Category
กระทรวงอุตฯ รุกปั้นผู้ประกอบการใหม่ ตั้งเป้าส่งเสริมสตาร์ทอัพ เพิ่มมูลค่าอุตสาหกรรมสร้างสรรค์กว่า 4 พันรายปี 60
กสอ. ตั้งเป้าปั้นสตาร์ทอัพภาคเหนือใน 3 กลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมาย พร้อมลุ้นดันเชียงใหม่ สู่ “Startup District” จ.เชียงใหม่ 6 - 7 พฤศจิกายน 2559 – กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กสอ.) กระทรวงอุตสาหกรรม เดินหน้าเร่งส่งเสริมผู้ประกอบการใหม่กลุ่มสตาร์ทอัพทั่วประเทศในปี 2560 กว่า 4 พันราย โดยตั้งเป้าพัฒนา 3 กลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมาย อาทิ ด้านเกษตรและอาหารแปรรูป ด้านเวชภัณฑ์ทางการแพทย์ ด้านธุรกิจบริการการท่องเที่ยวและการออกแบบ เป็นต้น ทั้งนี้ จากข้อมูลพบว่าปัจจุบันเขตภาคเหนือในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ถือเป็นอีกหนึ่งภูมิภาคที่มีศักยภาพในการพัฒนาสู่การเป็นเมืองแห่งสตาร์ทอัพ หรือ Startup District และมีแนวโน้มเติบโตอย่างรวดเร็ว โดยเมื่อเร็ว ๆ นี้ กสอ. ได้จัด “มหกรรมวันนัดพบผู้ประกอบการภาคเหนือ” เพื่อเป็นการสร้างความรู้และพัฒนาขีดความสามารถให้ผู้ดำเนินธุรกิจมีความพร้อมเข้าสู่ยุคอุตสาหกรรม 4.0 พร้อมจัดแสดงตัวอย่างผู้ประกอบการสตาร์ทอัพจำนวนมากในพื้นที่ภาคเหนือ.....อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม/ภาพข่าวกิจกรรม
09 พ.ย. 2016
กสอ. โชว์ “สมาร์ท ฟาร์มหมู” ตัวอย่างนวัตกรรมอุตสาหกรรมเกษตรแห่งความยั่งยืน
จ.เชียงใหม่ 7 พฤศจิกายน 2559 – กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กสอ.) กระทรวงอุตสาหกรรม เร่งผลักดันอุตสาหกรรมเกษตร หนึ่งในสาขาอุตสาหกรรมเป้าหมายจากยุทธศาสตร์ประเทศไทย 4.0 ด้วยการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมต่างๆ อาทิ การนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาประยุกต์ใช้ในการจัดการข้อมูลเพื่อการคาดการณ์และการวางแผน การใช้ความรู้จากกระบวนการทางชีวภาพและวิทยาศาสตร์ต่าง ๆ มาใช้ปรับปรุงให้ผลิตผลเกิดประสิทธิภาพ การให้ความสำคัญกับการอยู่ร่วมกับทรัพยากรธรรมชาติหรือกระบวนการเกษตรอย่างยั่งยืน เป็นต้น โดยเน้นการพัฒนาตั้งแต่ระดับต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ พร้อมผลักดันโครงการส่งเสริมและพัฒนาในอุตสาหกรรมดังกล่าว ภายใต้งบประมาณกว่า 80 ล้านบาท อาทิ โครงการพัฒนาอุตสาหกรรมเกษตรแปรรูป โครงการพัฒนาอุตสาหกรรมอาหารแปรรูป เป็นต้น ทั้งนี้ ยังมีโครงการที่เร่งส่งเสริมในระดับภูมิภาค ได้แก่ โครงการ Thailand Food Valley โดยพบว่าภาคเหนือของประเทศไทยเป็นพื้นที่ที่มีศักยภาพ สามารถเป็นได้ทั้งแหล่งผลิตและแหล่งแปรรูป ซึ่งสามารถผลักดันสู่การแข่งขันได้ในเวทีการค้าระดับสากลอย่างยั่งยืนได้ต่อไปในอนาคต.....อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม/ภาพข่าวกิจกรรม
09 พ.ย. 2016
การแบ่งส่วนราชการ
