หมวดหมู่
เทพอินทราชัย แมนู แฟคเจอริ่ง
Upcycling สินค้าแฟชั่น ตอบโจทย์เทรนด์รักษ์โลก 40 ปีที่บริษัท เทพอินทราชัย แมนูแฟคเจอริ่ง จำกัด ผลิตเสื้อผ้าและสินค้าแฟชั่นป้อนให้กับภาครัฐและภาคธุรกิจของประเทศเพื่อเสริมสร้างภาพลักษณ์ที่ดี ให้กับองค์กร จากการผลิตตามแบบในยุคบุกเบิกมาในยุคผู้บริหารเจเนอเรชันที่ 2 คุณยุทธนา เหล่าผดุงรัชกัร ก็ให้ความสำคัญกับการพัฒนาสินค้าด้วยนวัตกรรมและดีไซน์ รวมทั้งกระบวนการผลิตที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อม ที่นี่ถือเป็นโรงงานการ์เมนต์เพียงไม่กี่แห่งในประเทศที่ได้รับรางวัล Green Factory ด้วยความที่บริษัทมีไลน์การผลิตสินค้าที่ครบวงจร ตั้งแต่่หมวก กระเป๋า เสื้อยืด เสื้อโปโล เสื้อแจ็กเกต ฯลฯ จึงตอบโจทย์ลูกค้าในลักษณะ B2B ที่ต้องการความ หลากหลายของผลิตภัณฑ์ แบบสั่งที่เดียวได้ครบทุกไอเทม ขณะเดียวกันยังเลือกใช้วัตถุดิบที่มีคุณภาพและแสวงหา ความแตกต่างมานำเสนอลูกค้าอยู่เสมอ เช่น การออกแบบ และผลิตเสื้อผ้าจากเส้นใยขวดพลาสติก (Recycled PET) ที่กำลังเป็นเทรนด์นิยมในเวลานี้ เทคโนโลยีเปลี่ยนเร็ว สินค้าแฟชั่นก็เปลี่ยนเร็วเช่นกันและต้องยอมรับว่าอุตสาหกรรมแฟชั่นสร้างขยะให้กัับโลกไม่น้อย คุณยุทธนาในฐานะผู้นำองค์กรมีความตื่นตัว และสนใจรับข่าวสารของกรมส่งเสริมอุตสาหกรรมเป็นประจำอยู่แล้ว ทั้งยังเข้าร่วมอบรมโครงการต่างๆ โดย ในช่วง 6 ปีที่ผ่านมา บริษัทได้ส่งเสริมการผลิตภายใต้ระบบ Lean ทำให้มีความสนใจที่จะนำ เศษวัสดุเหลือใช้ต่่างๆ กลับมาใช้ให้เกิดประโยชน์ไม่ทิ้งไร้ค่าเป็นขยะ ทางบริษัทได้เข้าร่วมอบรมโครงการ Upcycling for Sustainable Lifestyle ของกรมส่งเสริมอุตสาหกรรมทำให้บริษัทสามารถพัฒนา และสร้างมลค่า เพิ่มจากเศษวัสดุเหลือทิ้งที่มีเป็นจำนวนมากจากสายงานการผลิตหลัก โดยการน เศษผ้าเหลือทิ้งมาผ่านกระบวนการตีเป็นเส้นใยและส่งเส้นใยผ้าที่ได้ให้กับกลุ่มชุมชนทอผ้า ทอจนสำเร็จเป็นผืนผ้า โดยการจ้างเหมาทอรายวัน ซึ่งเป็นการสร้างรายได้ให้ชุมชน หลังจากนั้นจึง นำผืนผ้าที่ได้กลับมาตัดเย็บด้วยเครื่องจักรที่บริษัท เพื่อทำเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ ประเภทเสื้อแจ็กเกต เสื้อกันหนาว นอกจากนี้ยังได้นำเศษวัสดุเหลือทิ้งจากการตัดเย็บกระเป๋าเก็บความร้อนและเย็นประเภทฟอยด์เพื่อทอและเย็บติดประดับบนเสื้อแจ็กเกตจนได้ผลิตภัณฑ์ใหม่ (Upcycling Products) ที่เพิ่มมูลค่าสูง และตรงกับความต้องการของตลาด โดยอาศัยกระบวนการออกแบบเชิงสร้างสรรค์ และกระบวนการผลิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม “พอกรมส่งเสริมอุตสาหกรรมส่งข้อมูลมาว่ามีการอบรมโครงการ Upcycling for Sustainable Lifestyle ก็รู้สึกว่ามันตอบโจทย์เรา อาจารย์ที่ปรึกษาท่านแนะนำ ให้นำเศษผ้าเหลือใช้ที่เป็นขยะอุตสาหกรรมมาปั่นเป็นเส้นด้าย แล้วนำมาทอเป็นผ้าผืนใหม่โดยฝีมือชาวบ้านที่มีภูมิปัญญาทอกี่กระตุกในจังหวัดปราจีนบุรี จนได้งาน Handicraft ที่มี Story ที่น่าสนใจ ในรูปแบบของเสื้อแจ็กเกตที่มีฟังก์ชัน คือ สามารถถอดแขนเป็นเสื้อกักหรือเสื้อแจ็กเกตก็ได้ เราดีใจที่ได้มีส่วนช่วยลดขยะ และทำให้มันมีค่ากลับมาเป็นตัวสินค้าอีกครั้ง ทั้งยังสร้างงาน สร้างรายได้ให้กับชุมชนท้องถิ่นด้วย” ผลจากการเข้าร่วมโครงการ ทำให้ได้ผลิตภัณฑ์ที่มีความเป็นแฟชั่่นและไลฟ์สไตล์แล้ว ยังช่วยเพิ่มยอดขายสินค้า องบริษัทเพิ่มขึ้นมากกว่าเดิมประมาณ 30-40 เปอร์เซ็นต์มีรายได้เพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่า 2 ล้านบาทต่อปี ทั้งนี้ สิ่งที่ทำให้ เทพอินทราชัย แมนูแฟคเจอริ่งยืนหยัดมาได้กว่่า 40 ปี คือการใส่ใจความต้องการของลูกค้าให้ความสำคัญกับคำว่าคุณภาพ พร้อมส่งเสริมการใช้นวัตกรรมเพื่อตอบโจทย์ลูกค้ายุคนี้ ที่ตระหนักถึงเรื่องสิ่งแวดล้อมมากขึ้น ซึ่งทางบริษัทเองก็บรรจุเรื่องนี้ไว้ในนโยบายของบริษัท เพื่อสร้างความยั่งยืนให้กับธุรกิจประเทศชาติและโลกของเรา คุณยุทธนา เหล่าผดุงรัชกร คุุณยุุทธนา เหล่่าผดุงรััชกร บริิษััท เทพอิินทราชััย แมนูแฟคเจอริ่่ง จำำกััด 123 125 ซ.