หมวดหมู่
FinTech ความท้าทายโลกบริการทางการเงินยุคใหม่
คลื่นลูกใหม่ทั้ง FinTech และ Startup กำลังก้าวสู่ยุคเฟื่องฟูในหลายประเทศ เป็นคลื่นที่ต้องจับตามองอย่างใกล้ชิด เพราะมีแนวโน้มว่าจะเปลี่ยนรูปแบบการดำเนินธุรกิจสถาบันการเงินด้วยนวัตกรรมใหม่ ที่ช่วยให้ผู้ใช้บริการเกิดความสะดวก รวดเร็วและมีค่าใช้จ่ายที่ถูกกว่า FinTech กำลังได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายทั่วโลก เป็นผลมาจากเทคโนโลยี 4 ด้าน ประกอบด้วย Social Media, Mobile, Analytics และ Cloud ที่เกิดการประยุกต์ใช้บนแนวโน้มการเติบโตด้านอินเทอร์เน็ตที่มีผู้ใช้จำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ ขณะที่อุปกรณ์ต่าง ๆ ชิ้นน้อยใหญ่ได้ถูกพัฒนาให้เหมาะกับอินเทอร์เน็ต (IoT) อำนวยความสะดวกให้ชีวิตง่ายขึ้น สถานการณ์ปัจจุบันธนาคารแห่งประเทศไทย ธนาคารพาณิชย์ต่าง ๆ ตลาดหลักทรัพย์ ตลอดจนผู้ประกอบการด้านสถาบันการเงินต่างตื่นตัวให้ความสนใจ FinTech (Financial Technology) หรือเทคโนโลยีทางการเงินที่ในอนาคตจะเข้ามามีบทบาทต่อการทำธุรกรรมทางการเงินอย่างที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน ทำให้สถาบันการเงินบางรายจัดตั้งLab เพื่อศึกษาเรื่องนี้โดยเฉพาะ บางรายสนับสนุนเงินลงทุนให้กับกลุ่ม Startup หรือบริษัทเกิดใหม่ที่พัฒนาบริการด้านการเงินรูปแบบใหม่ๆ การตื่นตัวและความพยายามในการปรับตัว แสดงให้เห็นว่า FinTech ไม่ใช่กระแส แต่จะเข้ามาเปลี่ยนรูปแบบการดำเนินธุรกิจในไม่ช้า FinTech จุดเปลี่ยนอุตสาหกรรมการเงิน FinTech คือ การนำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้หรือสร้างบริการในธุรกิจการเงิน ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมผู้บริโภค เช่น การจ่ายเงินออนไลน์, การซื้อหุ้นออนไลน์ ฯลฯ ในช่วงที่ผ่านมา มีบริการรูปแบบใหม่เกิดขึ้นเพื่ออำนวยความสะดวกให้กับประชาชน อาจกล่าวได้ว่าเป็นตัวอย่างหนึ่งของ FinTech นั่นคือ การชำระเงินค่าสินค้าและบริการผ่านช่องทางดิจิทัล (e-Payment) ที่ช่วยให้ผู้บริโภคเข้าถึงการบริการได้อย่างรวดเร็วและลดค่าใช้จ่ายในการทำธุรกรรมอย่างมาก หรือแม้แต่ PromptPay ที่กำลังจะเปิดให้บริการในปลายเดือนตุลาคมนี้ ที่เปลี่ยนวิธีการโอนเงินให้ง่ายขึ้น โดยไม่ต้องใช้เลขที่บัญชีผู้รับโอน ไม่ต้องรู้ว่าธนาคารอะไร รู้เพียงหมายเลขโทรศัพท์มือถือก็สามารถทำธุรกรรมได้ ที่สำคัญค่าธรรมเนียมถูกมาก คือโอนเงินต่างธนาคารในจำนวนมากกว่า 20,000-50,000 บาท ค่าธรรมเนียม 2-5 บาท เมื่อเปรียบเทียบกับการโอนในปัจจุบันอยู่ที่ 25-35 บาท หรือหากโอนไม่เกิน 5,000 บาท PromptPay พร้อมให้บริการฟรี ส่วน FinTech ในประเทศไทยยังมีให้เห็นไม่มากแต่เกิดขึ้นแล้ว เช่น TrueMoney Wallet, mPay, Paysbuy, 2c2p เป็นต้น แต่สำหรับในต่างประเทศเกิดขึ้นมาระยะหนึ่ง ซึ่งส่วนใหญ่เป็น FinTech Startup เป็นผู้ประกอบการใหม่ที่พัฒนาเทคโนโลยี หรือบริการด้านธุรกรรมทางการเงิน บริษัทวิจัยและที่ปรึกษาทางธุรกิจระดับโลกรายหนึ่งฟันธงว่า FinTech เป็น Game Changer ของอุตสาหกรรมการเงินโดยจะมีบทบาทสำคัญต่อการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของระบบสถาบันการเงินไทยและธนาคารพาณิชย์ไทย ซึ่งโจทย์ส่วนใหญ่จะส่งผลดีต่อผู้บริโภค เพื่อให้ได้รับบริการที่รวดเร็ว สะดวก สบาย และมีค่าใช้จ่ายถูกลง ในยุคนี้จึงพบว่าผู้ประกอบการให้ความสำคัญกับการเตรียมความพร้อม ขณะเดียวกันมีข่าวว่า สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์หรือ ก.ล.ต. มีการบรรจุเรื่อง FinTech เข้าไปในแผนยุทธศาสตร์ 3 ปี (พ.ศ. 2559-2561) โดยเป็นการปรับรูปแบบการให้ใบอนุญาต ในเบื้องต้นจะปรับปรุงประเด็นดังนี้ โครงสร้างการให้ใบอนุญาตประกอบกิจการ (License) เกณฑ์ขั้นต่ำของทุนจดทะเบียนของธุรกิจ คุณสมบัติของผู้ขอรับใบอนุญาตและเกณฑ์การกำกับดูแล ในปี 2559 นี้มีความเป็นไปได้ที่จะเห็นความคืบหน้าที่ออกมาสนับสนุน FinTech ปัจจัยหนุน FinTech Startup นับเป็นช่วงเวลาที่ดีสำหรับผู้ที่เข้าสู่ FinTech Startup ในช่วงเวลานี้ เนื่องจากมีปัจจัยหลายด้านที่หนุนและเปิดโอกาสให้คนกลุ่มนี้ โดยในที่นี้จะสรุปปัจจัยเกื้อหนุนต่าง ๆ ดังนี้ โครงสร้างพื้นฐานทางเทคโนโลยี : ปัจจุบันประเทศไทยมีความพร้อมในระดับหนึ่งและ ด้วยนโยบาย Digital Economy ที่ขับเคลื่อนการขยายอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงลงสู่ระดับหมู่บ้านโดยมีเป้าหมายให้ครอบคลุม 76,000 หมู่บ้านทั่วประเทศ รวมทั้งการขยายโครงข่าย 4G ต่างส่งเสริมให้การใช้อินเทอร์เน็ตและแอปพลิเคชันต่าง ๆ เติบโตขึ้นอีกมาก ซึ่งมีผู้ประกอบการใหม่จำนวนมากพัฒนาแอปพลิเคชันเพื่อให้บริการด้านต่าง ๆ รวมถึงแอปพลิเคชันด้านบริการการเงิน การส่งเสริมจากภาครัฐ และกลุ่มทุน การยกเว้นภาษีนิติบุคคล 5 ปีแรก เป็นอีกนโยบายที่สร้างแรงจูงใจ Startup ในขณะเดียวกันยังมีกลุ่มทุนทั้งในประเทศและจากต่างประเทศ (Venture Capital) ที่พร้อมให้เงินลงทุน Startup รวมไปถึงสถาบันการเงินบางแห่งเปิดโครงการสนับสนุนอย่างชัดเจน ซึ่งคล้ายกับกลุ่มโอเปอเรเตอร์ที่ผลักดัน Tech Startup ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา FinTech Startup จึงมีโอกาสในการเข้าถึงแหล่งเงินทุนมากขึ้น