Category
ดีพร้อม โชว์ผลสำเร็จดึงแพลตฟอร์มตลาดออนไลน์ “Social Commerce” ตัวช่วยผู้ประกอบการยุคใหม่ กระตุ้นยอดขายกว่า 90 ล้านบาท
กรุงเทพฯ 24 มกราคม 2565 – นายณัฐพล รังสิตพล อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม แถลงผลสำเร็จกิจกรรมเพิ่มศักยภาพ e-Commerce ให้กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กสอ.) หรือ ดีพร้อม พร้อมโชว์สุดยอด 3 Success case ซึ่งมีความโดดเด่นในการนำความรู้ไปประยุกต์ใช้กับธุรกิจและมียอดขายเพิ่มขึ้นมากที่สุด ณ ห้องประชุมโซนเอ ชั้น 6 อาคารกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กสอ.) และในรูปแบบออนไลน์ผ่าน Facebook Live ทางเพจ Digital Dip โดยมีนายภาสกร ชัยรัตน์ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม นายวาที พีระวรานุพงศ์ ผู้อำนวยการกองพัฒนาดิจิทัลอุตสาหกรรม ผู้บริหารดีพร้อม ผู้ประกอบการที่เข้าร่วมกิจกรรมฯ และสื่อมวลชนเข้าร่วมแถลงข่าวในครั้งนี้ กิจกรรมเพิ่มศักยภาพ e-Commerce ให้ดีพร้อม ภายใต้ โครงการ D-พร้อมสู้ อยู่ได้ ไปรอด กับการตลาดออนไลน์ 2.0 ในยุคโควิด หรือ DIProm Social Commerce เป็นการมุ่งเน้นการยกระดับศักยภาพด้านการทำตลาดออนไลน์ให้กับผู้ประกอบการ 3 กลุ่มอุตสาหกรรม ได้แก่ อุตสาหกรรมเกษตรและอาหารแปรรูป อุตสาหกรรมแฟชั่น และอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ความงามและสุขภาพ โดยการพัฒนาทักษะด้านการขายสินค้าออนไลน์ให้แก่ผู้ประกอบการที่กำลังมองหาช่องทางการตลาดในรูปแบบของตลาดดิจิทัลที่มีการลงทุนต่ำและเหมาะสมกับสถานการณ์ในปัจจุบัน ผ่าน 4 กิจกรรมหลัก ได้แก่ 1. การจัดฝึกอบรมออนไลน์ด้านการจำหน่ายสินค้าผ่านช่องทาง Social Commerce โดยมีผู้สนใจเข้าร่วมทั้งสิ้นกว่า 6,000 คน 2. การให้คำปรึกษาแนะนำแบบกลุ่มผ่านออนไลน์แก่ผู้ประกอบการที่ผ่านการคัดเลือก จำนวนกว่า 600 คน 3. การทดสอบการทำตลาดแก่ผู้ประกอบการที่ผ่านการคัดเลือก จำนวนกว่า 300 คน ซึ่งผู้ประกอบการได้เรียนรู้วิธีการดึงความสนใจของผลิตภัณฑ์ การทำการตลาดแบบ Live สด พร้อมเทคนิคต่าง ๆ จากบุคคลที่มีชื่อเสียงในโซเชียลมีเดีย (Influencer Marketing) และ 4. การถ่ายทอดสด (Live สด) เป็นการจำหน่ายสินค้าให้แก่ผู้ประกอบการที่ผ่านการคัดเลือกเป็น Success Case จำนวนกว่า 60 คน โดยการ Live สด ผ่าน Facebook Live ทางแฟนเพจ Digital Dip และผู้ประกอบการได้มีการขายสินค้าจริงและเรียนรู้วิธีการบริหารจัดการหลังบ้านบนแพลตฟอร์มดังกล่าว ซึ่งนำมาสู่การคัดเลือกผู้ประกอบการสุดยอดต้นแบบแห่งการเรียนรู้และนำไปประยุกต์ใช้จนประสบความสำเร็จในระยะสั้น “สุดยอด Success Case” ดีเด่น จำนวน 3 คน โดยได้นำความรู้ไปประยุกต์ใช้กับธุรกิจและมียอดขายเพิ่มขึ้นมากที่สุด ได้แก่ 1. ASMA Halal Skincare Products ผู้ผลิตและจำหน่ายเครื่องสำอาง 2. ร้านมาดามอร ผู้จำหน่ายผลิตภัณฑ์ไส้กรอกอีสานสุขภาพแบบพร้อมทาน และ 3. Paweena Cloth&Craft ผู้จำหน่ายผ้าไทยและผ้าพื้นเมือง ทั้งนี้ โครงการดังกล่าว ยังแสดงให้เห็นว่าแพลตฟอร์มตลาดออนไลน์ Social Commerce เป็นเครื่องมือและช่องทางสำคัญที่ช่วยให้ผู้ประกอบการสามารถ อยู่รอด พร้อม โต ได้จริง โดยเห็นได้ชัดจากผลลัพธ์กว่าร้อยละ 70 ของผู้เข้าร่วมกิจกรรม มีมูลค่ายอดขายเพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่าร้อยละ 10 และกว่าร้อยละ 80 ของผู้เข้าร่วมกิจกรรม มีฐานลูกค้าที่เข้าถึงสินค้าเพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่าร้อยละ 10 เมื่อเปรียบเทียบกับก่อนเข้าร่วมกิจกรรม อีกทั้ง ยังทำให้เกิดการค้าเชื่อมโยงระหว่างผู้ชื้อและผู้ขายกระจายไปทั่วทุกภูมิภาค และสามารถสร้างรายได้ให้กับผู้ประกอบการที่เข้าร่วมโครงการฯ เพิ่มขึ้นกว่าร้อยละ 23 หรือคิดเป็นมูลค่าทางเศรษฐกิจกว่า 90 ล้านบาท ส่งผลให้การขับเคลื่อนเศรษฐกิจในภาพรวมของประเทศดีขึ้น ### PRDIProm (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม) รายงาน/ภาพข่าว
27 ม.ค. 2022
ดีพร้อม ออกสตาร์ทภาคธุรกิจ เปิดนโยบาย “ดีพร้อมแคร์” หนุนทุกปัจจัยการเติบโต คาดปี 65 สามารถสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจไม่น้อยกว่า 7,000 ลบ.
กรุงเทพฯ 26 มกราคม 2565 – นายณัฐพล รังสิตพล อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ให้เกียรติเป็นประธานแถลงนโยบาย “ดีพร้อมแคร์ : DIPROM CARE” ร่วมด้วย นายภาสกร ชัยรัตน์ นายเจตนิพิฐ รอดภัย และ นางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม คณะผู้บริหาร และเจ้าหน้าที่กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กสอ.) หรือ ดีพร้อม และสื่อมวลชน เข้าร่วมงาน ณ ห้องประชุมโซนบี ชั้น 6 อาคาร กสอ. และในรูปแบบออนไลน์ผ่านระบบ Zoom Meeting และ Facebook Live ใน Facebook Fanpage @DIPromindustry : กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม - DIProm (https://fb.watch/aMCpRUrSwn) นโยบาย “ดีพร้อมแคร์ : DIPROM CARE” เป็นแนวทางในการยกระดับและฟื้นฟูผู้ประกอบการหลังจากได้รับผลกระทบด้านเศรษฐกิจในช่วงที่ผ่านมา ด้วยการสำรวจปัญหาที่แท้จริง ศึกษาความต้องการ และรับฟังความคิดเห็นของผู้ประกอบการ เพื่อนำไปสู่การปรับเปลี่ยนการส่งเสริมและพัฒนาผู้ประกอบการให้ตอบโจทย์ความต้องการให้ในทุกมิติและสอดรับกับบริบททั้งในเชิงเศรษฐกิจและสังคมผ่านแนวทางการดำเนินงานในปีงบประมาณ 2565 ดังนี้ Customization การวิเคราะห์ปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีผลต่อการเติบโตทางธุรกิจ พร้อมทั้งสนับสนุนการทำแผนเศรษฐกิจอุตสาหกรรมในเชิงพื้นที่และจัดหาเครื่องมือที่เหมาะสมให้กับสถานประกอบการ Accessibility ขยายช่องทางการเข้าถึงความช่วยเหลือทั้งในส่วนของเครื่องมือ บุคลากรที่ให้คำปรึกษา รวมถึงโครงการต่าง ๆ Reformation การปฏิรูปกลไกการดำเนินงานในภาพรวมของทุกกิจกรรม/โครงการ และการดำเดินงานให้มีรูปแบบการทำงานที่สอดคล้องกับยุคเศรษฐกิจวิถีใหม่ Engagement การบูรณาการร่วมกับหน่วยงานภาคีเครือข่ายเพื่อช่วยสนับสนุนผู้ประกอบการให้มีการเติบโตที่ดียิ่งขึ้น ในรูปแบบต่าง ๆ ได้แก่ การแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ การเชื่อมโยงพันธมิตรเพื่อจัดกิจกรรมกระตุ้นเศรษฐกิจ ตลอดจนผสานความร่วมมือกับนานาชาติเพื่อร่วมพัฒนาภาคอุตสาหกรรมในไทยอีกด้วย ทั้งนี้ ในปี 2565 จะดำเนินงานภายใต้งบประมาณการทำงาน 527.68 ล้านบาท โดยตั้งเป้าพัฒนาศักยภาพบุคลากรในภาคธุรกิจอุตสาหกรรมไม่น้อยกว่า 16,000 ราย และคาดการณ์ว่าจะสามารถสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจไม่น้อยกว่า 7,000 ล้านบาท ### PR.DIProm (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม) รายงาน/ภาพข่าว
27 ม.ค. 2022
รับสมัคร บุคคลเพื่อจัดจ้างเป็นพนักงานจ้างเหมาบริการฯ จำนวน 1 อัตรา
รับสมัคร!!! บุคคลเพื่อจัดจ้างเป็นพนักงานจ้างเหมาบริการฯ จำนวน 1 อัตรา เงินเดือน 15,000 บาท สถานที่ปฏิบัติงาน: กองส่งเสริมผู้ประกอบการและธุรกิจใหม่ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กรุงเทพฯ รับสมัครตั้งแต่บัดนี้ - วันที่ 18 ก.พ. 65 ทดสอบและสัมภาษณ์: วันที่ 24-25 ก.พ. 65 ดาวน์โหลดรายละเอียดและใบสมัคร ส่งใบสมัครพร้อมหลักฐานมาที่ bs.group.dip@gmail.com (ส่งภายในวันที่ 18 ก.พ. 65) ติดต่อสอบถามเพิ่มเติม คุณสุวรัชต์ฯ 092-246-2137
26 ม.ค. 2022
ขอเชิญชวนท่านผู้ประกอบการ SMEs เข้าร่วมงานสัมมนาธุรกิจและจับคู่ธุรกิจ
ขอเชิญชวนท่านผู้ประกอบการ SMEs เข้าร่วมงานสัมมนาธุรกิจและจับคู่ธุรกิจ จัดโดย บริษัทเทรดดิ้งญี่ปุ่น Okata (Thailand) Co., Ltd. วันและเวลาจัดกิจกรรม วันอังคารที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2565 เวลา 14.00 – 15.30 น. ผ่านระบบออนไลน์ กำหนดการ กล่าวเปิดงาน โดย กระทรวงอุตสาหกรรมและบริษัท Okaya (Thailand) Co., Ltd. การนำเสนอเพื่อแนะนำบริษัท Okaya อธิบายรายละเอียดของงานจับคู่ธุรกิจ งานจับคู่ธุรกิจจะจัดผ่านการประชุมออนไลน์ตามความต้องการและตามวาระโอกาส ผู้เข้าร่วม : สมาชิก T-GoodTech สมาคมส่งเสริมการรับช่วงการผลิตไทย (THAISUBCON) และบุคคลทั่วไปที่สนใจ สามารถลงทะเบียนกิจกรรมได้ที่ **กรุณาสมัครทางออนไลน์ ก่อนวันศุกร์ที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565** โปรไฟล์ Okaya ก่อตั้งปี ค.ศ.1669 (353 ปี) ธุรกิจ : บริษัท Trading สำนักงานใหญ่ : เมืองนาโกย่า ประเทศญี่ปุ่น รายได้รวม : 8 พันล้าน USD จำนวนพนักงาน : 5,126 คน เครือข่ายทั่วโลก : 23 ประเทศ กลุ่มธุรกิจของ Okaya ได้แก่ ธุรกิจเหล็กและเหล็กกล้า เครื่องจักรและเคมี อิเล็กทรอนิกส์และวัสดุที่ไม่ใช่เหล็ก อสังหาริมทรัพย์และอาหาร ความต้องการในการจับคู่ธุรกิจ บริษัท Okaya สามารถให้การสนับสนุนกิจกรรมการค้าแก่บริษัทไทยที่เน้นการส่งออกและเป็นสะพานเชื่อมระหว่างบริษัทด้านเทคโนโลยีของไทยกับบริษัทสัญชาติญี่ปุ่น ติดต่อสอบถาม นายอิโนะอุเอะ เท็ทซึยะ (Mr. Tetsuya Inoue) SMRJ Representative (Thai-Japan SME Support) โทร 02-202-4592 อีเมล : Inoue-te@smrj.go.jp
25 ม.ค. 2022
Thai Digital School
แพลตฟอร์มเรียน-สอนออนไลน์ ฝีมือคนไทย
24 ม.ค. 2022