Category
“ดีมาก????” : ดีพร้อม ปังไม่หยุด โชว์สร้างตัวตนจากผลิตภัณฑ์สินค้าชุมชน ผ่านคนสร้างเรื่อง "พลิกธุรกิจชุมชนแบบก้าวกระโดดสู่ตลาดสากล" ตามนโยบาย "รมว.เอกนัฏ"
กรุงเทพฯ 15 มกราคม 2568 - นางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ให้เกียรติเป็นประธานเปิดกิจกรรมเพิ่มขีดความสามารถผู้ประกอบการเศรษฐกิจฐานราก (Group Camp) ภาคกลางและภาคตะวันออก ภายใต้โครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์สินค้าชุมชน (DIPROM MIND ALL RISING COMMUNITY-DIMARC “ดีมาก”) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 พร้อมด้วย นางสาวอริยาพร อำนรรฆสรเดช ผู้อำนวยการกองพัฒนาอุตสาหกรรมชุมชน นางสาวหนึ่งหทัย ธรรมพิทักษ์ ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 9 และนางสาวอัญชลีย์พร เขียวเกษม ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 8 เจ้าหน้าที่ดีพร้อม (DIPROM) ณ ห้องราชาบอลรูมชั้น 11 อาคาร 2 โรงแรมปริ้นซ์ พาเลซ กรุงเทพมหานคร กิจกรรมดังกล่าว ดำเนินการโดยศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 9 จัดขึ้นเพื่อพัฒนาและยกระดับผลิตภัณฑ์ชุมชนให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาดเป้าหมาย ด้วยเทคโนโลยีที่เหมาะสมและสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขัน การสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลิตภัณฑ์ การพัฒนากระบวนการผลิต การยกระดับคุณภาพและมาตรฐาน การบริหารจัดการ การพัฒนาการตลาด รวมถึงการสร้างอัตลักษณ์ ลักษณะเด่น สร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ และการพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้เชื่อมโยงกับ Soft Power ซึ่งกิจกรรมในวันนี้ มีผู้เข้าร่วมกิจกรรมประกอบด้วยผู้ประกอบการ SME วิสาหกิจชุมชน/OTOP และผู้ประกอบการชุมชนในพื้นที่ภาคกลาง และภาคตะวันออก ทั้งนี้ การฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ หลักสูตรพลิกธุรกิจชุมชนและท้องถิ่นด้วยการฉีกกฎการสร้างตัวตนผ่านคนสร้างเรื่อง ได้รับเกียรติจากวิทยากรผู้เชี่ยวชาญชื่อดังระดับประเทศ โดยมี 7 หัวข้อหลักที่น่าสนใจ อาทิ - Product Innovation : พัฒนาผลิตภัณฑ์นวัตกรรมนอกกรอบ แต่ไม่นอกเทรนด์" โดย ศ.ภญ.ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและนวัตกรรม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย- Upcyling : ธุรกิจวิธีชุมชนที่ยังยั่งยืน โดย โค้ชสมศักดิ์ บุญคำ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท โลเคิล อไลค์ จำกัด- Story telling & Branding : แบรนด์ที่ใช่.. ไม่ต้องใหญ่ก็ชนะได้ โดย โค้ชทอปัด สุบรรณรักษ์ ที่ปรึกษาและผู้เชี่ยวชาญด้านการสื่อสารเพื่อความยั่งยืน และผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนาธุรกิจ สายการบินไทยแอร์เอเชีย- แนวโน้มตลาดผ้า และการพัฒนาสินค้าผ้าและแฟชั่นโดย ผศ.ดร.อโนทัย ชลชาติภิญโญ ผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ปรึกษา และผู้เชี่ยวชาญด้านแฟชั่น การออกแบบ การสร้างแบรนด์ และการตลาดแฟชั่น- Sustainable Products Design : ผลิตภัณฑ์ดีไซน์เพื่อความยั่งยืนโดย โค้ชใจ๋ ธีรชัย ศุภเมธีกูลวัฒน์ นักออกแบบ เจ้าของแบรนด์ Qualy ผลิตภัณฑ์ดีไซน์เพื่อความยั่งยืน ฝีมือคนไทยส่งออกไปทั่วโลก- “ดีไซน์ดีมาก: ของที่ระลึกไทยที่โลกจำ” Great Design: Iconic Thai Souvenirsโดยโค้ชศุภชัย แกล้วทนงค์ ผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์ และศิลปินผู้มีชื่อเสียง ในฐานะ Art & Culture Design Consultant- Future Entrepreneur :ผู้ประกอบการผู้สร้างความแข็งแกร่งให้ธุรกิจในอนาคตโค้ชหมู รุ่งโรจน์ อาชาเทวัญ รองประธาน และประธานคณะกรรมการส่งเสริมการค้าการลงทุนในประเทศและชายแดน สมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย นอกจากนี้ยังมี- ธุรกิจชุมชนพัฒน์ DIPROM x TOYOTA : การนำความรู้และประสบการณ์การทำงานของโตโยต้ามาถ่ายทอดสู่ธุรกิจชุมชนเพื่อสร้างความยั่งยืนโดยคุณสบโชค