Category
มาร่วมเสริมสร้างความสามารถในการบริหารจัดการโลจิสติกส์และซัพพลายเชน ด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศ
เปิดรับสมัครสถานประกอบการเข้าร่วมโครงการ การส่งเสริมและพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ การบริหารจัดการโลจิสติกส์ตลอดซัพพลายเชนด้วยกลยุทธ์ Supply Chain Visibility ดำเนินการโดย : กองโลจิสติกส์ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม มาร่วมเสริมสร้างความสามารถในการบริหารจัดการโลจิสติกส์และซัพพลายเชน ด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อเพิ่มความโปร่งใสและประสิทธิภาพในระบบซัพพลายเชนของคุณ กลุ่มเป้าหมาย ผู้ประกอบการในภาคอุตสาหกรรมการผลิต สิ่งที่ผู้ประกอบการจะได้รับ การประยุกต์ใช้กลยุทธ์ Supply Chain Visibility เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ การวิเคราะห์และแก้ไขปัญหาโลจิสติกส์โดยผู้เชี่ยวชาญ โอกาสลดต้นทุนโลจิสติกส์หรือเพิ่มประสิทธิภาพสูงสุด ให้คำปรึกษาเฉพาะด้าน ณ สถานประกอบการ สมัครได้ตั้งแต่วันนี้ ถึง 31 ม.ค. 68 ไม่มีค่าใช้จ่าย รับจำนวนจำกัด สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม กลุ่มสารสนเทศโลจิสติกส์ กองโลจิสติกส์ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม 08 2453 9264 (คุณศรีสุดา ธัญญเจริญ) 0 2430 6875 ต่อ 1589 (คุณอนพัทย์ บุตรอากาศ)
29 ม.ค. 2025
”ดีพร้อม“ หารือร่วม บางจาก หนุนแนวทางการผลิตเชื้อเพลิงอากาศยานแบบยั่งยืน (SAF) ตามนโยบาย “ปฏิรูปอุตสาหกรรมไทยสู่เศรษฐกิจยุคใหม่” ของ รมว.เอกนัฏ
กรุงเทพฯ 23 มกราคม 2568 - นางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม หารือร่วมกับผู้แทนจากบริษัท บางจาก คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) เพื่อกำหนดแนวทางการส่งเสริมการผลิตเชื้อเพลิงอากาศยานแบบยั่งยืน (SAF) พร้อมด้วย นายสุรพล ปลื้มใจ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม คณะผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ดีพร้อม (DIPROM) ณ ห้องประชุม 1 ชั้น 3 อาคารกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (DIPROM Headquarter) การหารือร่วมกันในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อหาแนวทางการส่งเสริมการผลิตเชื้อเพลิงอากาศยานแบบยั่งยืน (SAF) ร่วมกับภาคเอกชน โดยใช้วัตถุดิบภายในประเทศที่ได้รับการรับรองและมีเทคโนโลยีการผลิตตามมาตรฐานที่ ICAO กำหนด อาทิ น้ำมันปรุงอาหารใช้แล้ว (Used Cooking Oil : UCO) กรดน้ำมันปาล์ม (PFAD) และกากน้ำตาล (Molasses) โดยในปี 2570 ประเทศไทยมีแผนในการกำหนดสัดส่วนผสมกับน้ำมัน SAF กับน้ำมันเครื่องบินปกติในอัตราส่วน 1% โดยคาดการณ์ปริมาณการใช้น้ำมัน SAF 19 แสนลิตรต่อวัน และจะเพิ่มขึ้นเป็น 5-8% ในปี 2580 โดยบางจาก ถือเป็นผู้นำในอุตสาหกรรม SAF ของประเทศไทย มีการประกาศแผนธุรกิจการผลิต SAF และอยู่ระหว่างก่อสร้างหน่วยผลิต SAF ในโรงกลั่นน้ำมันบางจาก พระโขนง กรุงเทพมหานครฯ ด้วยกำลังการผลิต 1,000,000 ลิตรต่อวัน ทั้งนี้ “ดีพร้อม” มีการหารือกับหน่วยงานภายในกระทรวงอุตสาหกรรมในการศึกษาปริมาณความต้องการใช้ SAF ทั้งด้าน Demand – Supply โดยจะรวบรวมในส่วนของน้ำมันพืชที่ผ่านการใช้งานแล้ว ทั้งจากโรงงานอุตสาหกรรม และ SMEs อีกทั้งมีแผนที่จะนำร่องกับอุตสาหกรรมรายใหญ่เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของ Supply ให้กับบางจาก โดยจะเป็นต้นแบบและสร้างการรับรู้ให้ประชาชนในวงกว้าง สอดคล้องกับแผนพลังงานชาติ และตอบโจทย์นโยบาย "ปฏิรูปอุตสาหกรรมไทย สู่เศรษฐกิจยุคใหม่ ทันสมัย สะอาด สะดวก โปร่งใส" ของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม นายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์ เพื่อให้อุตสาหกรรมการบินของประเทศสามารถแข่งขันได้อย่างยั่งยืนในระยะยาว
28 ม.ค. 2025
“ดีพร้อม” โชว์พลังความสำเร็จซอฟต์พาวเวอร์อาหาร ขานรับนโยบายเรือธงรัฐบาล ตอกย้ำเสน่ห์อาหารไทยในเวทีโลก รังสรรค์ 42 เมนู คาดสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจกว่า 100 ล้านบาท
กรุงเทพฯ 23 มกราคม 2568 – ดร.ณัฐพล รังสิตพล ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม ให้เกียรติเป็นประธานในกิจกรรมแถลงข่าวผลความสำเร็จและพิธีปิดโครงการพัฒนาร้านอาหารเชฟชุมชน อาหารถิ่นไทย โดยมี นางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ให้เกียรติกล่าวรายงานข้อมูลผลการดำเนินงาน พร้อมด้วย นายสุรพล ปลื้มใจ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม นางยศวันต์ บริบูรณ์ธนา รองอธิบดีกรมคุมประพฤติ นายชาตรี เวทสรณสุธี รองกรรมการผู้จัดการ ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย ผู้บริหารหน่วยงานภาคีเครือข่าย ผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ดีพร้อม ผู้ประกอบการ และสื่อมวลชน Phenix Auditorium Hall ประตูน้ำ ราชเทวี กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม หรือ ดีพร้อม (DIPROM) ดำเนินโครงการพัฒนาร้านอาหารเชฟชุมชน อาหารถิ่นไทย (Local Chef Restaurant) ภายใต้นโยบาย “ดีพร้อมคอมมูนิตี้ ที่นี่มีแต่ให้” ผ่านกลยุทธ์ 4 ให้ 1 ปฏิรูป ที่มุ่งส่งเสริม พัฒนา และยกระดับศักยภาพผู้ประกอบการในทุก ๆ ด้านอย่างตรงจุด เพื่อยกระดับทักษะเดิม (Upskill) และสร้างทักษะใหม่ (Reskill) โดยเฉพาะการสร้างทักษะอาชีพในอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ หรือซอฟต์พาวเวอร์ไทย ซึ่งสอดรับกับกลไก OFOS (One Family One Soft power) ) หรือ 1 ครอบครัว 1 ซอฟต์พาวเวอร์ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งตามแนวนโยบายเรือธงสำคัญในการเร่งขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ซอฟต์พาวเวอร์ของรัฐบาล โดยการดำเนินงานโครงการนี้ มุ่งเน้นการสร้างอาชีพและกระจายรายได้สู่ชุมชนผ่านวัฒนธรรมอาหารถิ่น โดยนำเอาวัตถุดิบที่มีในท้องถิ่นมารังสรรค์เมนูอาหารพร้อมผลักดันให้เกิดเป็นซอฟต์พาวเวอร์ จำนวน 42 เมนู เพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยวทั้งในและต่างประเทศ อีกทั้งมีการพัฒนาบุคลากรและพัฒนาขีดความสามารถในการดำเนินธุรกิจร้านอาหาร เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจในท้องถิ่นให้เติบโตและเข้มแข็ง ตามนโยบาย “ปฏิรูปอุตสาหกรรมสู่เศรษฐกิจยุคใหม่ ทันสมัย สะดวก สะอาด โปร่งใส” ของ นายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม โดยการสนับสนุนและส่งเสริมการปรับใช้ภูมิปัญญาพื้นบ้าน (Local Wisdom) ซึ่งเป็นศักยภาพของคนไทยและทุนทางวัฒนธรรมของประเทศไทย เพื่อยกระดับด้านมาตรฐานอาหารไทยให้เป็นศูนย์กลางอาหารระดับโลก (Global Food Hub) โดยดีพร้อม ได้ตั้งเป้าหมายในการพัฒนาร้านอาหารเชฟชุมชน อาหารถิ่นอาหารไทย จำนวน 540 ร้าน / 2,160 คน ภายในระยะเวลา 4 ปี โดยในปี 2567 ได้พัฒนาไปแล้ว จำนวน 40 ร้าน 160 คน ครอบคลุมพื้นที่ภาคกลางและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และในปี 2568 มีเป้าหมายดำเนินการอย่างต่อเนื่อง จำนวน 100 ร้าน 400 คน ครอบคลุมทั่วประเทศ และคาดว่าจะเกิดการขับเคลื่อนเศรษฐกิจมูลค่าไม่น้อยกว่า 100 ล้านบาท
28 ม.ค. 2025
“ดีพร้อม ” ผนึกกำลัง 4 พันธมิตร ยกระดับ SMEs ปรับตัวให้รอดด้วยการดำเนินธุรกิจตามกติกาใหม่ ด้วยแนวคิด BCG Model สอดรับนโยบาย รมว. เอกนัฏ
กรุงเทพฯ 23 มกราคม 2568 - นางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ให้เกียรติเป็นประธานในพิธีเปิดกิจกรรมการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการหลักสูตร “Climate Game เมื่อความยั่งยืนเป็นกติกาใหม่ของโลก SMEs ปรับตัวอย่างไรให้รอด” ภายใต้โครงการยกระดับธุรกิจ SME ด้วยการประยุกต์ใช้ในโมเดลเศรษฐกิจ BCG พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่ดีพร้อม (DIPROM) และผู้เข้าร่วมกิจกรรม โดยมีนายอาทิตย์ พัฒนพงศ์ชัย ผู้อำนวยการกองพัฒนาขีดความสามารถธุรกิจอุตสาหกรรม กล่าวรายงาน ณ โรงแรมเดอะ มี โฮเทล ศรีนครินทร์ กิจกรรมดังกล่าวจัดขึ้นเพื่อให้ผู้ประกอบการ SMEs ที่เข้าร่วมได้รับองค์ความรู้ในการนำแนวคิด BCG Model มาปรับใช้ในการดำเนินธุรกิจ ให้เกิดประสิทธิภาพการผลิตที่สอดคล้องตามแนวทางเศรษฐกิจหมุนเวียนและสังคมคาร์บอนต่ำ พร้อมเชื่อมโยงสู่การขอมาตรฐาน หรือฉลากสินค้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ผ่านการบูรณาการเครือข่ายความร่วมมือเป็นกลไกสนับสนุนและส่งเสริมให้ SMEs มีทางรอดด้วยการพัฒนาที่ยั่งยืน ผ่านการเข้าถึงแหล่งทุนจาก 4 สถาบันการเงิน ได้แก่ ธนาคารออมสิน ธนาคารกรุงไทย EXIM Bank และ SME D Bank รวมถึงเงินทุนหมุนเวียนของดีพร้อมด้วย นอกจากนั้น ยังได้รับการสนับสนุนจาก BOI เพื่อให้สิทธิพิเศษด้านภาษีกับ SMEs ให้มีแต้มต่อทางธุรกิจอีกด้วย นางสาวณัฏฐิญา กล่าวเพิ่มเติมว่า ดีพร้อมดำเนินการภายใต้กลยุทธ์ 4 ให้ และ 1 ปฏิรูป ซึ่งจะเป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนผู้ประกอบการไทยให้พร้อมปรับตัว สามารถปรับตัวสู่โลกยุคใหม่ พร้อมยกระดับเศรษฐกิจไทยไปสู่การเป็นเศรษฐกิจสีเขียว ตามโยบาย “ปฏิรูปอุตสาหกรรมไทยสู่เศรษฐกิจยุคใหม่ ทันสมัย สะอาด สะดวก โปร่งใส” ของ นายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม
28 ม.ค. 2025
“อธิบดีณัฏฐิญา“ พร้อมผลักดันส่งเสริมการผลิตเชื้อเพลิงอากาศยานแบบยั่งยืน (SAF) เดินหน้าลดการปล่อย CO2 ปฏิรูปอุตสาหกรรมไทย ตามนโยบาย รมว.เอกนัฏ
กรุงเทพฯ 22 มกราคม 2568 - นางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ให้เกียรติเป็นประธานในการประชุมหารือแนวทางส่งเสริมการผลิตเชื้อเพลิงอากาศยานแบบยั่งยืน (SAF) พร้อมด้วย นายสุรพล ปลื้มใจ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม คณะผู้บริหาร ผู้แทนจาก สำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กรมโรงงานอุตสาหกรรม และเจ้าหน้าที่ดีพร้อม (DIPROM) ณ ห้องประชุม 2 ชั้น 3 อาคารกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (DIPROM Headquarter) ปัจจุบันเชื้อเพลิงอากาศยานแบบยั่งยืน (Sustainable Aviation Fuel : SAF) เข้ามามีบทบาทสำคัญในอุตสาหกรรมการบินและเป็นอีกหนึ่งทางเลือกเพื่อโลกยั่งยืน เนื่องจากช่วยลดปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้มากถึง 80% ตลอดห่วงโซ่ของเชื้อเพลิงเมื่อเทียบกับเชื้อเพลิงอากาศยานแบบเดิมที่มาจากฟอสซิล ซึ่งสอดคล้องกับนโยบาย "ปฏิรูปอุตสาหกรรมไทย สู่เศรษฐกิจยุคใหม่ ทันสมัย สะอาด สะดวก โปร่งใส" ของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม นายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์ “ดีพร้อม” จึงได้จัดประชุมเพื่อหาแนวทางการนำน้ำมันใช้แล้วจากการประกอบอาหารในภาคอุตสาหกรรมซึ่งเป็นวัตถุดิบหลักในการผลิต SAF มาใช้ในอุตสาหกรรมการบินเพื่อให้สอดคล้องกับมาตรฐานระดับสากล การประชุมครั้งนี้ มีการหารือถึงแนวทางการศึกษาปริมาณความต้องการใช้ SAF ทั้งด้าน Demand - Supply โดยจะรวบรวมในส่วนของน้ำมันพืชที่ผ่านการใช้งานแล้วทั้งจากโรงงานอุตสาหกรรมและ SMEs รวมทั้งวิสาหกิจชุมชน เพื่อนำมาเติมเต็มในส่วนของ Supply ให้เหมาะสมสอดคล้องกับแผนพลังงานชาติ รวมถึงการศึกษาระบบโลจิสติกส์ขนส่งน้ำมันพืชใช้แล้ว การนำโมลาซหรือกากน้ำตาลมาเป็นวัตถุดิบในการผลิต และการประเมินผลกระทบที่จะเกิดขึ้นทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม เพื่อจัดทำข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย ก่อนเข้าสู่กระบวนการระดมความคิดเห็นจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และศึกษาโรงงานนำร่องในการทดสอบโมเดลและการจับคู่ธุรกิจ (Business Matching) เพื่อนำไปสู่ผลสำเร็จของการขับเคลื่อนการส่งเสริมการผลิตเชื้อเพลิงอากาศยานแบบยั่งยืนต่อไป
28 ม.ค. 2025
“อธิบดีณัฏฐิญา” เผยแผน “ดีพร้อม” ขับเคลื่อนนโยบายซอฟต์พาวเวอร์ ผ่าน “NBT มีคำตอบ” รับนโยบาย "รมว. เอกนัฏ"
