Category
"ดีพร้อม" เดินหน้าจัดงานสุดยิ่งใหญ่ The Prime Minister’s Industry Award 2024 พร้อมร่วม “สู้ เซฟ สร้าง ปฏิรูปอุตสาหกรรมไทย ด้วยหัวและใจ” ตามนโยบาย "รมต. เอกนัฏ"
กรุงเทพฯ 15 ตุลาคม 2567 - นางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม รักษาราชการแทน อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ให้เกียรติเป็นประธานการประชุมคณะทำงานจัดงานรางวัลอุตสาหกรรม ประจำปี พ.ศ. 2567 ครั้งที่ 1/2567 พร้อมด้วย คณะทำงานฯ และเจ้าหน้าที่จากกระทรวงอุตสาหกรรม ณ ห้องประชุม 3 ชั้น 3 อาคารกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (DIPROM Headquarter) การประชุมดังกล่าว เป็นการเตรียมการจัดงานพิธีมอบรางวัลอุตสาหกรรม ประจำปี พ.ศ. 2567 ภายใต้นโยบาย "การปฏิรูปอุตสาหกรรม สู่เศรษฐกิจยุคใหม่" ของนายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เชื่อมกับนโยบาย “อุตสาหกรรมเศรษฐกิจที่เติบโตอย่างยั่งยืนคู่ชุมชน” ผ่านการขับเคลื่อน 4 มิติ ภายใต้แนวคิด MIND ใช้ “หัวและใจ” ในการเดินหน้าสร้างความเท่าเทียมในการแข่งขันของ SME ไทย โดย “Save อุตสาหกรรมไทย” พร้อม "สร้างอุตสาหกรรมเศรษฐกิจใหม่ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม” เพื่อรองรับการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจใหม่ เพิ่มโอกาสและส่งเสริมสถานประกอบการให้ความสำคัญกับการพัฒนาอุตสาหกรรมที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม มีความปลอดภัยในการประกอบกิจการ มีความรับผิดชอบต่อสังคม นำไปสู่การอยู่ร่วมกันระหว่างโรงงานอุตสาหกรรม สังคม และชุมชนที่อยู่โดยรอบอย่างยั่งยืน ทั้งนี้ กระทรวงอุตสาหกรรมเตรียมจัดงานมอบรางวัลอุตสาหกรรม ประจำปี พ.ศ. 2567 (The Prime Minister’s Industry Award 2024) ในช่วงเดือนธันวาคม 2567 ณ ตึกสันติไมตรี ทำเนียบรัฐบาล โดยได้รับเกียรติจากนายกรัฐมนตรี เป็นประธานมอบรางวัลให้แก่สถานประกอบการที่มีความเป็นเลิศ ทั้งในด้านการเพิ่มผลผลิต คุณภาพ ความปลอดภัย การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและพลังงาน โลจิสติกส์และโซ่อุปทาน อุตสาหกรรมและบริการแห่งอนาคต ความรับผิดชอบต่อสังคม เศรษฐกิจหมุนเวียน รวมถึงการพัฒนานวัตกรรมสร้างสรรค์ที่เป็นประโยชน์ต่อภาคอุตสาหกรรมโดยรวมของประเทศ นอกจากนี้ ยังเป็นการสร้างขวัญและกำลังใจให้กับผู้ประกอบการที่พัฒนานวัตกรรมสร้างสรรค์ที่เป็นประโยชน์ต่อภาคอุตสาหกรรมโดยรวมของประเทศ
16 ต.ค. 2024
เซฟ SME ด้ามขวาน "เอกนัฏ" นำ ก.อุตฯ เยือน ตรัง-พัทลุง ต่อยอดหัตถกรรมและอุตสาหกรรมท้องถิ่น โชว์อัตลักษณ์ ยกระดับซอฟต์พาวเวอร์ภาคใต้
นายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม พร้อมด้วย นายณัฐพล รังสิตพล ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม นางสาวไพลิน เทียนสุวรรณ ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม นายพงศ์พล ยอดเมืองเจริญ เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมและโฆษกกระทรวงอุตสาหกรรม นายเอกนิติ รมยานนท์ ผู้ตรวจราชการกระทรวงอุตสาหกรรม นางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม รักษาราชการแทน อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม นางดวงดาว ขาวเจริญ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม นายพิชิต มิทราวงศ์ กรรมการผู้จัดการธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย และคณะผู้บริหารกระทรวงอุตสาหกรรม ลงพื้นที่เยี่ยมชมสถานประกอบการ SME จังหวัดตรังและจังหวัดพัทลุง เพื่อสนับสนุนการเติบโตของอุตสาหกรรมท้องถิ่น ต่อยอดผลิตภัณฑ์ชุมชน และพัฒนาเศรษฐกิจในภูมิภาค ยกระดับให้เป็นซอฟต์พาวเวอร์ มุ่งเน้นด้านอาหารและหัตถกรรม พร้อมทั้งรับฟังความคิดเห็นจากผู้ประกอบการเพื่อขับเคลื่อนนโยบายการพัฒนาอุตสาหกรรมที่สอดคล้องกับการ “ปฏิรูปอุตสาหกรรม” ให้ความสำคัญ “Save อุตสาหกรรมไทย” เพื่อส่งเสริมการเติบโตของอุตสาหกรรมท้องถิ่นและต่อยอดผลิตภัณฑ์ชุมชน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ได้เน้นย้ำถึงบทบาทของธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ธพว.) โดยร่วมกับกองทุนพัฒนาเอสเอ็มอีตามแนวประชารัฐ ที่สนับสนุนให้ความช่วยเหลือด้านเงินทุนแก่ผู้ประกอบการ SME โดยเฉพาะอย่างยิ่งการปล่อยสินเชื่อในอัตราดอกเบี้ยต่ำ เงื่อนไขผ่อนปรน ผ่านโครงการต่าง ๆ เช่น สินเชื่อเพื่อเพิ่มขีดความสามารถทางธุรกิจ (เสือติดปีก) และ สินเชื่อเสริมสภาพคล่องธุรกิจ (คงกระพัน) วงเงินกู้รวม 1,900 ล้านบาท เพื่อให้ SMEs เข้าถึงแหล่งทุนและพัฒนาธุรกิจได้อย่างยั่งยืน สำหรับการลงพื้นที่ในครั้งนี้คณะฯ ได้เยี่ยมชมร้าน กวนนิโตพาทิสเซอรี (KUANITO Patisserie) ในจังหวัดตรัง ซึ่งเป็นตัวอย่างของธุรกิจที่ประสบความสำเร็จในการผสมผสานวัตถุดิบท้องถิ่นกับเทคนิคการทำขนมแบบฝรั่งเศส โดยได้รับการสนับสนุนจากกองทุนพัฒนาเอสเอ็มอีตามแนวประชารัฐ ผ่านโครงการสินเชื่อเอสเอ็มอีคนตัวเล็ก ให้สามารถขยายธุรกิจได้อย่างรวดเร็วและดึงดูดลูกค้าจากทั่วประเทศ นับเป็นตัวอย่างที่ดีของการนำวัฒนธรรมและวัตถุดิบท้องถิ่นมาสร้างสรรค์เป็นผลิตภัณฑ์ที่มีเอกลักษณ์และสามารถแข่งขันในตลาดระดับสากลได้ จากนั้น ได้เยี่ยมชมโรงงานแปรรูปไก่ของ บริษัท เบทาโกรเกษตรอุตสาหกรรม จำกัด ในจังหวัดพัทลุง เป็นบริษัทอาหารชั้นนำระดับสากล มีการส่งออกผลิตภัณฑ์เนื้อไก่แช่แข็งไปยังหลายประเทศ เช่น มาเลเซีย ญี่ปุ่น และสหภาพยุโรป และมีการใช้แนวคิดตามหลัก ESG (Environment Social and Governance) ที่ครอบคลุมด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และบรรษัทภิบาล ให้แก่ผู้มีส่วนได้เสียตลอดห่วงโซ่อุปทาน โดยวางหลักการทำงานว่าธุรกิจจะเติบโตอย่างยั่งยืนได้ ต้องพัฒนาชุมชนและสังคมให้เติบโตไปพร้อมกัน เพื่อตอบสนองต่อเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนขององค์การสหประชาชาติ (United Nations Sustainable Development Goals: SDGs) และยังได้เยี่ยมชมหัตถกรรมกระจูดวรรณี & โฮมสเตย์ จังหวัดพัทลุง ซึ่งเป็นศูนย์กลางการผลิตงานหัตถกรรมกระจูดที่มีชื่อเสียงระดับประเทศ โดยได้ร่วมมือกับหน่วยงานต่าง ๆ ในการขยายตลาดผ่านช่องทางออนไลน์ และได้รับการสนับสนุนด้านเงินทุนเพื่อใช้ในการจัดหาเครื่องจักรและเทคโนโลยีที่ทันสมัย "การสนับสนุนให้เข้าถึงแหล่งเงินทุน เสริมสภาพคล่องทางธุรกิจให้สามารถต่อยอดธุรกิจและสามารถแข่งขันได้ ถือเป็นรากฐานสำคัญในการสร้างความเข้มแข็งให้กับเศรษฐกิจของประเทศ ด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์ระดับภูมิภาคโดยการนำเอกลักษณ์ท้องถิ่นไปสู่ระดับสากล เป็นการสร้างงานสร้างรายได้ที่มั่นคงให้กับชุมชนสู่เศรษฐกิจที่เติบโตอย่างยั่งยืน กระทรวงอุตสาหกรรม ยินดีให้การสนับสนุนในการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนให้แข็งแกร่งและยั่งยืน ผ่านความร่วมมือจากภาครัฐ ภาคเอกชน และชุมชน เสริมและเพิ่มศักยภาพให้อุตสาหกรรมท้องถิ่น การแปรรูปอาหาร การท่องเที่ยวเชิงอุตสาหกรรม ผลักดันไปสู่ชอฟต์พาวเวอร์ในพื้นที่ภาคใต้ ตามนโยบาย “ปฏิรูปอุตสาหกรรม” ที่ให้ความสำคัญ “Save อุตสาหกรรมไทย” อย่างยั่งยืน และสอดรับกับนโยบายรัฐบาลในการสนับสนุนการพัฒนาชุมชนและเศรษฐกิจท้องถิ่นให้เติบโตอย่างมั่นคงต่อไป" นายเอกนัฏกล่าวทิ้งท้าย
15 ต.ค. 2024
ปลัดฯ ณัฐพล ตรวจเยี่ยม สอจ.ประจวบคีรีขันธ์ แนะทำงานให้สอดรับกับนโยบายปฏิรูปอุตสาหกรรม พร้อมชื่นชมเจ้าหน้าที่ใช้ “หัว” และ “ใจ” ในการปฏิบัติงานสู่ต้นแบบ Smart Office
10 ตุลาคม 2567 ดร.ณัฐพล รังสิตพล ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมสำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ (สอจ.