กฎกระทรวง การแบ่งส่วนราชการกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม พ.ศ. 2560 คำสั่งกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม เรื่อง ตั้งศูนย์วิจัยและพัฒนาวัสดุอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ เป็นส่วนราชการภายในกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม คำสั่งกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม เรื่อง ตั้งกองพัฒนาเกษตรอุตสาหกรรม เป็นส่วนราชการภายในกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม โครงสร้างและอัตรากำลัง กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ข้อมูลเพียงวันที่ 1 พฤศจิกายน 2567 หน้าที่และอำนาจภารกิจของหน่วยงาน กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กฎกระทรวง การแบ่งส่วนราชการกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม พ.ศ. 2560 หน่วยงานส่วนกลาง ทำหน้าที่บริหารงานทั่วไป งานสารบรรณ งานด้านการเงิน การบัญชี การพัสดุ อาคารสถานที่ และยานพาหนะ งานด้านการพัฒนาทรัพยากรบุคคลและบริหารงานบุคคล งานด้านกฎหมาย นิติกรรมและสัญญา ตลอดจนการประชาสัมพันธ์กิจกรรมและผลงานต่าง ๆ ของกรม นอกจากนี้ยังบริหารเงินทุนหมุนเวียนเพื่อการส่งเสริมอาชีพอุตสาหกรรมในครอบครัวและหัตถกรรม โทรศัพท์ : 0 2430 6865-6 โทรสาร : 0 2354 3153 เว็บไซต์ https://os.dip.go.th/th บทบาทภารกิจและการจัดแบ่งงานภายใน สำนักงานเลขานุการกรม ทำหน้าที่ศึกษา พัฒนาหลักสูตรรูปแบบกระบวนการบริหารจัดการธุรกิจอุตสาหกรรมแบบสากล พร้อมการเสริมสร้างพัฒนาขีดความสามารถของอุตสาหกรรม และผู้ให้บริการธุรกิจอุตสาหกรรม บุคลากรที่เกี่ยวข้อง เพื่อยกระดับขีดความสามารถในการประกอบการอย่างมีประสิทธิภาพและสูงขึ้น โทรศัพท์ : 0 2430 6869 โทรสาร : - เว็บไซต์ https://dbcd.dip.go.th/th บทบาทภารกิจและการจัดแบ่งงานภายใน กองพัฒนาขีดความสามารถอุตสาหกรรม ทำหน้าที่ส่งเสริมและพัฒนาผู้ประกอบการ บุคลากร และวิสาหกิจ ให้นำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ในการประกอบการทั้งกระบวนการผลิต การบริหารจัดการ การกระจายสินค้าและบริการ รวมทั้งการประชาสัมพันธ์องค์กร และสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการใช้เทคโนโลยีในอุตสาหกรรม เพื่อเพิ่มผลิตภาพและขีดความสามารถในการแข่งขัน ตลอดจนสามารถสร้างผู้ประกอบการดิจิทัล เพื่อรองรับการเข้าสู่สังคมดิจิทัลได้อย่างมีศักยภาพ โทรศัพท์ : 0 2430 6871 โทรสาร : 0 2354 3221 เว็บไซต์ https://ddi.dip.go.th/th บทบาทภารกิจและการจัดแบ่งงานภายใน กองพัฒนาดิจิทัลอุตสาหกรรม ทำหน้าที่ศึกษาข้อมูล วิเคราะห์ วิจัย พัฒนา ส่งเสริมนวัตกรรมและสนับสนุนวิชาการด้านเทคโนโลยีอุตสาหกรรม ระบบผลิตอัตโนมัติและวัสดุอุตสาหกรรม รวมทั้งเป็นแกนกลางร่วมกับหน่วยงานอื่นทั้งภาครัฐและภาคเอกชนในการถ่ายทอดเทคโนโลยี และสนับสนุนการแปลงเทคโนโลยีสู่ภาคอุตสาหกรรม โทรศัพท์ : 0 2430 6881 โทรสาร : - เว็บไซต์ https://diit.dip.go.th/th บทบาทภารกิจและการจัดแบ่งงานภายใน กองพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยีอุตสาหกรรม ทำหน้าที่ส่งเสริมและพัฒนาอุตสาหกรรมชุมชนและหัตถกรรมไทย ให้มีความเข้มแข็งโดยการนำภูมิปัญญานวัตกรรม มาพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่เป็นเอกลักษณ์ของชุมชน เพื่อรักษาและต่อยอดภูมิปัญญาในเชิงพาณิชย์ การพัฒนาคุณภาพมาตรฐานผลิตภัณฑ์ และการวิจัยสภาวะตลาดวิสาหกิจชุมชนทั้งในประเทศและต่างประเทศ เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมชุมชน และหัตถกรรมไทยให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาด ตลอดจนการพัฒนาระบบการบริหารจัดการให้แก่วิสาหกิจชุมชน เพื่อสร้างองค์ความรู้ในองค์กรอย่างเป็นระบบ รวมถึงการให้บริการข้อมูลข่าวสารของอุตสาหกรรมชุมชน และหัตถกรรมไทยเพื่อให้ผู้ประกอบการวิสาหกิจชุมชนสามารถดำเนินธุรกิจได้อย่างมั่นคง และพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน โทรศัพท์ : 0 2430 6882 โทรสาร : 0 2382 2169 เว็บไซต์ https://dci.dip.go.th/th บทบาทภารกิจและการจัดแบ่งงานภายใน กองพัฒนาอุตสาหกรรมชุมชน ทำหน้าที่ศึกษา วิเคราะห์ และกำหนดแนวทางการสร้างมูลค่าเพิ่มในอุตสาหกรรม โดยการส่งเสริมและพัฒนาออกแบบอุตสาหกรรม วิสาหกิจในอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ให้เป็นที่ยอมรับในระดับสากล รวมทั้งประสานความร่วมมือกับหน่วยงานภาครัฐและเอกชนในการสนับสนุนให้เกิดการรวมกลุ่มธุรกิจหรือสมาคมอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งด้านการดำเนินธุรกิจอย่างมีคุณภาพ โทรศัพท์ : 0 2430 6883 โทรสาร : 0 2390 2315 เว็บไซต์ https://dcr.dip.go.th/th บทบาทภารกิจและการจัดแบ่งงานภายใน กองพัฒนาอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ ทำหน้าที่เป็นแกนกลางในการศึกษา วิเคราะห์ จัดทำยุทธศาสตร์ แผนงานโครงการส่งเสริมอุตสาหกรรม การประสานความร่วมมือระหว่างประเทศ การจัดทำแผนปฏิบัติงาน และงบประมาณประจำปี การพัฒนาระบบบริหารราชการ การกำกับติดตามผลการดำเนินงานและบริหารการใช้จ่ายงบประมาณอย่างมีประสิทธิภาพ ตลอดจนการบริหารจัดการองค์ความรู้เพื่อสนับสนุนการให้บริการข้อมูลและคำปรึกษาแนะนำแก่ธุรกิจอุตสาหกรรม โทรศัพท์ : 0 2430 6867-8 โทรสาร : 0 2354 3030 เว็บไซต์ https://dsp.dip.go.th/th บทบาทภารกิจและการจัดแบ่งงานภายใน กองยุทธศาสตร์และแผนงาน ทำหน้าที่ศึกษารูปแบบแนวทางในการส่งเสริมและสนับสนุนการจัดตั้งธุรกิจ สร้างผู้ประกอบการใหม่ที่มีนวัตกรรม ทั้งการพัฒนาบ่มเพาะผู้ประกอบการ และการเสริมสร้างให้เกิดสังคมผู้ประกอบการ กระตุ้นจิตสำนึก สร้างแรงจูงใจและปัจจัยแวดล้อม เพื่อเพิ่มการลงทุนให้กับเศรษฐกิจโดยรวม โทรศัพท์ : 0 2430 6873 โทรสาร : - เว็บไซต์ https://dnb.dip.go.th/th บทบาทภารกิจและการจัดแบ่งงานภายใน กองส่งเสริมผู้ประกอบการและธุรกิจใหม่ ทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางข้อมูลโลจิสติกส์อุตสาหกรรมที่มีประสิทธิภาพและทันสมัย ศึกษาและวิจัยเพื่อพัฒนาระบบการบริหารจัดการโลจิสติกส์ที่เชื่อมโยงตลอดโซ่อุปทานของอุตสาหกรรม