หมวดหมู่
"ดีพร้อม" ผนึกกำลังภาคีเครือข่าย สัมมนาออนไลน์ New OTAGAI Forum สร้างการเชื่อมโยงอุตสาหกรรมไทย-ญี่ปุ่นอย่างเป็นรูปธรรม
กรุงเทพฯ 27 กันยายน 2564 - นายณัฐพล รังสิตพล อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ให้เกียรติเป็นประธานพิธีเปิด “โครงการสัมมนาแลกเปลี่ยนองค์ความรู้และทิศทางการพัฒนาอุตสาหกรรม ภายใต้ ความร่วมมือ OTAGAI Concept (New OTAGAI Forum) ร่วมด้วย นายภาสกร ชัยรัตน์ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม คณะผู้บริหารและเจ้าหน้าที่กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กสอ.) หรือ ดีพร้อม และผู้แทนจากหน่วยงานภาคีเครือข่ายทั้งไทยและญี่ปุ่น ในรูปแบบออนไลน์ ผ่านระบบ Zoom Meeting New OTAGAI Forum คือ เวทีการสัมมนาแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร รวมทั้งนโยบาย หรือมาตรการต่าง ๆ ที่แต่ละหน่วยงานต้องการผลักดัน ซึ่งได้มีการปรับรูปแบบการจัดงานให้มีความเหมาะสมกับสถานการณ์ในปัจจุบัน โดยการใช้เทคโนโลยีเป็นเครื่องมือติดต่อสื่อสารกันระหว่างประเทศผ่านระบบออนไลน์ เป็นการสร้างและขยายเครือข่ายหน่วยงานที่ทำการส่งเสริมและสนับสนุนผู้ประกอบการทั้งจากไทยและญี่ปุ่นให้มีความเข้มแข็ง โดยเวทีดังกล่าวได้เปิดโอกาสให้แต่ละหน่วยงานได้ประชาสัมพันธ์แลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร มาตรการ นโยบายต่าง ๆ ที่มีความสำคัญและต้องการที่จะผลักดัน ตลอดจนความเคลื่อนไหว แนวโน้มหรือทิศทางความต้องการของผู้ประกอบการในเครือข่ายให้แก่หน่วยงานอื่น ๆ ได้รับทราบ เพื่อสนับสนุนการเชื่อมโยงภาคอุตสาหกรรมไทยและญี่ปุ่นอย่างเป็นรูปธรรม ยกระดับผู้ประกอบการไทยเข้าสู่ตลาดสากลและต่อยอดสู่การจับคู่ธุรกิจในอนาคต สนับสนุนภาคอุตสาหกรรมของทั้งสองประเทศให้สามารถก้าวหน้าต่อไป โดยกิจกรรมในวันนี้ ผู้แทนของหน่วยงานภาครัฐ และหน่วยงานต่าง ๆ จากไทยและญี่ปุ่น ได้มีการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร นโยบาย และมาตรการการต่าง ๆ ที่หน่วยงานให้ความสนใจ และต้องการผลักดัน และแนะนำผู้ประกอบการญี่ปุ่นในอุตสาหกรรมที่มีความเชื่อมโยงกับนโยบาย BCG Model (Bio-Circular-Green Economy) ที่ต้องการร่วมมือกับผู้ประกอบการไทยทั้งในส่วนของการผลิตและการตลาด เช่น การรีไซเคิลให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด การผลิตกระแสไฟฟ้าโดยก๊าซมีเทนจากอินทรีย์วัตถุและน้ำทิ้ง การผลิตและจำหน่ายอาหารสัตว์ที่ปลอดภัยและได้มาตรฐาน เป็นต้น พร้อมกันนี้ยังได้รับเกียรติจาก นายภาสกร ชัยรัตน์ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ในฐานะรองประธานในพิธีให้เกียรติกล่าวปิดกิจกรรม ดังกล่าว### PR.DIPROM (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม) รายงาน /ภาพข่าว
