Category
"OTAGAI” ดีพร้อม ขานรับนโยบาย "รมต.เอกนัฏ" คิกออฟผู้ประกอบการไทยเร่งเสริมศักยภาพและเชื่อมโยงเครือข่าย กรุยทางธุรกิจ ไทย-ญี่ปุ่น สู่ตลาดสากล
กรุงเทพฯ 30 ตุลาคม 2567 – นางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม รักษาราชการแทน อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ให้การต้อนรับนายนากานิชิ มิตสึรุ (Mr. NAKANISHI Mitsuru) ประธานศูนย์ส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งมหานครโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น (Tokyo SME Support Center Japan) และคณะ พร้อมด้วย นางสาวนูมาจิริ ยูมิ (Ms. NUMAJIRI Yumi) ผู้ช่วยทูตพาณิชย์ สถานเอกอัครราชทูตญี่ปุ่นประจำประเทศไทย โดยมีนายวัชรุน จุ้ยจำลอง นางดวงดาว ขาวเจริญ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม คณะผู้บริหาร และเจ้าหน้าที่ดีพร้อม (DIPROM) เข้าร่วม ณ ห้องประชุม 301 ชั้น 3 อาคารกองพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยีอุตสาหกรรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ถนนพระรามที่ 4 นางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม รักษาราชการแทน อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กล่าวว่า ความร่วมมือกับกระทรวงเศรษฐกิจ การค้า และอุตสาหกรรม หรือ METI ที่ได้ร่วมลงนามใน MOU และแลกเปลี่ยนกรอบการทำงาน (Framework) ถึง 6 ครั้ง ระหว่างปี 2560 - ปัจจุบัน เพื่อพัฒนากลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมายที่ทั้งสองประเทศให้ความสำคัญผ่านโครงการต่าง ๆ เช่น LASI (Lean Automation System Integrator) LIPE (Lean IoT Plant Management and Execution) และ SMST (Smart Monodzukuri Support Team for Thailand) และ DXSP (Digital Transformation Service Provider) นอกจากนี้ ภาคอุตสาหกรรมต้องปรับตัวไปสู่ Industry 5.0 ซึ่งจะเน้นการทำงานระหว่างเทคโนโลยีกับคนมากขึ้น จึงจำเป็นที่ต้องมีการพัฒนาทักษะให้กับคนทุกระดับในองค์กร และนอกจากอุตสาหกรรมยานยนต์แล้วยังคำนึงถึงการปรับเปลี่ยนอุตสาหกรรม ตลอดจนอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพ เช่น Medical Hub Functional Food จึงเป็นโอกาสที่ดีที่จะได้ร่วมมือแลกเปลี่ยนองค์ความรู้และเทคโนโลยี ซึ่งเป็นเรื่องที่ญี่ปุ่นมีความเชี่ยวชาญ นางสาวณัฏฐิญา กล่าวเพิ่มเติมว่า ศูนย์ส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งมหานครโตเกียว (Tokyo SME Support Center) และดีพร้อม ได้สานต่อความร่วมมือและมีการจัดกิจกรรมร่วมกันมาโดยตลอด เพื่อการส่งเสริม สนับสนุน และพัฒนาอุตสาหกรรมและเชื่อมโยง SMEs ของไทยและโตเกียว โดยเมื่อวานนี้ วันที่ 29 ตุลาคม 2567 Tokyo SME Support Center ได้จัดงาน Tokyo-Thailand Green Tech Business Connecting 2024: Sustainability and Productivity เพื่อให้ข้อมูลเกี่ยวกับเทคโนโลยีด้านการเกษตรและอาหารที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม รวมถึงเสริมสร้างความร่วมมือระหว่างบริษัทญี่ปุ่นและไทยผ่านการสร้างเครือข่ายกับธุรกิจสตาร์ทอัพ เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและข้อมูลทางธุรกิจ รวมถึงนำเสนอแนวคิดเทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ ๆ ปัจจุบันภาคอุตสาหกรรมมีแนวโน้มปรับตัวไปสู่อุตสาหกรรมใหม่ เช่น อุตสาหกรรมยานยนต์เปลี่ยนไปสู่อุตสาหกรรมป้องกันประเทศ อุตสาหกรรมเครื่องมือแพทย์ ซึ่งทางประเทศญี่ปุ่นมีความเชี่ยวชาญ จึงเป็นโอกาสที่จะร่วมมือกันต่อไปในอนาคต นอกจากนี้ นางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม รักษาราชการแทน อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ได้ให้เกียรติเป็นประธานเปิดกิจกรรมการฝึกอบรมถ่ายทอดองค์ความรู้และยกระดับผู้ประกอบการไทยสู่ตลาดสากล” รุ่นที่ 1 ภายใต้โครงการพัฒนาศักยภาพและเชื่อมโยงเครือข่ายเพื่อโอกาสการขยายธุรกิจไทย – ญี่ปุ่น ตามแนวทาง OTAGAI (The OTAGAI Forum of TH – JP Business Network) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 เมื่อวันที่ 28 ตุลาคม ที่ผ่านมา เพื่อพัฒนาศักยภาพและเชื่อมโยงเครือข่ายเพื่อโอกาสการขยายธุรกิจไทย – ญี่ปุ่น ตามนโยบาย "ปฏิรูปอุตสาหกรรม" ของนายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ด้วยการสร้างความเท่าเทียมในการแข่งขันของ SME ไทย โดย “Save อุตสาหกรรมไทย” ซึ่งมีความสำคัญต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศ ซึ่งกิจกรรมตามแนวทาง OTAGAI เป็นการถ่ายทอดองค์ความรู้และเตรียมความพร้อมให้แก่ผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมยานยนต์ อาหารแปรรูป ซึ่งส่งเสริมให้เกิดการเชื่อมโยงเครือข่ายและขยายธุรกิจสู่ตลาดสากล นางสาวณัฏฐิญา กล่าวทิ้งท้าย
06 พ.ย. 2024
เชิญผู้ที่สนใจสมัครเข้าร่วมกิจกรรมการพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารจากซุปเปอร์ฟู้ด
มาแล้วสำหรับผู้ประกอบการที่สนใจอยากจะพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารจาก Super food ที่ตอบโจทย์ผู้บริโภคในสังคมโลกยุคปัจจุบัน กิจกรรมการพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารจากซุปเปอร์ฟู้ด (Super food - Super product) ภายใต้โครงการ : การยกระดับธุรกิจ SMEs ด้วยการประยุกต์ใช้โมเดลเศรษฐกิจ BCG ดำเนินการโดย : ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 7 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม คุณสมบัติผู้สมัคร ผู้ประกอบการ SMEs ภาคการผลิตอาหารแปรรูป ในพื้นที่จังหวัด อุบลราชธานี ยโสธร อำนาจเจริญ และศรีสะเกษ สิ่งที่จะได้รับภายในกิจกรรม องค์ความรู้ด้านเทคโนโลยี นวัตกรรม และงานวิจัย ที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ซุปเปอร์ฟู้ด การให้คำแนะนำเชิงลึกจากผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูงด้วยสารสำคัญจากอาหารซุปเปอร์ฟู้ด การวิเคราะห์และทดสอบคุณภาพผลิตภัณฑ์ ต้นแบบผลิตภัณฑ์ที่มีความพร้อมในการต่อยอดเชิงพาณิชย์ อยากรู้ว่า Super food คืออะไร ทำไมผลิตภัณฑ์ Super food ถึงกำลังเป็นที่นิยมจากผู้บริโภค สมัครเข้าร่วมกิจกรรมได้ที่ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม 08 2158 5052 (เกศกนก) ipc7.dip.go.th
