Category
เชิญผู้ประกอบการเข้าร่วม การอบรม Key success ยุคดิจิทัล ตามวิถี New Normal
DIPROM Training Key success ของผู้ประกอบการยุคดิจิทัล ตามวิถี New Normal ดำเนินการโดย : กองพัฒนาดิจิทัลอุตสาหกรรม การเป็นผู้ประกอบการใหม่ยุคดิจิทัล (New Digital Entrepreneurship) ปัจจัยแห่งความสำเร็จในการเป็นผู้ประกอบการยุคดิจิทัล การจัดตั้งและขยายธุรกิจของผู้ประกอบการยุคดิจิทัล From 4Ps to 4Es ตามวิถี New Normal นวัตกรรมกับความสำเร็จในยุคดิจิทัล วันที่ 27 กรกฎาคม 2566 เวลา 09.00 - 16.00 น. อบรม Online รับจำนวนจำกัด ฟรี
12 ก.ค. 2023
“อธิบดีใบน้อย” นั่งหัวโต๊ะ พิจารณาโครงการสำคัญ วาง Flagship ดีพร้อมปี 2568
กรุงเทพฯ 10 กรกฎาคม 2566 - นายใบน้อย สุวรรณชาตรี อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ให้เกียรติเป็นประธานประชุมพิจารณาโครงการสำคัญ ของดีพร้อมประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 ร่วมด้วย นายวัชรุน จุ้ยจำลอง รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม คณะผู้บริหาร และเจ้าหน้าที่ดีพร้อม (DIPROM) เข้าร่วม ณ ห้องประชุม 3 ชั้น 3 อาคารกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (DIPROM Headquarter) การประชุมดังกล่าว เป็นการหารือและร่วมกันพิจารณาแนวทางการจัดทำโครงการสำคัญ (Flagship Projects) ของกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม หรือ ดีพร้อม (DIPROM) เพื่อให้สอดรับกับแผนยุทธศาสตร์ชาติ ประเด็นแผนแม่บท แผนปฏิบัติราชการ แผนแม่บทย่อยต่าง ๆ โดยเน้นย้ำให้สอดรับกับนโยบาย MIND 4 มิติ ของกระทรวงอุตสาหกรรม เพื่อให้กระบวนการขั้นตอนการทำคำของบประมาณและการดำเนินงานของดีพร้อมเป็นไปอย่างสมเหตุสมผล คุ้มค่า มีประสิทธิภาพ และให้หน่วยงานทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องมีความเห็นพ้องในหมุดหมาย ตามเป้าประสงค์ของการส่งเสริมและพัฒนาอุตสาหกรรมไทยของดีพร้อมต่อไป ### PR.DIPROM (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม) รายงาน/ภาพข่าว
11 ก.ค. 2023
“ดีพร้อม” ร่วมประชุมคณะกรรมการมูลนิธิเพื่อส่งเสริมอุตสาหกรรม
กรุงเทพฯ 10 กรกฎาคม 2566 – นางสุชาดา โพธิ์เจริญ และนายวาที พีระวรานุพงศ์ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม เข้าร่วมการประชุมคณะกรรมการมูลนิธิเพื่อส่งเสริมอุตสาหกรรม ครั้งที่ 2/2566 (วิสามัญประจำปี 2566) โดยมี นายมนู เลียวไพโรจน์ เป็นประธานกรรมการ ณ ห้องประชุม 1 ชั้น 3 อาคารกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (DIPROM Headquarter) พระรามที่ 6 การประชุมในครั้งนี้ เป็นการพิจารณารายละเอียดการดำเนินโครงการพัฒนาและบริหารจัดการธุรกิจให้เข้มแข็งและเข่งขันได้ในระดับสากล โดยมีเป้าหมายส่งเสริมผู้ประกอบการออกเป็น 2 ส่วน ได้แก่ 1. การอบรมให้ความรู้และสร้างเครือข่ายผู้ประกอบการ (Training & Networking) เพื่อให้ผู้เข้าอบรมนำความรู้ด้านการทำ Digital Transformation และนำนวัตกรรมข้ามาประยุกต์ใช้พัฒนาธุรกิจ ตลอดจนสร้างเครือข่ายระหว่างผู้ประกอบการ 2. การขยายโอกาสทางธุรกิจ (Business Opportunity) เป็นการเพิ่มโอกาสทางการตลาดให้กับผู้ประกอบธุรกิจ มีช่องทางซื้อ-ขายสินค้า ผ่านกิจกรรม Business Talk กับผู้ประกอบการภายใน-ต่างประเทศ และ การศึกษาดูโรงงานต้นแบบ เพื่อให้สามารถนำองค์ความรู้ที่ได้ไปบริหารธุรกิจก่อเกิดผลลัพธ์ทางมูลค่ายอดขายและรายได้เพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่า
11 ก.ค. 2023
เปิดรับสมัครผู้ประกอบการเข้าร่วมออกบูธในงาน “อุตสาหกรรมแฟร์ DIPROM FEST”
