เทวา อินเตอร์กรุ๊ป
ออกแบบลายผ้า ด้วยระบบดิจิทัล ดันยอดขายได้หลักล้าน จากพ่อค้าขายก๋วยเตี๋ยว ขายลูกชิ้นทอด สู่การสร้างธุรกิจ “ผ้าทอ” ระดับประเทศ เส้นทางนี้ คุณกิตติพันธุ์ สุทธิสา เล่าว่าเริ่มต้น จากความบังเอิญ แต่เดินหน้าด้วยความตั้งใจ โดยเฉพาะการเรียนรู้ อย่างจริงจังและความมุ่งมั่นที่จะต้องผลิตสินค้าให้ได้มาตรฐาน ทำให้ วันนี้ เทวา อินเตอร์กรุ๊ป คือหนึ่งในผู้ผลิตและจำหน่ายปลีกส่งผ้า หัตถกรรมทุกชนิดรายใหญ่ระดับประเทศ สร้างงานสร้างอาชีพให้กับ ชาวหนองบัวลำภูที่เป็นช่างทอกว่า 300 คนได้อย่างเป็นกอบเป็นกำ จุดที่ทำให้ธุรกิจเติบโตแบบก้าวกระโดด คือการสร้างอัตลักษณ์ ให้สินค้าจนมีความแตกต่างจากที่อื่น นั่นก็คือ “ผ้าหมักน้ำข้าว นวัตกรรมผ้าสองหน้า” ใช้ภูมิปัญญาการหมักผ้าด้วยน้ำซาวข้าวของคนหนองบัวลำภูมาผสานกับเทคนิคการทอ ด้านหนึ่งเป็นผ้า ทอลายมัดหมี่ ส่วนอีกด้านหนึ่งเป็นผ้าทอยกดอก ทำให้สามารถใส่ ได้ทั้งสองด้าน และยังมีเรื่องของการพัฒนาสินค้าให้ได้มาตรฐาน อย่างต่อเนื่อง คุณภาพระดับส่งออกต่างประเทศ เช่น สินค้าผ้าคลุม ไหล่ส่งออกไปยังประเทศเนปาลซึ่งได้รับการตอบรับเป็นอย่างดี แม้จะสามารถนำเสนอสินค้าผ่านช่องทางการตลาดทั้งการออกบูธการ Live สดบนโซเชียลมีเดียจนได้รับการตอบรับอย่างต่อเนื่องแต่ปัญหาหลักที่ทำให้คุณกิตติพันธุ์ต้องการผู้เชี่ยวชาญมาให้ความช่วยเหลือนั้นก็คือ “การออกแบบลายผ้า” เนื่องจากใช้ลายเดิม ๆ มาเป็นระยะเวลายาวนาน และคุณกิตติพันธุ์เองก็ต้องการพัฒนารูปแบบ กระบวนการผลิต โดยกำหนดลายให้แก่ช่างทอก่อนที่ จะผลิตซึ่งจะช่วยให้ได้ชิ้นงานที่ตรงตามความต้องการ ของตลาด และมีความสวยงามแปลกใหม่เพิ่มขึ้นได้ คุณกิตติพันธุ์จึงได้เข้าร่วมกิจกรรมการประยุกต์ใช้ ระบบดิจิทัลในการบริหารจัดการธุรกิจ ภายใต้โครงการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของวิสาหกิจไทยด้วยดิจิทัลกับดีพร้อม จนสามารถนำโปรแกรมออกแบบ ลายผ้าสำเร็จรูป โปรแกรมออกแบบลายผ้า JK-Weave ไปใช้ออกแบบได้อย่างมีประสิทธิภาพ จากเดิม ต้องใช้เวลาในการออกแบบ 10 วันเหลือเพียง 1 วัน ช่วย ลดต้นทุนเฉพาะค่าออกแบบได้ถึง 37,800 บาทต่อปี นอกจากนี้ ยังสามารถออกแบบลายตามความต้องการ ของลูกค้า องค์กร หน่วยงาน ฯ ทำให้เปิดสู่ตลาดใหม่ ๆ เกิดยอดขายเพิ่มขึ้นกว่า 200,000 บาทต่อปี ทั้งหมด นี้คิดเป็นมูลค่าเศรษฐกิจรวมถึง 7,200,000 บาทต่อปีเลยทีเดียว นอกจากความสำเร็จที่เกิดขึ้นอย่างงดงามตรงตาม โจทย์ธุรกิจแล้ว อีกสิ่งที่คุณกิตติพันธ์มีความประทับใจ คือการให้ความช่วยเหลือดูแลและพร้อมสนับสนุนจาก ดีพร้อมในทุก ๆ ด้าน ทั้งด้านการตลาด ประชาสัมพันธ์ เมื่อธุรกิจมีปัญหาดีพร้อมยังเป็นเพื่อนคู่คิด ทำให้ ผู้ประกอบการรู้สึกไม่โดดเดี่ยว สิ่งนี้เองเป็นหัวใจสำคัญที่ทำให้ผู้ประกอบการรู้สึกว่าดีพร้อมพร้อมอยู่เคียงข้างในทุกเส้นทางอย่างแท้จริง บริษัท เทวา อินเตอร์กรุ๊ป จำกัด 264 หมู่ 2 ถ.อุดร-เลย ต.นาคำไฮ อ.เมือง จ.หนองบัวลำภู 33000 08 6972 9787 kittiphan0869729787@gmail.com ที่มา : รายงานประจำปี 2565 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม
18 ส.ค 2566
วรุณรัตน์ ผ้าฝ้าย ผลิตด้วยความใส่ใจ ใครใส่ก็ดูดี
