"รองอธิบดีดวงดาว" รับมอบเครื่องอุปโภค​ บริโภค​ และสิ่งของจำเป็นจากดีพร้อมเซ็นเตอร์ 6 เพื่อช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย
กรุงเทพฯ 10 ตุลาคม 2567 - นางดวงดาว ขาวเจริญ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม รับมอบเครื่องอุปโภค บริโภค และสิ่งของจำเป็นที่ได้รับการสนับสนุนจากศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 6 และผู้ประกอบการในพื้นที่ที่รวมใจส่งมอบรอยยิ้ม สำหรับนำมาบรรจุลงถุง ภายใต้โครงการ "อุตสาหกรรมรวมใจ ช่วยพี่น้องชาวไทย" เพื่อเป็นกำลังใจให้กับผู้ประสบอุทกภัยในการก้าวข้ามช่วงเวลาที่ยากลำบากไปได้ ณ ห้องนิทรรศการ ชั้น 1 อาคารกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (DIPROM Headquarter)
15 ต.ค. 2567
เปิดบ้านดีพร้อม แจงนโยบาย "รมต.เอกนัฏ" เตรียมพร้อมขับเคลื่อนนิคม SMEs โชว์เครื่องจักรต้นแบบโรงงานนำร่อง 13 แห่งทั่วประเทศ ร่วมกับการนิคมฯ และ อว.
กรุงเทพฯ 8 ตุลาคม 2567 – นางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม รักษาราชการแทน อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ให้เกียรติเป็นประธานในการประชุมผู้บริหารกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ครั้งที่ 94-1/2567 พร้อมสักการะองค์พระนารายณ์ และพระภูมิ ประจำอาคารกองพัฒนาอุตสาหกรรมชุมชน (กช.) และประจำอาคารกองพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยีอุตสาหกรรม (กน.) เพื่อความเป็นสิริมงคลในการดำเนินงานประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2568 ร่วมด้วย นายวัชรุน จุ้ยจำลอง นางดวงดาว ขาวเจริญ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม คณะผู้บริหาร และเจ้าหน้าที่ดีพร้อม (DIPROM) เข้าร่วม ณ ห้องประชุมแพรวา ชั้น 7 อาคารกองพัฒนาอุตสาหกรรมชุมชน และในรูปแบบออนไลน์ผ่านแอปพลิเคชั่น Zoom Meeting การประชุมดังกล่าว รปอ.รก.อสอ. ได้มอบนโยบายการทำงานของดีพร้อมในปีงบประมาณ 2568 ซึ่งมีความสอดรับกับนโยบายของนายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม โดยให้ทุกหน่วยงานของดีพร้อมบูรณาการทำงานร่วมกับ สอจ. และสำรวจ MOU ระหว่างดีพร้อมกับหน่วยงานอื่น ๆ ทั้งในและต่างประเทศในการเร่งขับเคลื่อนการทำงานในด้านต่าง ๆ อาทิ ขับเคลื่อนตามมติของคณะกรรมการสมุนไพร Soft Power ส่งเสริมเศรษฐกิจหมุนเวียนสีเขียว หรือ BCG พัฒนาอุตสาหกรรมฮาลาล พัฒนาโรงงานต้นแบบ อุตสาหกรรมเศรษฐกิจใหม่ อุตสาหกรรม 5.0 S-Curve และการพัฒนาหลักสูตร คพอ.ดีพร้อม รวมถึงการเพิ่มความเท่าเทียมในการแข่งขัน อาทิ การทำให้ Smart Phone เป็นเครื่องมือที่ครอบคลุมสำหรับการประกอบการของ SMEs อีกทั้ง การส่งเสริมให้เกิดนิคม SMEs การลงทุนในรูปแบบ Value Chain เชื่อมโยงผู้ประกอบการชุมชน รวมถึงผู้ประกอบการในและนอกนิคมอุตสาหกรรม โดยใช้กลไกในการบ่มเพาะและพัฒนาของดีพร้อม และรวบรวมข้อมูล Eco-System เพื่อศึกษาความเป็นไปได้ในการจัดทำดัชนีโลจิสติกส์ รวมทั้งการให้บริการของศูนย์ ITC และ Thai-IDC ให้แก่ผู้ประกอบการ ทั้งนี้ ดีพร้อม ได้รวบรวมข้อมูลดาวเด่น (Star) ที่เกิดจากการฝึกอาชีพมาต่อยอดสู่การเป็นผู้ประกอบการใหม่ พร้อมผลักดันผู้ประกอบการ OTOP สินค้า OTOP ที่มีศักยภาพ ในรูปแบบ Big Brother เพื่อผลักดันสินค้า OTOP ให้สามารถส่งออกได้ (Local to Global) รวมถึงดำเนินการปล่อยสินเชื่อ เงินกู้ดอกเบี้ยต่ำจากกองทุนพัฒนาเอสเอ็มอีตามแนวประชารัฐ และ DIPROM Pay ให้ผู้ที่ได้รับรางวัลต่าง ๆ จากกระทรวงอุตสาหกรรม เพื่อให้สามารถดำเนินการได้ครบทุกมิติและเกิดประสิทธิภาพสูงสุด นอกจากนี้ ดีพร้อม ยังได้ให้ความสำคัญกับบุคลากรดีพร้อมด้วยการจัดหลักสูตรเพื่อพัฒนาทักษะ และจัดทำ Career Path ให้ชัดเจน พร้อมสนับสนุนดูแลเรื่องสวัสดิการให้ครอบคลุม รวมทั้งได้วางแผนและเตรียมความพร้อมในการปรับโครงสร้างหน่วยงาน เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ของบุคลากรให้ดียิ่งขึ้นอีกด้วย
15 ต.ค. 2567
กระทรวงอุตสาหกรรม เตรียมจัดร้านงานกาชาดปี 67 ภายใต้ธีม "อุตสาหกรรมรวมใจภักดิ์ 72 พรรษา" พร้อมลุ้นรางวัลใหญ่ ทองคำ รถยนต์ไฟฟ้า
กรุงเทพฯ 9 ตุลาคม 2567 - นายพิชิต มิทราวงศ์ กรรมการผู้จัดการธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย ได้รับมอบหมายจาก นายณัฐพล รังสิตพล ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม ให้เป็นประธานการประชุมคณะอนุกรรมการจัดงานร้านกระทรวงอุตสาหกรรมในงานกาชาด ประจำปี 2567 ครั้งที่ 1/2567 เพื่อเตรียมการจัดงานกาชาด ร้านกระทรวงอุตสาหกรรม ประจำปี 2567 โดยมี นายบรรจง สุกรีฑา รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม นายวีรพงษ์ เอี่ยมเจริญชัย รองเลขาธิการสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม นายนรุณ สุขสมาน รองเลขาธิการคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย นายอานันท์ ฟักสังข์ ผู้อำนวยการกองวิศวกรรมบริการ รักษาราชการแทนรองอธิบดีกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ นางดวงดาว ขาวเจริญ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม และคณะอนุกรรมการจากสถาบันต่าง ๆ เข้าร่วมประชุม ณ ห้องประชุมอก.1 ชั้น 2 อาคารสำนักงานปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม และรูปแบบออนไลน์ผ่านแอปพลิเคชั่น Zoom Meeting โดยในการประชุมครั้งนี้ มีการแจ้งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ และได้พิจารณารายละเอียดสำคัญหลายประการเกี่ยวกับการจัดนิทรรศการและกิจกรรมต่าง ๆ ที่จะจัดขึ้นภายในร้านกระทรวงอุตสาหกรรมในงานกาชาดปีนี้ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการเฉลิมฉลองเนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวครบ 6 รอบ โดยธีมหลักของร้านค้ากระทรวงอุตสาหกรรมคือ "อุตสาหกรรมรวมใจภักดิ์ ๗๒ พรรษา ทศมราชา" เพื่อสะท้อนถึงความเจริญรุ่งเรืองในภาคอุตสาหกรรมไทยและความจงรักภักดีต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ ในที่ประชุมยังได้มีการหารือถึงแนวคิดในการออกแบบร้าน ซึ่งจะใช้โทนสีทองเพื่อสื่อถึงความยิ่งใหญ่และความเจริญก้าวหน้าของภาคอุตสาหกรรม และใช้ตัวอักษรสีม่วงซึ่งเป็นสีประจำของกระทรวงอุตสาหกรรม ภายในร้านยังจะมีการจัดแสดงนิทรรศการเฉลิมพระเกียรติ โดยมีซุ้มประดิษฐานพระบรมฉายาลักษณ์และเครื่องราชสักการะ เพื่อให้ประชาชนได้ร่วมถวายพระพร นอกจากนี้ ยังได้มีการอนุมัติงบประมาณในการจัดจ้างออกแบบ ก่อสร้าง ตกแต่งร้าน และการจัดกิจกรรมต่าง ๆ ภายในร้านกระทรวงอุตสาหกรรม โดยได้รับจัดสรรพื้นที่ในรูปแบบของโซนนิทรรศการ การจัดแสดงเวที และจุดจำหน่ายสลากและของรางวัลต่าง ๆ ที่จะจัดเตรียมไว้สำหรับผู้เข้าร่วมงาน รวมถึงการหารือถึงงบประมาณในการจัดสรรรางวัลสลากกาชาดของกระทรวงอุตสาหกรรม โดยจะมีการจัดทำสลากจำนวน 60,000 ฉบับ เพื่อนำรายได้ไปสนับสนุนกิจกรรมของสภากาชาดไทย โดยรางวัลใหญ่สำหรับสลากกาชาดในปีนี้ประกอบด้วย รถยนต์ไฟฟ้า 2 คัน รถจักรยานยนต์ไฟฟ้า 4 คัน ทองคำ และ Smart TV เป็นของรางวัลให้กับผู้โชคดีที่ร่วมกิจกรรมกับกระทรวงอุตสาหกรรม
15 ต.ค. 2567
"อรรถวิชช์" ประชุม คกก.ปรับปรุงกฎหมายเพื่อการปฏิรูปอุตฯ ติดตามความคืบหน้าการร่าง กฎหมายการจัดการกากอุตสาหกรรม-ขยะอิเล็กทรอนิกส์ และจัดตั้งกองทุนปฏิรูปอุตสาหกรรม
กรุงเทพฯ 7 ตุลาคม 2567 - นายอรรถวิชช์ สุวรรณภักดี ประธานคณะที่ปรึกษาของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ในฐานะประธานคณะกรรมการปรับปรุงกฎหมายเพื่อการปฏิรูปอุตสาหกรรม ประชุมคณะกรรมการฯ โดยมีนางสาวไพลิน เทียนสุวรรณ ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม นายศุภกิจ บุญศิริ ผู้ตรวจราชการกระทรวงอุตสาหกรรม รักษาราชการแทนรองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม นางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม รักษาราชการแทน อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม นายวัชรุน จุ้ยจำลอง รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม นางสาวณิรดา วิสุทธิชาติธาดา ผู้ช่วยปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม นายวชิระ ไม้แพ ที่ปรึกษาด้านกฎหมาย และคณะกรรมการฯ ร่วมประชุม ณ ห้องประชุม อก.1 ชั้น 3 สำนักงานปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม ที่ประชุมได้ร่วมกันพิจารณาตามวาระการประชุมที่สืบเนื่องจากการประชุมครั้งแรก ได้แก่ การติดตามความคืบหน้าของการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมายที่อยู่ในความรับผิดชอบของกระทรวงอุตสาหกรรมทุกฉบับ รวมทั้งแนวทางการปรับปรุงแก้ไขกฎหมายทั้งหมด โดยที่ประชุมได้มีมติให้กำหนดแบบการรายงานให้เกิดความชัดเจน และสะดวกแก่การรวมรวบวิเคราะห์ข้อมูล นอกจากนั้น ยังได้ติดตามความคืบหน้าในการยกร่าง กฎหมายเพื่อการจัดการ กากอุตสาหกรรม ขยะอิเล็กทรอนิกส์ และการจัดตั้งกองทุนในกระทรวงอุตสาหกรรม ที่ได้มอบหมายผู้แทนกรมโรงงานอุตสาหกรรม และสำนักงานปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม ไปดำเนินการในการประชุมครั้งที่แล้ว ซึ่งได้มีการรายงานความคืบหน้าของการยกร่างกฎหมายต่อที่ประชุม โดยมีกากรอภิปรายอย่างกว้างขวางโดยที่ประชุมได้มีมติรับทราบความคืบหน้าและมอบหมายให้ผู้ยกร่างรับข้อสังเกตและคำแนะนำของคณะกรรมการไปดำเนินการปรับปรุงแก้ไข โดยในส่วนของกองทุนที่จะตั้งขึ้นในกฎหมาย ที่ประชุมได้กำหนดให้ใช้ชื่อว่า “กองทุนปฏิรูปอุตสาหกรรมเพื่อความยั่งยืน” หรือ “Industrial Reform for Sustainability Fund (IRS Fund)” โดยให้ปรับใช้แนวคิด เรื่อง ความยั่งยืน หรือ การพัฒนาที่ยั่งยืน ตามนิยามของคณะกรรมาธิการโลกว่าด้วยสิ่งแวดล้อมและการพัฒนาของสหประชาชาติ (The United Nations World Commission on Environment and Development) มาปรับใช้ จากนั้นประชุมได้มีมติเห็นชอบแผนการจัดทำร่างกฎหมายในเบื้องต้น และเร่งรัดให้ผู้ที่เกี่ยวข้องเร่งรัดดำเนินการ ให้แล้วเสร็จโดยเร็ว