เพชรเกษม 68 แขวงบางแคเหนืือ เขตบางแค กรุงเทพ 10160 โทรศัพท์ 08 1875 9959, 0 2454 8188-90 http://www.tmpremiums.com/ ที่มา : รายงานประจำปี 2564 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม
17 มี.ค. 2565
ภูริษาผ้าไทย
ชูอัตลักษณ์ผ้าทอแดนอีสาน เชื่อมแฟชั่นไทยสู่สากล ผ้าฝ้ายย้อมสีธรรมชาติถักทอด้วยฝีมือชุมชนคนอีสานดีไซน์สู่ เสื้อผ้าแฟชั่นทันสมัย สวมใส่สบาย มีสไตล์ เป็นของตัวเอง อวดโฉมอยู่ในงานแสดงสินค้าระดับ ประเทศและช่องทางออนไลน์ ครองใจลูกค้าคนรุ่นใหม่ทั้งชาวไทยและต่างชาติ เป็นผลงานของ ภูริษาผ้าไทย ผลิตภัณฑ์ผ้าฝ้ายแปรรูปจากจังหวัดหนองบัวลำภูที่มี คู่สามีภรรยา คุณวรพงษ์ และ คุณพัชรินทร์ ชัยรัตน์ เป็นผู้ขับเคลื่อนอยู่เบื้องหลัง จุดเริ่มต้นของภูริษาผ้าไทยมาจากคุณพัชรินทร์ซึ่ง เป็นลูกหลานชาวหนองบัวลำภู ได้เห็นผู้เป็นแม่ทอผ้ามาตั้งแต่เด็กๆ เธอเล่าว่า ผ้าของแม่สวยและขายได้ราคาดี ผู้คนมักซื้อไปเป็นของฝากผู้ใหญ่ เริ่มต้นจึงลองเอาผ้าของ แม่ไปขายที่งานกาชาดจังหวัด ปรากฏว่าขายดีจนมีของไม่พอขาย เลยเห็นโอกาส จึงชักชวนคนในชุมชนรวมตัวกันจัดตั้งเป็น กลุ่มแปรรูปผลิตภัณฑ์พื้นเมืองบ้านดินทรายอ่อน ในปี 2552 ซึ่งปัจจุบันมีสมาชิกกลุ่มอยู่ที่ 35 คน และเครือข่ายที่ทำงานร่วมกันอีกกว่า 150 ราย สร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ผ้าพื้นเมืองทอมือย้อมสีธรรมชาติ จนได้รับการคัดสรรเป็น OTOP ระดับ 4 ดาวและ 5 ดาว ก่อนพัฒนาสู่แบรนด์ภูริษาผ้าไทยในเวลาต่อมา โดยนำผ้าจากทางกลุ่มมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ที่ทันสมัย และหลากหลาย เช่น เสื้อผ้าบุรุษ เสื้อผ้าสตรีผ้าคลุมไหล่ กระเป๋า และหน้ากากผ้า เป็นต้น แม้สินค้าจะเป็นที่ยอมรับของตลาดและมีฐานลูกค้าอยู่พอสมควร แต่ภูริษาผ้าไทยยังคงพัฒนาตัวเองไม่หยุดนิ่ง เพื่อปูทางแบรนด์ไทยไปสร้างโอกาสในตลาดโลก จึงได้สมัครเข้าร่วมกิจกรรมให้คำปรึกษาเชิงลึกในการพัฒนาผลิตภัณฑ์และเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์โครงการยกระดับผ้าทอมืออัตลักษณ์อีสานสู่สากลของกรมส่งเสริม ภูริษาผ้าไทย ชูอัตลักษณ์ผ้าทอแดนอีสาน เชื่อมแฟชั่นไทยสู่สากลอุตสาหกรรมทำให้ได้อาจารย์ที่ปรึกษาซึ่งเชี่ยวชาญเรื่องผ้าเข้ามาช่วยแนะนำ เทคนิควิธีการทอและการจับคู่สีจากวัสดุธรรมชาติในชุมชน ออกแบบผลิตภัณฑ์ให้เป็นที่ต้องการของตลาดและตรงกับใจผู้บริโภคมากขึ้น และยังได้ไอเดียลดต้นทุนด้วยการนำเศษผ้าที่่เหลือจากการตัดเย็บมาพัฒนาต่อยอดเป็นเสื้อผ้า ของที่ระลึกและของใช้ในชีวิตประจำวันอีกด้วย “ที่ผ่านมาเรามีเศษผ้าที่เหลือจากการตัดเย็บเยอะมาก อาจารย์เลยแนะนำว่าเศษผ้าพวกนี้สามารถสร้างมูลค่าได้โดยที่เราไม่ต้องไปลงทุนอะไรเพิ่มเลยเพราะเป็นของที่มีอยู่แล้ว แค่เปลี่ยนจากกองเศษผ้าเป็นกองทอง สร้างมูลค่าจากของที่่เราเคยมองข้ามเท่านั้นเอง เราเลยมาทำเป็นชุดยูกาตะตามที่อาจารย์แนะนำและพัฒนาต่อยอดเป็นเสื้อสตรี โดยผสมกับผ้าพื้นเมืองที่มีอยู่ ซึ่งออกมาสวยและลูกค้าก็ชอบมาก กลายเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ที่สร้างโอกาสให้กับเรา” จากคำแนะนำที่ได้ทำให้ภูริษาผ้าไทยเห็นตลาดของตัวเองที่ชัดเจนขึ้น