Category
Genius The Idol โดย กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม
โครงการ : Genius The Idol โดย กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม ภารกิจ : ปั้น IDOL ทางอุตสาหกรรมการเกษตรแปรรูป และอาหารแปรรูป จำนวน 50-60 คนให้เป็นอัจฉริยะ เหมือน IDOL หลายๆคนในประเทศให้ได้ในเวลาจำกัด โดยมุ่งเปลี่ยนวิสัยทัศน์ และความคิดของเจ้าของกิจการ ผ่านอัจฉริยะโค้ช ที่พรูฟได้ว่าประสบความสำเร็จสาขานั้นๆของเมืองไทย โดยการสอนเน้นความชัดเจน เข้าใจง่าย เอาความสำเร็จเป็นที่ตั้ง และไม่เหมือนเนื้อหาการสอนที่สอนที่อื่น กลุ่มเป้าหมาย : SMEs ที่ต้องจดทะเบียนนิติบุคคล(เลข13หลัก)เท่านั้น 1.ผปก.เกษตร ครอบคลุมตั้งแต่คนที่มีฟาร์ม โฮมเสตย์ เกษตรท่องเที่ยว แต่ต้องมีการแปรรูปเป็นผลผลิตเพื่อขายในฟาร์ม และอาจส่งข้างนอก 2.ผปก.เกษตรแปรรูปทั้งfood และ non food เช่น อาหาร เครื่องดื่ม /จักสาน เฟอร์นิเจอร์ ของใช้ของตกแต่ง ที่แปรรูปมาจากเกษตร เช่น เก้าอี้จากผักตบชวา, กระเป๋าจากกลุ่มเลี้ยงไหม และทอผ้าไหม เป็นต้น 3.อุตสาหกรรมแปรรูป อาหารและเครื่องดื่ม สมัครได้ที่ : http://opn.to/a/86Nr9 รายละเอียด: สมัครด่วน!! ภายใน วันที่ 10-17 ม.ค.63 นี้ เท่านั้น ติดต่อ: 06 4124 6596, 08 5546 8084
13 ม.ค. 2020
ปั้น ปรุง เปลี่ยน เอสเอ็มอีให้ดีพร้อม (DIProm)
คอลัมน์ : คิดเห็นแชร์ (มติชนออนไลน์) ผู้เขียน : นายณัฐพล รังสิตพล (อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม) สวัสดีปีใหม่ 2563 แฟนๆ คิดเห็นแชร์ทุกท่านครับ ในโอกาสวาระขึ้นปีใหม่ ผมขออวยพรให้ทุกท่านมีความสุข ธุรกิจเจริญก้าวหน้า ค้าขายร่ำรวย ตลอดปีหนูทองครับ…และเมื่อปลายปีที่ผ่านมา ผมในฐานะอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรมได้แถลงนโยบายและทิศทางในการดำเนินงานภายใต้ปี 2563 ซึ่งผมและเจ้าหน้าที่กรมส่งเสริมอุตสาหกรรมได้ช่วยกันระดมสมองในการสรรสร้างและวางแนวทางในการพัฒนาพี่น้องผู้ประกอบการเอสเอ็มอีและวิสาหกิจชุมชน เพื่อขับเคลื่อนนโยบายของรัฐบาลให้บรรลุตามเป้าหมาย จึงเป็นที่มาของนโยบาย “ปั้น ปรุง เปลี่ยน เอสเอ็มอีให้ดีพร้อม (DIProm)” รายละเอียดจะเป็นอย่างไรนั้น ผมขอใช้โอกาสนี้แชร์ให้ทุกท่านได้ทราบครับ ก่อนอื่นผมขอขยายความที่มาของคำว่า DIProm ซึ่งย่อมาจาก Department of Industrial Promotion หรือชื่อภาษาอังกฤษของกรมส่งเสริมอุตสาหกรรมนั่นเอง สามารถอ่านออกเสียงได้ว่า “ดีพร้อม” (DIProm) โดยในอดีต หลายท่านคงคุ้นหูชื่อย่อของกรม เช่น กสอ. กรมส่งเสริม หรือ DIP ดังนั้น เพื่อให้เป็นที่รู้จักมากขึ้น กรมจึงมีแนวคิดที่ใช้คำว่า “ดีพร้อม” เป็นชื่อย่อ ผนวกกับนโยบายที่กรมต้องเร่งดำเนินการ จึงเป็นที่มาของนโยบายการดำเนินงานปี 2563 ที่ชื่อว่า “ปั้น ปรุง เปลี่ยน เอสเอ็มอีให้ดีพร้อม (DIProm)” โดยเริ่มจากการ “ปั้น” ผู้ประกอบการเอสเอ็มอี ใน 3 มิติ “ก – ส – อ” คือ มิติที่ 1 (ก) : ปั้นเอสเอ็มอีเกษตรอุตสาหกรรม โดยพัฒนาจากเกษตรดั้งเดิมไปสู่เกษตรสมัยใหม่ ที่ใช้การบริหารจัดการ เทคโนโลยี และนวัตกรรม เพื่อเปลี่ยนเกษตรกรให้เป็นนักธุรกิจเกษตร โดยนำระบบการผลิตและบริหารจัดการในอุตสาหกรรมขนาดใหญ่มาประยุกต์ใช้ในธุรกิจเกษตร เช่น Toyota Production System (TPS), Kaizen และนำนวัตกรรม เทคโนโลยีดิจิทัลมาสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลิตภัณฑ์เกษตรแปรรูป นอกจากนี้ ยังรวมถึงการปั้นธุรกิจเอสเอ็มอีด้วยเครื่องจักรกลการเกษตรที่ยังขาดแคลน เช่น เครื่องลดความชื้นข้าวเปลือก ตลอดจนการปั้นเอสเอ็มอีผู้ให้บริการเครื่องจักรกลทางการเกษตรแปลงเล็กแบบครบวงจรในอัตราค่าบริการที่เอื้อมถึงได้ การส่งเสริมการพัฒนาสินค้าเกษตรแปรรูปผ่านศูนย์ปฏิรูปอุตสาหกรรม 4.0 (ITC 4.0) ในทุกภูมิภาค ซึ่งจะช่วยเพิ่มมูลค่าให้แก่ผลผลิต และการส่งเสริมการเข้าถึงแหล่งเงินทุนในการต่อยอดธุรกิจ มิติที่ 2 (ส) : ปั้นเอสเอ็มอีให้มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ โดยการขับเคลื่อนเศรษฐกิจยุคใหม่บนพื้นฐานของการใช้องค์ความรู้ ความคิดสร้างสรรค์ และทรัพย์สินทางปัญญา เชื่อมโยงกับทุนทางวัฒนธรรม เทคโนโลยี และนวัตกรรมสมัยใหม่ จนเกิดเป็นอัตลักษณ์และมูลค่าเพิ่มให้แก่ผลิตภัณฑ์ของชุมชน รวมถึงปั้นระบบการพัฒนาคนรุ่นใหม่ โดยร่วมกับกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (อว.) เพื่อสร้างระบบฝึกงานให้นักศึกษาในภาคการเรียนปกติ หรือที่เรียกว่า “สหกิจ” โดยนักศึกษาจะได้รับหน่วยกิตและผลคะแนนจากการนำความคิดสร้างสรรค์และความรู้ในห้องเรียนไปประยุกต์ใช้กับการทำงานจริงในสถานประกอบการซึ่งเป็นการเพิ่มพูนประสบการณ์และเสริมสร้างแนวคิดการเป็นผู้ประกอบการหน้าใหม่ (New Entrepreneur) มิติที่ 3 (อ): ปั้นเอสเอ็มอีให้มีประสิทธิภาพ ผ่านการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลอัจฉริยะ โดยจะส่งเสริมให้ผู้ประกอบการใช้ซอฟต์แวร์และแอพพลิเคชั่นในการทำธุรกิจ (Business Software & Application) ซึ่งรวบรวมจากฐานข้อมูลของ DEPA ฐานข้อมูลของสมาคมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ไทย และฐานข้อมูลของ กสอ. โดยจะ คัดเลือกบริษัทผู้ให้บริการซอฟต์แวร์และแอพพลิเคชั่น รูปแบบ Cloud-Based ที่มีคุณภาพ ไม่น้อยกว่า 20 บริษัท และเปิดให้ผู้ประกอบการได้ทดลองใช้ฟรี ไม่น้อยกว่า 6 เดือน ทั้งนี้ กสอ.