้อยๆ จากโรงงานมาออฟฟิศหรือจากแผนกสู่แผนก รวมทั้งนำความรู้ที่ได้จากการอบรมมาประยุกต์ใช้ในกิจกรรมต่างๆ เพื่อปรับปรุงระบบการผลิตของโรงงานอย่างจริงจัง” แน่นอนว่า ซินิ เท็กซ์ อินดัสตรี้ ยืนหนึ่งในอุตสาหกรรมสิ่งทอ ทั้งในแง่ของเครื่องจักรและยอดขายในระดับภูมิภาค แต่ในสถานการณ์ที่ไม่มีความแน่นอน คุณพีระศักดิ์เผยว่า ความอดทนคือสิ่งสำคัญ นอกจากนี้คนทำธุรกิจยังต้องมีแนวคิดใหม่ๆ ตลอดเวลา ไม่ปิดกั้นตัวเองอยู่แต่ในกรอบเดิมๆ รวมทั้งแสวงหาโอกาสใหม่ๆ โดยต่อยอดจากต้นทุนความรู้ความเชี่ยวชาญที่มีอย่างเช่น การพัฒนายานยนต์ไฟฟ้านี้ หากประสบความสำเร็จก็มีความเป็นไปได้ที่จะผลิตเพื่อจำหน่ายหรืออาจขยายเป็นธุรกิจใหม่ต่อไปในอนาคต คุุณพีีระศัักดิ์์ ศรีีริินทราชััย บริิษััท ซิินิิเท็็กซ์์ อิินดััสตรี้้ จำำกััด 889 หมู่่ 4 ถ.สายเกษตร ต.หนองใหญ่่ อ.หนองใหญ่่ จ.ชลบุุรีี 20190 โทรศัพท์ 0 3821 9721-3, 0 3821 9725-8 ที่มา : รายงานประจำปี 2564 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม
22 มี.ค. 2565
มณีจันทร์ ไอโอที โซลูชั่น
เชื่อว่าในช่วงสถานการณ์โควิด-19 น่าจะมีหลายคนได้รับผลกระทบจนรับมือกันแทบไม่ทัน แต่ต้องไม่ใช่กับธุรกิจของคุณไกรสร มณีจันทร์ ซึ่งเดิมทีทำบริษัทเกี่ยวกับระบบ IoT สำหรับสมาร์ทโฮม แต่เมื่อเกิดวิกฤตโควิด-19 หัวเรือใหญ่ของบริษัทจึงต้องการมองหาเครื่อง UVC ไปมอบให้กับโรงพยาบาลต่างๆ จนพบว่าการนำเข้าเครื่อง UVC มีราคาสูงถึง 7 หลักต่อเครื่อง จึงพลิกโฉมบริษัท IoT สู่วงการอุตสาหกรรมอุปกรณ์เครื่องมือแพทย์ทันที “ราคาสูงขนาดนั้นเราคงซื้อไม่ไหวงั้นเราทำเองเลยดีกว่า” แต่การเริ่มต้นก็ไม่ใช่เรื่องง่าย เครื่องมือและอุปกรณ์ในโรงงานต้องมีมาตรฐานทางการแพทย์ ต้องมีมาตรฐานโรงงาน ต้องมีแล็บทดสอบ ต้องได้รับการวินิจฉัยเครื่องมือแพทย์จากสำนักงานอาหารและยา (อย.) ต้องขึ้นบัญชีนวัตกรรม ต้องผ่านการทดสอบทางการแพทย์ ซึ่งกระบวนการทั้งหมดนี้โดยปกติใช้เวลาประมาณ 4 ปี แต่เราทำได้ในเวลาประมาณ 1 ปีครึ่ง และสามารถผลิตเครื่องฆ่าเชื้อด้วยรังสี UVC ได้ถูกกว่่าการนำเข้าถึง 10 เท่า ซึ่งต้องขอบคุณหน่วยงานต่างๆ โดยเฉพาะโครงการพัฒนาศักยภาพและเชื่อมโยงอุตสาหกรรมเครื่องมือแพทย์ กิจกรรมพัฒนาสถานประกอบการด้านมาตรฐานสถานประกอบการผลิตเครื่องมือและอุปกรณ์ทางการแพทย์ของกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม “กระบวนการทำเครื่องมือแพทย์เป็นความรู้ที่เฉพาะทางมากๆ การจะมาถึงจุดนี้ได้เราต้องมีที่ปรึกษาที่ชำนาญการมาสอน มาแนะนำและให้ความรู้ จนเรามีความรู้ความสามารถด้านการผลิตเครื่องมือแพทย์มาก ยิ่งขึ้น” จากการเข้าร่วมโครงการบริษัทสามารถลดต้นทุนการผลิตได้ถึง 57 เปอร์เซ็นต์และยังเพิ่มยอดขายได้มากกว่าเดิม 2.5 เท่า สำหรับจุดเด่นของ V-Free อยู่ที่ความคงทนของวัสดุ ที่เน้นไปที่การตอบโจทย์การใช้งานของโรงพยาบาลในประเทศไทย จึงต้องเป็นสเตนเลสรูปทรงกะทัดรัด ทำให้สามารถดูแลรักษาและจัดการได้ด้วยคนคนเดียว นอกจากนั้นการใช้งานยังผสมผสานระบบ IoT เข้าไปด้วย ทำให้สามารถตรวจสอบการใช้งานได้ว่าใครใช้เครื่องนี้เวลาใด นานเท่าไหร่บ้าง เพื่อให้สอดคล้องกับการกำหนดของ อย. รวมถึงสามารถบันทึกเวลาการใช้งานของหลอด UVC ได้ด้วย เราจึงสามารถตรวจสอบระยะเวลาการใช้งานของหลอด UVC ได้อย่างแม่นยำ ในอนาคต V-Free วางแผนการพัฒนาแพลตฟอร์มให้เชื่อมโยงพื้นที่การใช้งานด้วย เช่น สามารถตรวจสอบได้ว่าหน่วยงานใดใช้งานอยู่บ้าง หน่วยงานใดยังไม่ได้ใช้ ซึ่งหากเชื่อมโยงเข้ากับ Big Data และขยายผลไปสู่แอปพลิเคชันไทยชนะน่าจะช่วยสร้างความอุ่นใจให้กับสถานที่ท่องเที่ยวและการท่องเที่ยวได้มากยิ่งขึ้น คุุณไกรสร มณีีจัันทร์์ บริิษััท มณีีจัันทร์์ ไอโอทีี โซลููชั่่น จำำกััด โทรศัพท์ 09 8264 2374 ที่มา : รายงานประจำปี 2564 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม
22 มี.ค. 2565
อุุบลเวลแพ็ค
จากการมองเห็นโอกาสธุรกิจในพื้นที่เมื่อ 10 ปีก่อน ซึ่งในขณะนั้นปริมาณการใช้ขวดพลาสติกในพื้นที่จังหวัดอุบลราชธานีและจังหวัดใกล้เคียงมีค่อนข้างสูง แต่โรงงานผลิตขวดที่ได้คุณภาพและมาตรฐานยังไม่เพียงพอต่อความต้องการ ทำให้คุณพงศ์ศักดิ์ อุรัจนานนท์ ได้เริ่มต้นสร้างและพัฒนา บริษัท อุบลเวลแพ็ค จำกัด จนกลายเป็นโรงงานรับจ้างผลิตที่ครบวงจรและได้มาตรฐานเป็นเบอร์ต้นๆ ของพื้นที่ในปัจจุบัน บริษัท อุบลเวลแพ็ค จำกัด ร่วมกับ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม เพื่อเข้าร่วมโครงการ 17.1-1 การปฏิรูปอุตสาหกรรมศักยภาพสู่อุตสาหกรรมเพิ่มมูลค่า ปีงบประมาณ 2564 ภายใต้กิจกรรมยกระดับสถานประกอบการด้วยเทคโนโลยี 3 Stage Rocket โดยเน้นการลดต้นทุน และเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตให้เทคโนโลยีสามารถเพิ่มโอกาสทางการแข่งขันให้กับธุรกิจได้มากยิ่งขึ้น เดิมบริษัท อุบลเวลแพ็ค จำกัด มีไลน์การผลิตขวดพลาสติกจำนวน 4 ไลน์แยกตามขนาดของขวด ซึ่งในไลน์การผลิตขวดขนาด 600 มิลลิลิตร จะมีชั่วโมงในการใช้งานตลอด 24 ชั่วโมง 3 กะ และของเสียที่เกิดขึ้นในกระบวนการแยกเป็นหน้าเครื่องเป่าลมร้อนและหลัง เครื่องเป่าลมร้อน จากการตรวจสอบพบว่าปริมาณของเสียที่เกิดขึ้นเกิดทั้งหน้าเครื่องและหลังเครื่องเป่า ซึ่งมีลักษณะแตกต่างกันไป อย่างเช่น ขวดเป็นฝ้า ปีกบี้ ปากบวม เอวคอด เป่าแตก ขวดบุบ คอหนา ก้นเบี้ยว ก้นนูน/รั่วและอื่นๆ มีจำนวนค่อนข้างมาก ในการเก็บและบันทึกข้อมูลการผลิตจะบันทึกโดยพนักงานที่อยู่ในไลน์การผลิตนั้นๆ ซึ่งอาจจะไม่ได้ข้อมูลอุบลเวลแพ็ค เสริมแกร่งเทคโนโลยี สู่บริษัทคุณภาพแห่งอีสานใต้ที่แท้จริง ทำให้ไม่สามารถที่จะประเมินประสิทธิภาพโดยรวม (Overall Equipment Effectiveness : OEE) ของการผลิตได้ และไม่สามารถทราบถึงปัญหาและการปรับปรุงแก้ไขกระบวนการผลิตได้ถูกจุด สำหรับโครงการดังกล่าว นอกจากจะมีผู้เชี่ยวชาญลงพื้นที่มาร่วมวิเคราะห์ปัญหา เพื่อหาแนวทางการพัฒนากระบวนการผลิตเทคโนโลยีและความคุ้มค่าในการลงทุนแล้ว ยังได้รับคำแนะนำในการพัฒนาธุรกิจ รวมถึงได้รับการพัฒนากระบวนการผลิตด้วยเทคโนโลยีดิจิทัลอีกด้วย ซึ่งผลลัพธ์ที่ได้คือบริษัทสามารถลดแรงงานคนลงได้ และสามารถลดต้นทุนและของเสียลงได้ 34.75 เปอร์เซ็นต์ คิดเป็นมูลค่าประมาณ 360,000 บาทต่อปี “ในส่วนของบริษัท อุบลเวลแพ็ค จำกัด ได้รับการพัฒนาแมชชีน มอนิเตอริ่ง (Machine Monitoring) ซึ่งทำให้เราบริหารจัดการธุรกิจได้สะดวกสบายมากยิ่งขึ้น เพราะเดิมทีถ้าเราจะดูประสิทธิภาพการทำงานของเครื่องจักร เราต้องเดินไปดูหน้าเครื่อง การแก้ไขหรือรับมือปัญหาจะทำได้ค่อนข้างยาก แต่หลังจากเข้าร่วมโครงการมีผู้เชี่ยวชาญมาแนะนำและพัฒนาระบบ IoT กับ Sensor ร่วมกัน เราก็สามารถตรวจสอบการทำงานของเครื่องจักรผ่านระบบ IoT ได้ทันที เห็นปัญหาและแก้ไขได้รวดเร็วขึ้น เมื่อรับรู้เร็วขึ้นของเสียก็จะน้อยลง เรียกได้ว่าเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพเพื่อลดต้นทุน ลดของเสียเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน และเพิ่มกำไรให้กับธุรกิจไปได้พร้อมๆ กัน” นับเป็นอีกหนึ่งความสำเร็จของกรมส่งเสริมอุตสาหกรรมที่เสริมเขี้ยวเล็บและติดอาวุธทางธุรกิจให้กับผู้ประกอบการได้อย่างน่าสนใจ คุุณพงศ์์ศัักดิ์์ อุุรััจนานนท์ บริิษััท อุุบลเวลแพ็็ค จำำกััด 205 บ้้านดอนชาด ต.บุ่่งหวาย อ.วาริินชำราบ จ.อุบลราชธานี โทรศัพท์ 08 9511 4009, 08 8378 5005 ที่มา : รายงานประจำปี 2564 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม
22 มี.ค. 2565
เครื่องปั้นดินเผาม่อนเขาแก้
จังหวัดลำปางมีชื่อเสียงเรื่องเครื่องปั้นดินเผา หนึ่งในแหล่งผลิตงานปั้นแฮนด์เมดเลื่องชื่อคือ บ้านม่อนเขาแก้ว ที่อนุรักษ์สืบสานภูมิปัญญางานปั้นมาแต่บรรพบุรุษ และมีการรวมกลุ่มกันอย่างแข็งแกร่งเป็นวิสาหกิจชุมชนเครื่องปั้นดินเผาม่อนเขาแก้วในปี 2548 ปัจจุบันมีคุณวันดี แปลกปลาดเป็นประธานกลุ่มฯ เครื่องปั้นดินเผาม่อนเขาแก้วผลิตจากดินเหนียว และดินโป่งมันขึ้นรูปชิ้นงานด้วยมือล้วนๆ โดยใช้แป้นหมุนเป็นตัวช่วยทำให้ผลิตภัณฑ์แต่ละชิ้นมีเอกลักษณ์เหมือนมีเพียงชิ้นเดียวในโลก ก่อนจะนำไปเผาด้วยอุณหภูมิ 900 องศาเซลเซียส มีฟางข้าวและฟืนเป็นเชื้อเพลิงกลบด้วยขี้เถ้าแกลบอีกชั้นหนึ่ง จนกระทั่งได้เครื่องปั้นดินเผาที่สวย ทนทาน พร้อมจำหน่ายสู่ตลาด การันตีด้วยรางวัล OTOP ระดับ 5 ดาว สำหรับผลิตภัณฑ์ที่ขายดีคือ หมอน้ำดินเผา กาน้ำดินเผา กระถางต้นไม้ดินเผา ฯลฯ เรียกว่าผลิตออกมาเท่าไร พ่อค้าคนกลางก็รับซื้อไว้ทั้งหมดเพื่อกระจายส่งขายไปทั่วประเทศ แต่ปัญหาคือผลิตภัณฑ์ส่วนใหญ่ผลิตตามแบบที่พ่อค้าคนกลาง สั่งโดยไม่มีการประยุกต์แบบหรือเทคนิคใหม่ๆ ทำให้เครื่องปั้นดินเผาไม่มีความหลากหลายและขาดความโดดเด่นที่จะบ่งบอกว่าเป็นผลิตภัณฑ์ที่มาจากบ้านม่อนเขาแก้ว “เพราะต้องการจะเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและหาเอกลักษณ์ให้กับทางกลุ่มเราจึงได้เข้าร่วมอบรมเครื่องปั้นดินเผาม่อนเขาแก้ว ยกระดับการผลิตปลุกปั้นงานแฮนด์เมดชุมชนในกิจกรรมยกระดับกระบวนการผลิตสู่อุตสาหกรรมศักยภาพ (Process Transform) ซึ่งทางกรมส่งเสริมอุตสาหกรรมก็ได้ลงพื้นที่มาช่วยวิเคราะห์และให้คำแนะนำในการใช้เตาเผาเพื่อปรับปรุงการผลิตของสินค้าแฮนด์เมดให้ดียิ่งขึ้น ขณะเดียวกันก็ส่งเสริมการผลิตเครื่องปั้นดินเผารูปแบบใหม่ๆ อย่างของแต่งบ้าน ของแต่งสวนกระจุกกระจิก รวมทั้งสอนเรื่องการทำการตลาดและแนะนำให้วิสาหกิจชุมชนในฐานะผู้ผลิต ได้เรียนรู้การใช้ช่องทางออนไลน์ขายสินค้าด้วยตนเอง” ผลจากการเข้าร่วมโครงการทำให้ทางกลุ่มมีประสิทธิภาพการผลิตเพิ่มขึ้น 42.86 เปอร์เซ็นต์ ที่สำคัญช่วยยอดขายปรับเพิ่มขึ้น 100 เปอร์เซ็นต์ ทั้งนี้ ในช่วงการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ที่ ผ่านมา ปรากฏว่ากระถางต้นไม้ทุกไซส์ขายดีอย่างมาก เนื่องจากช่วงที่คนอยู่บ้านหรือ Work from Home ก็ได้ใช้ช่วงเวลาดังกล่าวปลูกต้นไม้ทำสวนกัน ทำให้วิสาหกิจชุมชนยิ้มได้ เพราะมีรายได้ต่อเนื่องจากอาชีพที่บรรพบุรุษส่งต่อมาจากรุ่นสู่รุ่น เพื่อขับเคลื่อนวิสาหกิจสู่ความยั่งยืนจากนี้ไป คุณวันดีก็มีความตั้งใจที่จะผลักดันให้บ้านม่อนเขาแก้วเป็นแหล่งเรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นและศูนย์ฝึกอาชีพประจำตำบล โดยเฉพาะการฝึกอบรมคนรุ่นใหม่ให้มีส่วนอนุรักษ์การทำเครื่องปั้นดินเผาเป็นอาชีพ ควบคู่ไปกับการเรียนรู้เทคโนโลยีการผลิตและองค์ความรู้ใหม่ๆ เพื่อนำมาปรับปรุงการผลิตและพัฒนาผลิตภัณฑ์ เครื่องปั้นดินเผาอย่างไม่หยุดยั้งต่อไป คุุณวัันดีี แปลกปลาด วิิสาหกิิจชุุมชน เครื่่องปั้นดิินเผา ม่่อนเขาแก้้ว 76 หมู่่ 3 ต.พิิชััย อ.เมืือง จ.ลำำปาง 52000 โทรศัพท์ 08 1387 6129, 08 3320 7940 ที่มา : รายงานประจำปี 2564 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม
22 มี.ค. 2565
ชุมชนบ้านม้าน้ำ
บ้านน้ำม้า คือ แหล่งท่องเที่ยวชุมชนของคนรักสุขภาพที่อุดมไปด้วยพืชผักสมุนไพรและวิถีธรรมชาติ ตั้งอยู่ในตำบลสถาน อำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย ดำเนินการโดยวิสาหกิจชุมชนท่องเที่ยวชุมชนบ้านน้ำม้า ซึ่งก่อตั้งขึ้นในปี 2561 มีสมาชิกที่ 20 คน โดยการนำของ คุณชนิดาภา ดวงปัน ประธานวิสาหกิจชุมชนท่องเที่ยวชุมชนบ้านน้ำม้า ผู้เชื่อมั่นในศักยภาพของพื้นถิ่น จึงนำความรู้จากการไปศึกษาดูงานมาพัฒนาบ้านเกิดให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวชุมชน คุุณชนิดาภาเริ่มจากเปิดบ้านของตนเองเป็นโฮมสเตย์ ก่อนชักชวนคนในชุมชนมาทำการท่องเที่ยวร่วมกัน โดยชูจุดขายเป็นแหล่งท่องเที่ยวชุมชนเชิงสุขภาพวิถีสมุนไพรที่มีกิจกรรมหลากหลาย เช่น ทำของที่ระลึกจากผ้าทอใยไผ่ เรียนรู้การทำชาใบไผ่ และกล้วยฉาบ โดยทุกกิจกรรมจะได้เรียนรู้วิถีชีวิตของชุมชนไปพร้อมกันด้วย ผลพลอยได้จากการทำท่องเที่ยวชุมชน คือ ผลิตภัณฑ์ที่สร้างชื่อเสียงให้กับบ้านน้ำม้าอย่าง “ชาโมโรเฮยะ” และ “ชาใบไผ่” ที่จำหน่ายภายใต้แบรนด์ NAM MA (น้ำม้า) ซึ่งอุดมไปด้วยคุณประโยชน์เพื่อสุขภาพ และคุณค่าทางโภชนาการ ขณะที่ปัจจุบันยังได้รับการสนับสนุนจากมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง พัฒนาผลไม้พื้นบ้านหลากสรรพคุณอย่างตะคร้อ ผลิตภัณฑ์เป็นเครื่องสำอางแบรนด์ “NAM” (น้ำ ) อีกด้วย โดยทำตลาดผ่านการออกบู๊ธตามงานต่างๆ และขายผ่านช่องทางออนไลน์ ทำให้ชื่อของบ้านน้ำม้ากลายเป็นที่รู้จักและสร้างรายได้เพิ่มให้กับชุมชน หลังการท่องเที่ยวได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โควิด-19 ทำให้ขาดรายได้จากนักท่องเที่ยว คุณชนิดาภาจึงมีความคิดที่ิอยากปรับปรุงและพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชน เพื่อสร้างแหล่งรายได้ที่มั่นคงขึ้น จึงได้เข้าร่วมกิจกรรมพลิกฟื้นธุรกิจด้วยการส่งเสริมองค์ความรู้ที่เหมาะสมให้ผู้ประกอบการ เพื่อเพิ่มศักยภาพการประกอบธุรกิจในยุค Next Normal โดยกองพัฒนาอุตสาหกรรมชุมชน กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม จากโครงการนี้เองที่ทำให้วิสาหกิจชุมชนบ้านน้ำม้าได้รับการสนับสนุนเครื่องอบแห้งลมร้อนที่มาทดแทนการคั่วด้วยมือเพื่อลดระยะเวลาในการผลิตลง จนทำให้สามารถผลิตชาเพื่อสุขภาพที่มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้นจากเดิมได้ถึงกว่า 200 เปอร์เซ็นต์ “จากการเข้าร่วมกิจกรรมนี้ทำให้เราได้รับเครื่องอบมาซึ่งช่วยให้สามารถลดต้นทุนด้านแรงงานและพลังงาน ความร้อนจากกระบวนการผลิตลงได้ถึงหลักแสนบาทต่อปี รวมถึงลดระยะเวลาในการผลิตลงได้ถึงประมาณ 46 เปอร์เซ็นต์ แม้ตอนนี้ด้วยสถานการณ์โควิดทำให้ธุรกิจท่องเที่ยวยังเปิดไม่ได้เต็มที่แต่ทางกลุ่มฯ ก็ใช้เวลานี้ในการหาองค์ความรู้ใหม่ๆ มาพัฒนาตนเองและเตรียมความพร้อมด้านผลิตภัณฑ์ของเรา โดยอยากพัฒนาให้มีมูลค่าเพิ่มขึ้นเป็นที่รู้จักในตลาดมากขึ้น หากมีโอกาสก็อยากไปตลาดต่างประเทศดูควบคู่ไปกับพัฒนาการท่องเที่ยวของเราให้ยั่งยืน ชุมชนเป็นที่รู้จัก ผู้คนอยู่ดี กินดี มีรายได้ อยู่ด้วยความสามัคคี นี่คือ เป้าหมายที่อยากทำให้ได้หลังจากนี้” คุณชนิดาภากล่าวว่า เป้าหมายของธุรกิจไม่ใช่ใครคนใดคนหนึ่งได้แต่เป็นการได้ร่วมกันของคนทั้งชุมชน และนี่คือดัชนีวัดความสำเร็จที่แท้จริง คุุณชนิิดาภา ดวงปััน วิิสาหกิิจชุุมชนท่่องเที่่ยว ชุุมชนบ้้านน้ำม้้า 10 ต.สถาน อ.เชีียงของ จ.เชีียงราย 57140 โทรศัพท์ 09 3169 2465 ที่มา : รายงานประจำปี 2564 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม
22 มี.ค. 2565
สามล้อซิ่ง
จากอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นตอนเรียนมหาวิทยาลัยชั้นปี 1 ส่งผลให้ คุณวีระชาติ สีหาบง ไม่สามารถเคลื่อนไหวร่างกายท่อนล่างได้ แต่ด้วยแรงกายแรงใจที่ยังมีและต้องการทำให้ครอบครัวภูมิใจ ทำให้สังคมเห็นว่าผู้พิการก็สามารถทำงานหาเลี้ยงชีพด้วยตัวเองได้เหมือนกัน จึงตัดสินใจเปิดร้านซ่อมรถมอเตอร์ไซค์ขนาดเล็ก ด้วยเงินทุนจากเบี้ยยังชีพผู้พิการเดือนละ 500 บาท โดยในช่วงแรกของการเริ่มต้นธุรกิจเป็นไปด้วยความยากลำบาก เพราะสภาพร่างกายไม่เอื้ออำนวยต้องนั่งวีลแชร์ปะยาง เปลี่ยนยาง และซ่อมรถ ประกอบกับลูกค้าทั่วไปยังไม่มีความมั่นใจในฝีมือของเรา จนกระทั่งกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม นำโดยศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 5 เข้ามาช่วยเหลือพร้อมโครงการพัฒนาศักยภาพอุตสาหกรรมยานยนต์สมัยใหม่ ซึ่งช่วยคิด ช่วยออกแบบ จัดหาอุปกรณ์ต้นแบบ เช่น ล้อ แบตเตอรี่ กระจังหน้า กระจกนิรภัย อะไหล่ ตามที่กรมการขนส่งทางบกกำหนด รวมถึงพาบริษัทต่างๆ มาให้ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาผลิตภัณฑ์และการทำธุรกิจ จนเราสามารถพัฒนาระบบถอยหลังและประตูท้ายรถที่ควบคุมการเปิดปิดด้วยระบบไฟฟ้าได้ในที่สุด ส่วนดีไซน์ของรถทีมีทั้งกระจกที่ปัดน้ำฝน ไฟส่องสว่าง สัญญาณไฟเลี้ยว ไฟถอย สัญญาณฉุกเฉิน ก็ได้รับการออกแบบมาอย่างดีไม่แพ้กัน “ปัจจุบันแบรนด์ของเราอยู่ในขั้นตอนรอการอนุมัติจากกรมการขนส่งทางบก เพื่อให้รถที่ประกอบจากเราสามารถต่อทะเบียนได้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย” หลังจากเข้าร่วมโครงการกับกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม แบรนด์สามล้อซึ่งมีชื่อเสียงและทิศทางการเติบโตที่ดีมากยิ่งขึ้น จากปีหนึ่งที่เคยมีลูกค้ามาสั่งประกอบรถจักรยานยนต์สามล้อ (ระบบปกติ) เฉลี่ยปีละ 2 คัน กลายเป็นรถจักรยานยนต์สามล้อ (ระบบไฟฟ้า) เฉลี่ยเดือนละ 1 คัน ซึ่งสูงกว่าเดิมถึง 6 เท่า คุณวีระชาติได้ทิ้งท้ายไว้อย่างน่าสนใจว่าจะนำความรู้ที่ได้รับจากการเข้าร่วมโครงการฯ ไปพัฒนาต่อยอดธุรกิจและผลิตภัณฑ์ให้ตอบโจทย์ ตรงตามความต้องการและงบประมาณของลูกค้าให้มากยิ่งขึ้น เช่น การเลือกประกอบหรือดัดแปลงเป็นส่วนๆ ไป เพราะลูกค้าบางคนอาจต้องการเพียงระบบถอยหลังไฟฟ้า บางคนอยากได้แค่หลังคา ก็ให้ลูกค้าได้เลือกในจุดที่ต้องการตามความเหมาะสมกับการใช้งานจริงให้ได้มากที่สุด “ผมเชื่อว่า ถ้าเราทำธุรกิจด้วยใจรัก ยังไงมันก็สามารถต่อยอดไปได้ ส่วนผลตอบแทนจะดีหรือไม่ดี อันนี้อยู่ที่ความตั้งใจและความพยายาม แม้ว่าจะไม่ถึงขั้นรวย แต่อย่างน้อยเราจะมีความสุขอย่างแน่นอน” คุุณวีีระชาติิ สีีหาบง แบรนด์์ สามล้้อซิ่่ง 90/1 หมู่่ 8 ต.สะอาด อ.น้ำพอง จ.ขอนแก่่น 40310 โทรศัพท์ 09 4918 1096 ที่มา : รายงานประจำปี 2564 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม
22 มี.ค. 2565
ชาวบ้านสยาม