จึงพลิกกลยุทธ์มาใช้ช่องทางออนไลน์นำเสนอตัวเอง โดยการไลฟ์ขายสินค้าผ่านช่องทางเฟซบุ๊ก จากยอดขายหน้าร้านที่ไม่มีเลยในช่วงโควิดกลับมาสามารถสร้างรายได้ในยุคโควิดและยังสร้างชื่อแบรนด์ให้เป็นที่รู้จักในวงกว้างขึ้น ซึ่งปัจจุบันรายได้หลักมาจากออนไลน์ถึง 60 เปอร์เซ็นต์ สำหรับเป้าหมายในอนาคตคุณพัชรินทร์กล่าวว่าอยากนำพาแบรนด์ไทยไปสู่สากลและหวังว่าหลังโควิดคลี่คลาย ชื่่อของ “ภูริษาผ้าไทย” จะมีโอกาสไปตลาดโลก สมความตั้งใจได้ คุณวรพงษ์์ ชััยรััต ภูริิษาผ้้าไทย 32 หมู่่ที่่ 8 บา้นศรีีเมืืองใหม่่ ตำำบลโคกม่่วง อำำเภอศรีีบุญเรืือง จัังหวััดหนองบััวลำภู 39180 โทรศัพท์ 08 7221 0295, 08 1592 6185 ที่มา : รายงานประจำปี 2564 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม
17 มี.ค. 2565
แป้งมันเม่งเส็ง
ส่งไม้ต่อทายาทรุ่น 2 สร้างแต้มต่อให้ธุรกิจ เทคโนโลยีที่พัฒนาก้าวหน้าได้เข้ามามีบทบาท สำคัญขึ้นเรื่อยๆ ต่อแนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพให้กับโรงงานอุตสาหกรรม โดยมีการนำมาปรับใช้เพื่อสร้างแต้มต่อและเพิ่มความสามารถในการแข้งขันให้กับธุรกิจกันมากขึ้นไม่เว้นแม้แต่โรงงานแป้งมันเม่งเส็งที่มี,ทายาทรุ่นที่ 2 คุณปนัฏฐา สัตถากุล ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ บริษัท แป้งมันเม่งเส็ง จำกัด เข้ามาต่อยอดและขยายธุรกิจให้เติบโตขึ้น จากลานมันที่รับซื้อหัวมันสดจากเกษตรกรโดยตรงได้ปรันตัวเข้ามาสู่ธุรกิจโรงงานแปรรูปเป็นแป้งมันสำปะหลังเมื่อ 10 ปีก่อน (2555) ที่นำไปใช้ในอุตสาหกรรมต่างๆ โดยมีกลุ่มลูกค้าหลักคือโรงงานผลิตกระดาษเน้นส่งออกถึง 80 เปอร์เซ็นต์ และเมื่อ 5 ปีก่อน คุณปนัฏฐาได้เข้าไปช่วยธุรกิจเริ่มที่การขยายฐานลูกค้าให้หลากหลายขึ้น ตลอดจนการพัฒนาเว็บไซต์ และโซเชียสมีเดียต่างๆ เพื่อให้เป็นช่องทางสำหรับลูกค้าติดต่อเข้ามายังบริษัทได้ง่ายและสะดวกมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ ยังเดินหน้าเพิ่มประสิทธิภาพให้กับโรงงานแปรรูปแป้งมันด้วยการนำเทคโนโลยีเข้ามาปรับใช้ในด้านต่างๆอย่างต่อเนื่อง โดยเธอเล่าว่าได้เข้าร่วมกิจกรรมต่างๆ ที่จัดขึ้นโดยกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กสอ.) รวมถึงครั้งล่าสุด คือ กิจกรรมให้คำปรึกษาแนะนำการเพิ่มผลิตภาพโดยใช้เทคโนโลยีติจิทัลและเชื่อมโยง เครือข่ายอุตสาหกรรมมันสำปะหลัง ภายใต้โครงการพัฒนาเครือข่ายคสัสเตอร์เกษตรอุตสาหกรรม ปีงบประมาณ 2564 ซึ่งได้นำหลายๆ เรื่องมาใช้ ประโยชน์ เช่น การลดของเสียและการเพิ่มอัตราการผลิต การจัดการ Dead Stock การใช้บาร์โค้ดเข้ามาช่วยควบคุม จำนวนสต็อกสินค้าทั้งที่เป็นสินค้าแป้งมันและอะไหล่เครื่องจักร นำเครื่องมือดิจิทัลเข้ามาช่วยให้การบริหารจัดการมีประสิทธิภาพมากขึ้นสามารถรู้ว่าสต็อกส่วนไหนใกล้หมดก็จะสามารถสั่งมาล่วงหน้าและสั่งให้พอดีกับ การใช้งานได้ "การอบรมแต่ละครั้งถือว่าได้รับประโยชน์มาก เพราะจะมีการประชุมกันก่อนทุกครั้งว่าทางคลัสเตอร์ต้องการให้จัดในหัวข้ออะไรจึงสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้จริง สำหรับโรงงานแป้งมันของเมงเส็งเอง ตอนนี้ มองว่าหลายๆอย่างเพิ่งเริ่มต้นเท่านั้นและยังสามารถ พัฒนาจากจุดนี้ไปได้อีกมาก เช่น ตอนนี้นำระบบ คอมพิวเตอร์มาใช้ควบคุมการผลิต การจัดการสต็อกสินค้าซึ่งผลจากการเข้าร่วมโครงการช่วยให้บริษัทลดต้นทุนสต็อกลง 59.58 เปอร์เซ็นต์ หรือสามารถลดต้นทุนได้เป็นเงิน 1,843,118 บาท และเป้าหมายต่อไปก็คือการทำเป็นระบบออโตเมชัน ล่าสุดทางกลุ่มคลัสเตอร์ยังคุยกันถึงเรื่อง ERP (Enterprise Resource Planning) ซึ่งกำลังดูอยู่ว่าจะใช้ระบบใดที่จะท่าให้ Lost น้อยที่สุดและการทำงานต้องไม่ซับซ้อนเป็นต้น" คุณปนฎฐา สัตถาฤล บริษัท แชงมันเบ่งเส็ง จำกัด 99 หมู่ที่ 20 ถ.ด่านขุนทด-ชัยบาดาล ต.ห้วยบง อ.ด่านขุนทด จ.นครราชสีมา 30210 โทรศัพท์ 08 7963 1939 http://www.mengseng.co.th/ ที่มา : รายงานประจำปี 2564 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม
17 มี.ค. 2565
“อธิบดีณัฐพล” ร่วมพิธีเปิดโรงงานพ่นสีแห่งใหม่ของบริษัท มิตซูบิชิ มอเตอร์ส (ประเทศไทย) จำกัด
จ.ชลบุรี 16 มีนาคม 2565 - ดร.ณัฐพล รังสิตพล อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ร่วมพิธีเปิดตัวโรงงานพ่นสีแห่งใหม่ของบริษัท มิตซูบิชิ มอเตอร์ส ประเทศไทย ณ นิคมอุตสาหกรรมแหลมฉบัง โดยมี นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เป็นประธานในพิธีฯ พร้อมด้วย นายใบน้อย สุวรรณชาตรี ผู้ตรวจราชการกระทรวงอุตสาหกรรม นายวีริศ อัมระปาล ผู้ว่าการการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย นายนะชิดะ คะสุยะ เอกอัครราชทูตวิสามัญผู้มีอำนาจเต็มแห่งญี่ปุ่น ประจำราชอาณาจักรไทย ร่วมเป็นสักขีพยาน โดยมี นายทาคาโอะ คาโตะ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท มิตซูบิชิ มอเตอร์ส คอร์ปอเรชั่น พร้อมคณะผู้บริหาร ให้การต้อนรับ ณ นิคมอุตสาหกรรมแหลมฉบัง โดยโรงงานพ่นสีแห่งใหม่นี้ ใช้เทคโนโลยีการพ่นสีที่ทันสมัยและมีประสิทธิภาพสูงในกระบวนการพ่นสีเฉพาะจุดที่มีความยากและซับซ้อน เช่น ระบบซีลตัวถังอัตโนมัติ หุ่นยนต์ และปืนพ่นสีนำประจุไฟฟ้า รวมถึงช่วยลดมลพิษ ลดของเสียให้น้อยที่สุด ใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด และช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และการร่วมส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานและการใช้พลังงานหมุนเวียน ตลอดจนลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากการดำเนินกิจกรรมทางธุรกิจ ถือเป็นการดำเนินงานที่สอดคล้องกับเป้าหมายระดับชาติของรัฐบาลไทย ในอุตสาหกรรมสีเขียวและใช้พลังงานสะอาด กระทรวงอุตสาหกรรมพร้อมให้การสนับสนุนและส่งเสริมภาคเอกชนในการพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่มุ่งลดผลกระทบเชิงลบต่อสิ่งแวดล้อม โดยมีเป้าหมายเพื่อผลักดันให้อุตสาหกรรมไทยก้าวเข้าสู่การเป็นอุตสาหกรรมที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น ทั้งนี้ โรงงานพ่นสีแห่งใหม่นี้ใช้งบประมาณการก่อสร้างกว่า 3 พันล้านบาท โดยโรงงานดังกล่าวได้ใช้แผงโซลาร์เซลล์ เพื่อเป็นแหล่งพลังงานทางเลือก ที่มีกำลังการผลิตไฟฟ้าที่ 2 เมกะวัตต์ ซึ่งหากรวมที่ติดตั้งไปแล้วก่อนหน้าก็จะสามารถช่วยลดปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้ถึงปีละ 6,100 ตันต่อปี ### PR.DIPROM (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม) รายงาน /ภาพข่าว
17 มี.ค. 2565
DIPROM รับมอบถุงดีพร้อม ช่วยธุรกิจ ชุบชีวิตชุมชน
กรุงเทพฯ 16 มีนาคม 2565 - นางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม นายวัชรุน จุ้ยจำลอง ผู้อำนวยการกองพัฒนาอุตสาหกรรมชุมชน นางสาวประเทือง พฤกษาพิทักษ์กุล เลขานุการกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กสอ.) หรือ ดีพร้อม (DIPROM) ได้รับมอบถุงดีพร้อม ช่วยธุรกิจ ชุบชีวิตชุมชน จาก นายสิทธิรงณ์ เร่งเงียบ ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 3 หรือ ดีพร้อมเซ็นเตอร์ 3 (DIPROM CENTER 3) จำนวน 2,400 ชุด ซึ่งดีพร้อมได้ส่งเสริมผู้ประกอบการธุรกิจชุมชนให้ได้รับการสนับสนุนเทคโนโลยีการผลิต