28 ก.ย. 2564
ขอเชิญชวนรับฟังการเสวนาให้ความรู้ เรื่อง “ธุรกิจสำเร็จได้ด้วยการจัดการโลจิสติกส์และซัพพลายเชน” โครงการพัฒนาประสิทธิภาพโลจิสติกส์ภายในองค์กรของภาคอุตสาหกรรม
ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 9 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ขอเชิญชวนรับฟังการเสวนาให้ความรู้ เรื่อง “ธุรกิจสำเร็จได้ด้วยการจัดการโลจิสติกส์และซัพพลายเชน” โครงการพัฒนาประสิทธิภาพโลจิสติกส์ภายในองค์กรของภาคอุตสาหกรรม นำเสนอสถานประกอบการดีเด่น ฺฺ(Best Practice) จากการเข้าร่วมโครงการโครงการพัฒนาประสิทธิภาพโลจิสติกส์ภายในองค์กรของภาคอุตสาหกรรม จำนวน 7 สถานประกอบการ ผ่านระบบ Zoom Conference หัวข้อ การเสวนาให้ความรู้ โครงการพัฒนาประสิทธิภาพโลจิสติกส์ภายในองค์กรของภาคอุตสาหกรรม วันและเวลา วันพฤหัสบดีที่ 23 กันยายน 2564 เวลา 08.30 น. Meeting ID: 845 2791 7922 Passcode: 402658 และช่องทาง Facebook Live ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 9 ในวันพฤหัสบดีที่ 23 กันยายน 2564 ติดต่อสอบถามเพิ่มเติม ณัฐชานันท์ 099-261-9982 พนัชกร 081-675-4973
22 ก.ย. 2564
ขอเชิญร่วมสนับสนุนสินค้าวิสาหกิจชุมชนคัดสรรจากทั่วประเทศ เลือกมาให้ช้อปกันจุใจ ในแคมเปญพิเศษ “ตลาดสินค้า คลื่นลูกใหม่ หัวใจชุมชน” บนแพลตฟอร์มช้อปปี้
กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม ขอเชิญร่วมสนับสนุนสินค้าวิสาหกิจชุมชนคัดสรรจากทั่วประเทศ เลือกมาให้ช้อปกันจุใจ ในแคมเปญพิเศษ “ตลาดสินค้า คลื่นลูกใหม่ หัวใจชุมชน” บนแพลตฟอร์มช้อปปี้ ช้อปสะดวกได้ทุกที่ทุกเวลา เดินหน้าฝ่าวิกฤตสู้โควิด-19 พร้อมโค้ดส่วนลด 20% ตลอดแคมเปญ ไปช้อปกันได้ที่ 20 กันยายน - 19 ธันวาคม 2564 นี้
20 ก.ย. 2564
เตรียมพบห้างสรรพสินค้าออนไลน์ สุดอลังการ Diprom Megamall