นวัตกรรมกับโอกาสธุรกิจ FinTech Startup รายใดสามารถสร้างนวัตกรรมหรือบริการที่ตรงใจผู้บริโภคและมีการใช้งานต่อเนื่อง จะประสบความสำเร็จได้ไม่ยาก เพราะปัจจุบันยังมีช่องว่างทางธุรกิจอยู่ในระดับหนึ่งที่สถาบันการเงินไม่ได้ให้ความสำคัญในช่วงที่ผ่านมา เทคโนโลยีกดดันให้รูปแบบบริการภาคการเงินเปลี่ยน : เห็นตัวอย่างได้จากกระแส Digital ที่ทุกอย่างหลอมรวมไปในแนวทางนั้น หลังจากอินเทอร์เน็ตแทรกซึมเข้าไปสู่การใช้ชีวิตประจำวันมากขึ้น ทำให้ทุกอย่างสะดวก ง่าย รวดเร็ว เช่นกันกับการมาของ Digital ในแวดวงการเงิน ที่วันนี้มี e-Payment มีการทำธุรกรรมผ่านออนไลน์อย่าง e-Bank, Mobile Bank แต่นับจากนี้ไปจะมีบริการใหม่ๆ เกิดขึ้น อีกมากที่จะอำนวยความสะดวกให้กับผู้บริโภค ซึ่งเกิดจากการปรับตัวของสถาบันการเงินเพราะหากไม่ปรับอาจจะต้องรับศึกหนักจากกระแส Digital Transformation อย่างแน่นอน
24 พ.ย. 2564
อาชีพที่เสี่ยงต่อการโดนแทนที่ด้วย AI
ข้อมูลทางวิทยาศาสตร์จะต้องใช้เวลาหลายปีกว่าจะได้การรับรองหรือยอมรับ เช่นกันกับงานมนุษย์อาจจะถูกแทนที่ด้วยหุ่นยนต์โดยมีความเชื่อว่าอาชีพเหล่านี้ตกอยู่ในความเสี่ยง ที่อาจจะโดน AI เข้ามาแทนที่ ซึ่งอาจะใช้เวลาอยู่บ้างแต่มันจะเป็นจริงแน่นอน ครู : วิชาคณิตศาสตร์หรือวิทยาการคอมพิวเตอร์สามารถสอนโดยหุ่นยนต์ และอย่างน้อย 10% ของนักเรียนที่เรียนรู้ด้วยตนเอง โดยในปัจจุบันแล้วบทเรียนที่สอนโดยหุ่นยนต์แล้วในตอนนี้ ได้แก่ การบินบนเครื่องบินการฝึกอบรมเกี่ยวกับการจำลองด้วย AI แบบจำลองเหตุกาณ์บนเครื่องบินสามารถบินทำได้โดยไม่ต้องนักบินมนุษย์ แต่จากการศึกษาพบว่าผู้โดยสารจะกลัวมากที่จะขึ้นเครื่องบินที่ไม่มีนักบิน ความเสี่ยงที่เกิดขึ้นสำหรับครูผู้ฝึกสอนไม่ใช่ AI แต่เป็นการฝึกอบรมออนไลน์ นั่นเอง การออกเกรดให้กับนักศึกษา ซึ่งมีความเป็นไปได้ที่นักเรียนอาจจะมีการลอกข้อสอบหรือการทุจริต แต่เมื่อทำการควบคุมโดย AI ในการออกข้อสอบก็จะสามารถป้องกันการลอกหรือการโกงในรูปแบบต่าง ๆ ได้เพราะ AI จะสามารถปรับเปลี่ยนรูปแบบได้หลากหลาย เช่นการออกข้อสอบหลายชุด หรือ สลับคำตอบในข้อสอบชุดเดียวกัน ซึ่งทำให้การลอกหรือโกงทำได้ยากมากยิ่งขึ้น AI สามารถเขียนอัลกอริธึม AI หรือพูดสั้น ๆ ว่า AI สามารถทำให้ AI เป็นอัตโนมัติได้รวดเร็วและผิดพลาดน้อยกว่าคน แม้ว่าจะเป็นนักเขียนโปรแกรมที่เก่งสักเพียงไหน แต่อาจจะเขียนโปรแกรมหรือประมวลได้ช้ากว่า AI แน่นอน การวินิจฉัยอัตโนมัติ ในทางการแพทย์ได้มีการนำเอา AI มาเพื่อใช้ในการวินิจฉัยโรค อีกทั้งยังนำเอาเทคโนโลยีนี้มาพัฒนาให้เป็นหุ่นยนต์ AI ผ่าตัด หรือทำศัลยกรรม ซึ่งต่อไปอาจจะนำเอา AI มาใช้ในการผลิตยาหรือในรูปแบบทางการแพทย์อื่น ๆ อีกต่อไป พ่อครัว : AI แทนที่พ่อครัวที่มีค่าตัวแพง ๆ ในร้านอาหารหลายแห่ง เช่นร้าน McDonald ที่มีมนุษย์เพียงคนเดียวคือพนักงานรักษาความปลอดภัย ซึ่งหน้าที่อื่น ๆ เช่น พนักงานทำความสะอาด พนักงานเสิร์ฟ หรือแม้แต่พนักงานคิดเงินหรือคำนวณภาษี ก็ สามารถใช้ AI แทนคนได้ ซึ่งความคิดนี้เป็นได้อย่างแน่นอน ตำรวจหรือทหาร : AI ซึ่งอาจจะเกิดขึ้นได้ถ้าสามารถกำหนดอัลกอลิทึมให้ AI สามารถแยกแยะหรือตัดสินใจได้ว่า นี่เป็นการทำผิด จะต้องจับกุมหรืออาจจะถึงการวิสามัญอีกด้วย แต่ตอนนี้ยังไม่เกิดขึ้น ซึ่งถ้าจะเกิดขึ้นมาในโลกอาจจะเป็นที่สหรัฐอเมริการที่แรก รวมถึง AI ที่สามารถตรวจสอบเกี่ยวการก่อการร้ายอีกด้วย เพราะผลเสียที่อาจจะเกิดขึ้นคือ ทางผู้ก่อการร้ายอาจจะใช้เทคโนโลยีนี้ด้วยเช่นกัน AI จะมาในรูปของ Application ที่ช่วยตรวจสอบในเรื่องต่าง ๆ มากมาย เช่น การตรวจสอบพื้นที่สำหรับทำฟาร์ม การคำนวณเวลาในการขนส่งหรือน้ำหนักอีกทั้งช่วยในการคำนวนปริมาณน้ำมันที่รั่วไหกรณีเกิดเหตการณ์น้ำมันรั่วในทะเลและอื่น ๆ อีกมากมาย ซึ่งทุกวันนี้โลกได้ดำเนินไปโดยมี AI มีส่วนอยู่ด้วยทุก ๆ ภาคธุรกิจและอุตสาหกรรม ในส่วนอื่น ๆ คาดว่า AI ถ้ามีการพัฒนามากกว่านี้ คาดว่าจะต้องเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งด้วยแน่นอน และแน่นอนว่าเมื่อสิ่งต่าง ๆ ถูกแทนที่ด้วย AI จะเกิดอะไรขึ้นกับมนุษย์ เป็นเรื่องที่น่าคิดจริง ๆ
24 พ.ย. 2564
“อธิบดีณัฐพล นำทีมดีพร้อม เดินหน้าหารือ สอท. แลกเปลี่ยนแนวทางการส่งเสริม SMEs ภายใต้บริบทใหม่”
กรุงเทพฯ 18 พฤศจิกายน 2564 - นายณัฐพล รังสิตพล อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม พร้อมด้วย นางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา เลขานุการกรม สำนักงานเลขานุการกรม นางสุชาดา โพธิ์เจริญ ผู้อำนวยการกองยุทธศาสตร์และแผนงาน กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กสอ.) หรือ ดีพร้อม และคณะผู้บริหารดีพร้อม ร่วมหารือ นายสุพันธุ์ มงคลสุธี ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย นายปรีชา ส่งวัฒนา รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย นายจำรัส สว่างสมุทร ผู้อำนวยการใหญ่สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และคณะผู้บริหาร สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (สอท.) ถึงแนวทางการขับเคลื่อน SMEs ทิศทางการดำเนินธุรกิจ และมุมมองของภาคเอกชนที่มีต่อภาครัฐ พร้อมรับฟังเสียงสะท้อนถึงปัญหาที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤตการณ์โรคระบาดโควิด-19 