จะขอให้ผู้ประกอบการใช้งานซอฟต์แวร์ หรือแอพพลิเคชั่นอย่างน้อย 1 โปรแกรม ซึ่งในขณะเดียวกัน นี่จะเป็นการช่วยส่งเสริมผู้ผลิตแอพพลิเคชั่น หรือ สตาร์ตอัพที่มีศักยภาพไปพร้อมๆ กัน แนวทางต่อมา คือ “ปรุง” ระบบนิเวศในการสนับสนุนเอสเอ็มอี ด้วยการบูรณาการร่วมกับหน่วยงานภาครัฐ เอกชน และประชาชน โดยเฉพาะสภาอุตสาหกรรม สภาหอการค้า สมาพันธ์เอสเอ็มอี สภาเกษตรกร และผู้นำพื้นที่ต่างๆ เพื่อช่วยกันปรุงมาตรการส่งเสริมอุตสาหกรรมสู่ภูมิภาค ตอบสนองความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย และแก้ปัญหาของผู้ประกอบการได้อย่างตรงประเด็น โดยเน้นจุดแข็งของกรม คือ เครือข่ายผู้ประกอบการที่มีความหลากหลายในทุกประเภทธุรกิจ ทุกพื้นที่ และทุกระดับ ซึ่งนับเป็นแบบอย่างความสำเร็จ (Success Case) ที่จะช่วยผลักดันและขยายผลให้เกิดผู้ประกอบการที่ประสบความสำเร็จมากขึ้นโดยเร็ว ทั้งหมดนี้ จึงเปรียบเสมือนการนำข้อดีของแต่ละหน่วยงานมาปรุงเป็นสูตรเด็ด ที่จะช่วยให้ธุรกิจของเอสเอ็มอีมีความกลมกล่อมยิ่งขึ้น และแนวทางสุดท้าย คือ “เปลี่ยน” วิธีทำงานเพื่อพัฒนาเอสเอ็มอีในทุกๆ อุตสาหกรรม โดยกรมจะปรับโครงสร้างหน่วยงานภายใน เพื่อมุ่งเน้นการส่งเสริมด้านเกษตรอุตสาหกรรมควบคู่ไปกับด้านอื่นๆ อย่างเต็มประสิทธิภาพและเปลี่ยนบทบาทศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคให้เน้นพัฒนาผู้ประกอบการด้านเกษตรอุตสาหกรรม รวมถึงปรับเปลี่ยนการให้บริการของศูนย์ปฏิรูปอุตสาหกรรม 4.0 (ITC 4.0) ให้สะดวกรวดเร็วขึ้น ขณะเดียวกัน เพื่อให้สอดรับกับนโยบายของรัฐบาลและกระทรวงอุตสาหกรรมที่ได้ปรับระบบการให้บริการในรูปแบบดิจิทัลเซอร์วิส กรมจึงมีนโยบายให้ผู้ประกอบการทุกรายที่สนใจเข้าร่วมกิจกรรมต่างๆ และที่ปรึกษาที่ร่วมงานกับกรมจะต้องลงทะเบียนผ่านระบบออนไลน์ i-Industry Big Data ของกระทรวงอุตสาหกรรม นโยบาย “ปั้น ปรุง เปลี่ยน เอสเอ็มอีให้ดีพร้อม” นั้น มีใจความสำคัญ คือ การปรับกลไกการดำเนินงานและบูรณาการความร่วมมือกันทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน เพื่อร่วมพัฒนาศักยภาพของผู้ประกอบการในทุกจังหวัด ทุกพื้นที่ ทุกชุมชน อันเป็นการสร้างเสริมเศรษฐกิจให้แข็งแรงจากฐานรากอย่างยั่งยืนและมั่นคง โดยผมเชื่อว่าผู้ประกอบการทุกรายล้วนมี “ดี” อยู่แล้วทั้งสิ้น และ กสอ. ของเราก็พร้อมที่จะปั้น ปรุง และเปลี่ยนทุกท่านให้ไม่ใช่แค่ “ดี” แต่ต้อง “ดีพร้อม” ไปด้วยกัน ที่มา https://www.matichon.co.th/economy/news_1863025 เอกสารประกอบการประชุมผู้บริหาร กสอ. ครั้งที่ 59-3/2563 วันที่ 9 มกราคม 2563 ณ ห้องประชุมชั้น 6 โซนบี อาคาร กสอ.
