การแบ่งส่วนราชการ
26
ต.ค.
2016
Admin
50,467
กฎกระทรวง การแบ่งส่วนราชการกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม พ.ศ. 2560
คำสั่งกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม เรื่อง ตั้งศูนย์วิจัยและพัฒนาวัสดุอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ เป็นส่วนราชการภายในกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม
คำสั่งกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม เรื่อง ตั้งกองพัฒนาเกษตรอุตสาหกรรม เป็นส่วนราชการภายในกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม
โครงสร้างและอัตรากำลัง กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ข้อมูลเพียงวันที่ 1 พฤศจิกายน 2567
อำนาจหน้าที่ภารกิจของหน่วยงาน กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม
กฎกระทรวง การแบ่งส่วนราชการกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม พ.ศ. 2560
หน่วยงานส่วนกลาง
ทำหน้าที่บริหารงานทั่วไป งานสารบรรณ งานด้านการเงิน การบัญชี การพัสดุ อาคารสถานที่ และยานพาหนะ งานด้านการพัฒนาทรัพยากรบุคคลและบริหารงานบุคคล งานด้านกฎหมาย นิติกรรมและสัญญา ตลอดจนการประชาสัมพันธ์กิจกรรมและผลงานต่าง ๆ ของกรม นอกจากนี้ยังบริหารเงินทุนหมุนเวียนเพื่อการส่งเสริมอาชีพอุตสาหกรรมในครอบครัวและหัตถกรรม
โทรศัพท์ : 0 2430 6865-6
โทรสาร : 0 2354 3153
เว็บไซต์ https://os.dip.go.th/th
บทบาทภารกิจและการจัดแบ่งงานภายใน สำนักงานเลขานุการกรม
ทำหน้าที่ศึกษา พัฒนาหลักสูตรรูปแบบกระบวนการบริหารจัดการธุรกิจอุตสาหกรรมแบบสากล พร้อมการเสริมสร้างพัฒนาขีดความสามารถของอุตสาหกรรม และผู้ให้บริการธุรกิจอุตสาหกรรม บุคลากรที่เกี่ยวข้อง เพื่อยกระดับขีดความสามารถในการประกอบการอย่างมีประสิทธิภาพและสูงขึ้น
โทรศัพท์ : 0 2430 6869
โทรสาร : -
เว็บไซต์ https://dbcd.dip.go.th/th
บทบาทภารกิจและการจัดแบ่งงานภายใน กองพัฒนาขีดความสามารถอุตสาหกรรม
ทำหน้าที่ส่งเสริมและพัฒนาผู้ประกอบการ บุคลากร และวิสาหกิจ ให้นำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ในการประกอบการทั้งกระบวนการผลิต การบริหารจัดการ การกระจายสินค้าและบริการ รวมทั้งการประชาสัมพันธ์องค์กร และสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการใช้เทคโนโลยีในอุตสาหกรรม เพื่อเพิ่มผลิตภาพและขีดความสามารถในการแข่งขัน ตลอดจนสามารถสร้างผู้ประกอบการดิจิทัล เพื่อรองรับการเข้าสู่สังคมดิจิทัลได้อย่างมีศักยภาพ
โทรศัพท์ : 0 2430 6871
โทรสาร : 0 2354 3221
เว็บไซต์ https://ddi.dip.go.th/th
บทบาทภารกิจและการจัดแบ่งงานภายใน กองพัฒนาดิจิทัลอุตสาหกรรม
ทำหน้าที่ศึกษาข้อมูล วิเคราะห์ วิจัย พัฒนา ส่งเสริมนวัตกรรมและสนับสนุนวิชาการด้านเทคโนโลยีอุตสาหกรรม ระบบผลิตอัตโนมัติและวัสดุอุตสาหกรรม รวมทั้งเป็นแกนกลางร่วมกับหน่วยงานอื่นทั้งภาครัฐและภาคเอกชนในการถ่ายทอดเทคโนโลยี และสนับสนุนการแปลงเทคโนโลยีสู่ภาคอุตสาหกรรม
