Category
โครงการส่งเสริมผู้ประกอบการนำประโยชน์จากงานวิจัยและนวัตกรรมต่อยอดธุรกิจ TRI
เชิญผู้ประกอบการ SMEs ที่เป็นนิติบุคคล ที่มีความสนใจและมีความพร้อมที่จะนำงานวิจัยมาปรับปรุงผลิตภัณฑ์เดิมหรือปั้นให้เป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ ในกลุ่มอาหารและเครื่องดื่มสุขภาพ ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ผลิตภัณฑ์อาหารทางการแพทย์ ผลิตภัณฑ์เกษตรแปรรูป และกลุ่มวัสดุ ผลิตภัณฑ์ และบรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม โปรดกรอกแบบสำรวจตาม https://docs.google.com/forms/d/e/1FAIpQLScFz8K8z7-96DVpNQU_TGdCff7Pz5VK3K8ziPUqDTWawPGBeg/viewform ที่แนบนี้ ส่งภายในวันที่ 31 มกราคม 2563 þ เพื่อคัดเลือกเข้าร่วมโครงการ "การส่งเสริมผู้ประกอบการนำประโยชน์จากงานวิจัยและนวัตกรรมต่อยอดธุรกิจ (Research Connect : Tranformation of Research and Innovation) หรือ โครงการ TRI สอบถามเพิ่มเติม คุณจิรประภา หรือ คุณวิทวัส กองโลจิสติกส์ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม โทร 0 2354 3173, 06 3191 7842 Email : TRIPprojectDIP@gmail.com
23 ม.ค. 2020
“ขุนพล กสอ.” ดีเดย์ “ปั้น ปรุง เปลี่ยน ธุรกิจใหม่ ให้ดีพร้อม (DIProm)” หวังสร้างนักรบหน้าใหม่ต่อจิ๊กซอขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ
กรุงเทพฯ 22 มกราคม 2563 - นายณัฐพล รังสิตพล อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม เป็นประธานเปิดงาน “Open House : ปั้น ปรุง เปลี่ยน ธุรกิจใหม่ ให้ DIProm : Fulfill New Entrepreneurs” ร่วมด้วย นายใบน้อย สุวรรณชาตรี รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม นายอนุสรณ์ มุทราอิศ กรรมการบริหาร บริษัท เดลต้า อีเลคโทรนิคส์ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) ผู้บริหารและเจ้าหน้าที่กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กสอ.) ผู้ประกอบการ และสื่อมวลชนเข้าร่วมงานดังกล่าว ณ ห้องแกรนด์บอลรูม ชั้น 3 โรงแรมเซ็นจูรี่ พาร์ค ราชปรารภ งานดังกล่าว จัดขึ้นเพื่อเป็นสร้างการรับรู้แก่ผู้ประกอบการใหม่ สตาร์ทอัพ และผู้ที่สนใจประกอบธุรกิจสมัครเข้าร่วมกิจกรรม/โครงการกับทางกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กสอ.) รวมถึงเป็นการประชาสัมพันธ์แนวทางการดำเนินงานกิจกรรม/โครงการต่าง ๆ ของ กสอ. ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 ในการส่งเสริมและสร้างผู้ประกอบการใหม่ และสตาร์อัพให้มีศักยภาพและเติบโตเป็นผู้ประกอบการที่เป็นกำลังสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ โดยทาง กสอ. มุ่งเน้นการสร้างและพัฒนาทักษะความสามารถด้านการบริหารจัดการในการประกอบธุรกิจ ให้ประสบความสำเร็จ เพื่อยกระดับศักยภาพและความสามารถของผู้ประกอบการใหม่ รวมถึงการสร้างโอกาสในการเข้าถึงแหล่งเงินทุน เพื่อเร่งให้เกิดการจัดตั้งและขยายธุรกิจที่มีศักยภาพนำไปสู่การสร้างและพัฒนาผู้ประกอบการใหม่เชิงสร้างสรรค์และนวัตกรรม ผ่านทั้ง 4 กิจกรรมหลัก ได้แก่ 1. การสร้างและพัฒนาผู้ประกอบการใหม่เชิงสร้างสรรค์และนวัตกรรม (NEC) 2. การพัฒนาผลิตภัณฑ์สำหรับผู้ประกอบการใหม่ 3. การพัฒนาผู้ประกอบการวิสาหกิจเพื่อสังคมรุ่นใหม่ และ 4. แหล่งเงินทุนสำหรับผู้ประกอบการและธุรกิจใหม่” (Delta Angel Fund) ซึ่งทุกกิจกรรม กสอ. จะเป็นพี่เลี้ยงในการให้บริการปรึกษาแนะนำและช่วยเหลืออย่างต่อเนื่อง ด้วยการต่อ เติม เสริม ทุน สร้างความแข็งแกร่งให้กับนักรบทางเศรษฐกิจหน้าใหม่ของประเทศต่อไป ### PR.DIProm (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม) รายงาน/ภาพข่าว
22 ม.ค. 2020
ทดสอบ_การลงข้อมูล Article_1.03
Lorem ipsum dolor sit amet, consectetur adipiscing elit, sed do eiusmod tempor incididunt ut labore et dolore magna aliqua. Mi quis hendrerit dolor magna eget est. Phasellus egestas tellus rutrum tellus pellentesque eu tincidunt. Sed libero enim sed faucibus turpis. Cursus vitae congue mauris rhoncus aenean vel elit scelerisque mauris. Egestas congue quisque egestas diam in arcu cursus euismod. Euismod in pellentesque massa placerat duis ultricies lacus. Volutpat consequat mauris nunc congue nisi vitae suscipit. Ut consequat semper viverra nam libero. At varius vel pharetra vel turpis nunc eget lorem. Ullamcorper morbi tincidunt ornare massa eget egestas purus viverra accumsan. Morbi tempus iaculis urna id volutpat lacus laoreet. Aliquam ut porttitor leo a diam sollicitudin tempor. Lorem donec massa sapien faucibus et molestie ac feugiat. Pellentesque eu tincidunt tortor aliquam nulla facilisi cras fermentum. Elementum nisi quis eleifend quam adipiscing vitae proin sagittis. Eget mi proin sed libero enim. Auctor neque vitae tempus quam pellentesque nec nam aliquam.
17 ม.ค. 2020
กสอ. ลงพื้นที่ชัยภูมิร่วมรับฟังแนวคิดมุ่งเสริมแกร่งเศรษฐกิจให้ชุมชน
จ. ชัยภูมิ 15 มกราคม 2563 - นายณัฐพล รังสิตพล อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (อสอ.) และนางสาวสุชาดา แทนทรัพย์ โฆษกประจำกระทรวงอุตสาหกรรม ให้เกียรติเป็นประธานร่วมกันในการประชุมร่วมหารือร่วมกับผู้นำพื้นที่จังหวัดชัยภูมิ โดยมีนายใบน้อย สุวรรณชาตรี รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม นายรัฐการ ด่านกุล ประธานสภาอุตสาหกรรมจังหวัดชัยภูมิ นายสิทธิพล สุทธิศักดิ์ภักดี ประธานหอการค้าจังหวัดชัยภูมิ คณะผู้บริหารและเจ้าหน้าที่กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กสอ.) ผู้แทนจากหน่วยงานภาคีเครือข่าย เข้าร่วมประชุม ณ ห้องประชุม สภาอุตสาหกรรมจังหวัดชัยภูมิ การประชุมดังกล่าว จัดขึ้นเพื่อหารือถึงปัญหาที่ผู้ประกอบการในพื้นที่ จ.ชัยภูมิ เพื่อนำข้อเสนอแนะหาแนวทางออกร่วมกันและนำไปปรับใช้ให้สอดคล้องกับเครื่องมือที่หน่วยงานมีอยู่และเกิดเป็นประโยชน์ในทุกภาคส่วน ทั้งภาครัฐ เอกชน และประชาชน โดยกลุ่มผู้ประกอบการมีความต้องการให้ กสอ. เข้ามาช่วยสนับสนุนให้กับผู้ประกอบการในปัจจัยด้านต่าง ๆ เช่น การปรับกลไกช่องทางในการเข้าถึงแหล่งเงินทุนของสถาบันการเงินเพิ่มสภาพคล่องให้กับผู้ประกอบการและวิสาหกิจชุมชนรายย่อย การจัดโครงการเพื่อพัฒนาและถ่ายทอดองค์ความรู้ให้กับผู้ประกอบการเพื่อเข้าถึงกลุ่มลูกค้าเป้าหมายได้เพิ่มขึ้น การสนับสนุนด้านแปรรูปสินค้าเกษตรทั้งในส่วนของพื้นที่ก่อสร้างโรงงานและเครื่องจักร การต่อยอดทางเทคโนโลยีให้กับผู้ประกอบการนำไปต่อยอดและปรับใช้ในธุรกิจของตนเอง การพัฒนาภาคบริการเชื่อมโยงพื้นที่สร้างศูนย์การเรียนรู้ชุมชนเพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยวเพื่อสร้างรายได้ให้กับประชาชน ทั้งนี้ สิ่งที่ทางภาคีเครือข่ายได้นำเสนอนั้น กสอ. จะเข้าช่วยเหลือและเร่งดำเนินการปรับให้เหมาะสมเพื่อการพัฒนาที่ดีขึ้นอย่างเป็นรูปธรรมต่อไป ### PR.DIP (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม) รายงาน/ภาพข่าว
16 ม.ค. 2020
กระทรวงอุตฯ เดินหน้าฝ่าวิกฤตภัยแล้ง มอบระบบกักเก็บน้ำช่วย SMEs นำร่องที่ชัยภูมิ
จ. ชัยภูมิ 15 มกราคม 2563 - นางสาว สุชาดา แทนทรัพย์ โฆษกประจำกระทรวง ผู้แทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ให้เกียรติเป็นประธานในกิจกรรมนำร่องระบบกักเก็บน้ำเพื่อวิสาหกิจชุมชนและราษฎร ร่วมด้วย นายใบน้อย สุวรรณชาตรี รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม นายวัชรุน จุ้ยจำลอง ผู้อำนวยการกองพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยีอุตสาหกรรม นางสาวอัญชลีย์พร เขียวเกษม ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 6 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ผู้แทนจากภาคีเครือข่าย และคณะเจ้าหน้าที่กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กสอ.) เข้าร่วมในกิจกรรมดังกล่าว โดยมี นายณัฐพล รังสิตพล อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ให้เกียรติกล่าวรายงาน ณ วิสาหกิจชุมชนศูนย์ส่งเสริมการตลาด ต.โพนทอง อ.เมือง กิจกรรมนำร่องระบบกักเก็บน้ำเพื่อวิสาหกิจชุมชนและราษฎร เป็นหนึ่งในมาตรการเร่งด่วนที่กระทรวงอุตสาหกรรม โดย กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กสอ.) ขานรับนโยบายรัฐบาล เพื่อรับมือกับสถานการณ์วิกฤติภัยแล้งในภาคอุตสาหกรรม ที่ได้รับความเดือดร้อน ซึ่งกิจกรรมดังกล่าวเป็นการสนับสนุนอุปกรณ์ภาชนะในการกักเก็บน้ำและถ่ายทอดองค์ความรู้การบริหารจัดการน้ำเพื่อใช้ผลิตและอุปโภคบริโภคในระดับครัวเรือนและระดับชุมชนในท้องถิ่น ซึ่งได้คัดเลือกพื้นที่จังหวัดชัยภูมิเป็นหนึ่งในจังหวัดที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤติภัยแล้ง โดยส่งผลกระทบ 16 อำเภอ 120 ตำบล 1,542 หมู่บ้าน พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่สำหรับเกษตรกรรม แต่อย่างไรก็ตาม การเกิดผลกระทบดังกล่าวไม่เพียงแต่เฉพาะปัญหาด้านการเกษตร แต่รวมไปถึงปัญหาน้ำต่อการอุปโภคบริโภค โดย กสอ. จะดำเนินการเพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการในพื้นที่ประสบภัยแล้ง ทั้งการสร้างระบบกักเก็บน้ำ และการฝึกอาชีพ ซึ่งมีเป้าหมายที่ 10,000 ครัวเรือน ### PR.DIP (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม) รายงาน/ภาพข่าว