พริกคั่วงาและน้ำพริกในบรรจุภัณฑ์ทันสมัย ใช้ชื่อแบรนด์เรียบง่ายว่า “ชาวบ้าน” วางขายอยู่ในห้างสรรพสินค้าหรูอย่างไอคอนสยาม ทั้งยังได้รับการคัดสรรเป็น OTOP 5 ดาว ได้ตั้งแต่ปีแรกที่เข้าร่วมโครงการ สะท้อนความไม่ธรรมดาของ “ห้างหุ้นส่วนจำกัดชาวบ้านสยาม” ผู้ประกอบการจากจังหวัดนครสวรรค์ ที่เปิดกิจการมาตั้งแต่ปี 2560 โดยคู่แม่ลูก “คุณมลิวรรณ์และคุณกิตติยา วิไลรัตน์” ผู้ก่อตั้งชาวบ้านสยาม ในระยะแรกชาวบ้านสยามเริ่มจากผลิตสินค้าเพียงตัวเดียว คือ นํ้าพริกเผาตำมือบรรจุขวดแก้ว ต่อมาได้พัฒนาน้ำพริกเผาผัดนํ้ามันมะพร้าวรสชาติต่างๆ ออกมาจำหน่าย จากนั้นขยายไปสู่ตลาดขนมขบเคี้ยวโดยทำหมูหยองทรงเครื่อง รวมถึงผลิตภัณฑ์ตัวเอกอย่าง “พริกคั่วงา” รสชาติไทยๆ ออกสู่ตลาด จุดเด่นของผลิตภัณฑ์ คือ ไม่มีสีสังเคราะห์ ไม่ใส่ผงชูรสและสารกันบูด ทั้งยังคัดสรรวัตถุดิบธรรมชาติสดใหม่ เพื่อให้ได้มาตรฐานสุขอนามัยและความปลอดภัยสูงสุด โดยจำหน่ายสินค้าในแบรนด์ตัวเองประมาณ 60 เปอร์เซ็นต์ที่เหลือคือรับจ้างผลิต (OEM) 2 ปีหลังก่อตั้ง ธุรกิจชาวบ้านสยามได้รับการคัดสรรเป็น OTOP 5 ดาว ซึ่งเป็นปีแรกที่เข้าร่วมโครงการ และยังได้รับการคัดเลือกให้เข้าไปขายในโซนสุขสยามของห้างสรรพสินค้าไอคอนสยาม ทำให้มีโอกาสเข้าถึงลูกค้าชาวต่างชาติ จนกลายเป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้รับความนิยมทั้งจากลูกค้าชาวเอเชียและตะวันออกกลางที่เดินทางมาประเทศไทย นอกจากนี้ยังทำตลาดผ่านร้านของฝากและช่องทางออนไลน์ ทำให้แบรนด์กลายเป็นที่รู้จักและยอมรับทั้งในกลุ่มผู้บริโภคชาวไทยและต่างชาติในเวลาต่อมา จนต้องเพิ่มกำลังการผลิตอย่างต่อเนื่อง ที่มาของการขยายโรงงานใหม่เ พื่อให้ได้มาตรฐานและปูทางสำหรับการส่งออกที่จะเริ่มในปี 2565 โดยทายาทรุ่น 2 คุณกิตติยา วิไลรัตน์ ได้เข้าร่วมกิจกรรม “ยกระดับมาตรฐานและเพิ่มผลิตภาพการแปรรูปผลผลิตทางการเกษตร” ภายใต้โครงการ 3.1-1 การส่งเสริมเกษตรอุตสาหกรรมครบวงจร ของกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ผลลัพธ์ที่ได้คือโรงงานได้รับอนุญาตให้เป็นสถานที่ผลิตอาหาร (GMP กฎหมาย) ผลิตภัณฑ์ได้รับอนุญาตเลขทะเบียน อย. และมีมาตรฐานพร้อมขยายตลาดส่งออกได้ตามแผน “หลังจากร่วมกิจกรรมดังกล่าว การดำเนินการขอมาตรฐานต่างๆ ทำได้ง่ายขึ้นมาก นอกจากนี้เรายังได้คำแนะนำจากที่ปรึกษา นการลดต้นทุน และความสูญเสียในกระบวนการผลิตลงด้วย โดยการนำของเสียจากกระบวนการผลิตมาแปรรูปเป็นสินค้าใหม่เพื่อเพิ่มมูลค่า ซึ่งคาดว่าจะมียอดขายเพิ่มขึ้นได้ถึงประมาณ 10-15 เปอร์เซ็นต์” เมื่อมีโรงงานผลิตที่พร้อม เป้าหมายในการทำตลาดต่างประเทศก็มีความชัดเจนขึ้น โดยขณะนี้อยู่ระหว่างส่งสินค้าตัวอย่างไปยังประเทศโอมาน และคาดว่าจะสามารถเปิดตลาดได้ภายในปี 2565 ขณะที่ในประเทศก็มองที่จะเปิดเป็นหน้าร้านของตัวเองในอนาคต รวมถึงแผนการขยายตลาด OEM และโฟกัสช่องทางออนไลน์ให้มากขึ้น ตลอดจนพัฒนาสินค้าและสร้างแบรนด์ให้แข็งแกร่ง เพื่อให้ชื่อของ “ชาวบ้าน” ได้เติบใหญ่ และครองใจคนทั่วโลก คุุณกิิตติิยา วิิไลรัตน์ ห้้างหุ้้นส่่วนจำำกััด ชาวบ้้านสยาม 222 หมู่่ที่่ 2 ซ.ยางโทน 11 ถ.สวรรค์์วิิถีี ต.สวรรค์์ตก อ.เมืือง จ.นครสวรรค์์ 60000 ที่มา : รายงานประจำปี 2564 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม
22 มี.ค. 2565
ทีไออี สมาร์ท โซลููชั่่น
