หมวดหมู่
ดีพร้อม ออก 5 มาตรการเร่งด่วน “พร้อมสู้ อยู่ได้ ไปรอด” ช่วย SMEs
ดีพร้อม ออก 5 มาตรการเร่งด่วน “พร้อมสู้ อยู่ได้ ไปรอด” ช่วย SMEs คาดปี 64 สร้างเม็ดเงินหมุนเวียนกว่า 8,000 ล้านบาท กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม หรือ ดีพร้อม เปิดแผนสู้โควิด-19 ชี้ทางรอด SMEs ไทย ภายใต้แนวทางนโยบาย “พร้อมสู้-อยู่ได้-ไปรอด” ในระยะเร่งด่วนช่วง 60 วัน เพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการการ SMEs และวิวาหกิจชุมชนที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ประกอบด้วย 1. การจัดการโควิดในองค์กร โดยสร้างองค์ความรู้ในการบริหารจัดการองค์กร เพื่อป้องกันและรับมือกับการแพร่ระบาดที่เกิดขึ้นแบบองค์รวม 2. การตลาดภายใต้โควิด ซึ่งมุ่งเน้นการดำเนินการตลาดและขยายตลาดในรูปแบบต่าง ๆ ประกอบด้วย การส่งเสริมการตลาดออนไลน์ การส่งเสริมกลยุทธ์การตลาดออนไลน์ แนวทางช่วยเหลือด้านการขนส่ง และแนวทางการตลาดร่วมเป็นคู่ค้ากับภาครัฐ 3. เปลี่ยนค่าใช้จ่ายเป็นเงินทุน โดยการนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมปรับเปลี่ยนค่าใช่จ่ายในการดำเนินธุรกิจให้กลายเป็นเงินทุนในการประกอบกิจการ โดยการใช้ระบบคลังสินค้าออนไลน์เพื่อลดต้นทุนด้านโลจิสติกส์ให้แก่ผู้ประกอบการ และ 4. สร้างเครือข่ายพันธมิตรโดยจัดสรรและเชื่อมโยงเครือข่ายพันธมิตรให้แก่ผู้ประกอบการผ่านโครงการสำคัญ ๆ 5. ปรับโมเดลธุรกิจ โดยปรับเปลี่ยนการดำเนินธุรกิจเพื่อให้ทันต่อสถานการณ์เศรษฐกิจและให้ธุรกิจดำเนินได้อย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ จากการดำเนินงานโครงการ/กิจกรรม มาตรการเร่งด่วนต่าง ๆ ของ ดีพร้อมในปีงบประมาณ 2564 คาดว่าจะสามารถช่วยส่งเสริมและยกระดับผู้ประกอบการในภาคส่วนอุตสาหกรรมต่าง ๆ ได้จำนวนรวม 3,356 กิจการ / 11,955 ราย / 982 ผลิตภัณฑ์ และสร้างเม็ดเงินหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจได้กว่า 8,000 ล้านบาท ### PR.DIProm (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม) รายงาน/ภาพข่าวอ่านรายละเอียดเพิ่มเติม
30 ก.ค. 2564
ขอเชิญชวนเข้าร่วมสัมมนาออนไลน์ "อุตสาหกรรมกัญชง เพื่อส่งเสริมเศรษฐกิจฐานราก"
ขอเชิญชวนเข้าร่วมสัมมนาออนไลน์ "อุตสาหกรรมกัญชง เพื่อส่งเสริมเศรษฐกิจฐานราก" ฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย การสัมมนาออนไลน์ จัดผ่าน ZOOM และ facebook live ทางเพจ กองพัฒนาเกษตรอุตสาหกรรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม วันที่ 6 สิงหาคม 2564 เวลา 08.30 – 12.00 น. ท่านจะได้เปิดมุมมองเรียนรู้กัญชงในแง่มุมต่าง ๆ เพื่อนำมาต่อยอดความรู้และสามารถนำมาประยุกต์ใช้กับธุรกิจของท่านให้ตอบโจทย์ตลาดกัญชงของประเทศไทย