เพื่อหาแนวทางการดำเนินงานที่เหมาะสม รวมไปถึงการบูรณาการงานร่วมกันในอนาคต ณ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย โดยอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม และคณะดีพร้อม ได้รับฟังแนวทางและข้อเสนอแนะจากทางสภาอุตฯ โดย ประธานสภาอุตฯ ได้กล่าวถึงการผลักดันโครงการรับรองสินค้าที่ผลิตในประเทศไทย (Made in Thailand : MiT) ซึ่งได้รับความร่วมมือจากดีพร้อม เป็นอย่างดี ด้วยการผลักดัน SMEs เข้าสู่ระบบได้เป็นจำนวนมาก ก่อให้เกิดการซื้อขายกับภาครัฐ ซึ่งเป็นไปตามเป้าประสงค์ของโครงการ ขณะเดียวกัน สภาอุตฯ ยังมีความสนใจในการเร่งขับเคลื่อนให้เกิดผลกระทบในเชิงบวก คือ โมเดลเศรษฐกิจใหม่ หรือ BCG model และการใช้เทคโนโลยี นวัตกรรมในการนำพาธุรกิจให้อยู่รอดและเติบโตได้ในบริบทของโลกที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว นอกจากนี้ สภาอุตฯ ยังได้เล็งเห็นถึงขีดความสามารถทางด้านอุตสาหกรรมอาหาร และการสนับสนุนขีดความสามารถของผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมรถยนต์ไฟฟ้า (Electric Vehicles: EV) ชิ้นส่วนยานยนต์ โดยรูปแบบการดำเนินงาน นั้น ทางสภาอุตสาหกรรมสะท้อนในมุมการพัฒนาในกลุ่ม SMEs ที่มีศักยภาพหรือความพร้อมที่จะขยายตัว ด้วยการนำเทคโนโลยี นวัตกรรม ระบบ Automation Sensor Robot ใช้ในกระบวนการต่าง ๆ เพื่อช่วยลดต้นทุนการผลิต รวมทั้งแพลตฟอร์มกลางที่มีเพื่อตรวจสอบประสิทธิภาพในกระบวนการผลิตได้อย่าง Realtime ก็จะสามารถช่วยลดการสูญเสียระหว่างกระบวนการผลิตได้ ซึ่งข้อดีของการตรวจสอบทุกกระบวนการจะมีการเก็บข้อมูล ทำให้สามารถวิเคราะห์ คำนวณปริมาณการผลิต การสต็อควัตถุดิบ การวางแผนการจัดจำหน่ายต่อไปได้ ขณะเดียวกัน สภาอุตฯ ยังได้นำเสนอ 5G Use case ในสถานประกอบการ อาทิ กระบวนการ Precision Monitoring & remote control AI Machine Vision (Defect Detection) Surveillance & Inspection ซึ่งเทคโนโลยีเหล่านี้ช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันในสถานประกอบการท่ามกลางวิกฤตการณ์เปลี่ยนแปลง ซึ่งมี Case Study ด้านการนำระบบ Automation เข้าไปในกระบวนการผลิต พบว่าการคืนทุน IRR ได้รวดเร็วกว่าการใช้เเรงงาน แต่ยังพบข้อจำกัดในเรื่องของเงินลงทุน อย่างไรก็ตาม เทคโนโลยี นวัตกรรมเหล่านี้สามารถตอบโจทย์ปัญหาการขาดแคลนแรงงานได้เป็นอย่างดี สำหรับการพัฒนาใน Micro SME สอท. ได้สะท้อนให้เห็นถึงความสำคัญในการพัฒนาด้านคุณภาพ มาตรฐานสินค้าเกษตร การนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้เพื่อการจำแนกสินค้า ดูแลเรื่องมาตรฐานให้ตรงกับความต้องการของกลุ่มผู้บริโภค Consumer Products โดยคาดหวังให้ SMEs up scale จากผู้ประกอบการขนาด Small (S)ไปเป็น Medium (M) ด้วยนวัตกรรม Inovation ที่สร้างความแตกต่างและสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้า นอกจากการปรับคุณภาพมาตรฐานให้เป็นที่ยอมรับ สอท. ได้ให้ข้อเสนอแนะว่าการผลิตอย่าง OEM ที่อาจเป็นอีกตัวเลือกหนึ่งในการผลิตสินค้าเพื่อจำหน่ายโดยลดขั้นตอนในการบริหารจัดการด้านการผลิต โดยให้ไปมุ่งเน้นด้านการตลาดให้มากขึ้น นอกจากนี้การให้บริการเครื่องจักรกลการเกษตรผ่านแพลทฟอร์มออนไลน์ ทาง สอท. ยังได้ให้ความสนใจในการต่อยอดร่วมกันในอนาคต สำหรับการส่งเสริมให้ SMEs ใช้ Digital มากขึ้น โดยมี SI Digital เข้าไปช่วย Support ทั้งนี้ การดำเนินงานของ ดีพร้อม มีหลายเรื่องที่มีการดำเนินงานเป็นไปในทิศทางเดียวกับ สอท. ไม่ว่าจะในเรื่อง Influencer SI digital Automation ITC Medical Packaging รวมถึงด้านเกษตรอุตสาหกรรม ที่มีบริการแพลตฟอร์มออนไลน์นวัตกรรมและเทคโนโลยีทางเกษตรครบวงจร IAID Application และแพลตฟอร์มคัดเกรดคุณภาพวัตถุดิบ ตลอดจนการนำกลไกของ SI (System Integration) มาใช้ในการพัฒนา SMEs ในอุตสาหกรรมดิจิทัล วางโครงสร้างการผลิตเชิงวิศวกรรมทั้ง Hardware และ Software ประสานงานเครื่องจักรเยอะ แต่ใช้คนควบคุมน้อยเพื่อเพิ่มผลิตภาพให้กับ SMEs มากยิ่งขึ้น ซึ่งหากทั้ง สอท. และ ดีพร้อม ได้มีการบูรณาการงานร่วมกัน จะเป็นพลังสำคัญในการขับเคลื่อนจะสร้างแรงบันดาลใจให้กับภาคอุตสาหกรรมต่อไปในอนาคตภายภาคหน้า ### PR.DIProm (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม) รายงาน/ภาพข่าว
19 พ.ย. 2564
“อธิบดีณัฐพล รุกหารือภาคีเครือข่าย ประเดิมสภาหอการค้าไทย แลกเปลี่ยนแนวทางการส่งเสริม SMEs ภายใต้บริบทใหม่ (Next Normal)”