เพื่อเพิ่มศักยภาพการผลิต พร้อมพัฒนาผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์ในแต่ละภูมิภาคให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาด เพื่อเชื่อมโยงเข้าสู่ตลาดออนไลน์ ซึ่งมีการถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านการตลาด อันเป็นการสร้างรายได้ให้แก่ชุมชน โดยผลิตภัณฑ์ที่ได้รับการพัฒนาได้ผ่านการส่งเสริมการตลาดในรูปแบบ DIPROM SET ที่มีการกระจายสู่การทดสอบตลาดทั่วทุกภูมิภาค โดยมี QR Code แบบสำรวจความคิดเห็นของผู้ได้รับผลิตภัณฑ์ เป็นการทดลองตลาดเพื่อนำความคิดเห็นไปพัฒนาอย่างต่อเนื่อง และสำหรับผู้ที่ทดลองผลิตภัณฑ์แล้ว มีความต้องการซื้อ หรือ สั่งผลิตภัณฑ์ที่ได้ทดลองในถุงดีพร้อม ก็สามารถสั่งซื้อทางออนไลน์ได้ และผ่านช่องทาง DIPROM MARKETPLACE และระบบ QR Code นี้ได้ต่อไป
17 มี.ค. 2565
“รสอ.ณัฏฐิญา” ร่วมประชุมหารือแผนการดำเนินงานโครงการสนับสนุนให้ SME เข้าถึงการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ
กรุงเทพฯ 16 มีนาคม 2565 - นางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม เข้าร่วมประชุมคณะกรรมการบริหารสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมครั้งที่ 4/2565 ในรูปแบบออนไลน์ผ่านระบบ Zoom Meeting โดยในที่ประชุมได้ร่วมกันพิจารณาแผนการดำเนินงานโครงการสนับสนุนให้ SME เข้าถึงการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ (ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับกรมบัญชีกลาง) ในสองประเด็น คือ 1 ขออนุมัติขยายระยะเวลาการดำเนินงาน จากสิ้นสุดวันที่ 30 เมษายน 2565 เป็น วันที่ 30 กันยายน 2565 เพื่อให้มีเวลาเพียงพอต่อการดำเนินปรับปรุงระบบ e-GP ในการรองรับการจัดซื้อจัดจ้างพัสดุที่รัฐต้องการส่งเสริมหรือสนับสนุน ให้เกิดประสิทธิภาพต่อการดำเนินงาน ทั้งในส่วนของการเชื่อมโยงข้อมูลกับระบบของ สสว. (Thai SME-GP) และการปรับปรุงระบบ e-GP ของกรมบัญชีกลาง และ 2 การปรับแผนกันเงินไว้จ่ายเหลื่อมปี ตามระเบียบคณะกรรมการบริหารฯ ว่าด้วยการรับและเบิกจ่ายเงินกองทุนส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม พ.ศ. 2544 ข้อ 28 เพื่อดำเนินงานโครงการจนสิ้นสุดระยะเวลาโครงการ พร้อมกันนี้ยังได้ร่วมพิจารณามาตรการให้ความช่วยเหลือผู้ประกอบการในโครงการด้านการเงินของ สสว. ภายใต้ระเบียบคณะกรรมการบริหารสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมว่าด้วยการประนอมหนี้และการจำหน่ายหนี้สูญ พ.ศ. 2564 โดยมีการศึกษาเทียบเคียงกับมาตรการของธนาคารแห่งประเทศไทย เพื่อเป็นกรอบในการทบทวนมาตรการช่วยเหลือดังกล่าว ทั้งนี้ ได้ผ่านการพิจารณาจากคณะอนุกรรมการบริหารจัดการโครงการสนับสนุนด้านการเงินของ สสว. เมื่อวันที่ 9 มีนาคม 2565 ที่ผ่านมา### PRDIProm (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม) รายงาน/ภาพข่าว
17 มี.ค. 2565
DIPROM Japan Desk ผนึกกำลัง SMRJ และหน่วยงานภาคีเครือข่ายจัดงานสัมมนา New OTAGAI Forum ครั้งที่ ๒๑ สร้างโอกาสเชื่อมโยงภาคอุตสาหกรรมไทย – ญี่ปุ่น