กรมส่งเสริมอุตสาหกรรมเปิดรับสมัครผู้ประกอบการเข้าร่วมออกบูธ ในงาน “อุตสาหกรรมแฟร์ DIPROM FEST” โดยรับสมัครรวมพลผู้ผลิตสินค้า Fashion & Lifestyle ผลิตภัณฑ์กลุ่มสินค้าแฟชั่น เสื้อผ้า กระเป๋าของใช้ต่างๆ, Gems & Jewelry อัญมณีและเครื่องประดับ, Food Herb & Others อาหารเพื่อสุขภาพ และสินค้าอื่นๆ เพื่อเข้าร่วมออกบูธฟรี กับ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 4-6 สิงหาคม 2566 ณ สกายวอร์ค ห้างสรรพสินค้า เดอะ มาร์เก็ต แบงค็อก ห้างใหญ่ใจกลางเมืองใกล้เซ็นทรัลเวิลด์และบิ้กซีราชดำริ ด่วน รับจำนวนจำกัด (32 คูหาเท่านั้น) รับสมัครตั้งแต่วันนี้ – 15 กรกฎาคม 2566 ประกาศรายชื่อผู้ได้ออกบูธ วันพุธที่ 19 กรกฎาคม 2566 สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม คุณรุ้งประภา 086 383 1913
11 ก.ค. 2023
ประชาสัมพันธ์สินเชื่อของกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม "โครงการสินเชื่อ ดีพร้อมเปย์ DIPROM Pay"
โครงการสินเชื่อ ดีพร้อมเปย์ DIPROM Pay สินเชื่อของกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม หากคุณมีคุณสมบัติ ดังนี้ บุคคลธรรมดา สัญชาติไทย อายุ 20 ปีขึ้นไป และรวมอายุผู้กู้กับระยะเวลาชำระเงินกู้ต้องไม่เกิน 70 ปี ผู้ประกอบการที่จดทะเบียนนิติบุคคล ต้องเคยใช้บริการหรือเข้าร่วมโครงการของกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม เงื่อนไขหลักเกณฑ์ ไม่เป็นธุรกิจที่อยู่ระหว่างการได้รับความช่วยเหลือทางการเงินจาก กองทุนส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม สินเชื่อกองทุนพัฒนาเอสเอ็มอีตามแนวประชารัฐ ต้องมีถิ่นอาศัยและสถานประกอบการแน่นอนสามารถติดต่อได้ รายละเอียดโครงการสินเชื่อ สินเชื่อเพื่อส่งเสริมผู้ประกอบการไทยให้ดีพร้อม (Working Capital for SMEs) วงเงินกู้ : สูงสุดไม่เกิน 2 ล้านบาท ระยะเวลาผ่อนชำระ : สูงสุดไม่เกิน 3 ปี อัตราดอกเบี้ย : ปีที่ 1 ร้อยละ 3 ต่อปี ปีที่ 2 ร้อยละ 5 ต่อปี ปีที่ 3 ร้อยละ 7 ต่อปี สินเชื่อเพื่อผู้ประกอบการที่ต้องการระยะเวลากู้ยาว (Loan for SMEs by Tenor) วงเงินกู้ : สูงสุดไม่เกิน 5 ล้านบาท ระยะเวลาผ่อนชำระ : สูงสุดไม่เกิน 5 ปี อัตราดอกเบี้ย : ปีที่ 1 ร้อยละ 5 ต่อปี ปีที่ 2 ร้อยละ 6 ต่อปี ปีที่ 3 ร้อยละ 7 ต่อปี ปีที่ 4 ร้อยละ 8 ต่อปี ปีที่ 5 ร้อยละ 10 ต่อปี เอกสารการสมัคร bit.ly/43xHmU9 สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม กองพัฒนาเกษตรอุตสาหกรรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม 02 430 6878 กด 1 - 5
11 ก.ค. 2023
ปลัดฯ ณัฐพล นำทีม MIND ลงพื้นที่ร้อยเอ็ด และอำนาจเจริญ ถกประเด็นการบริหารจัดการอาคารสำนักงาน
เมื่อเร็ว ๆ นี้ 8 กรกฎาคม 2566 - ดร.ณัฐพล รังสิตพล ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม พร้อมด้วย นางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม (รปอ.) นายวิษณุ ทับเที่ยง หัวหน้าผู้ตรวจราชการกระทรวงอุตสาหกรรม (หน.ผตร.อก.) นายภาสกร ชัยรัตน์ ผู้ตรวจราชการกระทรวงอุตสาหกรรม (ผตร.อก.) นางสาวณิรดา วิสุทธิชาติธาดา ผู้ช่วยปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม (ชปอ.) นางสุชาดา โพธิ์เจริญ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (รสอ.) และผู้บริหารจากหน่วยงานส่วนกลาง ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมสำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดร้อยเอ็ด (สอจ.ร้อยเอ็ด) โดยมี นางสาวรัชฎา เมธาวีกุลชัย อุตสาหกรรมจังหวัดร้อยเอ็ด พร้อมด้วย ข้าราชการ พนักงาน และเจ้าหน้าที่ ให้การต้อนรับ ณ อุตสาหกรรมจังหวัดร้อยเอ็ด สอจ.ร้อยเอ็ด ปัจจุบันตั้งอยู่ใกล้กับบริเวณโรงพยาบาลร้อยเอ็ดที่มีความประสงค์จะขยายพื้นที่ของโรงพยาบาลเพื่อรองรับการรักษาพยาบาลที่เพิ่มมากขึ้น ทำให้ สอจ.