ผ่านการเสวนาจำนวน 5 หัวข้อที่กองพัฒนาเกษตรอุตสาหกรรมคัดมาเน้น ๆ ได้แก่ ทิศทางและภาพรวมอุตสาหกรรมกัญชง เทรนด์กัญชงในอุตสาหกรรมอาหาร การใช้กัญชงเพื่ออุตสาหกรรมท่องเที่ยวและสุขภาพ กัญชงส่งเสริมอุตสาหกรรมอาหารสัตว์ ก้าวทันกฎระเบียบการใช้กัญชงในอุตสาหกรรมอาหาร โดยมีวิทยากรผู้เชี่ยวชาญด้านกัญชงจากหน่วยงานภาครัฐภาคเอกชน สถาบันอาหาร สถาบันพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร มาถ่ายทอดองค์ความรู้อย่างเข้มข้น ในระยะเวลา 3 ชั่วโมง สนใจรีบลงทะเบียน ด่วน‼️ ตั้งแต่วันนี้ - 5 ส.ค. 2564 ติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ทาง Facebook : กองพัฒนาเกษตรอุตสาหกรรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม
29 ก.ค. 2564
การสำรวจความพึงพอใจของประชาชนต่อการให้บริการตามคู่มือสำหรับประชาชน (รอบที่ 2)
สำนักงาน ก.พ.ร. ได้ส่งเสริมให้หน่วยงานภาครัฐดำเนินการตามพระราชบัญญัติการอำนวยความสะดวกในการพิจารณาอนุญาตของทางราชการ พ.ศ. 2558 โดยหน่วยงานภาครัฐมีการพัฒนา ปรับปรุงประสิทธิภาพให้บริการเพื่อเกิดความสะดวกให้แก่ผู้รับบริการ สำนักงาน ก.พ.ร. จึงกำหนดให้มีการสำรวจความพึงพอใจของประชาชนต่อการให้บริการของหน่วยงานภาครัฐตามที่กำหนดไว้ในคู่มือสำหรับประชาชน เพื่อรับฟังความคิดเห็นเกี่ยวกับความพึงพอใจในการให้บริการ ดำเนินการสำรวจความพึงพอใจของประชาชนระหว่างเดือนกรกฎาคม - สิงหาคม 2564
20 ก.ค. 2564
แจ้งหมายเลขโทรศัพท์สำหรับติดต่อกับกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ในช่วงที่มีการใช้นโยบาย Work from Home
กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม หรือ ดีพร้อม (DIPROM) มีมาตรการเร่งด่วนในการป้องกันและควบคุมสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 หรือ โควิด-19 โดยให้ข้าราชการและเจ้าหน้าที่ของดีพร้อม ปฏิบัติงาน ณ ที่พักอาศัย (Work From Home) จนกว่าสถานการณ์จะคลี่คลาย ดีพร้อม (DIPROM) จึงขอแจ้งเบอร์หมายเลขโทรศัพท์สำหรับติดต่อ ในช่วง Work From Home เพื่อให้ผู้ประกอบการทุกท่านสามารถติดต่อสื่อสารได้สะดวกยิ่งขึ้น สำนักงานเลขานุการกรม ฝ่ายบริหารงานทั่วไป เบอร์โทรศัพท์ : 08 6326 7589 อีเมล์ : ampornpan @dip.go.th กลุ่มประชาสัมพันธ์ เบอร์โทรศัพท์ : 06 2595 8531 ID Line : prdiprom Line : @diprom อีเมล์ : prdip1103@gmail.com กองพัฒนาขีดความสามารถธุรกิจอุตสาหกรรม นางสาวลัลน์ลลิฐา กมลปลื้ม 09 7283 7744 กองพัฒนาดิจิทัลอุตสาหกรรม นายวาที พีระวรานุพงศ์ 08 4700 3798 นางนวลจิตต์ เรืองศรีใส 08 4387 8123 กองพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยีอุตสาหกรรม นายณฐกร วงษา 08 9718 6262 กองพัฒนาอุตสาหกรรมชุมชน นส.