หมวดหมู่
“อธิบดีณัฐพล” ร่วมเปิดงาน “โอทอปไทย สู้ภัยโควิด-19 พร้อมดึง ผปก. ชุมชนเข้าทดสอบตลาด 70 ราย คาดสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจกว่า 10 ลบ.
จ.นนทบุรี 20 ธันวาคม 2564 - นายณัฐพล รังสิตพล อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม พร้อมด้วย นางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ร่วมเปิดงาน “โอทอปไทย สู้ภัยโควิด-19” โดยมี นายทรงศักดิ์ ทองศรี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย ให้เกียรติเป็นประธานในการเปิดงานในครั้งนี้ ซึ่งกระทรวงอุตสาหกรรม โดย กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กสอ.) หรือ ดีพร้อม ได้เข้าร่วมงานโดยการนำผู้ประกอบการวิสาหกิจชุมชนเข้าร่วมทดสอบตลาดในงานนี้ ณ อาคารชาเลนเจอร์ 1 - 3 ศูนย์การแสดงสินค้าและการประชุมอิมแพค เมืองทองธานี อำเภอปากเกร็ด สำหรับงานโอทอปไทย สู้ภัยโควิด-19 จัดโดย กระทรวงมหาดไทย ภายใต้แนวคิด "ผลิตภัณฑ์พื้นถิ่น ศิลปินพื้นบ้าน เศรษฐกิจไทยพ้นภัยโควิด” ซึ่งเป็นการจัดงานแสดงและจำหน่ายสินค้า OTOP ระดับประเทศ เพื่อบรรเทาผลกระทบของผู้ผลิต ผู้ประกอบการ OTOP และชุมชนท่องเที่ยวจากวิกฤตการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 โดยการเพิ่มช่องทางในการจำหน่ายสินค้า OTOP และผลิตภัณฑ์ของชุมชน พร้อมทั้งเผยแพร่ประชาสัมพันธ์การดำเนินงานโครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ โดยภายในงานมีการจัดแสดงและจำหน่ายสินค้ามากกว่า 2,000 บูธ ผลิตภัณฑ์ OTOP มากกว่า 20,000 รายการ ประกอบด้วย 6 ส่วน ดังนี้ 1. การจัดนิทรรศการเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัว 2. การจัดแสดงและจำหน่ายสินค้า OTOP Classic 5 ประเภท 3. กิจกรรม Highlight งาน เช่น ผลิตภัณฑ์จากศิลปิน OTOP ชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี และการจัดแสดง จำหน่ายผ้าถิ่นไทย เป็นต้น 4. การจัดนิทรรศการของหน่วยงานภาคีที่ขับเคลื่อนโครงการหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ ร่วมกัน ได้แก่ กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงวัฒนธรรม กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และบริษัท ประชารัฐ รักสามัคคี (ประเทศไทย) จำกัด 5. การจัดการบริการ เช่น บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด ธนาคารออมสิน การจัดพื้นที่ Rest Area เป็นต้น 6. การจัด OTOP ชวนชิมจำหน่ายอาหารและเครื่องดื่มที่เป็นอัตลักษณ์ของจังหวัด ทั้งนี้ งานดังกล่าวจัดขึ้นระหว่างวันที่ 18 - 26 ธันวาคม 2564 ตั้งแต่ เวลา 10.00 - 21.00 น. ณ อาคารชาเลนเจอร์ 1 - 3 ศูนย์แสดงสินค้าและการประชุม อิมแพ็ค เมืองทองธานี ซึ่งตลอดการจัดงาน 9 วัน คาดว่าจะมียอดจำหน่ายไม่ต่ำกว่า 750 ล้านบาท ขณะเดียวกัน กระทรวงอุตสาหกรรม โดย กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กสอ.) หรือ ดีพร้อม ได้เข้าร่วมในการจัดงานในครั้งนี้ โดยการจัดนิทรรศการแสดงผลงานการส่งเสริม พัฒนา และสนับสนุนผู้ประกอบการวิสาหกิจชุมชนที่ผ่านมาของดีพร้อม อาทิ การพัฒนาผลิตภัณฑ์สินค้าชุมชน ภายใต้แนวคิด คลัสเตอร์ 3 กลุ่ม คือ หัตถศิลป์สยาม ไทยฮาร์ด และไทยดีดี รวมถึงการบริหารจัดการน้ำเสียจากการผลิต นอกจากนี้ ยังให้มีบูธของโครงการเงินทุนหมุนเวียนเพื่อการส่งเสริมอาชีพอุตสาหกรรมในครอบครัวและหัตถกรรมไทย เพื่อให้บริการคำปรึกษาแนะนำในด้านการเงินแก่ผู้ประกอบการ และบูธของศูนย์สนับสนุนและช่วยเหลือเอสเอ็มอี (SME Support & Rescue Center : SSRC) ภายในงานนี้ รวมถึงการทดสอบตลาดให้กับผู้ประกอบการวิสาหกิจชุมชนที่ได้รับการสนับสนุนจากดีพร้อม จำนวน 70 ราย ประกอบด้วย อุตสาหกรรมอาหารแปรรูป เกษตรแปรรูป อัญมณีและเครื่องประดับ หัตถศิลป์ เสื้อผ้าและเครื่องแต่งกาย เครื่องหนังและรองเท้า ซึ่งคาดว่าตลอดการจัดงานในครั้งนี้ จะสามารถสร้างยอดขายให้กับผู้ประกอบการของดีพร้อมได้กว่า 10 ล้านบาท ### PR.DIProm (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม) รายงาน/ภาพข่าว
21 ธ.ค. 2564
FOOD for the FUTURE 2022 ยกระดับธุรกิจอาหาร สู่โลกแห่งความยั่งยืน" ในกิจกรรมพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการอาหารยุคใหม่ สาขาอาหารแปรรูปและอาหารแห่งอนาคต
ขอเชิญผู้ประกอบการกลุ่มอาหาร (อาหาร, อาหารแปรรูป, Future Food) หรือผู้ที่สนใจในพื้นที่ กทม. ปริมณฑล สมัครโครงการอบรมเเละเขียนเเบบจำลองธุรกิจ (Business Model Canvas) จัดโดย กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม ไม่มีค่าใช้จ่าย หัวข้อ ยกระดับ Food Entrepreneurial Mindset เเละการตลาดเเบบ O2O Channel สร้างโอกาสของธุรกิจสู่ Futute Food การบริหารจัดการธุรกิจอาหาร เเละการสร้างสรรค์เมนูที่มีอัตลักษณ์ การปรับตัวของธุรกิจและการบริหารความเสี่ยง เเละมาตรฐานอาหาร สามารถลงทะเบียนได้ที่ รับจำนวน 200 ท่าน สงวนสิทธิ์การอบรม 1 ธุรกิจ/1 ท่าน อบรมในเดือนกุมภาพันธ์ 2565 จำนวน 4 วัน (เเบบออนไลน์เเละออฟไลน์) *ผู้สมัครต้องผ่านการคัดเลือก* สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม คุณยุ้ย 062-673-6557 062-673-6557 / https://line.me/ti/p/AEeEyW-Baf Facebook Fanpage : สตรีท ฟูดส์ Training Project
20 ธ.ค. 2564
“ดีพร้อม” ดันองค์กรร่วมมหกรรมคิวซีลดต้นทุนการผลิตกว่า 100 ล้านบาท พร้อมยกระดับอุตสาหกรรมไทยสู่สากล