จิรเสรีอมรกุล ผู้ดูแลโครงการโตโยต้า ธุรกิจชุมชนพัฒน์ ฝ่ายวางแผนองค์กร บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด- Inspire Ignition – จุดประกายแรงบันดาลใจแห่งความสำเร็จโค้ชเมย์ ณฐมน ธนสินวรากร Influencer และผู้เชี่ยวชาญด้านการสร้างแรงบันดาลใจ- กิจกรรมกลุ่ม (การสร้าง สร้างตัวตนผ่าน Story) workshop- กิจกรรมเชื่อมโยงโครือข่าย&เชื่อมโยงธุรกิจ- กิจกรรมให้คำปรึกษาพรีเซ็นต์แผนพัฒนาธุรกิจ/แมทชิ่ง จากนั้นมีการคัดเลือกเข้าสู่การแนะนำเชิงลึกซึ่งจะเป็นการต่อยอดพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้เกิดมูลค่าเพิ่มต่อไปในอนาคตตามโยบาย “ปฏิรูปอุตสาหกรรมไทยสู่เศรษฐกิจยุคใหม่ ทันสมัย สะอาด สะดวก โปร่งใส” ของ นายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม
28 ม.ค. 2025
"อธิบดีณัฏฐิญา" เร่งเสริมแกร่ง SMEs ไทยด้วยการใช้ เครื่องมือตรวจประเมินความพร้อมอุตสาหกรรมเพื่อเตรียมตัวสู่อุตสาหกรรมเศรษฐกิจยุคใหม่” ตามนโยบาย "รมว.เอกนัฏ"
กรุงเทพฯ 13 มกราคม 2568 - นางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ให้เกียรติเป็นประธานในการสัมมนาเชิงปฏิบัติการ “การใช้ เครื่องมือในการประเมินความพร้อมอุตสาหกรรมการผลิตของไทย” ภายใต้โครงการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของวิสาหกิจไทยด้วยดิจิทัล พร้อมด้วย คณะผู้บริหาร เจ้าหน้าที่ดีพร้อม (DIPROM) และผู้เข้าร่วมกิจกรรมดังกล่าว โดยมี นางเกษราภรณ์ โกวิทลวากุล ผู้อำนวยการกองพัฒนาดิจิทัลอุตสาหกรรม กล่าวรายงาน ณ ณ ห้องไพลิน 1 ชั้น 2 โรงแรม แกรนด์ เมอร์เคียว กรุงเทพ เอเทรียม กิจกรรมสัมมนาเชิงปฏิบัติการดังกล่าว มีวัตถุประสงค์เพื่อให้บุคลากรระดับบริหารของดีพร้อม ได้เห็นถึงความจำเป็นและความสำคัญ พร้อมกับได้รับความรู้ ความเข้าใจหลักการและรายละเอียดของเครื่องมือที่นำมาใช้กับ SMEs ในการประเมินศักยภาพของตนว่ามีความพร้อมที่จะก้าวสู่ Industry 5.0 ในระดับไหน ซึ่งในครั้งนี้ได้รับเกียรติจาก ดร.รวีภัทร์ ผุดผ่อง สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) เป็นวิทยากร บรรยายความหมายและความสำคัญของ Industry 5.0 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับดัชนีชี้วัดเพื่อประเมินระดับความพร้อมของ Industry 2.0 - 5.0 และ Industry Maturity Index ของประเทศไทย และนิยามความหมายของมิติย่อย 1 – 17 ในระดับความพร้อม 1 ถึง 6 เพื่อทราบถึงคุณลักษณะของสถานประกอบการในระดับความพร้อมต่าง ๆ ทั้งนี้ ดีพร้อม ได้มีบทบาทสำคัญในการสนับสนุนและพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของผู้ประกอบการ SMEs ด้วยการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัล และเล็งเห็นถึงความสำคัญของการประเมินความพร้อมของสถานประกอบการเพื่อเข้าสู่ Industry 5.0 เพื่อเป็นการสนับสนุนการยกระดับภาคอุตสาหกรรมด้วยดิจิทัลและเป็นมาตรฐานกลางของประเทศในการชี้วัดระดับความพร้อมของอุตสาหกรรมไทยต่อไป
28 ม.ค. 2025
”อธิบดีณัฏฐิญา“ นำทีมดีพร้อม มุ่งพัฒนาเมนู Amazing Thai Taste สู่เชิงพาณิชย์ หนุนซอฟต์พาวเวอร์อาหารตามนโยบาย "รมว.เอกนัฏ"
กรุงเทพฯ 15 มกราคม 2568 - นางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ให้เกียรติเป็นประธานเปิดการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ พัฒนาร้านอาหารเชฟชุมชน อาหารถิ่นอาหารไทย พร้อมด้วย นางสาวอริยาพร อำนรรฆสรเดช ผู้อำนวยการกองพัฒนาอุตสาหกรรมชุมชน นางสาวอัญชลีย์พร เขียวเกษม ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 8 นางสาวหนึ่งหทัย ธรรมพิทักษ์ ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 9 และเจ้าหน้าที่ดีพร้อม (DIPROM) ณ ห้องอมรินทร์ ชั้น 3 สถาบันอาหาร การฝึกอบรมดังกล่าวอยู่ภายใต้โครงการส่งเสริมซอฟต์พาวเวอร์ สาขาอาหาร ซึ่งดีพร้อมเป็นหนึ่งในคณะกรรมการและเลขานุการร่วม คณะกรรมการพัฒนาซอฟต์พาวเวอร์แห่งชาติ จึงได้กำหนดแนวทางด้วยการสร้างและพัฒนา