ประจวบคีรีขันธ์) พร้อมด้วย นายศุภกิจ บุญศิริ ผู้ตรวจราชการกระทรวงอุตสาหกรรม รักษาราชการแทน รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม นายเดชา จาตุธนานันท์ ผู้ตรวจราชการกระทรวงอุตสาหกรรม นายใบน้อย สุวรรณชาตรี รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม รักษาราชการแทน เลขาธิการคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย นางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม รักษาราชการแทนอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม นางสาวณิรดา วิสุทธิชาติธาดา ผู้ช่วยปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม นายเตมีย์ พันธุ์วงค์ราช ผู้อำนวยการกองตรวจราชการ นางสาวชลาริน นิลพิฤกษ์ ผู้อำนวยการกองกลาง นายทินวัฒน์ แก้วสวี ผู้อำนวยการกองยุทธศาสตร์และแผนงาน สำนักงานปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม ร่วมลงพื้นที่ โดยมีอุตสาหกรรมจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ข้าราชการ พนักงาน และเจ้าหน้าที่ให้การต้อนรับ โดยปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม เน้นย้ำให้เจ้าหน้าที่ของสำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดประจวบคีรีขันธ์มุ่งขับเคลื่อนการดำเนินงานตามนโยบาย "การปฏิรูปอุตสาหกรรม สู่เศรษฐกิจยุคใหม่ ทันสมัย สะอาด สะดวก โปร่งใส 3 ปฏิรูป 3 แนวทาง" การปฏิรูปที่ 1 ”การจัดการกาก สารพิษ ที่ทำร้ายชีวิตประชาชน” การปฏิรูปที่ 2 “Save อุตสาหกรรมไทย” สร้างความเท่าเทียมในการแข่งขันของ SMEs การปฏิรูปที่ 3 “การสร้างอุตสาหกรรมเศรษฐกิจใหม่” ของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม (นายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์) พร้อมชื่นชมเจ้าหน้าที่สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ที่ใช้ “หัว” และ “ใจ” ในการร่วมแรงร่วมใจพัฒนาและยกระดับสำนักงานสู่การเป็น Smart Office ต้นแบบให้กับสำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดทั่วประเทศ ที่พร้อมให้บริการผู้ประกอบการและประชาชนได้อย่างเต็มศักยภาพ
15 ต.ค. 2024
ปลัดฯ ณัฐพล ประชุมติดตามสถานการณ์อุทกภัย กำชับหน่วยงาน อก. เร่งเข้าช่วยเหลือประชาชน-โรงงาน สอจ. และศูนย์ฯ ที่น้ำท่วม พร้อมเตรียมแผนรับมือนิคมอุตสาหกรรมและเขตประกอบการอย่างใกล้ชิด
กรุงเทพฯ 9 ตุลาคม 2567 - นายณัฐพล รังสิตพล ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม ประชุมติดตามและรับมือสถานการณ์อุทกภัย โดยมีนายศุภกิจ บุญศิริ ผู้ตรวจราชการกระทรวงอุตสาหกรรม รักษาราชการแทนรองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม นางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม รักษาราชการแทนอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม นายเอกนิติ รมยานนท์ ผู้ตรวจราชการกระทรวงอุตสาหกรรม นายพิชิต มิทราวงศ์ กรรมการผู้จัดการ ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย นายวัชรุน จุ้ยจำลอง นางดวงดาว ขาวเจริญ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ผู้บริหารกระทรวงอุตสาหกรรม อุตสาหกรรมจังหวัดทั่วประเทศ ร่วมประชุม ณ ห้องประชุมชุณหะวัณ และผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (zoom) โดยที่ประชุมได้มีการรายงานสถานการณ์ผลกระทบจากอุทกภัย ซึ่งมีโรงงานที่ได้รับผลกระทบใน 22 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดเชียงราย เชียงใหม่ ตรัง ตราด นครพนม นครสวรรค์ น่าน บึงกาฬ พะเยา พิจิตร เพชรบุรี เพชรบูรณ์ แพร่ ภูเก็ต มหาสารคาม แม่ฮ่องสอน ลำปาง เลย สตูล สุโขทัย หนองคาย และอุดรธานี สถานประกอบการได้รับผลกระทบ 138 แห่ง มูลค่าความเสียหายรวมกว่า 36 ล้านบาท และทางสำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัด (สอจ.) ที่ได้ผลกระทบจากอุทกภัย ได้แก่ สอจ.น่าน สอจ.เชียงราย ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 1 เชียงใหม่ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กสอ.) ศูนย์วิจัยและเตือนภัยมลพิษโรงงานภาคเหนือ กรมโรงงานอุตสาหกรรม (กรอ.) ทั้งนี้ สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ หรือ สทนช. ได้รายงานสถานการณ์มวลน้ำเหนือไหลลงมาสมทบกับสถานการณ์น้ำทะเลหนุนระหว่างวันที่ 13 - 24 ตุลาคม 2567 ทำให้พื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยาต้องเฝ้าระวังและติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด อีกทั้ง จากการพยากรณ์อากาศ 7 วันล่วงหน้า คาดการณ์ว่าจะมีฝนตกหนักทางภาคใต้ ซึ่งต้องเฝ้าระวังและเตรียมรับมือกับสถานการณ์ที่อาจจะส่งผลกระทบต่อไป ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวว่า ด้วยสถานการณ์อุทกภัยและรายงานสถานการณ์น้ำของ สทนช. ขอให้ทาง สอจ. กำชับแจ้งเตือนสถานประกอบการให้ปฏิบัติตามแนวทางการป้องกันอุทกภัยในโรงงานอุตสาหกรรม ตามแผนป้องกันและแก้ไขภัยพิบัติกรณีเกิดอุทกภัยเพื่อรองรับเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้น ของ กรอ. เพื่อป้องกันหรือบรรเทาความรุนแรง และความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นต่อชีวิตและทรัพย์สิน อาคารโรงงาน เครื่องจักร อุปกรณ์ และระบบไฟฟ้า และขอให้ทุกหน่วยงานติดตามสถานการณ์น้ำท่วมอย่างใกล้ชิด พร้อมลงพื้นที่ตรวจติดตามนิคมอุตสาหกรรม และเขตประกอบการที่สำคัญ นอกจากนี้ ยังได้กำชับให้ สอจ.ที่อยู่ใกล้เคียงพื้นที่ประสบอุทกภัยร่วมแรงร่วมใจเข้าไปช่วยเหลือประชาชนและหน่วยงานของ อก. ที่เกิดน้ำท่วม เพื่อบรรเทาเหตุและฟื้นฟูพื้นที่ให้กลับเข้าสู่สภาพเดิมโดยเร็วที่สุด
15 ต.ค. 2024
"รมต.เอกนัฏ" สั่งดีพร้อม ตอบโจทย์ความต้องการของประเทศเพื่อสร้างอุตสาหกรรมเศรษฐกิจเป้าหมาย พร้อมสนับสนุน Supply Chain ที่มีศักยภาพสูง
กรุงเทพฯ 9 ตุลาคม 2567 - นางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม รักษาราชการแทน อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ให้เกียรติเป็นประธานการประชุมแนวทางการบูรณาการร่วมกับสมาคมส่งเสริมการรับช่วงการผลิตไทย (Thai Subcontracting Promotion Association หรือ Thai subcon) พร้อมด้วย นายชนินทร์ ขาวจันทร์ นายกสมาคมส่งเสริมการรับช่วงการผลิตไทย และอดีตรองเลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) นายเกียรติศักดิ์ จิระขจรวงศ์ ผู้แทนสมาคม นายชาญชัย ตั้งธรรมพูนพล อุปนายกสมาคม นายพัฒนศักดิ์ แสนสมรส อุปนายกสมาคม นายสมภพ เกลียวสัมพันธ์อุปนายกสมาคม ประธานคลัสเตอร์ AI-Digital and Automation System Cluster (AI-DA) นายสมโภชน์ โมกมี เลขาธิการสมาคม นางสาววรรษมน ชยาภัม กรรมการสมาคม หัวหน้าฝ่ายทะเบียนและสิทธิประโยชน์สมาชิก และคณะผู้แทนจากสมาคมฯ นายมนตรี วงค์มั่นกิจการ ผู้อำนวยการกองพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยีอุตสาหกรรม คณะผู้บริหาร และเจ้าหน้าที่ดีพร้อม (DIPROM) ณ ห้องประชุม อก.2 ชั้น 3 อาคารสำนักงานปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม สมาคมส่งเสริมการรับช่วงการผลิตไทย (Thai subcon) แรกเริ่มเกิดขึ้นจากการรวมกลุ่มของผู้ผลิตชิ้นส่วนยานต์และเครื่องใช้ไฟฟ้า ซึ่งปัจจุบันมีสมาชิกมากกว่า 500 บริษัท ได้แบ่งกลุ่มสมาชิกตามประเภทวัตถุดิบและกระบวนการผลิต คือ เหล็ก ยางและพลาสติก อิเล็กทรอนิกส์ และอื่น ๆ โดยแบ่งย่อยตามกลุ่มอุตสาหกรรมอีกกว่า 20 กลุ่มอุตสาหกรรม และได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐในการรวมกลุ่มคลัสเตอร์อีก 4 กลุ่ม ได้แก่ คลัสเตอร์อุตสาหกรรมระบบอัตโนมัติ อุตสาหกรรมการบิน อุตสาหกรรมการแพทย์และอุตสาหกรรมระบบราง มีเป้าหมายในการพัฒนาสมาชิกให้สามารถ Transform เข้าสู่อุตสาหกรรม S – Curve ให้ได้เพิ่มขึ้น ซึ่งในอนาคตมีเป้าหมายในการพัฒนาสมาชิกให้มีศักยภาพ มาตรฐานสากล และสามารถก้าวเป็นผู้นำในการรับช่วงการผลิตชิ้นส่วนในระดับโลก (Word Sourcing Hub) การหารือดังกล่าว เป็นการแนวทางการบูรณาการการทำงานร่วมกันระหว่าง ดีพร้อม และ Thai-Subcon ในการการส่งเสริมความเท่าเทียมของ SMEs ภายในและภายนอกประเทศ ตามนโยบายของนายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม อาทิ มาตรการด้านแรงงาน มาตรการด้านผลิตภัณฑ์ที่ไม่ได้มาตรฐาน ส่งเสริมการ Upskill และ Reskill ให้แก่แรงงานฝีมือในภาคอุตสาหกรรม เพื่อรองรับมาตรการการขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ และเป็นการยกระดับแรงงานฝีมือของอุตสาหกรรมไทย ทั้งนี้ ยังมีการแลกเปลี่ยนแนวคิดการสร้างกลไกเพื่อการลงทุนที่สามารถส่งเสริม SMEs ตลอดห่วงโซ่อุปทานในอุตสาหกรรม เช่น การสร้างความต้องการด้านซัพพลายชิ้นส่วนภายในประเทศ การออกแบบสิทธิทางด้านภาษี และไม่ใช่ภาษี เพื่อสร้างสภาพแวดล้อมสนับสนุนชิ้นส่วนภายในประเทศมากขึ้น รวมถึงดึงดูดเจ้าของเทคโนโลยีที่สำคัญรวมกันพัฒนาเพื่อสร้างนวัตกรรมและเทคโนโลยีให้เกิดขึ้นตลอดห่วงโซ่อุปทานนั้น ๆ นอกจากนี้ ยังได้การหารือเกี่ยวกับแนวทางการส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพ SMEs โดยเฉพาะกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ และอุตสาหกรรมที่เกี่ยวเนื่อง ในช่วงเปลี่ยนผ่านไปสู่ยานยนต์ไฟฟ้า
