หมวดหมู่
ไขกลยุทธ์ Thai Food Forward ขับเคลื่อนยังไงให้คลัสเตอร์แข็งแกร่ง
รวมกลุ่มเป็นคลัสเตอร์ ช่วยพัฒนาธุรกิจให้ก้าวไกล วันนี้เราจะพามาไขเคล็ดลับ มุมมองการบริหารคลัสเตอร์ของคุณชัย พิธาน อิมราพร ประธานคลัสเตอร์กลุ่มอุตสาหกรรมอาหาร ขนม และเครื่องดื่ม พร้อมรับประทาน (Thai Food Forward) ว่าทำอย่างไร ถึงขับเคลื่อนคลัสเตอร์ TFF ไปได้ด้วยความแข็งแกร่ง มีใจให้กับการรวมกลุ่ม ไม่ว่าธุรกิจของคุณจะเป็นแบรนด์เล็กหรือแบรนด์ใหญ่ ก็สามารถเข้ามาเป็นหนึ่งในสมาชิกของคลัสเตอร์ TFF ได้ ขอแค่ “ต้องมีใจให้กับการรวมกลุ่ม” ก็พอ เพราะภายในคลัสเตอร์ TFF เอง จะมีข้อตกลงร่วมกันอยู่ 1 เรื่อง นั่นก็คือ คุณจะต้องจัดสรรเวลามาเข้าร่วมการประชุมกลุ่มให้ได้ ซึ่งคลัสเตอร์ของเราจะประชุมร่วมกัน 1 ครั้ง/เดือน ในกรณีที่มาไม่ได้ก็สามารถส่งตัวแทน ไม่ว่าจะเป็น เพื่อน หรือญาติที่รู้เรื่องธุรกิจของคุณ มาเข้าประชุมแทนได้ ซึ่งในการประชุมแต่ละครั้ง จะทำให้เกิดกิจกรรม รวมไปถึงการแบ่งปันความรู้ต่างๆ ที่จะช่วยขับเคลื่อนทั้งธุรกิจ และคลัสเตอร์ให้เติบโตขึ้นไปอย่างยั่งยืน แต่งตัวให้Brandingคือสิ่งสำคัญ สมาชิกแต่ละคนล้วนมีความรู้ ประสบการณ์ และความสามารถที่แตกต่างกันออกไป คลัสเตอร์ TFF จึงให้ความสำคัญกับการพัฒนาศักยภาพ ทั้งตัวผลิตภัณฑ์และผู้ประกอบการเอง โดยเฉพาะเรื่องการสร้าง Branding ที่คุณชัยจะจัดให้สมาชิกแต่ละท่านเวียนกันนำผลิตภัณฑ์ของตัวเอง มาเป็น Case study เพื่อให้สมาชิกท่านอื่นๆ ช่วยกันดูและคอมเมนต์ ตั้งแต่ Branding Packaging รวมไปถึงการชิมผลิตภัณฑ์ เพื่อเป็นข้อมูลให้กับเจ้าของธุรกิจได้นำไปพัฒนาต่อ เพราะคุณชัยเชื่อว่า สมาชิกทุกคนเป็นเหมือนกูรูที่อยู่ในวงการอาหาร สามารถช่วยกันพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้ดีขึ้นได้ ก่อนจะส่งออกสู่ตลาดจนไปถึงมือผู้บริโภค เพิ่มโอกาสด้วยการออกตลาด “มองหาโอกาส” เป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่จะช่วยขับเคลื่อนให้ธุรกิจและคลัสเตอร์ก้าวไปข้างหน้าได้ ซึ่งหนึ่งในแผนของคุณชัย ในฐานะที่เป็นประธานคลัสเตอร์ TFF เลยก็คือ การผลักดันให้คนอื่นรู้จักแบรนด์ต่างๆ ของผู้ประกอบการในกลุ่ม เช่น การวางแผนจะจัด Mini exhibition ในห้างสรรพสินค้า เพื่อ Roadshow สินค้าให้กับผู้บริโภคได้รู้จัก การวางแผนจะจัด Open house โดยการเชิญผู้ประกอบการทางด้านโรงแรม ภัตตาคาร ร้านค้า ซูเปอร์มาร์เก็ตต่างๆ มาชมสินค้าภายในกลุ่มของเรา หากผู้ประกอบการสนใจสินค้าชิ้นไหน ก็สามารถ Matching กับเจ้าของธุรกิจได้เลย นอกจากนี้คุณชัยยังวางแผนในระยะยาวไว้ว่า อยากจะผลักดันธุรกิจของสมาชิก ให้เป็นที่รู้จักในตลาดต่างประเทศอีกด้วย นอกจากกลยุทธ์การดำเนินงานแล้ว การได้รับความร่วมมือจากสมาชิกในคลัสเตอร์ ก็เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่สำคัญ ที่จะช่วยผลักดันให้ธุรกิจ และคลัสเตอร์พัฒนาต่อไปได้ เหมือนที่คุณชัยกล่าวเอาไว้ตั้งแต่ตอนต้น ก่อนจะเข้ามาเป็นสมาชิกในกลุ่มแล้วว่า “ต้องมีใจให้กับการรวมกลุ่ม”