ตลาดผ้าทอ ผ้าพื้นเมืองแปรรูป นับเป็นหนึ่งในตลาดที่มีผู้ประกอบการ รายใหม่ให้ความสนใจอยู่เสมอ ทว่าการยืนระยะและอยู่ในธุรกิจนี้ ได้อย่างยาวนาน จำเป็นต้องอาศัยปัจจัยหลายอย่าง หนึ่งในนั้นคือ “ใจรัก” ที่มีต่อผ้าทอ ซึ่งนับเป็นองค์ประกอบสำคัญอย่างหนึ่งในธุรกิจนี้ วรุณรัตน์ ผ้าฝ้าย เป็นอีกหนึ่งแบรนด์ผ้าทอมือแปรรูปที่ถือกำเนิด จาก “ความรัก” ที่มีต่อผ้าทอมือของ คุณยานิกา ลิโมทัย กว่า 12 ปี ที่ได้ศึกษาและพัฒนาผลิตภัณฑ์ผ้าทอมือขาย ณ จังหวัดเชียงใหม่ ทำให้ คุณยานิภาสะสมประสบการณ์ ได้เรียนรู้เทคนิคตลอดจนข้อดีข้อด้อย ของผ้าทอมือชนิดต่างๆ กระทั่งย้ายภูมิลำเนามาอยู่ที่จังหวัดกาญจนบุรี คุณยานิภาก็ยังนำธุรกิจผ้าทอมือแปรรูปมาเปิดกิจการต่อ โดยเน้น ตลาดขายส่งมาตั้งแต่ปี 2545 นับเป็นเวลากว่า 20 ปีที่อยู่ในธุรกิจผ้า กล่าวสำหรับจุดเด่นของสินค้าภายใต้แบรนด์วรุณรัตน์ ผ้าฝ้าย ก็คือการออกแบบให้สวมใส่สบายได้ทุกโอกาส เพราะใช้ผ้าฝ้ายทอ จากวัสดุธรรมชาติ เป็นเส้นใยธรรมชาติทอมือ ช่วยเพิ่มอัตลักษณ์ ให้แก่ผู้สวมใส่ การันตีด้วยฐานลูกค้าประจำที่หนาแน่นจนมียอดสั่ง ซื้อไม่ขาดสาย โดยเฉพาะกลุ่มข้าราชการ ครู พนักงานองค์กรต่าง ปัจจุบันนอกจากผ้าทอมือลวดลายมาตรฐานที่ออกแบบเองแล้ว ยังมี สินค้าลายผ้าขาวม้า ที่แปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ให้เลือกสรร อาทิ หมวกปีก หมวกผ้าขาวม้า เป็นต้น แม้จะอยู่ในธุรกิจมาอย่างยาวนาน แต่วรุณรัตน์ ผ้าฝ้าย ก็หนีไม่พ้นปัญหาคลาสสิคในการประกอบธุรกิจ นั่นคือ ปัญหาเรื่องการผลิตสินค้าไม่ทันต่อความต้องการในช่วง ที่มีความต้องการสูง เนื่องมาจากจำนวนช่างตัดเย็บที่มี จำกัด เพราะคุณยานิภาจะไม่ปล่อยแบบไปให้ช่างที่ไม่มั่นใจในฝีมือตัดเย็บโดยเด็ดขาด เพื่อให้สามารถควบคุม คุณภาพและไม่เสียแบรนด์ อีกปัญหาก็คือ การขาดเงิน ทุนหมุนเวียนในการประกอบกิจการ เพราะไม่มีแหล่งเงินทุนจากภายนอกทำให้ต้องบริหารจัดการต้นทุนและสภาพคล่องให้รัดกุม อีกสิ่งที่ส่งผลต่อธุรกิจคือการแข่งขันที่สูงขึ้นในตลาดผ้าทอแปรรูป ด้วยเหตุนี้คุณยานิภาจึงเข้ารับการอบรมในโครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์กับดีพร้อม โดยได้รับคำปรึกษาจากผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบ ช่วยให้แบรนด์สามารถพัฒนาสินค้ารูปแบบใหม่ ๆ ที่ตรงตามความต้องการของตลาดได้ หากใครต้องการสั่งซื้อสินค้าของ วรุณรัตน์ ผ้าฝ้าย จะให้ดีต้องไปที่ตลาดเกษตร ข้างจวนผู้ว่าราชการจังหวัดกาญจนบุรี เพราะเป็นหน้าร้านที่มีสินค้าให้สัมผัสเลือกชมได้ แต่ถ้าไม่สะดวกเดินทางไป สามารถติดต่อสั่งซื่อ ผ่านช่องทาง Line Official ได้ วรุณรัตน์ ผ้าฝ้าย 75 หมู่ที่ 5 ต.หนองบัว อ.เมือง จ.กาญจนบุรี 71190 08 9738 4312 0897384312 (เพิ่มเพื่อนทางเบอร์โทรศัพท์) ที่มา : รายงานประจำปี 2565 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม
18 ส.ค 2566
วิสาหกิจชุมชน ปักผ้าฝ้ายบ้านป่าปุ๊ รวมอัตลักษณ์แห่งชาติพันธุ์ ผ่านผืนผ้า สู่สินค้าที่จับต้องได้
สินค้าหัตถกรรม งานฝีมือ หากมีคุณภาพไม่ว่าจะอยู่ที่ไหนย่อมส่อง ประกายคุณค่าออกมาได้เสมอ เช่นเดียวกับผลงานของ “วิสาหกิจ ชุมชนปักผ้าฝ้ายบ้านป่า” ที่เน้นผลิตสินค้าที่สะท้อนเอกลักษณ์ของ กลุ่มชาติพันธุ์ต่าง ๆ เช่น กะเหรี่ยง ไทใหญ่ ม้ง ลาหู่ พื้นเมือง ล้านนา และชาติพันธุ์อื่น ๆ ผืนผ้าทุกชิ้นปักด้วยมือ บ้างแต่งด้วยลูกเดือย ผสาน การตัดเย็บจากผ้าทอของสมาชิกในชุมชน ทำให้สินค้าแต่ละชุดแต่ละชิ้น มีความสวยงามแปลกตา และทรงคุณค่าจนได้รับคัดเลือกให้เป็นสินค้า OTOP ระดับ 5 ดาวของจังหวัดแม่ฮ่องสอน คุณรวิวรรณ กองวัฒนาสุภา ประธานกลุ่มวิสาหกิจชุมชนปักผ้าฝ้าย บ้านป่าปุ๊ เล่าให้ฟังถึงจุดเริ่มต้นของการรวมกลุ่มจนเกิดเป็นธุรกิจว่า เดิมที่คุณรวิวรรณและครอบครัวทำธุรกิจขายเสื้อผ้าอยู่แล้ว แต่เป็น เสื้อผ้าธรรมดาแบบซื้อมาขายไปที่ไม่มีจุดเด่น ธุรกิจจึงไม่สร้างกำไรมากนัก กระทั่งได้เข้ารับการอบรมภายใต้โครงการหมู่บ้าน OTOP นวัตวิถี จึงปิ๊งไอเดียทดลองนำสินค้าในร้านมาปรับปรุง เพิ่มลายปัก เข้าไปทำให้น่าสนใจมากยิ่งขึ้น ต่อมาจึงเกิดแนวคิดรวมกลุ่มคนในชุมชนตั้งเป็นวิสาหกิจชุมชนเพื่อนำผ้าและผลงานของคนในชุมชนมาออกแบบ ตัดเย็บให้เข้ากับยุคสมัย และจำหน่ายกระทั่งปัจจุบัน ด้วยจุดเด่นในการดึงอัตลักษณ์เรื่องราว เรื่องเล่าของจังหวัดแม่ฮ่องสอน ที่มีความหลากหลายทางชาติพันธุ์ มานำเสนอผ่านผืนผ้าที่ปักด้วยมือทุกชิ้น จึงสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าจนเป็นที่ต้องการ ของตลาด แต่อุปสรรคสำคัญประการหนึ่งก็คือ ความที่เป็น สินค้าทำมือและเป็นงานละเอียด ทําให้ใช้ระยะเวลาใน การผลิตต่อชิ้นนาน ไม่สามารถรองรับความต้องการเป็น ปริมาณมาก ๆ ในเวลาอันสั้นได้ นอกจากนี้ทางกลุ่มยังต้องการเปิดสู่ตลาดใหม่ ๆ เพื่อให้ สินค้าได้ถูกบอกต่อในวงกว้างมากยิ่งขึ้น ซึ่งคุณรวิวรรณเอง ก็ได้เข้าร่วมโครงการกับดีพร้อม ในโครงการอบรมเพื่อ พัฒนาผลิตภัณฑ์ สร้างมูลค่าเพิ่มผ่านการออกแบบ ให้ตรงกลุ่ม ตรงใจลูกค้า คุณรวิวรรณเล่าว่าไม่เพียง ได้เปิดโลกด้านการดีไซน์ การออกแบบ แต่ยังได้เรียนรู้ เรื่องตลาด ได้สร้างเครือข่าย ทั้งสองมิติช่วยให้ธุรกิจเติบโต และมีลูกค้าเพิ่มมากขึ้น ตอบโจทย์ความต้องการของทาง กลุ่มได้เป็นอย่างดี นอกเหนือจากกำไรและยอดขายของสินค้าแล้ว สิ่งที่ คุณรวิวรรณคิดว่าเป็นความสำเร็จในการทำธุรกิจก็คือการได้ช่วยเหลือคนในชุมชน จากที่เคยมีแต่รายได้จากการทำการเกษตรเพียงอย่างเดียว เสื้อผ้าส่วนใหญ่ทำเก็บไว้ใช้ใน ครัวเรือนยามว่างเท่านั้น แต่ปัจจุบันสามารถทำขายได้ และ เป็นที่ต้องการในท้องตลาดจนทำไม่ทันขาย ทำให้ชาวบ้าน ในชุมชนไม่ต้องออกไปทำงานต่างถิ่นต่างจังหวัดอีกต่อไป นอกจากสร้างรายได้ให้กับชุมชนแล้ว ยังเป็นการอนุรักษ์และรักษาวัฒนธรรมประเพณีการแต่งกายของชาติพันธุ์ในจังหวัดแม่ฮ่องสอน ให้คงอยู่อย่างยั่งยืนไม่สูญหายไป ตามกาลเวลาอีกด้วย - คุณรวิวรรณ กองวัฒนาสุภา - วิสาหกิจชุมชนปักผ้าฝ้ายบ้านป่าปุ๊ - 82 หมู่ที่ 2 ต.ผาบ่อง อ.เมืองแม่ฮ่องสอน จ.แม่ฮ่องสอน 58000 - 08 6924 8919, 09 5416 5974 ที่มา : รายงานประจำปี 2565 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม
18 ส.ค 2566
ผสานศิลป์ ผสานลาย เปลี่ยนผ้าไหมมัดหมี่ เป็นสินค้าสุดชิคที่ใคร ๆ ก็อยากใช้
อ.ชนบท จ.ขอนแก่น มีของดีประจำถิ่นที่เลื่องลือเป็นที่รู้จักมาช้านาน นั่นคือ “ผ้าไหมมัดหมี่” ซึ่งมีความสวยงามถึงขั้นได้รับคัดเลือกให้นำส่งเข้าสู่วังสวนจิตรลดา โดยผู้ที่เป็นตัวแทนนำลายมัดหมี่ประจำถิ่นเข้าสู่การเป็นสมาชิกของวังสวนจิตรลดาในสมัยนั้นก็คือคุณบุญสิน ราษร์เจริญ คุณแม่ของคุณสุภาณี ภูแล่นที่ ครูช่างศิลปหัตถกรรม ปี 2556 และ ประธานวิสาหกิจชุมชนผ้าไหมมัดหมี่บ้านหัวฝาย คนปัจจุบัน คุณสุภาณีได้เล่าถึงเรื่องราวอันน่าประทับใจตั้งแต่จุดเริ่มต้น การรวมกลุ่มญาติ ๆ พี่ป้าน้าอา จนเกิดเป็นกลุ่มสหกรณ์ขึ้นใน ปี พ.