15 ต.ค. 2024
“เอกนัฏ” นำทีมจิตอาสา ก.อุตฯ ปลูกป่าลดคาร์บอนฯ สืบสานพระราชปณิธาน ณ อุทยานเขาสามร้อยยอด
นายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดกิจกรรมจิตอาสา “กระทรวงอุตสาหกรรมปลูกป่าชายเลน เพิ่มการดูดซับก๊าซเรือนกระจก ลดภาวะโลกร้อน” เนื่องในวันนวมินทรมหาราช 13 ตุลาคม 2567 เพื่อถวายเป็นพระราชกุศล แด่พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ภายใต้โครงการจิตอาสา “อุตสาหกรรมรวมใจ ดูแลสิ่งแวดล้อม ดิน น้ำ ลม ไฟ” โดยมีนายณัฐพล รังสิตพล ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม นางสาวไพลิน เทียนสุวรรณ ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม นายพงศ์พล ยอดเมืองเจริญ เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมและโฆษกกระทรวงอุตสาหกรรม นายบรรจง สุกรีฑา รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม มีนายศุภกิจ บุญศิริ ผู้ตรวจราชการกระทรวงอุตสาหกรรม รักษาราชการแทนรองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม นายสุรพล ชามาตย์ ที่ปรึกษาปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม นายเดชา จาตุธนานันท์ นายเอกนิติ รมยานนท์ ผู้ตรวจราชการกระทรวงอุตสาหกรรม นายใบน้อย สุวรรณชาตรี รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม รักษาราชการแทน เลขาธิการคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย นางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม รักษาราชการแทนอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม นายวีรพงษ์ เอี่ยมเจริญชัย รองเลขาธิการสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม นายกฤศ จันทร์สุวรรณ รองผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม นายวัชรุน จุ้ยจำลอง รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม และคณะผู้บริหารกระทรวงอุตสาหกรรม ร่วมงาน ณ อุทยานแห่งชาติเขาสามร้อยยอด จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า จากสถานการณ์การปล่อยก๊าซเรือนกระจกของโลกเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ก่อให้เกิดปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่มีแนวโน้มรุนแรงขึ้นในทุกภูมิภาคของโลก สาเหตุหลักมาจากกิจกรรมของมนุษย์ที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม กระทรวงอุตสาหกรรมมุ่งมั่นลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกออกสู่สภาพแวดล้อม โดยการเพิ่มพื้นที่สีเขียวซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการเพิ่มอากาศบริสุทธิ์คืนสู่สังคม และให้ความสำคัญต่อการอนุรักษ์และการฟื้นฟูป่าชายเลนให้มีสภาพสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น ซึ่งป่าชายเลนสามารถดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้สูงกว่าป่าประเภทอื่นกว่า 3 - 4 ตัน/ไร่/ปี และที่ผ่านมาพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงเห็นความสำคัญของป่าชายเลน และทรงมีพระราชดำรัสเกี่ยวกับป่าชายเลนเป็นครั้งแรก เมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม 2534 ในพระราชพิธีแรกนาขวัญหว่านข้าว ณ บริเวณสวนจิตรลดา ความตอนหนึ่งว่า “...