กรุงเทพฯ 17 พฤศจิกายน 2564 - นายณัฐพล รังสิตพล อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ร่วมหารือ นายสนั่น อังอุบลกุล ประธานกรรมการหอการค้าไทย และสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย และผู้บริหาร เพื่อแลกเปลี่ยนวิสัยทัศน์ แนวทางการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและการส่งเสริมผู้ประกอบการ SMEs ไทย ภายใต้บริบทใหม่ (Next Normal) โดยมี นางสุชาดา โพธิ์เจริญ ผู้อำนวยการกองยุทธศาสตร์และแผนงาน กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กสอ.) เข้าร่วมหารือดังกล่าว ณ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ได้หารือกับทางสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ในเรื่องสถานการณ์วิกฤตโควิด-19 ที่เต็มไปด้วยความไม่แน่นอน ด้วยกระแสของ VUCA (V-Volatility ความผันผวน U-Uncertainty ความไม่แน่นอน C-Complexity ความซับซ้อน และ A-Ambiguity ความคลุมเครือ) และแบ่งปันมองมุมการพัฒนา SMEs จากภาคเอกชน ตลอดจนแนวโน้มของการดำเนินธุรกิจ อาชีพใหม่ที่จะเกิดขึ้นหลังโควิด-19 รวมไปถึงเทคโนโลยีใหม่อย่าง Metaverse ที่จะเปลี่ยนภาคอุตสาหกรรม และเตรียมรับมืออย่างไร ขณะเดียวกัน หอการค้าไทยและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทยได้ดำเนินงาน ภายใต้ นโยบาย Connect the dots เพื่อเร่งสร้างความเชื่อมั่นในการดำเนินธุรกิจอย่างสร้างสรรค์และมีพลังในการขับเคลื่อน เป็นศูนย์กลางเชื่อมโยงการทำงานจากเครือข่ายภาครัฐ เอกชน และประชาชน โดยสภาหอฯ มีรูปแบบการขับเคลื่อนงานเชิงรุก RACI : R - Responsible ผู้รับผิดชอบ หรือเจ้าภาพในการแก้ปัญหา A - Accountable ผู้มีอำนาจตัดสินใจเป็นสิ่งสำคัญที่เราต้องเชื่อมโยงเพื่อให้บรรลุผล C - Consult ต้องหาผู้รู้และที่ปรึกษาที่สามารถให้ข้อมูล การชี้แนะที่ถูกต้อง และ I - Inform เมื่อได้ทุกองค์ประกอบครบแล้วต้องแจ้งให้ทุกคนทราบเพื่อความเข้าใจร่วมกัน ซึ่งหากภาครัฐทำงานในเชิงรุกการขับเคลื่อนในทุกมิติจะเกิดผลสำเร็จ ทั้งนี้ สภาหอฯ ได้เข้าไปสนับสนุน พัฒนา ผู้ประกอบการร่วมกับหน่วยงานภาครัฐหลายหน่วยงาน ผ่านโครงการ/กิจกรรมต่าง ๆ อาทิ Big Brother พี่สอนน้อง Young Entrepreneur Chamber of Commerce: YEC, Service Provider หลักสูตรสำหรับการนำสินค้าเข้าสู่ตลาด Modern trade หรือ Platform LiVE Exchange เพื่อให้ Start Up หรือ SMEs มีโอกาสสู่การเป็น springboard เพื่อเข้าตลาดอย่าง SET หรือ mai นอกจากนี้ ทางสภาหอฯ ยังได้มีข้อเสนอแนะสำหรับภาครัฐ ในการที่จะมุ่งเน้น พัฒนา Ecosystem ในการให้บริการประชาชนเมื่อติดต่อราชการจุดเดียวจบ การพัฒนากลุ่ม Start Up ที่มีศักยภาพที่ดำเนินธุรกิจในกลุ่ม Future Food มีทิศทางการเติบโตที่ดี SMEs รายเก่าต้องการพัฒนากระบวนการผลิตด้วยการใช้ระบบ Automation แทนแรงงานที่กำลังประสบปัญหาขาดแคลน โอกาสของการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ ประเทศมหาอำนาจลำดับต้น ๆ อย่างจีนที่กำลังให้ความสนใจที่จะลงทุนในไทย ซึ่งถือเป็นโอกาสที่ภาครัฐและภาคเอกชนควรเร่งผลักดันคว้าโอกาส สร้างปัจจัยเอื้อที่เหมาะสม แลกเปลี่ยนเรียนรู้โมเดลการพัฒนาอย่างก้าวกระโดดในเชิงเทคโนโลยีของจีน ease of doing business ภาครัฐช่วยผลักดัน กฎระเบียบเพื่ออำนวยความสะดวกให้ผู้ประกอบการดำเนินธุรกิจได้สะดวก สำหรับการบูรณาการงานร่วมระหว่างสภาหอฯ และ กสอ. ในอนาคต จากที่สภาหอฯ ได้ดำเนินโครงการ Happy model เตรียมความพร้อมรองรับการเปลี่ยนแปลงของอุตสาหกรรมท่องเที่ยวในอนาคตที่มุ่งเน้นการท่องเที่ยวเชิงคุณภาพ การเป็นศูนย์กลาง Health & Wellness รวมถึงการพัฒนากำลังคน Reskill / Upskill / Newskill ในการสร้างผู้ประกอบการ และกำลังคนที่สอดคล้องกับความต้องการของตลาด รวมทั้งส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดช่วงชีวิต (Lifelong Learning) เพื่อให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลง จากการร่วมพบปะหารือในครั้งนี้ทำให้ กสอ. ได้เห็นถึงทิศทางการดำเนินงานจากมุมมองของภาคเอกชน ตลอดจนโมเดลของการพัฒนา ส่งเสริม SMEs Start Up ที่ประสบความสำเร็จ และที่สำคัญได้รับฟังความต้องการที่สะท้อนมาจากภาคเอกชนสู่ภาครัฐ ซึ่งจากการรับฟังความคิดเห็นในหลาย ๆ เวทีทีผ่านมานำมาซึ่งโครงการ/กิจกรรมที่สอดรับกับปัญหาและความต้องการที่แท้จริงในปีงบประมาณ พ.ศ 2566 ที่จะถึงนี้อย่างแน่นอน ### PR.DIProm (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม) รายงาน/ภาพข่าว
18 พ.ย. 2564
“อธิบดีณัฐพล” ร่วมงาน Powering Digital Thailand 2022 พร้อมบรรยายพิเศษ “การยกระดับอุตสาหกรรม 4.0 เพื่อเร่งการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยหลังวิกฤตการณ์โควิด”
กรุงเทพฯ 17 พฤศจิกายน 2564 - นายณัฐพล รังสิตพล อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ได้รับมอบหมายจาก นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เข้าร่วมงาน Powering Digital Thailand 2022 HUAWEI CLOUD & CONNECT ASIA-PACIFIC INNOVATION DAY พร้อมกล่าวบรรยายพิเศษ หัวข้อ “การยกระดับอุตสาหกรรม 4.0 เพื่อเร่งการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยหลังวิกฤตการณ์โควิด” โดยมี พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ให้เกียรติเป็นประธานการเปิดงานและกล่าวบรรยายพิเศษ ร่วมด้วย นายชัยวุฒิ ธนาคมานสุรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม นายเกาผิง ประธานกรรมการ HUAWEI นายหลิน ไป๋เฟิง ประธาน HUAWEI เอเชียแปซิฟิก นายหยาง มี เอิ๋ง กรรมการบริหารมูลนิธอาเซียน นายวรชัย พิชาญจิตร รองประธานกรรมการ บริษัท บางกอกโพสต์ จำกัด (มหาชน) นายเลอ กวาง หลาน ผู้ช่วยผู้อำนวยการ หัวหน้ากอง ICT และการท่องเที่ยว สํานักเลขาธิการอาเซียน นายหยาน เรียนโต้ รักษาการรองผู้ว่าการโครงสร้างพื้นฐาน การวิจัยและนวัตกรรม สํานักงานวิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ สาธารณรัฐอินโดนีเซีย