หมวดหมู่
คิดเห็นแชร์ : "ความสร้างสรรค์"… สร้างงาน สร้างรายได้
คอลัมน์ : คิดเห็นแชร์ ผู้เขียน : นายณัฐพล รังสิตพล (อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม) สวัสดีแฟน ๆ คิดเห็นแชร์ทุกท่านครับ เริ่มเข้าสู่ฤดูร้อนของบ้านเราอย่างเป็นทางการ แต่ที่น่าจะร้อนกว่าอากาศก็คือ สถานการณ์ไวรัส COVID-19 ที่กำลังแพร่กระจายอย่างรวดเร็วในหลายประเทศทั่วโลก รวมถึงประเทศไทยเองก็กำลังเผชิญกับสถานการณ์อันแสนยากลำบากนี้อยู่เช่นกัน ถึงแม้ว่าอัตราการติดเชื้อของ ผู้ป่วยในบ้านเรายังไม่สูงเมื่อเทียบกับประเทศอื่น ๆ แต่ก็ยังไม่สามารถวางใจและไม่อาจคาดการณ์ได้ว่า สถานการณ์ดังกล่าวจะคลี่คลายลงเมื่อใด ซึ่งในห้วงนี้ ผมอยากให้ทุกท่านเตรียมพร้อมรับมืออย่างมีสติ ไม่หลงเชื่อข่าวปลอมที่ทำให้ตื่นตระหนก โดยให้ติดตามข่าวสารจากแหล่งข่าวที่น่าเชื่อถืออย่างใกล้ชิด ทั้งในมิติด้านวิทยาศาสตร์ เช่น เทคโนโลยีและนวัตกรรม มิติด้านศิลปศาสตร์และประวัติศาสตร์ เช่น งานออกแบบ งานศิลปะ อัตลักษณ์ มิติด้านอักษรศาสตร์และนิเทศศาสตร์ เช่น การสร้างเรื่องราวให้น่าสนใจ มิติด้านธุรกิจ เช่น รูปแบบการทำธุรกิจ (Business Model) เป็นต้น ซึ่งในมุมของกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม “ความสร้างสรรค์” คือ การรวมเอาทุกศาสตร์ที่กล่าวมาข้างต้น มาบูรณาการเพื่อก่อให้เกิดการสร้างรายได้ให้กับธุรกิจ ด้วยการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าหรือบริการบนพื้นฐานของการใช้องค์ความรู้ ความคิดสร้างสรรค์ และการใช้ทรัพย์สินทางปัญญา รวมทั้งเชื่อมโยงกับทุนทางวัฒนธรรม ต่อยอดภูมิปัญญา สร้างอัตลักษณ์ท้องถิ่น ด้วยการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมสมัยใหม่ และสร้างเรื่องราวให้เกิดความน่าสนใจ ซึ่งที่ผ่านมา กรมส่งเสริมอุตสาหกรรมได้ดำเนินโครงการ หมู่บ้านอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ หรือหมู่บ้านซีไอวี (Creative Industry Village : CIV) โดยใช้ความสร้างสรรค์เป็นหัวใจในการพัฒนาชุมชนให้มีรายได้เพิ่มขึ้น จากเดิมที่คนในชุมชนประกอบอาชีพเกษตรกรรมเป็นหลัก และคาดหวังรายได้จากราคาพืชผลสินค้าเกษตรเพียงอย่างเดียว แต่หากเราใช้ความสร้างสรรค์เข้ามาช่วยสร้างมูลค่าเพิ่ม ผ่านฉันทามติของชุมชน ค้นหาประเด็นความสร้างสรรค์ สร้างให้เกิดรูปแบบการทำธุรกิจ (Business Model) จะทำให้สามารถเพิ่มช่องทางสำหรับสร้างรายได้จากธุรกิจเหล่านั้นได้ ตัวอย่างเช่น หมู่บ้านซีไอวีบ้านน้ำเกี๋ยน อ.ภูเพียง จ.น่าน ที่มีการสร้างเรื่องราวนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของในหลวงรัชกาลที่ 9 มาเป็นแนวทางในการดำเนินธุรกิจ สร้างมูลค่าเพิ่มจากพืชผลทางการเกษตรที่มีอยู่ในพื้นที่ อาทิ นำมะไฟจีนมาแปรรูปเป็นเครื่องสำอาง นำใบเมี่ยงมาทำชาเมี่ยง แชมพู และครีมบำรุงผิว ต่อยอดสร้างศูนย์การเรียนรู้ให้นักท่องเที่ยวมาชมวิธีการแปรรูปผลิตภัณฑ์สำหรับใช้ในครัวเรือน