เมื่อวันพุธที่ 9 มีนาคม 2565 เวลา 13.30 - 16.30 น. โต๊ะญี่ปุ่น กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (DIPROM Japan Desk) ร่วมกับองค์การเพื่อวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม และนวัตกรรมภูมิภาค (SMRJ) ตลอดจนหน่วยงานภาคีเครือข่ายภาครัฐ ภาคเอกชนของไทยและญี่ปุ่น จัดงานสัมมนา New OTAGAI Forum ครั้งที่ ๒๑ ขึ้นในรูปแบบไฮบริด (Hybrid) ณ ศูนย์นิทรรศการและการประชุม ไบเทค (BITEC) ภายใต้งาน METALEX March โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความร่วมมือระหว่าง SMEs ไทยและญี่ปุ่นในด้านอุตสาหกรรม BCG (Bio-Circular-Green) และอุตสาหกรรมการแพทย์และสุขภาพเป็นหลัก มีผู้สนใจเข้าร่วมงานทั้งสิ้นกว่า 150 คน ซึ่งมีทั้งผู้แทนหน่วยงานไทยและญี่ปุ่น ตลอดจนผู้ประกอบการจากทั้งสองประเทศ งานสัมมนาดังกล่าวได้รับเกียรติจากผู้แทนสมาคมส่งเสริมการรับช่วงการผลิตไทย (Thai Subcon) นำเสนอภาพรวมของความต้องการทางธุรกิจ (Business Needs) ของผู้ประกอบการไทยที่มีต่อภาคอุตสาหกรรมญี่ปุ่น อีกทั้งยังได้รับเกียรติจากผู้ประกอบการไทยที่ได้ก้าวเข้าสู่อุตสาหกรรมการแพทย์และสุขภาพ อันเนื่องมาจากการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ ได้แก่ บริษัท เอส.พี. เมทัล พาร์ท จำกัด ผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ ชิ้นส่วนเครื่องใช้ไฟฟ้า ที่ได้ริเริ่มการผลิตเตียงสำหรับผู้ป่วย และ บริษัท แม่น้ำ เมคคานิกา จำกัด ผู้ผลิตคลังสินค้าอัจฉริยะ (Smart Warehouse) และอื่น ๆ ที่ใช้ AI และ IoT รวมทั้งผลิตชุดป้องกัน PAPRs เพื่อบุคลากรทางการแพทย์ โดยผู้ประกอบการไทยทั้งสองรายคาดหวังถึงโอกาสในการร่วมทุน ตลอดจนการแลกเปลี่ยนเทคโนโลยีจากภาคอุตสาหกรรมญี่ปุ่น นอกจากนี้ ยังได้รับเกียรติจากผู้ประกอบการญี่ปุ่นร่วมนำเสนอ Business Needs ประกอบด้วย บริษัท Shizen International จำกัด ผู้ผลิตและให้บริการติดตั้งเซลล์แสงอาทิตย์ (Solar Cell) อย่างครบวงจร บริษัท Hirose Products จำกัด ผู้ผลิตผลิตภัณฑ์แปรรูปจากไม้ และไม้ไผ่ บริษัท Kanto Electronics จำกัด ผู้ผลิตเครื่องมืออัตโนมัติ เช่น Part Feeder ที่สามารถจัดเรียงและป้อนชิ้นส่วนที่มีขนาดเล็กมากได้อย่างแม่นยำ และบริษัท GPC Laboratory จำกัด Startup ที่มีจุดแข็งในการสร้างเซลล์ชนิดต่าง ๆ ที่ใช้วัดประสิทธิภาพของผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพและเวชภัณฑ์ ซึ่งผู้ประกอบการทั้ง 4 รายล้วนมีความเกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรม BCG และมีเทคโนโลยีที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว โดยต่างมุ่งหวังที่จะสร้างความร่วมมือกับผู้ประกอบการไทย รวมทั้งสนับสนุนในเชิงเทคโนโลยีเพื่อร่วมกันยกระดับภาคอุตสาหกรรมไทย ภายใต้เทคโนโลยีที่หลากหลายจากผู้ประกอบการไทยและญี่ปุ่น แต่สิ่งหนึ่งที่ผู้ประกอบการทุกรายมุ่งหวังร่วมกันคือความต้องการที่จะเชื่อมโยงภาคอุตสาหกรรมไทยและญี่ปุ่นเพื่อประโยชน์ร่วมกันของทั้งสองฝ่าย (Win-Win) ซึ่งสอดคล้องกับแนวคิด OTAGAI ที่มีความหมายว่าช่วยเหลือซึ่งกันและกันอีกด้วย ภายในงานยังได้รับเกียรติจาก ศาสตราจารย์ไดสึเกะ มัทสึชิมะ ผู้มีบทบาทสำคัญในการริเริ่มการดำเนินงานภายใต้แนวคิด OTAGAI บรรยายพิเศษเพื่อนำเสนอแนวทางการฟื้นตัวให้แก่ธุรกิจ รวมทั้งการเริ่มต้นธุรกิจใหม่ ๆ ในสภาวะปัจจุบัน รวมทั้ง คุณเท็ตสึยะ อิโนะอุเอะ ผู้แทน SMRJ ประจำโต๊ะญี่ปุ่น กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (DIPROM Japan Desk) ได้ใช้โอกาสนี้แนะนำระบบฐานข้อมูล T-GoodTech และ J-GoodTech หนึ่งในเครื่องมือสำคัญในการเชื่อมโยงผู้ประกอบการไทยและญี่ปุ่น ซึ่งเกิดขึ้นภายใต้ความร่วมมือระหว่าง DIPROM และ SMRJ ซึ่งมีผู้ให้ความสนใจเป็นจำนวนมาก
16 มี.ค. 2565
ดีพร้อม เดินหน้ายกระดับ CIV DIPROM มุ่งกระจายรายได้และกระตุ้นเศรษฐกิจฐานรากของประเทศ