และส่งเสริมการพัฒนาผู้ประกอบการบุคลากรในภาคอุตสาหกรรม ให้สามารถประยุกต์ใช้เทคนิคการบริหารจัดการโลจิสติกส์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ โทรศัพท์ : 0 2430 6875-6 โทรสาร : 0 2354 3169 เว็บไซต์ https://dol.dip.go.th/th บทบาทภารกิจและการจัดแบ่งงานภายใน กองโลจิสติกส์ ทำหน้าที่ออกแบบและดูแลระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ในการเชื่อมโยงระหว่างหน่วยงานภายในและภายนอก วางแผนนโยบายด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ และพัฒนาระบบสารสนเทศสำหรับการบริหารจัดการ รวมทั้งเป็นศูนย์กลางให้บริการปรึกษาแนะนำการจัดการสารสนเทศด้านวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม และบริการให้ข้อมูล ช่วยเหลือ ให้คำปรึกษาแนะนำเบื้องต้นในรูปแบบศูนย์บริการแบบเบ็ดเสร็จผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ โทรศัพท์ : 0 2430 6879 โทรสาร : 0 2202 4491 เว็บไซต์ https://ict.dip.go.th/th บทบาทภารกิจและการจัดแบ่งงานภายใน ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ส่งเสริมและพัฒนาด้านเกษตรอุตสาหกรรมตามนโยบายของรัฐบาล โดยการเชื่อมโยงตั้งแต่เกษตรกรต้นน้ำไปจนถึงผู้ผลิตกลางน้ำ และส่งต่อให้ผู้ทำการตลาดปลายน้ำ อันจะเป็นการยกระดับรายได้ และสร้างความเข้มแข็งให้เศรษฐกิจฐานรากในองค์รวม และเพื่อให้เกิดความคล่องตัวในการปฏิบัติงาน โทรศัพท์ : 0 2430 6878 โทรสาร : 0 2354 0380 เว็บไซต์ https://iaid.dip.go.th/th บทบาทภารกิจและการจัดแบ่งงานภายใน กองพัฒนาเกษตรอุตสาหกรรม ทำหน้าที่ตรวจสอบภายในองค์กร ให้ข้อเสนอแนะต่อผู้รับการตรวจสอบ และเป็นที่ปรึกษาด้านระบบการควบคุมภายใน ทั้งในด้านการบริหารจัดการ ด้านการเงิน และด้านการบริหารความเสี่ยง โทรศัพท์ : 0 2430 6884 โทรสาร : - บทบาทภารกิจและการจัดแบ่งงานภายใน กลุ่มตรวจสอบภายใน หน่วยงานส่วนภูมิภาค ทำหน้าที่กำหนดแผนปฏิบัติการเพื่อการส่งเสริมและพัฒนาอุตสาหกรรมพื้นที่ที่รับผิดชอบ ทำการส่งเสริมพัฒนาและสนับสนุนอุตสาหกรรมในภูมิภาคต่างๆ โดยดำเนินงานตามนโยบาย แนวทาง และมาตรการส่งเสริมและพัฒนาอุตสาหกรรม วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม วิสาหกิจชุมชน และผู้ประกอบการ รวมถึงทำหน้าที่กำหนดแนวทางการพัฒนาองค์ความรู้ที่เหมาะสมและจำเป็นสำหรับผู้ประกอบการและบุคลากรภาคอุตสาหกรรมให้สอดคล้องกับความต้องการของแต่ละพื้นที่ บทบาทภารกิจและการจัดแบ่งงานภายใน ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 1 - 11 ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 1 จังหวัดเชียงใหม่ ที่ตั้ง : เลขที่ 158 ถนนทุ่งโฮเต็ล ตำบลวัดเกต อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ 50000 พื้นที่รับผิดชอบ : เชียงใหม่ เชียงราย แม่ฮ่องสอน ลำพูน ลำปาง พะเยา แพร่ น่าน โทรศัพท์ : 0 5208 1942 โทรสาร : 0 5324 8315 เว็บไซต์ https://ipc1.dip.go.th ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 2 จังหวัดพิษณุโลก ที่ตั้ง : เลขที่ 292 หมู่ 