12 ม.ค. 2020
กสอ. เดินหน้าดัน OTOP ก้าวสู่อุตสาหกรรม 4.0
กรุงเทพฯ 10 มกราคม 2563 – นายณัฐพล รังสิตพล อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรมให้เกียรติเป็นประธานการประชุมแถลงผลและวิพากษ์ผลการดำเนินโครงการ ภายใต้โครงการขับเคลื่อนโครงการหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ ประจำปีงบประมาณ 2562 ร่วมด้วย ผู้แทนจากสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี คณะผู้บริหารและเจ้าหน้าที่กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กสอ.) และทีมที่ปรึกษาจากสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง โดยมีนางสุชาดา โพธิ์เจริญ ผู้อำนวยการกองยุทธศาสตร์และแผนงาน กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กล่าวรายงาน ณ ห้องประชุม R2 ชั้น4 โรงแรมเรเนซองส์ ราชประสงค์ การประชุมครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ นำเสนอผลการศึกษาและการประเมินผลการดำเนินโครงการขับเคลื่อนโครงการหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2562 เพื่อให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องได้รับทราบข้อมูลการดำเนินงานของแต่ละด้าน พร้อมทั้งข้อเสนอแนะต่าง ๆ เพื่อนำมาปรับปรุงพัฒนาการดำเนินงานให้มีประสิทธิผลมากขึ้น สำหรับในปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 นั้น กสอ. ได้ดำเนินการส่งเสริมและพัฒนาวิสาหกิจชุมชนมาอย่างต่อเนื่องเพื่อให้สามารถปรับตัวเข้าสู่การเป็นผู้ประกอบการที่เน้นการนำเทคโนโลยี นวัตกรรม และดิจิทัลเข้ามาเป็นเครื่องมือหลักในการพัฒนาธุรกิจ รวมถึงเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชน สร้างอาชีพและรายได้พัฒนาเศรษฐกิจของชุมชนให้มีความมั่นคง ตลอดจนนำภูมิปัญญาท้องถิ่นมาพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อต่อยอดเชิงพาณิชย์ ซึ่งที่ผ่านมามีผู้ประกอบการวิสาหกิจชุมชนได้รับการพัฒนาตามเป้าประสงค์โครงการ จำนวน 1,550 ราย 300 ผลิตภัณฑ์ ### PR.DIP (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สล.กสอ. : ภาพข่าว / รายงาน)
10 ม.ค. 2020
“รสอ.” นำทีมผู้บริหาร ข้าราชการ และเจ้าหน้าที่ กสอ. สวัสดีปีใหม่ อสอ. เนื่องในโอกาสเถลิงศก.ใหม่
กรุงเทพฯ 9 มกราคม 2563 - นายภาสกร ชัยรัตน์ และ นายใบน้อย สุวรรณชาตรี รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (รสอ.) พร้อมด้วย คณะผู้บริหารกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กสอ.) ข้าราชการ และเจ้าหน้าที่ กสอ. เข้าร่วมสวัสดีปีใหม่และรับพรจาก นายณัฐพล รังสิตพล อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (อสอ.) ณ ห้องรับรอง ชั้น 3 อาคารกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ถนนพระรามที่ 6 ราชเทวี ### PR.DIP (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม) รายงาน / ภาพข่าว
09 ม.ค. 2020
คู่มือหรือมาตรฐานการปฏิบัติงาน