กรุงเทพฯ 20 ธันวาคม 2564 – นายณัฐพล รังสิตพล อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ให้เกียรติเป็นประธานในงานมหกรรมคิวซีแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 35 มหกรรมคุณภาพภาครัฐวิสาหกิจแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 32 และมหกรรมคุณภาพข้ามสายงาน ครั้งที่ 4 ร่วมด้วย นายภาสกร ชัยรัตน์ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม คณะกรรมการจัดงานสมาคมส่งเสริมคุณภาพแห่งประเทศไทย ผู้บริหาร เจ้าหน้าที่กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กสอ.) หรือ ดีพร้อม และบุคลากรจากหน่วยงานภาครัฐและเอกชน โดยมี นายวุฒิชัย ประชาพร ผู้อำนวยการกองพัฒนาขีดความสามารถธุรกิจอุตสาหกรรม กล่าวรายงาน ณ ห้องประชุมโซนเอ ชั้น 6 อาคาร กสอ. ขณะเดียวกัน ยังจัดให้มีการนำเสนอผลงานคุณภาพในรูปแบบออนไลน์ผ่านระบบแอปพลิเคชั่น Zoom Meeting และ Facebook Live ทาง Page : กองพัฒนาขีดความสามารถธุรกิจอุตสาหกรรม อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กล่าวว่า รัฐบาลได้ให้ความสำคัญในการสร้างความเข้มแข็งให้ระบบเศรษฐกิจ และส่งเสริมการกระตุ้นให้เกิดนวัตกรรม เพื่อยกระดับคุณภาพทั้งภาคผลิตและภาคบริการ ควบคู่ไปกับการพัฒนาภาคการผลิตเพื่อลดต้นทุน ทำให้อุตสาหกรรมไทยอยู่รอดและสามารถแข่งขันได้ในการเข้าสู่ยุค Next Normal ซึ่งนับว่าเป็นภารกิจที่กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กสอ.) หรือ ดีพร้อม และสมาคมส่งเสริมคุณภาพแห่งประเทศไทยรณรงค์มาตลอด ซึ่งทุกภาคส่วนจำเป็นที่จะต้องบูรณาการและร่วมมือกันอย่างจริงจัง และต่อเนื่องในการยกระดับมาตรฐานอุตสาหกรรมไทย ทั้งภาคผลิตและบริการสู่มาตรฐานสากลในด้านคุณภาพ ต้นทุน และการนำเทคโนโลยีมาใช้ในกระบวนการผลิต ดังนั้น ดีพร้อม ร่วมกับ สมาคมส่งเสริมคุณภาพแห่งประเทศไทย จึงได้จัดงานมหกรรมคิวซีแห่งประเทศไทยมาอย่างต่อเนื่องเป็นปีที่ 35 เพื่อส่งเสริมให้หน่วยงานภาครัฐและเอกชน ได้นำกิจกรรมกลุ่มคุณภาพ หรือ คิวซี ไปปรับใช้ในองค์กรเพื่อให้บุคลากรได้มีส่วนร่วมในการพัฒนาและแก้ไขปัญหา จนนำมาสู่การปฏิบัติที่ก่อให้เกิดผลด้านบวก ในการช่วยลดต้นทุนและการสร้างนวัตกรรมต่าง ๆ ซึ่งจะช่วยให้เกิดความได้เปรียบทางการแข่งขันและยกระดับมาตรฐานอุตสาหกรรมไทยสู่สากล นอกจากงานมหกรรมคิวซีแห่งประเทศไทยแล้ว ยังได้ผนวกงานมหกรรมต่าง ๆ เข้ามาไว้ในงานเดียวกัน เพื่อให้การทำกิจกรรมคุณภาพในหน่วยงานแพร่หลายมากยิ่งขึ้น และมีการพัฒนาคุณภาพงานตลอดเวลา อีกทั้ง ยังเป็นการเผยแพร่และสนับสนุนกิจกรรมคุณภาพในทุก ๆ ภาคส่วน ทั้งการผลิตและการบริการ ตลอดจนเปิดโอกาสให้กลุ่มคุณภาพรุ่นใหม่ ๆ ได้มีเวทีสำหรับการเสนอผลงานอย่างต่อเนื่อง โดยในปีนี้ได้รับความสนใจจากหน่วยงานต่าง ๆ ร่วมกันส่งกลุ่มคุณภาพเข้าร่วมเสนอผลงานในรูปแบบออนไลน์ผ่านระบบแอปพลิเคชั่น Zoom Meeting ซึ่งมีกลุ่มคิวซียอดเยี่ยมที่ผ่านการคัดเลือกรอบแรกแล้ว และร่วมเสนอผลงาน รวมทั้งสิ้น 60 กลุ่ม โดยแบ่งออกเป็นภาคอุตสาหกรรม 50 กลุ่ม ภาครัฐวิสาหกิจ 8 กลุ่ม และกลุ่มคุณภาพข้ามสายงาน 2 กลุ่ม สำหรับในปีนี้ กลุ่มคุณภาพภาคโรงพยาบาลได้ขอยกเว้นไม่เข้าร่วมนำเสนอผลงาน เนื่องจากภารกิจที่ต้องให้บริการแก่ประชาชน และสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ทั้งนี้ จากผลการดำเนินการของกลุ่มคุณภาพในปีที่ผ่านมาส่งผลให้หลายองค์กรที่เข้าร่วมกิจกรรม สามารถลดค่าใช้จ่ายและเพิ่มผลผลิตให้กับองค์กรได้กว่า 10 ล้านบาท และบางองค์กร สามารถลดได้มากกว่า 100 ล้านบาท อาทิ กลุ่ม PTT Reimagination จาก บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ลดต้นทุนและเพิ่มผลผลิตได้ 254 ล้านบาท กลุ่ม Power Generation Improvement จาก บริษัท พีทีที แอลเอ็นจี จำกัด ลดต้นทุนและเพิ่มผลผลิตได้ 11 ล้านบาท กลุ่ม Well Done จาก บริษัท โอเชียนกลาส จำกัด (มหาชน) ลดต้นทุนและเพิ่มผลผลิตได้ 5 ล้านบาท ซึ่งถือได้ว่าเป็นตัวอย่างที่แสดงให้เห็นถึงการพัฒนาองค์กรได้อย่างเป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้น ### PR.DIProm (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม) รายงาน /ภาพข่าว
20 ธ.ค. 2564
“รสอ. ณัฏฐิญา” เตรียมความพร้อมร่วมจัดงานโอทอปไทย สู้ภัยโควิด-19 พร้อมดึง ผปก. ชุมชน 70 ราย เข้าทดสอบตลาด คาดสร้างรายได้กว่า 10 ลบ.
จ.นนทบุรี 19 ธันวาคม 2564 - นางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมเตรียมความพร้อมสำหรับพิธีเปิดงาน “โอทอปไทย สู้ภัยโควิด-19” ในวันจันทร์ที่ 20 ธันวาคมนี้ พร้อมทั้งให้กำลังใจบูธผู้ประกอบการวิสาหกิจชุมชนของกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กสอ.) หรือ ดีพร้อม ที่เข้าร่วมจัดแสดงและจำหน่ายสินค้า OTOP ในครั้งนี้ ซึ่งงานดังกล่าวจัดขึ้นระหว่างวันที่ 18 - 26 ธันวาคม 2564 ณ อาคารชาเลนเจอร์ 1 - 3 ศูนย์การแสดงสินค้าและการประชุมอิมแพค เมืองทองธานี อำเภอปากเกร็ด สำหรับงานโอทอปไทย สู้ภัยโควิด-19 จัดโดย กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย ภายใต้แนวคิด "ผลิตภัณฑ์พื้นถิ่น ศิลปินพื้นบ้าน เศรษฐกิจไทยพ้นภัยโควิด" ซึ่งเป็นการจัดงานแสดงและจำหน่ายสินค้า OTOP ระดับประเทศ เพื่อบรรเทาผลกระทบของผู้ผลิต ผู้ประกอบการ OTOP และชุมชนท่องเที่ยวจากวิกฤตการณ์แพร่ระบาดของโรคโควิด-19 โดยการเพิ่มช่องทางในการจำหน่ายสินค้า OTOP และผลิตภัณฑ์ของชุมชน พร้อมทั้งเผยแพร่ประชาสัมพันธ์การดำเนินงานโครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ ขณะเดียวกัน กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กสอ.) หรือ ดีพร้อม ได้เข้าร่วมในการจัดงานในครั้งนี้ โดยการจัดนิทรรศการแสดงผลงานการส่งเสริม พัฒนา และสนับสนุนผู้ประกอบการวิสาหกิจชุมชนที่ผ่านมา อาทิ การพัฒนาผลิตภัณฑ์สินค้าชุมชน ภายใต้แนวคิด คลัสเตอร์ 3 กลุ่ม คือ หัตถศิลป์สยาม ไทยฮาร์ด และไทยดีดี พร้อมทั้งการบริหารจัดการน้ำเสียจากการผลิต นอกจากนี้ ยังจัดให้มีบูธเงินทุนหมุนเวียนเพื่อการส่งเสริมอาชีพอุตสาหกรรมในครอบครัวและหัตถกรรมไทย เพื่อให้บริการคำปรึกษาแนะนำในด้านการเงินแก่ผู้ประกอบการ และบูธของศูนย์สนับสนุนและช่วยเหลือเอสเอ็มอี (SME Support & Rescue Center: SSRC) ภายในงาน รวมถึงการทดสอบตลาดให้กับผู้ประกอบการวิสาหกิจชุมชนที่ได้รับการสนับสนุนจากดีพร้อม จำนวน 70 ราย ประกอบด้วย อุตสาหกรรมอาหารแปรรูป เกษตรแปรรูป อัญมณีและเครื่องประดับ หัตถศิลป์ เสื้อผ้าและเครื่องแต่งกาย เครื่องหนังและรองเท้า ซึ่งคาดว่าตลอด 9 วันของการจัดงานในครั้งนี้จะสามารถสร้างยอดขายให้กับผู้ประกอบการของดีพร้อมได้กว่า 10 ล้านบาท ### PR.DIProm (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม) รายงาน/ภาพข่าว
20 ธ.ค. 2564
ดีพร้อม จับมือ บิ๊ก คาเมร่า ติวเข้มการทำตลาดออนไลน์ผ่านมุมมองชัตเตอร์
กรุงเทพฯ 19 ธันวาคม 2564 - นางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ให้เกียรติเปิดการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการโครงการ SMEs สร้างธุรกิจเงินล้านด้วย VDO Content และ Live by BIG Camera ร่วมด้วย ดร.เกษสุดา ดอนเมือง ผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนาอุตสาหกรรมชุมชน (นักวิเคราะห์นโยบายและแผนเชี่ยวชาญ) กองพัฒนาอุตสาหกรรมชุมชน กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กสอ.) หรือ ดีพร้อม ผู้ประกอบการและเจ้าหน้าที่ดีพร้อมเข้าร่วมฝึกอบรมในครั้งนี้ จำนวน 100 ราย โดยมี นายธนสิทธิ์ เธียรกาญจนวงศ์ ประธานกรรมการผู้จัดการ บริษัท บิ๊ก คาเมร่า คอร์ปอเรชั่น (มหาชน) จำกัด กล่าวสรุปภาพรวมการดำเนินงานโครงการในครั้งนี้ ณ Mushroom Ministry Studio อาคารบางกอกโพสต์ คลองเตย โครงการดังกล่าว เป็นความร่วมมือ ระหว่าง กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กสอ.) หรือ ดีพร้อม ร่วมกับ บริษัท บิ๊ก คาเมร่า คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) จัดขึ้น เพื่อมอบโอกาสในการสร้างอาชีพและพัฒนาผู้ประกอบการที่สนใจเข้าถึงความรู้การทำ Live Vlog Youtube และการทำตลาดออนไลน์ จากผู้ที่มีประสบการณ์ตรง และผู้ที่มีความสำเร็จในวิชาชีพต่าง ๆ มาร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการผลักดันให้เกิดโครงการสานฝันปันความรู้ โดยได้รวบรวมเทคโนโลยีทางการถ่ายภาพรวมถึงการ Workshop ทดลองใช้งานอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่ทำให้เข้าถึงการใช้งานจริง และสามารถนำไปประยุกต์สำหรับการสร้างอาชีพในด้านต่าง ๆ ได้อีกด้วย ### PR.DIProm (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม) รายงาน/ภาพข่าว
20 ธ.ค. 2564
เวทีศักยภาพที่ปรึกษา มุ่งพัฒนา SMEs ให้ดีพร้อม
เตรียมความพร้อมเข้าประกวด รางวัลที่ปรึกษาตัวอย่างแห่งปี 2565 (DIProm consultant award 2022) “เวทีศักยภาพที่ปรึกษา มุ่งพัฒนา SMEs ให้ดีพร้อม” ผ่านการ live สด ทาง FB กองพัฒนาขีดความสามารถธุรกิจอุตสาหกรรม โดย นายวุฒิชัย ประชาพร ผู้อำนวยการกองพัฒนาขีดความสามารถธุรกิจอุตสาหกรรม ในวันศุกร์ที่ 17 ธันวาคม 2564 เริ่มเวลา 13.30 น.
