หมวดหมู่
“อธิบดีภาสกร” ร่วมเปิดโครงการ Phenix จุดหมายปลายทางด้านอาหารระดับโลก
กรุงเทพฯ 26 มิถุนายน 2567 - นายภาสกร ชัยรัตน์ อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม เข้าร่วมพิธีเปิดโครงการ Phenix จุดหมายปลายทางด้านอาหารระดับโลก โดยมี นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี เป็นประธานในพิธีเปิด พร้อมด้วยผู้แทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง คณะผู้บริหาร และเจ้าหน้าที่ดีพร้อม (DIPROM) เข้าร่วม ณ โถงจัดงาน ชั้น G ศูนย์การค้า Phenix ประตูน้ำ โครงการ Phenix ศูนย์กลางด้านอาหารครบวงจรระดับโลกที่เกิดขึ้นจากความร่วมมือของหน่วยงานภาครัฐและเอกชนทั้งในประเทศและต่างประเทศ มีความมุ่งมั่นที่จะสร้างมาตรฐานใหม่ให้อุตสาหกรรมอาหารของไทย สร้างสรรค์จุดหมายปลายทางระดับโลกแห่งใหม่ที่ส่งเสริมการท่องเที่ยวและอุตสาหกรรมอาหาร บนพื้นที่ยุทธศาสตร์ย่านประตูน้ำ รวบรวมผู้ซื้อผู้ขายอาหารชั้นนำจากประเทศไทยและทั่วโลก นอกจากนี้ ยังมีพื้นที่เพื่อการสังสรรค์และเจรจาธุรกิจ พื้นที่ด้านความบันเทิง ห้องประชุม ห้องสัมมนา และจะเป็นสถานที่ที่มอบประสบการณ์ที่น่าประทับใจให้แก่ผู้บริโภคทั้งชาวไทยและนักท่องเที่ยวนานาชาติ และเป็นอีกหนึ่งพลังของ Soft Power ด้านอาหารไทยที่รัฐบาลมุ่งส่งเสริมให้สอดคล้องกับกลยุทธ์ Must Eat ใน 5 Must Do in Thailand
27 มิ.ย. 2567
“พิมพ์ภัทรา” พบ ผู้บริหาร JETRO และ JCC หารือปัญหาอุปสรรคทางธุรกิจ ยืนยัน กระทรวงอุตสาหกรรม พร้อมดูแลผู้ประกอบการญี่ปุ่น เพื่อประโยชน์ต่อเศรษฐกิจของสองประเทศ
กรุงเทพฯ 26 มิถุนายน 2567 - นางสาวพิมพ์ภัทรา วิชัยกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม พร้อมด้วย นายดนัยณัฎฐ์ โชคอำนวย ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม นายบรรจง สุกรีฑา รองปลัดกระทรวงกระทรวงอุตสาหกรรม นายภาสกร ชัยรัตน์ อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม นางสาวนลินี กาญจนามัย รองผู้ว่าการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และคณะผู้บริหารกระทรวงอุตสาหกรรม ให้การต้อนรับ นายคุโรดะ จุน ประธานองค์การส่งเสริมการค้าต่างประเทศของญี่ปุ่น (JETRO Bangkok) ซึ่งได้นำกรรมาธิการวิจัยทางเศรษฐกิจของหอการค้าญี่ปุ่น (JCC) ณ ห้องประชุมชุณหะวัณ ชั้น 3 อาคารสำนักงานปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม ทางคณะฯ เข้าพบ เพื่อรายงานสรุปผลการสำรวจแนวโน้มความเชื่อมั่น โอกาส ปัญหาและอุปสรรคทางธุรกิจของบริษัทญี่ปุ่นในประเทศไทย ประจำครึ่งปีแรกของปี 2567 โดยสะท้อนถึงยอดการจำหน่ายรถยนต์เครื่องยนต์สันดาปลดลง จึงขอให้รัฐบาลไทยช่วยหามาตรการและเร่งรัดให้มีการกระตุ้นยอดขายของรถยนต์ ขณะเดียวกัน ผู้ประกอบการญี่ปุ่นเองก็พร้อมที่จะปรับตัวในการผลิตรถยนต์ให้สอดคล้องกับมาตรฐาน EURO 6 ที่จะมีประกาศใช้อนาคต นางสาวพิมพ์ภัทรา กล่าวว่า รัฐบาลโดยนายกรัฐมนตรี นายเศรษฐา ทวีสิน พิมพ์ภัทรา มีนโยบายหลัก IGNITE Thailand ขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยสู่อนาคตที่ยั่งยืน ใน 8 วิสัยทัศน์ ได้แก่ ท่องเที่ยว การแพทย์และสุขภาพ อาหาร การบิน ขนส่ง ดิจิทัล การเงิน ยานยนต์แห่งอนาคต อย่างไรก็ตามแม้รัฐบาลจะมีนโยบายสนับสนุนอุตสาหกรรมอีวี เพื่อลดการปล่อยคาร์บอน แต่ก็พร้อมสนับสนุนเครื่องยนต์สันดาป ในช่วงเปลี่ยนผ่านไปสู่ยานยนต์ไฟฟ้า นอกจากนี้ กระทรวงอุตสาหกรรมยังพร้อมดูแลอำนวยความสะดวกผู้ประกอบการญี่ปุ่น รวมทั้งการถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้เกิดประโยชน์กับเศรษฐกิจของทั้งสองประเทศ “อย่างไรก็ตามขอบคุณท่านประธาน JETRO ที่ให้ความสนใจนโยบาย IGNITE Thailand ในวิสัยทัศน์ที่เกี่ยวข้องกับ logistic การผลิตยานยนต์แห่งอนาคต การท่องเที่ยว และการแพทย์และสุขภาพ ซึ่งเราก็หวังว่าจะมีความร่วมมือกันในโอกาสต่อไป” รมว.อุตสาหกรรม กล่าว
27 มิ.ย. 2567
รัฐมนตรีฯ พิมพ์ภัทรา ร่วมให้กำลังใจผู้ประกอบการในกิจกรรม“DIPROM Green fair 2024 : งานแฟร์สีเขียวของคนรักษ์โลก” สร้างช่องทาง โอกาสในการจำหน่ายสินค้า และผลิตภัณฑ์อุตฯ รักษ์โลกสู่การผลิตที่ยั่งยืน
กรุงเทพฯ 26 มิถุนายน 2567 – นางสาวพิมพ์ภัทรา วิชัยกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม พร้อมด้วย นายดนัยณัฎฐ์ โชคอำนวย ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม นายภาสกร ชัยรัตน์ อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ร่วมให้กำลังใจผู้ประกอบการในกิจกรรม “DIPROM Green fair 2024 : งานแฟร์สีเขียวของคนรักษ์โลก” ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 25-28 มิถุนายน 2567 ณ ห้องนิทรรศการ ชั้น 1 อาคารกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กิจกรรมดังกล่าว จัดขึ้นเพื่อสร้างช่องทางและโอกาสในการจำหน่ายสินค้า การทดสอบตลาด