แสดงคู่มือหรือแนวทางการปฏิบัติงานที่เจ้าหน้าที่ของหน่วยงานใช้ยึดถือปฏิบัติให้เป็นมาตรฐานเดียวกันที่มีรายละเอียดอย่างน้อยประกอบด้วย (1) ชื่องาน (2) วิธีการขั้นตอนการปฏิบัติงาน (3) ระยะเวลาการปฏิบัติงานแต่ละขั้นตอน (4) กฎหมายที่เกี่ยวข้อง คู่มือหรือมาตรฐานการปฏิบัติงาน กระบวนงานหลัก.- โครงการยกระดับสินค้าเกษตรสู่เกษตรอุตสาหกรรม กองพัฒนาเกษตรอุตสาหกรรม โครงการการพัฒนาการรวมกลุ่มและเชื่อมโยงอุตสาหกรรม กองพัฒนาขีดความสามารถธุรกิจอุตสาหกรรม โครงการสร้างและพัฒนาธุรกิจอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ กองพัฒนาอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ โครงการยกระดับศูนย์ปฏิรูปอุตสาหกรรมสู่ความยั่งยืน (ITC) กองพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยีอุตสาหกรรม โครงการยกระดับธุรกิจอุตสาหกรรมและวิสาหกิจชุมชน กองพัฒนาอุตสาหกรรมชุมชน โครงการปรับธุรกิจให้รองรับการเปลี่ยนแปลง กองพัฒนาขีดความสามารถธุรกิจอุตสาหกรรม โครงการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของวิสาหกิจไทยด้วยดิจิทัล กองพัฒนาดิจิทัลอุตสาหกรรม โครงการเร่งการจัดตั้งและขยายธุรกิจของผู้ประกอบการอัจฉริยะ กองส่งเสริมผู้ประกอบการและธุรกิจใหม่ โครงการเสริมสร้างศักยภาพผู้ประกอบการอุตสาหกรรมสู่การแข่งขันเศรษฐกิจวิถีใหม่ กองยุทธศาสตร์และแผนงาน โครงการยกระดับธุรกิจ SME ด้วยการประยุกต์ใช้โมเดลเศรษฐกิจ BCG กองพัฒนาขีดความสามารถธุรกิจอุตสาหกรรม โครงการสนับสนุนและพัฒนาปัจจัยแวดล้อมที่เอื้อต่อการดำเนินธุรกิจ ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร โครงการพัฒนาระบบส่งเสริม SME (การพัฒนาศักยภาพผู้ให้บริการธุรกิจอุตสาหกรรม (SP)) กองพัฒนาขีดความสามารถธุรกิจอุตสาหกรรม โครงการพัฒนาระบบส่งเสริม SME (การประเมินสมรรถนะร่วมที่ปรึกษาอุตสาหกรรม) กองพัฒนาขีดความสามารถธุรกิจอุตสาหกรรม โครงการพัฒนาศักยภาพอุตสาหกรรมชีวภาพ กองพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยีอุตสาหกรรม โครงการพัฒนาศักยภาพและเชื่อมโยงอุตสาหกรรมเครื่องมือแพทย์ กองพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยีอุตสาหกรรม โครงการพัฒนาและประยุกต์ใช้เทคโนโลยีหุ่นยนต์ ระบบอัตโนมัติและดิจิทัล กองพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยีอุตสาหกรรม โครงการพัฒนาศักยภาพอุตสาหกรรมยานยนต์ กองพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยีอุตสาหกรรม โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินธุรกิจให้กับผู้ประกอบการอุตสาหกรรมด้วยการบริหารจัดการโลจิสติกส์ที่มีประสิทธิภาพอย่างยั่งยืน กองโลจิสติกส์ โครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์สินค้าชุมชนเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม กองพัฒนาอุตสาหกรรมชุมชน โครงการพัฒนาและส่งเสริมศักยภาพผู้ประกอบการภาคอุตสาหกรรมสู่สากล (รางวัลอุตสาหกรรมยอดเยี่ยม/รางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น/รางวัลอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดย่อมดีเด่น) กองส่งเสริมผู้ประกอบการและธุรกิจใหม่ กระบวนการสนับสนุน.- การจัดทำแผนปฏิบัติราชการ กองยุทธศาสตร์และแผนงาน การจัดทำงบประมาณรายจ่ายประจำปี แผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณและการบริหารงบประมาณ กองยุทธศาสตร์และแผนงาน การติดตามและประเมินผล กองยุทธศาสตร์และแผนงาน การจัดทำความร่วมมือในการยกระดับภาคอุตสาหกรรมระหว่างกรมส่งเสริมอุตสาหกรรมกับหน่วยงานต่างประเทศ กองยุทธศาสตร์และแผนงาน การจัดทำ/ทบทวนแผนพัฒนาส่งเสริมอุตสาหกรรมและวิสาหกิจระดับภูมิภาค กองยุทธศาสตร์และแผนงาน การเบิกจ่ายเงินงบประมาณ สำนักงานเลขานุการกรม กระบวนงานบริหารทรัพยากรบุคคล สำนักงานเลขานุการกรม การจัดซื้อจัดจ้างตามพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 สำนักงานเลขานุการกรม แนวทางการยืมใช้ทรัพย์สินของราชการ สำนักงานเลขานุการกรม งานเงินทุนหมุนเวียน สำนักงานเลขานุการกรม การจัดการเรื่องร้องเรียน สำนักงานเลขานุการกรม การจัดการเรื่องร้องเรียนการทุจริต สำนักงานเลขานุการกรม การตรวจสอบภายใน กลุ่มตรวจสอบภายใน งานบริการซ่อมครูภัณฑ์คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่อพ่วง ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