วิกฤตพลังงาน คือ ปัญหาสำคัญของโลก สำหรับอาคารขนาดใหญ่ที่มีการใช้พลังงานในปริมาณมาก หากสามารถร่วมกันประหยัดพลังงานลงได้ นอกจากจะช่วยลดต้นทุนของตัวเองแล้วยังเป็นการสร้างความยั่งยืนด้านพลังงานให้กับโลกได้อีกด้วย หนึ่งในฮีโร่กู้พลังงาน คือ บริษัท ทีไออี สมาร์ท โซลูชั่น จำกัด ซึ่งก่อตั้งในปี 2560 โดยทีมวิศวกรผู้เชี่ยวชาญด้านระบบปรับอากาศขนาดใหญ่ที่ใช้ในอาคารและโรงงาน รวมถึงด้านการสื่อสารแบบไร้สายและไอโอทีขั้นสูง พวกเขาให้บริการติดตั้งระบบและแก้ปัญหาด้านการจัดการพลังงาน และความชื้นในอาคารขนาดใหญ่ของไทยไปแล้วกว่า 50 อาคาร และเพิ่มผลิตภาพกระบวนการผลิตไปในกว่า 25 โรงงาน อีกด้วย ผศ. ดร. เด่นชัย วรเดชจำเริญ CEO – TIE Smart Solutions อธิบายให้ฟังว่า ทีไออี สมาร์ท โซลูชั่น คือ ธุรกิจให้บริการที่ปรึกษาด้านการจัดการพลังงานและการวินิจฉัยปัญหาในกลุ่มอาคารเขียว โรงงานและอาคารทั่วไป โดยสร้างและพัฒนาแพลตฟอร์มอัจฉริยะที่มีความซับซ้อนให้บริการวิเคราะห์และตรวจสอบคุณภาพการใช้พลังงานอาคารอัตโนมัติ ด้วยการผสานเทคโนโลยี IoT และ AI แบบเรียลไทม์ให้คำปรึกษาและแก้ไขปัญหาที่เกิดจากการผิดพลาดจากการออกแบบ การตรวจรับอาคาร และการดำเนินงานได้อย่างตรงจุด โดยเปิดตัวด้วยผลิตภัณฑ์ชื่อ AI Energy Platform ซึ่งสามารถการันตีการประหยัดพลังงานลงได้อย่างน้อย 15 เปอร์เซ็นต์ ปี 2561 ทีไออีสมาร์ท โซลูชั่น ได้เข้าโครงการ Delta Angel Fund ปีที่ 3 ของกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม และร่วมกิจกรรมกับทางกรมฯ มาอย่างต่อเนื่อง จนปลายปี 2563 ได้เข้าร่วมกิจกรรมเชื่อมโยงตลาดสำหรับวิสาหกิจเริ่มต้น การระดมทุนจาก บริษัท Ensol Co., Ltd ที่รปึกษาด้านการจัดการพลังงานชั้นนำของประเทศไทย ภายใต้กลุ่มธุรกิจ Panya Group รอบ Pre-series A ที่มูลค่าบริษัท 100 ล้านบาท ในสัดส่วน 3% เพื่อร่วมต่อยอดขยายตลาด deep tech HVAC product (สินค้าทางด้านระบบปรับอากาศขั้นสูง) อาทิ ระบบปรับอากาศแบบ smart chillerและ smart variable refrigerant flow (VRF)รวมถึงร่วมเป็นผู้นำด้าน การพัฒนา building energy management system (BEMS) ขั้นสูงเพื่อการลงทุน energy optimization solution ในอนาคต ตอบโจทย์ Net zero energy องค์ความรู้ที่ได้จากโครงการยังนำไปต่อยอดโดยการเตรียมตัวระดมทุนต่อนักลงทุน (VC) ระดับแนวหน้าของไทย และเรียนรู้การขยายตลาดไปยังเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในอีก 2 ปีข้างหน้า เพื่อปรับโมเดลธุรกิจให้เติบโตอย่างก้าวกระโดด โดยสามารถขยายไปยังตลาดเวียดนามเพิ่มมูลค่าธุรกิจเป็น 2 เท่า หรืออยู่ที่ 200 ล้านบาทในปี 2564 และมียอดขายเพิ่มขึ้นกว่า 10 ล้านบาท “การได้เข้าร่วมกิจกรรม Startup Connect และมีคอนแท็กต์กับทางกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ทำให้เรามีคอนเน็กชันที่ดีช่วยต่อยอดธุรกิจต่อไปได้อีกมาก ซึ่ง ในอนาคตนอกจากประเทศไทย มองว่ายังมีโอกาสที่จะ ขยายธุรกิจออกไปในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ด้วย เนื่องจากสภาพอากาศใกล้เคียงกับเราและยังมีอาคารอยู่ จำนวนมาก โดยปัจจุบันเรายังพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการ ของเราอย่างต่อเนื่องเพื่อช่วยแก้ไขปัญหาอาคารและการ บริหารจัดการต่างๆ ได้ดีขึ้น” เมื่อให้มองถึงศักยภาพของธุรกิจด้านพลังงาน ที่ทำอยู่ คุณวสกกล่าวว่า ยังมีโอกาสเติบโตได้อีกมาก เนื่องจากปัญหาด้านสภาวะอากาศที่ทำให้คนตระหนัก ในเรื่องการใช้พลังงานมากขึ้น ซึ่งนั่นสะท้อนโอกาสในธุรกิจ ของพวกเขา ผศ. ดร. เด่นชัย วรเดชจำเริญ CEO – TIE Smart Solutions บริิษััท ทีีไออีี สมาร์์ท โซลููชั่่น จำำกััด 1706/26 ถนนพระราม 6 แขวงรองเมืือง เขตปทุุมวััน กทม. 10330 โทรศัพท์ 0 2102 3387, 09 4850 3366 https://www.tie-smart.co.th/ ที่มา : รายงานประจำปี 2564 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม
21 มี.ค. 2565