ร้อยเอ็ด และหน่วยงานราชการหลายแห่งในบริเวณใกล้เคียง มีความจำเป็นจะต้องย้ายสถานที่ตั้งของหน่วยงาน เพื่อให้เกิดความสะดวกของประชาชนและผู้ประกอบการในการเดินทางมาติดต่อรับบริการ รวมถึงปัจจุบันตัวอาคาร สอจ.ร้อยเอ็ด เริ่มมีสภาพทรุดโทรมและพื้นที่คับแคบ ควรมีการขยับขยายที่ตั้งไปยังพื้นที่อื่น ทั้งนี้ เวลา 10.00 น. ปกอ. พร้อมคณะผู้บริหาร ได้รับฟังแนวทางบริหารจัดการพื้นที่ดังกล่าว พร้อมได้สำรวจบริเวณโดยรอบ สอจ.ร้อยเอ็ด เพื่อนำข้อมูลมาประกอบการพิจารณาตามความเหมาะสม และหาแนวทางในการแก้ไขปัญหาต่อไป จากนั้น ปกอ. พร้อมคณะผู้บริหาร ได้เดินทางไปตรวจเยี่ยมการดำเนินงาน ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ธพว.) สาขาร้อยเอ็ด พร้อมให้กำลังใจเจ้าหน้าที่ ณ ธพว.สาขาร้อยเอ็ด โดยมี นายธนกร เงินงอก ผู้จัดการสาขาร้อยเอ็ด ให้การต้อนรับและนำเยี่ยมชมพื้นที่ในหน่วยงาน เวลา 14.00 น. ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม พร้อมคณะผู้บริหาร ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมสำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดอำนาจเจริญ (สอจ.อำนาจเจริญ) โดยมีนายบัณฑิต ศรีเพชรพงษ์ นักวิเคราะห์นโยบายและแผนชำนาญการพิเศษ พร้อมด้วย ข้าราชการ พนักงาน และเจ้าหน้าที่ ให้การต้อนรับ ณ สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดอำนาจเจริญ สอจ.อำนาจเจริญ มีความประสงค์จะขอย้ายที่ทำการใหม่ด้วยเช่นกัน โดยปัจจุบัน ตั้งอยู่ในพื้นที่อาคารศูนย์ราชการจังหวัดอำนาจเจริญ เนื่องด้วยประสบปัญหาจากการเปิด-ปิดอาคารเป็นเวลา ทำให้เกิดความไม่สะดวกในการเข้าไปปฏิบัติงานนอกเวลาราชการ และห้องน้ำมีการชำรุดทรุดโทรมขาดการบำรุงรักษา โดยขณะนี้ได้รับการจัดสรรพื้นที่เพื่อก่อสร้างอาคารสำนักงานแห่งใหม่แล้ว ภายในพื้นที่บริเวณศูนย์ราชการ ห่างจากที่ตั้งเดิมประมาณ 300 เมตร บนพื้นที่ประมาณ 2.3.55 ไร่ แต่ยังประสบปัญหาด้านการออกแบบแปลนอาคาร และพื้นที่ใช้สอยภายในอาคารสำนักงานที่ยังมีขนาดไม่ต่างจากที่เดิมมากนัก ทั้งนี้ ปกอ. และคณะผู้บริหาร ได้รับฟังข้อมูล พร้อมให้ข้อแนะนำว่าหากมีการสร้างอาคารสำนักงานใหม่ ต้องคำนึงถึงเหตุผลความจำเป็น ความคุ้มค่า และประโยชน์การใช้สอยพื้นที่อย่างเต็มประสิทธิภาพ รวมถึงค่าใช้จ่ายในการก่อสร้าง การดูแลและบำรุงรักษาต่าง ๆ ในอนาคตด้วย จากนั้น ปกอ. พร้อมคณะผู้บริหาร ได้เดินทางไปตรวจเยี่ยมการดำเนินงาน ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ธพว.) สาขาอำนาจเจริญ พร้อมให้กำลังใจและกล่าวชื่นชมเจ้าหน้าที่ทุกท่าน ที่สามารถบริหารจัดการลูกค้าของธนาคารได้เป็นอย่างดี ทั้งที่เป็นจังหวัดขนาดเล็ก มีผู้ประกอบการไม่มาก และมีจำนวนบุคลากรน้อย แต่สามารถหาลูกค้าและดูแลลูกค้าได้อย่างดีเยี่ยม โดยมี นางสาวคำปิ่น พิมพ์พร ผู้จัดการสาขาอำนาจเจริญ ให้การต้อนรับ ### PR.DIPROM (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม) รายงาน
10 ก.ค. 2023
ปลัดฯ ณัฐพล ลงพื้นที่อีสาน ย้ำหน่วยงาน สอจ.ร้อยเอ็ด อำนาจเจริญ ดำเนินการตามนโยบาย MIND ทั้ง 4 มิติ อย่างถูกต้อง ครบถ้วน เป็นไปในทิศทางเดียวกัน เพื่อขับเคลื่อนภาคอุตสาหกรรมให้เติบโตอย่างสมดุลและยั่งยืน