นายเอเบิล เติ้ง ประธานกรรมการบริหาร บริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี (ประเทศไทย) จํากัด ผู้บริหารภาครัฐ เอกชน และองค์การระหว่างประเทศ และคณะผู้บริหารบริษัท HUAWEI เข้าร่วมงานดังกล่าว ณ เซ็นทารา แกรนด์ คอนเวนชั่น ชั้น 22 โรงแรมเซ็นทารา แกรนด์ แอท เซ็นทรัลเวิลด์ ปทุมวัน โดยอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กล่าวว่า ภายหลังจากสถานการณ์โควิด-19 เริ่มคลี่คลาย โลกจะปรับตัวเข้าสู้ New Normal และจะมีความท้าทายใหม่ ๆ เกิดขึ้นกับภาคธุรกิจและภาคการผลิตของไทย โดยระบบการผลิตแบบเดิมที่เน้นการผลิตปริมาณมาก ๆ จะลดบทบาทลง ในขณะที่การผลิตแบบ Small Lot ที่มีประสิทธิภาพ ความยืดหยุ่นจะมีบทบาทเพิ่มขึ้น เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ทั้งนี้ เทคโนโลยี Digital IoT 5G และ AI จะถูกเร่งให้มีการนํามาใช้เร็วขึ้น สําหรับภาคอุตสาหกรรมไทย แม้ที่ผ่านมาจะได้รับผลกระทบ แต่ก็ยังสามารถฟื้นตัวได้รวดเร็วและเป็นเครื่องยนต์หลักในการขับเคลื่อนระบบเศรษฐกิจของประเทศในปัจจุบัน ซึ่งรัฐบาลเล็งเห็นถึงความสําคัญในการยกระดับภาคอุตสาหกรรมเดิมของประเทศให้เข้าสู่อุตสาหกรรม 4.0 ขณะเดียวกัน กระทรวงอุตสาหกรรม มีแผนที่จะยกระดับศักยภาพในการแข่งขันของภาคอุตสาหกรรมทั่วประเทศให้เข้าสู่การผลิตแบบอุตสาหกรรม 4.0 โดยให้ความสําคัญกับการกระตุ้นเศรษฐกิจในระยะสั้น ควบคู่ไปกับการปฏิรูปโครงสร้างอุตสาหกรรมของประเทศในระยะยาว โดยส่งเสริมการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน และมุ่งพัฒนาศักยภาพของอุตสาหกรรมภายในประเทศให้สามารถพึ่งพาตนเองได้และต่อยอดอุตสาหกรรมที่สร้างมูลค่า รวมทั้งการผลักดันโมเดลเศรษฐกิจชีวภาพเศรษฐกิจหมุนเวียนและเศรษฐกิจ สีเขียว (Bio-Circular-Green Economy) ซึ่งจะช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทยให้สามารถเติบโตได้อย่างยั่งยืนในระยะยาว ทั้งนี้ ได้กําหนดแนวทางการพัฒนาอุตสาหกรรมครอบคลุมในมิติต่าง ๆ 6 ด้าน หรือ เรียกว่า 6S ประกอบด้วย การพัฒนาอุตสาหกรรม S-Curve โดยเฉพาะอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามาสร้างมูลค่าเพิ่ม เช่น อุตสาหกรรมหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิสก์อัจฉริยะ อุตสาหกรรมยานยนต์แห่งอนาคต เป็นต้น Smart Agricultural Industry โดยใช้ศาสตร์การบริหารจัดการแบบอุตสาหกรรมมาปรับใช้ในการทำเกษตร เพื่อยกระดับเกษตรกรให้เป็นนักธุรกิจเกษตร 3.ส่งเสริม SME & Start up โดยการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเป็นพื้นฐานในการช่วยยกระดับ SME และขยายธุรกิจให้ Startup SEZ (Special Economic Zone) & Investment Promotion ส่งเสริมและจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมในพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษ เพื่อรองรับแรงงานกลับถิ่นและการขยายตัวของเศรษฐกิจเชิงพื้นที่ Smart factory 4.0 การยกระดับการประกอบการอุตสาหกรรม โดยนำเทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามาใช้ในการส่งเสริมและพัฒนาอุตสาหกรรมให้เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ตลอดจนสนับสนุนการพัฒนาตามแนวทาง BCG Model เพื่อพัฒนาและยกระดับเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ เพื่อให้อยู่ร่วมกันได้กับชุมชนและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน 6.Service Transformation การยกระดับการให้บริการ เพื่อรองรับการขยายตัวของอุตสาหกรรม 4.0 โดยปฏิรูปองค์กรไปสู่ Smart Government อย่างไรก็ตาม การขับเคลื่อนภาคอุตสาหกรรม 4.0 ของไทย จะประสบความสําเร็จได้ต้องอาศัยความร่วมมือของทุกภาคส่วนที่จะร่วมกันขับเคลื่อนอุตสาหกรรมไทยให้ก้าวทันกับการเปลี่ยนแปลงของโลก และสามารถสร้างความเติบโตทางเศรษฐกิจได้อย่างมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืนไปพร้อมกัน ทั้งนี้ งาน Powering Digital Thailand 2021 HUAWEI CLOUD & CONNECT จัดขึ้นเป็นเวลา 4 วัน โดยมีพันธมิตรกว่า 60 รายร่วมออกนิทรรศการและมีผู้เข้าร่วมงานมากกว่า 3,500 คน ซึ่งในปีนี้ จัดขึ้นภายใต้หัวข้อ Powering Digital Thailand และเจาะลีกถึงการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีที่ใช้งานได้จริง อาทิ Cloud 5G AI และ Digital Power ในทุก ๆอุตสาหกรรม ### PR.DIProm (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม) รายงาน/ภาพข่าว
17 พ.ย. 2564
อธิบดีณัฐพล ประธานบอร์ดเงินทุนหมุนเวียนของดีพร้อมสั่งการ "รสอ. เจตนิพิฐ" ประธานอนุกรรมการพื้นที่ภาคใต้ ลงพื้นที่กระบี่ เยี่ยมสถานประกอบการลูกค้าเงินทุนหมุนเวียนฯ ผู้จำหน่ายอุปกรณ์และเครื่องใช้ไฟฟ้า
