เอิร์ธ เซรามิค ปั้นดินหาวเป็นดาวธุรกิจ
หนึ่งในทรัพยากรอันเลื่องชื่อของลําปางก็คือ ดินขาวลําปาง ที่มีลักษณะเด่นแตกต่างไปจากดินขาวทั่ว ๆ ไป เพราะมีแร่ที่มีความละเอียดให้ความเหนียว ช่วยในการขึ้นรูปได้ดีทำให้นำมาทำเครื่องปั่นหรือผลิตภัณฑ์เซรามิคได้โดยไม่จำเป็นต้องนําวัตถุดิบอื่น ๆ มาผสม ซึ่งการผลิตผลิตภัณฑ์เซรามิคของ จ.ลําปาง จะผลิตตาม ลักษณะของการใช้งาน ได้แก่ ของที่ระลึก ของตั้งโชว์ ของใช้บนโต๊ะ อาหาร เช่น จาน ชาม ถ้วยกาแฟ แจกัน ฯลฯ มีตั้งแต่เป็นอุตสาหกรรม ในครัวเรือนจนถึงระดับโรงงาน อาทิ โรงงาน เอิร์ธ เซรามิค หนึ่งใน ผู้ผลิตเซรามิคชั้นนําระดับประเทศ เดิมทีคุณพิทักษ์ ใจเที่ยง เจ้าของโรงงานและผู้ก่อตั้งแบรนด์ เอิร์ธ เซรามิค ทำธุรกิจเกี่ยวกับไม้มาก่อน แต่เมื่อได้เห็นดินขาวลําปาง ของดีประจำถิ่นที่มีคุณภาพและเอกลักษณ์ ซ้ำยังมีราคาถูกจึงตัดสินใจ เข้าสู่วงการเครื่องปั้นดินเผา โดยเรียนรู้เทคนิควิธีการผลิตและออกแบบด้วยตนเองจนได้สินค้าตามที่ต้องการจากนั้นก็เริ่มนําสินค้าเข้าสู่การเป็น “สินค้า OTOP” ซึ่งคุณพิทักษ์เรียกว่า เข้าสู่วงการ OTOP กระทั่งได้รับ โอกาสให้ไปจัดแสดงสินค้า ณ จังหวัดต่าง ๆ โดยเฉพาะงานแสดงสินค้า OTOP ระดับประเทศที่เมืองทองธานี ซึ่งเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญที่ทำให้ เอิร์ธ เซรามิค ปั้นดินจนเป็นดาว มีลูกค้าประจำสั่งซื้อสั่งผลิต มาจนถึงปัจจุบัน แม้ว่าในจังหวัดลําปางจะอุดมไปด้วยโรงงานผลิตภัณฑ์เซรามิคนับร้อยโรงงาน มีเงินทุนหมุนเวียนในท้องถิ่น จากการผลิตเครื่องปั้นดินเผาไม่ต่ำกว่า 2,000 ล้านบาท แต่เอิร์ธ เซรามิคก็สามารถยืนหยัดและเติบโตได้ อย่างแข็งแกร่ง ขนาดที่ว่ามีผู้มารับซื้อถึงโรงงานจนคุณพิทักษ์ใช้คําว่า “อยู่ตัว” ซึ่งเบื้องหลังความยั่งยืนใน การทำธุรกิจ ส่วนหนึ่งมาจากการได้รับการสนับสนุนจากดีพร้อมผ่านโครงการต่าง ๆ ที่ตอบโจทย์ ไม่ว่าจะเป็น การออกแบบพัฒนาผลิตภัณฑ์ บรรจุภัณฑ์ ไปจนถึงการให้องค์ความรู้เพื่อบริหารจัดการโรงงาน การสร้างองค์กรแห่งความสุขหรือ Happy Work Place ซึ่งสามารถนํามาปรับใช้กับโรงงานได้อย่างดี เพราะ “ต้นทุนคือกําไร” เอิร์ธ เซรามิค ที่ต้องประสบกับ ปัญหาด้านต้นทุนที่ขยับตัวสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะ ค่าแก๊สที่ต้องใช้ถึงประมาณวันละ 3,000 บาท เมื่อรวมกับ ค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ก็กลายมาเป็นโจทย์ให้คุณพิทักษ์ต้องหา วิธีบริหารจัดการอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งดีพร้อมก็พร้อมอยู่เคียงข้าง ส่งผู้เชี่ยวชาญมาให้ความรู้ด้านการลดต้นทุน การผลิต การจัดการ Waste ช่วยให้เอิร์ธ เซรามิค มีกําไรและอยู่รอดได้แม้ในช่วงโควิด-19 ที่เศรษฐกิจและกําลังซื้อหดตัว คุณพิทักษ์ยังทิ้งท้ายว่า ประทับใจและภูมิใจเสมอที่ได้เจอกับดีพร้อม คําว่า “พี่เลี้ยง” จึงกลายมาเป็นคําที่สะท้อนถึงความ สัมพันธ์อันเหนียวแน่นระหว่างเอิร์ธ เซรามิคและ ดีพร้อมนับจากอดีตมาจนถึงปัจจุบัน และจะยั่งยืนสืบไปในอนาคต - คุณพิทักษ์ ใจเที่ยง - เอิร์ธ เซรามิค - 121 หมู่ 6 ต.ปกยางคก อ.ห้างฉัตร จ.ลําปาง 52190 - 08 9851 5597 ที่มา : รายงานประจำปี 2565 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม
18 ส.ค 2566
เครื่องปั้นดินเผาม่อนเขาแก้
จังหวัดลำปางมีชื่อเสียงเรื่องเครื่องปั้นดินเผา หนึ่งในแหล่งผลิตงานปั้นแฮนด์เมดเลื่องชื่อคือ บ้านม่อนเขาแก้ว ที่อนุรักษ์สืบสานภูมิปัญญางานปั้นมาแต่บรรพบุรุษ และมีการรวมกลุ่มกันอย่างแข็งแกร่งเป็นวิสาหกิจชุมชนเครื่องปั้นดินเผาม่อนเขาแก้วในปี 2548 ปัจจุบันมีคุณวันดี แปลกปลาดเป็นประธานกลุ่มฯ เครื่องปั้นดินเผาม่อนเขาแก้วผลิตจากดินเหนียว และดินโป่งมันขึ้นรูปชิ้นงานด้วยมือล้วนๆ โดยใช้แป้นหมุนเป็นตัวช่วยทำให้ผลิตภัณฑ์แต่ละชิ้นมีเอกลักษณ์เหมือนมีเพียงชิ้นเดียวในโลก ก่อนจะนำไปเผาด้วยอุณหภูมิ 900 องศาเซลเซียส มีฟางข้าวและฟืนเป็นเชื้อเพลิงกลบด้วยขี้เถ้าแกลบอีกชั้นหนึ่ง จนกระทั่งได้เครื่องปั้นดินเผาที่สวย ทนทาน พร้อมจำหน่ายสู่ตลาด การันตีด้วยรางวัล OTOP ระดับ 5 ดาว สำหรับผลิตภัณฑ์ที่ขายดีคือ หมอน้ำดินเผา กาน้ำดินเผา กระถางต้นไม้ดินเผา ฯลฯ เรียกว่าผลิตออกมาเท่าไร พ่อค้าคนกลางก็รับซื้อไว้ทั้งหมดเพื่อกระจายส่งขายไปทั่วประเทศ แต่ปัญหาคือผลิตภัณฑ์ส่วนใหญ่ผลิตตามแบบที่พ่อค้าคนกลาง สั่งโดยไม่มีการประยุกต์แบบหรือเทคนิคใหม่ๆ ทำให้เครื่องปั้นดินเผาไม่มีความหลากหลายและขาดความโดดเด่นที่จะบ่งบอกว่าเป็นผลิตภัณฑ์ที่มาจากบ้านม่อนเขาแก้ว “เพราะต้องการจะเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและหาเอกลักษณ์ให้กับทางกลุ่มเราจึงได้เข้าร่วมอบรมเครื่องปั้นดินเผาม่อนเขาแก้ว ยกระดับการผลิตปลุกปั้นงานแฮนด์เมดชุมชนในกิจกรรมยกระดับกระบวนการผลิตสู่อุตสาหกรรมศักยภาพ (Process Transform) ซึ่งทางกรมส่งเสริมอุตสาหกรรมก็ได้ลงพื้นที่มาช่วยวิเคราะห์และให้คำแนะนำในการใช้เตาเผาเพื่อปรับปรุงการผลิตของสินค้าแฮนด์เมดให้ดียิ่งขึ้น ขณะเดียวกันก็ส่งเสริมการผลิตเครื่องปั้นดินเผารูปแบบใหม่ๆ อย่างของแต่งบ้าน ของแต่งสวนกระจุกกระจิก รวมทั้งสอนเรื่องการทำการตลาดและแนะนำให้วิสาหกิจชุมชนในฐานะผู้ผลิต ได้เรียนรู้การใช้ช่องทางออนไลน์ขายสินค้าด้วยตนเอง” ผลจากการเข้าร่วมโครงการทำให้ทางกลุ่มมีประสิทธิภาพการผลิตเพิ่มขึ้น 42.86 เปอร์เซ็นต์ ที่สำคัญช่วยยอดขายปรับเพิ่มขึ้น 100 เปอร์เซ็นต์ ทั้งนี้ ในช่วงการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ที่ ผ่านมา ปรากฏว่ากระถางต้นไม้ทุกไซส์ขายดีอย่างมาก เนื่องจากช่วงที่คนอยู่บ้านหรือ Work from Home ก็ได้ใช้ช่วงเวลาดังกล่าวปลูกต้นไม้ทำสวนกัน ทำให้วิสาหกิจชุมชนยิ้มได้ เพราะมีรายได้ต่อเนื่องจากอาชีพที่บรรพบุรุษส่งต่อมาจากรุ่นสู่รุ่น เพื่อขับเคลื่อนวิสาหกิจสู่ความยั่งยืนจากนี้ไป คุณวันดีก็มีความตั้งใจที่จะผลักดันให้บ้านม่อนเขาแก้วเป็นแหล่งเรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นและศูนย์ฝึกอาชีพประจำตำบล โดยเฉพาะการฝึกอบรมคนรุ่นใหม่ให้มีส่วนอนุรักษ์การทำเครื่องปั้นดินเผาเป็นอาชีพ ควบคู่ไปกับการเรียนรู้เทคโนโลยีการผลิตและองค์ความรู้ใหม่ๆ เพื่อนำมาปรับปรุงการผลิตและพัฒนาผลิตภัณฑ์ เครื่องปั้นดินเผาอย่างไม่หยุดยั้งต่อไป คุุณวัันดีี แปลกปลาด วิิสาหกิิจชุุมชน เครื่่องปั้นดิินเผา ม่่อนเขาแก้้ว 76 หมู่่ 3 ต.พิิชััย อ.เมืือง จ.ลำำปาง 52000 โทรศัพท์ 08 1387 6129, 08 3320 7940 ที่มา : รายงานประจำปี 2564 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม
22 มี.ค. 2565
โรงงานสุราษฎร์ดินทอง จุดประกายเครื่องปั้นดินเผาแห่งเดียวของภาคใต้ สร้างรายได้สู่ครอบครัว