03 มี.ค. 2565
ถอดเคล็ดลับทางรอดธุรกิจ Lana House
ในวันที่โควิดมาเคาะประตูถึงหน้าบ้าน ธุรกิจของผู้ประกอบการส่วนมากต่างก็ได้รับผลกระทบกันไปแบบเต็มๆ ซึ่งหนึ่งในปัจจัยที่จะช่วยให้ธุรกิจยังคงเดินหน้าต่อไปได้นั้นก็คือ “การปรับตัว” เหมือนกับคุณแจ็ค บดินทร์ เจริญพงศ์ชัย เจ้าของ Larna House ที่ยังคงส่งต่อความหวานและขมของเค้กช็อกโกแลตหน้านิ่มได้ ด้วยการพลิกวิกฤตให้เป็นโอกาส ตลาดออนไลน์คือคำตอบเมื่อพฤติกรรมผู้บริโภคเปลี่ยนไป เมื่อพฤติกรรมผู้บริโภคเปลี่ยน การขายหน้าร้านเพียงอย่างเดียวอาจจะไม่ตอบโจทย์อีกต่อไป เมื่อ 5 ปีที่แล้วคุณแจ็คจึงได้เริ่มหันมาศึกษาช่องทางการทำธุรกิจออนไลน์เพิ่มขึ้น ซึ่งการปรับตัวในครั้งนั้นก็ทำให้คุณแจ็คเหมือนมีแต้มต่อ ในวันที่โรคโควิด – 19 แพร่ระบาด แม้หน้าร้านจะขายไม่ได้ แต่ก็ยังพอมีรายได้จากช่องทางการสั่งซื้อทางออนไลน์อยู่ นอกจากนี้คุณแจ็คยังได้นำความรู้เรื่องการทำธุรกิจออนไลน์ มาช่วยแนะนำและผลักดันเพื่อนๆ สมาชิกในคลัสเตอร์ผู้ประกอบการคุณภาพด้านอาหาร (Taste Top Thailand: TTT) สมาชิกคนไหนที่ทำเป็นอยู่แล้วก็มาช่วยเสริมให้กับคนที่ยังไม่มีร้านแบบออนไลน์ ซึ่งจุดนี้ก็จะช่วยสร้างตัวตนของแบรนด์บนโลกออนไลน์ ทำให้คนมองเห็นและมีโอกาสที่จะขายสินค้าได้มากขึ้น เชื่อมโยงความต่างสร้างช่องทางหารายได้เพิ่ม ความหลากหลายของสินค้า คือความสนุกและความท้าทายของการทำธุรกิจ หลังจากที่ผ่านการล็อคดาวน์ครั้งแรกมาแล้ว คุณแจ็คและเพื่อนๆ สมาชิกในกลุ่ม ช่วยกันจัดอีเวนต์แคมเปญ “ไทยหนุนไทย” ในช่วงเดือนพฤศจิกายน 2563 ขึ้นมา เพื่อนำเอาสินค้าในกลุ่มที่คิดว่าน่าจะไปด้วยกันได้ ไม่ว่าจะเป็น ผักผลไม้แปรรูป ลูกตาลลอยแก้ว ส้มตำกรอบ น้ำขม เค้กช็อกโกแลต เครื่องเทศ ผงปรุงรสต่างๆ รวมไปถึงเครื่องดื่มคอลลาเจนแบบผง ฯลฯ มาจับคู่กันแล้วขายเป็น Gift Set ถือเป็นช่องทางในการเพิ่มศักยภาพและสร้างโอกาสในการขายสินค้าได้มากขึ้น ทำธุรกิจต้องมีแผนสำรองเรื่องการเงิน ธุรกิจมาพร้อมกับเม็ดเงิน ยิ่งในช่วงสถานการณ์ที่โรคโควิด – 19 กลับมาระบาดใหม่อีกระลอก จนทำให้กำลังซื้อของผู้บริโภคลดน้อยลง ยิ่งต้องวางแผนการเงินให้รอบคอบ คุณแจ็คใช้วิธีการทำธุรกิจแบบพอเพียง ไม่มีหนี้ แต่ต้องมีเงินสำรองกันไว้ใช้ในอีก 6 เดือนข้างหน้าได้ แม้รายได้จะลดลงไปบ้าง แต่ก็ยังรับมือไหว ธุรกิจพอเดินต่อไปได้ เพราะไม่หยุดที่จะเรียนรู้และพร้อมปรับตัวอยู่เสมอ จึงทำให้ธุรกิจ Larna House เค้กช็อกโกแลตหน้านิ่ม ของคุณแจ็คยังคงเดินต่อไปได้ ไม่ว่าจะมีอุปสรรคอย่างโรคโควิด – 19 มาขัดขาก็ตาม