จ.กระบี่ 16 พฤศจิกายน 2564 - นายณัฐพล รังสิตพล อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม และประธานคณะกรรมการบริหารเงินทุนหมุนเวียนเพื่อการส่งเสริมอุตสาหกรรมในครอบครัวและหัตถกรรมไทย สั่งการ นายเจตนิพิฐ รอดภัย รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม และ ประธานคณะอนุกรรมการบริหารเงินทุนหมุนเวียนเพื่อการส่งเสริมอุตสาหกรรมในครอบครัวและหัตถกรรมไทยพื้นที่ภาคใต้ พร้อมด้วย ว่าที่ร้อยตรีพงษ์ศักดิ์ เรืองศรีใส ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 10 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กสอ.) หรือ ดีพร้อม คณะผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ดีพร้อม ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมสถานประกอบการ ห้างหุ้นส่วนจำกัด รวมช่างแอร์ โดยมี นายจุรุพงค์ โชคไพศาล เจ้าของสถานประกอบการให้การต้อนรับ พร้อมทั้งสรุปภาพรวมการดำเนินงาน หจก. รวมช่างแอร์ เป็นผู้จำหน่ายอุปกรณ์และเครื่องใช้ไฟฟ้า และ ติดตั้งเครื่องปรับอากาศ โดยดำเนินกิจการมาแล้วกว่า 20 ปี โดยได้รับการสนับสนุนด้านการเงินจากโครงการเงินทุนเพื่อการส่งเสริมอาชีพอุตสาหกรรมในครอบครัวแเลยนะพี่ละหัตถกรรมไทยกับทาง ศภ.10 กสอ. เป็นครั้งที่ 2 แล้ว ซึ่งผู้ประกอบการได้วางแผนนำเงินทุนฯ มาใช้ในการดำเนินธุรกิจ เพื่อบริหารสภาพคล่องทางการเงินและต่อยอดและรักษาอัตราการเติบโตของธุรกิจให้คงที่ พร้อมรับมือกับคู่แข่งทางการค้าในตลาด และกำลังซื้อของลูกค้าที่ลดลงในช่วงสถานการณ์ โควิด-19 โดย รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรมและคณะผู้บริหาร ได้ร่วมชื่นชมผู้ประกอบการที่สามารถบริหารกิจการฝ่าวิกฤตโควิด-19 มาได้ พร้อมแนะนำช่องทางการพัฒนาและขยายกิจการในอนาคตให้กับผู้ประกอบการ ### PR.DIProm (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม) รายงาน/ภาพข่าว
17 พ.ย. 2564
ดีพร้อม ลงพื้นที่กระบี่ เยี่ยมสถานประกอบการผ้าบาติกและน้ำพริก
จ.กระบี่ 16 พฤศจิกายน 2564 - นายเจตนิพิฐ รอดภัย รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม พร้อมด้วย นายวัชรุน จุ้ยจำลอง ผู้อำนวยการกองพัฒนาอุตสาหกรรมชุมชน กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กสอ.) หรือ ดีพร้อม ว่าที่ร้อยตรีพงษ์ศักดิ์ เรืองศรีใส ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 10 กสอ. นายสิทธิรงค์ เร่งเงียบ ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 11 กสอ. คณะผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ดีพร้อม ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมสถานประกอบการ ห้างหุ้นส่วนจำกัด วาริชกระบี่ บาติก โดยมี นายวริฤธิ นวลแก้ว เจ้าของสถานประกอบการให้การต้อนรับ พร้อมทั้งสรุปภาพรวมการดำเนินงานและนำเยี่ยมชมสถานประกอบการดังกล่าว โดย รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรมและคณะ ได้รับฟังสรุปภาพรวมการดำเนินงาน ปัญหาอุปสรรค และข้อเสนอแนะจากผู้ประกอบการ ซึ่งทาง หจก.วาริช ได้เสนอให้ทางดีพร้อมช่วยสนับสนุนในการต่อยอดและพัฒนาเครื่องเขียนลายเทียนผ้าบาติกระบบ CNC ด้วยหัว 3 แกน และการยกระดับงานศิลปะชุมชนสู่ภาคอุตสาหกรรม เพื่อสร้างรายได้ให้กับชุมชนโดยรอบ ซึ่งรองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ได้ให้ข้อเสนอแนะและแนวทางการพัฒนาต่อยอดและยกระดับศักยภาพของการผลิตชิ้นงานด้วยการนำระบบออโตเมชั่นเข้ามาใช้เพื่อลดต้นทุนและสามารถผลิตได้เป็นจำนวนมากขึ้นจากเดิม รวมถึงในส่วนของเงินทุนหมุนเวียนฯ ของดีพร้อม เพื่อนำไปเป็นทุนปรับปรุงและต่อยอดเครื่องเขียนลายเทียนดังกล่าว ตลอดจนการส่งเสริมและพัฒนาช่องทางการตลาดให้สอดรับกับสถานการณ์ในปัจจุบันและพฤติกรรมผู้บริโภค โดยได้มอบหมายให้ ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 10 กสอ. เร่งดำเนินการให้การช่วยเหลือในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป ห้างหุ้นส่วนจำกัด วาริชกระบี่ บาติก เป็นผู้ผลิตและจำหน่ายผ้าบาติกสำเร็จรูปแบบเพ้นท์แห่งแรกของกระบี่ ซึ่งมีเครื่องเขียนลายเทียนอัตโนมัติที่นำมาใช้ในการผลิตผ้าบาติก ทำให้ลดระยะเวลาในการทำงานลง รวดเร็ว อีกทั้งไม่ต้องใช่แรงงานมากโดยตลาดส่วนใหญ่จะจำหน่ายเป็นของที่ระลึกให้กับนักท่องเที่ยวในกระบี่ ซึ่งลวดลายบนผ้าจะสะท้อนบอกเล่าเรื่องราวและภูมิปัญญาของภาคใต้ โดยช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิดที่ผ่านมาทางร้านได้มีการปรับตัวจำหน่ายในตลาดออนไลน์มากขึ้น ทั้งนี้ หจก.วาริชกระบี่ บาติก ได้รับการสนับสนุนด้านการเงินจากโครงการเงินทุนเพื่อการส่งเสริมอาชีพอุตสาหกรรมในครอบครัวและหัตถกรรมไทยกับทาง ศภ.10 กสอ. เพื่อใช้ในการดำเนินธุรกิจ ในเวลาต่อมา ได้เข้าเยี่ยมชมสถานประกอบการผลิตน้ำพริกและเครื่องแกง แบรนด์ ชากีราห์ เคอร์รี่ ซึ่งเป็นการผลิตในภาคอุตสาหกรรมครัวเรือน โดยทางผู้ประกอบการได้เสนอแผนการจัดการของผลิตภัณฑ์ในอนาคต อาทิ การขยายกลุ่มตลาดให้เป็นที่รู้จักมากขึ้นทั้งในรูปแบบออฟไลน์และออนไลน์ แก้ไขจุดอ่อนของบรรจุภัณฑ์เพื่อป้องกันการเสียหายในระบบขนส่ง ซึ่งรองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม และคณะผู้บริหารได้ร่วมกันให้ข้อเสนอแนะและแนวทางการพัฒนาให้กับผู้ประกอบการในหลากหลายมิติ ได้แก่ การจดแจ้งเพื่อเป็นสถานประกอบการ การจัดทำระบบมาตรฐาน อย. และ ฮาลาล การศึกษาองค์ความรู้เรื่องการตลาดออนไลน์เพื่อขยายโอกาสและช่องทางในการจำหน่ายสินค้า การปรับเปลี่ยนบรรจุภัณฑ์โดยคำนึงถึงผลประโยชน์รอบด้านตั้งแต่ ความสวยงามคงทน ง่ายต่อการใช้งานและขนส่ง การยืดอายุผลิตภัณฑ์ การจดสถิติของการจำหน่ายแต่ละเดือนเพื่อให้เกิดจุดคุ้มทุนของการผลิตบรรจุภัณฑ์ รวมถึงการปรับรูปแบบเพื่อส่งเสริมการตลาดในช่วงเทศกาลต่าง ๆ นอกจากนี้ยังได้แนะนำผู้ประกอบการพัฒนาแปรรูปผลิตภัณฑ์ ให้สะดวกต่อการบริโภค เช่น เครื่องแกงรูปแบบซุปก้อน การทำผงแห้งแบบพ่นฝอย (Spray Dry) โดยสามารถเข้าขอรับคำปรึกษาแนวทางและบริการทดสอบการแปรรูปได้ที่ศูนย์ ITC ศภ.กสอ. ในพื้นที่ ### PR.DIProm (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม) รายงาน/ภาพข่าว
