"เอกนัฏ" เปิดงาน “ECO Innovation Forum 2024” ชู "Now Thailand" ดันเศรษฐกิจโตอย่างยั่งยืน ควบคู่รักษาสิ่งแวดล้อม
กรุงเทพฯ 23 กันยายน 2567 - นายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เป็นประธานในพิธีเปิดงานสัมมนาวิชาการประจำปี 2567 Eco Innovation Forum 2024 "Now Thailand : Sustainable Future ลงทุนในประเทศไทยเพื่ออนาคต จัดโดยความร่วมมือของการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) และสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) โดยมี นายสุเมธ ตั้งประเสริฐ กรรมการการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย รักษาการในตำแหน่งผู้ว่าการการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และนายเกรียงไกร เธียรนุกุล ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศ ร่วมให้การต้อนรับ และมีนางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม นายวัชรุน จุ้ยจำลอง รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม คณะผู้บริหารกระทรวงอุตสาหกรรม ร่วมเป็นเกียรติ ณ ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค กรุงเทพฯ นายเอกนัฏ กล่าวว่า กระทรวงอุตสาหกรรมวางทิศทางการพัฒนาอุตสาหกรรมไทยต้องมุ่งสู่ความยั่งยืน เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และพร้อมรับมือกับความท้าทายต่างๆ ทั้งจากสถานการณ์ ภูมิรัฐศาสตร์ และมาตรการกีดกันทางการค้า โดยรัฐบาลมุ่งมั่นที่จะเสริมสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันของผู้ประกอบการ พร้อมรับมือกับการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีและโครงสร้าง การผลิต โดยจะร่วมมือกับทุกภาคส่วนเพื่อสร้างโอกาสในการพัฒนาประเทศ ซึ่งประเทศไทย ต้องเริ่มต้นตั้งแต่วันนี้ (Now Thailand) ทั้งนี้ ประเทศไทยไม่เพียงแต่เป็นจุดหมายปลายทางการลงทุน แต่เป็น "ทางด่วน" ที่จะเร่งการลงทุนและพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน เพื่อรองรับอุตสาหกรรมยุคใหม่ที่ยั่งยืนและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม กระทรวงอุตสาหกรรม มีนโยบายขับเคลื่อน 3 ด้านหลัก ได้แก่ การจัดการกากอุตสาหกรรมที่เป็นพิษ การส่งเสริมความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรมไทย และการสร้างอุตสาหกรรมเศรษฐกิจใหม่ โดยมียุทธศาสตร์ในการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจอุตสาหกรรม พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านพลังงาน ส่งเสริมเศรษฐกิจสีเขียว และบรรลุเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอน โดยมุ่งมั่นสนับสนุนผู้ประกอบการให้บรรลุเป้าหมายของอุตสาหกรรมที่ยั่งยืน เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และเติบโตไปพร้อมกับชุมชน สำหรับภารกิจสำคัญในปีงบประมาณ 2568 กระทรวงฯ จะมุ่งเน้นการส่งเสริม Soft Power การขับเคลื่อนอุตสาหกรรมแห่งอนาคต การยกระดับเศรษฐกิจอุตสาหกรรม การส่งเสริมอุตสาหกรรมสีเขียว การขับเคลื่อนศูนย์อุตสาหกรรมฮาลาล การลดมลพิษทางอากาศ การบริหารจัดการกากอุตสาหกรรม การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน และการยกระดับการบริการของกระทรวง “ต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วน โดยมี 2 เรื่องที่จะขอความร่วมมือ คือ 1.