Thailand Soft Power DNA ของดีพร้อม ผ่าน 3 แนวทาง คือ 1) สร้างสรรค์และ ต่อยอด โดยการใช้ “ความคิดสร้างสรรค์” และ “เทคโนโลยี” เพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจ ต่อยอดต้นทุนวัฒนธรรมและภูมิปัญญาสู่วัฒนธรรมสร้างสรรค์ 2) โน้มน้าว โดยการจูงใจให้เปลี่ยนแปลงทางด้านความคิด หรือพฤติกรรมความชอบให้หันมาสนใจสิ่งเหล่านี้มากขึ้น เช่น Storytelling การเล่าเรื่องราวที่มีคุณค่า มีความหมาย หรือมีนัยยะสำคัญ เพื่อถ่ายทอดความรู้ ประสบการณ์ หรือสิ่งต่าง ๆ และ 3) เผยแพร่ โดยการบอกเล่าเรื่องราวต่าง ๆ ผ่านเครื่องมือในการเผยแพร่ เช่น Influencer ซีรี่ส์ ละครย้อนยุค เป็นต้น จึงเป็นที่มาของ การฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการพัฒนาร้านอาหารเชฟชุมชน อาหารถิ่นอาหารไทย ที่จะยกระดับศักยภาพพัฒนาผู้ประกอบการชุมชนให้เป็นชุมชนต้นแบบที่สามารถนำอัตลักษณ์หรือวัตถุดิบของชุมชนในท้องถิ่นมาประยุกต์และสร้างมูลค่าเพิ่ม ต่อยอดผลิตภัณฑ์อาหาร สามารถเชื่อมโยงธุรกิจ รวมถึงเผยแพร่อัตลักษณ์วิถีชุมชน อันจะเป็นการสร้างแรงดึงดูดและกระตุ้นการท่องเที่ยว ทั้งชาวไทยและต่างชาติ นำไปสู่การสร้างงาน สร้างรายได้ให้กับชุมชน สอดคล้องกับนโยบายในด้านการสนับสนุนซอฟต์พาวเวอร์ด้านอาหาร ของนายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ทั้งนี้ หลักสูตรในการฝึกอบรมดังกล่าวเป็นการพัฒนาเมนู Amazing Thai Taste สู่เชิงพาณิชย์และการบริหารจัดการร้านอาหาร ประกอบด้วยองค์ความรู้ในด้านต่าง ๆ ได้แก่ 1) ด้านการยืดอายุและพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร 2) ด้านกฏ ระเบียบ และกฏหมายที่เกี่ยวข้อง 3) ด้านการตลาดและการสร้างแบรนด์ และ 4) ด้านการบริหารจัดการร้านอาหาร โดยมี คณะวิทยากรจากสถาบันอาหารและผู้เชี่ยวชาญมาดำเนินการให้ความรู้ และทักษะต่าง ๆ ที่เหมาะสม เพื่อให้สามารถนำไปพัฒนาการประกอบกิจการได้อย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืนต่อไป
28 ม.ค. 2025
"ดีพร้อม" จัดกิจกรรม Master Thai Chef Program เตรียมความพร้อมเชฟอาหารไทยสู่ความเป็นเชฟมืออาชีพ ตามนโยบาย "รมว.เอกนัฏ"
กรุงเทพฯ 13 มกราคม 2568 - นางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ได้มอบหมายให้ นายสุรพล ปลื้มใจ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม เป็นประธานเปิดกิจกรรมปฐมนิเทศเตรียมความพร้อมผู้เข้ารับการอบรมหลักสูตรเชฟอาหารไทยมืออาชีพ (Master Thai Chef Program) โครงการหนึ่งหมู่บ้าน หนึ่งเชฟอาหารไทย ภายใต้งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 (งบกลาง) พร้อมด้วย นางศุภวรรณ ตีระรัตน์ ผู้อำนวยการสถาบันอาหาร คณะผู้บริหาร เจ้าหน้าที่ดีพร้อม (DIPROM) และผู้เข้าร่วมกิจกรรม โดยมี นางสาวอริยาพร อำนรรฆสรเดช ผู้อำนวยการกองพัฒนาอุตสาหกรรมชุมชน กล่าวรายงาน ณ ห้อง Grand Ballroom ช้ัน 3 อาคารศูนย์การเรียนรู้อาหารไทย สถาบันอาหาร กิจกรรมดังกล่าวได้รับเกียรติจาก นายแพทย์สุรพงษ์ สืบวงศ์ ประธานคณะกรรมการซอฟพาวเวอร์แห่งชาติ บรรยายถึงความเป็นมาการดำเนินโครงการภายใต้นโยบาย One Family One Soft Power (OFOS) ของรัฐบาล สำหรับโครงการหนึ่งหมู่บ้าน หนึ่งเชฟอาหารไทย ภายใต้งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 (งบกลาง) ที่กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรมได้ดำเนินการ มีเป้าหมายสำคัญในการยกระดับอาหารไทยให้เป็น Soft Power ที่ทรงคุณค่า ทั้งในเชิงวัฒนธรรม โดยการพัฒนาทักษะและศักยภาพของผู้เข้าร่วม การอบรมให้เป็นเชฟอาหารไทยมืออาชีพ สามารถนำองค์ความรู้ที่ได้รับไปต่อยอดในการสร้างชื่อเสียงให้แก่ประเทศ พร้อมทั้งสร้างรายได้และโอกาสทางเศรษฐกิจในระดับชุมชนและประเทศ ตามนโยบาย “ปฏิรูปอุตสาหกรรมสู่เศรษฐกิจยุคใหม่ ทันสมัย สะอาด สะดวก โปร่งใส” ของนายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม สำหรับกิจกรรมการอบรมเชิงปฏิบัติการบุคลากรหลักสูตรเชฟอาหารไทยมืออาชีพ (Master Thai Chef Program) มีผู้สมัครที่ผ่านการคัดเลือกจำนวน 1,300 คน ซึ่งจะต้องผ่านการอบรมหลักสูตรที่ได้กำหนด โดยแบ่งเป็นรูปแบบผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (Online) จำนวน 90 ชั่วโมง และ การฝึกปฏิบัติ ณ สถานที่ (On Site) จำนวน 150 ชั่วโมง รวมจำนวน 240 ชั่วโมง ผ่านการถ่ายทอดความรู้จากทีมวิทยากรผู้มีความเชี่ยวชาญ โดยมุ่งหวังที่จะสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับประเทศผ่านการใช้วัฒนธรรมและความคิดสร้างสรรค์ในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมฟ
28 ม.ค. 2025
“ดีพร้อม" ร่วมประชุมคณะกรรมการสถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ เร่งวิเคราะห์ปัจจัยความเสี่ยงที่อาจส่งผลต่อการดำเนินงานวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับ ตามนโยบายของ "รมว.เอกนัฏ"
กรุงเทพฯ 14 มกราคม 2568 - นางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ได้มอบหมายให้ นางดวงดาว ขาวเจริญ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม เข้าร่วมประชุมคณะกรรมการสถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ ครั้งที่ 1/2568 พร้อมด้วยผู้แทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และคณะผู้บริหาร เจ้าหน้าที่สถาบันฯ ณ ห้องประชุมชั้น 6 อาคารสถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ และในรูปแบบออนไลน์ผ่านแอปพลิเคชั่น Zoom Meeting การประชุมดังกล่าว ได้มีการรายงานให้ที่ประชุมฯ ทราบเกี่ยวกับสถานการณ์นำเข้าส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับในเดือนมกราคมถึงเดือนพฤศจิกายน 2567 มีมูลค่าการนำเข้า 19,606.03 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 54.99 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยสินค้าหลักที่นำเข้า คือ ทองคำ รองลงมา คือ เครื่องประดับแท้ พลอยสี และโลหะเงิน ส่วนสินค้าที่ไทยนำเข้าลดลง คือ เพชร สำหรับมูลค่าการส่งออกมีมูลค่า 16,924.49 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ปรับตัวสูงขึ้นร้อยละ 23.86 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยตลาดส่งออกสำคัญของไทย ได้แก่ ฮ่องกง สหรัฐอเมริกา อินเดีย และเยอรมนี ซึ่งการส่งออกปรับตัวเพิ่มขึ้นในทุกตลาดหลัก ตลอดจนได้รายงานรายได้จากผลการดำเนินงานประจำเดือนธันวาคม 2567 และเสนอให้ที่ประชุมร่วมพิจารณาเกี่ยวกับแผนปฏิบัติงานและแผนงบประมาณรายจ่าย ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2569 นอกจากนี้ ยังได้ร่วมกันพิจารณาแผนบริหารความเสี่ยง โดยมีการวิเคราะห์ปัจจัยความเสี่ยงที่อาจส่งผลต่อการดำเนินงานของสถาบัน ทั้งปัจจัยภายนอก ได้แก่ ภาวะตลาดและแนวโน้มเศรษฐกิจ ความต้องการใช้บริการชองสถาบัน การเปลี่ยนแปลงนโยบายภาครัฐ/การเมือง กฎหมาย เทคโนโลยี พฤติกรรมลูกค้า ภาวการณ์แข่งขันจากคู่แข่ง และวิเคราะห์ปัจจัยภายใน เช่น การให้บริการตามภารกิจหลักของสถาบัน การปฏิบัติงานด้านระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ การปฏิบัติงานด้านการตลาด เป็นต้น และพิจารณาแผนควบคุมภายใน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 ในประเด็นสำคัญต่าง ๆ เช่น ด้านการตรวจสอบและออกใบรับรองสินค้าอัญมณี เครื่องประดับ และโลหะมีค่า ประเด็นด้านการบริหารโครงการ ประเด็นด้านการป้องกันการทุจริตในการปฏิบัติหน้าที่ เป็นต้น
28 ม.ค. 2025
เชิญผู้ที่สนใจสมัครเข้าร่วมหลักสูตร ยกระดับธุรกิจ SMEs สู่อุตสาหกรรมยั่งยืน
ขอเชิญชวนสมัครเข้าร่วมหลักสูตร ยกระดับธุรกิจ SMEs สู่อุตสาหกรรมยั่งยืน (Adapting the BCG Model for SMEs) ภายใต้กิจกรรม : การพัฒนาบุคลากรภาคอุตสาหกรรมให้รองรับการเติบโตอย่างยั่งยืน ดำเนินการโดย : ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 10 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม โดยวิทยากรผู้เชี่ยวชาญ นายมงคล พัชรดำรงกุล กรรมการผู้จัดการ บริษัท ไรท์เวย์ แมนเนจเมนท์ จำกัด ดร.สนธยา กริชนวรักษ์ ผู้อำนวยการ สถาบันการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ หลักสูตร ระยะสั้นจำนวน 2 วัน ระหว่างวันที่ 27-28 กุมภาพันธ์ 2568 ณ โรงแรมมรกตทวิน ชุมพร อำเภอเมือง จังหวัดชุมพร รับสมัครตั้งแต่วันนี้ ถึงวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2568 ฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม คุณเติมศักดิ์ (เติม) 09 5283 2195 คุณสุระพิณ (เจี๊ยบ) 08 1956 7301
27 ม.ค. 2025
เชิญรเข้าร่วมกิจกรรม การพัฒนาและยกระดับกระบวนการผลิตสู่อุตสาหกรรมผลิตภาพสีเขียว
ขอเชิญชวนผู้ประกอบการเข้าร่วมกิจกรรม การพัฒนาและยกระดับกระบวนการผลิตสู่อุตสาหกรรมผลิตภาพสีเขียว (Green Productivity) ภายใต้โครงการ : ยกระดับธุรกิจ SME ด้วยการประยุกต์ใช้โมเดลเศรษฐกิจ BCG ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2568 ดำเนินการโดย : ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 6 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม คุณสมบัติผู้สมัคร เป็นวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) หรือวิสาหกิจขนาดใหญ่ อุตสาหกรรมภาคการผลิต สถานประกอบการตั้งอยู่ในพื้นที่ จังหวัดนครราชสีมา ชัยภูมิ บุรีรัมย์ สุรินทร์ เปิดรับสมัครตั้งแต่วันนี้ - 31 มกราคม 2568 รับเพียง 3 กิจการ เท่านั้น สอบถามขอมูลเพิ่มเติม คุณยุทธนา เพชรน้อย (08 1089 6932) คุณวสุธา คำกุ้ม (0 4422 4846) vvb.sut@gmail.com
27 ม.ค. 2025
“อธิบดีณัฏฐิญา” ชูนโยบาย “ดีพร้อม คอมมูนิตี้ ที่นี่มีแต่ให้” ร่วมดัน GDP โตขึ้นอีก 1% เดินหน้าตามนโยบาย “รมว.เอกนัฏ” ปฏิรูปอุตสาหกรรม ตอบสนองทุกความต้องการของเอสเอ็มอี
กรุงเทพฯ 14 มกราคม 2568 – นางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม แถลงข่าวทิศทางการขับเคลื่อนนโยบายของกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม หรือดีพร้อม ในปี 2568 โดยมี นางดวงดาว ขาวเจริญ นายสุรพล ปลื้มใจ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม คณะผู้บริหาร เจ้าหน้าที่ดีพร้อม (DIPROM) ผู้ประกอบการภาคอุตสาหกรรม และสื่อมวลชน เข้าร่วม ณ ห้องประชุม ชั้น 6 อาคารกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม นางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า ดีพร้อมได้มีการปฏิรูปการดำเนินงานโฉมใหม่ โดยมองภาพการพัฒนาให้กว้างขึ้น ตอบสนองประเด็นปัญหาเชิงมหภาคของภาคอุตสาหกรรม ทั้งในเรื่องแนวโน้มและทิศทางของเศรษฐกิจโลกกับการปรับโครงสร้างของอุตสาหกรรมเดิมเพื่อรองรับอุตสาหกรรมใหม่ การดึงดูดการลงทุนกลุ่มอุตสาหกรรมแห่งอนาคตที่มีศักยภาพ รวมไปถึงภารกิจการช่วยเหลือให้วิสาหกิจไทยปรับตัวสู่โลกยุคใหม่ให้อยู่รอด เดินต่อ และเติบโตสู่สากล พร้อมยกระดับเศรษฐกิจไทยไปสู่การเป็นเศรษฐกิจสีเขียวในการพัฒนาเศรษฐกิจควบคู่ไปกับการพัฒนาสังคม และรักษาสิ่งแวดล้อม เน้นการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรอย่างคุ้มค่า เพิ่มผลิตภาพ และสร้างมูลค่าเพิ่ม สอดรับกับแนวคิดของ นายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ที่ได้มอบนโยบายสำคัญในการพัฒนาอุตสาหกรรมเศรษฐกิจให้เติบโตอย่างยั่งยืนควบคู่กับการปรับตัวให้เข้ากับวิถีใหม่ของโลก พร้อมช่วยเหลือส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมของไทย (SMEs) ในการพัฒนาเศรษฐกิจอุตสาหกรรมไทย ตามนโยบาย “ปฏิรูปอุตสาหกรรม สู่เศรษฐกิจยุคใหม่ ทันสมัย สะอาด สะดวก โปร่งใส” และตามนโยบาย “อุตสาหกรรมเศรษฐกิจ” ที่ “เติบโตอย่างยั่งยืนคู่ชุมชน” ของนายณัฐพล รังสิตพล ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม เพื่อให้ผู้ประกอบการและวิสาหกิจไทยเดินหน้าเติบโตอย่างยั่งยืน ควบคู่กับการปรับตัวให้เข้ากับวิถีใหม่ของโลกใหม่ใบเดิมอย่างมั่นคง ดีพร้อมจึงมีแนวคิดในการสร้าง “ดีพร้อมคอมมูนิตี้” (DIPROM Community) ซึ่งเป็นการนำวิสาหกิจไทย เข้ามาสู่ระบบบริหารจัดการของดีพร้อม โดยดีพร้อมจะส่งเสริมและสนับสนุนด้วย 