09 ม.ค. 2020
“อสอ.ณัฐพล” นำข้าราชการและเจ้าหน้าที่ กสอ. ร่วมพิธีตักบาตรเนื่องในโอกาสเถลิงศก.ใหม่
กรุงเทพฯ 9 มกราคม 2563 - นายณัฐพล รังสิตพล อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม พร้อมด้วย นายภาสกร ชัยรัตน์ นายใบน้อย สุวรรณชาตรี รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ผู้บริหาร และเจ้าหน้าที่กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กสอ.) ร่วมพิธีทำบุกตักบาตรพระสงฆ์ จำนวน 49 รูป เนื่องในโอกาสขึ้นปีใหม่ พุทธศักราช 2563 โดยมี นายกอบชัย สังสิทธิสวัสดิ์ ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม ผู้ตรวจราชการกระทรวงอุตสาหกรรม คณะผู้บริหารระดับสูงกระทรวงอุตสาหกรรม ข้าราชการ และเจ้าหน้าที่กระทรวงอุตสาหกรรม ณ บริเวณด้านหน้าอาคารสำนักงานปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม ถนนพระรามที่ 6 ราชเทวี ### PR.DIP (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม) รายงาน / ภาพข่าว
09 ม.ค. 2020
คิดเห็นแชร์ : "ปั้น ปรุง เปลี่ยน เอสเอ็มอีให้ดีพร้อม (DIProm)"
คอลัมน์ : คิดเห็นแชร์ (มติชนออนไลน์) ผู้เขียน : นายณัฐพล รังสิตพล (อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม) สวัสดีปีใหม่ 2563 แฟนๆ คิดเห็นแชร์ทุกท่านครับ ในโอกาสวาระขึ้นปีใหม่ ผมขออวยพรให้ทุกท่านมีความสุข ธุรกิจเจริญก้าวหน้า ค้าขายร่ำรวย ตลอดปีหนูทองครับ…และเมื่อปลายปีที่ผ่านมา ผมในฐานะอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรมได้แถลงนโยบายและทิศทางในการดำเนินงานภายใต้ปี 2563 ซึ่งผมและเจ้าหน้าที่กรมส่งเสริมอุตสาหกรรมได้ช่วยกันระดมสมองในการสรรสร้างและวางแนวทางในการพัฒนาพี่น้องผู้ประกอบการเอสเอ็มอีและวิสาหกิจชุมชน เพื่อขับเคลื่อนนโยบายของรัฐบาลให้บรรลุตามเป้าหมาย จึงเป็นที่มาของนโยบาย “ปั้น ปรุง เปลี่ยน เอสเอ็มอีให้ดีพร้อม (DIProm)” รายละเอียดจะเป็นอย่างไรนั้น ผมขอใช้โอกาสนี้แชร์ให้ทุกท่านได้ทราบครับ ก่อนอื่นผมขอขยายความที่มาของคำว่า DIProm ซึ่งย่อมาจาก Department of Industrial Promotion หรือชื่อภาษาอังกฤษของกรมส่งเสริมอุตสาหกรรมนั่นเอง สามารถอ่านออกเสียงได้ว่า “ดีพร้อม” (DIProm) โดยในอดีต หลายท่านคงคุ้นหูชื่อย่อของกรม เช่น กสอ. กรมส่งเสริม หรือ DIP ดังนั้น เพื่อให้เป็นที่รู้จักมากขึ้น กรมจึงมีแนวคิดที่ใช้คำว่า “ดีพร้อม” เป็นชื่อย่อ ผนวกกับนโยบายที่กรมต้องเร่งดำเนินการ จึงเป็นที่มาของนโยบายการดำเนินงานปี 2563 ที่ชื่อว่า “ปั้น ปรุง เปลี่ยน เอสเอ็มอีให้ดีพร้อม (DIProm)” โดยเริ่มจากการ “ปั้น” ผู้ประกอบการเอสเอ็มอี ใน 3 มิติ “ก – ส – อ” คือ มิติที่ 1 (ก) : ปั้นเอสเอ็มอีเกษตรอุตสาหกรรม โดยพัฒนาจากเกษตรดั้งเดิมไปสู่เกษตรสมัยใหม่ ที่ใช้การบริหารจัดการ เทคโนโลยี และนวัตกรรม เพื่อเปลี่ยนเกษตรกรให้เป็นนักธุรกิจเกษตร โดยนำระบบการผลิตและบริหารจัดการในอุตสาหกรรมขนาดใหญ่มาประยุกต์ใช้ในธุรกิจเกษตร เช่น Toyota Production System (TPS), Kaizen และนำนวัตกรรม เทคโนโลยีดิจิทัลมาสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลิตภัณฑ์เกษตรแปรรูป นอกจากนี้ ยังรวมถึงการปั้นธุรกิจเอสเอ็มอีด้วยเครื่องจักรกลการเกษตรที่ยังขาดแคลน เช่น เครื่องลดความชื้นข้าวเปลือก ตลอดจนการปั้นเอสเอ็มอีผู้ให้บริการเครื่องจักรกลทางการเกษตรแปลงเล็กแบบครบวงจรในอัตราค่าบริการที่เอื้อมถึงได้ การส่งเสริมการพัฒนาสินค้าเกษตรแปรรูปผ่านศูนย์ปฏิรูปอุตสาหกรรม 4.0 (ITC 4.0) ในทุกภูมิภาค ซึ่งจะช่วยเพิ่มมูลค่าให้แก่ผลผลิต และการส่งเสริมการเข้าถึงแหล่งเงินทุนในการต่อยอดธุรกิจ มิติที่ 2 (ส) : ปั้นเอสเอ็มอีให้มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ โดยการขับเคลื่อนเศรษฐกิจยุคใหม่บนพื้นฐานของการใช้องค์ความรู้ ความคิดสร้างสรรค์ และทรัพย์สินทางปัญญา เชื่อมโยงกับทุนทางวัฒนธรรม เทคโนโลยี และนวัตกรรมสมัยใหม่ จนเกิดเป็นอัตลักษณ์และมูลค่าเพิ่มให้แก่ผลิตภัณฑ์ของชุมชน รวมถึงปั้นระบบการพัฒนาคนรุ่นใหม่ โดยร่วมกับกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (อว.) เพื่อสร้างระบบฝึกงานให้นักศึกษาในภาคการเรียนปกติ หรือที่เรียกว่า “สหกิจ” โดยนักศึกษาจะได้รับหน่วยกิตและผลคะแนนจากการนำความคิดสร้างสรรค์และความรู้ในห้องเรียนไปประยุกต์ใช้กับการทำงานจริงในสถานประกอบการซึ่งเป็นการเพิ่มพูนประสบการณ์และเสริมสร้างแนวคิดการเป็นผู้ประกอบการหน้าใหม่ (New Entrepreneur) มิติที่ 3 (อ): ปั้นเอสเอ็มอีให้มีประสิทธิภาพ ผ่านการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลอัจฉริยะ โดยจะส่งเสริมให้ผู้ประกอบการใช้ซอฟต์แวร์และแอพพลิเคชั่นในการทำธุรกิจ (Business Software & Application) ซึ่งรวบรวมจากฐานข้อมูลของ DEPA ฐานข้อมูลของสมาคมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ไทย และฐานข้อมูลของ กสอ. โดยจะ คัดเลือกบริษัทผู้ให้บริการซอฟต์แวร์และแอพพลิเคชั่น รูปแบบ Cloud-Based ที่มีคุณภาพ ไม่น้อยกว่า 20 บริษัท และเปิดให้ผู้ประกอบการได้ทดลองใช้ฟรี ไม่น้อยกว่า 6 เดือน ทั้งนี้ กสอ.จะขอให้ผู้ประกอบการใช้งานซอฟต์แวร์ หรือแอพพลิเคชั่นอย่างน้อย 1 โปรแกรม ซึ่งในขณะเดียวกัน นี่จะเป็นการช่วยส่งเสริมผู้ผลิตแอพพลิเคชั่น หรือ สตาร์ตอัพที่มีศักยภาพไปพร้อมๆ กัน แนวทางต่อมา คือ “ปรุง” ระบบนิเวศในการสนับสนุนเอสเอ็มอี ด้วยการบูรณาการร่วมกับหน่วยงานภาครัฐ เอกชน และประชาชน โดยเฉพาะสภาอุตสาหกรรม สภาหอการค้า สมาพันธ์เอสเอ็มอี สภาเกษตรกร และผู้นำพื้นที่ต่างๆ เพื่อช่วยกันปรุงมาตรการส่งเสริมอุตสาหกรรมสู่ภูมิภาค ตอบสนองความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย และแก้ปัญหาของผู้ประกอบการได้อย่างตรงประเด็น โดยเน้นจุดแข็งของกรม คือ เครือข่ายผู้ประกอบการที่มีความหลากหลายในทุกประเภทธุรกิจ ทุกพื้นที่ และทุกระดับ ซึ่งนับเป็นแบบอย่างความสำเร็จ (Success Case) ที่จะช่วยผลักดันและขยายผลให้เกิดผู้ประกอบการที่ประสบความสำเร็จมากขึ้นโดยเร็ว ทั้งหมดนี้ จึงเปรียบเสมือนการนำข้อดีของแต่ละหน่วยงานมาปรุงเป็นสูตรเด็ด ที่จะช่วยให้ธุรกิจของเอสเอ็มอีมีความกลมกล่อมยิ่งขึ้น และแนวทางสุดท้าย คือ “เปลี่ยน” วิธีทำงานเพื่อพัฒนาเอสเอ็มอีในทุกๆ อุตสาหกรรม โดยกรมจะปรับโครงสร้างหน่วยงานภายใน เพื่อมุ่งเน้นการส่งเสริมด้านเกษตรอุตสาหกรรมควบคู่ไปกับด้านอื่นๆ อย่างเต็มประสิทธิภาพและเปลี่ยนบทบาทศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคให้เน้นพัฒนาผู้ประกอบการด้านเกษตรอุตสาหกรรม รวมถึงปรับเปลี่ยนการให้บริการของศูนย์ปฏิรูปอุตสาหกรรม 