03 มี.ค. 2565
ขอเชิญเข้าร่วมงานสัมนาเพื่อเชื่อมโยงภาคอุตสาหกรรมไทย - ญี่ปุ่น ภายใต้แนวคิด OTAGAI
ขอเชิญผู้สนใจเข้าร่วมงานสัมมนา New OTAGAI Forum ครั้งที่ 21 งานสัมมนาเพื่อเชื่อมโยงภาคอุตสาหกรรมไทย - ญี่ปุ่น ภายใต้แนวคิด OTAGAI หรือ การช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ที่มุ่งเน้นให้เกิดความร่วมมือที่ได้ประโยชน์ร่วมกัน (Win-Win) ผ่านการนำเสนอความต้องการ (Business Needs) โดยผู้ประกอบการ SMEs ชั้นนำของไทยและญี่ปุ่น จาก อุตสาหกรรมเครื่องมือแพทย์ BCG (Bio-Circular-Green) รวมทั้งเทคโนโลยีที่มีความทันสมัย วันพุธ ที่ 9 มีนาคม 2565 เวลา 13.30 - 16.30 น. ณ ศูนย์นิทรรศการและการประชุม ไบเทค (BITEC) ภายในงาน Metalex March ข้อมูลเพิ่มเติม https://shorturl.asia/GVDUk ผู้ที่สนใจสามารถเข้าร่วมงานในรูปแบบออนไลน์ ผ่านระบบ Zoom Webinar ได้ ฟรีไม่มีค่าใช้จ่าย สามารถลงทะเบียนกิจกรรมได้ที่
03 มี.ค. 2565
ส่งเสริมสนับสนุน สื่อรณรงค์ เป็นการปลูกฝังค่านิยมการต่อต้านการทุจริตและสร้างจิตสำนึกอันดีงามในด้านคุณธรรม จริยธรรม ให้กับเจ้าหน้าที่ กสอ.
ส่งเสริมสนับสนุน สื่อรณรงค์ เป็นการปลูกฝั่งค่านิยมการต่อต้านการทุจริตและสร้างจิตสำนึกอันดีงามในด้านคุณธรรม จริยธรรม ให้กับเจ้าหน้าที่ กสอ. เพื่อสร้างวัฒนธรรมที่ดี และปลูกฝังบุคลากรให้ปฏิบัติหน้าที่อย่างซื่อสัตย์ สุจริต ไม่รับสินบน สร้างความตระหนักรู้ให้กับบุคลากร เพื่อป้องกันไม่ให้กระทำความผิดเกี่ยวกับการขัดกันระหว่างประโยชน์ส่วนบุคคลกับประโยชน์ส่วนรวมโดยเผยแพร่ให้เจ้าหน้าที่ของ กสอ. ทุกคน ได้รับทราบและถือปฏิบัติอย่างเคร่งครัด พร้อมทั้งจัดทำโปสเตอร์ประชาสัมพันธ์ แสดงถึงนโยบายดังกล่าว
01 มี.ค. 2565
“ดีพร้อม” เชื่อมโยงเครือข่าย CIV DIPROM สร้างความเข้มแข็งและยั่งยืนให้ทุกชุมชนทั่วประเทศ
กรุงเทพฯ 1 มีนาคม 2565 – นางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ให้เกียรติเป็นประธานพิธีเปิดกิจกรรมเชื่อมโยงเครือข่ายผู้ประกอบการชุมชนสู่การพัฒนาหมู่บ้านอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ (Creative Industry Village DIPROM : CIV DIPROM) ผู้บริหารและเจ้าหน้าที่กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กสอ.) หรือ ดีพร้อม (DIPROM) กลุ่มผู้ประกอบการหมู่บ้าน CIV DIPROM โดยมี โดยนายวัชรุน จุ้ยจำลอง ผู้อำนวยการกองพัฒนาอุตสาหกรรมชุมชน กสอ. กล่าวรายงาน ในรูปแบบออนไลน์ผ่านระบบแอปพลิเคชัน Zoom Meeting การจัดกิจกรรมดังกล่าว มีวัตถุประสงค์เพื่อระดมความคิดเห็นจากผู้ประกอบการหมู่บ้าน CIV DIPROM จำนวน 251 ชุมชน เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และความร่วมมือในการพัฒนาธุรกิจ จนสามารถยกระดับชุมชนให้เชื่อมโยงการท่องเที่ยวได้อย่างเต็มรูปแบบ พร้อมทั้งยังสามารถกระตุ้นเศรษฐกิจจากการสร้างอาชีพและรายได้ให้กับคนในชุมชน โดยการระดมความคิดเห็นในหัวข้อต่าง ๆ ดังนี้ ปัญหาและผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ความต้องการด้านพื้นฐานและความต้องการการสนับสนุนด้านต่าง ๆ ได้แก่ ด้านผลิตภัณฑ์ (การพัฒนาผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์ มาตรฐานสินค้าและบริการ โอกาสทางการตลาด) ด้านกระบวนการ (การผลิต/เทคโนโลยี/เครื่องจักร การเชื่อมโยงเครือข่ายเพื่อส่งเสริมธุรกิจ) และด้านบุคลากร (การบริหารจัดการชุมชน ทักษะที่จำเป็นสำหรับผู้ประกอบการ การเข้าถึงแหล่งเงินทุน) โดยการระดมความคิดเห็นดังกล่าวจะถูกนำไปรวบรวมเพื่อเป็นข้อมูลสาระสำคัญในการจัดทำแผนการดำเนินงาน/โครงการการเชื่อมโยงเครือข่ายร่วมกับหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน สถาบันการศึกษา อาทิ การบูรณาการความร่วมมือกับกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เพื่อดึงพลังจากนักศึกษาที่เป็นคนรุ่นใหม่ จากหลากหลายสาขาวิชา เข้ามาร่วมพัฒนาชุมชนหมู่บ้าน CIV ซึ่งนักศึกษาจะได้ใช้องค์ความรู้ ความคิดสร้างสรรค์ ตลอดจนนวัตกรรมและเทคโนโลยี ไปพัฒนาและสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ ให้แก่ชุมชนเป็นการเพิ่มศักยภาพก่อนเข้าสู่ตลาดแรงงานหรือ การประกอบธุรกิจ รวมถึงความร่วมมือกับ Big Brother บริษัท บิ๊ก คาเมร่า คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) มามีส่วนช่วยในการพัฒนาและส่งเสริมองค์ความรู้ด้านการตลาด (Marketing Public Relations: MPR) ให้กับผู้ประกอบการหมู่บ้าน CIV และนิสิตนักศึกษาในการสร้างสรรค์สื่อหรือเครื่องมือการประชาสัมพันธ์ด้านการท่องเที่ยวให้ชุมชนเป็นที่รู้จักผ่านโซเชียลมีเดีย (Social Media) เพื่อสร้างการรับรู้ให้กับนักท่องเที่ยวเข้ามาท่องเที่ยวในชุมชนมากขึ้น เพื่อมุ่งหวังให้ทุกชุมชนมีความเข้มแข็งและอยู่ได้อย่างยั่งยืน ### PRDIPROM (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม) รายงาน/ภาพข่าว
01 มี.ค. 2565
ดีพร้อม เปิดตัว 101 สตาร์ แชมป์บรรจุภัณฑ์เพื่อความยั่งยืน หวังสร้างมูลค่าเศรษฐกิจด้วยบรรจุภัณฑ์ไทย
กรุงเทพฯ 28 กุมภาพันธ์ 2565 - ดร.ณัฐพล รังสิตพล อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ให้เกียรติเป็นประธานมอบรางวัลและกล่าวแสดงความยินดีแก่ผู้ชนะการประกวดรางวัลการประกวดบรรจุภัณฑ์ไทย ประจำปี 2564 (ThaiStar Packging Awards 2021) พร้อมทั้งแถลงข่าวการจัดงาน ProPak Asia 2022 และการประกวดบรรจุภัณฑ์ไทยประจำปี 2565 (ThaiStar Packaging Awards 2022) ร่วมด้วย นายมนู เลียวไพโรจน์ ประธานบริษัท อินฟอร์มา มาร์เก็ตส์ ประเทศไทย และนางสาวรุ้งเพชร ชิตานุวัตร์ ผู้อำนวยการกลุ่มโครงการภูมิภาคอาเซียน