รวมถึงสร้างการรับรู้ในตราสินค้าและผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมรักษ์โลกให้กับผู้ประกอบการ SME ให้เกิดความตระหนักและเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการผลิตไปสู่การผลิตที่ยั่งยืน อีกทั้งเพื่อแสดงผลงานและศักยภาพของผู้ประกอบการที่ได้รับการพัฒนาและสนับสนุนจากกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม โดยภายในงานได้คัดสรรสินค้าที่รักษ์โลก รวมถึงการรณรงค์และเน้นการใช้ภาชนะใส่อาหารและบรรจุภัณฑ์ ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม อาทิ ถุงกระดาษ ถุงผ้า แก้วกระดาษ หรือ การนำภาชนะมาใส่เอง เพื่อนำมาเป็นส่วนลดราคา พร้อมลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ควบคู่กัน โดยมีร้านค้ารวมจำนวนกว่า 90 บูธ และมีกลุ่มคลัสเตอร์ที่ได้รับการพัฒนาจากดีพร้อม ได้แก่ กลุ่มอาหารแปรรูป งานหัตถกรรม เครื่องสำอาง ผ้าและเครื่องแต่งกาย อาหารพร้อมทานนานาชนิด เป็นต้น
27 มิ.ย. 2567
"รสอ.วาที" ติดตามการดำเนินงานของดีพร้อม
จ.เชียงใหม่ 25 มิถุนายน 2567 - นายวาที พีระวรานุพงศ์ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ลงพื้นที่ติดตามการดำเนินโครงการของพร้อม ร่วมด้วย นางเกษราภรณ์ โกวิทลวากุล ผู้อำนวยการกองยุทธศาสตร์และแผนงาน นายวิจักขณ์ รัตนสุวรรณ ผู้อำนวยการกองพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยีอุตสาหกรรม นายกิตติโชติ ศุภกำเนิด ผู้อำนวยการกองพัฒนาเกษตรอุตสาหกรรม นายสุรพล ปลื้มใจ ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 1 นางเกษสุดา ดอนเมือง ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 3 คณะผู้บริหาร และเจ้าหน้าที่ดีพร้อม (DIPROM) ณ บริษัท สยามออร์คิด จำกัด ตำบลท่าศาลา อำเภอเมืองเชียงใหม่ การลงพื้นที่ดังกล่าว เป็นการติดตามโครงการยกระดับสินค้าเกษตรสู่เกษตรอุตสาหกรรม กิจกรรมการพัฒนาผลิตภัณฑ์เกษตรแปรรูปเป้าหมาย (สมุนไพร เครื่องสำอาง และอาหารแปรรูป) ซึ่งทางบริษัท สยามออร์คิด จำกัด ได้รับการพัฒนาผลิตภัณฑ์แผ่นมาส์กหน้าจากข้าวก่ำ ที่เป็นผลิตภัณฑ์เวชสำอางด้วยการนำนวัตกรรมที่ทันสมัยผสานกับส่วนผสมที่ได้รับการพัฒนาด้วยใส่ใจในรายละเอียดของความปลอดภัยและเห็นผลลัพธ์ที่พิสูจน์ได้ เพื่อการดูแลผิวพรรณและสุขภาพของผู้บริโภค
26 มิ.ย. 2567
“รสอ.ดวงดาว” ประชุม TCG Stakeholders Day 2024 : ความเห็นของท่าน สำคัญกับ บสย.
