หมวดหมู่
เรื่อง รายชื่อผู้มีสิทธิเข้ารับการประเมินความเหมาะสมกับตำแหน่งนายช่างเทคนิคปฏิบัติงาน
ประกาศกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม เรื่อง รายชื่อผู้มีสิทธิเข้ารับการประเมินความเหมาะสมกับตำแหน่งนายช่างเทคนิคปฏิบัติงาน /Portals/0/2558/สบก/12.pdf
09 มี.ค. 2558
ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิสอบลูกจ้างชั่วคราว ตำแหน่งเจ้าหน้าที่บริหารสินเชื่อ
ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 6 จ.นครราชสีมา ขอประกาศรายชื่อผู้สมัครสอบคักเลือกลูกจ้างชั่วคราว ตำแหน่ง เจ้าหน้าที่บริหารสินเชื่อ เพื่อดำเนินการสอบคัดเลือกในวันที่ 10 มีนาคม 2558 รายละเอียดตามประกาศที่แนบ
03 มี.ค. 2558
ส่วนบริการสารสนเทศ สำนักบริหารยุทธศาสตร์ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม รับสมัครลูกจ้าง (จ้างเหมา) 1 ตำแหน่ง
ประกาศ ส่วนบริการสารสนเทศ สำนักบริหารยุทธศาสตร์ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม เรื่อง รับสมัครลูกจ้าง (จ้างเหมา) ตำแหน่งเจ้าหน้าที่สนับสนุนงานสารสนเทศ 1 ตำแหน่ง ------------------------------------ ด้วย ส่วนบริการสารสนเทศ สำนักบริหารยุทธศาสตร์ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม มีความประสงค์รับสมัครนักวิชาการอุตสาหกรรม (ลูกจ้างเหมา) จำนวน 1 ตำแหน่ง คุณสมบัติ 1. เพศชาย/หญิง อายุไม่เกิน 30 ปี 2. วุฒิปริญญาตรี วิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ วิศวกรรมคอมพิวเตอร์และสาขาอื่นๆที่เกี่ยวข้อง 3. มีความรู้ความสามารถในการออกแบบกราฟฟิก Flash Photoshop 4 . มีความรู้ความสามารถด้านการบริหารจัดการเว็บไซต์ จะพิจาณาเป็นพิเศษ สนใจสมัครด้วยตนเองได้ที่ ส่วนบริการสารสนเทศ สำนักบริหารยุทธศาสตร์ ชั้น 4 อาคาร กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ถนนพระรามที่ 6 เขตราชเทวี กรุงเทพ ฯ โทร. 02-2024517 คุณทิพย์มณฑา จินะวงค์
25 ก.พ. 2558
ประกาศรับสมัครสอบคัดเลือกลูกจ้างชั่วคราว ตำแหน่ง เจ้าหน้าที่บริหารสินเชื่อ
ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 6 มีความประสงค์จะรับสมัครสอบคัดเลือกลูกจ้างชั่วคราว ตำแหน่ง เจ้าหน้าที่บริหารสินเชื่อ จำนวน 1 อัตรา ผู้สนใจสมัครด้วยตนเอง ได้ตั้งแต่บัดนี้ จนถึงวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2558 ณ ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 6 เลขที่ 333 ถนนมิตรภาพ ตำบลสูงเนิน อำเภอสูงเนิน จังหวัดนครราชสีมา 30170 ในวันและเวาราชการ ติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม โทร.044-419622
23 ก.พ. 2558
เรื่อง รายชื่อผู้มีสิทธิเข้ารับการประเมินสมรรถนะเป็นพนักงานราชการทั่วไป และกำหนดวัน เวลา สถานที่ในการประเมินสมรรถนะ
ประกาศกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม เรื่อง รายชื่อผู้มีสิทธิเข้ารับการประเมินสมรรถนะเป็นพนักงานราชการทั่วไป และกำหนดวัน เวลา สถานที่ในการประเมินสมรรถนะ (4 ตำแหน่ง)/Portals/0/2558/สบก/5-2558.pdf
06 ก.พ. 2558
จับตามองการประชุม คณะกรรมการกำกับและติดตามการดำเนินงาน โครงการขอสินเชื่อผลิตภัณฑ์ยาง
โครงการขอสินเชื่อยางเป็นเครื่องมือชิ้นหนึ่งในมาตการที่ 2 เพื่อผลักดันและเร่งรัดโครงการปล่อยเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำให้สถาบันเกษตรกรรับซื้อยางจากเกษตรกรในราคาที่สูงขึ้นและการปล่อยกู้ให้กับผู้ประกอบการ นำเงินเปลี่ยนเครื่องจักรเพื่อใช้ในการแปรรูปยาง อีกทั้ง สนับสนุนให้มีการปล่อยเงินกู้ให้กับกลุ่มวิสาหกิจชุมชน เพื่อเข้าถึงเกษตรกรมากขึ้น (แนวทางนี้เพื่อชดเชยดอกเบี้ยเงินกู้ 3% ให้ผู้ประกอบการที่เข้าร่วมโครงการ รัฐบาลได้อนุมัติโครงการแล้ว 2 โครงการ คือโครงการสนับสนุนสินเชื่อผู้ประกอบการผลิตภัณฑ์ยางเพื่อขยายกำลังการผลิต/ปรับเปลี่ยนเครื่องจักรการผลิต วงเงินกู้ 15,000 ล้านบาท และโครงการสนับสนุนสินเชื่อเป็นเงินทุนหมุนเวียนแก่ผู้ประกอบการยางวงเงินกู้ 10,000 ล้านบาท หมายความว่ารัฐบาลยอมจ่ายเงิน 750 ล้านบาท แทนผู้ประกอบการที่ต้องจ่ายดอกเบี้ยกู้เงินให้ธนาคารเจ้าหนี้ ในสองโครงการนี้) ในการประชุมครั้ังนี้เป็นครั้งที่ 2 โดยการประชุมคณะกรรมการกำกับและติดตามการดำเนินงานโครงการขอสินเชื่อผลิตภัณฑ์ยาง และผู้ประกอบกิจการโรงงานที่แสดงเจตจำนงในการขอสินเชื่อ เพื่อชี้แจงรายละเอียดและแนวปฏิบัติ ในวันพุธที่ 28 มกราคม 2558 เวลา 8.30 - 12.00 น. ณ ห้องประชุมชุณหะวัน ชั้น 3 อาคาร สปอ. สรุปสาระสำคัญของการประชุมได้ดังนี้ ระเบียบวาระที่ 1 เรื่องที่ประธานแจ้งที่ประชุมเพื่อทราบ เป็นการประชุมครั้งที่แล้วพิจารณาเห็นชอบหลักเกณฑ์เพื่อใช้ในการพิจารณาการขอสินเชื่อในการตรวจสอบรับรองความเหมาะสม และแต่งตั้งคณะทำงานตรวจสอบติดตามและเร่งรัดเพื่อนำผลมาวิเคราะห์ความเหมาะสมในการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงเครื่องจักรและให้ สศอ. ติดตามผลจากธนาคารออมสินและประสานกับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และให้คณะทำงานฯ รายงานความก้าวหน้าทุกเดือน ระเบียบวาระที่ 2 รับรองรายงานการประชุม ระเบียบวาระที่ 3 ไม่มีเรื่องสืบเนื่องจากการประชุมครั้งก่อน ระเบียบวาระที่ 4 เรื่องพิจารณา ในส่วนแรกเป็นเรื่องที่ประชุมพิจารณาแนวทางปฏิบัติ และหลักเกณฑ์อนุมัติการปล่อยสินเชื่อ โดยธนาคารออมสินพิจารณาคุณสมบัติผู้ประกอบการเบื้องต้นและแบ่งกลุ่มผู้ประกอบการได้ 3 กลุ่ม กลุ่มที่ 1 กลุ่มที่มีคุณสมบัติตามเกณฑ์ของธนาคารพร้อมจะดำเนินการต่อไปได้ กลุ่มที่ 2 กลุ่มที่มีหลักประกันสินเชื่อและเอกสารประกอบโครงการไม่ชัดเจน กลุ่มที่ 3 กลุ่มที่ไม่มีหลักทรัพย์ประกันสินทรัพย์ ทำให้ผู้ประกอบการส่วนใหญ่มีปัญหาที่ไม่ผ่านเกณฑ์พิจารณาในกลุ่มที่ 2 และกลุ่มที่ 3 ด้วยสาเหตุดังนี้ - หลักทรัพย์ที่ใช้ในการค้ำประกันสินเชื่อเป็นหลักทรัพย์ที่ได้จดจำนองเพื่อค้ำประกันสินเชื่ออื่นกับธนาคารพาณิชย์อยู่ก่อนแล้ว - ผู้ประกอบการไม่มีแผนธุรกิจแผนการตลาดและแผนการบริหารงานที่ชัดเจน - ผู้ประกอบการไม่ได้ประมาณการเรื่องเงินทุนหมุนเวียน และหลักทรัพย์ที่จะค้ำประกันเพิ่มเติม - สัดส่วนหนี้สินต่อทุน (DE) ไม่เป็นไปตามเกณฑ์ของธนาคารออมสิน - ผู้ประกอบการหลายรายยื่นขอรับการสนับสนุนสินเชื่อโดยรวมทั้งการปรับเปลี่ยนเครื่องจักร การซื้อ ที่ดิน การสร้างอาคารรวมทั้งเงินทุนหมุนเวียนในการดำเนินงานซึ่งไม่เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของโครงการที่สนับสนุนสินเชื่อเพื่อปรับเปลี่ยนเครื่องจักรเท่านั้น จะทำให้วงเงินที่ได้รับการสนับสนุนปรับลดลงน้อยกว่าที่ยื่นไว้ ความไม่มั่นใจของธนาคารออมสินในการปล่อยสินเชื่อโดยพิจารณาถึงหลักทรัพย์ค้ำประกันสินเชื่อที่ยังถือหลักเกณฑ์ปกติเช่นเดิมยังไม่ผ่อนปรนให้สำหรับผู้ประกอบการที่จะเข้าร่วมโครงการนี้เนื่องจากยังไม่ชัดเจนในเรื่อง “ขยายกำลังการผลิต” ครอบคลุมเฉพาะเครื่องจักรเท่านั้นหรือไม่หรือรวมถึงการสร้างใหม่/ขยายโรงงานซื้อเครื่องจักรใหม่ ที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ซึ่งมติ ครม. ไม่มีรายละเอียดระบุไว้ชัดเจน ณ ปัจจุบันผู้ประกอบการยื่นกู้เข้ามาแล้วทั้งหมด 22 ราย ส่งให้กรมโรงงานอุตสาหกรรมพิจารณาความเหมาะสมของกำลังการผลิตกับเครื่องจักรที่เพิ่มขึ้นและเทคโนโลยีรวมถึงปัญหาด้านมลภาวะแล้ว 3 ราย และผ่านหลักเกณฑ์เบื้องต้นแล้ว 2 ราย อีก 1 รายอยู่ระหว่างการพิจารณา วงเงิน 570 ล้านบาท ส่วนที่เหลือจัดอยู่ในกลุ่มที่ 2 และ 3 อีก 19 ราย เนื่องจากธนาคารออมสินพบปัญหาที่ไม่ผ่านการพิจารณาข้างต้น ผู้แทนสมาคมถุงมือยาง ได้ให้ข้อมูลว่าเรื่องวัตถุประสงค์ของโครงการได้เป็นมติไปก่อนหน้านี้แล้วโดยตัวโครงการมีวัตถุประสงค์เพื่อ “ขยายปริมาณการใช้ยาง” หากสงสัยให้ทำเรื่องสอบถามไปที่ กนย. หรือ คสช. และยังเสนอให้ธนาคารออมสินทำความเข้าใจและคำนึงถึงวัตถุประสงค์ของโครงการฯ เพื่อผ่อนคลายหลักเกณฑ์การปล่อยสินเชื่อด้วยว่าหลักทรัพย์ที่ใช้ค้ำประกันสินเชื่อจะใช้หลักทรัพย์ที่เกิดใหม่จากการเข้าร่วมโครงการเป็นตัวค้ำประกันและให้ธนาคารออมสินคลายความกังวลใจเนื่องจากสถานการณ์การตลาดถุงมือไทยซึ่งปัจจุบันผลิตไม่พอจำหน่าย โดยไทยต้องซื้อถุงมือยางจากมาเลเซียที่ซื้อยางของไทยไปผลิตถุงมือกลับมาเพื่อขายส่งออก และในเวียดนาม มีโรงงานผลิตถุงมือยาง 14 เครื่อง และ 7 เครื่องที่ผลิตได้นั้น เข้ามาทำสัญญาให้ไทยเป็นตลาดส่งออกให้ ผู้แทนสมาคมผู้ผลิตถุงมือยางไทย ได้ให้ข้อมูลสถานการณ์ถุงมือยางว่าทั่วโลกผลิตได้ 1 แสนล้านชิ้น ไทยผลิต 2.7 หมื่นล้านชิ้น มาเลเซีย ผลิต 7 หมื่นล้านชิ้น ตลาดโลกโตขึ้นเฉลี่ย 10 % ต่อปี แต่อัตราการเติบโตไปอยู่ที่ มาเลเซีย จึงต้องทำโครงการเพื่อขยายกำลังการผลิตและการใช้ยางของประเทศให้ มากขึ้น และได้ขอรายชื่อเจ้าหน้าที่ของธนาคารออมสินที่ได้รับมอบหมายให้เป็นผู้รับผิดชอบโครงการนี้ เพื่อให้สมาชิกสมาคมได้ติดต่อประสานงานโดยตรงด้วย มติที่ประชุมให้ธนาคารออมสินประสานงานกับสำนักงบประมาณและกระทรวงการคลังพิจารณาสรุปประเด็นปัญหาที่ยังปล่อยสินเชื่อไม่ได้ให้ที่ประชุมพิจารณาแก้ไขต่อไป เรื่องพิจารณาในส่วนที่สอง การดำเนินการจัดทำ Public Service Account (PSA) เพื่อขอรับการชดเชยความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคตให้แก่ธนาคารออมสินเมื่อธนาคารได้พิจารณาสินเชื่อแก่ผู้ประกอบการตามกฎ ระเบียบ นโยบาย คำสั่ง ข้อบังคับของธนาคาร อย่างรอบคอบแล้ว ประธานที่ประชุมได้มีบัญชาให้ สศอ. จัดประชุมวงเล็กภายในอาทิตย์หน้า โดยเชิญ นายอำนวย ปะติเส (รมช.กระทรวงเกษตรและสหกรณ์) เป็นประธาน และให้เชิญผู้เกี่ยวข้องได้แก่ ธนาคารออมสิน กระทรวงการคลัง สำนักงบประมาณ สมาคมผู้ผลิตถุงมือยางและผู้เกี่ยวข้อง กรมโรงงานอุตสาหกรรม ฯลฯ เพื่อหาข้อสรุป และนำเสนอ ครม. โดยเร็ว และนัดประชุมคณะกรรมการกำกับและติดตามการดำเนินงานโครงการขอสินเชื่อผลิตภัณฑ์ยางครั้งต่อไปในกลางเดือน กุมภาพันธ์ 2558 หลังจากได้ข้อสรุปการประชุมวงเล็กแล้ว ข้อเสนอแนะ จากเรื่องพิจารณาแนวปฏิบัติในส่วนแรก ประเด็นปัญหาที่ธนาคารออมสินพบในเรื่องไม่มีแผนธุรกิจแผนการตลาดและแผนการบริหารงานที่ชัดเจนที่ผู้ประกอบการ 19 ราย ต้องจัดทำเป็นหลักฐานประกอบการพิจารณาขอสินเชื่อนั้น เนื่องจากกรมส่งเสริมอุตสาหกรรมมีเครื่องมือและงบประมาณอยู่แล้ว ประธานที่ประชุมได้บัญชาให้ผู้แทนกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม นำเรียน อสอ. ว่าควรพิจารณาระดมเจ้าหน้าที่ ผู้เชี่ยวชาญ และพิจารณางบประมาณเพื่อช่วยผู้ประกอบการที่แจ้งประสงค์ขอกู้ในโครงการนี้ด้วย แหล่งที่มาข้อมูล เรียบเรียง : สิทธิชนคน กสอ.