04 พ.ย. 2024
เชิญสมัครเข้าร่วมกิจกรรม DIProm Creative Product
เชิญผู้ประกอบการที่สนใจสมัครเข้าร่วมกิจกรรม DIProm Creative Product สร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ ให้ดีพร้อม ประจำปีงบประมาณ ดำเนินการโดย : ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 7 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ผู้ประกอบแฟชั่นและไลฟ์สไตล์ อุตสาหกรรมสร้างสรรค์ที่ต้องการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ หรือต่อยอดผลิตภัณฑ์เดิม คุณสมบัติ วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs), OTOP (จดทะเบียนนิติบุคคล หรือทะเบียนพาณิชย์) ผู้ประกอบการ ในพื้นที่ อุบลราชธานี ศรีสะเกษ ยโสธร และอำนาจเจริญ ประโยชน์ที่ท่านจะได้รับ ผู้เชี่ยวชาญให้คำแนะนำ 4 ครั้ง การพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ หรือต่อยอดผลิตภัณฑ์เดิม ให้คำแนะนำด้านการตลาดเพื่อเพิ่มยอดขาย งบสนับสนุนการจัดทำตัวอย่างผลิตภัณฑ์ รับสมัครตั้งแต่วันนี้ จนถึง 25 พฤศจิกายน 2567 ฟรีไม่มีค่าใช้จ่าย สอบถามข้อมุลเพิ่มเติม 08 2151 9973 (ปริทัศน์)
04 พ.ย. 2024
เชิญเข้าร่วมกิจกรรมยกระดับสถานประกอบการด้วยการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีหุ่นยนต์ ระบบอัตโนมัติและดิจิทัล "เปลี่ยน" ให้ดีพร้อม
เปิดรับสมัครผู้ประกอบการภาคการผลิต ขนาดกลาง (M) หรือ ขนาดใหญ่ (L) เข้าร่วมกิจกรรมยกระดับสถานประกอบการด้วยการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีหุ่นยนต์ ระบบอัตโนมัติและดิจิทัล "เปลี่ยน" ให้ดีพร้อม ปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 ดำเนินการโดย : กองพัฒนาดิจิทัลอุตสาหกรรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ประยุกต์ใช้ระบบอัตโนมัติและเทคโนโลยีดิจิทัลในสถานประกอบการภาคการผลิตเพื่อเชื่อมโยงข้อมูลและการวิเคราะห์ผลอย่าง Real Time ทำให้เกิดการสร้างมูลค่าและยกระดับประสิทธิภาพการผลิตสู่อุตสาหกรรม 4.0 (Thailand i4.0 Index) สิ่งที่ท่านจะได้รับ ได้รับคำปรึกษาแนะนำเชิงลึกจากผู้เชียวชาญ จำนวน 90 ชั่วโมง/กิจการ ติดตั้งระบบอัตโนมัติและอุปกรณ์เทคโนโลยีดิจิทัล ณ สถานประกอบการ พัฒนาบุคลากรในสถานประกอบการให้มีความรู้ และความเข้าใจการออกแบบระบบงานดิจิทัล (IoT) รับจำนวนจำกัด ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป ฟรี สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม คุณจุฑารัตน์ พัฒน์เย็น 08 1245 4724 0 2430 6071 ต่อ 4
04 พ.ย. 2024
"เอกนัฏ" นำทีม "ดีพร้อม" ผนึกกำลัง "จังหวัดโทคุชิมะ" ลงนามความร่วมมือ ขับเคลื่อนอุตสาหกรรมยุคใหม่ ผลักดันเศรษฐกิจไทย-ญี่ปุ่นโตอย่างยั่งยืน
กรุงเทพฯ 31 ตุลาคม 2567 – นายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ให้เกียรติเป็นประธานในงานพิธีลงนามบันทึกความเข้าใจ (Memorandum of Understanding: MOU) ระหว่าง กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม หรือ ดีพร้อม (DIPROM) และจังหวัดโทคุชิมะ ประเทศญี่ปุ่น พร้อมด้วย นายโอตากะ มาซาโตะ เอกอัครราชทูตญี่ปุ่นประจำประเทศไทย นายณัฐพล รังสิตพล ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม นางสาวไพลิน เทียนสุวรรณ ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม นายพงศ์พล ยอดเมืองเจริญ เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม นายบรรจง สุกรีฑา รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม นางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม รักษาราชการแทน อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม นายโกโตดะ มาซาซูมิ ผู้ว่าราชการจังหวัดโทคุชิมะ ประเทศญี่ปุ่น นายวัชรุน จุ้ยจำลอง นางดวงดาว ขาวเจริญ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม คณะผู้บริหารจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องของทั้งสองประเทศ ผู้ประกอบการ และสื่อมวลชน ร่วมเป็นสักขีพยาน ณ ห้อง Ballroom 1 ชั้น 5 โรงแรม S31 กรุงเทพฯ นายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เร่งขับเคลื่อนนโยบาย “ปฏิรูปอุตสาหกรรม” มุ่งเซฟผู้ประกอบการไทยให้อยู่รอด และแข่งขันได้อย่างเท่าเทียม พร้อมสร้างอุตสาหกรรมเศรษฐกิจใหม่ เพื่อเชื่อมโยงเศรษฐกิจโลก ผ่านการลงนามบันทึกความเข้าใจ (MOU) ระหว่าง กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม หรือ ดีพร้อม (DIPROM) และจังหวัดโทคุชิมะ ประเทศญี่ปุ่น ผลักดันอุตสาหกรรมยุคใหม่ อีกทั้ง ยังได้จัดกิจกรรมเจรจาจับคู่ธุรกิจระหว่างภาคอุตสาหกรรมไทย–ญี่ปุ่น เพื่อยกระดับผู้ประกอบการไทยให้เติบโตได้ในตลาดสากล ผ่านการต่อยอดธุรกิจ และสร้างเครือข่ายและพันธมิตรทางการค้า คาดว่าจะสามารถสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจได้กว่า 1,000 ล้านบาท นายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า กระทรวงอุตสาหกรรม ตามนโยบายในการ “ปฏิรูปอุตสาหกรรม” การสร้างความเท่าเทียมในการแข่งขันของ SME ไทย สร้างอุตสาหกรรมใหม่ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม โดย “Save อุตสาหกรรมไทย” เพื่อรองรับการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจใหม่ ซึ่งมีความสำคัญต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศ โดยได้มอบหมายให้ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม หรือ ดีพร้อม (DIPROM) เร่งหาช่องทางขยายความร่วมมือกับหน่วยงานพันธมิตรทั้งในและต่างประเทศ ซึ่งจะเป็นอีกหนึ่งปัจจัยสำคัญที่จะช่วยให้ผู้ประกอบการไทยเติบโตต่อไปได้ในตลาดสากลอย่างมั่นคง เพื่อเชื่อมโยงเศรษฐกิจไทยสู่เศรษฐกิจโลก ด้าน นางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม รักษาราชการแทนอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กล่าวว่า กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม หรือ ดีพร้อม (DIPROM) มุ่งสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันในระดับสากล ควบคู่ไปกับการสร้างความเท่าเทียม สร้างรายได้ และสร้างโอกาสทางธุรกิจ เพื่อให้ผู้ประกอบการไทยมีความพร้อมเป็นส่วนหนึ่งของห่วงโซ่อุปทานโลก โดยพิธีลงนามบันทึกความเข้าใจ ระหว่าง “ดีพร้อม” และ “จังหวัดโทคุชิมะ” ที่จัดขึ้นในวันนี้ นับเป็นอีกหนึ่งความสำเร็จด้านความร่วมมือระหว่างประเทศ โดยเฉพาะกับประเทศญี่ปุ่น ที่เริ่มมีความร่วมมือตั้งแต่ปี พ.