17 พ.ย. 2564
“อธิบดีณัฐพล” นั่งหัวโต๊ะ หารือแนวทางการทำงานพื้นที่ภาคใต้ พร้อมนำร่อง แพ็คเกจ “ดีพร้อมเพย์” กว่า 30 ล้านบาท
จ.กระบี่ 16 พฤศจิกายน 2564 - นายณัฐพล รังสิตพล อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ให้เกียรติเป็นประธานการสัมมนาเชิงปฏิบัติการ “แนวทางการบริหารจัดการเงินทุนหมุนเวียน เพื่อการส่งเสริมอาชีพอุตสาหกรรมในครอบครัวและหัตถกรรมไทยของพื้นที่ภาคใต้ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2565 โดยมี นายเจตนิพิฐ รอดภัย รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม และประธานคณะอนุกรรมการบริหารเงินทุนหมุนเวียนเพื่อการส่งเสริมอุตสาหกรรมในครอบครัวและหัตถกรรมไทยพื้นที่ภาคใต้ พร้อมด้วย นางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา เลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กสอ.) หรือ ดีพร้อม นายวัชรุน จุ้ยจำลอง ผู้อำนวยการกองพัฒนาอุตสาหกรรมชุมชน ว่าที่ร้อยตรีพงษ์ศักดิ์ เรืองศรีใส ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 10 นายสิทธิรงค์ เร่งเงียบ ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 11 นางอรพิน อุดมธนะธีระ นักวิเคราะห์นโยบายและแผนเชี่ยวชาญ คณะผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ดีพร้อม ณ โรงแรมเซ็นทารา อ่าวนาง บีช รีสอร์ท แอนด์สปา กระบี่ โดย อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ในฐานะประธานคณะกรรมการบริหารเงินทุนหมุนเวียนเพื่อการส่งเสริมอุตสาหกรรมในครอบครัวและหัตถกรรมไทย ได้รับฟังสรุปภาพรวมการดำเนินงานเงินทุนหมุนเวียนฯ ปีงบประมาณ 2564 และปัญหาอุปสรรคในพื้นที่ พร้อมทั้งมอบนโยบายและแนวทางการดำเนินงานของเงินทุนหมุนเวียนฯ ปีงบประมาณ 2565 ซึ่งเน้นการลดจำนวนลูกหนี้ที่คงค้างหนี้ลง 10% การทำประกันหนี้สูญกรณีเสียชีวิตหรือไม่สามารถชำระหนี้ได้เมื่อครบสัญญา และการปรับกฎระเบียบในส่วนของเงื่อนไขดอกเบี้ย เพื่อให้ได้จำนวนผู้กู้เป็นไปตามเป้าหมายที่วางไว้ ขณะเดียวกัน ยังได้แจ้งให้ทราบถึงโครงการสินเชื่อพิเศษดีพร้อมเพย์ (DIProm Pay) กรอบวงเงิน 30 ล้านบาท ซึ่งเป็นโครงการนำร่องเริ่มจากส่วนกลางที่ผนวกกับมาตรการของดีพร้อม เพื่อช่วยเหลือและส่งเสริมผู้ประกอบการของดีพร้อม ที่มีศักยภาพในการดำเนินธุรกิจและมีความพร้อมจะฟื้นฟูกิจการอีกครั้งภายหลังสถานการณ์โควิด – 19 โดยกำหนดกรอบวงเงินอนุมัติสูงสุด 5 ล้านบาทต่อราย ในอัตราดอกเบี้ยแบบขั้นบันไดเริ่มต้น 3% ระยะเวลาชำระคืนไม่เกิน 3 ปี นอกจากนี้ ยังได้รับฟังปัญหาและข้อเสนอแนะ โดยในส่วนของ ศภ.10 กสอ. ได้เสนอแนะในด้านของการเพิ่มประสิทธิภาพผู้ประกอบการในด้านการผลิต การตลาด เพื่อต่อยอดกิจการและเพิ่มกำลังความสามารถในการชำระหนี้ ด้านการปรับโครงสร้างหนี้ เช่น เปลี่ยนการค้ำประกันจากบุคคลเป็นหลักทรัพย์ ปรับแนวทางการชำระหนี้ในราย NPL เพื่อให้กลับเข้าระบบ สำหรับในส่วนของ ศภ.11 กสอ. ได้เสนอแนวทางการประชาสัมพันธ์ จัดทำข้อมูลองค์ความรู้ให้กับผู้ประกอบการ การตรวจเยี่ยมลูกหนี้ เพื่อทราบสถานะของกิจการและสำรวจความต้องการของผู้ประกอบการ การส่งเสริมด้านการตลาดในระบบสินเชื่อทั้งในกลุ่มเป้าหมายเดิมและขยายกลุ่มเป้าหมายใหม่ในช่วงสถานการณ์ฉุกเฉิน ขณะเดียวกัน ยังได้หารือแนวทางร่วมกันในการบริหารการชำระหนี้ที่มีประสิทธิภาพและไปในทิศทางเดียวกัน การยกระดับองค์ความรู้เรื่องการบริหารจัดการธุรกิจให้กับบุคลากรของเงินทุนหมุนเวียนฯ โดยผู้เชี่ยวชาญขององค์กรเพื่อเพิ่มศักยภาพและมุมมองความรู้ให้สามารถแนะนำผู้ประกอบการให้เข้าใจต่อไป ### PR.DIProm (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม) รายงาน/ภาพข่าว
16 พ.ย. 2564
เตรียมพบกับสัมมนาออนไลน์ “ BCG การพัฒนาและเพิ่มมูลค่าทางธุรกิจที่ยั่งยืน ”
กองพัฒนาเกษตรอุตสาหกรรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม วันที่ 22 พฤศจิกายน 2564 เวลา 13.00 – 16.30 น. ผ่าน ZOOM & Live streaming on FB : กองพัฒนาเกษตรอุตสาหกรรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม พบกับ คุณเฉลิม โกกนุทาภรณ์ Thai Eastern Group Holdings คุณถิรวัฒน์ เธียรธนะรัตน์ Thai Eastern Industrial Land ร่วมพูดคุยและให้ความรู้ในหัวข้อ การพัฒนาเศรษฐกิจแบบใหม่เพื่อความยั่งยืน : BCG Model Case Study ในการพัฒนาธุรกิจ ยางพารา ปาล์มน้ำมัน สมุนไพรไทย 3 ก (กัญชา กัญชง กระท่อม) หากท่านใดสนใจสามารถลงทะเบียนได้แล้ว ที่นี่ https://bit.ly/3F6Q5ka ที่สำคัญ ฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย Live streaming on FB : กองพัฒนาเกษตรอุตสาหกรรม https://th-th.facebook.com/iaid.dip/
16 พ.ย. 2564
“แม่ทัพณัฐพล” นำทีม ดีพร้อม ร่วมคณะ รมว.อุตฯ เยี่ยมชมสถานประกอบการ จ.กระบี่ เพื่อยกระดับผลิตภัณฑ์เพิ่มมูลค่าของฝากของที่ระลึก