จ.นนทบุรี 10 กุมภาพันธ์ 2565 - ดร.ณัฐพล รังสิตพล อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ให้เกียรติกล่าวต้อนรับคณะกรรมาธิการการพาณิชย์และการอุตสาหกรรม วุฒิสภา นำโดย ดร.สมชาย หาญหิรัญ รองประธานคณะกรรมาธิการ พร้อมคณะฯ เนื่องในโอกาสศึกษาดูงานหมู่บ้านอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ (Creative Industry Village DIPROM : CIV DIPROM) ร่วมด้วย นางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม นายวัชรุน จุ้ยจำลอง ผู้อำนวยการกองพัฒนาอุตสาหกรรมชุมชน คณะผู้บริหารและเจ้าหน้าที่กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กสอ.) หรือ ดีพร้อม (DIPROM) คณะผู้บริหารและเจ้าหน้าที่หน่วยงานภาครัฐและเอกชน ผู้นำชุมชนและสมาชิกชุมชนบ้านปลายบาง ณ บันดาลสุขสมาร์ทฟาร์ม ศูนย์เรียนรู้เกษตรแม่นยำ อำเภอบางใหญ่ ในรูปแบบออนไลน์ผ่านแอปพลิเคชัน Zoom Meeting ชุมชนคนปลายบาง เป็นชุมชนเก่าแก่ อยู่ริมคลองมหาสวัสดิ์ในจังหวัดนนทบุรี มีวิถีการดำเนินชีวิตดั้งเดิมที่เรียบง่ายและเต็มไปด้วยเรื่องราววัฒนธรรม การท่องเที่ยวชุมชนจึงเป็นไปในแนวทางเชิงนิเวศและวัฒนธรรม มีแหล่งท่องเที่ยวน่าสนใจมากมาย อาทิ วัดศรีบุญเรือง สวนเกษตรลัดดาวัลย์ เป็นแหล่งเรียนรู้เชิงเกษตรอินทรีย์ของชุมชน สวนสมุนไพรเฉลิมพระเกียรติ บ้านโบราน 100 ปี และ ศาลเจ้าแม่ทับทิม สิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองของชาวชุนชนปลายบาง โดยทางชุมชนได้เข้าร่วมโครงการหมู่บ้านอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ (Creative Industry Village DIPROM : CIV DIPROM) กับดีพร้อม ตั้งแต่ปี 2561 จนถึงปัจจุบัน เพื่อพัฒนาศักยภาพและเสริมทักษะรอบด้านให้กับชุมชน ได้แก่ 1. สร้างศักยภาพเพื่อเตรียมความพร้อมรองรับอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว 2. อุตสาหกรรมระดับหมู่บ้านอุตสาหกรรมสร้างสรรค์สู่การพัฒนาเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน และ 3. พัฒนาด้านมาตรฐาน โดยการจัดทำแผนธุรกิจเพิ่มศักยภาพการประกอบธุรกิจในยุค Next Normal นอกจากนี้ ชุมชนยังได้เข้าร่วมกิจกรรมเชื่อมโยงเครือข่ายผู้ประกอบการชุมชนสู่การพัฒนาหมู่บ้านอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ เพื่อกระตุ้นให้เกิดเครือข่ายในการพัฒนาธุรกิจ พร้อมทั้งการสร้างจุดแข็งในทุกมิติให้กับชุมชนจนเกิดเป็นผลสำเร็จ และต่อยอดยกระดับชุมชนผ่านหลายกิจกรรม อาทิ โครงการ CIV 5 ดาว การพัฒนานักส่งเสริมการตลาดออนไลน์ (Marketeer/ Influencer) การพัฒนาชุมชนที่ต่อยอดจาก CIV Concept ขณะเดียวในปีงบประมาณ 2565 ดีพร้อม ยังดำเนินโครงการยกระดับหมู่บ้านอุตสาหกรรมสร้างสรรค์สู่การพัฒนาเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน โดยมีเป้าหมายที่จะสร้าง DIPROM HERO ผ่านแนวทางการดำเนินงานในการมุ่งเน้นพัฒนาผู้นำชุมชนให้เป็นผู้นำหมู่บ้านอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ หรือ CIV Leader ผ่านกระบวนการติวเข้มหลักสูตรการสร้างนักบริหารจัดการธุรกิจเพื่อสังคม หลักสูตรผู้นำ การพัฒนาชุมชน และหลักสูตรการนำเสนอ ซึ่งจะช่วยให้เกิดการรับรู้และตระหนักในการดำเนินธุรกิจเพื่อความยั่งยืนต่อชุมชน นอกจากนี้ ดีพร้อม ยังได้เชื่อมโยงเครือข่ายหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน และต่อยอดธุรกิจ เพื่อสนับสนุนและส่งเสริมชุมชนในทุกระดับการพัฒนา ซึ่งได้กำหนดเป้าหมายนำร่องการพัฒนา 20 ชุมชน เพื่อเสริมความเข้มแข็งให้กับเศรษฐกิจฐานรากในอนาค ### PR.DIPROM (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม) รายงาน /ภาพข่าว
11 มี.ค. 2565
ดีพร้อม ติดอาวุธ SMEs ไทย พร้อมเสริมแกร่งกว่า 30 ซอฟต์แวร์ ใช้ฟรี 6 เดือน