บริษัท อินฟอร์มา มาร์เก็ตส์ ประเทศไทย ร่วมแถลงข่าวในครั้งนี้ โดยมี นายเจตนิพิฐ รอดภัย รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กล่าวรายงาน ในรูปแบบออนไลน์ผ่านแอปพลิเคชัน Zoom Meeting และ Facebook Fanpage : กองพัฒนาอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ การจัดกิจกรรมประกวดบรรจุภัณฑ์ไทย (ThaiStar Packaging Awards) เป็นความร่วมมือระหว่าง กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กสอ.) หรือ ดีพร้อม (DIPROM) ร่วมกับหน่วยงานพันธมิตรภาคเอกชน และสถาบันการศึกษาที่เกี่ยวข้องกับการบรรจุภัณฑ์ มาอย่างต่อเนื่องเป็นปีที่ 50 โดยในปีนี้ จัดขึ้น ภายใต้หัวข้อ “วิถีใหม่ที่ยั่งยืน” (Sustainability for Next Normal) ซึ่งเป็นโจทย์ให้ผู้ส่งผลงานทุกคนได้ท้าทายว่าจะต้องออกแบบอย่างไร ให้เกิดความยั่งยืนได้อย่างแท้จริง และตอบสนองต่อรูปแบบการใช้ชีวิตของผู้คนทั่วโลกที่กำลังเปลี่ยนไปเป็นวิถีแห่ง Next Normal อย่างสมบูรณ์ ซึ่ง นักเรียน นักศึกษา บริษัท ผู้ประกอบการ หน่วยงาน นักออกแบบอิสระ และประชาชนผู้สนใจ สามารถส่งผลงานบรรจุภัณฑ์เข้าประกวดได้ตั้งแต่บัดนี้ ถึงวันที่ 30 เมษายน 2565 นี้ โดยผลงานที่ได้รับรางวัลจะได้รับการพิจารณาให้เป็นตัวแทนประเทศไทย ในการประกวดบรรจุภัณฑ์ ระดับเอเชีย (AsiaStar Awards 2022) และระดับโลก (WorldStar Awards) เพื่อยกระดับมาตรฐานการประกวดบรรจุภัณฑ์ไทยให้ทัดเทียมการประกวดระดับสากล และเพื่อเป็นการพัฒนาการจัดการประกวดบรรจุภัณฑ์ไทยให้เป็นเวทีที่สามารถพัฒนาวงการอุตสาหกรรมไทยได้อย่างแท้จริงต่อไป และในโอกาสนี้ อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ให้เกียรติมอบรางวัลการประกวดบรรจุภัณฑ์ไทย ประจำปี 2564 (ThaiStar Packaging Award 2021) โดยมีผู้ส่งผลงานเข้าประกวดทุกประเภทรวมทั้งสิ้น 245 ผลงาน และได้รับรางวัล จำนวนทั้งสิ้น 65 รางวัล ประกอบด้วยประเภทที่ได้รับรางวัล Thaistar Packaging Awards 2021 จำนวน 58 รางวัล รางวัลพิเศษการออกแบบบาร์โค้ดบนบรรจุภัณฑ์ จำนวน 4 รางวัล และรางวัลพิเศษการออกแบบบรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม จำนวน 3 รางวัล ทั้งนี้ ยังได้มีการมอบรางวัล AsiaStar 2020 จำนวน 24 รางวัล WorldStar Student 2020 และ WorldStar Student 2021 จำนวน 7 รางวัล และ WorldStar Awards 2021 จำนวน 5 รางวัล ซึ่งการจัดงานในครั้งนี้ นอกจากจะเป็นการเชิดชูเกียรติให้เจ้าของผลงานที่ชนะการประกวดแล้ว ยังเป็นการสร้างชื่อเสียงให้แก่ประเทศไทย รวมถึงเป็นการประชาสัมพันธ์ ส่งเสริมและสนับสนุนนักออกแบบบรรจุภัณฑ์ไทยในเชิงธุรกิจต่อเหล่าสมาชิกประเทศในระดับสากล ### PRDIPROM (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม) รายงาน/ภาพข่าว
01 มี.ค. 2565