ถือเป็นการท่องเที่ยวเชิงเกษตรที่ได้ทั้งความรู้และเพลิดเพลินไปกับแปลงสมุนไพรหลากชนิด นอกจากนี้ยังมีกลุ่มผ้ามัดย้อมสีธรรมชาติ ตอบโจทย์คนรักสุขภาพและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม จุดเด่นต่าง ๆ เหล่านี้ จะเป็นแม่เหล็กดึงดูดให้นักท่องเที่ยวแวะเวียนเข้ามาเที่ยวในชุมชน เกิดการจับจ่ายใช้สอย ทำให้ชุมชนมีรายได้เพิ่มขึ้น ทั้งนี้ สิ่งที่กรมส่งเสริมอุตสาหกรรมกำลังดำเนินการ สอดคล้องกับแนวคิดของรองนายกรัฐมนตรี ท่านสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ ที่ต้องการสร้างให้เกิดกลไกการกระจายรายได้สู่ชุมชน เพื่อเสริมสร้างเศรษฐกิจฐานรากให้เข้มแข็งสอดคล้องกับนโยบายส่งเสริมการท่องเที่ยวเมืองรอง ผ่านแนวคิดการยกระดับโครงการ OTOP เฟสที่ 1 ที่เน้นส่งเสริมผลิตภัณฑ์ที่เด่น ๆ ดัง ๆ ของชุมชน ให้เป็นโครงการ OTOP เฟสที่ 2 ที่จะยกระดับและขยายผลให้เป็นหมู่บ้านท่องเที่ยวโอท็อป หรือโอท็อปวิลเลจ (OTOP Village) โดยใช้การท่องเที่ยวเป็นหัวขบวนในการสร้างให้เกิดกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่ก่อให้เกิดการกระจายรายได้สู่คนในชุมชน เช่น ธุรกิจที่พัก ร้านอาหาร ของฝาก/ของที่ระลึก รวมถึงกิจกรรมสันทนาการ เป็นต้น โดยล่าสุด รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ท่านสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ ได้มอบหมายให้กรมส่งเสริมอุตสาหกรรมพัฒนาหมู่บ้านซีไอวีให้มีความโดดเด่น และให้ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคทั้ง 11 แห่งทั่วประเทศ เฟ้นหาหมู่บ้านซีไอวีในพื้นที่ที่มีศักยภาพพร้อมที่จะยกระดับเป็นโอท็อปวิลเลจ จำนวน 11 หมู่บ้าน สร้างเป็นแลนด์มาร์กหรือจุดเช็กอินใหม่ ๆ เพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยวให้แวะเวียนไปเที่ยวชม และเกิดความประทับใจเมื่อได้มาสัมผัส ท้ายที่สุดนี้ ผมเชื่อว่าความสร้างสรรค์จะเป็นหัวใจสำคัญที่จะสร้างมูลค่าเพิ่ม กระจายรายได้สู่คนในชุมชนอย่างแท้จริง ซึ่งจะเป็นพลังที่ทำให้ชุมชนเข้มแข็ง พึ่งพาตัวเองได้ และผมคาดหวังว่า จะได้เห็นคนรุ่นใหม่ ที่มีไอเดียดี ๆ นำสิ่งเหล่านี้กลับไปพัฒนาถิ่นฐานบ้านเกิดของเขา ต่อยอดจากความสร้างสรรค์จากต้นทุนที่มีอยู่เดิม เกิดการสร้างงาน สร้างรายได้อย่างยั่งยืน และดีพร้อมไปด้วยกัน ที่มา https://www.matichon.co.th/economy/news_2032433
07 มี.ค. 2563
"อธิบดีณัฐพล" รวมวงหารือเร่งหาแนวทางแก้ปัญหาหน้ากากอนามัยและเจลล้างมือขาดแคลนจากสถานการณ์การระบาดของไวรัสโควิด-19
กรุงเทพฯ 5 มีนาคม 2563 - นายณัฐพล รังสิตพล อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม เข้าร่วมการประชุมหารือและเร่งหาแนวทางแก้ปัญหาหน้ากากอนามัยและเจลล้างมือขาดแคลน จากสถานการณ์การระบาดของไวรัสโควิด-19 ร่วมกับหน่วยงานพันธมิตร โดยมี นายสมคิด จาตุรศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี ให้เกียรติเป็นประธานในการประชุม ร่วมด้วย นายอุตตม สาวนายน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม นายกอบชัย สังสิทธิสวัสดิ์ ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม คณะผู้บริหารกระทรวงอุตสาหกรรม และผู้แทนจากหน่วยงานพันธมิตรต่าง ๆ เข้าร่วม ณ ห้องประชุม อก.1 ชั้น 2 สำนักงานปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม การประชุมครั้งนี้ เป็นการหารือร่วมกับหน่วยงานพันธมิตร รวมถึงผู้ประกอบการในเครือข่ายที่พร้อมให้ความร่วมมือในการผลิตหน้ากากอนามัยให้เพียงพอต่อความต้องการของประชาชน โดยกระทรวงอุตสาหกรรม ได้สรุปแนวทางเร่งด่วนในเบื้องต้น ดังนี้ 1. ขอให้ผู้ประกอบการ/โรงงาน ที่ผลิตหน้ากากอนามัย (สำหรับบุคลากรทางการแพทย์) ให้เดินหน้าผลิตหน้ากากเต็มกำลังการผลิต 2. มอบหมายสถาบันสิ่งทอกำหนดมาตรฐานวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตหน้ากากอนามัยแบบผ้า (สำหรับประชาชนทั่วไป) และกระจายให้ผู้ประกอบการร่วมผลิตให้ได้ตามเป้าที่วางไว้ 3. มอบหมายให้กรมส่งเสริมอุตสาหกรรมและหน่วยงานอื่น ๆ จัดหาผู้เชี่ยวชาญเพื่อสอนวิธีการทำหน้ากากอนามัยแบบผ้า รวมทั้งแจกแพทเทิร์นการผลิตให้กับวิสาหกิจชุมชน/ประชาชน ทั่วไป เพื่อทำใช้เองตามความเหมาะสม นอกจากนี้ ยังมีการแถลงข่าวแก่สื่อมวลชนเกี่ยวกับแนวทางการดำเนินงานดังกล่าวข้างต้น เพื่อให้สื่อมวลชนสื่อสารไปยังประชาชนทั่วไปให้เกิดความมั่นใจในมาตรการรองรับสถานการณ์การระบาดของไวรัสโควิด-19 ของกระทรวงอุตสาหกรรมต่อไป ### PR.DIProm (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม) รายงาน /ภาพข่าว
05 มี.ค. 2563
"อธิบดีณัฐพล" เผยแนวทางการพัฒนาผู้ประกอบการชุมชนอย่างยั่งยืน
กรุงเทพฯ 3 มีนาคม 2563 - นายณัฐพล รังสิตพล อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ให้เกียรติเข้าร่วมสัมภาษณ์ในประเด็นแนวทางการพัฒนาผู้ประกอบการชุมชนให้แก่ผู้เข้าศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรชั้นสูงการบริหารเศรษฐกิจสาธารณะสำหรับนักบริหารระดับสูง รุ่นที่ 18 จากสถาบันนพระปกเกล้า ร่วมด้วย คณะผู้บริหารกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กสอ.) ณ ห้องรับรองชั้น 3 อาคารกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม การให้สัมภาษณ์ดังกล่าวเป็นการให้สัมภาษณ์เกี่ยวกับแนวทางการดำเนินงานของ กสอ. ในการพัฒนาผู้ประกอบการชุมชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านการยกระดับหมู่บ้านอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ (Creative Industry Village : CIV) สู่การพัฒนาเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน กรณีศึกษาจากหมู่บ้านศาลาดิน ต.มหาสวัสดิ์ อ.พุทธมณฑล จ.นครปฐม ซึ่ง กระทรวงอุตสาหกรรม โดย กสอ. ได้ดำเนินการพัฒนาผู้ประกอบการพื้นที่ในด้านต่าง ๆ อย่างต่อเนื่อง ทั้งการเสริมสร้างองค์ความรู้ให้แก่คนในชุมชน การบริหารจัดการชุมชนให้เข้มแข็ง การพัฒนาผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์ พร้อมทั้ง เปิดเผยถึงแนวทางการเชื่อมโยงและต่อยอดร่วมกับกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม ในการดึงดูดนักเรียน นักศึกษา คนรุ่นใหม่ให้มีส่วนร่วมกับการพัฒนาเศรษฐกิจของชุมชนในหมู่บ้านอุตสาหกรรมสร้างสรรค์อย่างยั่งยืนต่อไป ### PR.DIProm (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม) รายงาน /ภาพข่าว