ช่วยกันรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม ช่วยสร้างค่านิยม ปลูกฝังค่านิยมในองค์กร เช่น การแยกขยะ จ้างบริษัทกำจัดการที่ได้มาตรฐาน และ 2.ร่วมกัน Save อุตสาหกรรมไทย และเอสเอ็มอีไทยจากผู้บิดเบือนตลาด และเป็นมิตรกับนักลงทุน สนับสนุนให้อุดหนุนผู้ผลิตชาวไทย ทั้งเครื่องมือทางการแพทย์ และด้านอุตสาหกรรมป้องกันประเทศ” นายเอกนัฏ กล่าว ภายในงานดังกล่าว ได้มีพิธีมอบมอบโล่เกียรติยศ และประกาศนียบัตรเกียรติคุณ ให้กับนิคมอุตสาหกรรมที่ยกระดับเป็นเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ ระดับ Eco-World Class จำนวน 4 แห่ง ระดับ ระดับ Eco-World Class 9 แห่ง ระดับ Eco-Excellence 25 แห่ง ระดับ Eco-Champion 40 แห่ง โรงงานอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ (Eco Factory) 79 แห่ง และโรงงานเครือข่ายลดก๊าซเรือนกระจกดีเด่น 5 แห่ง
11 ต.ค. 2567
"รสอ. วัชรุน" นั่งหัวโต๊ะพิจารณาคัดเลือกอุตสาหกรรมดีเด่น ประเภทการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน ประจำปี พ.ศ. 2567
กรุงเทพฯ 23 กันยายน 2567 – นายวัชรุน จุ้ยจำลอง รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ให้เกียรติเป็นประธานการประชุมคณะทำงานพิจารณาคัดเลือกอุตสาหกรรมดีเด่น ประเภทการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน ประจำปี พ.ศ. 2567 ครั้งที่ 3/2567 เพื่อรับฟังรายงานและสรุปผลการลงพื้นที่ตรวจประเมิน ณ สถานประกอบการ รอบที่ 2 เพื่อเตรียมการพิจารณาคัดเลือกสถานประกอบการที่ได้รับรางวัลอุตสาหกรรมดีเด่นประเภทการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน ประจาปี พ.ศ. 2567 โดยคณะกรรมการได้ร่วมกันพิจารณาการจัดหัวข้อย่อยภายใต้หลักเกณฑ์ให้มีความสอดคล้องกับมาตรฐานระดับสากล พร้อมทั้งเสนอให้มีการจัดกิจกรรมบ่มเพาะธุรกิจก่อนการคัดเลือกในครั้งหน้
11 ต.ค. 2567
"อธิบดีภาสกร" ติดปีกชุมชน เสริมแกร่งทักษะอาชีพ จ.นครศรีธรรมราช
จ.นครศรีธรรมราช 22 กันยายน 2567 - นายภาสกร ชัยรัตน์ อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ให้เกียรติเป็นประธานในพิธีเปิดการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ หลักสูตร “การทำผ้ามัดย้อมสีธรรมชาติ (ดินแดงขนอม)” ภายใต้โครงการติดปีกชุมชนด้วยทักษะดีพร้อม ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 พร้อมด้วย นายโดม ถนอมบูรณ์ ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 10 นางดวงธิดา จันทร์พุ่ม อุตสาหกรรมจังหวัดนครศรีรรมราช นายฐิติวัชร บุญกิจ นายอำเภอขนอม นางพรรณสิริ บำรุง นายกเทศมนตรีตำบลขนอม ผู้แทนจากหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน วิทยากร และผู้เข้าร่วมการฝึกอบรมในกิจกรรมดังกล่าว ณ ศูนย์พักพิงร่วมใจอุ่นไอรัก อำเภอขนอม จังหวัดนครศรีธรรมราช กิจกรรมดังกล่าว จัดขึ้นเพื่อเสริมสร้างอาชีพ รายได้ให้ผู้ประกอบการวิสาหกิจชุมชน ตลอดจนประชาชนในพื้นที่จังหวัดนครศรีธรรมราช สามารถทำผ้ามัดย้อมสีธรรมชาติจากดินแดงขนอม ทำให้เศรษฐกิจชุมชนในพื้นที่มีความเข้มแข็ง มีศักยภาพในการแข่งขัน และเป็นการพัฒนาองค์ความรู้ในการแปรรูปผลผลิตทางการเกษตรให้เกิดการเพิ่มมูลค่าและสร้างเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ ตามนโยบาย RESHAPE THE FUTURE : โลกเปลี่ยน อุตสาหกรรมปรับ พร้อมรับอนาคต ตามแนวคิด RESHAPE THE AREA ที่ต้องการยกระดับความสามารถสร้างการแข่งขัน และเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ เพื่อสร้างรายได้ให้กับชุมชนกระตุ้นระบบเศรษฐกิจ ในระดับท้องถิ่นได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้ ยังสามารถขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานรากและวางรากฐานในพื้นที่ให้มีความเข้มแข็งเพื่อให้ เกิดการกระจายรายได้ให้กับทุกภาคส่วนในสังคมและชุมชน โดยการสนับสนุนให้มีองค์ความรู้ในการประกอบอาชีพที่มีคุณภาพสอดคล้องกับความต้องการของตลาดและเชื่อมโยงแหล่งท่องเที่ยวเพื่อสร้างรายได้ยั่งยืนให้กับประชาชนอย่างยั่งยืน
11 ต.ค. 2567
“เอกนัฏ” สั่งการ “ดีพร้อม” ส่ง 3 มาตรการช่วยผู้ประกอบการหลังน้ำท่วม เยียวยาเร่งด่วน-สนับสนุนเงินทุน-แผนรับมืออุทกภัยในอนาคต
กรุงเทพฯ 22 กันยายน 2567 – นายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม สั่งการให้ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม หรือ ดีพร้อม (DIPROM) กระทรวงอุตสาหกรรม เร่งเดินหน้าช่วยเหลือผู้ประกอบการในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์อุทกภัยผ่าน 3 มาตรการ ประกอบด้วย 1) มาตรการเร่งด่วนช่วยเหลือผู้ประสบภัยอุทกภัย 2) มาตรการฟื้นฟูหลังน้ำลด และ 3) มาตรการเตรียมความพร้อมด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหาอุทกภัย เพื่อช่วยผู้ประสบอุทกภัยในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัย นอกจากนี้ ยังได้เดินหน้ามาตรการช่วยเยียวยาและฟื้นฟูสถานประกอบการเร่งด่วนผ่านการจัดกิจกรรมทำความสะอาดในสถานประกอบการ (Big Cleaning) พร้อมซ่อมแซม ปรับปรุงอุปกรณ์ และเครื่องจักร รวมถึงผลักดันสถานประกอบการที่ต้องการฟื้นฟูและเยียวยาให้เข้าถึงแหล่งเงินทุนหมุนเวียนฯ กว่า 20 ล้านบาท นายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า จากสถานการณ์อุทกภัยที่เกิดขึ้นในหลายพื้นที่ของประเทศไทย ซึ่งเกิดจากเหตุการณ์ฝนตกหนัก น้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก ส่งผลต่อที่อยู่อาศัย และการประกอบอาชีพของประชาชนทำให้ได้รับความเสียหายเป็นจำนวนมาก อีกทั้งยังส่งผลต่อผู้ประกอบการ SMEs และวิสาหกิจชุมชนในพื้นที่ได้รับผลกระทบทางเศรษฐกิจจากสถานการณ์ดังกล่าวอีกด้วย ดังนั้น กระทรวงอุตสาหกรรม จึงได้สั่งการให้ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม หรือ ดีพร้อม (DIPROM) เร่งติดตามสถานการณ์ เพื่อช่วยเหลือและหามาตรการเยียวยาผู้ประกอบการในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบ พร้อมทั้งติดตามความเสียหายที่เกิดขึ้นในกลุ่มผู้ประกอบการและประชาชนในพื้นที่ที่ประสบอุทกภัย โดยเข้าไปช่วยเหลือผู้ประกอบการที่ได้รับความเสียหาย รวมทั้งเตรียมมาตรการต่าง ๆ รองรับสถานการณ์หลังน้ำลด ไม่ว่าจะเป็นการฟื้นฟูในส่วนที่ได้รับความเสียหาย ตลอดจนแผนในการป้องกันหากเกิดสถานการณ์ดังกล่าวอีกครั้งทั้งในระยะฉับพลัน นายภาสกร ชัยรัตน์ อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กล่าวว่า กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม หรือ ดีพร้อม (DIPROM) ได้ขานรับนโยบายเร่งด่วนจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม โดยได้ดำเนินการสำรวจความต้องการของผู้ประกอบการและประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ดังกล่าวที่เกิดขึ้น พบว่าผู้ประสบอุทกภัยในหลายพื้นที่มีต้องการความช่วยเหลือ ฟื้นฟู และเยียวยาในกรณีต่าง ๆ ผ่าน 3 มาตรการ ได้แก่ 1. มาตรการเร่งด่วนช่วยเหลือผู้ประสบภัยอุทกภัย ผ่าน "ถุงอุตสาหกรรมรวมใจ MIND ไม่ทิ้งกัน" ของอุตสาหกรรมรวมใจ ไปยังผู้ประสบภัยด้วยสิ่งของเครื่องใช้จำเป็น ประกอบด้วย สิ่งของอุปโภค บริโภค และยารักษาโรค พร้อมเตรียมการรถบรรทุกและรถขนส่งสำหรับการบริจาคสิ่งของจากเครือข่ายดีพร้อม ทั้งผู้ประกอบการและสถาบันต่าง ๆ เพื่อส่งมอบให้แก่ประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์อุทกภัย พร้อมส่งทีมวิศวกรและนายช่างเทคนิคช่วยซ่อมแซมอุปกรณ์ในเบื้องต้น รวมทั้งทำกิจกรรมทำความสะอาดในสถานประกอบการ (Big Cleaning) เพื่อฟื้นฟูพื้นที่ประสบอุทกภัยให้กลับสู่สภาพปกติโดยเร็ว 2. มาตรการฟื้นฟูหลังน้ำลด ผ่านการให้คำปรึกษาปัญหาธุรกิจอุตสาหกรรมดีพร้อม โดยจัดทีมผู้เชี่ยวชาญ และที่ปรึกษา เพื่อเข้าประเมินสภาพปัญหาและวางแผน การฟื้นฟูสถานประกอบการ รวมทั้งบูรณาการความร่วมมือกับหน่วยงานเครือข่ายของกระทรวงอุตสาหกรรมผ่านศูนย์บริการธุรกิจอุตสาหกรรมดีพร้อม (DIPROM Business Service Center : DIPROM BSC) เพื่อให้ความช่วยเหลือแก่ผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบดังกล่าว การฟื้นฟู และปรับปรุงกระบวนการผลิต โดยศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาค หรือ DIPROM CENTER ในพื้นที่ส่วนภูมิภาค จัดกิจกรรมช่วยเหลือ แนะนำในการปรับปรุงซ่อมแซม ฟื้นฟูเครื่องจักร ระบบไฟฟ้า ระบบหล่อลื่น รวมทั้งดำเนินกิจกรรม Re-Layout, Re-Engineering เพื่อปรับปรุงกระบวนการผลิตให้กลับมาดำเนินการได้ เช่น การให้คำปรึกษา ปรับปรุง ฟื้นฟู เพื่อให้ระบบคุณภาพ GMP/HACCP/GHP กลับมาดำเนินการได้ปกติ พร้อมยกระดับศักยภาพการประกอบอาชีพสู่ธุรกิจอุตสาหกรรม ผ่านส่งเสริมผู้ประกอบการใหม่ เพื่อพัฒนาทักษะอาชีพด้านการผลิต ด้านการบริการ ด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์ ส่งเสริมให้ชุมชนเกิดรายได้ ลดรายจ่าย สามารถสร้างอาชีพใหม่ หรือนำไปประกอบอาชีพเสริมเพิ่ม ก่อให้เกิดความยั่งยืนในชุมชน พร้อมทั้งได้บูรณาการผ่านเครือข่ายดีพร้อม (DIPROM Connection) จับมือกับเครือข่ายทางการพัฒนาของกระทรวงอุตสาหกรรม เพื่อนำเสนอผลิตภัณฑ์ของ SMEs เข้าสู่ช่องทางการตลาดทั้งรูปแบบออนไลน์ และออฟไลน์ อีกทั้ง ยังมีการสนับสนุนเงินทุนหมุนเวียน เพื่อบรรเทาปัญหาความเดือดร้อนด้านการเงินแก่ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมและผู้ประกอบการอุตสาหกรรมที่ได้รับผลกระทบจากภัยพิบัติทางธรรมชาติ สามารถได้รับการผ่อนผันการชำระหนี้ ได้รับการลดหย่อนอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ มีสิทธิกู้เงินเพิ่มเติม และการขอกู้เงินเป็นกรณีพิเศษสำหรับลูกค้ารายใหม่ โดยวางกรอบวงเงินการช่วยเหลือกว่า 20 ล้านบาท 3. มาตรการเตรียมความพร้อมด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหาอุทกภัย ผ่านการจัดทำแผนรองรับการเกิดอุทกภัย เพื่อเตรียมความพร้อมด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหาอุทกภัย โดยจัดทำ Check