มัชฌิมา กาญจนอนันต์ 06 3203 4056 นส.สุพรรณี ชุ่มเพ็งพันธ์ 08 9836 1496 กองพัฒนาอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ นางวันเพ็ญ รัตนกังวาล 08 1429 8209 กองยุทธศาสตร์และแผนงาน นางสุชาดา โพธิ์เจริญ 09 2246 2141 นางอรพิน อุดมธนะธีระ 09 9625 9249 กองโลจิสติกส์ นางสาวชลาริน นิลพิฤกษ์ 09 1436 6626 กองส่งเสริมผู้ประกอบการและธุรกิจใหม่ นายพลาวุธ วงศ์วิวัฒน์ 09 8969 4196 ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร นางเกษราภรณ์ โกวิทลวากุล 09 2246 7680 นางสาวเดือนมนัส มุตติ 08 3025 0753 กองพัฒนาเกษตรอุตสาหกรรม นางสาวอริยาพร อำนรรฆสรเดช 09 0198 5980 นางสาวศศิวิมล สุทธิเลิศ 08 4438 9710
20 ก.ค. 2564
คิดเห็นแชร์ : กระตุ้นเศรษฐกิจไทย ด้วยกลไกการจัดซื้อภาครัฐ
คอลัมน์ : คิดเห็นแชร์ (มติชนออนไลน์) ผู้เขียน : นายณัฐพล รังสิตพล (อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม) สวัสดีแฟนๆ คิดเห็นแชร์ทุกท่านครับ เข้าสู่ช่วงครึ่งหลังของปี 2564 ที่ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ยังคงทวีความรุนแรงและส่งผลกระทบต่อทุกภาคส่วนอย่างต่อเนื่อง อีกทั้งยังพบการกลายพันธุ์ของเชื้อที่ทำให้เกิดการระบาดเป็นวงกว้างอย่างรวดเร็ว แม้ว่ารัฐบาลจะเร่งฉีดวัคซีนให้กับประชาชน เพื่อสร้างให้เกิดภูมิคุ้มกันหมู่และลดการแพร่ระบาดของเชื้อแล้ว แต่ผมก็อยากให้ทุกท่านยังคงระมัดระวังตัว และรักษาวินัยต่อตนเองและสังคม เพื่อเป็นปราการต้านโรคโควิด-19 ที่เราจะร่วมด้วยช่วยกันได้คนละไม้คนละมือครับ การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ที่ยืดเยื้อมาตั้งแต่ปี 2563 ส่งผลให้เศรษฐกิจไทยชะลอตัวอย่างเห็นได้ชัด โดยในปี 2563 ตัวเลขผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศ Gross Domestic Product (GDP) หรือจีดีพีของไทย อยู่ที่ -6.1% แต่ในปีนี้ เราอาจยังพอมองเห็นแสงสว่างที่ปลายอุโมงค์อยู่บ้าง เพราะล่าสุด สภาพัฒน์ได้คาดการณ์ว่าจีดีพีของปีนี้จะขยายตัว ราว 1.5-2.5% ซึ่งเป็นการปรับตัวดีขึ้นอย่างช้าๆ จากปีก่อน โดยมีปัจจัยสนับสนุน คือ การฟื้นตัวของเศรษฐกิจและปริมาณการค้าโลกที่สอดคล้องกับการเร่งฉีดวัคซีนของหลายๆ ประเทศทั่วโลก และแรงขับเคลื่อนจากการใช้จ่ายภาครัฐ หรือ Government Spending (G) ที่เป็นหนึ่งในส่วนประกอบสำคัญของจีดีพี ได้แก่ 1.Consumption (C) มูลค่าการบริโภคของภาคเอกชนและประชาชนทั่วไป 2.Investment (I) มูลค่าการลงทุนจากภาคเอกชน 3.Government Spending (G) ค่าใช้จ่ายทั้งหมดของรัฐบาลที่ใช้ซื้อสินค้าและบริการ หรือการลงทุนในโครงการต่างๆ 4.Export (X) มูลค่าการส่งออก