หมวดหมู่
กสอ. ลุยพื้นที่จริง พร้อมหาแนวทางพัฒนาผ้าทอพื้นเมืองอีสาน
จ.อุดรธานี 28 กุมภาพันธ์ 2563 - นายจุลพงษ์ ทวีศรี รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม (รปอ.) พร้อมด้วย นายณัฐพล รังสิตพล อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (อสอ.) ลงพื้นที่เยี่ยมผู้ประกอบการกลุ่มคลัสเตอร์ผ้าทอพื้นเมืองอุดรธานี พร้อมหาแนวทางพัฒนาต่อยอดเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่ผลิตภัณฑ์ผ้าทอพื้นเมืองของอุดรธานี ร่วมด้วย นายใบน้อย สุวรรณชาตรี รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม นายสุรพล ปลื้มใจ ผู้อำนวยการกองพัฒนาอุตสาหกรรมชุมชน นายสมชัย เผ่าผา ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 4 และเจ้าหน้าที่กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กสอ.) โดยมี นายเฉลิมชัย ไชยวงศ์ ที่ปรึกษากลุ่มคลัสเตอร์ผ้าทอพื้นเมืองอุดรธานี ให้การต้อนรับ ณ ตลาดผ้านาข่า ตำบลบ้านขาว อำเภอเมืองอุดรธานี ### PR.DIProm (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม) รายงาน /ภาพข่าว
02 มี.ค. 2563
ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 7 ได้จัดทำ “โครงการสร้างและพัฒนาผู้ประกอบการใหม่เชิงสร้างสรรค์และนวัตกรรม”
ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 7 ได้จัดทำ “โครงการสร้างและพัฒนาผู้ประกอบการใหม่เชิงสร้างสรรค์และนวัตกรรม” โดยจัดรูปแบบกิจกรรมต่าง ๆ จากความต้องการของผู้ประกอบการรายใหม่ที่ได้จากการสำรวจความคิดเห็นเบื้องต้น จึงนำความต้องการของผู้ประกอบการ มาวางแผน แนวทางการดำเนินการ เพื่อสร้างความรู้ความสามารถและมีแนวทาง ในการบริหารธุรกิจที่เป็นมาตรฐานสากล และมีความยั่งยืน
01 มี.ค. 2563
"อธิบดีณัฐพล" ร่วมวงสานต่อบูรณาการเสริมแกร่งเอสเอ็มอีไทยในพื้นที่ภาคอีสาน
จ.อุดรธานี 28 กุมภาพันธ์ 2563 - นายณัฐพล รังสิตพล อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม เข้าร่วมการประชุมขับเคลื่อนนโยบายการช่วยเหลือผู้ประกอบการ SMEs ภายใต้โครงการหนุน SMEs ไทย ก้าวไกลไปด้วยกัน โดยมี นายกอบชัย สังสิทธิสวัสดิ์ ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม ในฐานะประธานกรรมการธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ธพว.) ให้เกียรติเป็นประธานการประชุม ร่วมด้วย ผู้บริหารกระทรวงอุตสาหกรรม ผู้บริหารจากหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เข้าร่วม ณ ห้องอุดรธานี แกรนด์ โรงแรมบ้านเชียง อำเภอเมืองอุดรธานี การประชุมขับเคลื่อนนโยบายในครั้งนี้ฯ จัดขึ้นโดยความร่วมมือของ 6 หน่วยงานพันธมิตรภาครัฐและภาคเอกชน ประกอบด้วย สำนักงานปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย สภาเกษตรกรแห่งชาติ สมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย และสมาพันธ์ธุรกิจท่องเที่ยวส่วนภูมิภาคแห่งประเทศไทย เพื่อเป็นการสร้างเครือข่าย เชื่อมโยงความรู้และสนับสนุนผู้ประกอบการเอสเอ็มอีในพื้นที่ภาคอีสานให้สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้อย่างทั่วถึง อีกทั้ง