จ.กระบี่ 15 พฤศจิกายน 2564 - นายณัฐพล รังสิตพล อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม นายเจตนิพิฐ รอดภัย รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม และคณะผู้บริหารกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กสอ.) หรือ ดีพร้อม ร่วมลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมสถานประกอบการ บริษัท จี้ออ ฟู้ด จำกัด ในโอกาสตรวจราชการและเตรียมความพร้อมการประชุมคณะรัฐมนตรีอย่างเป็นทางการนอกสถานที่ ครั้งที่ 1/2564 กลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอันดามัน (ภูเก็ต กระบี่ ตรัง พังงา ระนอง และสตูล) โดยมี นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม นำคณะฯ พร้อมด้วย นายธีระยุทธ วานิชชัง ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงอุตสาหกรรม นายสุชาติ ไตรแสงรุจิระ และนายศันสนะ สุริยะโยธิน ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม นายกฤชนนท์ อัยยปัญญา เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม นายกอบชัย สังสิทธิสวัสดิ์ ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม คณะผู้บริหารและเจ้าหน้าที่กระทรวงอุตสาหกรรม ซึ่งมี นายอดิศร เตี่ยวประดิษฐ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท จี้ออ ฟู้ด จำกัด และนางฐนผการจ เตี่ยวประดิษฐ์ รองผู้จัดการ บริษัท จี้ออ ฟู้ด จำกัด ให้การต้อนรับ พร้อมทั้งสรุปภาพรวมการดำเนินงานและนำเยี่ยมชมสถานประกอบการดังกล่าว โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมและคณะฯ ได้รับฟังภาพรวมการดำเนินงาน ปัญหาและอุปสรรคของบริษัทฯ จึงได้สั่งการให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการส่งเสริมและพัฒนาผู้ประกอบการ โดยสนับสนุนเทคโนโลยีและนวัตกรรม เพื่อเพิ่มศักยภาพการแปรรูปอาหารจากวัตถุดิบท้องถิ่น และช่วยเหลือช่องทางการตลาดทั้งออฟไลน์และออนไลน์ รวมถึงพิจารณาให้การสนับสนุนเงินทุนเพื่อส่งเสริมผู้ประกอบการให้มีศักยภาพทางการแข่งขันมากขึ้น ขณะเดียวกัน อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ได้รับมอบนโยบายจากรัฐมนตรีว่าการฯ ในการส่งเสริม พัฒนา และสนับสนุน บริษัท จี้ออ จำกัด โดยได้สั่งการให้หน่วยงานในพื้นที่ของดีพร้อมเร่งดำเนินการ ดังนี้ - ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 10 จ.สุราษฎร์ธานี (ศภ.10 กสอ.) และ ภาคที่ 11 จ.สงขลา (ศภ.11 กสอ.) และกองพัฒนาอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ (กส.กสอ.) ดำเนินการยกระดับผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์ของฝากของที่ระลึกในรูปแบบใหม่ ๆ เพื่อขยายโอกาสทางการตลาดต่างประเทศ รวมถึงยืดอายุผลิตภัณฑ์ ผ่านกลไกศูนย์ ITC ซึ่งมีเครื่องมือแปรรูป เช่น เครื่องอบทำผงแห้งแบบพ่นฝอย (Spray Dryer) เครื่องซีลฝาฟอยล์ เครื่องซีลสูญญากาศ เครื่องซีลไนโตรเจน หม้อนึ่งฆ่าเชื้อภายใต้แรงดัน (Retort) รวมถึงพัฒนาการออกแบบผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์ของฝากของที่ระลึกให้ทันสมัย ตอบสนองความต้องการของตลาดในรูปแบบใหม่ ๆ ผ่านการดำเนินงานของโครงการดีพร้อมแพค : บรรจุภัณฑ์สร้างสรรค์วิถีใหม่ (The Next Diprom Packaging : Diprom Pack) และศูนย์ออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์ (Thai - IDC) ซึ่งมีบุคลากรที่เชี่ยวชาญ และอุปกรณ์ในการสนับสนุนการพัฒนาด้านการออกแบบ เช่น เครื่องพิมพ์ 3D Printing เป็นต้น - ศภ.10 กสอ. ดำเนินการให้คำปรึกษาแนะนำโดยผู้เชี่ยวชาญ ของ ดีพร้อม เพื่อพัฒนาการผลิตและแรงงานในการผลิตสินค้าแปรรูป สำหรับเป็นของฝากของที่ระลึก - ศภ.10 กสอ. ดำเนินการสนับสนุนการขยายตลาดออนไลน์ โดยพัฒนาทักษะการทำสื่อสำหรับออนไลน์ให้แก่บุคลากรของบริษัท ตลอดจนการพัฒนาศักยภาพในการขายผ่านช่องทางออนไลน์ ด้วยกระบวนการให้คำปรึกษาแนะนำโดยผู้เชี่ยวชาญ ของ ดีพร้อม บริษัท จี้ออ ฟู้ด จำกัด ประกอบกิจการผลิตและจำหน่าย ขนมและผลิตภัณฑ์อาหารแปรรูปพื้นเมือง อาทิ น้ำพริกกุ้งเสียบแปรรูป อาหารทะเลแห้งแปรรูป ขนมเต้าส้อ ผลไม้อบแห้ง ซึ่งมีมูลค่าการลงทุนกว่า 6.4 ล้านบาท โดยบริษัทฯ ได้พัฒนาผลิตภัณฑ์และออกแบบบรรจุภัณฑ์ที่สวยงาม สร้างมูลค่าเพิ่มและต่อยอดภูมิปัญญาท้องถิ่น และนำเอานวัตกรรมการผลิตอาหารที่ทันสมัยและได้มาตรฐานสากลมาใช้รองรับลูกค้าทั้งในพื้นที่และลูกค้ากลุ่มออนไลน์ที่กำลังเติบโต ทั้งนี้ ที่ผ่านมาบริษัทฯ ได้เข้าร่วมโครงการกับดีพร้อม เพื่อพัฒนาขีดความสามารถในด้านต่าง ๆ ได้แก่ โครงการสร้างเครือข่ายอุตสาหกรรม (Food Cluster) เพื่อสร้างความเข้มแข็งและมูลค่าเพิ่มภายใต้อัตลักษณ์ Andaman Brand โครงการปรับแผนธุรกิจและเพิ่มขีดความสามารถ SMEs โครงการพัฒนาศักยภาพอุตสาหกรรมเกษตรแปรรูปและอาหาร การจัดทำระบบมาตรฐานฮาลาล รวมถึงโครงการเพิ่มศักยภาพและยกระดับเทคโนโลยีอุตสาหกรรมเป้าหมาย โดยมีผลลัพท์การดำเนินงานที่สำคัญคือ โครงการเพิ่มผลิตภาพและสร้างมูลค่าเพิ่มผลิตภัณฑ์ ซึ่งสามารถสร้างผลลัพธ์ลดต้นทุนการผลิตต่อหน่วย 10,000 บาท/ปี และผลิตภัณฑ์ที่พัฒนามีมูลค่ายอดขายเพิ่มขึ้นจากเดิม 4,800,000 บาท ### PR.DIProm (กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม) รายงาน/ภาพข่าว
16 พ.ย. 2564