ป่าชายเลนมีประโยชน์ต่อระบบนิเวศของพื้นที่ชายฝั่งทะเลและอ่าวไทย แต่ปัจจุบันป่าชายเลนของประเทศไทยเรากำลังถูกบุกรุกและถูกทำลายลงไปโดยผู้แสวงหาผลประโยชน์ส่วนตน จึงควรหาทางป้องกัน อนุรักษ์ และขยายพันธุ์เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะต้นโกงกาง เป็นไม้ชายเลนที่แปลกและขยายพันธุ์ค่อนข้างยาก เพราะต้องอาศัยระบบน้ำขึ้นน้ำลงในการเติบโตด้วย จึงขอให้ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องคือ กรมป่าไม้ กรมประมง กรมชลประทาน และกรมอุทกศาสตร์ ร่วมกันหาพื้นที่ที่เหมาะสมในการทดลองขยายพันธุ์โกงกางและปลูกสร้างป่าชายเลนกันต่อไป...” ดังนั้น เพื่อเป็นการน้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณ และร่วมสืบสานพระราชปณิธาน ในการปกป้อง ดูแลรักษา และฟื้นฟูป่าชายเลน กระทรวงอุตสาหกรรม ร่วมกับอุทยานแห่งชาติเขาสามร้อยยอด จัดกิจกรรมจิตอาสา “กระทรวงอุตสาหกรรมปลูกป่าชายเลน เพิ่มการดูดซับก๊าซเรือนกระจก ลดภาวะโลกร้อน” ขึ้น โดยปลูกป่าชายเลน จำนวน 77,100 ต้น ในพื้นที่ 100 ไร่ เพื่อรักษาระบบนิเวศทั้งทางบกและทางน้ำ ซึ่งเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์น้อยใหญ่หลากหลายชนิด และยังเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจของสัตว์ทะเลให้มีมูลค่าเพิ่มสูงขึ้น อีกทั้งคาดว่าป่าชายเลนช่วยเพิ่มศักยภาพในการดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ได้ถึง 100 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่าต่อปี ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญของภาวะโลกร้อนที่เรากำลังเผชิญอยู่ โดยในวันนี้ (10 ตุลาคม 2567) ผมและปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม (นายณัฐพล รังสิตพล) พร้อมคณะข้าราชการ เจ้าหน้าที่ ได้ไปร่วมกับเหล่าจิตอาสาทั้งหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน นักศึกษาและประชาชนในพื้นที่ กว่า 500 คน ปล่อยปูดำ จำนวน 83 ตัว และปลูกป่าชายเลน จำนวน 11,565 ต้น ได้แก่ ต้นจิกทะเล ต้นโปรงแดง ต้นโปรงขาว ต้นโกงกาง ต้นถั่วขาว และต้นพังกาหัวสุมดอกแดง ในพื้นที่ 15 ไร่ และอีก 85 ไร่ ทางหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนในพื้นที่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ จะร่วมดำเนินการให้ครบถ้วน 100 ไร่ต่อไป “กิจกรรมดังกล่าวจะเป็นหนึ่งในฟันเฟืองที่สำคัญของภาครัฐในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยไปสู่เป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอนภายในปี 2593 และมุ่งสู่การปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero) ภายในปี 2608 ขอฝากทุกท่านร่วมกันรณรงค์รักษาผืนป่าชายเลนแห่งนี้ให้คงอยู่และเติบโต สร้างคุณประโยชน์ให้กับประชาชนในพื้นที่ได้อย่างคุ้มค่าและยั่งยืน ถึงแม้เป็นเพียงการเริ่มต้นเพียงเล็กน้อย แต่ในอนาคตผืนป่าชายเลนจะยังคงสร้างคุณประโยชน์แก่โลกของเราได้อีกมาก ขอชื่นชม และขอขอบคุณภาคีเครือข่ายหน่วยงานราชการ ประชาชน และผู้ประกอบกิจการโรงงาน ที่ร่วมแรง ร่วมใจ ร่วมทำความดีให้เกิดผลสัมฤทธิ์ โดยไม่หวังผลตอบแทนใด ๆ เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อประชาชนและผืนป่าอย่างแท้จริง” เอกนัฏ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมกล่าวทิ้งท้าย
15 ต.ค. 2024
"รองอธิบดีดวงดาว" รับมอบเครื่องอุปโภค​ บริโภค​ และสิ่งของจำเป็นจากดีพร้อมเซ็นเตอร์ 6 เพื่อช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย
กรุงเทพฯ 10 ตุลาคม 2567 - นางดวงดาว ขาวเจริญ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม รับมอบเครื่องอุปโภค บริโภค และสิ่งของจำเป็นที่ได้รับการสนับสนุนจากศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 6 และผู้ประกอบการในพื้นที่ที่รวมใจส่งมอบรอยยิ้ม สำหรับนำมาบรรจุลงถุง ภายใต้โครงการ "อุตสาหกรรมรวมใจ ช่วยพี่น้องชาวไทย" เพื่อเป็นกำลังใจให้กับผู้ประสบอุทกภัยในการก้าวข้ามช่วงเวลาที่ยากลำบากไปได้ ณ ห้องนิทรรศการ ชั้น 1 อาคารกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (DIPROM Headquarter)
15 ต.ค. 2024
เปิดบ้านดีพร้อม แจงนโยบาย "รมต.เอกนัฏ" เตรียมพร้อมขับเคลื่อนนิคม SMEs โชว์เครื่องจักรต้นแบบโรงงานนำร่อง 13 แห่งทั่วประเทศ ร่วมกับการนิคมฯ และ อว.