เตรียมพบห้างสรรพสินค้าออนไลน์ สุดอลังการ Diprom Megamall ได้แล้ว ภายในห้างสรรพสินค้า ท่านจะได้พบกับสินค้าของคนไทย ที่มีคุณภาพกว่า 130 ร้านค้า ที่พร้อมจะให้ทุกท่านได้ช้อปอย่างจุใจ รวมถึงสัมผัสประสบการณ์ท่องเที่ยวทั่วไทย ผ่านบูธทั้ง 4 ภาค จัดทำโดย กองพัฒนาอุตสาหกรรมชุมชน กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม เชิญชวนทุกท่านเข้าร่วมงานเปิดตัวห้าง ในวันที่ 17 กันยายน 64 เวลา 13.30 น. ได้ที่ ภายในงานเปิดตัวท่านจะได้พบกับการแสดงคอนเสิร์ต และไลฟ์สดขายสินค้าคุณภาพในราคาพิเศษของผู้ประกอบการ ผู้ที่สนใจเข้าชมห้างสรรพสินค้าเสมือนจริง DIPROM MEGA MALL เข้าชมได้ที่
15 ก.ย. 2564
ขอเชิญ ผู้ประกอบการวิสาหกิจชุมชน เข้าร่วมขายสินค้าออนไลน์แคมเปญพิเศษ "ตลาดสินค้า คลื่นลูกใหม่ หัวใจชุมชน" บน SHOPEE
ขอเชิญ ผู้ประกอบการวิสาหกิจชุมชน เข้าร่วมขายสินค้าออนไลน์แคมเปญพิเศษ "ตลาดสินค้า คลื่นลูกใหม่ หัวใจชุมชน" บน SHOPEE สมัครได้ตั้งแต่วันนี้ - 24 กันยายน 2564 แค่มีร้านบนช้อปปี้ แล้วกรอกรายละเอียดได้ที่ ขั้นตอนเปิดร้านบน Shopee >>> แค่นี้ก็เข้าร่วมขายสินค้าออนไลน์แคมเปญพิเศษ พร้อมโปรโมชั่นส่งเสริมการขาย ส่วนลด 20% ฟรี ตลอดแคมเปญ 20 กันยายน - 19 ธันวาคม 2564 สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม คลื่นลูกใหม่ หัวใจชุมชน
10 ก.ย. 2564
สัมมนาหัวข้อ "โอกาสสินค้าไทยในประเทศเมียนม่า ในสถานการณ์ปัจจุบัน"
DIProm ขอเชิญท่านเข้าร่วมกิจกรรม Online Business Matching เวทีแห่งการสร้างโอกาสทางการตลาดสู่ประเทศเมียนม่า พบกับนักธุรกิจไทยเมืองย่างกุ้ง ผู้มีประสบการณ์ในการนาเข้าสินค้าไทยกว่า 2,000 รายการ ในระยะเวลา 4 ปี กิจกรรม ประกอบด้วย วันที่ 15 ก.ย. 2564 เวลา 09.00 น. - 12.00 น . สัมมนาในหัวข้อ "โอกาสสินค้าไทยในประเทศเมียนม่า ในสถานการณ์ปัจจุบัน" โดย คุณจาชญา สงวนสัตย์ ประธานบริหาร Mingalar Alliance Co.,Ltd ประเทศเมียนมาร์ และเจ้าของกิจการ ThaitownSupermarket วันที่ 29 ก.ย. 2564 เวลา 09.00 น. - 18.00 น. การเจรจาจับคู่ธุรกิจแบบรายต่อราย กับธุรกิจ Mingalar Alliance, Thaitown Supermarket และ Mingalarthai Online Shopping platform คุณสมบัติของผู้ประกอบการ เป็นผู้ผลิต หรือ เจ้าของแบรนด์สินค้าประเภท อาหาร, อาหารแช่แข็ง, อาหารสำเร็จรูป และขนมขบเคี้ยว ผัก, ผลไม้สด เครื่องปรุงรส และวัตถุดิบปรุงอาหาร เครื่องสำอาง, เสื้อผ้า, รองเท้าแฟชั่น อุปกรณ์ตกแต่งบ้าน ของใช้ในครัวเรือน เครื่องใช้ไฟฟ้า สนใจเข้าร่วมกิจกรรมสามารถสมัครได้ที่.- ภายในวันที่ 13 ก.ย. 64 สำหรับผู้ที่ต้องการเจรจาจับคู่ธุรกิจ กรุณาเตรียม ข้อมูลธุรกิจ และ ภาพสินค้า ส่งมาที่ Email : bs.group.dip@gmail.com ภายในวันที่ 20 ก.