18 ธ.ค. 2564
เปิดรับสมัครผู้ประกอบการเข้าร่วมกิจกรรมเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการโลจิสติกส์ ส่งเสริมความรู้ประเมินศักยภาพและเชื่อมโยงธุรกิจ
เปิดรับสมัครผู้ประกอบการเข้าร่วมกิจกรรมเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการโลจิสติกส์ ส่งเสริมความรู้ประเมินศักยภาพและเชื่อมโยงธุรกิจ กองส่งเสริมผู้ประกอบการและธุรกิจใหม่ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม วัตถุประสงค์ เพื่อเพิ่มองค์ความรู้ ประสิทธิภาพการบริหารจัดการและการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมโลจิสติกส์และโซ่อุปทานของสถานประกอบการ รวมทั้งให้เกิดการเชื่อมโยงระหว่างสถานประกอบการและ Startup ในการพัฒนาปรับปรุงกระบวนการด้านโลจิสติกส์ กลุ่มเป้าหมาย สถานประกอบการที่จดทะเบียนนิติบุคคล พื้นที่ดำเนินกิจกรรม กรุงเทพฯ และปริมณฑล สาขาอุตสาหกรรมเป้าหมาย - เกษตรแปรรูป - อาหารแปรรูป - ยางและผลิตภัณฑ์ยาง - เครื่องใช้ไฟฟ้าและชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ - เวชภัณฑ์และเครื่องสำอาง - สิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม - อุตสาหกรรมอื่นๆที่เกี่ยวข้อง กิจกรรมที่น่าสนใจ - ถ่ายทอดองค์ความรู้แก่สถานประกอบการ - การวินิจฉัยและวิเคราะห์ปัญหาของสถานประกอบการ - กิจกรรมการเชื่อมโยงเครือข่ายระหว่างสถานประกอบการและและ Startup ระยะเวลาดำเนินการ มกราคม - มีนาคม 2565 จุดเด่นของโครงการ "เชื่อมโยงระหว่างสถานประกอบการ และ Startup ในการพัฒนาปรับปรุงกระบวนการด้านโลจิสติกส์" การรับสมัคร ตั้งแต่วันนี้ถึง 15 มกราคม 2564 สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม ดร.แววยุรา คำสุข 093-159-9295
17 ธ.ค. 2564
พิธีแถลงข่าวเปิดตัวโครงการสร้างมูลค่าเพิ่มผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมสร้างสรรค์
16 ธันวาคม ตั้งแต่เวลา 13.30 น. เป็นต้นไป - พิธีแถลงข่าวเปิดตัวโครงการสร้างมูลค่าเพิ่มผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมสร้างสรรค์ ตามแนวทางเศรษฐกิจหมุนเวียน (Creative Value Design in Circular Economy Fashion & Lifestyle) ประจำปี 2565 กับกองพัฒนาอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ณ ชั้น 4 Siam smile space สยามดิสคัฟเวอรี และ Live สดผ่านช่องทาง Facebook live พบกับ พิธีเปิดตัวโครงการ และแรงบันดาลใจดี ๆ จาก พิธีมอบเกียรติบัตรและนิทรรศการของผู้ประกอบการที่เข้าร่วมโครงการในปี 2564 (Upcycling for sustainable lifestyle) พร้อมรับฟังการชี้แจงโครงการ และการสัมมนาจากผู้แทน PTT-GC และ ECOTOPIA สยามพิวรรธน์
17 ธ.ค. 2564
พิธีแถลงข่าวเปิดตัวโครงการสร้างมูลค่าเพิ่มผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมสร้างสรรค์