กรุงเทพฯ 25 มิถุนายน 2567 - นางดวงดาว ขาวเจริญ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ได้รับมอบหมายจาก นายภาสกร ชัยรัตน์ อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม เข้าร่วมการประชุม “TCG Stakeholders Day 2024 : ความเห็นของท่าน สำคัญกับ บสย.” ร่วมบรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) ณ ห้องรองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ชั้น 3 อาคารกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม และในรูปแบบออนไลน์ผ่านแอปพลิเคชั่น Zoom Meeting การประชุมในครั้งนี้ ได้มีการแถลงวิสัยทัศน์ ทิศทางและผลการดำเนินงาน ของ บสย. ซึ่งประกอบไปด้วย 1) ยุทธศาสตร์การดำเนินงานของ บสย. 2) การขับเคลื่อนองค์กรด้วยนโยบาย GRC และการบริหารความเสี่ยง เพื่อให้องค์กรบรรลุเป้าหมาย 3) การบริหารจัดการนวัตกรรม และ 4) การมุ่งเน้นผู้มีส่วนได้ส่วนเสียของ บสย. โดยมีการเปิดโอกาสให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ได้มีส่วนร่วมในการให้ข้อมูลและเสนอข้อคิดเห็นอย่างโปร่งใสและเหมาะสม พร้อมแลกเปลี่ยนประสบการณ์ดำเนินงาน เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการจัดทำแผนยุทธศาสตร์ และสนับสนุนการขับเคลื่อนภารกิจของ บสย. รวมไปถึงการออกแบบกิจกรรมสร้างความสัมพันธ์ นำไปสู่เป้าหมายด้านผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่ตอบโจทย์ร่วมกับทุกภาคส่วนอย่างสมดุลและยั่งยืน
26 มิ.ย. 2567
“รสอ.วาที” ร่วมประชุมคณะกรรมการส่งเสริมการพัฒนาฝีมือแรงงาน ครั้งที่ 4/2567
จ.เชียงใหม่ 25 มิถุนายน 2567 - ดร.ณัฐพล รังสิตพล ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม มอบหมายให้ นายวาที พีระวรานุพงศ์ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม เข้าร่วมประชุมคณะกรรมการส่งเสริมการพัฒนาฝีมือแรงงาน ครั้งที่ 4/2567 พร้อมด้วย คณะกรรมการและผู้แทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมประชุม โดยมี นายถาวร ชลัษเฐียร รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย เป็นประธานการประชุม ในรูปแบบออนไลน์ผ่านแอปพลิเคชั่น Zoom Meeting การประชุมดังกล่าว เป็นการร่วมกันรับฟังผลการพิจารณาอนุมัติการให้เงินช่วยเหลือหรืออุดหนุนตามพระราชบัญญัติส่งเสริมการพัฒนาฝีมือแรงงาน พ.ศ. 2545 และเรื่องอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง พร้อมร่วมพิจารณาประเด็นขอรับรองมาตรฐานฝีมือแรงงาน ขยายเวลาการกำหนดใช้อัตราดอกเบี้ยร้อยละศูนย์ต่อปี แผนปฏิบัติการด้านกองทุนพัฒนาฝีมือแรงงาน และแผนปฏิบัติการประจำปี รวมถึงการขออนุมัติประมาณการรายจ่ายเงินกองทุนพัฒนาฝีมือแรงงาน และแผนการปฏิบัติงานประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 และการปรับแผนการใช้จ่ายเงินกองทุนพัฒนาฝีมือแรงงาน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567
26 มิ.ย. 2567
ดีพร้อม ชวนช้อปสินค้ารักษ์โลกในงาน “DIPROM Green fair 2024”