ย. 64 เตรียมตัวอย่างสินค้า (ของจริง) สำหรับพูดคุยเจรจาธุรกิจ ผ่าน Zoom หากท่านได้รับการพิจารณาเข้าร่วมกิจกรรม เจ้าหน้าที่จะติดต่อกลับไปที่ E-mail ของท่าน พร้อมส่ง link zoom สำหรับการเข้าร่วมกิจกรรมต่อไป สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม คุณสุวรัชต์ (ลูกหมี) 084-438-9704 หรือ โทร. 02-430-6873 ต่อ 1626
08 ก.ย. 2564
สัมมนาหัวข้อ “เจาะลึกโอกาสการตลาดของสินค้าไทย ในสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ (UAE) ยุคหลังโควิด จากประสบการณ์นักธุรกิจไทย ในนครดูไบ”
Online Business Matching UAE เวทีแห่งการสร้างโอกาสทางการตลาด สู่ประเทศสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ (UAE) พบกับเครือข่ายนักธุรกิจ Trader มืออาชีพชั้นนำ ณ นครดูไบ ผ่าน Zoom โดยกิจกรรม ประกอบด้วย วันที่ 16 ก.ย. 64 เวลา 13.00 - 16.00 น. สัมมนาในหัวข้อ “เจาะลึกโอกาสการตลาดของสินค้าไทย ในสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ (UAE) ยุคหลังโควิด จากประสบการณ์นักธุรกิจไทย ในนครดูไบ” โดย : Ms.Jerayu Limsuwat, บริษัท VEGA Foodstuff and Beverage Trading วันที่ 21-22 ก.ย. 64 เวลา 13.00 - 18.00 น. การเจรจาจับคู่ธุรกิจกับเครือข่ายนักธุรกิจที่เป็น Trader มืออาชีพชั้นนำ ณ นครดูไบ คุณสมบัติผู้สมัคร เป็นผู้ผลิตสินค้าประเภทอาหารแปรรูป เครื่องดื่ม และอาหารแช่แข็ง ที่ได้มาตรฐาน Halal เป็นผู้ผลิตสินค้าที่ไม่ใช่อาหารเน้นประเภท เครื่องครัว ของใช้อุปกรณ์ตกแต่งบ้าน อุปกรณ์แต่งรถยนต์ และผลิตภัณฑ์ดูแลส่วนบุคคล สนใจเข้าร่วมกิจกรรม สามารถสมัครได้ที่ สำหรับผู้ที่ต้องการเจรจาจับคู่ธุรกิจ กรุณาเตรียม Clip VDO สั้น แนะนำธุรกิจและสินค้าของท่าน (ไม่เกิน 3 นาที) และ ข้อมูลธุรกิจ (เป็นภาษาอังกฤษ) ตาม Template นี้ ส่งมาที่ matching.dipuae2021@gmail.com ภายในวันที่ 15 ก.ย. 64 หากท่านได้รับการพิจารณาเข้าร่วมกิจกรรม เจ้าหน้าที่จะติดต่อกลับไปที่ E-mail ของท่าน พร้อมส่ง link zoom สำหรับการเข้าร่วมกิจกรรมต่อไป สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม กองส่งเสริมผู้ประกอบการและธุรกิจใหม่ คุณโสรยา(พลอย) 092-246-2140 และ 02-430-6873-4 ต่อ 1625
08 ก.ย. 2564
งานแถลงข่าวเปิดตัว "DIPROM MEGA MALL" ช้อปเที่ยวทิพย์ ทั่วไทยให้หายคิดถึง