15 ต.ค. 2567
“เอกนัฏ” ควงปลัดอุตฯ ลงใต้ เดินหน้า “ปฏิรูปอุตสาหกรรม” ยกระดับอุตสาหกรรมเชิงพื้นที่ สร้างอุตสาหกรรมเศรษฐกิจใหม่
จังหวัดภูเก็ต - นายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า ได้ลงพื้นที่กับ นายณัฐพล รังสิตพล ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม พร้อมด้วย นางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม รักษาราชการแทน อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม นายวัชรุน จุ้ยจำลอง รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม คณะผู้บริหารกระทรวงอุตสาหกรรม ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ธพว.) เยี่ยมชมสถานประกอบการ SME และชุมชนย่านเมืองเก่าภูเก็ต เพื่อพัฒนาศักยภาพสร้างความเท่าเทียมให้สามารถแข่งขันได้ในระดับสากล สอดคล้องกับนโยบาย “ปฏิรูปอุตสาหกรรม” ในการให้ความสำคัญ “Save อุตสาหกรรมไทย” สู่การกระตุ้นเศรษฐกิจผ่านการกระจายรายได้สู่ภูมิภาค โดย SME มีความสําคัญต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศ เป็นกลไกหมุนเวียนรายได้และกระจายความเจริญทางเศรษฐกิจไปสู่ภูมิภาคต่าง ๆ ทั่วประเทศ จากรายงานสถานการณ์ SME ไทย ของสํานักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ในปี 2566 พบว่า มีผู้ประกอบการกว่า 3.24 ล้านราย กระจายอยู่ทุกจังหวัดทั่วประเทศ และจากสถานการณ์ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นทั่วโลก ส่งผลกระทบต่อการชะลอตัวของเศรษฐกิจ กระทรวงอุตสาหกรรม โดยสำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดภูเก็ต (สอจ.ภูเก็ต) จึงได้ส่งเสริมพัฒนาอุตสาหกรรมในภูมิภาค ผ่านกิจกรรมสร้างงาน สร้างอาชีพ และการกระจายรายได้ ให้คำปรึกษาพัฒนาบรรจุภัณฑ์และมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน (มผช.) ด้านกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กสอ.) หรือดีพร้อม ยังได้จัดฝึกอบรมการพัฒนาผู้ประกอบการธุรกิจอุตสาหกรรมให้ดีพร้อม หรือ คพอ.ดีพร้อม เพื่อพัฒนาองค์ความรู้ ทักษะด้านการบริหารจัดการในทุกมิติผ่านกระบวนการฝึกอบรม ส่งเสริมให้เกิดการเชื่อมโยงเครือข่าย สนับสนุนให้เกิดความร่วมมือทางธุรกิจ สู่การพัฒนาศักยภาพให้สามารถขยายธุรกิจให้เติบโตและแข่งขันได้อย่างยั่งยืน ทั้งนี้ ยังได้เชิญ ธพว. มาร่วมสำรวจพื้นที่ด้วยกันว่ามีกลุ่มผู้ประกอบการเอสเอ็มอีที่ต้องการเงินทุนหมุนเวียนมาเพื่อใช้ประกอบกิจการและให้สามารถเข้าถึงแหล่งทุนและเทคโนโลยีได้ง่ายมากยิ่งขึ้น “ผมและคณะได้เยี่ยมชมย่านเมืองเก่าภูเก็ต ที่เต็มไปด้วยเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ ซึ่งในอดีตจะมีผู้คนหลากหลายเชื้อชาติ ได้แก่ จีน อินเดีย ยุโรป มุสลิม เข้ามาตั้งถิ่นฐาน และได้สร้างบ้านเป็นตึกแถว มีลักษณะทางสถาปัตยกรรมแบบ"ชิโน-ยูโรเปียน" ทั้งสองสองฝั่งถนน ถือเป็นจุดท่องเที่ยวที่มีความโดดเด่นทางสถาปัตยกรรมอันเกิดจากการผสมผสานความแตกต่างทางวัฒนธรรมจนเกิดเป็นอัตลักษณ์ของจังหวัด โดย สอจ.