ศ. 2539 ในรูปแบบสหกรณ์ออมทรัพย์ ปัจจุบันมีสมาชิกมากกว่าหนึ่งร้อยราย ส่งผลให้คุณแม่บุญสินได้รับรางวัลเกษตรกรดีเด่น แห่งชาติ ประจำปี 2555 จากการเป็นผู้ผลักดันให้เกิดการสร้างงาน สร้างอาชีพที่มั่นคงให้แก่ชุมชนมากว่าสองทศวรรษ หนึ่งในจุดเด่นของผ้าไหมมัดหมี่บ้านหัวฝาย คือลวดลายอันเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นที่สืบทอดต่อ ๆ กันมาอย่างยาวนาน ทว่า ด้วย การแข่งขันที่สูงขึ้นในปัจจุบัน การทอผ้าฝืนหรือพัฒนาผลิตภัณฑ์ ในรูปแบบเดิม ๆ ไม่เพียงพออีกต่อไป ยิ่งเมื่อเกิดวิกฤตการณ์โควิด-19 และภาวะเศรษฐกิจ ส่งผลโดยตรงต่อยอดสั่งซื้อสั่งผลิตของทางกลุ่ม การตัดราคาสินค้า ประกอบกับความต้องการของลูกค้าที่เปลี่ยนไปต่าง ๆ เหล่านี้เป็นที่มาที่ทำให้ต้องเร่งปรับตัวให้เท่าทันกับการเปลี่ยนแปลงทางกลุ่มจึงได้เข้าร่วมโครงการยกระดับศักยภาพ เศรษฐกิจชุมชน กิจกรรม สืบสาน สร้างสรรค์ ผสานอัตลักษณ์ ภูมิปัญญา เพื่อเพิ่มมูลค่า กับดีพร้อม จนสามารถพัฒนา “กระเป๋าถือผ้าไหมมัดหมี่ลายเรขาคณิต” ซึ่งเป็นลวดลายใหม่ที่มีความสวยงาม เป็นที่ต้องตาต้องใจผู้พบเห็น สอดคล้องกับโจทย์ ในการพัฒนาสินค้าใหม่ ๆ ให้ตรงตามความต้องการของ ตลาดได้ตรงจุด นอกจากนี้ อาจารย์และผู้เชี่ยวชาญที่เข้ามาอบรมความรู้ยังได้สอนการให้สีด้วยวงจรสี ซึ่งเป็น ความรู้ใหม่ที่มีผลต่อการพัฒนาสีสันและลวดลาย ของผ้าทอให้ยกระดับไปอีกขั้นจากเดิม ผู้ทอจะคิดสีและลวดลายเองตามประสบการณ์หรือตามความชอบซึ่งบางครั้งก็ไม่ตรงกับความต้องการของตลาด การได้เข้าร่วมโครงการจึงเปิดมิติใหม่ให้กับทางกลุ่มได้นําองค์ความรู้ ไปต่อยอดพัฒนาสินค้าจนถึงปัจจุบัน ภายใต้การผสานศิลป์ ผสานลาย ต่อยอดภูมิปัญญา ด้วยองค์ความรู้ใหม่ จึงเปลี่ยนผ้าไหมมัดหมี่อันทรงคุณค่า ให้เป็นสินค้าสุดชิคที่ใคร ๆ ก็อยากใช้ ครองใจทั้งฐานลูกค้าเดิมพร้อมขยายฐานลูกค้าใหม่ได้ตอบโจทย์ - คุณสุภาณี ภูแล่นที่ - วิสาหกิจชุมชนผ้าไหมมัดหมี่ - 13 หมู่ 2 ต.ปอแดง อ.ชนบท จ.ขอนแก่น 40180 - 08 3656 5644 ที่มา : รายงานประจำปี 2565 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม
18 ส.ค 2566
ผ้าไหมต้องไม่เชย “สะเลเต” เนรมิตกระเป๋าสุดชิคจากผ้าไทย จนใคร ๆ ก็อยากใช้
“สะเลเต” คือชื่อดอกไม้หอมแห่งภาคอิสานที่มีกลิ่นหอมฟุ้ง เปรียบเหมือนผ้าไหมภาคอิสานที่มีชื่อเสียงขจรขจาย และนี่คือความหมายเบื้องหลังชื่อแบรนด์กระเป๋าสุดเก๋ “สะเลเต” ที่วันนี้กลายเป็นหนึ่งในแบรนด์ ที่น่าจับตาสำหรับธุรกิจสินค้าหัตถกรรมไทย คุณนงนุช บํารุงกุล เจ้าของและผู้ก่อตั้งแบรนด์สะเลเตเล่าให้ฟังว่า จุดเริ่มต้นในการทำธุรกิจคือความชื่นชอบในกระเป๋าหนังซึ่งเธอไปเข้าคอร์สเรียนเพื่อออกแบบตัดเย็บด้วยตัวเอง โดยมีเป้าหมายชัดเจน คือ ต้องการทำกระเป๋าที่มีอัตลักษณ์ไทย จึงเริ่มจากอะไรที่จับต้องได้ง่ายก่อนก็คือผ้าไหมไทย แต่จะทำยังไงให้คนซื้อกระเป๋าผ้าไหมสามารถนําไปใช้ได้แบบ เอนกประสงค์ซื้อไปแล้วรู้สึกคุ้มค่า คุณนงนุชจึงเลือกการออกแบบให้มีรูปทรงร่วมสมัย สามารถถือคู่กับชุดที่ใส่ในชีวิตประจำวัน ชุดทำงานได้โดยไม่จำเป็นต้องใช้คู่กับชุดไทยเพียงอย่างเดียว ทั้งหมดนี้ก็เพื่อลบคําว่า “เชย” ที่เคยเป็นกรอบความคิดปิดกั้นการใช้งานผ้าไหมไทยให้เจือจางลง และด้วยแนวความคิดที่ชัดเจนนี้ ทำให้กระเป๋าภายใต้แบรนด์สะเลเต มีทั้งรูปลักษณ์ที่สวยงามทันสมัยแถมยังตอบโจทย์การใช้งานในชีวิตประจำวันได้อย่างลงตัว หลังส่งกระเป๋ารูปทรงต่าง ๆ ออกสู่ตลาด คุณนงนุช ก็พบว่า สิ่งที่เป็นปัญหาสำคัญในการเติบโตของแบรนด์ยังคงเป็นจุดที่เธอคิดถึงตั้งแต่ต้น นั่นก็คือการจํากัดความผ้าไทยโดยเฉพาะผ้าไหมให้เป็นสินค้าเฉพาะกลุ่ม แต่ด้วยความที่เธอคิดถึงจุดนี้ตั้งแต่ต้นทำให้แบรนด์สะเลเต สร้างปรากฏการณ์เปลี่ยนคนรุ่นใหม่ให้ถือกระเป๋าผ้าไหมเพิ่มขึ้นได้เรื่อย ๆ นอกจากผ้าไหมแล้ว ในปัจจุบันสะเลเตยังมีการนำ “ผ้าฝ้าย” มาตัดเย็บร่วมกับหนังแท้ออกมาเป็นผลิตภัณฑ์ที่สวยงามไม่แพ้ผ้าไหมและใช้ต้นทุนต่ำกว่า ราคาขายจึงจับต้องได้มากยิ่งขึ้นสำหรับกลุ่มลูกค้าวัยรุ่นวัยทำงาน โดยผลิตภัณฑ์ดังกล่าว เป็นผลลัพธ์จากการเข้าร่วม กิจกรรมพัฒนาคุณภาพผลิตภัณฑ์สิ่งทอเข้าสู่ มาตรฐานอุตสาหกรรม (Thailand Textiles Tag) กับดีพร้อม นอกจากนี้คุณนงนุชยังได้เข้าร่วมกิจกรรมเพื่อพัฒนา ผลิตภัณฑ์ให้ได้รับเครื่องหมาย Thailand Textiles Tag ซึ่งสามารถนำไปใช้ในการประชาสัมพันธ์สร้างความเชื่อมั่น ให้กับผู้บริโภคได้ และเป็นตัวช่วยสำคัญในการเปิดตลาดออนไลน์ที่ลูกค้าไม่สามารถจับต้องสินค้าด้วยตัวเอง การมีเครื่องหมายรับรองคุณภาพยืนยันจากหน่วยงานทำให้เกิดความเชื่อมั่นในสินค้า ส่งผลให้ยอดขายเพิ่มสูงขึ้น โดยคุณนงนุชมั่นใจว่า จะสามารถขยายฐานลูกค้าและสร้างมูลค่าเพิ่มได้ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 40 ของยอดจําหน่ายเดิม คิดเป็นเงินประมาณ 2,000,000 บาทต่อปี - คุณนงนุช บํารุงกุล - บริษัท สะเลเต สตูดิโอ จํากัด - 4/147 ซ.หมู่บ้านชัยพฤกษ์ ถ.มาเจริญ แขวง หนองแขม เขตหนองแขม กรุงเทพฯ 10160 - 06 2269 4261 ที่มา : รายงานประจำปี 2565 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม
18 ส.ค 2566
เทพอินทราชัย แมนู แฟคเจอริ่ง
Upcycling สินค้าแฟชั่น ตอบโจทย์เทรนด์รักษ์โลก 40 ปีที่บริษัท เทพอินทราชัย แมนูแฟคเจอริ่ง จำกัด ผลิตเสื้อผ้าและสินค้าแฟชั่นป้อนให้กับภาครัฐและภาคธุรกิจของประเทศเพื่อเสริมสร้างภาพลักษณ์ที่ดี ให้กับองค์กร จากการผลิตตามแบบในยุคบุกเบิกมาในยุคผู้บริหารเจเนอเรชันที่ 2 คุณยุทธนา เหล่าผดุงรัชกัร ก็ให้ความสำคัญกับการพัฒนาสินค้าด้วยนวัตกรรมและดีไซน์ รวมทั้งกระบวนการผลิตที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อม ที่นี่ถือเป็นโรงงานการ์เมนต์เพียงไม่กี่แห่งในประเทศที่ได้รับรางวัล Green Factory ด้วยความที่บริษัทมีไลน์การผลิตสินค้าที่ครบวงจร ตั้งแต่่หมวก กระเป๋า เสื้อยืด เสื้อโปโล เสื้อแจ็กเกต ฯลฯ จึงตอบโจทย์ลูกค้าในลักษณะ B2B ที่ต้องการความ หลากหลายของผลิตภัณฑ์ แบบสั่งที่เดียวได้ครบทุกไอเทม ขณะเดียวกันยังเลือกใช้วัตถุดิบที่มีคุณภาพและแสวงหา ความแตกต่างมานำเสนอลูกค้าอยู่เสมอ เช่น การออกแบบ และผลิตเสื้อผ้าจากเส้นใยขวดพลาสติก (Recycled PET) ที่กำลังเป็นเทรนด์นิยมในเวลานี้ เทคโนโลยีเปลี่ยนเร็ว สินค้าแฟชั่นก็เปลี่ยนเร็วเช่นกันและต้องยอมรับว่าอุตสาหกรรมแฟชั่นสร้างขยะให้กัับโลกไม่น้อย คุณยุทธนาในฐานะผู้นำองค์กรมีความตื่นตัว และสนใจรับข่าวสารของกรมส่งเสริมอุตสาหกรรมเป็นประจำอยู่แล้ว ทั้งยังเข้าร่วมอบรมโครงการต่างๆ โดย ในช่วง 6 ปีที่ผ่านมา บริษัทได้ส่งเสริมการผลิตภายใต้ระบบ Lean ทำให้มีความสนใจที่จะนำ เศษวัสดุเหลือใช้ต่่างๆ กลับมาใช้ให้เกิดประโยชน์ไม่ทิ้งไร้ค่าเป็นขยะ ทางบริษัทได้เข้าร่วมอบรมโครงการ Upcycling for Sustainable Lifestyle ของกรมส่งเสริมอุตสาหกรรมทำให้บริษัทสามารถพัฒนา และสร้างมลค่า เพิ่มจากเศษวัสดุเหลือทิ้งที่มีเป็นจำนวนมากจากสายงานการผลิตหลัก โดยการน เศษผ้าเหลือทิ้งมาผ่านกระบวนการตีเป็นเส้นใยและส่งเส้นใยผ้าที่ได้ให้กับกลุ่มชุมชนทอผ้า ทอจนสำเร็จเป็นผืนผ้า โดยการจ้างเหมาทอรายวัน ซึ่งเป็นการสร้างรายได้ให้ชุมชน หลังจากนั้นจึง นำผืนผ้าที่ได้กลับมาตัดเย็บด้วยเครื่องจักรที่บริษัท เพื่อทำเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ ประเภทเสื้อแจ็กเกต เสื้อกันหนาว นอกจากนี้ยังได้นำเศษวัสดุเหลือทิ้งจากการตัดเย็บกระเป๋าเก็บความร้อนและเย็นประเภทฟอยด์เพื่อทอและเย็บติดประดับบนเสื้อแจ็กเกตจนได้ผลิตภัณฑ์ใหม่ (Upcycling Products) ที่เพิ่มมูลค่าสูง และตรงกับความต้องการของตลาด โดยอาศัยกระบวนการออกแบบเชิงสร้างสรรค์ และกระบวนการผลิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม “พอกรมส่งเสริมอุตสาหกรรมส่งข้อมูลมาว่ามีการอบรมโครงการ Upcycling for Sustainable Lifestyle ก็รู้สึกว่ามันตอบโจทย์เรา อาจารย์ที่ปรึกษาท่านแนะนำ ให้นำเศษผ้าเหลือใช้ที่เป็นขยะอุตสาหกรรมมาปั่นเป็นเส้นด้าย แล้วนำมาทอเป็นผ้าผืนใหม่โดยฝีมือชาวบ้านที่มีภูมิปัญญาทอกี่กระตุกในจังหวัดปราจีนบุรี จนได้งาน Handicraft ที่มี Story ที่น่าสนใจ ในรูปแบบของเสื้อแจ็กเกตที่มีฟังก์ชัน คือ สามารถถอดแขนเป็นเสื้อกักหรือเสื้อแจ็กเกตก็ได้ เราดีใจที่ได้มีส่วนช่วยลดขยะ และทำให้มันมีค่ากลับมาเป็นตัวสินค้าอีกครั้ง ทั้งยังสร้างงาน สร้างรายได้ให้กับชุมชนท้องถิ่นด้วย” ผลจากการเข้าร่วมโครงการ ทำให้ได้ผลิตภัณฑ์ที่มีความเป็นแฟชั่่นและไลฟ์สไตล์แล้ว ยังช่วยเพิ่มยอดขายสินค้า องบริษัทเพิ่มขึ้นมากกว่าเดิมประมาณ 30-40 เปอร์เซ็นต์มีรายได้เพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่า 2 ล้านบาทต่อปี ทั้งนี้ สิ่งที่ทำให้ เทพอินทราชัย แมนูแฟคเจอริ่งยืนหยัดมาได้กว่่า 40 ปี คือการใส่ใจความต้องการของลูกค้าให้ความสำคัญกับคำว่าคุณภาพ พร้อมส่งเสริมการใช้นวัตกรรมเพื่อตอบโจทย์ลูกค้ายุคนี้ ที่ตระหนักถึงเรื่องสิ่งแวดล้อมมากขึ้น ซึ่งทางบริษัทเองก็บรรจุเรื่องนี้ไว้ในนโยบายของบริษัท เพื่อสร้างความยั่งยืนให้กับธุรกิจประเทศชาติและโลกของเรา คุณยุทธนา เหล่าผดุงรัชกร คุุณยุุทธนา เหล่่าผดุงรััชกร บริิษััท เทพอิินทราชััย แมนูแฟคเจอริ่่ง จำำกััด 123 125 ซ.เพชรเกษม 68 แขวงบางแคเหนืือ เขตบางแค กรุงเทพ 10160 โทรศัพท์ 08 1875 9959, 0 2454 8188-90 http://www.tmpremiums.com/ ที่มา : รายงานประจำปี 2564 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม
17 มี.ค. 2565
ภูริษาผ้าไทย
ชูอัตลักษณ์ผ้าทอแดนอีสาน เชื่อมแฟชั่นไทยสู่สากล ผ้าฝ้ายย้อมสีธรรมชาติถักทอด้วยฝีมือชุมชนคนอีสานดีไซน์สู่ เสื้อผ้าแฟชั่นทันสมัย สวมใส่สบาย มีสไตล์ เป็นของตัวเอง อวดโฉมอยู่ในงานแสดงสินค้าระดับ ประเทศและช่องทางออนไลน์ ครองใจลูกค้าคนรุ่นใหม่ทั้งชาวไทยและต่างชาติ เป็นผลงานของ ภูริษาผ้าไทย ผลิตภัณฑ์ผ้าฝ้ายแปรรูปจากจังหวัดหนองบัวลำภูที่มี คู่สามีภรรยา คุณวรพงษ์ และ คุณพัชรินทร์ ชัยรัตน์ เป็นผู้ขับเคลื่อนอยู่เบื้องหลัง จุดเริ่มต้นของภูริษาผ้าไทยมาจากคุณพัชรินทร์ซึ่ง เป็นลูกหลานชาวหนองบัวลำภู ได้เห็นผู้เป็นแม่ทอผ้ามาตั้งแต่เด็กๆ เธอเล่าว่า ผ้าของแม่สวยและขายได้ราคาดี ผู้คนมักซื้อไปเป็นของฝากผู้ใหญ่ เริ่มต้นจึงลองเอาผ้าของ แม่ไปขายที่งานกาชาดจังหวัด ปรากฏว่าขายดีจนมีของไม่พอขาย เลยเห็นโอกาส จึงชักชวนคนในชุมชนรวมตัวกันจัดตั้งเป็น กลุ่มแปรรูปผลิตภัณฑ์พื้นเมืองบ้านดินทรายอ่อน ในปี 2552 ซึ่งปัจจุบันมีสมาชิกกลุ่มอยู่ที่ 35 คน และเครือข่ายที่ทำงานร่วมกันอีกกว่า 150 ราย สร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ผ้าพื้นเมืองทอมือย้อมสีธรรมชาติ จนได้รับการคัดสรรเป็น OTOP ระดับ 4 ดาวและ 5 ดาว ก่อนพัฒนาสู่แบรนด์ภูริษาผ้าไทยในเวลาต่อมา โดยนำผ้าจากทางกลุ่มมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ที่ทันสมัย และหลากหลาย เช่น เสื้อผ้าบุรุษ เสื้อผ้าสตรีผ้าคลุมไหล่ กระเป๋า และหน้ากากผ้า เป็นต้น แม้สินค้าจะเป็นที่ยอมรับของตลาดและมีฐานลูกค้าอยู่พอสมควร แต่ภูริษาผ้าไทยยังคงพัฒนาตัวเองไม่หยุดนิ่ง เพื่อปูทางแบรนด์ไทยไปสร้างโอกาสในตลาดโลก จึงได้สมัครเข้าร่วมกิจกรรมให้คำปรึกษาเชิงลึกในการพัฒนาผลิตภัณฑ์และเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์โครงการยกระดับผ้าทอมืออัตลักษณ์อีสานสู่สากลของกรมส่งเสริม ภูริษาผ้าไทย ชูอัตลักษณ์ผ้าทอแดนอีสาน เชื่อมแฟชั่นไทยสู่สากลอุตสาหกรรมทำให้ได้อาจารย์ที่ปรึกษาซึ่งเชี่ยวชาญเรื่องผ้าเข้ามาช่วยแนะนำ เทคนิควิธีการทอและการจับคู่สีจากวัสดุธรรมชาติในชุมชน ออกแบบผลิตภัณฑ์ให้เป็นที่ต้องการของตลาดและตรงกับใจผู้บริโภคมากขึ้น และยังได้ไอเดียลดต้นทุนด้วยการนำเศษผ้าที่่เหลือจากการตัดเย็บมาพัฒนาต่อยอดเป็นเสื้อผ้า ของที่ระลึกและของใช้ในชีวิตประจำวันอีกด้วย “ที่ผ่านมาเรามีเศษผ้าที่เหลือจากการตัดเย็บเยอะมาก อาจารย์เลยแนะนำว่าเศษผ้าพวกนี้สามารถสร้างมูลค่าได้โดยที่เราไม่ต้องไปลงทุนอะไรเพิ่มเลยเพราะเป็นของที่มีอยู่แล้ว แค่เปลี่ยนจากกองเศษผ้าเป็นกองทอง สร้างมูลค่าจากของที่่เราเคยมองข้ามเท่านั้นเอง เราเลยมาทำเป็นชุดยูกาตะตามที่อาจารย์แนะนำและพัฒนาต่อยอดเป็นเสื้อสตรี โดยผสมกับผ้าพื้นเมืองที่มีอยู่ ซึ่งออกมาสวยและลูกค้าก็ชอบมาก กลายเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ที่สร้างโอกาสให้กับเรา” จากคำแนะนำที่ได้ทำให้ภูริษาผ้าไทยเห็นตลาดของตัวเองที่ชัดเจนขึ้น จึงพลิกกลยุทธ์มาใช้ช่องทางออนไลน์นำเสนอตัวเอง โดยการไลฟ์ขายสินค้าผ่านช่องทางเฟซบุ๊ก จากยอดขายหน้าร้านที่ไม่มีเลยในช่วงโควิดกลับมาสามารถสร้างรายได้ในยุคโควิดและยังสร้างชื่อแบรนด์ให้เป็นที่รู้จักในวงกว้างขึ้น ซึ่งปัจจุบันรายได้หลักมาจากออนไลน์ถึง 60 เปอร์เซ็นต์ สำหรับเป้าหมายในอนาคตคุณพัชรินทร์กล่าวว่าอยากนำพาแบรนด์ไทยไปสู่สากลและหวังว่าหลังโควิดคลี่คลาย ชื่่อของ “ภูริษาผ้าไทย” จะมีโอกาสไปตลาดโลก สมความตั้งใจได้ คุณวรพงษ์์ ชััยรััต ภูริิษาผ้้าไทย 32 หมู่่ที่่ 8 บา้นศรีีเมืืองใหม่่ ตำำบลโคกม่่วง อำำเภอศรีีบุญเรืือง จัังหวััดหนองบััวลำภู 39180 โทรศัพท์ 08 7221 0295, 08 1592 6185 ที่มา : รายงานประจำปี 2564 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม
17 มี.ค. 2565
TONKRAM
สานต่อความงามผ้าทอมือจากภูมิปัญญา สู่กระแสนิยมยุคใหม่
17 ม.ค. 2565
ยงสง่า ใช้ระบบอัตโนมัติ เพิ่มผลิตภาพธุรกิจสิ่งทอ
บริษัท ยงสง่า จำกัด ก่อตั้งโดย คุณสง่า มานัสทน เป็นผู้ผลิตเสื้อผ้า เสื้อผ้าแฟชั่น เสื้อผ้ากีฬา ชุดยูนิฟอร์ม มาอย่างยาวนานกว่า 5 ทศวรรษ ด้วยคุณภาพการตัดเย็บสูง ตลอดจนความพร้อมของบุคลากร เครื่องจักร และกำลังการผลิต บริษัทฯ จึงได้รับความไว้วางใจจากดีไซเนอร์ เจ้าของแบรนด์เสื้อผ้าชั้นนำทั้งในและต่างประเทศ ให้ร่วมเป็นหนึ่งในฐานการผลิตเสื้อผ้าแบรนด์ต่าง ๆ ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีทำให้ธุรกิจสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มต้องปรับตัวให้ทันยุค 4.0 อีกทั้งปัญหาแรงงานขาดแคลน การปรับค่าแรงขั้นต่ำ บริษัทจึงเรียนรู้ที่จะนำเทคโนโลยีใหม่ ๆ เข้ามาใช้ในกระบวนการผลิต เพื่อเพิ่มขีดความสามารถให้กับธุรกิจ ซึ่งจากการเข้าร่วมโครงการเพิ่มผลิตภาพสถานประกอบการด้วยระบบอัตโนมัติและเทคโนโลยีสารสนเทศด้านสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม พบว่าผลิตภาพหลังการปรับปรุงอยู่ที่ร้อยละ 81.44 คิดเป็นต้นทุนตัวละ 7.44 บาท ผลิตภาพเพิ่มขึ้นร้อยละ 99.12 จะทำให้ต้นทุนลดลง 7.67 บาทต่อตัว หรือ 4,602,000 บาทต่อปี นอกจากนี้ การใช้จักรลาเจียนลมอัตโนมัติทำให้เวลาเจียนชายเหลือ 0.12 นาที คิดเป็นประสิทธิภาพเพิ่มขึ้นร้อยละ 350 คิดเป็นค่าแรงทางตรง 14,218.75 บาทต่อเดือน หรือ 170,625 บาทต่อปี ทั้งยังเห็นความสำคัญของการใช้โปรแกรม ERP มาช่วยวางแผนและบริหารการผลิตได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อรองรับการผลิตชิ้นงานในปริมาณที่แตกต่าง และสามารถจัดส่งสินค้าถึงมือลูกค้าในระยะเวลาที่กำหนดได้ คุณสง่า มานัสทน บริษัท ยงสง่า จำกัด 185 -185/1 ซ.ประชาอุทิศ 15 ถ.ประชาอุทิศ แขวงราษฎร์บูรณะ เขตราษฎร์บูรณะ กรุงเทพฯ 10140 โทรศัพท์ 0 2428 5967-9 เว็บไซต์ https://www.yongsanga.com/ ที่มา : รายงานประจำปี 2562 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม
24 มี.ค. 2563
วิสาหกิจชุมชน กลุ่มสตรีแม่บ้าน อบต.คลองท่อมเหนือ จ.กระบี่ เพิ่มทักษะ สร้างอัตลักษณ์ ตอบโจทย์ตลาดสินค้าเพื่อการท่องเที่ยว
วิสาหกิจชุมชน กลุ่มสตรีแม่บ้าน อบต.คลองท่อมเหนือ จังหวัดกระบี่ จัดตั้งขึ้นเมื่อพ.ศ. 2552 เพื่อส่งเสริมอาชีพให้กับสมาชิกในชุมชน ผู้สูงอายุ ผู้พิการ ผู้ด้อยโอกาสและเยาวชน ผลิตผลิตภัณฑ์ผ้าพิมพ์มือและผ้าเขียนลาย เพื่อเป็นของฝากของที่ระลึกรองรับการท่องเที่ยวชุมชนในจังหวัดกระบี่ซึ่งมีสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญหลายแห่ง เช่นสระมรกต น้ำตกร้อน ทั้งยังเป็นแหล่งขุดค้นลูกปัดโบราณอายุกว่า 2,000 ปี ที่เลื่องชื่อคือ ลูกปัดสุริยเทพ แต่ผลิตภัณฑ์ที่ดำเนินการมาตลอดนั้นพบปัญหาด้านการผลิตและคุณภาพผลิตภัณฑ์ไม่ผ่านมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน (มผช.) คุณธันยพร เกิดทรัพย์ ประธานกลุ่มฯ จึงเข้าร่วมโครงการเสริมสร้างและพัฒนาคุณภาพสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ให้ได้มาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน เพื่อแก้ไขปัญหาที่ยังไม่พบทางออก กระทั่งวิทยากรที่ปรึกษาในโครงการพบว่า กลุ่มสมาชิกมีฝีมือที่ประณีตเรียบร้อยเป็นทุนเดิม แต่ขาดทักษะการสกรีนสีลงวัสดุที่ถูกต้อง จึงทำให้ลายไม่คมชัด สินค้าไม่มีคุณภาพ ไม่เหมาะจำหน่ายราคาสูง รวมถึงการออกแบบลวดลายที่ยังไม่โดดเด่นหรือเป็นเอกลักษณ์เฉพาะ หลังเข้าร่วมโครงการผลิตภัณฑ์ของวิสาหกิจชุมชน กลุ่มสตรีแม่บ้าน อบต.คลองท่อมเหนือได้เปลี่ยนรูปโฉมใหม่ทั้งจากการปรับเปลี่ยนวัสดุในการพิมพ์ที่เหมาะสม มีการออกแบบสัญลักษณ์ของกลุ่มโดยมีนกแต้วแร้วสีสันสวยงามเป็นอัตลักษณ์เฉพาะถิ่น รวมทั้งการพัฒนาผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์ผ้าเพ้นท์สี และเสื้อยืดสกรีนลายที่ได้รับการยอมรับจากนักท่องเที่ยวจำนวนมาก สร้างกลุ่มลูกค้าใหม่และเพิ่มยอดจำหน่ายมากกว่า 200 เปอร์เซ็นต์ คุณธันยพร เกิดทรัพย์ วิสาหกิจชุมชน กลุ่มสตรีแม่บ้าน อบต.คลองท่อมเหนือ จ.กระบี่ 60/8 หมู่ที่ 3 ต.คลองท่อมเหนือ อ.คลองท่อม จ.กระบี่ 81120 ที่มา : รายงานประจำปี 2561 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม
31 ม.ค. 2561