กรุงเทพฯ 25 มิถุนายน 2567 - นายภาสกร ชัยรัตน์ อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ให้เกียรติเป็นประธานในพิธีเปิดกิจกรรม "DIPROM Green fair 2024 : งานแฟร์สีเขียวของคนรักษ์โลก" ภายใต้กิจกรรมการเชื่อมโยงเพื่อสร้างโอกาสทางธุรกิจ ร่วมด้วย นายวัชรุน จุ้ยจำลอง รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม คณะผู้บริหาร และเจ้าหน้าที่ดีพร้อม (DIPROM) และผู้ประกอบการ โดยมี นายวุฒิชัย ประชาพร ผู้อำนวยการกองพัฒนาขีดความสามารถธุรกิจอุตสาหกรรม กล่าวรายงาน ณ บริเวณด้านหน้าห้องแสดงนิทรรศการ ชั้น 1 อาคารกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (DIPROM Headquarter) “DIPROM Green fair 2024 : งานแฟร์สีเขียวของคนรักษ์โลก” เป็นงานแสดงและจำหน่ายสินค้าของผู้ประกอบการที่ได้รับการพัฒนาและสนับสนุนจาก “ดีพร้อม” มีจุดมุ่งหมายเพื่อสร้างช่องทางและโอกาสในการจำหน่ายสินค้า การทดสอบตลาด การสร้างการรับรู้ในตราสินค้าและผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม อีกทั้งยังเป็นการแสดงผลงานและศักยภาพของผู้ประกอบการอีกด้วย โดยกำหนดจัดขึ้น ตั้งแต่วันที่ 25 - 28 มิถุนายน 2567 ซึ่งภายในงานได้คัดสรรสินค้ารักษ์โลก รวมถึงการรณรงค์ใช้ภาชนะใส่อาหารและบรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เพื่อลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ โดยมีร้านค้าเข้าร่วมกิจกรรมกว่า 70 บูธ ประกอบด้วยกลุ่มคลัสเตอร์ที่ได้รับการพัฒนาจากดีพร้อม ได้แก่ กลุ่มอาหารแปรรูป งานหัตถกรรม เครื่องสำอาง ผ้าและเครื่องแต่งกาย เป็นต้น รวมทั้งร้านอาหารยอดนิยมที่ได้รับความร่วมมือจากเครือข่าย กว่า 20 บูธ ตลอดการจัดงานทั้ง 4 วัน
26 มิ.ย. 2567
ธนาคาร ADB เข้าพบ “พิมพ์ภัทรา” หารือความร่วมมือสนับสนุนเอสเอ็มอี ปรับตัวรับกติกาใหม่โลก พร้อมสนับสนุนเพื่อพัฒนาธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SME) ให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมในประเทศไทย
กรุงเทพฯ 25 มิถุนายน 2567 - นางสาวพิมพ์ภัทรา วิชัยกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ให้การต้อนรับ นายสก็อตต์ มอร์ริส รองประธานฝ่ายกำกับดูแลกิจการในภูมิภาคเอเชียตะวันออก เอเชียตะวันออกเฉียงใต้และแปซิฟิก ธนาคารพัฒนาเอเชีย (ADB) พร้อมคณะ เข้าพบ เพื่อหารือเกี่ยวกับความร่วมมือเชิงกลยุทธ์ระหว่างธนาคาร ADB กับประเทศไทย รวมทั้งการสนับสนุนเพื่อพัฒนาธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SME) ให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมในประเทศไทย โดยมี นายดนัยณัฏฐ์ โชคอำนวย ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม นายเดชา จาตุธนานันท์ ผู้ตรวจราชการกระทรวงอุตสาหกรรม นายภาสกร ชัยรัตน์ อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม นายจงรักษ์ โรจน์พลาเสถียร ผู้อำนวยการสถาบันรับรองมาตรฐานไอเอสโอ นายพิชิต มิทราวงศ์ กรรมการผู้จัดการธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย และคณะผู้บริหารกระทรวงอุตสาหกรรม เข้าร่วม ณ ห้องประชุม อก.1 สำนักงานปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม รัฐมนตรีฯ พิมพ์ภัทรา กล่าวว่า ในสถานการณ์โลกที่เปลี่ยนแปลงไปเอสเอ็มอีจำเป็นต้องปรับตัวเพื่อให้ทันกติกาใหม่ของโลก เราตระหนักดีว่าผู้ประกอบการจะประกอบกิจการได้ต้องมีความรู้และเงินทุน ซึ่งถือเป็นความโชคดีที่เรามี SME D BANK กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กรมโรงงาน สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม ฯลฯ ที่ช่วยกันสร้างและสนับสนุนผู้ประกอบการให้เข้มแข็งมีผลิตภาพสีเขียว (Green Productivity) ที่สูงขึ้น โดยเฉพาะความรู้เรื่อง คาร์บอนเครดิต คาร์บอนฟุตปรินท์ ที่จะช่วยให้ผู้ประกอบการปรับตัวและประกอบอาชีพใหม่ภายใต้กติกาใหม่ได้ “นี่คือความตั้งใจของกระทรวงอุตสาหกรรมที่ต้องการ สร้างโลกใบนี้ให้สวยงาม ส่งต่ออากาศบริสุทธิ์สะอาดและนวัตกรรมสีเขียวให้กับรุ่นลูก รุ่นหลานของเราต่อไป ซึ่งหากมีอะไรที่จะแนะนำกระทรวงอุตสาหกรรมและหน่วยงานต่าง ๆ ก็พร้อมรับฟัง และนำไปปรับปรุงและพัฒนาต่อไป” นางสาวพิมพ์ภัทรา กล่าว โดยผู้บริหารของธนาคาร ADB ได้กล่าวถึงความร่วมมือที่ดำเนินการร่วมกับกระทรวงอุตสาหกรรม ว่า ธนาคาร ADB ได้ให้ความช่วยเหลือด้านเทคนิคแก่ SME D Bank เพื่อพัฒนากรอบการเงินที่ยั่งยืนในปี 2564 และ 2565 และพัฒนากระบวนการระดมทุนทั้งในรูปแบบพันธบัตรและผลิตภัณฑ์เงินฝาก เพื่อนำไปปล่อยสินเชื่อสำหรับสนับสนุน SME ไทย ยกระดับสู่เศรษฐกิจชีวภาพ-เศรษฐกิจหมุนเวียน-เศรษฐกิจสีเขียว หรือ BCG Model (BioCircular-Green Economy) ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายเคลื่อนพัฒนาประเทศไทยยุคใหม่ ด้วย BCG Model และขณะนี้ อยู่ระหว่างหารือกับสถาบันรับรองมาตรฐานไอเอสโอ (MASCI) ซึ่งเป็นหน่วยรับรองระบบงานต่าง ๆ ตามกติกาสากล ในประเทศไทย เพื่อให้การรับรองตราสารหนี้สีเขียว (Green Bonds) ในพื้นที่ที่มีศักยภาพ โดยเฉพาะสำหรับ SME ขณะเดียวกันก็ได้สำรวจความต้องการของกระทรวงอุตสาหกรรม เพื่อขยายขอบเขตและปรับปรุงการดำเนินงานของกองทุนลดคาร์บอน (Decarbonization Fund) ซึ่งรวมถึงการพัฒนาตัวชี้วัดผลกระทบที่เหมาะสมซึ่ง MASCI สามารถรองรับได้ จากนี้ธนาคารเอดีบี ซึ่งจัดหาเงินทุนเพื่อสนับสนุนการออกแบบและการดำเนินการสำหรับสิ่งอำนวยความสะดวกทางการเงินสีเขียว (Green Finance) ซึ่งอาจอยู่ภายใต้กองทุนเพื่อสนับสนุน SMEs ของไทยในสาขาสำคัญ เช่น ยานพาหนะไฟฟ้าและสถานีชาร์จไฟฟ้า เกษตรกรรมและการผลิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม “เราเห็นความสำคัญของนโยบายสิ่งแวดล้อมและการปรับตัวของ SME และเราก็มีประสบการณ์ ที่ได้ถ่ายทอดและสนับสนุนเอสเอ็มอีในหลาย ๆ ประเทศ เป็นโอกาสดีที่จะส่งเสริมและสนับสนุนการให้สินเชื่อผ่านทางภาครัฐ ในด้านความรู้และเทคนิค โดยเงินทุนจากจากหลายภาคส่วน และภายใน 3-6 เดือนข้างหน้าเราจะทำงานกับเอสเอ็มอี เพื่อที่จะทำเป็น Action Plan เพื่อดำเนินการต่อไป
26 มิ.ย. 2567
"รสอ.ดวงดาว" ติดตามความคืบหน้า Thailand Textiles Tag
กรุงเทพฯ 24 มิถุนายน 2567 – นางดวงดาว ขาวเจริญ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ให้เกียรติเป็นประธานการประชุมติดตามคณะกรรมการพิจารณาหลักเกณฑ์และข้อกำหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์สิ่งทอสำหรับการให้การรับรองติดฉลาก Thailand Textiles Tag ครั้งที่ 3/2567 โดยมี นายชาญชัย สิริเกษมเลิศ ผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ นางสาวอังสนา โสมาภา ผู้อำนวยการกองพัฒนาอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ ผู้ทรงคุณวุฒิสถาบันสิ่งทอ คณะผู้บริหาร และเจ้าหน้าที่ดีพร้อม (DIPROM) เข้าร่วมประชุม ณ ห้องประชุม ชั้น 3 อาคารอำนวยการ สถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ ซอยตรีมิตร ถนนพระรามที่ 4 การประชุมดังกล่าว เพื่อรับฟังความก้าวหน้าของกิจกรรมปีงบประมาณ 2567 ซึ่งมีการจัดสัมมนาให้ความรู้ด้านสิ่งทอไทย จำนวน 3 ครั้ง มีผู้เข้าร่วม จำนวน 154 คน และคัดเลือกผู้ประกอบการเข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 30 กิจการจากผู้สมัคร จำนวน 53 กิจการ ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มผู้ประกอบการ SME ซึ่งกระจายอยู่ในกรุงเทพฯ ปริมณฑล ภาคเหนือ และจังหวัดอุดรธานี กิจกรรมพัฒนาคุณภาพผลิตภัณฑ์สิ่งทอเข้าสู่มาตรฐานอุตสาหกรรม (DIPROM Thailand Textiles Tag) เพื่อให้ผู้ประกอบการผลิตสินค้าคุณภาพตามมาตรฐาน ลดการนำเข้าสิ่งทอจากต่างประเทศ และกระตุ้นให้คนไทยใช้สินค้าไทยมากขึ้น ซึ่งบริษัท เทนเซ็นต์ (ประเทศไทย) จำกัด เป็นบริษัทยักษ์ใหญ่ด้านดิจิทัลของจีนกำลังจะจัดทำ Travel Platform สำหรับการนำเที่ยวในประเทศไทยและมีเมนูที่บรรจุรายการสินค้าที่มีคุณภาพของไทยไว้ให้คนจีนที่มาเที่ยวไทยได้สืบค้น คาดว่าหาก Platform ดังกล่าวเปิดใช้งานจะสามารถสร้างโอกาสให้กับผู้ประกอบการสิ่งทอไทยและจะทำให้มีการยื่นขอการรับรองเครื่องหมาย Thailand Textiles Tag เพิ่มเข้ามามากขึ้นอีกเป็นจำนวนมาก
25 มิ.ย. 2567
"รสอ.วาที" ประชุมติดตามผลการดำเนินงานหน่วยงานภายใต้การกำกับดูแล
กรุงเทพฯ 24 มิถุนายน 2567 - นายวาที พีระวรานุพงศ์ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ให้เกียรติเป็นประธานในการประชุมติดตามผลการดำเนินงานหน่วยงานภายใต้การกำกับดูแล โดยมี นายเจตนิพิฐ รอดภัย ที่ปรึกษากรมส่งเสริมอุตสาหกรรม คณะผู้บริหาร และเจ้าหน้าที่ดีพร้อม (DIPROM) เข้าร่วมประชุม ณ ห้องประชุม 1 ชั้น 3 อาคารกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (DIPROM Headquarter) และในรูปแบบออนไลน์ผ่านแอปพลิเคชั่น Zoom Meeting การประชุมในวันนี้ เป็นการติดตามผลการดำเนินงานหน่วยงานภายใต้การกำกับดูแล ได้แก่ กองพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยีอุตสาหกรรม กองพัฒนาเกษตรอุตสาหกรรม ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 8 ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 9 ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 10 และศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 11 โดยมีการนำเสนอผลการดำเนินงานในภาพรวม ประกอบด้วย โครงสร้างอัตรากำลัง ผลการดำเนินงานโครงการ/กิจกรรม และการใช้จ่ายงบประมาณ
25 มิ.ย. 2567