6 กลไกที่สำคัญ คือ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึก (Data Analytic) เทคโนโลยี ดิจิทัล นวัตกรรม และความคิดสร้างสรรค์ (Technology /Digital /Innovation /Creative) การเข้าถึงแหล่งเงินทุน (Funding) การเชื่อมสิทธิประโยชน์ (Privilege) การเชื่อมโยงเครือข่ายพันธมิตร (Networking) และการผลักดันธุรกิจสู่สากล (Connect to the world) เพื่อให้วิสาหกิจไทยในระบบการพัฒนาสามารถ “สร้างงาน สร้างรายได้ สร้างเครือข่าย” เพิ่มศักยภาพวิสาหกิจไทยให้สามารถยกระดับธุรกิจให้เติบโต และแข่งขันได้อย่างมั่นคงในอนาคต รวมไปถึงเกิดเป็นห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain) ภายในดีพร้อมคอมมูนิตี้และสามารถช่วยเหลือเกื้อกูลกันในรูปแบบวิสาหกิจขนาดใหญ่สามารถดูแลวิสาหกิจขนาดเล็กได้ (Big Brother) เป็นฮีโร่ที่ดีพร้อมสร้างเพื่อให้วิสาหกิจไทยเดินหน้าไปด้วยกัน และเตรียมความพร้อมในการเข้าร่วมนิคมฯ SME ในอนาคต นางสาวณัฏฐิญา กล่าวเพิ่มเติมว่า สำหรับ “ดีพร้อมคอมมูนิตี้ ที่นี่มีแต่ให้” เป็นการปฏิรูปดีพร้อมสู่องค์กรทันสมัย เฟ้นหาฮีโร่ผู้นำธุรกิจไทย พัฒนาอุตสาหกรรมใหม่ในพื้นที่ ส่งเสริมให้อุตสาหกรรมดีอยู่คู่ชุมชน ภายใต้ กลยุทธ์ 4 ให้ 1 ปฏิรูป ดังนี้ ให้ที่ 1 : ให้ทักษะใหม่ : เพิ่มทักษะ ความรู้ ความสามารถบุคคลทั่วไปและผู้ประกอบการ เพื่อยกระดับทักษะที่มีอยู่เดิม (Upskill) สร้างทักษะขึ้นมาใหม่ที่จำเป็นต่อการทำงาน (Reskill) และสร้างทักษะใหม่ที่ตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างอุตสาหกรรมเศรษฐกิจใหม่ (New skill) โดยการพัฒนาหลักสูตรให้ทันสมัย มีมาตรฐานรับรองทักษะ ผ่านการเพิ่มทักษะเพื่อการเป็นผู้ประกอบการมืออาชีพ ทั้งในด้านการเริ่มต้นประกอบธุรกิจใหม่ การยกระดับองค์ความรู้ด้านเทคโนโลยี นวัตกรรม ดิจิทัล และการบริหารจัดการธุรกิจ รวมไปถึงการสร้างทักษะอาชีพในอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ หรือ ซอฟต์พาวเวอร์ไทย (SOFT POWER) ซึ่งเป็น 1 ในนโยบายหลักที่สำคัญของรัฐบาล ซึ่งดีพร้อมเป็นหน่วยร่วมในการขับเคลื่อนในเรื่องดังกล่าวร่วมกับภาครัฐและเอกชน โดยมุ่งไปสู่เป้าหมายเพื่อให้ผู้ผ่านการพัฒนาทักษะใหม่มีรายได้สูงขึ้นและสามารถก้าวข้ามหลุดจากกับดักรายได้ปานกลางได้ ให้ที่ 2 : ให้เครื่องมือที่ทันสมัย : เปลี่ยนผ่านอุตสาหกรรมเดิมไปสู่อุตสาหกรรมเศรษฐกิจยุคใหม่ เพื่อเพิ่มศักยภาพสามารถปรับเปลี่ยนธุรกิจรองรับการเปลี่ยนแปลงด้วยการติดอาวุธที่สำคัญ ประกอบด้วย 1) Standard การได้รับมาตรฐาน และการรับรอง 2) Productivity การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต 3) Research การศึกษาค้นคว้าวิจัย 4) Innovation การสร้างนวัตกรรม และ 5) Network การสร้างและขยายเครือข่ายการสนับสนุนให้วิสาหกิจไทยได้ก้าวเดินได้อย่างแข็งแรง พร้อมเข้าสู่อุตสาหกรรม 5.0 โดยการใช้เทคโนโลยี AI และการผลิตสมัยใหม่ ซึ่งมีมนุษย์เป็นศูนย์กลาง และมีความยืดหยุ่น นอกจากนี้ ดีพร้อมยังมีการให้บริการเพื่อรองรับการปรับเปลี่ยนธุรกิจให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงจากศูนย์บริการของดีพร้อมทั่วประเทศ ทั้งในส่วนศูนย์ให้บริการวิชาการ ศูนย์ให้บริการเครื่องมือต่าง ๆ และศูนย์จัดแสดงสินค้า อาทิ ศูนย์บริการธุรกิจอุตสาหกรรมดีพร้อม (BSC) ศูนย์ปฎิรูปอุตสาหกรรม (ITC) ศูนย์ออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์ (Thai-IDC) ศูนย์ประชุมและแสดงสินค้าอุตสาหกรรมภาคเหนือ (DIPROM MICE CENTER) เป็นต้น ให้ที่ 3 : ให้โอกาสโตไกล ช่วยเหลือวิสาหกิจให้มีขีดความสามารถในการดำเนินธุรกิจและสามารถแข่งขันได้ ทั้งในประเทศและระดับสากล ด้วยการเสริมสร้างศักยภาพของ SMEs ให้เข้าถึงโอกาสต่าง ๆ รวมทั้งการบูรณาการทุกภาคส่วน ช่วยเหลือวิสาหกิจได้อย่างตรงกับปัญหาหรือตรงตามความต้องการของวิสาหกิจ ดีพร้อมจึงให้ความสำคัญในเรื่องการสนับสนุนปัจจัยที่เอื้อต่อการประกอบการเพื่อสนับสนุนการพัฒนาวิสาหกิจให้มีความเข้มแข็งมากขึ้น