04 มี.ค. 2563
กสอ. จัดมหกรรมชิม ช้อป ชิลล์ พาเหรดผู้ประกอบการกว่า 80 ราย เปิดตลาดทดสอบสินค้าเกษตรแปรรูป
กรุงเทพ 3 มีนาคม 2563 - นายณัฐพล รังสิตพล อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม เป็นประธานพิธีเปิดงานแสดงสินค้า "มหกรรม ชิม ช้อป ชิลล์" ร่วมด้วย นายภาสกร ชัยรัตน์ และ นายใบน้อย สุวรรณชาตรี รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม คณะผู้บริหารและเจ้าหน้าที่กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กสอ.) ผู้ประกอบการ และประชาชนทั่วไป โดยมี นางสาวอริยาพร อำนรรฆสรเดช นักวิเคราะห์นโยบายและแผนเชี่ยวชาญรักษาราชการแทนผู้อำนวยการกองพัฒนาขีดความสามารถธุรกิจอุตสาหกรรม กล่าวรายงาน ณ ห้องนิทรรศการ ชั้น 1 อาคาร กสอ. งานแสดงสินค้า มหกรรม ชิม ช้อป ชิลล์ เป็นกิจกรรมที่จัดขึ้น เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนผู้ประกอบการเอสเอ็มอีได้เพิ่มช่องทางการตลาดให้กับสินค้าและผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเกษตรแปรรูปที่นำไปสู่การสร้างโอกาสและรายได้ให้แก่ผู้ประกอบการ อีกทั้งยังเป็นเวทีให้ผู้ประกอบการที่ได้รับการส่งเสริมจาก กสอ. กว่า 80 ราย ได้แสดงผลงานและศักยภาพตลอดจนการทดสอบตลาดและสร้างการรับรู้ในตราสินค้าให้เป็นที่รู้จักแพร่หลาย และคาดว่าตลอดการจัดกิจกรรม ตั้งแต่วันที่ 2-6 มีนาคม 2563 นี้ จะสามารถสร้างเงินสะพัดไม่ต่ำกว่า 2.7 ล้านบาท ทั้งนี้ กิจกรรมดังกล่าว ยังเป็นอีกหนึ่งกิจกรรมที่ดำเนินการภายใต้นโยบาย "เกษตรอุตสาหกรรม" โดย กสอ. ได้บูรณาการร่วมกับหน่วยงานทุกภาคส่วนเพื่อพัฒนาให้เกิดนักธุรกิจเกษตรกิจสมัยใหม่ พัฒนาผลิตภัณฑ์ให้มีมูลค่าที่สูงขึ้น ตลอดจนนำนวัตกรรมเทคโนโลยีเข้ามาเชื่อมโยงกันเป็นห่วงโซ่คุณค่า (Value Chain) ไปถึงด้านเงินทุนและการตลาดอีกด้วย ### PR.DIProm (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม) รายงาน/ภาพข่าว
03 มี.ค. 2563
ต่อยอดแนวคิดพิชิตฝัน Delta Angel Fund 2020 ทุนเริ่มต้นสู่ความผู้ประกอบการ 4.0
รายละเอียดการสมัครเข้าร่วมโครงการ แบบฟอร์มการสมัครเข้าร่วมโครงการ
03 มี.ค. 2563
ลงทะเบียนเข้าร่วมงาน LogiMAT : Inteligent Warehouse 2020
นำทีมงานของท่านร่วมสัมผัสนวัตกรรมคลังสินค้า ภายในงานท่านจะได้พบกับผู้ประกอบการชั้นนำในอุตสาหกรรม งานสัมมนาหลากหลายหัวข้อที่น่าสนใจ จากวิทยากรผู้เชี่ยวชาญ การสาธิตการทำงานของระบบคลังสินค้า คู่มือสำหรับผู้เข้าเยี่ยมชมงาน แผนผังการจัดงาน
02 มี.ค. 2563
การเปิดโอกาสให้เกิดการมีส่วนร่วม 66
แสดงผลการเปิดโอกาสให้บุคคลภายนอกได้มีส่วนร่วมในการดำเนินงานตามภารกิจของหน่วยงาน ที่มีรายละเอียดอย่างน้อยประกอบด้วย (1) ประเด็นหรือเรื่องในการมีส่วนร่วม (2) สรุปข้อมูลของผู้มีส่วนร่วม (3) ผลจากการมีส่วนร่วม (4) การนำผลจากการมีส่วนร่วมไปปรับปรุงพัฒนาการดำเนินงานของหน่วยงาน เป็นการดำเนินการโดยหน่วยงาน ในปี พ.ศ. 2567 การเปิดโอกาสให้เกิดการมีส่วนร่วม.- การรับฟังความคิดเห็นของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย เพื่อเป็นแนวทางการจัดทำโครงการเสนอ ขอรับงบประมาณประจำปี พ.ศ. 2567 ของ กสอ. กองยุทธศาสตร์และแผนงาน การประชุมรับฟังความคิดเห็นแนวทางการพัฒนาอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ กองพัฒนาดิจิทัลอุตสาหกรรม กิจกรรมสัมมนาเชิงปฏิบัติการ "ปลดล็อคไอเดียอินทราโลจิสติกส์ เพื่อยกระดับภาคอุตสาหกรรมไทย เพื่อระดมความเห็นจากผู้มีส่วนได้เสียสำหรับนำไปวางแผนการพัฒนาโลจิสติกส์อุตสาหกรรม กองโลจิสติกส์ การจัดประชุมชี้แจงกิจกรรม การพัฒนาเทคโนโลยีเกษตรอุตสาหกรรมอัจฉริยะ และรับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอแนะจากผู้เกี่ยวข้อง เพื่อเป็นแนวทางการพัฒนาการดำเนินกิจกรรมฯ กองพัฒนาเกษตรอุตสาหกรรม การรับฟังความคิดเห็นของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย เพื่อเป็นแนวทางการจัดทำโครงการของ ศภ.5 กสอ. ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 5 การรับฟังความคิดเห็นของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเพื่อเป็นแนวทางในการดำเนินโครงการ/กิจกรรม ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 6 การรับฟังความคิดเห็นของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเพื่อเป็นแนวทางจัดทำโครงการ ของ ศภ.7 กสอ. ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 7
02 มี.ค. 2563
โครงการคัดเลือกวิสาหกิจไทยเข้าร่วมจัดแสดงสินค้าและเจรจาธุรกิจในงาน World Expo 2020 DUBAI
สมัครด่วน โครงการคัดเลือกวิสาหกิจไทยเข้าร่วมจัดแสดงสินค้าและเจรจาธุรกิจในงาน World Expo 2020 Dubai ระยะเวลารับสมัคร วันนี้ - 31 มีนาคม 2563 สมัครด่วน รับแค่ 40 กิจการเท่านั้น ส่งใบสมัครก่อนมีสิทธิก่อน เต็มแล้วเต็มเลย ไม่รับเพิ่ม ร่วมจัดแสดงสินค้าช่วงเทศกาลนวัตกรรมของ Thailand Pavilion (17 ม.ค. - 20 ก.พ. 64) แบ่งเป็น Food ระหว่างวันที่ 17 ม.ค. - 2 ก.พ. 64 และ Non - Food ระหว่างวันที่ 3 - 20 ก.พ. 64 - เข้าร่วมอบรมเตรียมความพร้อมในประเทศ 2 วัน - เจรจาและจับคู่ธุรกิจ ณ เมืองดูไบ - ศึกษาดูงาน เช่น ตลาดอาบูดาบี ศูนย์กระจายสินค้า Global Village ฯลฯ ผู้ประกอบการ เป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่าย ค่าเดินทางระหว่างประเทศ ค่าอาหาร ค่าที่พัก ฯลฯ สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ กองพัฒนาดิจิทัลอุตสาหกรรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม โทร : 02 202 4529 และ 06 5985 7319 (คุณแววพงศ์) E-mail : dipdubaiexpo@gmail.com
02 มี.ค. 2563