ศ. 2552 ทำให้เกิดการเชื่อมโยงเครือข่ายในภาคอุตสาหกรรม รวมไปถึงการถ่ายทอดองค์ความรู้และเทคโนโลยีต่าง ๆ ที่ช่วยสร้างรายได้ให้กับประเทศไทย และในวันนี้ ดีพร้อมได้มีความร่วมมือและเชื่อมโยงธุรกิจกับจังหวัดโทคุชิมะที่เป็นแหล่งพัฒนาเทคโนโลยีด้านเครื่องจักร เทคโนโลยีการเกษตร และเกษตรแปรรูป ซึ่งสอดรับกับนโยบายการปฏิรูปอุตสาหกรรม เกิดการเปลี่ยนผ่านจากอุตสาหกรรมเดิมสู่อุตสาหกรรมใหม่ อาทิ เกษตรอุตสาหกรรม เครื่องมือแพทย์ อุตสาหกรรมป้องกันประเทศ อาหารแห่งอนาคต ที่ล้วนเพิ่มมูลค่าให้เศรษฐกิจไทยได้ ซึ่งคาดว่าจากพิธีลงนามฯ ดังกล่าว จะสามารถสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจได้กว่า 1,000 ล้านบาท ด้านนายโกโตดะ มาซาซูมิ ผู้ว่าราชการจังหวัดโทคุชิมะ กล่าวเสริมว่า จังหวัดโทคุชิมะตั้งอยู่ในภูมิภาคชิโกกุ ซึ่งเป็น 1 ใน 4 เกาะ ที่ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของประเทศญี่ปุ่น ถือเป็นเกาะที่มีทรัพยากรธรรมชาติอุดมสมบูรณ์มาก ทำให้จังหวัดโทคุชิมะ มีความโดดเด่นในอุตสาหกรรมเกษตร ประมง และอาหารแปรรูป ตลอดจนอุตสาหกรรมเครื่องจักร ยานยนต์ และแบตเตอรี่ ซึ่งในวันนี้ ได้นำผู้ประกอบการรายใหญ่ของจังหวัดทั้งในอุตสาหกรรมเกษตรแปรรูป ยานยนต์ และเครื่องจักร หลายรายมาร่วมในกิจกรรมเจรจาจับคู่ธุรกิจเพื่อพัฒนาภาคอุตสาหกรรมไทย–ญี่ปุ่น โดยหวังว่าจะเป็นจุดเริ่มต้นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มแก่สินค้าและสร้างโอกาสทางธุรกิจร่วมกัน ตามที่ทั้งสองหน่วยงานมีความตั้งใจจะขับเคลื่อนภาคอุตสาหกรรมยุคใหม่ และทำให้เศรษฐกิจไทย-ญี่ปุ่นได้เติบโตควบคู่ไปด้วยกันได้อย่างสมดุล มั่นคง และยั่งยืน นายโกโตดะ กล่าวทิ้งท้าย
01 พ.ย. 2024
"ดีพร้อม" ปั้นทีม Agent ดีพร้อม Upskill / Reskill เสริมทักษะเติมทุนมนุษย์ในสถานประกอบการ SMEs ปั้นนักส่งเสริมมาตรฐานองค์กรผลิตภาพ สร้างความเสมอภาคให้ SMEs ตามที่ รมต.เอกนัฏ สั่งเซฟอุตสาหกรรม
กรุงเทพฯ 29 ตุลาคม 2567 - นางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม รักษาราชการแทนอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ให้เกียรติเป็นประธานเปิด “การส่งเสริมมาตรฐานองค์กรแห่งผลิตภาพ สร้างความสุขในสถานประกอบการให้ดีพร้อม (DIPROM)” ภายใต้การส่งเสริมสุขภาวะองค์กรในวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมตามแนวทางมาตรฐานองค์กรแห่งความสุข (SMEs Happy and Productive Workplace) โดยมี นายวัชรุน จุ้ยจำลอง รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรมกล่าวรายงาน