list เมื่อเกิดเหตุอุทกภัย การสร้างผนังกั้นน้ำ สอนวิธีการป้องกันอุปกรณ์เครื่องจักร เป็นต้น พร้อมติดตามสถานการณ์จากสถานการณ์น้ำท่วม โดยบูรณาการข้อมูลที่เกี่ยวข้องระหว่างหน่วยงานทั้งภายในและภายนอกกระทรวงอุตสาหกรรม เพื่อประเมินสถานการณ์ เตือนภัย และให้ความช่วยเหลือแก่ผู้ประกอบการได้อย่างถูกต้อง แม่นยำ และทันท่วงที เพื่อรับฟังปัญหาผลกระทบแบบ Real Time พร้อมให้การช่วยเหลือเฉพาะหน้าแก่สถานประกอบการที่ได้รับผลกระทบอย่างรวดเร็ว นายภาสกร กล่าวเพิ่มเติมว่า “ดีพร้อม (DIPROM) ได้เร่งดำเนินการช่วยเหลือสถานประกอบการ และประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากเหตุอุทกภัยผ่าน 3 มาตรการดังกล่าว เพื่อให้ความช่วยเหลือนั้นครอบคลุมทุกมิติ และครอบคลุมทั่วประเทศต่อไป” นายภาสกร กล่าวทิ้งท้าย
11 ต.ค. 2567
“รองอธิบดีวัชรุน” ลงพื้นที่ "ติดปีกชุมชน" เสริมแกร่งทักษะอาชีพอ่างทอง
จ. อ่างทอง 21 กันยายน 2567 - นายวัชรุน จุ้ยจำลอง รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ให้เกียรติเป็นประธานในพิธีเปิดการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ หลักสูตร “เติมทักษะดีพร้อม พร้อมรับอนาคต” ภายใต้โครงการติดปีกชุมชนด้วยทักษะดีพร้อม ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 พร้อมด้วย นางเกษสุดา ดอนเมือง ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 3 นายอภิชาติ ศรีเหรา นายอำเภอวิเศษชัยชาญ ตลอดจนผู้แทนจากส่วนราชการและหน่วยงานต่าง ๆ ในพื้นที่ เข้าร่วมกิจกรรมดังกล่าว ภายใต้นโยบายดีพร้อม RESHAPE THE FUTURE : โลกเปลี่ยน อุตสาหกรรมปรับ พร้อมรับอนาคต ตามแนวคิด RESHAPE THE AREA เร่งเดินหน้าเพื่อยกระดับให้วิสาหกิจชุมชน สามารถปรับตัวให้ก้าวทันอุตสาหกรรมยุคใหม่ ให้สอดรับกับการเปลี่ยนแปลงของโลก โดยสร้างโอกาส และความเสมอภาคทางสังคม ด้วยการสร้างงาน สร้างอาชีพ ให้เกิดการกระจายรายได้ อย่างเป็นธรรม และลดปัญหาความเหลื่อมล้ำจากระดับชุมชน ควบคู่กับการส่งเสริมการเข้าถึง และการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรท้องถิ่นให้มีประสิทธิภาพสูงสุด “กระจายโอกาส” ในการเรียนรู้ “กระจายความรู้” สู่ชุมชนและเกิดการ “กระจายรายได้” เพื่อขับเคลื่อนชุมชนสู่เป้าหมายให้ “ชุมชนมีความมั่นคงทางเศรษฐกิจบนวิถีของตนเองอย่างยั่งยืน”
11 ต.ค. 2567
“อธิบดีภาสกร” มอบนโยบาย “กองพัฒนาดิจิทัลอุตสาหกรรม”
กรุงเทพฯ 20 กันยายน 2567 – นายภาสกร ชัยรัตน์ อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ให้เกียรติเป็นประธานการประชุมรับมอบนโยบายกองพัฒนาดิจิทัลอุตสาหกรรม (กท.) โดยมี นางดวงดาว ขาวเจริญ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม เข้าการประชุมดังกล่าว เพื่อมอบนโยบายการดำเนินงานในภาพรวมของกองพัฒนาดิจิทัลอุตสาหกรรม (กท.) ซึ่งมีความสอดคล้องกับแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติในการพัฒนาผู้ประกอบการและวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมยุคใหม่ สร้างความสามารถในการแข่งขันด้านการใช้เครื่องมือและเทคโนโลยีดิจิทัล ส่งเสริมให้ SMEs สามารถนำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้ในการบริหารจัดการธุรกิจ สร้างโอกาสในการเชื่อมโยงธุรกิจระหว่างผู้ให้บริการด้านดิจิทัลกับ SMEs