ทุกแวดวงธุรกิจย่อมมีคู่แข่งที่พร้อมจะปรากฏตัวอยู่เสมอเพื่อเข้าสู่สมรภูมิรบแห่งการแข่งขันชิงความเป็นเบอร์หนึ่งทางการตลาด แต่ถ้าตลาดนั้นยังไร้คู่แข่งก้าวเข้ามาร่วมเส้นทาง ก็นับว่าเป็นโอกาสอันดีที่ควรคว้าไว้ เช่นเดียวกับ คุณพิเชษฐ ตริตระการ เจ้าของโรงงานสุราษฎร์ดินทอง จ.สุราษฎร์ธานี นับว่าเป็นเจ้าแรก ๆ ในภาคใต้ที่ได้ริเริ่มทำธุรกิจเครื่องปั้นดินเผารูปแบบอุตสาหกรรมในครัวเรือนตั้งแต่ปี พ.ศ.2534 ทว่า ในตอนนั้น การก้าวเข้ามาในแวดวงด้านเครื่องปั้นดินเผา คงเป็นเพราะเขาเล็งเห็นว่ายังไม่มีคู่แข่งในภาคใต้ ผนวกกับย้อนไปในปี พ.ศ.2528 เขาเคยอบรมกิจกรรมพัฒนาผู้ประกอบการธุรกิจอุตสาหกรรม (คพอ.) รุ่นที่ 8 จึงยิ่งเพิ่มความเชื่อมั่นบวกกับประสิทธิภาพการดำเนินธุรกิจนั่นเอง สำหรับผลิตภัณฑ์ของคุณพิเชษฐ เน้นไปที่กลุ่มสินค้าที่นำไปใช้งานเป็นหลัก อาทิ กระถางต้นไม้ในรูปทรงต่างๆ ที่มีหลากหลายขนาด โดยมีทั้งชนิดเคลือบและชนิดไม่เคลือบ รวมถึง ยังมีถ้วยหรือจอกรับน้ำยางพารา ที่นิยมในกลุ่มตลาดยางพาราภาคใต้ ซึ่งผลิตภัณฑ์ของคุณพิเชษฐส่วนหนึ่งเลือกใช้ดินเหนียวจากชุมชนใกล้เคียง เผาด้วยไม้ฟืน (ใช้ปีกไม้ยางพารา) เป็นส่วนประกอบในการเผา ซึ่งทุกผลงานล้วนผ่านช่างฝีมือระดับชำนาญการเท่านั้น ปัจจุบัน คุณพิเชษฐยังคงให้ความสำคัญกับการเรียนรู้ โดยหากมีเวลามักจะเข้าร่วมอบรมเสมอ ๆ เช่น การเข้าร่วมอบรมโครงการของศูนย์พัฒนาอุตสาหกรรมเซรามิก จังหวัดลำปาง ทำให้ได้รับความรู้และเทคนิคเชิงลึกต่าง ๆ จากผู้เชี่ยวชาญ ไม่ว่าจะเป็นกระบวนการเตรียมเคลือบ การนำสูตรเคลือบที่พัฒนาแล้วไปถ่ายทอดให้กับโรงงานเพื่อช่วยลดต้นทุนการผลิต ฯลฯ ซึ่งผลที่ได้รับหลังจากการอบรม ทำให้คุณพิเชษฐ สามารถประยุกต์ใช้ในธุรกิจของตนเองได้อย่างมีประสิทธิภาพ อย่างไรก็ตาม การกระจายสินค้าของคุณพิเชษฐ์ นับว่าเป็นรายใหญ่ในภาคใต้ที่ผลิตส่งไปยังหลายจังหวัด อาทิ ภูเก็ต พังงา กระบี่ สงขลา ฯลฯ โดยอนาคตอันใกล้นี้ คุณพิเชษฐ์ยังไม่หยุดที่จะเรียนรู้ทั้งทฤษฎีและปฏิบัติ ตลอดจนเทคนิคเชิงลึกต่าง ๆ เพิ่มเติมเพื่อการพัฒนาธุรกิจเครื่องปั้นดินเผา ให้ก้าวเข้าสู่การเป็นสุดยอดของมืออาชีพอีกด้วย คุณพิเชษฐ์ ตริตระการ โรงงานสุราษฎร์ดินทอง 105/1 หมู่ 8 ต.วัดประดู่ อ.เมือง จ.สุราษฎร์ธานี 84000 ที่มา : รายงานประจำปี 2557 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม
31 ม.ค. 2557