ภูเก็ต ได้เข้าไปส่งเสริมในด้านมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน (มผช.) มาตรฐานอุตสาหกรรมเอส (มอก.เอส) การส่งเสริมสู่การแข่งขันเศรษฐกิจวิถีใหม่ อาทิ การทอเศษผ้าปาเต๊ะด้วยกระบวนการประยุกต์การทอเส้นด้าย การปักลูกปัดสีและเลื่อม สกรีน การเพ้นท์สีลายน้ำให้มีมิติผสมผสานศิลปะ สถาปัตยกรรมจีน เป็นต้น นอกจากนี้ ยังได้ไปเยี่ยมชมร้านคุณแม่จู้ของฝากเมืองภูเก็ต (บริษัท แม่จู้ จำกัด) ร้านค้าภูมิปัญญาไทย (DIS SHOP) รายแรกของภาคใต้ ภายใต้การสนับสนุนของกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ประกอบกิจการทำขนมอบแห้ง น้ำพริกกุ้งเสียบ น้ำพริกปลาย่าง น้ำพริกตาแดง และจำหน่ายผลิตภัณฑ์อาหารพื้นเมืองหลากหลายชนิดและของฝากที่เป็นเอกลักษณ์ของภูเก็ต โดยกรมโรงงานอุตสาหกรรมได้ให้การรับรอง Green Industry ระดับที่ 1 “ความมุ่งมั่นสีเขียว” ให้กับบริษัทฯ ในความมุ่งมั่นของนโยบายเป้าหมายและแผนงานที่จะลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม มีการสื่อสารภายในองค์กรให้ทราบโดยทั่วกัน” รัฐมนตรีฯ เอกนัฏ กล่าวต่อว่า ได้มีโอกาสพูดคุยกับผู้ประกอบการธุรกิจอุตสาหกรรมในภูเก็ต โดยเฉพาะกลุ่ม SME ที่มีบทบาทสำคัญต่อเศรษฐกิจในพื้นที่ เราเข้าใจถึงความท้าทายที่พวกเขาต้องเผชิญ โดยเฉพาะในช่วงเวลาที่เศรษฐกิจมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะผู้ประกอบการในโครงการสนับสนุนของกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ที่เรียกว่า “โครงการพัฒนาผู้ประกอบการธุรกิจอุตสาหกรรมให้ดีพร้อม” หรือ คพอ.(ดีพร้อม) สำหรับภูเก็ตมีการดำเนินงานมาแล้วทั้งหมด 7 รุ่น ซึ่งเป็นการฝึกอบรมที่มุ่งเน้นการพัฒนาทักษะด้านการบริหารจัดการ และสร้างเครือข่ายระหว่างผู้ประกอบการ ก็พร้อมที่จะสนับสนุนในหลากหลายด้าน ไม่ว่าจะเป็นการให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการพัฒนาผลิตภัณฑ์ การตลาด การเข้าถึงแหล่งเงินทุน รวมถึงการพัฒนาเทคโนโลยีที่ช่วยให้ผู้ประกอบการสามารถแข่งขันในตลาดสากลได้ นอกจากนี้อุตสาหกรรมหลักของภูเก็ตคือภาคการท่องเที่ยว ซึ่งถือเป็นหนึ่งในกลยุทธ์สำคัญในการสร้างโอกาสใหม่ ๆ ให้กับธุรกิจในพื้นที่ รวมถึงการเป็นศูนย์กลางด้าน Soft Power ภูเก็ต คือ อาหาร อาคาร อาภรณ์ อารมณ์ โดยเฉพาะในด้านวัฒนธรรมและอาหาร การเชื่อมโยงพัฒนาผลิตภัณฑ์ท้องถิ่นกับการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมและอาหาร หรือการโปรโมทสินค้าท้องถิ่นและวัฒนธรรมผ่านเวทีนานาชาติสู่การขยายตลาดในกลุ่มนักท่องเที่ยวและนักลงทุนต่างชาติ ซึ่งอาจเป็นก้าวสำคัญในการผลักดัน Soft Power ของไทยสู่ตลาดโลก และยังสอดคล้องกับนโยบายปฏิรูปอุตสาหกรรม เน้นการส่งเสริมและพัฒนาอุตสาหกรรมและสิ่งแวดล้อมให้เติบโตอย่างยั่งยืน สู่การขับเคลื่อนอุตสาหกรรมภูมิภาคให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมตามกรอบแนวคิด BCG เพื่อให้สถานประกอบการหรือวิสาหกิจนำองค์ความรู้และเทคโนโลยี มาประยุกต์ใช้ในการยกระดับผลิตภาพการผลิตและสร้างนวัตกรรมผลิตภัณฑ์ที่ช่วยลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและมีการใช้ทรัพยากรในภาคอุตสาหกรรมอย่างยั่งยืนอีกด้วย