15 ม.ค. 2020
กสอ. ผนึกกำลังหารือกับภาคีเครือข่าย "นครชัยบุรินทร์" สร้างจุดขายหวังดึงนักท่องเที่ยวเข้าพื้นที่เพิ่มขึ้น
จ. นครราชสีมา 14 มกราคม 2563 - นายณัฐพล รังสิตพล อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (อสอ.) ให้เกียรติเป็นประธานการประชุมแนวทางการบูรณาการส่งเสริมผู้ประกอบการพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง 1 (นครชัยบุรินทร์) ร่วมด้วย นายใบน้อย สุวรรณชาตรี รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม นางสาวสุชาดา แทนทรัพย์ โฆษกประจำกระทรวง อุตสาหกรรม คณะผู้บริหาร และเจ้าหน้าที่กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กสอ.) ผู้แทนจากกลุ่มจังหวัดนครชัยบุรินทร์ และผู้แทนจากหน่วยงานภาคีเครือข่าย เข้าร่วมประชุม ณ ห้องเสมา ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 6 อ. สูงเนิน การประชุมฯ ครั้งนี้ เพื่อรับฟังและหารือแนวทางการส่งเสริมพัฒนา SMEs และวิสาหกิจชุมชนในพื้นที่กลุ่มจังหวัดนครชัยบุรินทร์ (จ.นครราชสีมา ชัยภูมิ บุรีรัมย์ และสุรินทร์ ) ซึ่ง กสอ. ได้นำเสนอแผนการดำเนินงานในงบประมาณปี 2563 โดย แบ่งออกเป็น 3 มิติ คือ 1) เกษตรอุตสาหกรรมที่พัฒนาจากเกษตรดั้งเดิมไปสู่เกษตรสมัยใหม่ 2) อุตสาหกรรมสร้างสรรค์ ที่ใช้องค์ความรู้ ความคิดสร้างสรรค์ และการใช้ทรัพย์สินทางปัญญา เชื่อมโยงกับทุนทางวัฒนธรรม สร้างอัตลักษณ์ท้องถิ่น 3) การใช้เทคโนโลยีดิจิทัลอัจฉริยะมาปรับใช้เพื่อลดจำนวนแรงงานและเพิ่มประสิทธิผลให้กับผลิตภัณฑ์ พร้อมกันนี้ผู้แทนจากภาคีเครือข่ายก็ได้นำเสนอปัญหาและแนวทางการทำงานเพื่อแก้ไขจุดอ่อนที่เกิดขึ้น อาทิ การสร้างแลนด์มาร์คเพื่อเพิ่มช่องทางจำหน่ายสินค้าได้มากขึ้นและกระจายสินค้าไปสู่นักท่องเที่ยวได้อย่างทั่วถึง การสร้างศูนย์การเรียนรู้ภูมิปัญญาการผลิตผ้าไหมในพื้นที่ เสริมกิจกรรมเกี่ยวกับการทอผ้าไหมโดยถ่ายทอดองค์ความรู้ภูมิปัญญาในพื้นที่และชุมชนพร้อมขับเคลื่อนให้ผลิตภัณฑ์เป็นที่รู้จักในภาพที่กว้างขึ้น การสร้างแพลทฟอร์มด้านการตลาดออนไลน์เพื่อกระตุ้นให้เกิดการกระจายรายได้ไปสู้กลุ่มผู้ประกอบการรายย่อยและกลุ่มวิสาหกิจชุมชน การบูรณาการร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อเพิ่มช่องทางในการประชาสัมพันธ์แหล่งท่องเที่ยวในพื้นที่นครชัยบุรินทร์ให้มีนักท่องเที่ยวเดินทางเข้าถึงเพื่อกระจายรายได้ทั่วถึงทุกกลุ่มจังหวัด โดยทาง กสอ. ได้รับฟังปัญหาและข้อเสนอแนะพร้อมหาแนวทางและสร้างความเป็นไปได้ในอนาคตให้กับกลุ่มผู้ประกอบการ ### PR.DIP (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม) รายงาน/ภาพข่าว
15 ม.ค. 2020
“อธิบดีณัฐพล” ลงพื้นที่โคราช ตรวจเยี่ยมและมอบนโยบายแก่บุคลากร ศภ.6 กสอ. เน้นย้ำจัดสรรการทำงานให้เกิดประโยชน์สูงสุด