05 ก.พ. 2558
สำนักพัฒนาการจัดการอุตสาหกรรม กรมเสริมอุตสาหกรรม ประกาศรับสมัครเจ้าหน้าที่จ้างเหมาบริการ ปฏิบัติงานด้านพัฒนาอุตสาหกรรม จำนวน 2 อัตรา
สำนักพัฒนาการจัดการอุตสาหกรรม กรมเสริมอุตสาหกรรม ประกาศรับสมัครเจ้าหน้าที่จ้างเหมาบริการ ปฏิบัติงานด้านพัฒนาอุตสาหกรรม จำนวน 2 อัตรา กำหนดรับสมัคร วันที่ 5-28 กุมภาพันธ์ 2558 โทรศัพท์ 02-202-4534 , 02-202-4523 ได้ในเวลาราชการทุกวันจันทร์ - วันศุกร์ เวลา 08.30 - 16.30 น. ตามรายละเอียดที่แนบมาพร้อมนี้ ประกาศรับสมัคร
05 ก.พ. 2558
พลวัตของจีนในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขงและนัยต่อประเทศไทย
การวิจัยในเชิงกว้างเข้าไปศึกษาหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ถ้าเปรียบเทียบลักษณะหน้าที่คล้ายกับของ ประเทศไทย ได้แก่ สภาพัฒน์ฯ กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงอุตสาหกรรม BOI การลงพื้นที่ในแต่ละประเทศมุ่งไปที่เขตเศรษฐกิจพิเศษ และศึกษาตลาดผู้บริโภค การวิจัยเชิงลึก นักวิจัย เจาะลึกลงรายละเอียดของแต่ละแห่ง ได้แก่ ประเทศจีน เข้าไปศึกษามณฑลยูนนานทางตอนใต้ โดยเข้าไปศึกษาที่เมืองคุนหมิง และรุ่ยลี่ (Ruili) และเขตปกครองตนเองกว่างสีซึ่งอยู่ตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศจีน เข้าไปศึกษาที่เมืองหนานหนิง (Nanning) ผิงเสียง (Pingxiang) ฉงจั๋ว (Chongzuo) ฟางเชิงกัง (Fangchenggang) และ ตงซิง (Dongxing) ประเทศกัมพูชา เข้าไปศึกษาที่เมืองพนมเปญ เสียมเรียบ สีหนุวิลล์ และกัมพง ประเทศลาว เข้าไปศึกษาองค์กรสำคัญของประเทศจีน ประเทศไทยที่อยู่ในประเทศลาวและองค์กรในประเทศลาว ประเทศพม่า เข้าไปศึกษาที่เมืองย่างกุ้ง นอว์ปิดอว์ มัณฑะเลย์ และ Kyaukpyu (จ้าวผิว) ประเทศเวียดนาม เข้าไปศึกษาที่เมืองฮานอย โฮจิมินท์ ตงใน และเทียนเกียง ผลการศึกษาวิจัยเรื่อง “พลวัตของจีนในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขงและนัยต่อประเทศไทย” บทสรุปคัดย่อโดย นางสาวกัลยา วิริยะประสงค์ นักจัดการงานทั่วไปชำนาญการ สำนักพัฒนาการจัดการอุตสาหกรรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม หมายเลขโทรศัพท์ 0 2202 4539
03 ก.พ. 2558