15 ต.ค. 2567
"รองอธิบดีดวงดาว" ประชุมคณะอนุกรรมการบริหารเงินทุนหมุนเวียนฯ ภาคอีสาน ครั้งที่ 1/68
จ.อุบลราชธานี 4 ตุลาคม 2567 - นางดวงดาว ขาวเจริญ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ให้เกียรติเป็นประธานในการประชุมคณะอนุกรรมการบริหารเงินทุนหมุนเวียนฯ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ครั้งที่ 1/2568 ประกอบไปด้วย 1) ผลการดำเนินงานในภาพรวมของเงินทุนหมุนเวียนฯ ศภ.4, ศภ.5, ศภ.6, และ ศภ.7 2) ลูกหนี้ตามคำพิพากษาที่ครบระยะเวลาบังคับคดี 10 ปี พร้อมทั้งเสนอเรื่องเพื่อพิจารณาอนุมัติเงินกู้วงเงินกู้ไม่เกิน 2 ล้านบาท รวมไปถึงพิจารณานำเสนอขออนุมัติตัดจำหน่ายหนี้สูญ ซึ่งเป็นอุตสาหกรรมประเภทดอกไม้ประดิษฐ์ อู่ซ่อมรถยนต์ และ อุตสาหกรรมตัดเย็บเสื้อผ้า ณ ห้องประชุมผาแต้ม ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 7 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม
15 ต.ค. 2567
“ดีพร้อม” รับโจทย์ “รมต.เอกนัฏ” บูรณาการภาคเอกชน หารือเครือข่าย คพอ.ดีพร้อม ขับเคลื่อนนโยบาย “ปฏิรูปอุตสาหกรรม” พัฒนาหลักสูตร Upskill / Reskill ต่อยอดธุรกิจ
กรุงเทพ 3 ตุลาคม 2567 - นางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม รักษาราชการแทน อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม เร่งประชุมหารือแนวทางการดำเนินงานโครงการพัฒนาผู้ประกอบการธุรกิจอุตสาหกรรมให้ดีพร้อม (คพอ. ดีพร้อม) ร่วมด้วย นายณัฐพล แสงฟ้า นายกสหพันธ์สมาคมผู้ประกอบการไทย และคณะผู้ประกอบการ พร้อมด้วย นายอาทิตย์ พัฒนพงศ์ชัย ผู้อำนวยการกองพัฒนาขีดความสามารถธุรกิจอุตสาหกรรม นายวุฒิชัย ประชาพร ผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร คณะผู้บริหาร และเจ้าหน้าที่ดีพร้อม (DIPROM) ณ ห้องประชุม ชั้น 3 อาคารกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (DIPROM Headquarter) การประชุมดังกล่าว เป็นการหารือแนวทางการดำเนินโครงการพัฒนาผู้ประกอบการธุรกิจอุตสาหกรรมให้ดีพร้อม (คพอ. ดีพร้อม) ตามนโยบาย “ปฏิรูปอุตสาหกรรม” ของนายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม โดยสร้างความร่วมมือกับภาคเอกชน ซึ่ง ดีพร้อม ได้เชื่อมโยงเครือข่าย คพอ.ดีพร้อม มาอย่างยาวนาน ตั้งแต่ปี 2523 จนถึงปัจจุบันเป็นระยะเวลากว่า 44 ปี จำนวน 412 รุ่น เป็นผู้ประกอบการที่มีศักยภาพจากทั่วประเทศกว่า 13,000 ราย เกิดเชื่อมโยงเครือข่ายกันตั้งแต่รุ่นแรกจนถึงปัจจุบัน ทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนและช่วยเหลือซึ่งกันและกัน เกิดการซื้อขายแลกเปลี่ยน และการลงทุนไม่ต่ำกว่า 100 ล้านบาทต่อปี ทั้งนี้ ในปี 2568 ดีพร้อม มีแผนที่จะ Upskill และ Reskill ปรับปรุงหลักสูตร คพอ.ดีพร้อม ให้ทันสมัยเท่าทันต่อสถานการณ์โลกที่เปลี่ยนแปลง พร้อมเชิญนักธุรกิจที่ประสบความสำเร็จมาให้ความรู้ และเพิ่มจำนวนรุ่นให้เพียงพอต่อความต้องการของผู้ประกอบการในปัจจุบัน อีกทั้ง ยังมีการจัดงานเจรจาธุรกิจระหว่างสมาชิก คพอ.ดีพร้อม จำนวนไม่ต่ำกว่า 3,000 คน ดีพร้อมวางแผนจัดประชุมกับ คพอ.ดีพร้อม ในทุกไตรมาส เพื่อเร่งพัฒนาต่อยอดธุรกิจ และสามารถสร้างเครือข่ายของผู้ประกอบการให้ครบคลุมทั่วประเทศ