วันที่ 16 ธันวาคม 2564 – พิธีแถลงข่าวเปิดตัวโครงการสร้างมูลค่าเพิ่มผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมสร้างสรรค์ ตามแนวทางเศรษฐกิจหมุนเวียน ♻️ (Creative Value Design in Circular Economy Fashion & Lifestyle) ประจำปี 2565 กับกองพัฒนาอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ณ ชั้น 4 Siam smile space สยามดิสคัฟเวอรี และ Live สดผ่านช่องทาง Facebook live นี้ ท่านจะได้พบกับ พิธีเปิดตัวโครงการ และแรงบันดาลใจดี ๆ จากพิธีมอบเกียรติบัตรและนิทรรศการของผู้ประกอบการที่เข้าร่วมโครงการในปี 2564 (Upcycling for sustainable lifestyle) พร้อมรับฟังการชี้แจงโครงการ และการสัมมนาจากผู้แทน PTT-GC และ ECOTOPIA สยามพิวรรธน์
17 ธ.ค. 2564
“อธิบดีณัฐพล” เสริมทัพ “รมว.กระทรวงอุตฯ” ตอบกระทู้ถาม การส่งเสริมสนับสนุนตั้งโรงงานอุตสาหกรรมแปรรูปสินค้าทางการเกษตรในพื้นที่เมืองคอน
กรุงเทพฯ 16 ธันวาคม 2564 - นายณัฐพล รังสิตพล อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม พร้อมด้วย นางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม และนางสาวอริยาพร อำนรรฆสรเดช ผู้อำนวยการกองพัฒนาเกษตรอุตสาหกรรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กสอ.) หรือ ดีพร้อม เข้าร่วมสนับสนุนข้อมูลการตอบกระทู้ถาม เรื่อง การส่งเสริมสนับสนุนตั้งโรงงานอุตสาหกรรมแปรรูปสินค้าทางการเกษตรให้กับ นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เพื่อตอบประเด็นของ นายสัณหพจน์ สุขศรีเมือง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พรรคพลังประชารัฐ จังหวัดนครศรีธรรมราช ณ อาคารรัฐสภา เขตดุสิต รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ได้ชี้แจงตอบกระทู้ถาม เรื่อง การส่งเสริมสนับสนุนตั้งโรงงานอุตสาหกรรมแปรรูปสินค้าทางการเกษตร ประกอบด้วย 2 เรื่อง ดังนี้ กระทรวงอุตสาหกรรม โดย กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กสอ.) หรือ ดีพร้อม ได้กำหนดแผน นโยบาย และยุทธศาสตร์ในระดับประเทศเกี่ยวกับเกษตรอุตสาหกรรม และถ่ายทอดไปยังระดับภูมิภาค รวมทั้งกำหนดให้การขับเคลื่อนเกษตรอุตสาหกรรมเป็นแนวทางหลักในการดำเนินงานของกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา ทั้งนี้ การพัฒนาในแต่ละภาค ดีพร้อม จะให้ความสำคัญกับอุตสาหกรรมและพืชเศรษฐกิจที่สำคัญของภาค โดยจังหวัดนครศรีธรรมราชและพื้นที่ภาคใต้มีพืชเศรษฐกิจที่สำคัญ คือ ปาล์มน้ำมัน และยางพารา เนื่องจากมีภูมิประเทศและภูมิอากาศที่เหมาะสมในการเพาะปลูก และเป็นพืชเศรษฐกิจที่อยู่คู่กับวิถีชีวิตของชาวภาคใต้ อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันเกษตรกรกำลังประสบปัญหาราคายางพาราที่ตกต่ำ เนื่องจากพื้นที่เพาะปลูกจำนวนมาก จึงทำให้ปริมาณผลผลิตล้นตลาด จึงจำเป็นต้องมีการพัฒนาอุตสาหกรรมแปรรูปของปาล์มน้ำมันและยางพารา ซึ่งที่ผ่านมา กระทรวงอุตสาหกรรมได้ดำเนินโครงการที่ให้การสนับสนุนเพื่อเพิ่มผลิตภาพขีดความสามารถของอุตสาหกรรมแปรรูปต่าง ๆ ครอบคลุมทุกมิติ กระทรวงอุตสาหกรรม