ทั้งในเรื่องการเข้าถึงแหล่งเงินทุน เพื่อช่วยให้วิสาหกิจไทยสามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนตามศักยภาพของผู้ประกอบการและธุรกิจ และพัฒนาผลิตภัณฑ์สินเชื่อ เพื่อการส่งเสริมรายอุตสาหกรรม การเชื่อมโยงระหว่างวิสาหกิจ หรือเชื่อมโยงกับวิสาหกิจขนาดใหญ่เป็น Supply Chain ที่เข้มแข็ง การสร้างโอกาสในการเข้าถึงช่องทางการจำหน่ายและการตลาดทั้งในประเทศและต่างประเทศ รวมไปถึงการเสริมสร้างและเชื่อมโยงเครือข่ายความร่วมมือทั้งในประเทศและต่างประเทศ ให้ที่ 4 : ให้ธุรกิจไทยที่ดีคู่ชุมชน ดีพร้อมได้มีการนำแนวคิด BCG มาปรับใช้ในธุรกิจ พร้อมทั้งส่งเสริมด้านการปรับปรุงกระบวนการผลิตและบริหารจัดการสิ่งแวดล้อม ตามแนวทางอุตสาหกรรมสีเขียวให้กับวิสาหกิจเพื่อเปลี่ยนผ่านอุตสาหกรรมไทยสู่อุตสาหกรรมยุคใหม่ (Industry 5.0) และการประกอบกิจการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม พร้อมยึดมั่นในความรับผิดชอบต่อสังคม รวมทั้งสร้างความยั่งยืนและอยู่ร่วมกันอย่างเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและสังคมโดยรอบ ซึ่งจะเป็นการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมเชิงพื้นที่ อันนำไปสู่การกระจายรายได้สู่ชุมชนที่ตั้งอันจะนำไปสู่การกระจายรายได้สู่ชุมชนที่ตั้งต่อไป สอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลที่ให้ความสำคัญในเรื่องการสร้างความยั่งยืนของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ควบคู่ไปกับการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ และสอดรับกับแนวทาง “สร้างอุตสาหกรรมเศรษฐกิจใหม่ ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม” ของกระทรวงอุตสาหกรรมที่ได้กำหนดนโยบายเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมผู้ประกอบการธุรกิจให้สามารถ “เติบโตอย่างสมดุลและยั่งยืน (Balanced and Sustainable Growth)” ในส่วน ปฏิรูปดีพร้อม มุ่งพัฒนาองค์กรให้ดีพร้อม เพื่อเตรียมรับมือกับบริบทและกระแสการเปลี่ยนแปลงของโลกยุคใหม่ ภายใต้ความท้าทายและโอกาสใหม่ ๆ ที่มีความหลากหลายและซับซ้อนมากขึ้น สอดรับกับเรื่อง “การปรับตัวของภาครัฐ” โดยปี 2568 ดีพร้อม มีแนวคิดในการปฏิรูปองค์กรไปสู่การเป็นองค์กรแห่งการเปลี่ยนแปลงควบคู่ไปพร้อมกับการพัฒนาบุคลากรของดีพร้อม โดยการนำเทคโนโลยีที่เหมาะสมกับยุคสมัยเข้ามาปรับใช้ ได้แก่ 1. การพัฒนาองค์กร อาทิ การพัฒนาศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาค เป็นแหล่งสนับสนุนข้อมูลทางวิชาการให้กับหน่วยงานในภูมิภาค การยกระดับระบบการให้บริการของดีพร้อมให้ก้าวทันยุคของการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีดิจิทัล เพื่อรองรับนโยบาย “การปรับเปลี่ยนภาครัฐเป็นรัฐบาลดิจิทัล” ด้วยระบบ DIPROM ECOSYSTEM 2. การพัฒนาบุคลากร มุ่งส่งเสริม สนับสนุน และพัฒนาความรู้ ทักษะ ความเชี่ยวชาญ และสมรรถนะที่สำคัญให้กับบุคลากรอย่างต่อเนื่อง รวมถึงการแลกเปลี่ยนประสบการณ์และเรียนรู้การปฏิบัติงานระหว่างหน่วยงานภายในกระทรวงอุตสาหกรรม ตลอดจนการไปฝึกปฏิบัติงานร่วมกับองค์กรพันธมิตรในต่างประเทศ เพื่อให้บุคลากรมีความรู้ความสามารถในมิติที่หลากหลาย ทั้งด้านวิชาการและการให้บริการวิสาหกิจที่มีประสิทธิภาพ “ดีพร้อม เชื่อมั่นว่า ภายใต้กลยุทธ์ 4 ให้ และ 1 ปฏิรูป ที่จะเร่งขับเคลื่อนในปี 2568 นี้ จะเป็นการดำเนินงาน เชิงรุกที่ออกไปส่งเสริมผู้ประกอบการในทุกด้านได้อย่างตรงจุดตามนโยบายของนายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ซึ่งตั้งเป้าผลักดัน GDP ประเทศให้เติบโตอีก 1% หรือเพิ่มขึ้นกว่า 180,000 ล้านบาท ผ่านการลงทุนภาคอุตสาหกรรมโดยไม่ใช้งบประมาณของรัฐ โดยดีพร้อมมีซัพพลายเชนที่พร้อมสนับสนุนให้เกิดการผลิตในประเทศ ผ่านการใช้จ่ายในโครงการลงทุนเครื่องจักรภาครัฐ การพัฒนาผลิตภัณฑ์ สร้างขีดความสามารถ Productivity และ Standard ภายใต้ Industry 5.0 พร้อมเชื่อมโยงกลไกการตลาด อีกทั้งยังเน้นแพลตฟอร์ม ‘Made by Thais’ เพื่อลดการพึ่งพาสินค้านำเข้า ซึ่งจะทำให้เกิดการหมุนเวียนทางเศรษฐกิจจากการบริโภค ทั้งนี้ ในปีงบประมาณ 2569 ดีพร้อมได้ตั้งคำของบประมาณไว้ในวงเงิน 5,000 ล้านบาท ซึ่งคาดว่าจะสามารถสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจได้มากกว่า 50,000 ล้านบาท นโยบายทั้งหมดนี้จึงเป็นรากฐานสำคัญที่จะขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยให้เติบโตอย่างยั่งยืน และมั่นใจได้ว่าการกระตุ้น GDP เพิ่มขึ้นอีก 1% นั้นสามารถทำได้แน่นอน” นางสาวณัฏฐิญา กล่าวทิ้งท้าย