15 ต.ค. 2567
"ปลัดฯ ณัฐพล" รับมอบถุงยังชีพ เพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วม
กรุงเทพฯ 3 ตุลาคม 2567 - ดร.ณัฐพล รังสิตพล ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม พร้อมด้วย นางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม รักษาราชการแทน อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม และคณะผู้บริหารกระทรวงอุตสาหกรรม รับมอบถุงยังชีพ 1,958 ถุง จากสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม ภายใต้โครงการ "อุตสาหกรรมรวมใจ ช่วยพี่น้องชาวไทย" เพื่อช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยในช่วงฤดูฝน โดยโครงการนี้เป็นความร่วมมือระหว่างหน่วยงานรัฐ ภาคเอกชน และผู้ประกอบการทั่วประเทศ
15 ต.ค. 2567
ภาครัฐและเอกชนร่วมแสดงความยินดี ”อธิบดีดีพร้อม“ ในโอกาส ครม. ได้แต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งใหม่
กรุงเทพฯ 3 ตุลาคม 2567 - นายอดิทัต วะสีนนท์ อธิบดีกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ นางสาวณิรดา วิสุทธิชาติธาดา ผู้ช่วยปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม นายสมชาย เถื่อนสุวรรณ์ อุตสาหกรรมจังหวัดฉะเชิงเทรา นายณัฐพล แสงฟ้า นายกสหพันธ์สมาคมผู้ประกอบการไทย และคณะผู้ประกอบการได้เข้าร่วมแสดงความยินดีแก่ นางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา เนื่องในโอกาสที่คณะรัฐมนตรีได้แต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (DIPROM) ณ ห้องอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ชั้น 3 อาคารกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (DIPROM Headquarter)
15 ต.ค. 2567
"ดีพร้อม" ร่วมแสดงความยินดี ต้อนรับอธิบดีใหม่ มุ่งขับเคลื่อนนโยบาย "การปฏิรูปอุตสาหกรรม"
กรุงเทพฯ 3 ตุลาคม 2567 - นางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม รักษาราชการแทน อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม เข้าสักการะองค์พระนารายณ์ พระภูมิ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ และกราบพระพุทธรูปที่ประดิษฐาน ชั้น 6 ประจำอาคารกระทรวงอุตสาหกรรม และประจำอาคารกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ก่อนเข้าห้องทำงานเป็นวันแรก เพื่อเป็นสิริมงคลเนื่องในโอกาสเข้ารับตำแหน่ง อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม โดยมี นายวัชรุน จุ้ยจำลอง และนางดวงดาว ขาวเจริญ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม คณะผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ดีพร้อม (DIPROM) ร่วมแสดงความยินดี ณ บริเวณองค์พระนารายณ์หน้ากระทรวงอุตสาหกรรม
15 ต.ค. 2567