ยังเป็นการเปิดรับฟังความคิดเห็นและร่วมวางแนวทางพัฒนาผู้ประกอบการเอสเอ็มอีในพื้นที่ สำหรับโครงการหนุน SMEs ไทย ก้าวไกลไปด้วยกัน เป็นโครงการที่ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ธพว.) จะเป็นแกนหลักในการเชื่อมโยงบูรณาการความร่วมมือหน่วยงานพันธมิตรต่าง ๆ ทั่วประเทศ โดยกำหนดจัดขึ้นทั้งหมด 4 ครั้ง ในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค ### PR.DIProm (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม) รายงาน /ภาพข่าว
28 ก.พ. 2563
กสอ. ลุยพื้นที่ภาคอีสาน มอบนโยบายเน้นการบูรณาการการทำงานเชิงพื้นที่
จ.อุดรธานี 28 กุมภาพันธ์ 2563 - นายจุลพงษ์ ทวีศรี รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม (รปอ.) พร้อมด้วย นายณัฐพล รังสิตพล อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (อสอ.) ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมการดำเนินงานของศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 4 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (ศภ.4 กสอ.) พร้อมทั้ง มอบนโยบายการทำงานด้วยการบูรณาการเชื่อมโยงเชิงพื้นที่ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร่วมด้วย นายใบน้อย สุวรรณชาตรี รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม นายสมชัย เผ่าผา ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 4 นายวรวิทย์ จิรัฐิติเจริญ ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 5 นางสาวอัญชลีย์พร เขียวเกษม ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 6 นายรุ่งโรจน์ อิฐรัตน์ ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 7 และเจ้าหน้าที่กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กสอ.) เข้าร่วม ณ ห้องประชุมศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 4 อำเภอเมืองอุดรธานี การประชุมฯ ครั้งนี้ เป็นการรับฟังข้อมูลผลการดำเนินงานการส่งเสริมพัฒนาและให้บริการแก่ผู้ประกอบการ SMEs และวิสาหกิจชุมชนในพื้นที่ความรับผิดชอบของ ศภ.4 กสอ. รวมถึงแผนการดำเนินงานทั้งในส่วนของงบประมาณปี 2562 (พลางก่อน) และปีงบประมาณ 2563 พร้อมทั้งเป็นการประชุมเพื่อมอบนโยบายบูรณาการการทำงานร่วมกันเชิงพื้นที่ของศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมในภูมิภาค (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ) ให้เกิดความเชื่อมโยงและสอดคล้องกับนโยบายหลัก "ปั้น ปรุง เปลี่ยน" ของ กสอ. ทั้งนี้ เพื่อให้ผู้ประกอบการสามารถเข้าถึงบริการของ กสอ. ได้อย่างเต็มที่และเกิดประโยชน์สูงสุด พร้อมกันนี้ ได้เยี่ยมชมการขอรับบริการเครื่องจักรต้นแบบของผู้ประกอบการ ณ ศูนย์ปฏิรูปอุตสาหกรรม 4.0 (Industry Transformation Center : ITC 4.0) ได้แก่ การแปรรูปจิ้งหรีดด้วยเครื่องอบแห้งแบบถังหมุน และเครื่องทอดสุญญากาศ การผลิตยาสมุนไพรอัดเม็ด ด้วยเครื่องบรรจุแคปซูล และการพัฒนาผลิตภัณฑ์จากผ้าของศูนย์ออกแบบผ้าทอพื้นเมืองอีกด้วย นอกจากนี้ อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ได้ให้เกียรติเป็นประธานในพิธีเปิดกิจกรรมสัมมนาหัวข้อ "นวัตกรรมผ้าทอพื้นเมืองคอลลาเจน" ซึ่งจัดขึ้นเพื่อถ่ายทอดความก้าวหน้าของอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มยุค 4.0 ให้แก่ผู้ประกอบการในพื้นที่ และเกิดแรงบันดาลใจในการพัฒนาและต่อยอดผ้าทอพื้นเมืองให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาดต่อไป ### PR.DIProm (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม) รายงาน/ภาพข่าว