จ. นครราชสีมา 14 มกราคม 2563 - นายณัฐพล รังสิตพล อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมการดำเนินงานและมอบนโยบายการทำงานให้แก่ ข้าราชการ พนักงาน และเจ้าหน้าที่ ของ ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 6 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (ศภ.6 กสอ.) ร่วมด้วย นายใบน้อย สุวรรณชาตรี รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม นายวัชรุน จุ้ยจำลอง ผู้อำนวยการกองพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยีอุตสาหกรรม และเจ้าหน้าที่กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กสอ.) โดยมี นางสาวอัญชลีย์พร เขียวเกษม ผู้อำนวยการ ศภ.6 กสอ. และเจ้าหน้าที่ให้การต้อนรับ ณ ห้องสูงเนิน ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 6 อ. สูงเนิน โดยการประชุมฯ ครั้งนี้ เป็นการรับฟังข้อมูลในส่วนโครงสร้างบุคลากร แผนแนวทางการดำเนินงานทั้งในส่วนของงบประมาณปี 2562 (พลางก่อน) และในปีงบประมาณ 2563 ตลอดจนโครงการ/กิจกรรมการให้บริการแก่ SMEs กลุ่มอุตสาหกรรมเกษตรเและอุตสาหกรรมอาหาร และกลุ่มวิสาหกิจชุมชน การดำเนินงานของศูนย์ปฏิรูปอุตสาหกรรม 4.0 หรือ ศูนย์ ITC 4.0 รวมถึงเป้าหมายในการดำเนินการ โดยผู้เข้าประชุมได้ช่วยกันนำเสนอแนวคิดการทำงานเพื่อพัฒนาและแก้ไขจุดอ่อนในส่วนของการดำเนินการ ของ ศภ.6 กสอ. พร้อมกันนี้ อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรมได้มอบนโยบายและแนวทางการดำเนินงานให้แก่ข้าราชการและเจ้าหน้าที่ ศภ.6 กสอ. โดยเน้นย้ำในเรื่องของการประชาสัมพันธ์เพื่อสร้างการรับรู้ภารกิจของ กสอ. ให้แก่ประชาชนได้อย่างทั่วถึง การปรับภูมิทัศน์ของพื้นที่ให้การดำเนินงานและส่วนบริการแก่ผู้ประกอบการให้ก่อเกิดประโยชน์สูงสุด การปรับเปลี่ยนกระบวนการทำงานให้มีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผลเพิ่มมากขึ้น ### PR.DIP (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม) รายงาน/ภาพข่าว
14 ม.ค. 2020
ทดสอบระบบ_การ TAG
ทดสอบระบบ TEST....TEST
14 ม.ค. 2020
กระทรวงอุตฯ สานความร่วมมือญี่ปุ่น รับมอบเครื่องอบแห้งอาหาร ต่อยอดพัฒนานวัตกรรมการแปรรูปผลิตภัณฑ์เกษตร สร้างเกษตรอุตสาหกรรมให้เอสเอ็มอี
กรุงเทพฯ 13 มกราคม 2563 - นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม และ นายโทคิฮิโระ นาคามูระ ผู้ว่าราชการจังหวัดเอฮิเมะ ให้เกียรติร่วมเป็นประธานในพิธีมอบเครื่อง Supersonic Wave Dryer ของจังหวัดเอฮิเมะ ประเทศญี่ปุ่น ร่วมด้วย นายกอบชัย สังสิทธิ์สวัสดิ์ ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม นายจุลพงษ์ ทวีศรี รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม นางสาวสุชาดา แทนทรัพย์ โฆษกกระทรวงอุตสาหกรรม นายภาสกร ชัยรัตน์ นายใบน้อย สุวรรณชาตรี รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม คณะผู้บริหารกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม และสื่อมวลชน ร่วมเป็นสักขีพยานในครั้งนี้ โดยมี นายณัฐพล รังสิตพล อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม เป็นผู้แทนรับมอบจาก นายโทชิเอคิ นาคาอิ ประธานบริษัท เอ็น เอส คอร์เปอเรชั่น จำกัด ณ ห้องประชุม อก 1 ชั้น 2 อาคารสำนักงานปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม ถ.