กรุงเทพฯ 17 มกราคม 2568 – นางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ให้สัมภาษณ์ในรายการ NBT มีคำตอบ เกี่ยวกับแผนการขับเคลื่อนนโยบายซอฟต์พาวเวอร์ของกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม หรือ ดีพร้อม ซึ่งดำเนินรายการโดยนายเจตน์ เลิศจรูญวิทย์ ณ สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย โดยกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม หรือ ดีพร้อม ได้ดำเนินการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมซอฟต์พาวเวอร์ ตามนโยบาย "ปฏิรูปอุตสาหกรรมไทย สู่เศรษฐกิจยุคใหม่ ทันสมัย สะอาด สะดวก โปร่งใส"ของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม นายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์ ผ่านการสร้างและพัฒนา Thailand Soft Power DNA 3 แนวทาง คือ 1) สร้างสรรค์และ ต่อยอด 2) โน้มน้าว โดยการจูงใจให้เปลี่ยนแปลงทางด้านความคิด หรือพฤติกรรม และ 3) เผยแพร่ โดยการบอกเล่าเรื่องราวต่าง ๆ ผ่านเครื่องมือในการเผยแพร่ ซึ่งขับเคลื่อนภายใต้ยุทธศาสตร์การพัฒนาและส่งเสริมซอฟต์พาวเวอร์ 5 เสาหลัก คือ 1) ศึกษาและพัฒนาทรัพยากร และทุนทางวัฒนธรรมอย่างสร้างสรรค์ 2) พัฒนาบุคลากรเพื่อขับเคลื่อนซอฟต์พาวเวอร์ไทย 3) พัฒนาธุรกิจเพื่อยกระดับขีดความสามารถของซอฟต์พาวเวอร์ไทย 4) ส่งเสริมซอฟต์พาวเวอร์ไทยสู่ระดับสากล และ 5) สนับสนุนปัจจัยเอื้อในการส่งเสริมซอฟต์พาวเวอร์ไทย ทั้งนี้ ดีพร้อม ได้รับมอบหมายในการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมซอฟต์พาวเวอร์ใน 2 สาขา ได้แก่ สาขาอาหารและสาขาแฟชั่น ในส่วนสาขาอาหารมีแผนการขับเคลื่อนผ่าน 4 กิจกรรมสำคัญ คือ 1) ยกระดับหนึ่งหมู่บ้านหนึ่งเชฟอาหารไทย ด้วยการส่งเสริมองค์ความรู้ และพัฒนาคุณภาพอาหาร เพื่อให้ได้ใบรับรองจากหน่วยงานที่มีมาตรฐาน เช่น กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน สถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ 2) พัฒนาร้านอาหารเชฟชุมชน อาหารถิ่นอาหารไทย ด้วยการคัดเลือกชุมชนเป้าหมาย เพื่อนำมาเสริมองค์ความรู้ สร้างความเข้มแข็งให้ชุมชนจนมีศักยภาพสู่การเป็น 1 ครอบครัว 1 ซอฟต์พาวเวอร์ (OFOS) 3) ยกระดับศูนย์นวัตกรรมอาหารชุมชน ด้วยมาตรฐาน เทคโนโลยี นวัตกรรม และการใช้วัตถุดิบของแต่ละพื้นที่ และ 4) การใช้นวัตกรรมเพื่อยกระดับอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่มไทยสู่ตลาดโลกอย่างยั่งยืน รวมถึงการส่งเสริมให้ประเทศไทยกลายเป็นศูนย์กลางอาหารระดับโลก (Global Food Hub) โดยดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศและเพิ่มมูลค่าการส่งออกอาหารไทยในตลาดโลก สำหรับสาขาแฟชั่น มุ่งเน้นการขับเคลื่อน 4 สาขา ได้แก่ เสื้อผ้าและเครื่องแต่งกาย (Apparel) อัญมณีและเครื่องประดับ (Jewelry) หัตถอุตสาหกรรม (Craft) และผลิตภัณฑ์ความงาม (Beauty) ผ่านกิจกรรมส่งเสริมภาพลักษณ์สินค้าแฟชั่นไทยสู่สากล และการพัฒนาศักยภาพบุคลากรในอุตสาหกรรมแฟชั่น โดยการพัฒนาศักยภาพบุคลากรให้มีองค์ความรู้ สามารถนำอัตลักษณ์ที่เป็นทุนทางวัฒนธรรมมาต่อยอดพัฒนาผลิตภัณฑ์แฟชั่นให้มีมูลค่าเพิ่ม รวมทั้งสร้างภาพลักษณ์ผลิตภัณฑ์ เพื่อยกระดับสู่การเป็น Hero Brand และการเป็นแบรนด์ระดับสากลต่อไป ตลอดจนส่งเสริมการขยายโอกาสทางการตลาดให้ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมแฟชั่นร่วมด้วย