จ.อุบลราชธานี 7 กรกฎาคม 2566 เวลา 13.30-16.30 น. - ดร.ณัฐพล รังสิตพล ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม พร้อมด้วย นางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม (รปอ.) นายวิษณุ ทับเที่ยง หัวหน้าผู้ตรวจราชการกระทรวงอุตสาหกรรม (หน.ผตร.อก.) นายภาสกร ชัยรัตน์ ผู้ตรวจราชการกระทรวงอุตสาหกรรม (ผตร.อก.) นางสาวณิรดา วิสุทธิชาติธาดา ผู้ช่วยปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม (ชปอ.) นางสุชาดา โพธิ์เจริญ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (รสอ.) และผู้บริหารจากหน่วยงานส่วนกลาง ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมและมอบนโยบายแนวทางการบูรณาการงานของหน่วยงาน ณ สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดอุบลราชธานี โดยมีนางสาวรัชฎา เมธาวีกุลชัย อุตสาหกรรมจังหวัดร้อยเอ็ด (อสจ.ร้อยเอ็ด) นำเสนอผลการดำเนินงาน ประกอบด้วย โครงสร้างบุคลากร งบประมาณ ผลผลิต ตัวชี้วัด แผนการดำเนินงานในปี 2566 และคำของบประมาณปี 2567 ตลอดจนข้อมูลโรงงานอุตสาหกรรมในพื้นที่ และนายบัณฑิต ศรีเพชรพงษ์ นักวิเคราะห์นโยบายและแผนชำนาญการพิเศษ สอจ.อำนาจเจริญ รายงานคำของบประมาณก่อสร้างอาคารสำนักงานแห่งใหม่ สอจ.ร้อยเอ็ด ปัจจุบันมีบุคลากร 21 คน มีโรงงาน 373 โรงงาน มี SME 53,589 กิจการ และมีวิสาหกิจชุมชนเด่นในจังหวัด 71 กลุ่ม โดยขณะนี้มีการรายงานข้อมูลการประกอบการในระบบ iSingleForm แล้วเกือบ 100% รวมทั้งมีการดำเนินการขับเคลื่อนนโยบาย MIND ทั้ง 4 มิติ เพื่อให้สถานประกอบการนำไปดำเนินการจนประสบความสำเร็จทางธุรกิจ โรงงานและชุมชนโดยรอบอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข ซึ่งปรากฏผลสำเร็จเป็นรูปธรรม เช่น บริษัท กฤษณกรณ์ออร์กานิคฟาร์ม จำกัด ผู้ประกอบการโรงสีข้าวและจำหน่ายข้าวออร์แกนิค และบริษัท หมอยาไทย 101 จำกัด ผู้ผลิตสินค้าสมุนไพร ผลิตภัณฑ์สปา ยาสมุนไพร และอาหารเสริม นอกจากนี้ อสจ.ร้อยเอ็ด ยังได้นำเสนอประเด็นการของบประมาณก่อสร้างอาคารสำนักงานแห่งใหม่ ซึ่งเป็นผลกระทบสืบเนื่องมาจากที่โรงพยาบาลร้อยเอ็ดมีความประสงค์จะขยายพื้นที่ของโรงพยาบาลเพื่อรองรับการรักษาพยาบาลที่เพิ่มมากขึ้น ทำให้ สอจ.ร้อยเอ็ด และหน่วยงานราชการหลายแห่งในบริเวณใกล้เคียงจำเป็นต้องย้ายสถานที่ตั้งของหน่วยงาน โดยจังหวัดร้อยเอ็ดได้มีการประชุมเพื่อให้ส่วนราชการที่ได้รับผลกระทบจากการใช้พื้นที่ดังกล่าว สามารถย้ายที่ทำการใหม่พร้อมให้เสนอของบประมาณทดแทนส่งไปยังหน่วยงานต้นสังกัด สำหรับ สอจ.ร้อยเอ็ด ก็ได้รับผลกระทบในส่วนของอาคารสำนักงาน และบ้านพักราชการ ดังนั้น จึงมีความประสงค์จะปรับปรุงอาคารใหม่และขอขยายพื้นที่ของสำนักงานพาณิชณ์จังหวัดที่อยู่ติดกันเพิ่มเติม หรือขอย้ายที่ทำการใหม่ไปยังสถานที่ตั้งแห่งใหม่ต่อไป สำหรับ สอจ.อำนาจเจริญ ก็มีความประสงค์จะย้ายที่ทำการใหม่ด้วยเช่นกัน โดยปัจจุบันสถานที่ตั้งอยู่ภายในศูนย์ราชการ ชั้น 3 มีขนาดพื้นที่ใช้สอย 375 ตร.ม. แต่เนื่องด้วยประสบปัญหาจากการเปิด-ปิดอาคารเป็นเวลา ทำให้เกิดความไม่สะดวกในการเข้าไปปฏิบัติงาน ณ ที่ทำการ กอปรกับบริเวณห้องน้ำมีความชำรุดทรุดโทรมขาดการบำรุงรักษา สอจ.อำนาจเจริญ จึงมีความประสงค์ขอก่อสร้างอาคารสำนักงานแห่งใหม่ ซึ่งอยู่ภายในพื้นที่บริเวณศูนย์ราชการ และห่างจากที่ตั้งเดิมประมาณ 300 เมตร บนพื้นที่ประมาณ 2.3.55 ไร่ มีขนาดพื้นที่ใช้สอยประมาณ 590 ตร.ม. ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวว่า ขอให้ สอจ. ทำความเข้าใจในนโยบาย MIND ทั้ง 4 มิติ อย่างถ่องแท้ เพื่อให้การขับเคลื่อนเป็นไปในทิศทางเดียวกัน ส่วนในด้านการของบประมาณเพื่อปรับปรุงอาคารหรือย้ายสำนักงานแห่งใหม่ จะต้องคำนึงถึงเหตุผลความจำเป็น ความคุ้มค่า และประโยชน์จากการใช้สอยพื้นที่อย่างเต็มประสิทธิภาพ รวมทั้งการจัดทำเอกสารและการจัดทำงบประมาณจะต้องมีความละเอียดรอบคอบ นอกจากนี้ ในด้านการรับโอนวัสดุครุภัณฑ์เก่าจะต้องพิจารณาว่าหากรับโอนมาแล้วจะเป็นภาระหรือเป็นประโยชน์มากกว่ากัน รวมถึงอาจไม่ตอบโจทย์วัตถุประสงค์ของการใช้งาน ดังนั้น ก่อนที่จะรับโอนขอให้พิจารณาเหตุผล และดำเนินการให้ถูกต้องและเป็นไปตามกฎหมายและระเบียบพัสดุฯ รวมทั้งควรมีการจัดทำต้นทุนต่อหน่วยเพื่อให้เป็นมาตรฐานต่อไป ในการนี้ ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม และคณะ ได้ให้ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ธพว.) นำเสนอผลการดำเนินงานของธนาคารที่กำกับดูแลในพื้นที่ โดยมี นายนำยศ ลักษณะงาม ผู้อำนวยการภาค 4 (12 สาขา ครอบคลุม 10 จังหวัดภาคอีสาน) พร้อมด้วยผู้จัดการสาขาอุบลราชธานี ร้อยเอ็ด และบุรีรัมย์ รายงานผลการดำเนินงานด้านการอนุมัติสินเชื่อและการเบิกจ่าย ปริมาณ NPL และแผนการดำเนินงานในพื้นที่รับผิดชอบด้วย ### PR.DIPROM (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม) รายงาน
10 ก.ค. 2023
"อธิบดีใบน้อย" ตะลุยบึงกาฬ ต่อยอดการพัฒนาชุมชนดีพร้อมบ้านสะง้อ
จ.บึงกาฬ 8 กรกฎาคม 2566 - นายใบน้อย สุวรรณชาตรี อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม พร้อมด้วย นายวัชรุน จุ้ยจำลอง รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม คณะผู้บริหาร และเจ้าหน้าที่ดีพร้อม (DIPROM) ลงพื้นที่เยี่ยมชมชุมชนดีพร้อมกลุ่มทอผ้าพื้นเมืองบ้านสะง้อ พร้อมด้วย นายเศรษฐา ขันตี อุตสาหกรรมจังหวัดบึงกาฬ เข้าร่วม โดยมี นางสาวสุพัตรา แสงทองมี ทายาทรุ่นที่ 3 ของกลุ่มทอผ้าพื้นเมืองบ้านสะง้อ ภายใต้แบรนด์ ดารานาคี ให้การต้อนรับ ณ กลุ่มทอผ้าพื้นเมืองบ้านสะง้อ ตำบลหอคำ อำเภอเมือง กลุ่มทอผ้าพื้นเมืองบ้านสะง้อ เป็นที่ได้รับการส่งเสริมจากศูนย์ดีพร้อมเซ็นเตอร์ 4 ผ่านกิจกรรมต่าง ๆ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2563 มาจนถึงปัจจุบัน ซึ่งมีผลิตภัณฑ์ที่โดดเด่นคือ ผ้าขาวม้าดารานาคี ซึ่งได้ค้นหาเอกลักษณ์ให้ตัวเอง จากเดิมที่เป็นผ้าขาวม้าย้อมสีเคมีมาประยุกต์ใช้อัตลักษณ์ชุมชนจากการย้อมสีธรรมชาติจาก “โคลนนาคี” เป็นบ่อโคลนที่อยู่ในจุดเกิดบั้งไฟพญานาค ถือเป็นจุดเปลี่ยนที่สำคัญของกลุ่ม จนเกิดเรื่องราวที่น่าสนใจ ทำให้ผ้าขาวม้าและผลิตภัณฑ์แปรรูปต่าง ๆ ของดารานาคีนั้นเป็นที่น่าสนใจและเป็นที่ต้องการของท้องตลาด ทั้งสีเอิร์ธโทน สีเทาที่ได้จากโคลน และสีน้ำตาลอ่อนที่ได้จากปูนกินหมาก แล้วนำเส้นใยไปหมักโคลนก่อนทอมือออกมาเป็นผืน ซึ่งการหมักโคลนมีคุณสมบัติช่วยให้ผ้านุ่ม สีไม่ตก และเป็นสีที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวไม่เหมือนใคร สามารถสร้างงานสร้างรายได้ให้กับคนในชุมขนสะง้อกว่า 1.2 ล้านบาทต่อปี สร้างงานสร้างอาชีพให้ชุมชนใกล้เคียง 7 แสนบาทต่อปี สนับสนุนรายได้ให้กับชุมชนกว่า 200 ครัวเรือน โดย อธิบดีใบน้อยฯ ได้ให้ดีพร้อมต่อยอดความช่วยเหลือในเรื่องการสนับสนุนกี่ทอผ้าและส่งเสริมผู้ประกอบการด้านการบอกเล่าเรื่องราวบนผลิตภัณฑ์ที่มีความน่าสนใจอยู่แล้วให้แพร่หลายออกไปกว่าเดิมให้ผู้ประกอบการสามารถ โตไวและโตไกลต่อไป ### PR.DIPROM (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม) รายงาน/ภาพข่าว
10 ก.ค. 2023
ปลัดฯ ณัฐพล นำทีม MIND ลงพื้นที่อีสานตอนล่าง เร่งเดินหน้านโยบายทั้ง 4 มิติ ทั้งความสำเร็จของธุรกิจ ชุมชน สิ่งแวดล้อม และกระจายรายได้ เพื่อให้โรงงานใช้เป็นแนวทางขับเคลื่อนธุรกิจได้อย่างสมดุลและยั่งยืน
จ.อุบลราชธานี 7 กรกฎาคม 2566 - ดร.ณัฐพล รังสิตพล ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม พร้อมด้วย นางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม (รปอ.) นายวิษณุ ทับเที่ยง หัวหน้าผู้ตรวจราชการกระทรวงอุตสาหกรรม (หน.ผตร.อก.) นายภาสกร ชัยรัตน์ ผู้ตรวจราชการกระทรวงอุตสาหกรรม (ผตร.