1 ถนนสายเลี่ยงเมืองสุโขทัย-นครสวรรค์ ตำบลบ้านกร่าง อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก 65000 พื้นที่รับผิดชอบ : พิษณุโลก สุโขทัย อุตรดิตถ์ เพชรบูรณ์ ตาก โทรศัพท์ : 0 5500 9242 โทรสาร : 0 5500 9534 เว็บไซต์ http://ipc2.dip.go.th ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 3 จังหวัดพิจิตร ที่ตั้ง : เลขที่ 200 หมู่ที่ 8 ถนนเลี่ยงเมือง ตำบลท่าหลวง อำเภอเมือง จังหวัดพิจิตร 66000 พื้นที่รับผิดชอบ : ชัยนาท ลพบุรี สิงห์บุรี อ่างทอง กำแพงเพชร นครสวรรค์ พิจิตร อุทัยธานี โทรศัพท์ : 0 5603 9942 โทรสาร : 0 5661 3559 เว็บไซต์ http://ipc3.dip.go.th ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 4 จังหวัดอุดรธานี ที่ตั้ง : เลขที่ 399 หมู่ที่ 11 ถนนมิตรภาพ ตำบลโนนสูง อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี 41330 พื้นที่รับผิดชอบ : บึงกาฬ เลย หนองคาย หนองบัวลำภู อุดรธานี โทรศัพท์ : 0 4218 0162 โทรสาร : 0 4220 7240 เว็บไซต์ http://ipc4.dip.go.th ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 5 จังหวัดขอนแก่น ที่ตั้ง : เลขที่ 86 หมู่ที่ 3 ตำบลสำราญ อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น 40000 พื้นที่รับผิดชอบ : นครพนม มุกดาหาร สกลนคร กาฬสินธุ์ ขอนแก่น มหาสารคาม ร้อยเอ็ด โทรศัพท์ : 0 4304 1362 โทรสาร : 0 4330 6873 เว็บไซต์ http://ipc5.dip.go.th ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 6 จังหวัดนครราชสีมา ที่ตั้ง : เลขที่ 333 ตำบลสูงเนิน อำเภอสูงเนิน จังหวัดนครราชสีมา 30170 พื้นที่รับผิดชอบ : นครราชสีมา ชัยภูมิ บุรีรัมย์ สุรินทร์ โทรศัพท์ : 0 4408 2032 โทรสาร : 0 4441 9089 เว็บไซต์ http://ipc6.dip.go.th ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 7 จังหวัดอุบลราชธานี ที่ตั้ง : เลขที่ 222 หมู่ที่ 24 ตำบลขามใหญ่ อำเภอเมืองอุบลราชธานี จังหวัดอุบลราชธานี 34000 พื้นที่รับผิดชอบ : อุบลราชธานี อำนาจเจริญ ศรีสะเกษ ยโสธร โทรศัพท์ : 0 4595 9162 โทรสาร : 0 4531 1987 เว็บไซต์ http://ipc7.dip.go.th ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 8 จังหวัดสุพรรณบุรี ที่ตั้ง : เลขที่ 117 หมู่ที่ 1 ถนนมาลัยแมน ตำบลดอนกำยาน อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี 72000 พื้นที่รับผิดชอบ : นนทบุรี ปทุมธานี พระนครศรีอยุธยา สระบุรี กาญจนบุรี นครปฐม ราชบุรี สุพรรณบุรี ประจวบคีรีขันธ์ เพชรบุรี สมุทรสงคราม สมุทรสาคร โทรศัพท์ : 0 3596 9862 โทรสาร : 0 3544 1030 เว็บไซต์ http://ipc8.dip.go.th ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 9 จังหวัดชลบุรี ที่ตั้ง : เลขที่ 67 หมู่ที่ 1 ตำบลเสม็ด อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี 20000 พื้นที่รับผิดชอบ : จันทบุรี ชลบุรี ตราด ระยอง ฉะเชิงเทรา นครนายก ปราจีนบุรี สมุทรปราการ สระแก้ว โทรศัพท์ : 0 3304 7462 โทรสาร : 0 3827 3701 เว็บไซต์ http://ipc9.dip.go.th ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 10 จังหวัดสุราษฎร์ธานี ที่ตั้ง : เลขที่ 131 หมู่ที่ 10 ตำบลวัดประดู่ อำเภอเมือง จังหวัดสุราษฎร์ธานี 84000 พื้นที่รับผิดชอบ : ชุมพร นครศรีธรรมราช พัทลุง สุราษฎร์ธานี กระบี่ ตรัง พังงา ภูเก็ต ระนอง โทรศัพท์ : 0 7795 4342 โทรสาร : 0 7720 0449 เว็บไซต์ http://ipc10.dip.go.th ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 11 จังหวัดสงขลา ที่ตั้ง : เลขที่ 165 หมู่ที่ 1 ตำบลนำ้น้อย อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา 90112 พื้นที่รับผิดชอบ : นราธิวาส ปัตตานี ยะลา สงขลา สตูล โทรศัพท์ : 0 7489 0632 โทรสาร : 0 7421 1904 เว็บไซต์ : http://ipc11.dip.go.th ทำหน้าที่ศึกษา วิจัย และพัฒนาวัสดุอุตสาหกรรม เพื่อให้เกิดกระบวนการพัฒนา ผลิตภัณฑ์เชิงสร้างสรรค์ ในการสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจ โดยส่งเสริม สนับสนุน พัฒนาเทคโนโลยีการผลิต และการจัดการวัสดุอุตสาหกรรม สร้างสรรค์ให้มีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ยังเป็นศูนย์กลางในการให้คำปรึกษาแนะนำการบริการข้อมูล วิเคราะห์ทดสอบวัสดุ ออกแบบ พัฒนาและสร้างต้นแบบผลิตภัณฑ์ จากวัสดุอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ และนำผลการศึกษา วิจัย หรือทดสอบ มาเป็นข้อมูลเพื่อให้บริการแก่วิสาหกิจ รวมทั้งถ่ายทอดเทคโนโลยี นวัตกรรม การใช้ประโยชน์จากวัสดุอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ เพื่อถ่ายทอดให้แก่สถาน ประกอบการและบุคลากรในภาคอุตสาหกรรม โทรศัพท์ : 0 5401 9942 โทรสาร : 0 5428 1885 เว็บไซต์ : https://cim.dip.go.th/th บทบาทภารกิจและการจัดแบ่งงานภายใน ศูนย์วิจัยและพัฒนาวัสดุอุตสาหกรรมสร้างสรรค์
26 ต.ค. 2016
เรื่อง บัญชีรายชื่อผู้ผ่านการสรรหาและเลือกสรรเป็นพนักงานราชการทั่วไป (คนพิการ)
ประกาศกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม เรื่อง บัญชีรายชื่อผู้ผ่านการสรรหาและเลือกสรรเป็นพนักงานราชการทั่วไป (คนพิการ) รายละเอียดดังแนบ
26 ต.ค. 2016
อุตฯ เดินเครื่องพัฒนาผู้ประกอบการกลุ่ม Spring up ตั้งเป้าอัพเกรดผู้ประกอบการเพื่อสร้างความยั่งยืนของอุตสาหกรรมไทย
อุตฯ เดินเครื่องพัฒนาผู้ประกอบการกลุ่ม Spring up ตั้งเป้าอัพเกรดผู้ประกอบการเพื่อสร้างความยั่งยืนของอุตสาหกรรมไทย กสอ. เปิดโครงการเอสเอ็มอีสปริงอัพ รุ่น 2 และรุ่น 3 ติวผู้ประกอบการกว่า 200 ราย รับนโยบายการขยายตัวอุตสาหกรรมไทย กระทรวงอุตสาหกรรม เร่งเดินหน้าพัฒนาผู้ประกอบการกลุ่ม Spring Up หรือผู้ประกอบการที่มีความแข็งแกร่ง มีศักยภาพ และมีความสามารถในการก้าวกระโดดในการทำธุรกิจ ซึ่งปัจจุบันได้มีการดำเนินการฝึกอบรมโครงการ SMEs Spring UP รุ่นที่ 1 ไปแล้ว 100 ราย และกำลังจะฝึกอบรมรุ่นที่ 2 และรุ่นที่ 3 อีก รุ่นละ 100 ราย รวมทั้งสิ้น 200 ราย ให้มีความโดดเด่นและมีศักยภาพ สามารถสร้างนวัตกรรมและองค์ความรู้ผ่านยุทธศาสตร์ใหม่ ๆ ให้ตนเองสามารถก้าวกระโดดสู่เวทีการค้าระดับนานาชาติ ทั้งนี้ ในงบประมาณปี 2560 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กสอ.) ได้ต่อยอดดำเนิน โครงการ SMEs Spring Up รุ่นที่ 2 และรุ่นที่ 3 ด้วยงบประมาณสำหรับโครงการนี้กว่า 15 ล้านบาท พร้อมเพิ่มหลักสูตรที่กลุ่มผู้ประกอบการดังกล่าวต้องการเพิ่มเติม อาทิ การช่วยเหลือทางด้านการเงิน และกิจกรรมการจัดทำแผนนวัตกรรม และการพัฒนาตนเองภายใต้ความท้าทายของการเปลี่ยนแปลงโลก การปรับตัวองค์กรในการเข้าสู่ยุคอุตสาหกรรม 4.0 การจัดทำข้อเสนอแนะเกี่ยวกับมาตรการและนโยบายในส่งเสริมการพัฒนา SMEs ให้สามารถพัฒนาองค์กรธุรกิจได้อย่างก้าวกระโดด โดยผู้เข้าร่วมมาจากอุตสาหกรรมหลากหลายซึ่งรวมทั้ง 5 อุตสาหกรรมเป้าหมายหลัก ได้แก่ กลุ่มอุตสาหกรรมอาหารและเกษตรแปรรูป กลุ่มอุตสาหกรรมไฮเทค กลุ่มสุขภาพและอุตสาหกรรมที่เกี่ยวเนื่อง กลุ่มดิจิทัล และกลุ่มครีเอทีฟและบริการ..........อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม
26 ต.ค. 2016
วิธีทำโบว์ไว้อาลัยสีดำสำหรับติดเสื้อเพื่อไว้ทุกข์พ่อหลวงของเรา
วิธีทำโบว์ไว้อาลัยสีดำสำหรับติดเสื้อเพื่อไว้ทุกข์พ่อหลวงของเรา
21 ต.ค. 2016
กสอ. ชี้อุตฯอาหารไทยรั้งแชมป์เบอร์ 1 ของโลก ดันคอนเซปต์ “ฟู้ดวัลเลย์” ใช้งานวิจัยยกระดับการผลิตรับยุทธศาสตร์ “ไทยแลนด์ 4.0”
กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กสอ.) กระทรวงอุตสาหกรรม เผยการส่งออกอุตสาหกรรมอาหารไทยยังคงรั้งแชมป์เบอร์หนึ่งของโลก โดยมีมูลค่าสูงกว่า 890,000 ล้านบาท ชี้สินค้าส่งออกใน 3 กลุ่มมีการขยายตัวได้แก่ น้ำตายทราย ไก่ และเครื่องปรุงรส พร้อมเตรียมเดินหน้าผลักดันกลุ่มอุตสาหกรรมอาหารอย่างจริงจังหลังพบยังมีปัญหาที่ต้องเร่งพัฒนาในบางประการ อาทิ นวัตกรรมด้านการผลิต คุณภาพของสินค้า การควบคุมมาตรฐานของผลิตภัณฑ์ ฯลฯ โดยในปี 2560 จะเน้นการใช้การวิจัยและการสร้างนวัตกรรมเพื่อสนองโมเดลประเทศไทย 4.0 อย่างเป็นรูปธรรม ผ่านการสานต่อโครงการฟู้ดวัลเลย์ (Food Valley) ด้วยการจับมือกับสำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตรด้วยการสร้างความร่วมมือด้านการวิจัย เพื่อให้เกิดการใช้นวัตกรรมและนำไปพัฒนาศักยภาพให้เกิดประสิทธิภาพอย่างสูงสุด ตลอดจนยังมี โครงการเพื่อส่งเสริมผู้ประกอบการภายใต้ปีงบประมาณ 2560 กว่า 10 โครงการ อาทิ โครงการพัฒนาอุตสาหกรรมแปรรูป โครงการพัฒนาอุตสาหกรรมฮาลาล โครงการพัฒนาอุตสาหกรรมเกษตรแปรรูป เป็นต้น ..... อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม / ภาพข่าวกิจกรรม
18 ต.ค. 2016
เรื่อง การขึ้นบัญชีและการยกเลิกบัญชีผู้ได้รับการคัดเลือกในตำแหน่งนักวิชาการโสตทัศนศึกษาปฏิบัติการของกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม
ประกาศกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม เรื่อง การขึ้นบัญชีและการยกเลิกบัญชีผู้ได้รับการคัดเลือกในตำแหน่งนักวิชาการโสตทัศนศึกษาปฏิบัติการของกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม รายละเอียดดังแนบ
12 ต.ค. 2016