ขอเชิญเข้าร่วมกิจกรรมสัมมาออนไลน์หัวข้อ " เสริมแกร่ง SMEs ให้ดีพร้อม ด้วย Software ในระบบ i-industry"
ขอเชิญเข้าร่วมกิจกรรมสัมมาออนไลน์ หัวข้อ " เสริมแกร่ง SMEs ให้ดีพร้อม ด้วย Software ในระบบ i-industry" เข้าร่วมฟรีตลอดรายการ ใช้ฟรี 6 เดือน ซอฟต์แวร์ เพื่อ SMEs มีให้เลือกกว่า 30 ซอฟต์แวร์!‼️ ในวันที่ 9 มี.ค. 2565 เวลา 09.00 - 12.00 น. พลาดไม่ได้ สัมมนาสุด Exclusive งานนี้เจ้าหญิงแห่งวงการไอทีมาเอง หัวข้อ "อัพเดทเทรนด์โลก 2022 อัพเกรดธุรกิจให้ดีพร้อมด้วยSoftware" กับวิทยากรสุดพิเศษ เจ้าของฉายาเจ้าหญิงแห่งวงการ IT คุณซี ฉัตรปวีณ์ ตรีชัชวาลวงศ์ หัวข้อ "การประยุกต์ใช้ระบบดิจิทัลในการบริหารจัดการธุรกิจ" กับที่ปรึกษาและวิทยากรด้านการพัฒนาองค์กร อาจารย์สมพงษ์ พูนลาภทวี งานนี้ทั้ง ดีและฟรี เปิดรับ SMEs ทั่วประเทศ สามารถลงทะเบียนกิจกรรมได้ที่ ** ลงทะเบียนเข้าร่วมงาน รับสิทธิใช้ซอร์ฟแวร์ฟรี 6 เดือน **
01 มี.ค. 2565
ดีพร้อม จัดกิจกรรม DIPROM Financial Literacy เดินหน้าเสริมแกร่งทางการเงินทุกมิติให้ผู้ประกอบการ
กรุงเทพฯ 23 กุมภาพันธ์ 2565 - นายเจตนิพิฐ รอดภัย รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ให้เกียรติเป็นประธานในพิธีเปิดกิจกรรมให้คำปรึกษาแนะนำเชิงลึกเพื่อวางแผนทางการเงินและการบริหารจัดการหนี้ (DIPROM Financial Literacy) ร่วมด้วย นายแสงชัย ธีรกุลวาณิช ประธานสมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย คณะผู้บริหาร และเจ้าหน้าที่กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กสอ.) หรือ ดีพร้อม (DIPROM) คณะผู้บริหารและเจ้าหน้าที่สมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย และ ผู้ประกอบการ โดยมี นายวรวิทย์ จิรัฐิติเจริญ ผู้อำนวยการกองส่งเสริมผู้ประกอบการและธุรกิจใหม่ กล่าวรายงาน ณ ห้องประชุม Prime Hall B โรงแรม เดอไพรม์ แอทรางน้ำ ราชเทวี กิจกรรมดังกล่าว ดีพร้อม ได้ร่วมมือกับสมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย มาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ช่วงปี พ.ศ. 2564 โดยมุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้ประกอบการได้รับพัฒนาความรู้ด้านการเงินในหลากหลายมิติ ได้แก่ การวางแผนทางการเงิน การบริหารจัดการหนี้ รวมถึงความรู้ด้านธุรกิจที่เกี่ยวข้อง เพื่อเพิ่มโอกาส ในการแก้ปัญหาต่าง ๆ ได้แก่ ปัญหาภาระหนี้ ปัญหารายได้ลดลง ปัญหาการขาดสภาพคล่องและเงินทุน และช่วยเชื่อมโยงแหล่งเงินทุน จากสถาบันการเงินต่าง ๆ ให้สถานประกอบการได้มีโอกาสเข้าถึงแหล่งเงินทุน ผ่านการถ่ายทอดองค์ความรู้และให้คำปรึกษาแนะนำเชิงลึกจากผู้เชี่ยวชาญทางการเงินในด้านต่าง ๆ อาทิ การเขียนแผนธุรกิจ การบริหารธุรกิจ โรงงานอุตสาหกรรมและทรัพย์สินทางปัญญา