กรุงเทพฯ 8 ตุลาคม 2567 – นางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม รักษาราชการแทน อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ให้เกียรติเป็นประธานในการประชุมผู้บริหารกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ครั้งที่ 94-1/2567 พร้อมสักการะองค์พระนารายณ์ และพระภูมิ ประจำอาคารกองพัฒนาอุตสาหกรรมชุมชน (กช.) และประจำอาคารกองพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยีอุตสาหกรรม (กน.) เพื่อความเป็นสิริมงคลในการดำเนินงานประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2568 ร่วมด้วย นายวัชรุน จุ้ยจำลอง นางดวงดาว ขาวเจริญ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม คณะผู้บริหาร และเจ้าหน้าที่ดีพร้อม (DIPROM) เข้าร่วม ณ ห้องประชุมแพรวา ชั้น 7 อาคารกองพัฒนาอุตสาหกรรมชุมชน และในรูปแบบออนไลน์ผ่านแอปพลิเคชั่น Zoom Meeting การประชุมดังกล่าว รปอ.รก.อสอ. ได้มอบนโยบายการทำงานของดีพร้อมในปีงบประมาณ 2568 ซึ่งมีความสอดรับกับนโยบายของนายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม โดยให้ทุกหน่วยงานของดีพร้อมบูรณาการทำงานร่วมกับ สอจ. และสำรวจ MOU ระหว่างดีพร้อมกับหน่วยงานอื่น ๆ ทั้งในและต่างประเทศในการเร่งขับเคลื่อนการทำงานในด้านต่าง ๆ อาทิ ขับเคลื่อนตามมติของคณะกรรมการสมุนไพร Soft Power ส่งเสริมเศรษฐกิจหมุนเวียนสีเขียว หรือ BCG พัฒนาอุตสาหกรรมฮาลาล พัฒนาโรงงานต้นแบบ อุตสาหกรรมเศรษฐกิจใหม่ อุตสาหกรรม 5.0 S-Curve และการพัฒนาหลักสูตร คพอ.ดีพร้อม รวมถึงการเพิ่มความเท่าเทียมในการแข่งขัน อาทิ การทำให้ Smart Phone เป็นเครื่องมือที่ครอบคลุมสำหรับการประกอบการของ SMEs อีกทั้ง การส่งเสริมให้เกิดนิคม SMEs การลงทุนในรูปแบบ Value Chain เชื่อมโยงผู้ประกอบการชุมชน รวมถึงผู้ประกอบการในและนอกนิคมอุตสาหกรรม โดยใช้กลไกในการบ่มเพาะและพัฒนาของดีพร้อม และรวบรวมข้อมูล Eco-System เพื่อศึกษาความเป็นไปได้ในการจัดทำดัชนีโลจิสติกส์ รวมทั้งการให้บริการของศูนย์ ITC และ Thai-IDC ให้แก่ผู้ประกอบการ ทั้งนี้ ดีพร้อม ได้รวบรวมข้อมูลดาวเด่น (Star) ที่เกิดจากการฝึกอาชีพมาต่อยอดสู่การเป็นผู้ประกอบการใหม่ พร้อมผลักดันผู้ประกอบการ OTOP สินค้า OTOP ที่มีศักยภาพ ในรูปแบบ Big Brother เพื่อผลักดันสินค้า OTOP ให้สามารถส่งออกได้ (Local to Global) รวมถึงดำเนินการปล่อยสินเชื่อ เงินกู้ดอกเบี้ยต่ำจากกองทุนพัฒนาเอสเอ็มอีตามแนวประชารัฐ และ DIPROM Pay ให้ผู้ที่ได้รับรางวัลต่าง ๆ จากกระทรวงอุตสาหกรรม เพื่อให้สามารถดำเนินการได้ครบทุกมิติและเกิดประสิทธิภาพสูงสุด นอกจากนี้ ดีพร้อม ยังได้ให้ความสำคัญกับบุคลากรดีพร้อมด้วยการจัดหลักสูตรเพื่อพัฒนาทักษะ และจัดทำ Career Path ให้ชัดเจน พร้อมสนับสนุนดูแลเรื่องสวัสดิการให้ครอบคลุม รวมทั้งได้วางแผนและเตรียมความพร้อมในการปรับโครงสร้างหน่วยงาน เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ของบุคลากรให้ดียิ่งขึ้นอีกด้วย
15 ต.ค. 2024
กระทรวงอุตสาหกรรม เตรียมจัดร้านงานกาชาดปี 67 ภายใต้ธีม "อุตสาหกรรมรวมใจภักดิ์ 72 พรรษา" พร้อมลุ้นรางวัลใหญ่ ทองคำ รถยนต์ไฟฟ้า
กรุงเทพฯ 9 ตุลาคม 2567 - นายพิชิต มิทราวงศ์ กรรมการผู้จัดการธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย ได้รับมอบหมายจาก นายณัฐพล รังสิตพล ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม ให้เป็นประธานการประชุมคณะอนุกรรมการจัดงานร้านกระทรวงอุตสาหกรรมในงานกาชาด ประจำปี 2567 ครั้งที่ 1/2567 เพื่อเตรียมการจัดงานกาชาด ร้านกระทรวงอุตสาหกรรม ประจำปี 2567 โดยมี นายบรรจง สุกรีฑา รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม นายวีรพงษ์ เอี่ยมเจริญชัย รองเลขาธิการสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม นายนรุณ สุขสมาน รองเลขาธิการคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย นายอานันท์ ฟักสังข์ ผู้อำนวยการกองวิศวกรรมบริการ รักษาราชการแทนรองอธิบดีกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ นางดวงดาว ขาวเจริญ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม และคณะอนุกรรมการจากสถาบันต่าง ๆ เข้าร่วมประชุม ณ ห้องประชุมอก.1 ชั้น 2 อาคารสำนักงานปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม และรูปแบบออนไลน์ผ่านแอปพลิเคชั่น Zoom Meeting โดยในการประชุมครั้งนี้ มีการแจ้งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ และได้พิจารณารายละเอียดสำคัญหลายประการเกี่ยวกับการจัดนิทรรศการและกิจกรรมต่าง ๆ ที่จะจัดขึ้นภายในร้านกระทรวงอุตสาหกรรมในงานกาชาดปีนี้ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการเฉลิมฉลองเนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวครบ 6 รอบ โดยธีมหลักของร้านค้ากระทรวงอุตสาหกรรมคือ "อุตสาหกรรมรวมใจภักดิ์ ๗๒ พรรษา ทศมราชา" เพื่อสะท้อนถึงความเจริญรุ่งเรืองในภาคอุตสาหกรรมไทยและความจงรักภักดีต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ ในที่ประชุมยังได้มีการหารือถึงแนวคิดในการออกแบบร้าน ซึ่งจะใช้โทนสีทองเพื่อสื่อถึงความยิ่งใหญ่และความเจริญก้าวหน้าของภาคอุตสาหกรรม และใช้ตัวอักษรสีม่วงซึ่งเป็นสีประจำของกระทรวงอุตสาหกรรม ภายในร้านยังจะมีการจัดแสดงนิทรรศการเฉลิมพระเกียรติ โดยมีซุ้มประดิษฐานพระบรมฉายาลักษณ์และเครื่องราชสักการะ เพื่อให้ประชาชนได้ร่วมถวายพระพร นอกจากนี้ ยังได้มีการอนุมัติงบประมาณในการจัดจ้างออกแบบ ก่อสร้าง ตกแต่งร้าน และการจัดกิจกรรมต่าง ๆ ภายในร้านกระทรวงอุตสาหกรรม โดยได้รับจัดสรรพื้นที่ในรูปแบบของโซนนิทรรศการ การจัดแสดงเวที และจุดจำหน่ายสลากและของรางวัลต่าง ๆ ที่จะจัดเตรียมไว้สำหรับผู้เข้าร่วมงาน รวมถึงการหารือถึงงบประมาณในการจัดสรรรางวัลสลากกาชาดของกระทรวงอุตสาหกรรม โดยจะมีการจัดทำสลากจำนวน 60,000 ฉบับ เพื่อนำรายได้ไปสนับสนุนกิจกรรมของสภากาชาดไทย โดยรางวัลใหญ่สำหรับสลากกาชาดในปีนี้ประกอบด้วย รถยนต์ไฟฟ้า 2 คัน รถจักรยานยนต์ไฟฟ้า 4 คัน ทองคำ และ Smart TV เป็นของรางวัลให้กับผู้โชคดีที่ร่วมกิจกรรมกับกระทรวงอุตสาหกรรม
15 ต.ค. 2024
"อรรถวิชช์" ประชุม คกก.ปรับปรุงกฎหมายเพื่อการปฏิรูปอุตฯ ติดตามความคืบหน้าการร่าง กฎหมายการจัดการกากอุตสาหกรรม-ขยะอิเล็กทรอนิกส์ และจัดตั้งกองทุนปฏิรูปอุตสาหกรรม
กรุงเทพฯ 7 ตุลาคม 2567 - นายอรรถวิชช์ สุวรรณภักดี ประธานคณะที่ปรึกษาของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ในฐานะประธานคณะกรรมการปรับปรุงกฎหมายเพื่อการปฏิรูปอุตสาหกรรม ประชุมคณะกรรมการฯ โดยมีนางสาวไพลิน เทียนสุวรรณ ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม นายศุภกิจ บุญศิริ ผู้ตรวจราชการกระทรวงอุตสาหกรรม รักษาราชการแทนรองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม นางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม รักษาราชการแทน อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม นายวัชรุน จุ้ยจำลอง รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม นางสาวณิรดา วิสุทธิชาติธาดา ผู้ช่วยปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม นายวชิระ ไม้แพ ที่ปรึกษาด้านกฎหมาย และคณะกรรมการฯ ร่วมประชุม ณ ห้องประชุม อก.1 ชั้น 3 สำนักงานปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม ที่ประชุมได้ร่วมกันพิจารณาตามวาระการประชุมที่สืบเนื่องจากการประชุมครั้งแรก ได้แก่ การติดตามความคืบหน้าของการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมายที่อยู่ในความรับผิดชอบของกระทรวงอุตสาหกรรมทุกฉบับ รวมทั้งแนวทางการปรับปรุงแก้ไขกฎหมายทั้งหมด โดยที่ประชุมได้มีมติให้กำหนดแบบการรายงานให้เกิดความชัดเจน และสะดวกแก่การรวมรวบวิเคราะห์ข้อมูล นอกจากนั้น ยังได้ติดตามความคืบหน้าในการยกร่าง กฎหมายเพื่อการจัดการ กากอุตสาหกรรม ขยะอิเล็กทรอนิกส์ และการจัดตั้งกองทุนในกระทรวงอุตสาหกรรม ที่ได้มอบหมายผู้แทนกรมโรงงานอุตสาหกรรม และสำนักงานปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม ไปดำเนินการในการประชุมครั้งที่แล้ว ซึ่งได้มีการรายงานความคืบหน้าของการยกร่างกฎหมายต่อที่ประชุม โดยมีกากรอภิปรายอย่างกว้างขวางโดยที่ประชุมได้มีมติรับทราบความคืบหน้าและมอบหมายให้ผู้ยกร่างรับข้อสังเกตและคำแนะนำของคณะกรรมการไปดำเนินการปรับปรุงแก้ไข โดยในส่วนของกองทุนที่จะตั้งขึ้นในกฎหมาย ที่ประชุมได้กำหนดให้ใช้ชื่อว่า “กองทุนปฏิรูปอุตสาหกรรมเพื่อความยั่งยืน” หรือ “Industrial Reform for Sustainability Fund (IRS Fund)” โดยให้ปรับใช้แนวคิด เรื่อง ความยั่งยืน หรือ การพัฒนาที่ยั่งยืน ตามนิยามของคณะกรรมาธิการโลกว่าด้วยสิ่งแวดล้อมและการพัฒนาของสหประชาชาติ (The United Nations World Commission on Environment and Development) มาปรับใช้ จากนั้นประชุมได้มีมติเห็นชอบแผนการจัดทำร่างกฎหมายในเบื้องต้น และเร่งรัดให้ผู้ที่เกี่ยวข้องเร่งรัดดำเนินการ ให้แล้วเสร็จโดยเร็ว
15 ต.ค. 2024