อก.) นางสาวณิรดา วิสุทธิชาติธาดา ผู้ช่วยปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม (ชปอ.) นางสุชาดา โพธิ์เจริญ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม และผู้บริหารจากหน่วยงานส่วนกลาง ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมและมอบนโยบายแนวทางการบูรณาการงานของหน่วยงานในพื้นที่จังหวัดอุบลราชธานี ณ สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดอุบลราชธานี โดยมีนายวรรณเวทย์ ศิวารัตน์ อุตสาหกรรมจังหวัดอุบลราชธานี (อสจ.อุบลราชธานี) นายบุญรวย เลิศวนิชย์ทิพย์ อุตสาหกรรมจังหวัดมุกดาหาร (อสจ.มุกดาหาร) และนายชาติศักดิ์ จันทร์สุคนธ์ อุตสาหกรรมจังหวัดยโสธร (อสจ.ยโสธร) ให้การต้อนรับพร้อมนำเสนอผลการดำเนินงาน ประกอบด้วย โครงสร้างบุคลากร งบประมาณ ผลผลิต ตัวชี้วัด แผนการดำเนินงานในปี 2566 และคำของบประมาณปี 2567 ตลอดจนข้อมูลโรงงานอุตสาหกรรมในพื้นที่ สำหรับ สอจ.อุบลราชธานี ปัจจุบันมีบุคลากร 31 คน มีโรงงาน 779 โรงงาน มีเหมืองแร่ที่ได้ประทานบัตร 12 แปลง โดย สอจ. มีการประยุกต์นโยบาย MIND ทั้ง 4 มิติ ด้วยแนวคิดการทำงานมุ่งกำกับควบคู่กับการดูแลอุตสาหกรรมในพื้นที่ให้โรงงานช่วยเหลือชุมชนและการะจายรายได้ รวมถึงการส่งเสริม SME ให้สามารถแข่งขันได้ ปัจจุบันมีการพัฒนาเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศจังหวัด โดยจัดตั้งเป็นนิคมอุตสาหกรรมอุบลราชธานี เนื้อที่กว่า 1800 ไร่ รองรับอุตสาหกรรมเป้าหมาย เช่น เกษตรแปรรูป เทคโนโลยีชีวภาพ อิเล็กทรอนิกส์ โลจิสติกส์ เป็นต้น โดยมุ่งหวังให้เกิดการยกระดับ GDP ของจังหวัดให้สูงขึ้น ส่วนในด้านการส่งเสริมอัตลักษณ์มีการพัฒนาผ้ากาบบัว ซึ่งเป็นสินค้าเด่นของจังหวัด โดยเข้าไปพัฒนาผลิตภัณฑ์ ให้มีการนำนวัตกรรมผสานรูปแบบสมัยใหม่ และการสร้างตลาดออนไลน์ทำให้ผลิตภัณฑ์เป็นที่รู้จักมากขึ้น ด้านความคืบหน้าการก่อสร้างสำนักงานแห่งใหม่ ขณะนี้อยู่ระหว่างการก่อสร้างซึ่งคาดว่าจะแล้วเสร็จในปี 2567 ด้าน สอจ.มุกดาหาร ปัจจุบันมีบุคลากร 23 คน โดยมุ่งเน้นการทำงานด้วย “หัว และใจ” พร้อมการบูรณาการกับหน่วยงานในพื้นที่ และเจ้าหน้าที่ใน สอจ. เพื่อขับเคลื่อนตามนโยบาย MIND ตั้งแต่การสร้างความเข้าใจในมิติต่าง ๆ ให้กับบุคลากร ชุมชน และโรงงาน ทำให้โรงงานมีการช่วยเหลือชุมชนอย่างต่อเนื่อง สร้างความสุขให้เกิดขึ้นโดยรอบโรงงาน ส่วนในด้านการส่งเสริมอุตสาหกรรมสีเขียว ปัจจุบันมีโรงงานได้รับการรับรอง GI ครบ 100% ด้านการรายงานข้อมูลการประกอบการของโรงงาน ในระบบ iSingleForm ปัจจุบันรายงานแล้ว 124 โรงงาน จากทั้งหมด 125 โรงงาน ขณะที่การชี้เป้าอุตสาหกรรมที่ต้องผลักดันในพื้นที่ มุ่งเน้นเพิ่มมูลค่าให้กับเกษตรอุตสาหกรรม โดยเฉพาะข้าว มันสำปะหลัง อ้อย ส่วนการส่งเสริมอุตสาหกรรมยาง มีแนวคิดพัฒนาตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มและยกระดับศักยภาพให้กับผู้ประกอบการไทยให้สูงขึ้น สอจ.ยโสธร ปัจจุบันมีบุคลากร 29 คน มีโรงงาน 190 โรงงาน พื้นที่ส่วนใหญ่ในจังหวัดประกอบอาชีพด้านการเกษตร ดังนั้นจึงมุ่งยกระดับการแปรรูปผลิตภัณฑ์เกษตรอุตสาหกรรมให้มีมูลค่าสูงขึ้น ส่วนในด้านการแก้ไขปัญหาข้อร้องเรียน จะใช้แนวทางการตักเตือนเพื่อให้โรงงานปรับปรุงแก้ไขเป็นลำดับแรก หากยังไม่ได้ดำเนินการแก้ไข จะใช้ยาแรงด้วยการสั่งให้หยุดดำเนินการ นอกจากนี้ การทำให้ชุมชนและโรงงานอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข ใช้แนวทางการสร้างเครือข่ายการทำงานร่วมกันของชุมชนโดยรอบโรงงานเพื่อรับทราบปัญหา และหาแนวทางแก้ไขร่วมกัน ส่วนในการรายงานข้อมูลในระบบ iSingleForm พบปัญหาข้อมูลโรงงานที่ยังไม่เป็นปัจจุบัน ข้อมูลไม่ตรง หนึ่งคนมีหลายใบอนุญาต จึงแก้ไขด้วยการจัดอบรมให้ความรู้ พร้อมเปิดพื้นที่ สอจ. ให้บริการช่วยเหลือโรงงานในการกรอกข้อมูล โดยขณะนี้มีการกรอกข้อมูลในระบบแล้วเกือบ 100% ทั้งนี้ ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวว่า ปัจจุบันหน่วยงานต่าง ๆ มีการพัฒนาระบบ Digital Government เพื่อนำมาใช้เป็นช่องทางในการจัดเก็บข้อมูลและบริการของหน่วยงาน ซึ่งทุกโรงงานจะต้องเข้ามารายงานข้อมูลการดำเนินการในระบบเพื่อให้เป็นไปตามกฎหมาย ส่วนในด้านการแก้ไขข้อร้องเรียน สอจ. จะต้องมีการกำกับดูแลอย่างใกล้ชิด รวมถึงในอนาคตอาจมีการทบทวนข้อกฎหมายให้มีความเหมาะสม และเพิ่มโทษให้สูงขึ้น เพื่อให้โรงงานไม่กล้ากระทำความผิด รวมถึงการกำหนดเงื่อนไขการตั้งโรงงานจะต้องเป็นไปตามมาตรฐานและเหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบัน เช่น โรงงานยางที่มีกลิ่น อาจมีการกำหนดเป็นเงื่อนไข 7 ข้อ เข้ามาควบคุม นอกจากนี้ยังสนับสนุนการสร้างนิคมอุตสาหกรรมในพื้นที่ เพื่อการแก้ไขปัญหาด้านผลกระทบของโรงงานในด้านสิ่งแวดล้อมและชุมชน ส่วนในด้านการชี้เป้าอุตสาหกรรม ที่ผ่านมา สอจ. มักดำเนินการตามคำขอของจังหวัด ดังนั้น จึงควรกลับมาพิจารณาว่าจะกำหนดทิศทางการทำงานอย่างไรให้เหมาะสมและสอดคล้องกับภารกิจของหน่วยงาน เพื่อให้การพัฒนาภาคอุตสาหกรรมขับเคลื่อนยิ่งขึ้นต่อไป ด้าน รสอ.ณัฏฐิญา กล่าวว่า การชี้เป้าอุตสาหกรรมในพื้นที่ควรมุ่งไปสู่อุตสาหกรรม S-Curve เช่น การพัฒนาภาคเกษตรสู่อุตสาหกรรมเทคโนโลยีชีวภาพ (Bio) เพื่อเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ให้สูงขึ้น หรือการยกระดับประสิทธิภาพการผลิตด้วยการนำระบบเทคโนโลยีอัตโนมัติเข้ามาใช้ ซึ่งจะทำให้อุตสาหกรรมพื้นฐานของประเทศขยายไปสู่การพัฒนาในระดับที่โตขึ้น ส่วนในด้านการกรอกข้อมูลใน iSingleForm ถือเป็นโอกาสในการทำความสะอาดการจัดเก็บข้อมูลครั้งใหญ่ให้มีความเป็นระบบมากขึ้น เพื่อให้สามารถนำข้อมูลมาใช้ประโยชน์ได้สูงสุด อย่างไรก็ดีขณะนี้ได้มีการจัดทำแอปพลิเคชัน (Super App) สำหรับใช้เป็นเครื่องมือในการตรวจโรงงานเพื่อทำให้เกิดความสะดวก เป็นมาตรฐานเดียวกัน และยังสามารถเชื่อมโยงกับฐานข้อมูลกลางเพื่อตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลใน iSingleForm ได้อีกด้วย ส่วนความคืบหน้าด้านคำของบประมาณ Flagship ปี 2568 ขณะนี้อยู่ระหว่างเตรียมนำเสนอไปยังสภาพัฒน์ ขณะที่งานด้านการส่งเสริมวิสาหกิจชุมชนขอให้บูรณาการกับดีพร้อม เพื่อยกระดับหมู่บ้านแสงแรกแห่งสยามให้เป็นชุมชนดีพร้อมต่อไป นอกจากนี้ในส่วนของจังหวัดที่เป็นตะเข็บชายแดน ซึ่งเป็นจุดเชื่อมต่อการส่งออก จะต้องมีระบบการตรวจสอบการนำเข้า-ส่งออกสินค้าวัตถุอันตราย รวมถึงควรพิจารณาปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นด้วย หน.ผตร.อก. ขอให้ สอจ. ดำเนินการให้สอดคล้องเป็นไปตามแผนและตัวชี้วัด มุ่งการทำงานให้เกิดผลสัมฤทธิ์สูงสุด รวมถึงการกำกับดูแลและป้องกันผลกระทบจากโรงงาน ต้องเป็นไปตามกฎหมายอย่างเคร่งครัด ทั้งในด้านสิ่งแวดล้อม การดูแลกากอุตสาหกรรม ส่วนในด้านการผลักดันให้โรงงานดำเนินการให้ครบถ้วนทั้ง 4 มิติ ควรส่งเสริมการทำงานเป็นทีม และมีการถอดบทเรียนตัวอย่างความสำเร็จเพื่อให้เกิดการเรียนรู้และขยายผลในเชิงกว้างต่อไป ผตร.ภาสกร ฝากให้ สอจ. มุ่งเน้นการพัฒนาในอุตสาหกรรมเป้าหมาย โดยพิจารณาจากความต้องการของโรงงาน ผู้ประกอบการ และวิสาหกิจ เพื่อให้เกิดการพัฒนาได้อย่างถูกต้องและสอดคล้องกับกลุ่มเป้าหมาย ส่วนในด้านการปล่อยสินเชื่อกองทุนพัฒนาเอสเอ็มอีตามแนวประชารัฐ ขณะนี้กำลังมีสินเชื่อตัวใหม่ มุ่งเน้นด้านการรักษาสิ่งแวดล้อม วงเงินประมาณ 1,500 ล้านบาท คาดว่าจะให้บริการได้เร็ว ๆ นี้ ชปอ. กล่าวว่า ขณะนี้หน่วยงานส่วนกลางได้จัดทำระบบ Call Center เพื่อให้คำปรึกษาด้านการกรอกข้อมูลใน iSingleForm แล้ว และขอความร่วมมือทุกท่านตรวจสอบข้อมูลของโรงงานในพื้นที่พร้อมกำชับให้มีการ Update ข้อมูลอย่างต่อเนื่อง ส่วนการรับชำระค่าธรรมเนียมโรงงาน ขอให้ฝ่ายบัญชีเข้าไปตรวจเช็คและติดตามโรงงานที่ยังไม่ได้มีการชำระ ส่วนกรณีที่มีโรงงานปิดตัว หรือยังไม่ได้มีการประกอบการขอให้แจ้งมาที่หน่วยงานส่วนกลางต่อไป อย่างไรก็ดีประมาณกลางเดือนกรกฎาคมนี้ จะมีการจัดอบรมการกรอกข้อมูลในระบบเกี่ยวกับเรื่องกากอุตสาหกรรม และสารเคมีต่าง ๆ จึงขอเชิญชวนเจ้าหน้าที่ทุกท่านเข้าร่วมการอบรมดังกล่าวด้วย นายดุสิต อนันตรักษ์ ผอ.ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ให้ข้อมูลการจัดทำระบบ Super App ซึ่งเป็นระบบมาตรฐานการกำกับดูแลโรงงานอุตสาหกรรม การตรวจโรงงาน (ตรวจการณ์ทั่วไป) บน Web Based Application เพื่อให้วิศวกรของ สอจ. และ กรอ. ใช้เป็นคู่มือในการตรวจโรงงาน (Work Instruction) ให้อยู่บนมาตรฐานเดียวกัน ระบบจะมีการนำเทคโนโลยีมาใช้ในการเก็บข้อมูลด้วยอุปกรณ์ Smart Phone เช่น การถ่ายรูป การอัดเสียง การอัดวิดีโอ และการกำหนดโลเคชั่น เป็นต้น เพื่อให้เกิดความสะดวกในการตรวจโรงงาน ซึ่งระบบนี้สามารถใช้เป็นเครื่องมือในการอัพเดทข้อมูลของโรงงานอุตสาหกรรมให้มีความเป็นปัจจุบันอย่างต่อเนื่อง โดยขณะนี้อยู่ในระหว่างการออกแบบหน้าจอการทำงานบนมือถือ คอมพิวเตอร์ และทดสอบการใช้งานจริง ### PR.DIPROM (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม) รายงาน
10 ก.ค. 2023
"อธิบดีใบน้อย" ลงพื้นที่เยี่ยมชมชุมชนดีพร้อมบ้านเดื่อ ชูเป็นโมเดลต้นแบบการยกระดับกลุ่มท่องเที่ยววิถีชุมชน
จ.หนองคาย 7 กรกฎาคม 2566 - นายใบน้อย สุวรรณชาตรี อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม พร้อมด้วย นายวัชรุน จุ้ยจำลอง รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม คณะผู้บริหาร และเจ้าหน้าที่ดีพร้อม (DIPROM) ลงพื้นที่เยี่ยมชมชุมชนดีพร้อมกลุ่มท่องเที่ยววิถีชุมชนบ้านเดื่อ ร่วมด้วย นายสุรศักดิ์ จันทร์ชุม อุตสาหกรรมจังหวัดหนองคาย โดยมี นายระวีโรจน์ สองทุ่ง นายกเทศมนตรีตำบลบ้านเดื่อ ให้การต้อนรับ ณ กลุ่มท่องเที่ยววิถีชุมชนบ้านเดื่อ ตำบลบ้านเดื่อ อำเภอเมือง กลุ่มท่องเที่ยววิถีชุมชนบ้านเดื่อเป็นแหล่งเรียนรู้วิถีชุมชนได้ชูกิจกรรมท่องเที่ยวชุมชนของจังหวัดหนองคาย ที่ได้รับการส่งเสริมจากศูนย์ดีพร้อมเซ็นเตอร์ 4 ผ่านกิจกรรมต่างๆ ตั้งแต่ปี 2562 มาจนถึงปัจจุบัน โดยนำผลิตภัณฑ์ที่โดดเด่น คือ ผ้าฝ้ายทอมือย้อมสีตามธรรมชาติของใช้ต่าง ๆ จากผลมะเดื่อ เช่น สบู่มะเดื่อ โลชั่นมะเดื่อ กาแฟมะเดื่อ ชามะเดื่อ สิ่งเหล่านี้ช่วยสร้างงาน สร้างอาชีพกระจายรายได้สู่ครัวเรือน ทำให้เกิดมูลค่าทางเศรษฐกิจในชุมชุนกว่า 3 แสนบาทต่อปีในด้านการท่องเที่ยว และ 3.8 แสนบาทต่อปีจากการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ของชุมชน ทั้งนี้ คณะผู้บริหาร ได้ร่วมทดสอบรสชาติของผลิตภัณฑ์ต้นแบบ "ไวน์มะเดื่อ" ที่มีการพัฒนาต้นแบบเพื่อจะผลิตออกจำหน่ายในเชิงพาณิชย์อีกด้วย ซึ่งได้ชื่นชมในความพร้อมและมนต์เสน่ห์ของชุมชนบ้านเดื่อที่มีจุดเด่นด้านภูมิประเทศที่ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำโขง มีการพัฒนาภายในชุมชนอย่างต่อเนื่อง จากการที่ผู้นำชุมชนมีความเข้มแข็งสร้างรายได้ให้กับคนในชุมชนได้เป็นอย่างดีตามโมเดลชุมชนดีพร้อม โดยดีพร้อมได้วางแผนการส่งเสริมพัฒนาผลิตภัณฑ์ "สบู่มะเดื่อ" ของชุมชนบ้านเดื่อไปสู่ระดับมาตรฐานเพื่อต่อยอดไปสู่เชิงพาณิชย์ตามร้านสะดวกซื้อหรือห้างสรรพสินค้า สามารถจำหน่ายเป็นของฝากของจังหวัดหนองคายแก่ลูกค้านักท่องเที่ยว และนำเสนอจุดเด่นของอาหารพื้นถิ่นด้วยเชฟชุมชน เป็นการสร้างอัตลักษณ์ชุมชนบ้านเดื่อ และประชาสัมพันธ์ให้ชุมชนเป็นที่รู้จักและเป็นที่จดจำทั้งในตัวรูปแบบสินค้าและบริการได้มากขึ้น ### PR.DIPROM (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม) รายงาน/ภาพข่าว
10 ก.ค. 2023