การขอสินเชื่อและการวางแผนทาง การเงิน การบัญชีและภาษี และการตลาด เป็นต้น ทั้งนี้ จากการดำเนินกิจกรรมมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ช่วงปี 2564 ดีพร้อมสามารถเชื่อมโยงแหล่งเงินทุนหมุนเวียน ให้แก่ผู้เข้าอบรมในวงเงิน 9.5 ล้านบาท และ จากแหล่งเงินทุนของสถาบันการเงินอื่น ๆ ในวงเงินกว่า 142 ล้านบาท ### PRDIPROM (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม) รายงาน/ภาพข่าว
24 ก.พ. 2565
7 เรื่องใหญ่การตลาดในปี 2022 จะไม่เหมือนเดิม
7 เรื่องใหญ่การตลาดในปี 2022 จะไม่เหมือนเดิม การต่อสู้ระหว่างบริษัทใหญ่กับบรรดานักดิสรัปต์ เราจะได้เห็นบริษัทใหญ่ ๆ รับมือกับดิสรัปเตอร์โดยการการจัดตั้งยูนิตพิเศษ การทำ M&A หรือการควบรวมกิจการเพื่อนำเอาองค์ความรู้ หรือโครงสร้างธุรกิจแนวใหม่มาผนวกกับความใหญ่โต หรืออีกวิธีหนึ่งก็คือ “ซื้อคนที่จะมาดิสรัปต์ซะเลย” Deeper Collaboration between Corporate, Brand, Media, Influencer and Consumers เป็นความร่วมมือกันระหว่างองค์กร แบรนด์ สื่อ และอินฟลูเอนเซอร์ ที่แน่นแฟ้นมากขึ้น ไม่ได้จำกัดแค่บริษัท หรือแบรนด์เท่านั้น แต่เป็นการจับมือกันระหว่าง ‘แบรนด์ กับ อินฟลูเอนเซอร์’ หรือ ‘อินฟลูเอนเซอร์ กับ สื่อออนไลน์’ เพราะ Influencer ช่วยให้ลูกค้าเข้าใจบริบทของสินค้าและการใช้สินค้าได้ดียิ่งขึ้น Building Metaverse & Virtual world แบรนด์จะเริ่มสร้าง virtual evidence มากขึ้น เหมือนกับการทำธุรกิจที่มีหน้าร้านแบบออฟไลน์ ในเชิงการตลาด เริ่มมีการเคลื่อนไหวให้เห็น อย่างเช่น ในต่างประเทศมีการจัด virtual concert ของ Travis Scott ในเกมส์ Fortnite เคสของ KFC ในจีนที่สร้าง Pocket Franchise ให้ทุกคนสามารถเปิดร้าน KFC บน WeChat App ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของก้าวต่อไปที่จะมี Virtual Franchise ใน Metaverse New Experience Transformation O2O + I2O | Online to Offline + Inside to Outside การสร้างประสบการณ์จากออนไลน์สู่ออฟไลน์ และเริ่มจากภายในสู่ภายนอก สิ่งเหล่านี้จะเริ่มเปลี่ยนมากขึ้นในอนาคต โดยองค์กรจะเริ่มหันมาสร้างแบรนด์และสร้างประสบการณ์ใหม่ ๆ โดยเริ่มต้นจากคนใน แล้วค่อยสื่อสารมันออกไป The Brand Activist : Morality led Value (แบรนด์กับจุดยืน คุณธรรมจะสร้างคุณค่า) ความเคลื่อนไหวต่าง ๆ ที่มีผลกระทบต่อสังคม เช่น ความหลากหลายทางเพศ (LGBTQ), ภาวะโลกร้อน, ความเท่าเทียมกัน, สิทธิมนุษยชน, การเหยียดเชื้อชาติ เป็นต้น โดยผลกระทบจากกการที่แบรนด์แสดงออกในทางตรงข้ามหรือเลือกที่จะนิ่งเฉย คือการแบนไม่สนับสนุนหรืออุดหนุนสินค้านั้นๆ อีก Data-driven to Empathy-driven Marketing ไม่ใช่เพียงการนำข้อมูลที่มีมาวิเคราะห์ แต่การเข้าใจปัญหาของผู้บริโภคอย่างแท้จริง จะทำให้เรานำมาสร้าง