และ 5.Import (M) มูลค่าการนำเข้า โดยจีดีพีถือเป็นตัวบ่งบอกถึงมาตรฐานการครองชีพของประชากรในประเทศ และสามารถคำนวณได้จากสูตร GDP = C + I + G + (X – M) เมื่อเศรษฐกิจไทยได้รับผลกระทบจากโรคโควิด-19 ทำให้เครื่องยนต์ขับเคลื่อนจีดีพีที่มีอยู่ 5 ส่วนก็เริ่มทำงานติดขัด เช่น (C) หรือมูลค่าการบริโภคของภาคเอกชนที่ลดลงตามรายได้และกำลังซื้อ และ (I) หรือมูลค่าการลงทุนจากภาคเอกชนที่อยู่ในระดับต่ำเพราะนักลงทุนขาดความมั่นใจในเสถียรภาพของเศรษฐกิจในยุคโควิด-19 ดังนั้น ในภาวะฝืดเคืองเช่นนี้ ไอเท็มลับที่รัฐบาลสามารถบริหารจัดการและหยิบมาใช้ได้ทันทีเพื่อช่วยประคองเศรษฐกิจภายในประเทศให้เดินหน้าต่อไปได้ คือ (G) หรือการจัดซื้อจัดจ้างของภาครัฐ โดยปรับให้ส่วนราชการ ส่งเสริมและสนับสนุนการจัดซื้อจัดจ้างพัสดุและสินค้าที่ผลิตในประเทศไทยจากทั้งนักธุรกิจ ผู้ประกอบการเอสเอ็มอี และวิสาหกิจทั่วประเทศแทนการนำเข้า โดยแต่ละปีงบประมาณการจัดซื้อจัดจ้างเฉลี่ยอยู่ที่ 1.77 ล้านล้านบาท จึงเป็นโอกาสอันดีที่จะกระจายเม็ดเงินเหล่านี้ให้ถึงมือผู้ประกอบการไทย ซึ่งจะกระตุ้นให้เกิดการจับจ่ายใช้สอยและการหมุนเวียนของเงินในระบบเศรษฐกิจโดยไม่ขัดต่อกติกาการค้าสากล แนวคิดการกระตุ้นเศรษฐกิจด้วยการใช้จ่ายของภาครัฐและแนวคิดการเพิ่มการพึ่งพาเศรษฐกิจในประเทศ (Economic Self-Reliance) ไม่ใช่เรื่องใหม่ แต่มักจะถูกหยิบยกขึ้นมาใช้แบบเฉพาะกิจเพื่อรักษาความแข็งแรงของระบบเศรษฐกิจในประเทศ เช่น เมื่อต้นปีที่ผ่านมา นายโจ ไบเดน ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา ได้ประกาศว่ารัฐบาลกลางของสหรัฐจะเปลี่ยนมาใช้รถยนต์ไฟฟ้า (EV) ที่ผลิตในประเทศเท่านั้น เพื่อผลักดันให้สหรัฐเป็นผู้นำการผลิตยานยนต์ไฟฟ้าระดับโลกและเพิ่มการจ้างงานสำหรับชาวอเมริกันอีกกว่า 1 ล้านคน นอกจากนี้ ในเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา นายนเรนทรา โมดี นายกรัฐมนตรีอินเดีย มีคำสั่งระงับการขึ้นทะเบียนนำเข้าสินค้าอิเล็กทรอนิกส์เพื่อการสื่อสาร อาทิ โทรศัพท์สมาร์ทโฟน ลำโพงบลูทูธ และหูฟังไร้สาย เป็นการชั่วคราว ซึ่งมีนัยสำคัญเพื่อส่งเสริมให้อินเดียเป็นผู้นำด้านการประกอบชิ้นส่วนสมาร์ทโฟนในเอเชียใต้ และจูงใจให้บริษัทยักษ์ใหญ่ต่างชาติหันมาลงทุนในอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์เพื่อการสื่อสารในอินเดีย สำหรับประเทศไทยนั้น เมื่อรายได้หลักจากต่างประเทศที่เคยพึ่งพา ทั้งจากการส่งออกและการบริการลดน้อยลง เราจึงต้องหันมาบริหารกระแสเงินสดภายในประเทศให้หมุนวนหลายๆ รอบเพื่อกระจายไปถึงทุกภาคส่วนโดยถ้วนหน้า จึงเป็นที่มาของนโยบายการส่งเสริมและสนับสนุนการบริโภคสินค้าภายในประเทศผ่านระบบการจัดซื้อจัดจ้างของหน่วยงานรัฐ โดยมี 2 มาตรการสำคัญ คือ 1.THAI SME-GP สำหรับเป็นช่องทางให้ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีเข้าสู่ระบบการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ รับผิดชอบโดยสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) และ 2.Made in Thailand (MiT) เป็นการส่งเสริมการจัดซื้อจัดจ้างสินค้าและบริการจากผู้ประกอบการไทยที่ใช้วัตถุดิบในประเทศ ไม่น้อยกว่า 40% ในการผลิต รับผิดชอบโดยสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เป็นหน่วยงานพิจารณาออกใบรับรอง แนวคิดการกระตุ้นเศรษฐกิจด้วยการใช้จ่ายของภาครัฐและแนวคิดการเพิ่มการพึ่งพาเศรษฐกิจในประเทศ (Economic Self-Reliance) ไม่ใช่เรื่องใหม่ แต่มักจะถูกหยิบยกขึ้นมาใช้แบบเฉพาะกิจเพื่อรักษาความแข็งแรงของระบบเศรษฐกิจในประเทศ เช่น เมื่อต้นปีที่ผ่านมา นายโจ ไบเดน ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา ได้ประกาศว่ารัฐบาลกลางของสหรัฐจะเปลี่ยนมาใช้รถยนต์ไฟฟ้า (EV) ที่ผลิตในประเทศเท่านั้น เพื่อผลักดันให้สหรัฐเป็นผู้นำการผลิตยานยนต์ไฟฟ้าระดับโลกและเพิ่มการจ้างงานสำหรับชาวอเมริกันอีกกว่า 1 ล้านคน นอกจากนี้ ในเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา นายนเรนทรา โมดี นายกรัฐมนตรีอินเดีย มีคำสั่งระงับการขึ้นทะเบียนนำเข้าสินค้าอิเล็กทรอนิกส์เพื่อการสื่อสาร อาทิ โทรศัพท์สมาร์ทโฟน ลำโพงบลูทูธ และหูฟังไร้สาย เป็นการชั่วคราว ซึ่งมีนัยสำคัญเพื่อส่งเสริมให้อินเดียเป็นผู้นำด้านการประกอบชิ้นส่วนสมาร์ทโฟนในเอเชียใต้ และจูงใจให้บริษัทยักษ์ใหญ่ต่างชาติหันมาลงทุนในอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์เพื่อการสื่อสารในอินเดีย สำหรับประเทศไทยนั้น เมื่อรายได้หลักจากต่างประเทศที่เคยพึ่งพา ทั้งจากการส่งออกและการบริการลดน้อยลง เราจึงต้องหันมาบริหารกระแสเงินสดภายในประเทศให้หมุนวนหลายๆ รอบเพื่อกระจายไปถึงทุกภาคส่วนโดยถ้วนหน้า จึงเป็นที่มาของนโยบายการส่งเสริมและสนับสนุนการบริโภคสินค้าภายในประเทศผ่านระบบการจัดซื้อจัดจ้างของหน่วยงานรัฐ โดยมี 2 มาตรการสำคัญ คือ 1.THAI SME-GP สำหรับเป็นช่องทางให้ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีเข้าสู่ระบบการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ รับผิดชอบโดยสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) และ 2.Made in Thailand (MiT) เป็นการส่งเสริมการจัดซื้อจัดจ้างสินค้าและบริการจากผู้ประกอบการไทยที่ใช้วัตถุดิบในประเทศ ไม่น้อยกว่า 40% ในการผลิต รับผิดชอบโดยสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เป็นหน่วยงานพิจารณาออกใบรับรอง โดยกรมส่งเสริมอุตสาหกรรมได้เริ่มใช้มาตรการ Thai SME-GP และ Made in Thailand (MiT) ในการจัดซื้อจ้างวัสดุ-ครุภัณฑ์ในสำนักงาน อีกทั้งยังได้กระจายนโยบายดังกล่าวไปยังศูนย์ภาคทั้ง 11 แห่งทั่วประเทศ โดยทั้ง 2 มาตรการนี้ยังมีสิทธิประโยชน์ด้านราคาสำหรับผู้ประกอบการไทยในกรณีแข่งขันกับบริษัทต่างชาติเพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งขันให้กับภาคการผลิตในประเทศ และยังช่วยสนับสนุนให้เกิดการส่งต่อเทคโนโลยีเข้ามาในประเทศและส่งเสริมการลงทุนจากต่างประเทศอีกทางหนึ่งอีกด้วย ท้ายที่สุด แม้อาจเกิดเสียงวิจารณ์ว่าเหตุใดหน่วยงานรัฐจึงเลือกซื้อสินค้าราคาสูง แต่การใช้จ่ายเงินของภาครัฐเพื่ออุดหนุนสินค้าไทย ที่ผลิตโดยผู้ประกอบการไทย ย่อมเป็นการช่วยกักเก็บเงินให้ไหลกลับเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจและห่วงโซ่การผลิต เกิดการจ้างงานและการบริโภค เกิดการหมุนเวียนของเงินในระบบที่จะสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจได้อย่างมหาศาล ส่งผลให้ตัวเลขจีดีพีเพิ่มสูงขึ้น อีกทั้งยังเป็นการช่วยพยุงผู้ประกอบการไทยให้ก้าวพ้นวิกฤตในตอนนี้ไปได้ ผ่านการนำเงินในส่วนของภาครัฐที่เปรียบได้กับเงินเก็บก้นถุงมาอุดหนุนธุรกิจในประเทศให้สามารถพลิกฟื้นกลับมาแข็งแกร่งได้ในเร็ววันครับ ที่มา : https://www.matichon.co.th/economy/news_2807972
16 ก.ค. 2564
กิจกรรมบริการข้อมูลธุรกิจ และให้คำปรึกษาแนะนำเบื้องต้น
How to รอด?...รอดวิกฤติโดยผู้เชี่ยวชาญ บริการให้คำปรึกษาแนะนำและ Coaching โดยผู้เชี่ยวชาญด้านต่าง ๆ การตลาด/การจัดการ/บุคลากร/Happy Workplace สุขอนามัยและความปลอดภัยในที่ทำงาน การผลิต/Lean/ระบบมาตรฐาน/Supply Chain บัญชีและการเงิน ระบบไอทีเพื่อการจัดการบริหาร อื่น ๆ เช่น การพัฒนาผลิตภัณฑ์ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม คุณณัฎฐ์ทิตา เสนาทิพย์ 0 2215 3313 sme.consult2021@gmail.com
15 ก.ค. 2564
กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (DIPROM) ขอแจ้งเปลี่ยนหมายเลขโทรศัพท์ 0 2430 6860
ศูนย์สนับสนุนและช่วยเหลือเอสเอ็มอี (SSRC) 0 2430 6860 ต่อ 1919 กองพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยีอุตสาหกรรม 0 2367 8001 กองพัฒนาอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ 0 2367 8021 กองพัฒนาอุตสาหกรรมชุมชน 0 2367 8335 สำนักงานเลขานุการกรม 0 2430 6865-66 กองยุทธศาสตร์และแผนงาน 0 2430 6867-68 กองพัฒนาขีดความสามารถธุรกิจอุตสาหกรรม 0 2430 6869-70 กองพัฒนาดิจิทัลอุตสาหกรรม 0 2430 6871-72 กองส่งเสริมผู้ประกอบการและธุรกิจใหม่ 0 2430 6873-74 กองพัฒนาเกษตรอุตสาหกรรม 0 2430 6875-76 กองโลจิสติกส์ 0 2430 6877-78
07 ก.ค. 2564