กรุงเทพฯ 9 มีนาคม 2565 - นายภาสกร ชัยรัตน์ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ให้เกียรติเป็นประธานเปิดงานสัมมนาออนไลน์เสริมแกร่ง SMEs ด้วย Software ในระบบ i-Industry ร่วมด้วย ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีกว่า 400 ราย โดยมี นายวาที พีระวรานุพงศ์ ผู้อำนวยการกองพัฒนาดิจิทัลอุตสาหกรรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กสอ.) หรือ ดีพร้อม (DIPROM) กล่าวรายงาน ซึ่งจัดขึ้นในรูปแบบออนไลน์ผ่านแอปพลิเคชัน Zoom Meeting การสัมมนาดังกล่าว จัดขึ้นเพื่อให้เอสเอ็มอีและผู้ที่มีความสนใจในซอฟต์แวร์ที่มีให้บริการทดลองใช้ในระบบ i-Industry มีการพัฒนาความรู้ ความเข้าใจ รวมถึงส่งเสริมให้ผู้ประกอบการใช้ซอฟต์แวร์ของไทยมากขึ้น ตลอดจนสร้างความสำคัญในการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาบริหารจัดการธุรกิจ โดยได้รับความร่วมมือจากผู้ประกอบการซอฟต์แวร์ไทย (Software House) ร่วมดำเนินการให้บริการด้านซอฟต์แวร์แก่ผู้ประกอบการเอสเอ็มอี อาทิ การบริหารบัญชี การจัดซื้อจัดจ้าง การบริหารการผลิต การบริหารการขาย การบริหารสินค้าคงคลัง ซึ่งเป็นซอฟต์แวร์ที่ผลิตโดยคนไทย นอกจากนี้ ยังเป็นการเชื่อมโยงกันระหว่างเอสเอ็มอีผู้ใช้งาน (Demand) กับผู้ผลิตซอฟต์แวร์ไทย (Supply) อันจะส่งผลให้เกิดการเติบโตของอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ไทยและลดการนำเข้าซอฟต์แวร์จากต่างประเทศ เพื่อเป็นการยกระดับการดำเนินธุรกิจของเอสเอ็มอีให้เข็มแข็งและสามารถแข่งขันในเวทีโลกต่อไปได้ โดยเปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีทั่วประเทศได้ทดลองใช้ซอฟต์แวร์ฟรีเป็นระยะเวลา 6 เดือน รวมกว่า 30 ซอฟต์แวร์ ซึ่งคาดว่าผู้ประกอบการจะนำองค์ความรู้และทักษะด้านเทคโนโลยีดิจิทัลไปประยุกต์ใช้กับการบริหารจัดการธุรกิจและสามารถปรับตัวกับการเปลี่ยนแปลงในสถานการณ์ปัจจุบันได้เป็นอย่างดี ทั้งนี้ ในปี 2565 ดีพร้อมได้มีการปรับเปลี่ยนการส่งเสริมและพัฒนาผู้ประกอบการให้ตอบโจทย์ความต้องการในทุกมิติและสอดรับกับบริบททั้งในเชิงเศรษฐกิจและสังคม ภายใต้ นโยบาย “DIProm CARE: ดีพร้อม แคร์” ผ่านกระบวนการวิเคราะห์ปัญหาที่มีผลต่อการเติบโตทางธุรกิจ เพื่อทำให้ผู้ประกอบการและภาคธุรกิจอุตสาหกรรมเข้าใจถึงปัญหาที่แท้จริง (Customization) รวมทั้งมุ่งเน้นในการสรรหาเครื่องมือและเทคโนโลยีที่เหมาะสมกับระดับของสถานประกอบการเพื่อให้ตรงกับปัญหาที่เป็นไปตามบริบทที่แท้จริง อีกทั้ง ยังมีการบูรณาการความร่วมมือกับหน่วยงานภาคเอกชน (Engagement) ที่มีความโดดเด่นในแต่ละด้านมาช่วยพัฒนาและสนับสนุนภาคธุรกิจอุตสาหกรรมให้มีความเข้มแข็งและเติบโตอย่างยั่งยืนต่อไป ### PR@DIPROM (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม) รายงาน/ภาพข่าว
09 มี.ค. 2565
ขอเชิญเข้าร่วมการสัมมนา เรื่อง "เจาะลึกบัญชีและภาษีสำหรับธุรกิจออนไลน์"
การสัมมนา เรื่อง "เจาะลึกบัญชีและภาษีสำหรับธุรกิจออนไลน์" หัวข้อ เข้าใจบัญชีและภาษีสำหรับธุรกิจออนไลน์ รับมือกับภาษี การยื่นแบบฯ ภาษี และการเสียภาษีให้ถูกต้องตามกฎหมาย สร้างความมั่นคงให้กับธุรกิจในระยะยาว พบกับ อ.อัสมา แวฑโน๊ะ เจ้าของเพจบัญชีอย่างง่ายเพื่อเจ้าของกิจการ ฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย รับสมัครตั้งแต่วันนี้ - 9 มีนาคม 2565 กำหนดการจัดสัมมนาในวันพุธที่ 9 มีนาคม 2565 เวลา 13.30 - 16.30 น. ผ่านระบบออนไลน์ ZOOM และ Facebook Live สามารถลงทะเบียนกิจกรรมได้ที่ สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นางสาวอรวราค์ จันทร์เกษม (อ้อม) เบอร์ติดต่อ 02 430 6877 ต่อ 4
07 มี.ค. 2565