พร้อมด้วยคณะผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ดีพร้อม เข้าร่วม ณ ห้องประชุม 1 ชั้น 3 อาคารกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (DIPROM Headquarter) และผ่านระบบออนไลน์ Zoom Meeting ตามนโยบาย "ปฏิรูปอุตสาหกรรม" ของนายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เซฟอุตสาหกรรมไทย โดย ดีพร้อม ได้บูรณาการกับสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ในการส่งเสริมมาตรฐานองค์กรแห่งผลิตภาพ สร้างความสุขในสถานประกอบการให้ดีพร้อม (DIPROM) ซึ่งขณะนี้ดำเนินการมาจนถึงระยะที่ 4 ซึ่งมีระยะเวลาดำเนินการระหว่าง เดือนสิงหาคม 2566 ถึงเดือนสิงหาคม 2569 งบประมาณสนับสนุนจาก สสส. จำนวน 16.4 ล้านบาท เพื่อส่งเสริมให้ผู้บริหารของสถานประกอบการมีความตระหนักถึงความสำคัญของการพัฒนาเพิ่มผลิตภาพในองค์กร โดยเน้นการส่งเสริมคุณภาพชีวิตบุคลากรในองค์กรด้วยแนวคิดองค์กรสุขภาวะ (Happy Workplace) และเพื่อผลักดันให้มาตรฐานองค์กรแห่งผลิตภาพถูกนำไปใช้ในงานส่งเสริมพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการ นอกจากนี้ รปอ.รก.อสอ. ณัฏฐิญา ยังมีความยินดี และเชื่อมั่นในหน่วยงานของดีพร้อมว่ามีบุคลากรที่มีความพร้อมในการเรียนรู้ Upskill / Reskill เสริมทักษะเติมทุนมนุษย์ในสถานประกอบการ SMEs สามารถประเมิน และรับรองสถานประกอบการสู่การรับรองมาตรฐานองค์กรผลิตภาพได้ พร้อมเน้นย้ำให้เจ้าหน้าที่ดีพร้อมมีความตระหนักในประโยชน์ของการนำแนวทางการดำเนินงานให้เป็นองค์กรผลิตภาพสร้างความเสมอภาคให้ SMEs และต่อยอดสู่ระดับนโยบายของดีพร้อม เพื่อให้เกิดความยั่งยืนในการพัฒนาคุณภาพชีวิต สุขภาพ และความสุขของคนทำงานในสถานประกอบการอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน ทั้งนี้ รูปแบบการฝึกอบรมเป็นการบรรยายและ Workshop ผ่านระบบออนไลน์ Zoom Meeting โดยได้รับเกียรติจาก รองศาสตราจารย์ ดร.อธิวัฒน์ เจี่ยวิวรรธน์กุล รองผู้อำนวยการฝ่ายบริหาร สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล โดยจัดขึ้นระหว่างวันที่ 29 – 30 ตุลาคม 2567 และมีเจ้าหน้าที่ดีพร้อมจากทั้งในหน่วยงานส่วนกลางและส่วนภูมิภาคเข้าร่วมกว่า 200 คน
01 พ.ย. 2024
"ซอฟต์พาวเวอร์อย่างไร ให้ดีพร้อม" รับโจทย์ "รมต.เอกนัฏ" ตีแผ่แผนบูรณาการพัฒนาซอฟต์พาวเวอร์ด้านแฟชั่นและอาหารไทย ปั้นกระแส เผยแพร่ โน้มน้าว
กรุงเทพฯ 29 ตุลาคม 2567 – นางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม รักษาราชการแทน อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ให้เกียรติเป็นประธานในการประชุมชี้แจงแนวทางการดำเนินงานโครงการ Soft Power ของกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 ร่วมด้วย นายวัชรุน จุ้ยจำลอง นางดวงดาว ขาวเจริญ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม คณะผู้บริหาร และเจ้าหน้าที่ดีพร้อม (DIPROM) เข้าร่วม ณ ห้องประชุม 1 ชั้น 6 อาคารกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (DIPROM Headquarter) และในรูปแบบออนไลน์ผ่านแอปพลิเคชั่น Zoom Meeting