พาราเทค โพลีเมอร์ โปรดักส์
จากประสบการณ์หลายปีที่เคยทำงานอยู่ในบริษัทผลิตชิ้นส่วนช่วงล่างรถยนต์สัญชาติญี่ปุ่น จุดประกายให้ คุณคณิศร์ พรหมช่วย กรรมการผู้จัดการ บริษัท พาราเทค โพลีเมอร์ โปรดักส์ จำกัด เกิดความคิดอยากสร้างธุรกิจของตัวเองเพื่อประกาศศักยภาพแบรนด์ไทยในตลาด จึงก่อตั้งธุรกิจขึ้นเมื่อปี 2542 ผลิตชิ้นส่วนรถยนต์ช่วงล่าง ประเภทโครงสร้างกันสะเทือน (Rubber-Anti-Vibration) สำหรับรถบรรทุกปิกอัพ และรถยนต์นั่งส่วนบุคคล ทั้งรับจ้างผลิต (OEM) และจำหน่ายภายใต้แบรนด์ตัวเอง ในชื่อ ซุปเปอร์แรด (SUPER RAD) กว่า 2 ทศวรรษในธุรกิจ พวกเขามุ่งผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ที่มีคุณภาพ เชื่อถือได้และได้มาตรฐานสากล โดยการพัฒนาสินค้า และกระบวนการผลิตด้วยเทคโนโลยี ที่ทันสมัย เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้า และมุ่งพัฒนาบุคลากรอย่างต่อเนื่องเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงในโลกยุคใหม่ จากการพัฒนาตัวเองไม่หยุดนิ่งเรียนรู้และเปิดรับเทคโนโลยีสมัยใหม่ ทั้งยังเชื่อมั่นในศักยภาพของผู้ผลิตไทยในอุตสาหกรรมเดียวกัน คุณคณิศร์จึงได้นำบริษัทฯ เข้าร่วมกิจกรรมการยกระดับการรวมกลุ่มและเชื่อมโยงอุตสาหกรรมกลุ่มหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติสู่คลัสเตอร์ 4.0 ของกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม เพื่อสร้างพันธมิตรทางธุรกิจ นำวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและนวัตกรรมมา ประยุกต์ใช้ในกิจการของตนเอง เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจและนำไปสู่การพัฒนาธุรกิจอย่างยั่งยืน “ที่ตัดสินใจเข้าร่วมกิจกรรมกับทางกรมฯ เพราะผมมองเห็นปัญหาใหญ่ที่เกิดกับองค์กรทั้งในปัจจุบัน และอนาคต นั่นคือปัญหาการขาดแคลนแรงงาน และต้นทุน ค่าแรงที่ยากจะควบคุม จึงเห็นความสำคัญของการเอา หุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติเข้ามาช่วยในกระบวนการ ผลิตของเรา โดยไม่ได้นำมาใช้เพื่อลดคนแต่เพื่อเพิ่ม ประสิทธิภาพให้มากขึ้น เพราะเราเองก็อยากให้ธุรกิจ โตขึ้น ช่วยให้บริษัทลดต้นทุนได้กว่า 1.5 แสนบาท/ปี ซึ่งหลังจากร่วมกิจกรรมนี้ทำให้เราได้พันธมิตรทางธุรกิจ ได้โซลูชั่นและเครื่องมือมาแก้ปัญหาการทำงานของเรา ได้ตามโจทย์ที่ต้องการ โดยจากระบบที่ลงทุนไปคาดว่า จะคุ้มทุนได้ภายใน 1 ปี” สำหรับเป้าหมายในอนาคต คุณคณิศร์กล่าวว่า ให้ความสำคัญใน 3 เรื่อง คือ 1. การสร้างผลิตภัณฑ์ที่หลากหลาย โดยทุ่มเทวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ ขณะเดียวกันก็นำสินค้าของเพื่อนร่วมอุตสาหกรรม มาขายเพื่อสร้างความหลากหลายด้วย 2. นำ ระบบ อัตโนมัติมาใช้ในการทำงานมากขึ้น เพื่อลดเวลา ลดคน เพิ่มประสิทธิภาพ 3. ปรับปรุงพัฒนาด้านการตลาด โดยสร้างช่องทางการขายที่หลากหลาย ทั้งผ่านพนักงานขาย ช่องทางออฟไลน์และออนไลน์ ซึ่งปัจจุบันผลิตภัณฑ์ของพวกเขามีวางขายใน Lazada แล้ว จากการเรียนรู้และลงมือทำด้วยตัวเอง เพื่อปูทางสร้างธุรกิจให้แข็งแกร่งในโลกยุคใหม่ โดยไม่ต้องทำคนเดียวแต่เติบโตร่วมกันทั้งอุตสาหกรรมสำหรับเป้าหมายในอนาคต คุุณคณิิศร์์ พรหมช่่วย บริิษััท พาราเทค โพลีีเมอร์์ โปรดัักส์์ จำำกััด 480 หมู่่ที่่ 1 ถ.สุุขุุมวิิทสายเก่่า ต.บางปูู อ.เมืือง จ.สมุุทรปราการ 10280 www.autopartthailand.com โทรศัพท์ 0 2005 5494 ที่มา : รายงานประจำปี 2564 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม
21 มี.ค. 2565