ส่งเสริมและพัฒนาอุตสาหกรรมให้เป็นมิตรกับสังคมและสิ่งแวดล้อมด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล โดยมุ่งหวังให้ผู้ประกอบการมีต้นทุนลดลงและมียอดขายเพิ่มมากขึ้น นอกจากนี้ ยังได้ร่วมพิจารณารายละเอียดโครงการ/กิจกรรม รวมถึงแผนการใช้จ่ายงบประมาณ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 เพื่อให้การดำเนินงานของกองพัฒนาดิจิทัลอุตสาหกรรมเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลต่อไปในอนาคต
11 ต.ค. 2567
“อธิบดีภาสกร” มอบนโยบาย “กองพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยีอุตสาหกรรม”
กรุงเทพฯ 20 กันยายน 2567 – นายภาสกร ชัยรัตน์ อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ให้เกียรติเป็นประธานการประชุมรับมอบนโยบายกองพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยีอุตสาหกรรม (กน.) โดยมี นายวาที พีระวรานุพงศ์ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม คณะผู้บริหาร เข้าการประชุมดังกล่าว เป็นการมอบนโยบายการดำเนินงานในภาพรวมของกองพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยีอุตสาหกรรม (กน.) ตอบสนองความท้าทายภายใต้เศรษฐกิจและสังคมโลกยุคใหม่ โดยมีนโยบายในการพัฒนาภาคอุตสาหกรรมในด้านเศรษฐกิจดิจิทัล เศรษฐกิจสูงวัย เศรษฐกิจสุขภาพ สร้างโอกาสในการรองรับสังคมผู้สูงอายุ ส่งเสริมอุตสาหกรรมสู่การเติบโตอย่างยั่งยืนทางด้านสิ่งแวดล้อม พร้อมสนับสนุนการพัฒนาศักยภาพอุตสาหกรรมชีวภาพ เศรษฐกิจสีเขียว อุตสาหกรรมคาร์บอนต่ำ พัฒนาอุตสาหกรรมยานยนต์ เพื่อยกระดับสร้างความพร้อมอุตสาหกรรมยานยนต์ให้สามารถปรับเปลี่ยนไปสู่อุตสาหกรรมยานยนต์สมัยใหม่ พัฒนาและประยุกต์ใช้เทคโนโลยีหุ่นยนต์ระบบอัตโนมัติและดิจิทัล พัฒนาวิสาหกิจชุมชน ตลอดจนเศรษฐกิจสร้างสรรค์ นอกจากนี้ ยังได้ร่วมพิจารณารายละเอียดโครงการ/กิจกรรม รวมถึงแผนการใช้จ่ายงบประมาณ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 เพื่อให้การดำเนินงานของกองพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยีอุตสาหกรรมเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพมากมากยิ่งขึ้น
11 ต.ค. 2567
"DIPROM " ปล่อยขบวนคาราวานธารน้ำใจช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วม จังหวัดเชียงราย
จังหวัดเชียงใหม่-เชียงราย 16-17 กันยายน 2567 - นายภาสกร ชัยรัตน์ อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ได้มอบหมายให้ ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 1 ร่วมกับองค์กรภาคเอกชนและเครือข่ายในพื้นที่ สนับสนุนและรวบรวมเครื่องอุปโภค/บริโภค น้ำดื่ม รวมถึงวัสดุอุปกรณ์ล้างทำความสะอาดพื้น จัดทำ “ถุงปันน้ำใจ” พร้อมปล่อยขบวนรถ "คาราวานน้ำใจ DIPROM ส่งมอบผู้ประกอบการและชาวเชียงราย" เพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการสนับสนุนและช่วยเหลือบรรเทาความเดือดร้อนแก่ผู้ประกอบการ ประชาชน และเครือข่ายของ DIPROM ที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัยจากพายุยางิในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา ณ ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 1 ทั้งนี้ จากสถานการณ์อุทกภัยในพื้นที่จังหวัดเชียงรายข้างต้น ส่งผลให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน สร้างความเดือดร้อนและความเสียหายแก่ทรัพย์สินของผู้ประกอบการ SMEs กลุ่มวิสาหกิจชุมชน และประชาชนในจังหวัดเชียงราย ในส่วนของเครื่องจักรและอุปกรณ์ในการผลิต อาคารและสิ่งปลูกสร้าง วัตถุดิบ และผลิตภัณฑ์สำเร็จรูปถูกน้ำท่วมได้รับความเสียหายเป็นจำนวนมาก