การประชุมดังกล่าว จัดขึ้นเพื่อกำหนดแนวทางการดำเนินโครงการส่งเสริมซอฟต์พาวเวอร์สาขาอาหาร และสาขาแฟชั่น เป็นไปในทิศทางเดียวกันอย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผลสอดคล้องกับนโยบายของ นายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ในการพัฒนาเศรษฐกิจเชิงรุก "ปฏิรูปอุตสาหกรรม" เซฟพี่น้องอุตสาหกรรมไทย สร้างความเท่าเทียม สร้างรายได้ สร้างโอกาสในการแข่งขันทางธุรกิจ โดยมีเป้าหมายในการส่งเสริมวัฒนธรรม ธุรกิจ และความเป็นไทยให้ก้าวสู่ Soft Power ในระดับสากล เพื่อการสร้างมูลค่าเพิ่มของสินค้าและบริการของประเทศไทย โดยแนวทางการสร้างซอฟต์พาวเวอร์ของกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม มุ่ง “สร้างสรรค์ และต่อยอด” ให้เกิดเสน่ห์คุณค่าและเพิ่มมูลค่า แตกต่างด้วยอัตลักษณ์และทุนทางวัฒนธรรม เพิ่มทักษะ เทคนิคเชิงสร้างสรรค์ เพื่อต่อยอดสร้างคุณค่าให้กับสินค้าและบริการ พัฒนาคุณภาพสินค้าและบริการเพื่อเพิ่มมูลค่า “โน้มน้าว” ให้เกิดการยอมรับเปิดใจ สร้างการยอมรับผ่านการรับรองมาตรฐานทั้งไทยและสากล ชักจูงให้เปิดใจผ่านการสร้างการรับรู้และส่งเสริมภาพลักษณ์ให้เข้าถึงกลุ่มเป้าหมาย กระตุ้นความต้องการผ่านการถ่ายทอดของผู้ที่มีชื่อเสียง และ “เผยแพร่” ให้เป็นที่รู้จักผ่านการจัดอีเวนท์ทั้งในประเทศและต่างประเทศ งานเทศกาลประจำปีของไทย ตลอดจนสื่อประชาสัมพันธ์อื่น ๆ เช่น Social Media ในปีงบประมาณ 2568 ดีพร้อมได้วางแผนการดำเนินการทั้งสิ้น 7 โครงการ โดยโครงการส่งเสริมซอฟต์พาวเวอร์ สาขาอาหาร ประกอบด้วย 1) การยกระดับหนึ่งหมู่บ้านหนึ่งเชฟอาหารไทย 2) การพัฒนาร้านอาหารเชฟชุมชน อาหารถิ่นอาหารไทย 3) การยกระดับศูนย์นวัตกรรมอาหารชุมชน 4) การส่งเสริมการใช้นวัตกรรมเพื่อยกระดับอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่มไทยสู่ตลาดโลกอย่างยั่งยืน ส่วนโครงการส่งเสริมซอฟต์พาวเวอร์ สาขาแฟชั่น ประกอบด้วย 1) การพัฒนาและเชื่อมโยงเครือข่ายบุคลากรอุตสาหกรรมแฟชั่น 2) การส่งเสริมภาพลักษณ์สินค้าแฟชั่นจากทุนทางวัฒนธรรมไทยสู่สากล และ 3) การเชื่อมโยงและแลกเปลี่ยนองค์ความรู้แฟชั่นและหัตถกรรมสิ่งทอระหว่างประเทศ
01 พ.ย. 2024
เชิญสมัครเข้าร่วมกิจกรรม สร้างภูมิคุ้มกันอย่างไร เมื่อหมดไฟ (burnout) ในการทำงาน
เชิญผู้ที่สนใจสมัครเข้าร่วมอบรมหลักสูตร สร้างภูมิคุ้มกันอย่างไร เมื่อหมดไฟ (burnout) ในการทำงาน ดำเนินการโดย : ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 9 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรมร่วมกับ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) วันอังคารที่ 26 พ.ย. 2567 เวลา 08.30 - 16.00 น. ณ อาคารอำนวยการศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 9 จังหวัดชลบุรี รับสมัครสถานประกอบการ 5 กิจการ กิจการละ 8 คนเท่านั้น เปิดรับสมัครตั้งแต่วันนี้ ถึงวันที่ 22 พ.ย. 2567 สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม นางฐิติมา ทองเจริญ (08 9251 2516) นางสาวปัทมา โพธิ์ศรี (06 2683 2992)