27 ม.ค. 2025
ปลัดฯ ณัฐพล ระดมขุนพล MIND ตั้งรับนโยบายการจัดทำงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2569
กรุงเทพฯ 15 มกราคม 2568 - ดร.ณัฐพล รังสิตพล ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม พร้อมด้วย นายศุภกิจ บุญศิริ รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม และผู้บริหารระดับสูงของกระทรวงอุตสาหกรรม นางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม เข้าร่วมประชุมสัมมนาและมอบนโยบายการจัดทำงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณปี 2569 โดยมี นางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เป็นประธานเปิดประชุม ณ ห้องรอยัล จูบิลี่ บอลรูม อาคารชาเลนเจอร์ ศูนย์แสดงสินค้าและการประชุมอิมแพ็ค เมืองทองธานี นายกฯ กล่าวว่า การจัดสรรงบประมาณในปีงบประมาณ พ.ศ. 2569 มีกรอบวงเงิน 3.7 ล้านล้านบาท ขอให้ทุกหน่วยพิจารณาใช้จ่ายอย่างมีประสิทธิภาพใช้เท่าที่จำเป็น และพยายามไม่สร้างรายจ่ายประจำให้เพิ่มขึ้น เพราะจะเป็นต้นทุนสะสมในทุกปี ซึ่งปรับเปลี่ยนยาก และขอให้ทุกฝ่ายช่วยกันใช้งบประมาณอย่างคุ้มค่า และเกิดประโยชน์ทุกบาททุกสตางค์กับพี่น้องประชาชนจริง ๆ ขอตั้งเป้าหมายการจัดทำงบประมาณปี 69 ว่า “การเติบโตทางประสิทธิผล” ใช้งบอย่างแม่นยำมากยิ่งขึ้น โดยต้องตรงกับวัตถุประสงค์และเป้าหมาย ประกอบด้วย 1) ไม่ลดสัดส่วนงบลงทุน เพื่อสร้างการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง 2) ไม่เพิ่มงบดำเนินงาน และงบประมาณ แต่เน้นเพิ่มประสิทธิผล 3) ไม่เพิ่มอัตรากำลัง โดยพัฒนาบุคลากรที่มีอยู่ให้มีศักยภาพพร้อม ๆ กับการดูแลสวัสดิการอย่างทั่วถึง รวมทั้งสร้างโอกาสให้ประชาชน เพื่อกระจายความเท่าเทียม และสวัสดิการต่าง ๆ ให้เข้าถึงทุกพื้นที่ ตลอดจนการแก้ปัญหาเรื่องเร่งด่วนให้กับประเทศไทย ส่วนความท้าทายที่ในวันนี้ คือ ภัยธรรมชาติ ซึ่งทุกภาคส่วนต้องวางแผนเตรียมพร้อมรับมือ
24 ม.ค. 2025
เชิญเข้าร่วมงานวันนักประดิษฐ์ 2568 Thailand Inventors'Day 2025
เชิญเข้าร่วมงานวันนักประดิษฐ์ 2568 Thailand Inventors'Day 2025 สิ่งประดิบฐ์และมวัตกรรมไทย: ความท้าทายของประเทศ Thai Inventions and Innovations : Challenge of the Nation คลิกเพื่อดูรูปภาพขนาดใหญ่ ระหว่างวันที่ 2 - 6 กุมภาพันธ์ 2568 ณ Event Hall 101 - 104 ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค บางนา กรุงเทพฯ กิจกรรมภายในงาน นิทรรศการ "พระบิดาแห่งการประดิษฐ์ไทย" นิทรรศการรางวัลการวิจัยแห่งชาติ นิทรรศการสิ่งประดิษฐ์สู่การใช้ประโยชน์ มหกรรบสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรมนานาชาติ IPITEx การประกวดสิ่งประดิษฐ์ระดับเยาวชน I- New Gen Award 2025 การประกวดโครงงานนักประดิษฐ์รุ่นจิว I-New Gen Junior Award 2025 การเสวนา การฝึกอบรมเชิงวิชาการและปฏิบัติการ ตลาดสินค้าและนวัตกรรม กิจกรรมไฮไลท์ Look Like Learn "แวดล้อม แวดรู้" Inventions Inspired by Animals "ไอเดียจากสัตว์สู่นวัตกรรม" Thai Tourism Megatrends "ท่องเที่ยวไทยในยุค 5G" Botany Land "ดินแดนพฤกษศาสตร์" สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวขการอดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม 0 2579 1370 - 9 ต่อ 578, 525, 506 - 509 และ 08 0050 2181 สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ www.nrct.go.th reg.inventorsday@nrct.go.th
24 ม.ค. 2025