28 ม.ค. 2025
ดีพร้อม จับมือ “ไทยเบฟ ????” ชวนมาเป็น"ฮีโร่" ร่วมเสริมแกร่งเศรษฐกิจฐานราก สอดรับนโยบาย “รมว.เอกนัฏ”
กรุงเทพฯ 16 มกราคม 2568 - นางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ให้เกียรติเป็นประธานในที่ประชุมร่วมกับ บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) พร้อมด้วย นายสุรพล ปลื้มใจ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม และเจ้าหน้าที่ดีพร้อม ณ ห้องประชุม 3 ชั้น 3 อาคารกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (DIPROM Headquarter) การประชุมครั้งนี้ ดีพร้อม หารือร่วมกับไทยเบฟเพื่อผนึกกำลังร่วมกันต่อยอดการพัฒนาและยกระดับการส่งเสริมและพัฒนาธุรกิจชุมชนครอบคลุมทุกมิติทั้งในรูปแบบ ฮีโร่ หรือ Big Brother พี่ช่วยน้อง ในกลุ่มชุมชนเป้าหมาย เพื่อสร้างเศรษฐกิจฐานราก รวมถึงการใช้โมเดลวิสาหกิจเพื่อสังคมเข้าไปส่งเสริมให้ชุมชนสามารถพึ่งพาตนเองโดยใช้แนวคิดการประกอบธุรกิจยุคใหม่มาประยุกต์ใช้ เพื่อให้เกิดความยั่งยืน และเข้มแข็งมากยิ่งขึ้น เกิดการกระจายรายได้ในชุมชน ตามโยบาย “ปฏิรูปอุตสาหกรรมไทยสู่เศรษฐกิจยุคใหม่ ทันสมัย สะอาด สะดวก โปร่งใส” ของ นายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม นอกจากนี้ ได้หารือในประเด็นของการนำน้ำมันที่ใช้แล้วจากการปรุงอาหารของบริษัทในเครือไทยเบฟ เข้าสู่กระบวนการผลิต เป็นน้ำมันเชื้อเพลิงอากาศยานยั่งยืน Sustainable Aviation Fuel (SAF) ต่อไป
28 ม.ค. 2025
สู้! ดีพร้อม เปิดทางรอดให้อุตสาหกรรมไทย ช่วยผู้ประกอบการสู้สินค้านำเข้าจากต่างประเทศ “Designing A Business Strategy” เพื่อปรับเปลี่ยน ต่อยอดธุรกิจเดิม แตกกอธุรกิจใหม่ เสริมแกร่งตามนโยบาย "รมว.เอกนัฏ"
กรุงเทพฯ 16 มกราคม 2568 - นางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ให้เกียรติเป็นประธานเปิดการอบรมเชิงปฏิบัติการหลักสูตร “Designing A Business Strategy” ภายใต้กิจกรรมการส่งเสริมการบริหารจัดการความปลอดภัยในซัพพลายเชน (Supply Chain Security) และการบริหารความต่อเนื่องทางธุรกิจ (Business Continuity Management) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 พร้อมด้วย นายสุรพล ปลื้มใจ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม คณะผู้บริหาร เจ้าหน้าที่ดีพร้อม (DIPROM) และผู้เข้าร่วมอบรม โดยมี นางสาวนันท์ บุญยฉัตร ผู้อำนวยการกองโลจิสติกส์ กล่าวรายงาน ณ ห้อง Kensington Ballroom โรงแรม เดอะ เบอร์เคลีย์ ประตูน้ำการฝึกอบรมหลักสูตร “Designing A Business Strategy” มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาองค์ความรู้ให้ผู้ประกอบการสามารถวิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน ที่เป็นความเสี่ยงภายใต้สถานการณ์ในการแข่งขันที่เปลี่ยนแปลงไป เพื่อนำมากำหนดแนวทางในการพัฒนาและปรับปรุงแผนการดำเนินธุรกิจ ให้สามารถรองรับความเสี่ยงในด้านการผลิต และด้านการบริหารจัดการได้อย่างมีประสิทธิภาพ และสามารถอยู่รอดและเติบโตได้อย่างเหมาะสม ตามโยบาย “ปฏิรูปอุตสาหกรรมไทย สู่เศรษฐกิจยุคใหม่ ทันสมัย สะอาด สะดวก โปร่งใส” ของ นายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม โดยการจัดอบรมครั้งนี้เป็นการนำร่องเพื่อจะเป็นแนวทางในการขยายผลต่อไป ซึ่งมีผู้เข้าร่วมฝึกอบรมทั้งสิ้นจำนวน 60 คน จาก 25 กิจการ นางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กล่าวว่า การดำเนินธุรกิจในปัจจุบันต้องเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้บริโภค รวมถึงตลาดที่มีความผันผวนและการแข่งขันสูง ทั้งทางด้านราคาและคุณภาพ จากคู่แข่งภายในประเทศและต่างประเทศ รวมถึงการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของสภาพแวดล้อม สังคม และเทคโนโลยี เช่น สังคมสูงอายุขัย สินค้าทุ่มตลาด AI โดยหวังว่าโครงการนี้จะช่วยเสริมให้สถานประกอบการมีแผนการดำเนินธุรกิจที่สอดคล้องและรองรับความเสี่ยงต่าง ๆ เพื่อเสริมทางรอดให้ผู้ประกอบการไทยพร้อมรับมือต่อการเปลี่ยนแปลงของโลกได้อย่างทันท่วงที สามารถสร้างความเชื่อมั่นให้กับคู่ค้าและลูกค้า และดำเนินธุรกิจได้อย่างต่อเนื่องและเติบโตได้อย่างยั่งยืน
28 ม.ค. 2025
“อธิบดีณัฏฐิญา” วางแนวทางพัฒนานักธุรกิจรุ่นใหม่และกลุ่มทายาทธุรกิจ ผ่านเครือข่าย “DIPROM SMEs Network” ตามนโยบาย "รมว.เอกนัฏ"
กรุงเทพฯ 15 มกราคม 2568 – นางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ให้เกียรติเป็นประธานในการประชุมหารือแนวทางการขับเคลื่อนการพัฒนานักธุรกิจรุ่นใหม่และกลุ่มทายาทธุรกิจ โดยมี นางดวงดาว ขาวเจริญ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม นายพรชัย รัตนตรัยภพ กรรมการผู้จัดการ บริษัท อินเตอร์โปรไฟล์ จำกัด ประธานกรรมการเครือข่าย DIPROM SMEs Network นายนิวัฒน์ มีมงคลเกียรติ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ไทยฟอร์โมซาพลาสติก จำกัด ประธานเครือข่าย DIPROM SMEs Network คณะผู้บริหาร เจ้าหน้าที่ดีพร้อม (DIPROM) และสมาชิกภายใต้เครือข่าย DIPROM SMEs Network เข้าร่วม ณ ห้องประชุม 1 ชั้น 3 อาคารกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (DIPROM Headquarter) เครือข่าย DIPROM SMEs Network ได้รวบรวมผู้ประกอบการ SMEs ไทยที่มีศักยภาพจากภาคการผลิต การค้าและบริการ ซึ่งเป็นผู้ประกอบการที่เคยเข้าร่วมโครงการต่าง ๆ ของดีพร้อม เพื่อสร้างเครือข่ายธุรกิจ โดยมีวิสัยทัศน์ในการเป็นเครือข่ายที่เข้มแข็งครอบคลุมทั่วประเทศ เพื่อมุ่งสู่การค้าสากล ปัจจุบันมีสมาชิกในเครือข่ายกว่า 540 กิจการ โดยแบ่งเป็น 1) กลุ่มเชื่อมโยงธุรกิจ 2) กลุ่มพัฒนาศักยภาพของสมาชิก 3) กลุ่มสร้างความเข้มแข็งระหว่างสมาชิก และ 4) กลุ่มสื่อสารองค์กรและเทคโนโลยีสารสนเทศสมาชิก ทั้งนี้ ในเครือข่ายเกิดการซื้อขาย แนะนำเชื่อมโยง ต่อยอดธุรกิจมากกว่า 1,000 ล้านบาท รวมถึงเกิดการพัฒนาสินค้านวัตกรรมร่วมกัน คิดเป็นมูลค่าทางการตลาดมากกว่า 10 ล้านบาทต่อปี การหารือเกี่ยวกับความร่วมมือระหว่างดีพร้อม และเครือข่าย DIPROM SMEs Network สำหรับการดำเนินกิจกรรมพัฒนานักธุรกิจรุ่นใหม่ และกลุ่มทายาทธุรกิจ เพื่อหาแนวทางการบูรณาการร่วมกับเครือข่ายต่าง ๆ รวมถึงแนวทางการสนับสนุนการดำเนินงานกิจกรรมต่าง ๆ และต่อยอดเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพผลลัพธ์ที่ดียิ่งขึ้น ตามโยบาย “ปฏิรูปอุตสาหกรรมไทยสู่เศรษฐกิจยุคใหม่ ทันสมัย สะอาด สะดวก โปร่งใส” ของ นายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม
28 ม.ค. 2025
“ดีพร้อม” จับมือ จังหวัดมิเอะ จัด Business Matching หนุนผู้ประกอบการภาคอุตสาหกรรมและ SMEs ขยายธุรกิจสู่สากล ตามนโยบาย "เอกนัฏ"
กรุงเทพฯ 17 มกราคม 2568 - นางดวงดาว ขาวเจริญ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ได้รับมอบหมายจาก นางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ให้เกียรติกล่าวแสดงความยินดีในงานสัมมนาและเจรจาจับคู่ธุรกิจจังหวัดมิเอะ (Mie Prefecture Seminar and Business Matching) พร้อมด้วย นายอิจิมิ คัตสึยูกิ ผู้ว่าราชการจังหวัดมิเอะ นางสาวศุธาศินี สมิตร นักวิเคราะห์นโยบายและแผนทรงคุณวุฒิ สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) คณะผู้บริหารจากจังหวัดมิเอะ ผู้ประกอบการของทั้งสองประเทศ และเจ้าหน้าที่ดีพร้อม ณ ห้องประชุม Fuji (2) ชั้น 4 โรงแรม นิกโก กรุงเทพฯ การสัมมนาครั้งนี้ จัดขึ้นเพื่อส่งเสริมภาคอุตสาหกรรมของจังหวัดมิเอะ ประเทศญี่ปุ่น ให้สามารถขยายช่องทางการดำเนินธุรกิจในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ASEAN) โดยเป็นการสนับสนุนความร่วมมือและการสร้างเครือข่ายระหว่างผู้ประกอบการจากจังหวัดมิเอะ ประเทศญี่ปุ่น และประเทศไทย ผ่านแนวทางการดำเนินงาน "ดีพร้อมคอมมูนิตี้ ที่นี่มีแต่ให้" ซึ่งภายในงานมีการจัดกิจกรรมนำเสนอข้อมูลของจังหวัดมิเอะ และการเจรจาจับคู่ธุรกิจ จากหลากหลายภาคอุตสาหกรรม เช่น พลาสติก ยานยนต์และชิ้นส่วน ผลิตภัณฑ์ยาง ธุรกิจเกษตรแปรรูป ธุรกิจผลิตภัณฑ์จากถั่วเหลืองและเครื่องจักรที่เกี่ยวข้อง ทั้งจากฝั่งประเทศไทยและประเทศญี่ปุ่น โดยที่ผ่านมา ดีพร้อม และจังหวัดมิเอะได้ร่วมกันผลักดันความร่วมมือผ่านโครงการและกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อยกระดับขีดความสามารถของผู้ประกอบการอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การสนับสนุนเครื่องจักรแปรรูปอาหาร และการจัดตั้งศูนย์นวัตกรรม มิเอะ – ประเทศไทย (Mie – Thailand Innovation Center) ณ สถาบันอาหาร ทั้งนี้ การจัดงานดังกล่าว ยังถือเป็นวาระครบรอบ 10 ปี ที่ ดีพร้อม และจังหวัดมิเอะได้ร่วมลงนามในบันทึกความเข้าใจ หรือ MOU เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนผู้ประกอบการในภาคอุตสาหกรรมและ SMEs ให้สานต่อความร่วมมือ จนสามารถขยายธุรกิจสู่เวทีสากล ตลอดจนผลักดันภาคอุตสาหกรรมของทั้งสองประเทศ ให้เติบโตไปพร้อมกันอย่างมั่นคงและยั่งยืนต่อไป ตามโยบาย “ปฏิรูปอุตสาหกรรมไทยสู่เศรษฐกิจยุคใหม่ ทันสมัย สะอาด สะดวก โปร่งใส” ของ นายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม
28 ม.ค. 2025