โทรศัพท์ : 0 2430 6881
โทรสาร : -
เว็บไซต์ https://diit.dip.go.th/th
บทบาทภารกิจและการจัดแบ่งงานภายใน กองพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยีอุตสาหกรรม
ทำหน้าที่ส่งเสริมและพัฒนาอุตสาหกรรมชุมชนและหัตถกรรมไทย ให้มีความเข้มแข็งโดยการนำภูมิปัญญานวัตกรรม มาพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่เป็นเอกลักษณ์ของชุมชน เพื่อรักษาและต่อยอดภูมิปัญญาในเชิงพาณิชย์ การพัฒนาคุณภาพมาตรฐานผลิตภัณฑ์ และการวิจัยสภาวะตลาดวิสาหกิจชุมชนทั้งในประเทศและต่างประเทศ เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมชุมชน และหัตถกรรมไทยให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาด ตลอดจนการพัฒนาระบบการบริหารจัดการให้แก่วิสาหกิจชุมชน เพื่อสร้างองค์ความรู้ในองค์กรอย่างเป็นระบบ รวมถึงการให้บริการข้อมูลข่าวสารของอุตสาหกรรมชุมชน และหัตถกรรมไทยเพื่อให้ผู้ประกอบการวิสาหกิจชุมชนสามารถดำเนินธุรกิจได้อย่างมั่นคง และพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน
โทรศัพท์ : 0 2430 6882
โทรสาร : 0 2382 2169
เว็บไซต์ https://dci.dip.go.th/th
บทบาทภารกิจและการจัดแบ่งงานภายใน กองพัฒนาอุตสาหกรรมชุมชน
ทำหน้าที่ศึกษา วิเคราะห์ และกำหนดแนวทางการสร้างมูลค่าเพิ่มในอุตสาหกรรม โดยการส่งเสริมและพัฒนาออกแบบอุตสาหกรรม วิสาหกิจในอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ให้เป็นที่ยอมรับในระดับสากล รวมทั้งประสานความร่วมมือกับหน่วยงานภาครัฐและเอกชนในการสนับสนุนให้เกิดการรวมกลุ่มธุรกิจหรือสมาคมอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งด้านการดำเนินธุรกิจอย่างมีคุณภาพ
โทรศัพท์ : 0 2430 6883
โทรสาร : 0 2390 2315
เว็บไซต์ https://dcr.dip.go.th/th
บทบาทภารกิจและการจัดแบ่งงานภายใน กองพัฒนาอุตสาหกรรมสร้างสรรค์
ทำหน้าที่เป็นแกนกลางในการศึกษา วิเคราะห์ จัดทำยุทธศาสตร์ แผนงานโครงการส่งเสริมอุตสาหกรรม การประสานความร่วมมือระหว่างประเทศ การจัดทำแผนปฏิบัติงาน และงบประมาณประจำปี การพัฒนาระบบบริหารราชการ การกำกับติดตามผลการดำเนินงานและบริหารการใช้จ่ายงบประมาณอย่างมีประสิทธิภาพ ตลอดจนการบริหารจัดการองค์ความรู้เพื่อสนับสนุนการให้บริการข้อมูลและคำปรึกษาแนะนำแก่ธุรกิจอุตสาหกรรม
โทรศัพท์ : 0 2430 6867-8
โทรสาร : 0 2354 3030
เว็บไซต์ https://dsp.dip.go.th/th
บทบาทภารกิจและการจัดแบ่งงานภายใน กองยุทธศาสตร์และแผนงาน
ทำหน้าที่ศึกษารูปแบบแนวทางในการส่งเสริมและสนับสนุนการจัดตั้งธุรกิจ สร้างผู้ประกอบการใหม่ที่มีนวัตกรรม ทั้งการพัฒนาบ่มเพาะผู้ประกอบการ และการเสริมสร้างให้เกิดสังคมผู้ประกอบการ กระตุ้นจิตสำนึก สร้างแรงจูงใจและปัจจัยแวดล้อม เพื่อเพิ่มการลงทุนให้กับเศรษฐกิจโดยรวม