28 ก.พ. 2563
"รสอ.ใบน้อย" นั่งหัวโต๊ะร่วมพิจารณาสินเชื่อเงินทุนหมุนเวียนฯ แก่ผู้ประกอบการภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
จ.อุดรธานี 27 กุมภาพันธ์ 2563 - นายใบน้อย สุวรรณชาตรี รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (รสอ.) ให้เกียรติเป็นประธานการประชุมคณะอนุกรรมการบริหารเงินทุนหมุนเวียนเพื่อการส่งเสริมอุตสาหกรรมในครอบครัวและหัตถกรรมไทย ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ครั้งที่ 4/2563 โดยมี นายสมชัย เผ่าผา ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 4 นายวรวิทย์ จิรัฐิติเจริญ ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 5 นางสาวอัญชลีย์พร เขียวเกษม ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 6 นายรุ่งโรจน์ อิฐรัตน์ ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 7 คณะกรรมการบริหารเงินทุนหมุนเวียนฯ และเจ้าหน้าที่กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กสอ.) เข้าร่วม ณ ห้องประชุมศูนย์เรียนรู้หมู่บ้านคีรีวงกต ตำบลนาแค อำเภอนายูง การประชุมดังกล่าว จัดขึ้นเพื่อนำเสนอคำขอกู้สินเชื่อเงินทุนหมุนเวียนฯ ของผู้ประกอบการในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือต่อคณะอนุกรรมการฯ เพื่อร่วมกันพิจารณาอนุมัติสินเชื่อเงินทุนหมุนเวียนฯ วงเงินกู้ไม่เกิน 1 ล้านบาท ให้แก่ผู้ประกอบการ จำนวน 3 ราย ในอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 4 ต่อปี ซึ่งคณะอนุกรรมการฯ ได้พิจารณาเห็นชอบในหลักการให้อนุมัติสินเชื่อเงินทุนหมุนเวียนฯ แก่ผู้ประกอบการ ทั้ง 3 ราย เพื่อนำไปต่อยอดพัฒนากิจการ จัดซื้อเครื่องมือและเครื่องจักรที่จำเป็น รวมทั้งเป็นเงินทุนหมุนเวียนในการดำเนินกิจการต่อไป### PR.DIProm (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม) รายงาน /ภาพข่าว
28 ก.พ. 2563
"รสอ.ใบน้อย" ลงพื้นที่ CIV ภาคอีสาน “คีรีวงกต” ต่อยอดเสริมแกร่งให้ชุมชนสู่ความยั่งยืน
จ.อุดรธานี 27 กุมภาพันธ์ 2563 - นายใบน้อย สุวรรณชาตรี รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (รสอ.) พร้อมด้วย นายสุรพล ปลื้มใจ ผู้อำนวยการกองพัฒนาอุตสาหกรรมชุมชน นายสมชัย เผ่าผา ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 4 นายวรวิทย์ จิรัฐิติเจริญ ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 5 นางสาวอัญชลีย์พร เขียวเกษม ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 6 นายรุ่งโรจน์ อิฐรัตน์ ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 7 และเจ้าหน้าที่กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กสอ.) ลงพื้นที่รับฟังความต้องการของผู้ประกอบการชุมชน โดยมี นายนรินทร์ อนันทวรรณ์ ผู้ใหญ่บ้าน ให้การต้อนรับและนำเยี่ยมชมการดำเนินการของหมู่บ้าน ณ หมู่บ้านอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ (Creative Industry Village : CIV) บ้านคีรีวงกต ตำบลนาแค อำเภอนายูง หมู่บ้านคีรีวงกตเป็นหมู่บ้านเล็กกลางหุบเขา อยู่ห่างจากตัวเมืองอุดรธานี ประมาณ 140 กิโลเมตร มีจุดเด่นด้านทรัพยากรทางธรรมชาติที่สมบูรณ์และเป็นหมู่บ้านที่มีชื่อเสียงด้านการท่องเที่ยว อีกทั้ง ยังมีวัตถุดิบทางการเกษตรที่หลากหลายสามารถพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์มากมาย อาทิ เครื่องจักสาน ผลิตภัณฑ์จากกล้วยและผลิตภัณฑ์จากผ้า ซึ่งหมู่บ้านคีรีวงกต ได้เข้าร่วมโครงการยกระดับหมู่บ้านอุตสาหกรรมสร้างสรรค์สู่การพัฒนาเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน ร่วมกับ กสอ. ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 โดยได้รับการพัฒนาผลิตภัณฑ์ รวมทั้งได้รับการถ่ายทอดองค์ความรู้ในการพัฒนาเครือข่ายและการบริหารจัดการธุรกิจชุมชนให้เข้มแข็ง ซึ่งการลงพื้นที่ในครั้งนี้เป็นการรับฟังความต้องการของผู้ประกอบการชุมชน พร้อมทั้งแนะนำแนวทางการต่อยอดเสริมความเข้มแข็งให้แก่ชุมชนในทุกมิติ ทั้งด้านการส่งเสริมการท่องเที่ยววิถีชุมชน อาทิ การจัดกิจกรรมสนับสนุนด้านกีฬา (การจัดกิจกรรมวิ่งมาราธอน ปั่นจักรยาน ฯลฯ) กิจกรรมสันทนาการเสริมสร้างประสบการณ์ (การเดินป่า การถ่ายภาพ การดูดาว การถ่ายทอดภูมิปัญญาท้องถิ่น) เป็นต้น เพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยวให้เข้ามามีส่วนร่วมกับชุมชนและใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติที่มีให้เกิดประโยชน์สูงสูด ควบคู่กับการพัฒนาผลิตภัณฑ์เด่นของชุมชนเพื่อให้เกิดการกระจายรายได้อย่างยั่งยืน ทั้งนี้ รสอ.ใบน้อย ได้มอบหมายให้ กองพัฒนาอุตสาหกรรมชุมชน และ ศภ.4 กสอ. ดำเนินการต่อเนื่องและประสานหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องเพื่อร่วมมือกันสนับสนุนต่ออยอดให้เกิดกิจกรรมที่เป็นประโยชน์แก่ชุมชนอย่างเป็นรูปธรรม รวมทั้งร่วมกันสร้างการรับรู้และประชาสัมพันธ์หมู่บ้าน CIV ต่อไป ### PR.DIProm(กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม) รายงาน/ภาพข่าว
28 ก.พ. 2563
"อธิบดีณัฐพล" นำคณะสื่อมวลชนแอ่วเมืองน่าน ชูอัตลักษณ์ชุมชน ต่อยอดสมุนไพรพื้นถิ่นไทยติดลมบน
จ. น่าน 22 กุมภาพันธ์ 2563 - นายณัฐพล รังสิตพล อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม นำทีมคณะสื่อมวลชนลงพื้นที่เยี่ยมชมสถานประกอบการและวิสาหกิจชุมชนบ้านน้ำเกี๋ยน อ.ภูเพียงพร้อมด้วย นางสาวนิรามัย ศิริศรีสุดากุล ผู้อำนวยการศูนย์อุตสาหกรรมภาคที่ 1 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (ศภ.1 กสอ.) นายสำเริง สวัสดีนฤนาท อุตสาหกรรมจังหวัดน่าน คณะเจ้าหน้าที่ กสอ. และคณะเจ้าหน้าที่สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดน่าน โดยมี นางธารารัตน์ ศรีจันทร์ดี ประธานวิสาหกิจชุมชนขวัญธารา และนางบุญตุ้ม ปานทอง เจ้าของกิจการกลุ่มวิสาหกิจชุมชนชาเมี่ยง ให้การต้อนรับพร้อมสรุปภาพรวมของกิจการ โดยการลงพื้นที่ในครั้งนี้ อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรมได้เยี่ยมชม 2 กลุ่มวิสาหกิจชุมชนที่ได้รับการส่งเสริม พัฒนา และสนับสนุนผ่านกิจกรรม/โครงการ และการให้บริการต่าง ๆ จากศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 1 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (ศภ.1 กสอ.) จ.เชียงใหม่ ซึ่งสามารถนำองค์ความรู้ที่ได้รับไปต่อยอดในธุรกิจจนประสบความสำเร็จ วิสาหกิจชุมชนขวัญธารา ผู้ผลิตและจำหน่ายเครื่องสำอางจากสมุนไพรท้องถิ่นอย่างมะไฟจีน โดยนำมาต่อยอดสร้างมูลค่าเพิ่มในรูปแบบใหม่ ๆ ด้วยการนำเอานวัตกรรมเชิงพาณิชย์เข้ามาเสริมสร้างต่อยอดเป็นผลิตภัณฑ์เซรั่ม แชมพู สบู่เหลว โฟมมูส แฮนด์ครีม และบอดี้โลชั่น โดยมีจุดเด่นที่นำเอาสารสกัดมะไฟจีนมาเป็นวัตถุดิบรายแรกของประเทศไทย ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ธรรมชาติจากภูมิปัญญา ทำให้ผลิตภัณฑ์ของขวัญธาราได้รับคัดเลือกให้เป็นสินค้าโทอปที่มีชื่อเสียง และได้รับการวางขายในเว็บไซต์ Thaimall.com และบนแคตตาล็อคของสายการบินการบินไทย ทำให้ยอดขายเพิ่มขึ้นจากเดิมร้อยละ 60 นอกจากนี้ ในส่วนของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนชาเมี่ยง ผู้ผลิตชาเมี่ยง แบรนด์อินฟินิตี้ที ได้แก่ ชาเมี่ยง แชมพู เซรั่มบำรุงผมและหนังศรีษะ ครีมบำรุงผิวหน้า มือ เท้า และเล็บ โดยมียอดขายแบบก้าวกระโดด จาก 36,000 บาท ต่อปี เป็น 800,000 บาท ต่อปี จากยอดขายดังกล่าว จึงไม่คิดจะหยุดนิ่งยังคงเดินหน้าต่อในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ ต่อยอด แตกไลน์สินค้าในรูปแบบอื่น ๆ โดยมีแผนจะนำใบชาไปสกัดและวิเคราะห์หาสารสำคัญที่ช่วยต้านอนุมูลอิสละและดูแลสุขภาพเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ 2 รายการ คือ น้ำยาบ้วนปาก และลูกอมระงับกลิ่นปากอีกด้วย ### PR.DIProm(กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม) รายงาน/ภาพข่าว
24 ก.พ. 2563
"อธิบดีณัฐพล" นำคณะสื่อมวลชนลงพื้นที่เมืองน่าน ชมสถานประกอบการแปรรูปถั่วลิสง โชว์ความสำเร็จหลักสูตร NEC
จ. น่าน 21 กุมภาพันธ์ 2563 - นายณัฐพล รังสิตพล อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม นำทีมคณะสื่อมวลชน ลงพื้นที่เยี่ยมชมสถานประกอบการ บริษัท บ้านถั่วลิสง จำกัด พร้อมด้วย นางสาวนิรามัย ศิริศรีสุดากุล ผู้อำนวยการศูนย์อุตสาหกรรมภาคที่ 1 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (ศภ.1 กสอ.) นายสำเริง สวัสดีนฤนาท อุตสาหกรรมจังหวัดน่าน คณะเจ้าหน้าที่ กสอ. และคณะเจ้าหน้าที่สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดน่าน โดยมี นางอารีย์ เพ็ชรรัตน์ เจ้าของสถานประกอบการให้การต้อนรับพร้อมสรุปภาพรวมของกิจการ บริษัท บ้านถั่วลิสง จำกัด เป็นธุรกิจที่ต่อยอดมาจากห้างหุ้นส่วนจำกัดซินกวงน่าน ผลิตและจัดจำหน่ายถั่วลิสงแปรรูปในรูปแบบของฝากจังหวัดน่าน ซึ่งผู้ประกอบการได้เข้าร่วมอบรมโครงการเสริมสร้างผู้ประกอบการใหม่ (NEC – SME) จากศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 1 (ศภ.1 กสอ.) ที่ช่วยทำให้มีพื้นฐานและทักษะในการบริหารงานอย่างผู้บริหารมืออาชีพ มีความเข้าใจ ด้านบัญชี ด้านการบริหารงานบุคคล และการวางแผนการดำเนินธุรกิจ จนสามารถพัฒนาแปรรูปถั่วลิสงออกมาเป็นผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ทั้งหมด 23 ผลิตภัณฑ์ อาทิ ถั่วคั่วทราย เค้กถั่ว นมถั่ว ภายใต้แบรนด์นันทบุรี และบ้านถั่วลิสง นอกจากนี้ ยังได้รับการอนุมัติสินเชื่อ 3 ล้านบาท จากกองทุนประชารัฐ ในอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 1 เพื่อสร้างร้าน "บ้านถั่วลิสง" ที่นอกจากจะเป็นการขยายช่องทางการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ถั่วแปรรูปแล้ว ยังเป็นศูนย์รวบรวมการจำหน่ายสินค้าและผลิตภัณฑ์เกษตรแปรรูปของจังหวัดน่านในเครือข่ายคลัสเตอร์น่านอโกร-อินดัสทรี ตลอดจนเป็นศูนย์เรียนรู้ดูงานกระบวนการแปรรูปถั่วลิสง และเกษตรแปรรูปอื่น ๆ พร้อมกันนี้ผู้ประกอบการยังได้นำคณะผู้บริหาร กสอ. และสื่อมวลชนเข้าชมขั้นตอนกระบวนการผลิตภายในโรงงานอีกด้วย ทั้งนี้ กสอ. ได้ดำเนินโครงการสร้างและพัฒนาผู้ประกอบการใหม่ (New Entrepreneurs Creation : NEC) เพื่อพัฒนาบุคคลากรรองรับการเจริญเติบโต สามารถปรับตัวตามภาวะเศรษฐกิจและเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงไป โดยมีการปรับเปลี่ยนหลักสูตรอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้เหมาะสมสอดคล้องกับสภาพสังคมและเศรษฐกิจ ซึ่งปัจจุบันมีผู้ได้รับการพัฒนาศักยภาพกว่า 86,000 ราย ก่อให้เกิดการจัดตั้งหรือขยายธุรกิจกว่า 19,000 ราย คิดเป็นร้อยละ 22 มีมูลค่าการลงทุนกว่า 28,000 ล้านบาท เกิดการจ้างงานกว่า 72,000 ราย ทั้งนี้ ในการติดตามประเมินผลแต่ละปีพบว่ามีผู้มีศักยภาพที่จะประสบความสำเร็จการจัดตั้งธุรกิจใหม่/ขยายธุรกิจเพิ่มขึ้น เฉลี่ยร้อยละ 10 – 15 ต่อปี ### PR.DIProm(กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม) รายงาน/ภาพข่าว
24 ก.พ. 2563
ขอเชิญผู้ประกอบการ สมัครเข้าร่วมกิจกรรมพัฒนาผลิตภัณฑ์สำหรับผู้ประกอบการใหม่ สาขาการแปรรูปและอาหารแห่งอนาคต
เปิดรับสมัครผู้ประกอบการอาหาร (เพิ่มเติม) เข้าร่วมพัฒนา/ปรับปรุงผลิตภัณฑ์ใหม่.... กองส่งเสริมผู้ประกอบการและธุรกิจใหม่ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม และมหาวิทยาลัยศรีปทุม ขอเชิญผู้ประกอบการ สมัครเข้าร่วมกิจกรรมพัฒนาผลิตภัณฑ์สำหรับผู้ประกอบการใหม่ สาขาการแปรรูปและอาหารแห่งอนาคต เสริมศักยภาพความรู้ การพัฒนาผลิตภัณฑ์ตามแนวทาง BCG Model ที่สอดคล้องกับการตลาดยุคใหม่ จากวิทยากรผู้เชี่ยวชาญหลากหลายสาขา ผู้ที่ผ่านการคัดเลือกจะได้รับการปรับปรุงผลิตภัณฑ์ หรือพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ที่สอดคล้องกับตลาดและผู้บริโภค คุณสมบัติเบื้องต้น - ได้ประกอบกิจการมาแล้ว ไม่เกิน 5 ปี - มีผลิตภัณฑ์ประเภทอาหาร ขนม เครื่องดื่ม เป็นของตนเอง สมัครเข้าร่วมกิจกรรม คลิก https://forms.gle/SWgpH326TgpB5FbY9 ติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม มหาวิทยาลัยศรีปทุม 095-905-5596 รายละเอียดเพิ่มเติมจากเฟซบุ๊ค https://www.facebook.com/105686730983053/posts/107715487446844/?d=n
21 ก.พ. 2563