4.0 (ITC 4.0) ให้สะดวกรวดเร็วขึ้น ขณะเดียวกัน เพื่อให้สอดรับกับนโยบายของรัฐบาลและกระทรวงอุตสาหกรรมที่ได้ปรับระบบการให้บริการในรูปแบบดิจิทัลเซอร์วิส กรมจึงมีนโยบายให้ผู้ประกอบการทุกรายที่สนใจเข้าร่วมกิจกรรมต่างๆ และที่ปรึกษาที่ร่วมงานกับกรมจะต้องลงทะเบียนผ่านระบบออนไลน์ i-Industry Big Data ของกระทรวงอุตสาหกรรม นโยบาย “ปั้น ปรุง เปลี่ยน เอสเอ็มอีให้ดีพร้อม” นั้น มีใจความสำคัญ คือ การปรับกลไกการดำเนินงานและบูรณาการความร่วมมือกันทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน เพื่อร่วมพัฒนาศักยภาพของผู้ประกอบการในทุกจังหวัด ทุกพื้นที่ ทุกชุมชน อันเป็นการสร้างเสริมเศรษฐกิจให้แข็งแรงจากฐานรากอย่างยั่งยืนและมั่นคง โดยผมเชื่อว่าผู้ประกอบการทุกรายล้วนมี “ดี” อยู่แล้วทั้งสิ้น และ กสอ. ของเราก็พร้อมที่จะปั้น ปรุง และเปลี่ยนทุกท่านให้ไม่ใช่แค่ “ดี” แต่ต้อง “ดีพร้อม” ไปด้วยกัน ที่มา https://www.matichon.co.th/economy/news_1863025 เอกสารประกอบการประชุมผู้บริหาร กสอ. ครั้งที่ 59-3/2563 วันที่ 9 มกราคม 2563 ณ ห้องประชุมชั้น 6 โซนบี อาคาร กสอ.
04 ม.ค. 2020
“ผู้บริหาร กสอ.” ร่วมลงนามถวายพระพรชัย เนื่องในโอกาสเถลิงศก.ใหม่
กรุงเทพฯ 1 มกราคม 2563 – นายภาสกร ชัยรัตน์ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม พร้อมด้วย นางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา เลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กสอ.) ร่วมลงนามถวายพระพรชัยมงคล พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสขึ้นปีใหม่ พุทธศักราช 2563 โดยมี นางวรวรรณ ชิตอรุณ เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย รักษาราชการแทนรองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม และคณะผู้บริหารกระทรวงอุตสาหกรรม เข้าร่วมในครั้งนี้ ณ ศาลาสหทัยสมาคมในพระบรมมหาราชวัง ### PR.DIP (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม) รายงาน / ภาพข่าว
02 ม.ค. 2020
“อธิบดีณัฐพล” ร่วมกิจกรรมนาทีทองในงาน “Outlet ของขวัญเพื่อประชาชน มหกรรมสินค้าราคาโรงงาน"
กรุงเทพฯ 25 ธันวาคม 2562 - นายณัฐพล รังสิตพล อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม พร้อมด้วย นายภาสกร ชัยรัตน์ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม เข้าร่วมกิจกรรมนาทีทอง งาน “Outlet ของขวัญเพื่อประชาชน มหกรรมสินค้าราคาโรงงาน" ณ บริเวณสำนักงานปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม ถนนพระรามที่ 6 ราชเทวี โดยอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ร่วมกิจกรรมนาทีทอง เพื่อมอบสินค้าให้กับประชาชนที่มาร่วมงานดังกล่าว อาทิ ปลากระป๋อง 4 กระป๋อง จำหน่ายเพียง 20 บาท ชุดเซทเฒ่าแก่น้อย 1 เซท ราคา 30 บาท หมวกกันน็อค 1 ใบ ราคา 300 บาท ไมโครเวฟ 1 เครื่องราคา 1,000 บาท กาต้มน้ำร้อน 1 เครื่อง ราคา 200 บาท พัดลม 1 เครื่อง ราคา 200 บาท ซึ่งบรรยากาศเป็นไปด้วยความครึกครื้น มีผู้เข้าร่วมงานมากกว่า 100 ท่าน นอกจากนี้ ยังมีเกมส์ให้ร่วมเล่นลุ้นรับรางวัลต่าง ๆ อีกมากมาย ทั้งนี้ “Outlet ของขวัญเพื่อประชาชน มหกรรมสินค้าราคาโรงงาน” จัดขึ้นระหว่างวันที่ 24 – 26 ธันวาคม 2562 เวลา 10.00 – 19.00 น. กระทรวงอุตสาหกรรม ถนนพระราม 6 (เยื้องโรงพยาบาลรามาธิบดี) ### PR. DIP (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม) รายงาน/ภาพข่าว
25 ธ.ค. 2019