มุ่งเน้นนำพืชเศรษฐกิจที่มีความสำคัญและสามารถต่อยอดเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีศักยภาพ มากำหนดเป็นเป้าหมายในการพัฒนาผลิตภัณฑ์เกษตรแปรรูป ตามความเหมาะสมของทรัพยากรที่มีในท้องถิ่นและสอดคล้องกับ Product Champion ที่ได้มีการกำหนดไว้ในยุทธศาสตร์จังหวัด โดยกระทรวงอุตสาหกรรมได้กำหนดแผนงานพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่มีศักยภาพ (Product Champion) ดังนี้ 1) ศึกษาและสร้างความเข้าใจในแต่ละพื้นที่ เพื่อให้ทราบถึง จุดแข็ง ข้อได้เปรียบเชิงวัตถุดิบโดยพิจารณาจากความเฉพาะทางภูมิศาสตร์ ทรัพยากร วัตถุดิบ ที่ท้องถิ่นมี ความชำนาญของประชาชนในพื้นถิ่นเพื่อนำมาต่อยอดเป็นอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมของพื้นถิ่นนั้น ๆ 2) วิเคราะห์ความต้องการของตลาดทั้งในระดับประเทศและต่างประเทศ เพื่อให้การพัฒนาผลิตภัณฑ์ Product Champion สอดคล้องกับความต้องการของตลาด (Demand Driven) กระทรวงอุตสาหกรรมได้ดำเนินการพัฒนา Product Champion ของจังหวัดนครศรีธรรมราช ทั้งผลิตภัณฑ์อุปโภคและบริโภค ซึ่งกระทรวงอุตสาหกรรมโดย ดีพร้อม เล็งเห็นว่าผลิตภัณฑ์ย่านลิเภาแสดงอัตลักษณ์ในท้องถิ่นของจังหวัดนครศรีธรรมราช รวมถึงได้รับความนิยมในตลาด โดยได้ต่อยอดการพัฒนาผลิตภัณฑ์ย่านลิเภาให้มีความหลากหลายยิ่งขึ้น ซึ่งปัจจุบันผลิตภัณฑ์ที่ได้รับการพัฒนาจากระทรวงอุตสาหกรรมเป็นที่ต้องการของตลาดทั้งในประเทศและต่างประเทศ ส่งผลให้ประชาชนมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น เกิดการกระจายรายได้ และสามารถขยายกลุ่มตลาดจากเดิมไปสู่วงกว้างมากขึ้น ขณะเดียวกัน กระทรวงอุตสาหกรรมได้ต่อยอดพื้นที่เกษตรในจังหวัดนครศรีธรรมราชสู่พื้นที่เกษตรอุตสาหกรรมเชิงสร้างสรรค์ โดยการพัฒนาสร้าง Product Champion เชิงสร้างสรรค์ให้กับหลายชุมชนในจังหวัดนครศรีธรรมราช ผสมผสานกับแนวคิดการดำเนินธุรกิจในชุมชนในมิติอุตสาหกรรม รวมถึงการสร้างเทคโนโลยีและนวัตกรรมให้กับชุมชน พร้อมกับสร้างความเข้มแข็งในการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน เพื่อมุ่งสู่การพัฒนาชุมชนเข้มแข็ง โดยให้ความสำคัญกับการเชื่อมโยงการพัฒนาผลิตภัณฑ์กับการท่องเที่ยวในพื้นที่ ผ่านการดำเนินงานโครงการหมู่บ้านอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ (Creative Industry Village : CIV) ซึ่งในพื้นทีจังหวัดนครศรีธรรมราช ได้มีการจัดตั้งหมู่บ้านอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ ได้แก่ บ้านวังหอน มีผลิตภัณฑ์ที่ได้รับการพัฒนา เช่น สบู่ขมิ้น น้ำพริกขมิ้น เป็นต้น บ้านหน้าทัพ มีผลิตภัณฑ์ที่ได้รับการพัฒนา เช่น เสื้อมัดย้อม สบู่เหลวโคลน เป็นต้น บ้านวังไทร มีผลิตภัณฑ์ที่ได้รับการพัฒนา เช่น สบู่น้ำผึ้งเกสรป่าเดือนห้า ถุงรีไซเคิลกันน้ำสำหรับเดินป่า พริกไทดำป่น เป็นต้น ### PR.DIProm (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม) รายงาน/ภาพข่าว
17 ธ.ค. 2564