โทรศัพท์ : 0 2430 6873
โทรสาร : -
เว็บไซต์ https://dnb.dip.go.th/th
บทบาทภารกิจและการจัดแบ่งงานภายใน กองส่งเสริมผู้ประกอบการและธุรกิจใหม่
ทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางข้อมูลโลจิสติกส์อุตสาหกรรมที่มีประสิทธิภาพและทันสมัย ศึกษาและวิจัยเพื่อพัฒนาระบบการบริหารจัดการโลจิสติกส์ที่เชื่อมโยงตลอดโซ่อุปทานของอุตสาหกรรม และส่งเสริมการพัฒนาผู้ประกอบการบุคลากรในภาคอุตสาหกรรม ให้สามารถประยุกต์ใช้เทคนิคการบริหารจัดการโลจิสติกส์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
โทรศัพท์ : 0 2430 6875-6
โทรสาร : 0 2354 3169
เว็บไซต์ https://dol.dip.go.th/th
บทบาทภารกิจและการจัดแบ่งงานภายใน กองโลจิสติกส์
ทำหน้าที่ออกแบบและดูแลระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ในการเชื่อมโยงระหว่างหน่วยงานภายในและภายนอก วางแผนนโยบายด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ และพัฒนาระบบสารสนเทศสำหรับการบริหารจัดการ รวมทั้งเป็นศูนย์กลางให้บริการปรึกษาแนะนำการจัดการสารสนเทศด้านวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม และบริการให้ข้อมูล ช่วยเหลือ ให้คำปรึกษาแนะนำเบื้องต้นในรูปแบบศูนย์บริการแบบเบ็ดเสร็จผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์
โทรศัพท์ : 0 2430 6879
โทรสาร : 0 2202 4491
เว็บไซต์ https://ict.dip.go.th/th
บทบาทภารกิจและการจัดแบ่งงานภายใน ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
ส่งเสริมและพัฒนาด้านเกษตรอุตสาหกรรมตามนโยบายของรัฐบาล โดยการเชื่อมโยงตั้งแต่เกษตรกรต้นน้ำไปจนถึงผู้ผลิตกลางน้ำ และส่งต่อให้ผู้ทำการตลาดปลายน้ำ อันจะเป็นการยกระดับรายได้ และสร้างความเข้มแข็งให้เศรษฐกิจฐานรากในองค์รวม และเพื่อให้เกิดความคล่องตัวในการปฏิบัติงาน
โทรศัพท์ : 0 2430 6878
โทรสาร : 0 2354 0380
เว็บไซต์ https://iaid.dip.go.th/th
บทบาทภารกิจและการจัดแบ่งงานภายใน กองพัฒนาเกษตรอุตสาหกรรม
ทำหน้าที่ตรวจสอบภายในองค์กร ให้ข้อเสนอแนะต่อผู้รับการตรวจสอบ และเป็นที่ปรึกษาด้านระบบการควบคุมภายใน ทั้งในด้านการบริหารจัดการ ด้านการเงิน และด้านการบริหารความเสี่ยง
โทรศัพท์ : 0 2430 6884
โทรสาร : -
บทบาทภารกิจและการจัดแบ่งงานภายใน กลุ่มตรวจสอบภายใน
หน่วยงานส่วนภูมิภาค
ทำหน้าที่กำหนดแผนปฏิบัติการเพื่อการส่งเสริมและพัฒนาอุตสาหกรรมพื้นที่ที่รับผิดชอบ ทำการส่งเสริมพัฒนาและสนับสนุนอุตสาหกรรมในภูมิภาคต่างๆ โดยดำเนินงานตามนโยบาย แนวทาง และมาตรการส่งเสริมและพัฒนาอุตสาหกรรม วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม วิสาหกิจชุมชน และผู้ประกอบการ รวมถึงทำหน้าที่กำหนดแนวทางการพัฒนาองค์ความรู้ที่เหมาะสมและจำเป็นสำหรับผู้ประกอบการและบุคลากรภาคอุตสาหกรรมให้สอดคล้องกับความต้องการของแต่ละพื้นที่