11 ต.ค. 2567
“อธิบดีภาสกร” มอบนโยบาย “กองพัฒนาขีดความสามารถธุรกิจอุตสาหกรรม”
กรุงเทพฯ 19 กันยายน 2567 – นายภาสกร ชัยรัตน์ อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ให้เกียรติเป็นประธานในการประชุมรับมอบนโยบายกองพัฒนาขีดความสามารถธุรกิจอุตสาหกรรม (กข.) พร้อมด้วย นายวัชรุน จุ้ยจำลอง รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม เข้าร่วมการประชุมดังกล่าว เพื่อมอบแนวทางการดำเนินงานในภาพรวมของกองพัฒนาขีดความสามารถธุรกิจอุตสาหกรรม (กข.) ให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติในการสร้างความสามารถในการแข่งขัน เติบโตอย่างเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมให้กับผู้ประกอบการไทย มุ่งเน้นการพัฒนาในภาคอุตสาหกรรมด้านดิจิทัล อุตสาหกรรมป้องกันประเทศ อุตสาหกรรมในสังคมผู้สูงอายุ อุตสาหกรรม Soft Power รวมไปถึงอุตสาหกรรม ที่มีความเกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ (Climate change) นอกจากนี้ ยังได้ร่วมกันพิจารณารายละเอียดโครงการ/กิจกรรม รวมถึงแผนการใช้จ่ายงบประมาณ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 เพื่อให้การดำเนินงานของกองพัฒนาขีดความสามารถธุรกิจอุตสาหกรรมเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพมากมากยิ่งขึ้น
11 ต.ค. 2567
“ดีพร้อม” ผนึกกำลังร่วมคัดสรร OTOP Product Champion ยกระดับมาตรฐานและคุณภาพสินค้าชุมชนสู่ THE GREAT SELECTION
จ.นนทบุรี 19 กันยายน 2567 - นายวัชรุน จุ้ยจำลอง รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม พร้อมด้วย นายสิทธิรงณ์ เร่งเงียบ ผู้อำนวยการกองพัฒนาอุตสาหกรรมชุมชน ร่วมเป็นเกียรติในพิธีเปิดการคัดสรรสุดยอดหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ไทย ประจำปี พ.ศ. 2567 (OTOP Product Champion : OPC) ระดับประเทศ โดยได้รับเกียรติจาก นายสยาม ศิริมงคล อธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน เป็นประธานในพิธี ณ อาคารอิมแพ็ค ฟอรั่ม ฮอลล์ 4 ศูนย์แสดงสินค้าและการประชุม อิมแพ็ค เมืองทองธานี กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการอำนวยการ หนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์แห่งชาติ (กอ.นตผ.) ให้ดำเนินการคัดสรรสุดยอดหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP Product Champion) ต่อเนื่องจากการลงทะเบียนผู้ผลิต ผู้ประกอบการ OTOP เป็นประจำทุก ๆ 2 ปี ทั้งนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 กระทรวงอุตสาหกรรม โดยกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม หรือ ดีพร้อม (DIPROM) ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นคณะทำงานตรวจและให้ค่าคะแนนการคัดสรรฯ ในผลิตภัณฑ์ประเภทผ้า เครื่องแต่งกายเป็นจำนวนกว่า 6,621 รายการ ซึ่งมีจำนวนมากที่สุดในทุกหมวดผลิตภัณฑ์จากผลิตภัณฑ์ที่ลงทะเบียนเข้ารับการคัดสรรในทุกรายการ รวมทั้งสิ้น 16,645 รายการ
11 ต.ค. 2567