Solution ในการแก้ Pain point ได้ โดยต้องอาศัยการสื่อสารอย่างระมัดระวังในประเด็นละเอียดอ่อน การสื่อสารโดยไม่หลอกหลวงหรือไม่รบกวน และสื่อสารให้พวกเขาเข้าใจถึงสิ่งที่เราตั้งใจทำ Brand Value Shift from Authenticity to Sensemaking ในปัจจุบันมีหลายองค์กรที่พยายามสร้างภาพลักษณ์ขององค์กรด้วยการทำสาธารณประโยชน์ แต่หลายกิจกรรมที่ทำนั้นไม่รู้ว่าทำไปเพื่ออะไร อย่างเช่นบางแบรนด์ที่ทำ CSR ปลูกต้นไม้ แต่ไม่มีการต่อยอดหลังปลูก ดังนั้นต่อจากนี้ผู้คนจะถามหาความจริงใจ ความมีเหตุและผลกันมากขึ้น ที่มา : เว็บไซต์ workpointtoday
24 ก.พ. 2565
ดีพร้อม ปลุกพลังเครือข่าย ดีพร้อมฮีโร่ เสริมแกร่งกลุ่มธุรกิจเพื่อสังคม ตีโจทย์แก้ปัญหาเศรษฐกิจฐานราก ยกระดับชุมชนอยู่คู่อุตสาหกรรมอย่างยั่งยืน
กรุงเทพฯ 22 กุมภาพันธ์ 2565 - ดร.ณัฐพล รังสิตพล อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ให้เกียรติเป็นประธาน พิธีเปิดตัวกิจกรรมการสร้างเครือข่ายผู้นำธุรกิจใหม่ (DIPROM HEROES) ร่วมด้วยผู้บริหารและเจ้าหน้าที่กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กสอ.) หรือ ดีพร้อม (DIPROM) ผู้แทนหน่วยงานภาคีเครือข่าย และ ผู้ประกอบการ ณ ห้องบอลรูม A ชั้น 7 โรงแรม เดอะ เวสทิน แกรนด์ สุขุมวิท กิจกรรมดังกล่าว เป็นการดำเนินงานให้คำปรึกษาแนะนำสำหรับผู้นำเครือข่ายรูปแบบใหม่ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาวิสาหกิจต้นแบบในการสร้างโมเดลธุรกิจใหม่ให้สามารถบรรเทาปัญหาและฟื้นฟูเครือข่ายเอสเอ็มอี รวมถึงชุมชน สังคม และสิ่งแวดล้อม โดยให้ธุรกิจที่มีเทคโนโลยีหรือบริการเข้าไปสนับสนุน แบ่งปัน หรือช่วยเหลือเครือข่ายกับชุมชน ซึ่งการทำงานจะแบ่งกลุ่มเป้าหมายออกเป็น 2 ส่วน ได้แก่ 1 “ฮีโร่” (Hero) คือ กลุ่มผู้ประกอบการ SMEs หรือวิสาหกิจชุมชน ที่ทำให้ธุรกิจเติบโตอย่างมีความคิดสร้างสรรค์ โดยใช้เทคโนโลยี นวัตกรรม และการตลาด ไปปรับใช้ในธุรกิจและสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชน และ 2 “แองเจิ้ล” (Angel) คือ องค์กรขนาดใหญ่หรือหน่วยงานที่มีศักยภาพ มาร่วมสนับสนุนธุรกิจของเครือข่ายของกลุ่มฮีโร่ ตั้งแต่ การซื้อขาย ร่วมงาน ให้ทุนร่วมลงทุน หรือ ประชาสัมพันธ์ ซึ่งจะได้ประโยชน์จากการทำงานร่วมกับกลุ่มฮีโร่ ผู้เข้าร่วมโครงการจะได้รับการฝึกอบรม ภายใต้กรอบความคิด (Mindset) 3 องค์ประกอบคือ 1) สิ่งแวดล้อม สังคมและธรรมภิบาล 2) การตลาด 5.0 เทคโนโลยีเพื่อมวลมนุษยชาติ และ 3) แก่นแท้ธุรกิจสตาร์ทอัพ โดยคาดว่าเมื่อจบโครงการผู้เข้าร่วมโครงจะสามารถต่อยอดธุรกิจในรูปแบบใหม่ และสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจกว่า 10 ล้านบาท ### PRDIPROM (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม) รายงาน/ภาพข่าว
23 ก.พ. 2565