พระรามที่ 6 ราชเทวี การส่งมอบเครื่องจักรดังกล่าว เป็นหนึ่งในความร่วมมือระหว่าง กระทรวงอุตสาหกรรมโดย กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กสอ.) กับจังหวัดเอฮิเมะ ประเทศญี่ปุ่น เพื่อส่งเสริมและพัฒนาผู้ประกอบการ SMEs ร่วมกัน ซึ่งจังหวัดเอฮิเมะ ถือเป็นจังหวัดที่มีศักยภาพในอุตสาหกรรมเครื่องจักรกลการเกษตร และการแปรรูปอาหาร และที่ผ่านมาทางจังหวัดเอฮิเมะได้มีการส่งเจ้าหน้าที่มาศึกษาและหารือแนวทางการพัฒนาความร่วมมือในการติดตั้งเครื่องจักรร่วมกับศูนย์ปฏิรูปอุตสาหกรรม 4.0 (Industrial Transformation Center 4.0 หรือ ITC 4.0) ของกรมส่งเสริมอุตสาหกรรมในหลายพื้นที่ โดยได้เล็งเห็นว่าศูนย์ ITC 4.0 ในพื้นที่ของศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 1 มีความเหมาะสมในด้านของการเป็นพื้นที่ศักยภาพในอุตสาหกรรมแปรรูปการเกษตรและการแปรรูปอาหาร จึงได้ส่งมอบเครื่อง Supersonic Wave Dryer จำนวน 1 เครื่อง มูลค่า 35,000 ดอลล่าร์สหรัฐ ซึ่งเครื่องเป็นเครื่องอบแห้งอาหารที่ใช้เทคโนโลยีใหม่ โดยใช้ระบบท่อนำความร้อนของคลื่นถอดแบบจากการใช้พลังงานแสงอาทิตย์ ทำให้รสชาติและเนื้อสัมผัสอาหารคงเดิม นำไปติดตั้ง ณ ศูนย์ปฏิรูปอุตสาหกรรม 4.0 (ITC 4.0) ภายใต้การดูแลของศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 1 จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อใช้ในการส่งเสริม พัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมในการแปรรูปผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรให้กับเอสเอ็มอีของไทย ทั้งนี้ เชื่อว่าจากความร่วมมือดังกล่าวจะสามารถพัฒนาผู้ประกอบการในสาขาอุตสาหกรรมที่มีศักยภาพและผลักดันให้เกิดการรวมกลุ่มและเชื่อมโยงทางธุรกิจในรูปแบบของ B2B ซึ่งจะสามารถสร้างประโยชน์ให้กับผู้ประกอบการของทั้งสอง 2 ประเทศต่อไป ### PR.DIP (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม) รายงาน / ภาพข่าว
13 ม.ค. 2020
Genius The Idol โดย กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม
โครงการ : Genius The Idol โดย กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม ภารกิจ : ปั้น IDOL ทางอุตสาหกรรมการเกษตรแปรรูป และอาหารแปรรูป จำนวน 50-60 คนให้เป็นอัจฉริยะ เหมือน IDOL หลายๆคนในประเทศให้ได้ในเวลาจำกัด โดยมุ่งเปลี่ยนวิสัยทัศน์ และความคิดของเจ้าของกิจการ ผ่านอัจฉริยะโค้ช ที่พรูฟได้ว่าประสบความสำเร็จสาขานั้นๆของเมืองไทย โดยการสอนเน้นความชัดเจน เข้าใจง่าย เอาความสำเร็จเป็นที่ตั้ง และไม่เหมือนเนื้อหาการสอนที่สอนที่อื่น กลุ่มเป้าหมาย : SMEs ที่ต้องจดทะเบียนนิติบุคคล(เลข13หลัก)เท่านั้น 1.ผปก.เกษตร ครอบคลุมตั้งแต่คนที่มีฟาร์ม โฮมเสตย์ เกษตรท่องเที่ยว แต่ต้องมีการแปรรูปเป็นผลผลิตเพื่อขายในฟาร์ม และอาจส่งข้างนอก 2.ผปก.เกษตรแปรรูปทั้งfood และ non food เช่น อาหาร เครื่องดื่ม /จักสาน เฟอร์นิเจอร์ ของใช้ของตกแต่ง ที่แปรรูปมาจากเกษตร เช่น เก้าอี้จากผักตบชวา, กระเป๋าจากกลุ่มเลี้ยงไหม และทอผ้าไหม เป็นต้น 3.อุตสาหกรรมแปรรูป อาหารและเครื่องดื่ม สมัครได้ที่ : http://opn.to/a/86Nr9 รายละเอียด: สมัครด่วน!! ภายใน วันที่ 10-17 ม.ค.63 นี้ เท่านั้น ติดต่อ: 06 4124 6596, 08 5546 8084
13 ม.ค. 2020