01 พ.ย. 2024
เชิญเข้าร่วมกิจกรรม ดีพร้อมพัฒนาและยกระดับบุคลากรด้านเทคโนโลยีหุ่นยนต์ระบบอัตโนมัติและดิจิทัล
เชิญผู้ที่สนใจสมัครเข้าร่วมกิจกรรม ดีพร้อมพัฒนาและยกระดับบุคลากรด้านเทคโนโลยีหุ่นยนต์ระบบอัตโนมัติและดิจิทัล ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 ดำเนินการโดย : กองพัฒนาดิจิทัลอุตสาหกรรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ขอเชิญชวน : บุคลากรในภาคอุตสาหกรรมสมัครเข้าร่วมกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการ จำนวน 90 ชั่วโมง Data Engineer : หลักสูตรอาชีพผู้ปฏิบัติงานด้านวิศวกรรมข้อมูล (Data Engineer) ในสถานประกอบการเพื่อการบูรณาการระบบอุตสาหกรรมดิจิทัลผู้เข้าร่วมสามารถประเมินความพร้อมขององค์กรและเสนอแนวทางการแก้ไขปัญหา การบูรณาการระบบอุตสาหกรรมดิจิทัลตามตัวชี้วัด Thailand i4.0 Index เข้าช่วยเพิ่มผลิตภาพในสถานประกอบการ และได้รับการสนับสนุนต่อยอดสู่การรับรองสมรรถนะสาขาวิชาชีพอุตสาหกรรมดิจิทัลของสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ (TPQI) สิ่งที่จะได้รับ ได้รับการอบรมเชิงปฏิบัติการ จำนวน 90 ชั่วโมง ใบประกาศจากกรมส่งเสริมอุตสาหกรรมและใบรับรองคุณวุฒิของสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ (TPQI) พัฒนาบุคลากรในสถานประกอบการให้มีความรู้และความเข้าใจการบูรณาการระบบดิจิทัลในอุตสาหกรรม เปิดรับสมัครตั้งแต่วันนี้ - 30 พฤศจิกายน 2567 สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม คุณกษิดิส เลาหะจินดา 08 1245 4724 0 2430 6071 ต่อ 4
01 พ.ย. 2024
เชิญผู้ที่สนใจสมัครเข้าร่วมกิจกรรม บูรณาการระบบและข้อมูลการผลิตให้ดีพร้อมด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล
เปิดรับสมัครผู้ประกอบการภาคการผลิตเข้าร่วมกิจกรรม บูรณาการระบบและข้อมูลการผลิตให้ดีพร้อมด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล (Data Integration) ดำเนินการโดย : กองพัฒนาดิจิทัลอุตสาหกรรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม เพื่อส่งเสริม สนับสนุน และพัฒนาสถานประกอบการให้มีศักยภาพสูงขึ้นด้วยการบูรณาการใช้และแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างลำดับชั้นภายในองค์กร หรือการใช้ประโยชน์จากข้อมูลการทำงานของเครื่องจักร /อุปกรณ์/เครื่องมือในกระบวนการผลิตพร้อมยกระดับประสิทธิภาพการผลิตสู่อุตสาหกรรม 4.0 (Thailand i4.0 Index) สิ่งที่ท่านจะได้รับ ให้คำปรึกษาแนะนำเชิงลึก ณ สถานประกอบการจำนวน 4 ครั้ง หรือ 24 ชั่วโมง/กิจการ ปรับปรุงขั้นตอนการทำงาน (Improvement) ด้วยเครื่องมือเทคโนโลยีดิจิทัลทำให้ การเก็บ / วิเคราะห์ / การดำเนินการตัดสินใจมีความยืดหยุ่นสามารถประมวลผลข้อมูลได้อย่างทันท่วงที (Real time) โดยการติดตั้งโปรแกรมและการอบรมการใช้งาน จำนวน 1 Set/กิจการ รับจำนวนจำกัด ฟรี ตั้งแต่วันนี้ - 30 พฤศจิกายน 2567 สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม คุณกษิดิส เลาหะจินดา 08 1245 4724 0 2430 6071 ต่อ 4
01 พ.ย. 2024