โควิดทำให้คุณเดินทางไม่ได้ อยากท่องเที่ยวและอยากช้อปปิ้งในเวลาเดียวกัน ห้ามพลาด “งานแถลงข่าวเปิดตัว DIPROM MEGA MALL " ช้อปเที่ยวทิพย์ ทั่วไทยให้หายคิดถึง เชิญพบการการเปิดตัว Virtual Mall ที่ใหญ่อันดับต้น ๆ ในประเทศไทย ที่สนับสนุนผลงานวิสาหกิจชุมชน ฝีมือของคนไทยที่รังสรรผลงานคุณภาพ ออกมาให้ท่านได้ช้อปปิ้งมากกว่า 100 ร้านค้า ยังไม่พอท่านจะได้เพลิดเพลินกับการท่องเทียวแบบ Virtual พร้อมปักหมุดหลังโควิดดีขึ้นท่านสามารถเดินทางได้ และจะได้เห็นสถานที่ท่องเที่ยวที่สวยงามของประเทศไทย Unseen Thailand อย่างแน่นอน วันที่ 9 กันยายน 2564 เวลา 13.00 - 15.00 น. ช่องทาง Live https://www.facebook.com/dipromindustry/
06 ก.ย. 2564
คิดเห็นแชร์ : สู้สังเวียน โควิด 2.0 แบบพร้อมสู้-อยู่ได้-ไปรอด
คอลัมน์ : คิดเห็นแชร์ (มติชนออนไลน์)ผู้เขียน : นายณัฐพล รังสิตพล (อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม) สวัสดีแฟนๆ คิดเห็นแชร์ทุกท่านครับ อีกไม่นานเราจะก้าวเข้าสู่ช่วงไตรมาสที่ 4 ซึ่งเป็นโค้งสุดท้ายของปีกันแล้ว แต่สิ่งที่ยังคงถูกจับตามองในช่วงนี้คือ ตัวเลขผู้ติดเชื้อโควิด-19 ตัวเลขผู้ได้รับการฉีดวัคซีน และจำนวนวันที่เหลือไม่ถึง 50 วัน จากเป้าหมาย 120 วันของการนับถอยหลังเปิดประเทศ ตามนโยบายของท่านนายกรัฐมนตรี ที่ประกาศไว้เมื่อวันที่ 16 มิ.ย.2564 เป็นแสงสว่างปลายอุโมงค์ในอนาคตอันใกล้ ทำให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจและธุรกิจต่างๆ กลับมา แม้ยังคงกังวลกับความเสี่ยงของการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 กลายเป็นกระแสตีกลับที่ยากจะรับมือได้ อย่างไรก็ดี ในเวลาอีกประมาณ 50 วัน หรือราว 7 สัปดาห์ ที่กิจกรรมทางเศรษฐกิจจะกลับมาคึกคักอีกครั้ง เพื่อเป็นการเตรียมตัวในการดำเนินธุรกิจแบบ Next Normal ที่ผู้ประกอบการจะต้องพร้อมสู้ในสังเวียนโควิด 2.0 ที่ท้าทายกว่าเดิม ต้องเรียนรู้และอยู่ได้ในช่วงที่เชื้อโรคโควิด-19 ยังคงอยู่ระหว่างการควบคุม รวมทั้งต้องพยายามปรับให้ธุรกิจไปรอดและฟื้นคืนในเร็ววัน ผมจึงอยากแชร์กับทุกๆ ท่าน ไม่ว่าจะอยู่ในอุตสาหกรรมใด ให้ลองพิจารณาถึง 5 แนวทางสำคัญ ที่จะช่วยให้ผู้ประกอบการไทย พร้อมสู้-อยู่ได้-ไปรอด กันครับ 1. การจัดการโควิด-19 ในองค์กร ณ ตอนนี้ แผนธุรกิจที่ดีที่สุดอาจเป็นการรักษาธุรกิจให้ปลอดเชื้อให้กิจกรรมต่างๆ ยังดำเนินต่อไปได้ เพราะหากพบการติดเชื้อแล้วทุกอย่างจะต้องหยุดลง เปรียบเสมือนการโดนใบแดงและต้องออกจากการแข่งขันไปโดยปริยาย ดังนั้น ผู้ประกอบการควรเร่งสร้างภูมิคุ้มกันให้กับธุรกิจ ด้วยการกำหนดแนวทางป้องกัน จำกัด และจัดการ (Prevent, Contain, and Manage) เชื้อโรคโควิด-19 ที่เหมาะสม โดยเริ่มจากการป้องกันไม่ให้เชื้อแพร่เข้ามาในสถานประกอบการ ทั้งจากพนักงาน สินค้า หรือผู้มาติดต่อ และหากพบการแพร่ระบาดของเชื้อ ต้องรีบจำกัดการแพร่เชื้อให้อยู่ในวงแคบทันที เช่น ทำการคัดกรองเชิงรุกและกักกันโรคแบบ Factory Quarantine หรือ Bubble and Seal เพื่อบริหารจัดการให้ดำเนินกิจการต่อไปได้ ควบคุมไม่ให้เกิดการแพร่ระบาดทั้งในสถานประกอบการและชุมชนเพิ่มขึ้นอีก 2. การตลาด 2.0 ที่มาพร้อมกับโควิด 2.0 ซึ่งเน้นย้ำให้เห็นถึงความสำคัญของการพึ่งพาตลาดในประเทศ ก่อนเกิดการระบาดของโรคโควิด-19 รายได้ส่วนใหญ่ของไทยมาจากเม็ดเงินต่างประเทศเป็นหลัก เช่น การท่องเที่ยวและการส่งออก เมื่อการเดินทางและการขนส่งระหว่างประเทศหยุดชะงัก แต่สินค้าต่างๆ ยังผลิตออกมาตามกลไกปกติ ตลาดในประเทศ โดยเฉพาะการจัดซื้อจัดจ้างของภาครัฐ ผ่านมาตรการ THAI SME-GP และ Made in Thailand (MiT) จึงกลายเป็นแหล่งรองรับสินค้าและบริการจากผู้ประกอบการไทย นอกจากนี้ การค้าแบบ E-commerce ในช่วงเวลาที่ผู้คนส่วนใหญ่ต้องอยู่บ้าน หยุดเชื้อ เพื่อชาติ กิจกรรมการซื้อขายแทบทั้งหมดจึงย้ายไปอยู่บนแพลตฟอร์มออนไลน์ ดังนั้น ผู้ประกอบการไทยจึงควรสร้างความได้เปรียบ ที่มากกว่าการแข่งขันด้านราคา เช่น การปรับลุคของหน้าร้านออนไลน์ (Virtual Storefront) ให้ดึงดูดและน่าสนใจ การประยุกต์ใช้สื่อโซเชียลต่างๆ เพื่อส่งเสริมการขาย (Social Commerce) และสื่อสารกับลูกค้าแบบ Real-time เสมือนซื้อขายในร้านค้าจริง และอาจลองปรับใช้บริการคลังสินค้าออนไลน์ (Fulfillment Center) ที่ช่วยเก็บ-แพค-ส่งแบบรวดเดียวจบ รวมถึงเปิดใจให้ตลาดประเทศเพื่อนบ้าน CLMV ที่พฤติกรรมของผู้บริโภคส่วนใหญ่คล้ายคลึงกับคนไทย 3. เปลี่ยนค่าใช้จ่ายเป็นทุน หนึ่งในปัญหาที่ผู้ประกอบการพบเจอ คือ ปัญหาด้านเงินทุนและธุรกิจขาดสภาพคล่อง โดยอาจลืมไปว่าวัตถุดิบและสินค้าคงคลังก็สามารถเปลี่ยนเป็นเงินทุนได้ด้วยการบริหารจัดการโลจิสติกส์ที่มีประสิทธิภาพ โดยเริ่มตั้งแต่การจัดซื้อและขนส่งวัตถุดิบ การตรวจสอบและเก็บรักษา ตลอดจนการหมุนเวียนสินค้าคงคลัง จะช่วยระบายค่าใช้จ่ายที่จมอยู่กับวัตถุดิบและสินค้าต่างๆ ให้กลายมาเป็นทุนในการทำธุรกิจต่อไป นอกจากนี้ หนึ่งในจุดอ่อนของภาคธุรกิจ โดยเฉพาะเอ็สเอมอี คือ ไม่มีบัญชี ไม่ต้องสมบูรณ์ตามหลักการบัญชี แต่ให้เน้นบันทึกรายรับรายจ่ายของกิจการได้ เพื่อให้ทราบถึงสภาวะทางการเงินของธุรกิจ เมื่อข้อมูลดี มีความน่าเชื่อถือ การขอสินเชื่อจากสถาบันการเงินก็จะง่ายขึ้น 4. สร้างและเชื่อมโยงเครือข่ายพันธมิตรทางธุรกิจ ปัจจุบัน เรามักพบเห็นการร่วมงานกันระหว่างธุรกิจ (Collaboration) เช่น ในอุตสาหกรรมอาหาร แฟชั่น และไลฟ์สไตล์ ผลที่ได้คือความสร้างสรรค์และแปลกใหม่ เป็นประโยชน์ทั้งในด้านการเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขัน พร้อมโกยคะแนนนิยมจากผู้บริโภคที่พยายามหลีกหนีความจำเจ ดังนั้น การสร้างและเชื่อมโยงเครือข่ายสำหรับผู้ประกอบการ จะสนับสนุนให้เกิดการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้และเครื่องจักรในการผลิต เกิดนวัตกรรมช่วยสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่สินค้า และเพิ่มโอกาสทางการตลาดและการจัดจำหน่าย 5. ปรับโมเดลธุรกิจ Business Model เป็นเหมือนพิมพ์เขียวในการทำธุรกิจของทุกองค์กร แต่เมื่อโควิด-19 เข้ามาเปลี่ยนแปลงโลกและพลิกโฉมภูมิทัศน์ทางธุรกิจ การประกอบธุรกิจแบบเดิม (Business as Usual) จึงไม่ใช่คำตอบอีกต่อไป ดังนั้น เพื่อให้อยู่รอด ผู้ประกอบการต้องกล้าปรับโมเดลธุรกิจ เปลี่ยนกลยุทธ์ เพิ่มจุดแข็ง ลดจุดอ่อนให้ตอบโจทย์บุคลากรภายใน ลูกค้า และเสริมเกราะให้ธุรกิจด้วยการทำแผนบริหารความต่อเนื่อง (Business Continuity Plan: BCP) เพื่อให้กิจการไม่สะดุดแม้ในยามวิกฤตในที่ช่วงผ่านมา เราได้พยายามรับมือและรอให้โรคโควิด-19 หมดไป แต่แล้วเจ้าเชื้อโรคนี้ก็ได้เปลี่ยนแปลงสายพันธุ์จนเล็ดลอดจากวัคซีนนานาชนิดมาได้ ดังนั้น พวกเราเองจึงต้องพยายามเข้าใจ เปิดใจ และปรับตัวเช่นกัน เพื่อพิสูจน์ว่าสุดท้ายแล้ว เราไม่จำเป็นต้องรอให้เชื้อโรคหยุดแพร่ระบาด แต่ก็ยังสามารถป้องกันตนเองและประคองธุรกิจให้อยู่ได้ ไปรอด และอยู่ร่วมกับโรคโควิด-19 ได้ในที่สุดครับ ที่มา : https://www.matichon.co.th/economy/news_2922425
05 ก.ย. 2564
งานตลาดออนไลน์ รวมใจตลาด "ศิลป์ไทย" โดยกลุ่มคลัสเตอร์หัตถศิลป์สยามปี 5
กองพัฒนาอุตสาหกรรมชุมชน ขอเชิญเข้าร่วมรับชม Live Streaming งานตลาดออนไลน์ รวมใจตลาด "ศิลป์ไทย" โดยกลุ่มคลัสเตอร์หัตถศิลป์สยามปี 5 ห้ามพลาด พบกับผลงานกลุ่มผู้ประกอบการหัตถศิลป์สยาม มีสินค้ามามายให้เลือกสรร วันที่ 7 - 8 กันยายน 2564 เวลา 10.30 น. เป็นต้นไป และรับชม Live สด สู่ตลาดออนไลน์อเมริกา กับ Jack Brown (แจ็ค บราวน์) เจ้าของเพจเด็กฝรั่งเล่าเรื่องรักเมืองไทย เวลา 13.30 - 14.30 น.
03 ก.ย. 2564